ปางช้าง – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 03 Nov 2024 09:49:47 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘กมธ.ปกครอง’ สอบปางช้าง ENP ปมผลประโยชน์เอกชนทับซ้อนมูลนิธิฯ มอบหมายผู้ว่าฯ-อำเภอ-สรรพากรประสานต่อ https://thestandard.co/governance-committee-elephant-nature-park/ Sun, 03 Nov 2024 09:49:47 +0000 https://thestandard.co/?p=1003790

วันนี้ (3 พฤศจิกายน) กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แ […]

The post ‘กมธ.ปกครอง’ สอบปางช้าง ENP ปมผลประโยชน์เอกชนทับซ้อนมูลนิธิฯ มอบหมายผู้ว่าฯ-อำเภอ-สรรพากรประสานต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (3 พฤศจิกายน) กรวีร์ ปริศนานันทกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จังหวัดอ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การปกครอง สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่ กมธ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากตัวแทนเครือข่ายคนรักช้าง ขอให้ตรวจสอบมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม (Elephant Nature Park: ENP) จังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับการบริหารจัดการสวัสดิภาพสัตว์ การอพยพเคลื่อนย้ายที่ล่าช้ากรณีเกิดอุทกภัยจนทำให้ช้างล้มไป 2 เชือก

 

รวมถึงประเด็นประโยชน์ทับซ้อนระหว่างมูลนิธิและบริษัท ENP โดยมีการประชุมเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลเมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา ประกอบด้วยตัวแทนฝั่งผู้ร้อง ฝ่ายปกครองคือนายอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และตัวแทนสรรพากรในพื้นที่ทั้งในส่วนของจังหวัดและภาค ซึ่งมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อมไม่ได้มาชี้แจงและไม่ได้ส่งตัวแทนให้ข้อมูลกับกรรมาธิการฯ โดยแจ้งเหตุผลว่าติดภารกิจฟื้นฟูพื้นที่หลังเหตุการณ์น้ำท่วม

 

กรวีร์กล่าวว่า ได้ซักถามหน่วยงานที่มาชี้แจงซึ่งได้รับคำตอบในหลายประเด็น แต่ยังมีหลายเรื่องที่ไม่มีใครทราบข้อมูลจริงๆ นอกจากเจ้าของปางช้างดังกล่าว เช่น กรณีที่สังคมสงสัยว่าทำไมไม่มีการเคลื่อนย้ายช้างออกมาจากพื้นที่ทั้งที่ได้รับการแจ้งเตือนเหตุน้ำท่วมแล้ว ซึ่งยังไม่ได้รับคำตอบในเรื่องนี้

 

หน่วยงานดังกล่าวเป็นมูลนิธิจึงขึ้นอยู่กับกรมการปกครองในการตรวจสอบ ซึ่ง กมธ. ฝากให้นายอำเภอแม่แตงและปศุสัตว์ติดตามตรวจสอบในหลายเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นการทรมานสัตว์และเรื่องมาตรฐานของปางช้าง ว่าดำเนินการถูกต้องหรือไม่ และต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และให้รายงานกลับมายัง กมธ. ต่อไป

 

กรวีร์กล่าวต่อว่า สำหรับเรื่องการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธินั้น ได้รับการยืนยันจากฝ่ายปกครองพบว่ามีการดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่ในส่วนของสรรพากรระบุว่าพิจารณาเฉพาะในส่วนรายได้ที่ต้องแจงภาษี แต่เงินรายได้ที่มาจากการบริจาคหรือการเก็บค่าบำรุงสมาชิก รายได้พวกนี้เป็นรายได้ยกเว้นของมูลนิธิที่ไม่ต้องยื่นภาษี

 

ดังนั้นรายได้ที่มูลนิธิต้องมาแจกแจงจึงเป็นรายได้จากการขายของ การขายทัวร์ ซึ่งรายได้ส่วนนี้ของมูลนิธิมีไม่มาก แต่รายได้ส่วนใหญ่ของมูลนิธิดังกล่าวมาจากการบริจาค สรรพากรจึงไม่มีข้อมูลของมูลนิธิในส่วนนี้มากนัก อย่างไรก็ตามในส่วนนี้มีผู้ร้องเรียนว่าโอนเงินบริจาคไปแต่ได้รับใบเสร็จไม่ตรงและไม่ครบถ้วน จึงฝากให้สรรพากรพื้นที่ตรวจในประเด็นนี้ต่อไป

 

กรวีร์กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นในเรื่องของเงินบริจาคและค่าใช้จ่ายต่างๆ ในปางช้างของมูลนิธินั้นจะต้องยื่นบัญชีรายรับ-รายจ่ายต่างๆ ให้กับนายอำเภอกำกับดูแล ซึ่ง กมธ. ติดตามว่ามูลนิธิยื่นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ ซึ่งนายอำเภอพบว่าที่ผ่านมามีการยื่นทุกปี อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นที่ต้องไปสืบหาข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นในส่วนของบริษัทแห่งหนึ่งที่สรรพากรระบุว่า พิจารณาเบื้องต้นแล้วมีความผูกพันและมีความสัมพันธ์โยงใยกับมูลนิธิ

 

“จึงฝากให้นายอำเภอแม่แตงตรวจสอบเพิ่มเติมว่า ถ้าเขามีรายได้จากนักท่องเที่ยว แต่มูลนิธิซึ่งเป็นเจ้าของช้างและเจ้าของสถานที่ได้ประโยชน์อะไรบ้าง มีการใช้สินทรัพย์ของมูลนิธิไปเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนหรือไม่ เพราะเงินของมูลนิธิมาจากการบริจาคของประชาชนทั้งในและต่างประเทศ และรายได้ของบริษัททัวร์ที่เข้ามานั้นมีความโปร่งใสหรือไม่ ซึ่งน่าเสียดายที่เจ้าของปางช้างไม่ได้มาชี้แจง จึงไม่มีใครให้คำตอบได้ ซึ่ง กมธ. จะทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอแม่แตง และสรรพากรพื้นที่ ติดตามตรวจสอบและทำรายงานกลับมายัง กมธ. ต่อไป” กรวีร์กล่าว

The post ‘กมธ.ปกครอง’ สอบปางช้าง ENP ปมผลประโยชน์เอกชนทับซ้อนมูลนิธิฯ มอบหมายผู้ว่าฯ-อำเภอ-สรรพากรประสานต่อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แสงเดือนคืนช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ ให้กัญจนา https://thestandard.co/sangduan-khundech-dokkaew-kanchana/ Wed, 09 Oct 2024 13:16:30 +0000 https://thestandard.co/?p=993970 แสงเดือนยอมคืนช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ ให้กัญจนา

วันนี้ (9 ตุลาคม) ทีมข่าว THE STANDARD ได้รับอนุญาตจากเ […]

The post แสงเดือนคืนช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ ให้กัญจนา appeared first on THE STANDARD.

]]>
แสงเดือนยอมคืนช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ ให้กัญจนา

วันนี้ (9 ตุลาคม) ทีมข่าว THE STANDARD ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิ Elephant Nature Park (ENP) ให้เข้ามาถ่ายภาพและนำเสนอข่าวของช้างพลาย 2 เชือก ชื่อ ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ ซึ่งอยู่ระหว่างการประเมินโดยทีมสัตวแพทย์ว่าสามารถเคลื่อนย้ายออกจากมูลนิธิได้ภายในวันนี้หรือไม่

 

สืบเนื่องจากกรณีที่วันเดียวกันนี้ แสงเดือน ชัยเลิศ ผู้อำนวยการศูนย์บริบาลช้าง และประธานมูลนิธิอนุรักษ์ช้างและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า พร้อมคืนช้างทั้งสองเชือกให้กับเจ้าของเดิมคือ กัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ฝากมูลนิธิเลี้ยงไว้ หากเห็นว่ามูลนิธิใช้วิธีการเลี้ยงที่ไม่เหมาะสม

 

ในเวลา 17.20 น. รถสำหรับขนช้าง นำโดยทีมร่มแดนช้าง ทีมปางช้างแม่แตง และสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง เดินทางมาถึงมูลนิธิ แต่ยังมีเงื่อนไขว่าขุนเดชซึ่งเป็นช้างป่า ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือที่มีอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงนาม จึงจะเคลื่อนย้ายได้ 

 

แหล่งข่าวในมูลนิธิระบุกับ THE STANDARD ว่า หากมีความประสงค์จะนำช้างทั้งสองเชือกออกจากพื้นที่ในวันนี้จริง ฝ่ายที่ต้องการขนย้ายจะต้องมาดำเนินการทั้งหมดด้วยตนเอง โดยอาจใช้วิธียิงยาที่ทำให้เกิดอาการซึม แล้วให้ควาญช้างพร้อมสัตวแพทย์นำทางช้างขึ้นไปยังรถบรรทุก

 

สำหรับขุนเดชเป็นช้างป่าที่ได้รับการช่วยเหลือจากการติดบ่วงล่าสัตว์ ทำให้ขาข้างหนึ่งมีลักษณะผิดปกติ และได้รับการตรวจจากสัตวแพทย์ของสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ รวมถึงสัตวแพทย์จากสถาบันอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่วนดอกแก้วเป็นช้างที่กัญจนาซื้อมาจากเจ้าของเดิม

 

ช้างทั้งสองเชือกอาศัยอยู่ในคอกนอนด้านหลังมูลนิธิ ซึ่งรถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้ เพราะต้องผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแตง และเส้นทางเต็มไปด้วยโคลนเลนจากเหตุน้ำท่วม รถขนช้างจึงต้องอ้อมเข้ามาด้านหลัง

 

The post แสงเดือนคืนช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ ให้กัญจนา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: สรุปดราม่าเลี้ยงช้างอิสระ อุปสรรคช่วยน้ำท่วม | News Digest https://thestandard.co/news-digest-09102024/ Wed, 09 Oct 2024 13:02:13 +0000 https://thestandard.co/?p=993967

สรุปดราม่าเลี้ยงช้างอิสระ ไม่ล่ามโซ่-ใช้ตะขอ ควบคุมไม่ไ […]

The post ชมคลิป: สรุปดราม่าเลี้ยงช้างอิสระ อุปสรรคช่วยน้ำท่วม | News Digest appeared first on THE STANDARD.

]]>

สรุปดราม่าเลี้ยงช้างอิสระ ไม่ล่ามโซ่-ใช้ตะขอ ควบคุมไม่ได้ อุปสรรคช่วยเหลือตอนน้ำท่วม ทำช้างตาย 2 เชือก

The post ชมคลิป: สรุปดราม่าเลี้ยงช้างอิสระ อุปสรรคช่วยน้ำท่วม | News Digest appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดภาพช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ รอประเมินอนุญาตให้รับออกจากปาง ENP หรือไม่ https://thestandard.co/khundech-dokkaew-short-news/ Wed, 09 Oct 2024 10:26:25 +0000 https://thestandard.co/?p=993885 ขุนเดช ดอกแก้ว

วันนี้ (9 ตุลาคม) เวลา 15.40 น. ทีมข่าว THE STANDARD ได […]

The post เปิดภาพช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ รอประเมินอนุญาตให้รับออกจากปาง ENP หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ขุนเดช ดอกแก้ว

วันนี้ (9 ตุลาคม) เวลา 15.40 น. ทีมข่าว THE STANDARD ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิ Elephant Nature Park (ENP) ให้สามารถถ่ายภาพและนำเสนอข่าวภายในพื้นที่ด้านหลังมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นที่อยู่ของช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ โดยพื้นที่ดังกล่าวรถยนต์ไม่สามารถเข้าถึงได้ และต้องผ่านสะพานข้ามแม่น้ำแตง

 

สืบเนื่องจากกรณี กัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดขับเคลื่อนนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะเจ้าของช้างคนก่อนหน้า ได้เปิดเผยว่าจะเตรียมจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับช้างทั้ง 2 เชือกออกมาจากการดูแลของมูลนิธิฯ ภายในวันนี้

 

ขณะที่เวลาประมาณ 16.00 น. เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ รวมถึงสัตวแพทย์จากสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ และจากจังหวัดอื่นในพื้นที่ภาคกลาง เดินทางเข้ามาเพื่อประเมินความพร้อมและความเสี่ยงในการขนย้ายช้างว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

 

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของขุนเดชที่เป็นช้างป่า หากจะเคลื่อนย้ายออกไปที่อื่นจำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และมีหนังสือที่ลงนามโดยอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เท่านั้น จึงต้องรอให้มีการประเมินจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ว่าจะอนุญาตให้เคลื่อนย้ายหรือไม่

 

 ขุนเดช

 

ดอกแก้ว

The post เปิดภาพช้าง ‘ขุนเดช’ และ ‘ดอกแก้ว’ รอประเมินอนุญาตให้รับออกจากปาง ENP หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปางช้างแม่แตงจัดงานเลี้ยง ‘ขันโตกช้าง’ วอนภาครัฐเปิดประเทศ กระตุ้นการท่องเที่ยวทั่วประเทศ หลังรายได้สูญกว่า 6,000 ล้านบาท https://thestandard.co/mae-taeng-elephant-camp/ Mon, 14 Mar 2022 00:24:30 +0000 https://thestandard.co/?p=605349 ปางช้างแม่แตง

วันนี้ (13 มีนาคม) ดร.บุญทา ชัยเลิศ ประธานบริหารปางช้าง […]

The post ปางช้างแม่แตงจัดงานเลี้ยง ‘ขันโตกช้าง’ วอนภาครัฐเปิดประเทศ กระตุ้นการท่องเที่ยวทั่วประเทศ หลังรายได้สูญกว่า 6,000 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปางช้างแม่แตง

วันนี้ (13 มีนาคม) ดร.บุญทา ชัยเลิศ ประธานบริหารปางช้างแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า วันที่ 13 มีนาคมของทุกปี ถือว่าเป็นวันช้างไทย ในปีนี้ปางช้างแม่แตงเล็งเห็นถึงความสำคัญของวันช้างไทย จึงได้จัดกิจกรรมเลี้ยง ‘ขันโตกช้าง’ เพื่อระลึกถึงช้าง เพราะเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง โดยในวันนี้ได้เตรียมผลไม้ เช่น สับปะรด, แตงโม, กล้วย, อ้อย และหญ้า จำนวนกว่า 5,000 กิโลกรัม มาเลี้ยงช้าง สำหรับคุณภาพชีวิตของช้างไทยหลังเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด ทางปางช้างยังคงดูแลช้างอย่างต่อเนื่อง และยังถือว่าเป็นช่วงที่ช้างได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยว ช้างจึงไม่ต้องทำงาน โดยช้างส่วนใหญ่จะอยู่โรงเลี้ยงเป็นหลัก

 

สำหรับผู้ประกอบการปางช้างหรือธุรกิจการท่องเที่ยวคาดหวังว่า การท่องเที่ยวจะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง แต่รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยว เพราะหากรัฐบาลยังดำเนินนโยบายปิดประเทศ ไม่ยอมเปิดประเทศ นักท่องเที่ยวก็ไม่สามารถเดินทางเข้ามายังประเทศไทยได้ อย่ามองว่าการท่องเที่ยวของไทยอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพราะยังมีจังหวัดอื่นๆ ที่ต้องการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเช่นกัน

 

“อยากวิงวอนไปยังนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี และประธานสภา ที่มุ่งให้ความสำคัญเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ แต่อยากให้เห็นใจภาคการท่องเที่ยวในทุกพื้นที่ของประเทศ สนับสนุนให้มีสายการบินจากต่างประเทศสามารถบินตรงเข้าไปยังภูมิภาคต่างๆ ในส่วนของผู้ประกอบการปางช้างอยากเรียกร้องให้เปิดประเทศโดยเร็ว จะช่วยให้ช้างอยู่รอดได้” ดร.บุญทา กล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ดร.บุญทา บอกว่า ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด รายได้จากการท่องเที่ยวปางช้างทั่วประเทศมีมูลค่าสูงถึงกว่า 6,000 ล้านบาท แต่หลังจากเกิดการระบาดทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังประเทศไทย ทำให้ปางช้างไม่มีรายได้ อีกทั้งปางช้างก็ยังมีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงช้างเป็นจำนวนมาก หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้จะไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุน และเชื่อว่าปางช้างในประเทศไทยไม่เหลือรอดอย่างแน่นอน

 

 

เรื่อง / ภาพ: พงศ์มนัส ทาศิริ

The post ปางช้างแม่แตงจัดงานเลี้ยง ‘ขันโตกช้าง’ วอนภาครัฐเปิดประเทศ กระตุ้นการท่องเที่ยวทั่วประเทศ หลังรายได้สูญกว่า 6,000 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
#ช้างตกงาน การดิ้นรนครั้งใหญ่ของควาญและช้างในภายหลัง ‘ระบบปาง’ ปิดตัวลง https://thestandard.co/mahout-elephant-after-camp-system-close/ Thu, 14 Oct 2021 10:10:18 +0000 https://thestandard.co/?p=548161 mahout and elephant

ช่วงระยะสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ในโซเชียลมีเดียต่างๆ มัก […]

The post #ช้างตกงาน การดิ้นรนครั้งใหญ่ของควาญและช้างในภายหลัง ‘ระบบปาง’ ปิดตัวลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
mahout and elephant

ช่วงระยะสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ในโซเชียลมีเดียต่างๆ มักมีภาพหรือวิดีโอคลิปช้างยืนนิ่งๆ อยู่หน้าเลขบัญชีธนาคารของควาญ พร้อมข้อความเชิญชวนให้ผู้ที่ผ่านมาเห็นช่วยกันซื้อผลไม้ไปเป็นอาหารช้างคนละนิดคนละหน่อย

 

ทั้งควาญและช้างเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากธุรกิจการท่องเที่ยวที่ทรุดตัวลงครั้งใหญ่หลังโควิดระบาดมาตั้งแต่ต้นปี 2563

 

mahout and elephant

 

‘ปางช้าง’ ซึ่งเป็นหนึ่งในฟันเฟืองของการท่องเที่ยวยอดนิยมในไทยหลายๆ แห่งจำต้องปิดตัวลงเนื่องจากไม่มีคนเข้ามาเยี่ยมชม ส่งผลให้ควาญต้องพาช้าง ซึ่งต่างก็อยู่ในสถานะตกงานกลับไปบ้านเกิด ภายใต้สภาวะการเงินกระเบียดกระเสียรของควาญซึ่งต้องหาเงินมาเลี้ยงตัวเอง และหาอาหารให้ช้างในปกครองของตนด้วย นำมาสู่การไลฟ์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่ผ่านมาเห็นช่วยซื้อผลไม้ให้ช้าง และได้รับความสนใจอย่างมากจนเกิดแฮชแท็ก #ช้างตกงาน และ #วิกฤตช้างไทย ที่กลายเป็นหัวข้อสนทนาที่แตกย่อยออกไปอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องความเป็นอยู่ของช้าง ความชอบธรรมของควาญและการเยียวยาจากรัฐ

 

น.สพ.วรุตม์ วงศ์กาฬสินธุ์ สัตวแพทย์ที่จับตาและใช้ชีวิตอย่างใกล้ชิดกับช้าง ควาญ ตลอดจนระบบปางมาอย่างยาวนาน มองประเด็นเหล่านี้ผ่านเงื่อนไขหลักๆ นั่นคือสวัสดิภาพของช้าง ระบบปางที่จำต้องปิดตัวลง ความสัมพันธ์ระหว่างช้างกับควาญ และบทบาทของรัฐที่ต้องเข้ามาดูแลอย่างเร่งด่วน

 

เพราะไม่ว่าจะอย่างไร เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือการดิ้นรนเฮือกใหญ่ของคนตัวเล็กตัวน้อยกับสมาชิกครอบครัวตัวโตในห้วงเวลาแห่งความยากลำบากเช่นนี้

 

mahout and elephant

ขอบคุณภาพจาก: www.onceinlife.co

 

จากกรณีโควิดระบาด ซึ่งส่งผลต่อการท่องเที่ยวโดยตรง ทำให้ปางช้างหลายแห่งจำต้องปิดตัว และควาญต้องพาช้างกลับไปยังบ้านเกิดตัวเอง มีทางแก้ไขในระยะสั้นและระยะยาวไหม

เป็นคำถามที่ยากมากนะครับ (คิด) ถ้าถามผมซึ่งตอบเป็นความเห็นส่วนตัว (เน้นเสียง) สิ่งที่จะตอบก็เป็นแผนที่ผมเอามาใช้ในปางช้างที่ดูแล จริงๆ แล้วเวลาเราเจอวิกฤตหรือปัญหา คำถามแรกคือ สาเหตุของปัญหาคืออะไร เราแบ่งกลุ่มที่ทำงานช้างออกเป็นสี่กลุ่มคือ ควาญช้าง เจ้าของปาง หน่วยงานส่วนกลางที่คอยสนับสนุนคือกรมปศุสัตว์กับ ททท. และหน่วยงานราชการต่างๆ 

 

โควิดทำให้ช้างตกงาน ทำให้ปางช้างและเจ้าของขาดรายได้ สาเหตุของปัญหาคือโควิดซึ่งเราแก้ไม่ได้อยู่แล้ว ปัญหาต่อมาคือถ้าเราบอกว่า ช้างตกงานแล้วขาดอาหาร เป็นไปได้ไหมที่ควาญช้าง เจ้าของปาง หรือแม้กระทั่งภาครัฐส่วนกลาง ทำแผนที่จะสร้าง ‘แปลงปลูกพืชอาหารช้าง’ หญ้าคืออาหารหลักของช้าง ดังนั้น 1 ปี 3 ปี หรือ 5 ปี เราวางแผนร่วมกันได้ไหมว่าพื้นที่รกร้างหรือที่ดินที่เราไม่ใช้ ประยุกต์เอาตรงนั้นมาเป็นแหล่งปลูกพืชสำหรับเป็นอาหารช้างไหม เพราะแปลงหญ้ามันสามารถปลูกวนได้ ไม่ใช่ไปถอนนะ ให้ตัดเพราะเมื่อตัดเสร็จมันก็ขึ้นใหม่ 

 

ปัญหาอยู่ที่ปางช้าง ถ้าปางที่มีช้างเยอะๆ จะพบว่าปลูกหญ้าเท่าไรก็ไม่พอ เพราะช้างต้องการอาหาร 10% ต่อน้ำหนักตัว และถ้าชาวบ้านนำช้างกลับไปบ้าน ก็อาจต้องมาคำนวณว่าช้างหนึ่งเชือกต้องใช้พื้นที่กี่ไร่ในการเพาะปลูก อันนี้ลำบากแล้ว แต่ถ้ามาคิดว่า เจ้าของช้างที่เลี้ยงช้างอย่างน้อยสามเชือก เจ้าของควรจะมีพื้นที่สำหรับปลูกหญ้าหรือพืชอาหารช้างกี่ไร่ ถ้าเขาไม่มีจะทำอย่างไร ก็อาจลองคิดว่า ถ้าเจ้าของช้างในชุมชนนั้นเอาช้างมารวมกันแล้วได้ 10 เชือก จะต้องใช้พื้นที่กี่ไร่ เจ้าของช้างปลูกพืชอาหารช้างแล้วผลัดกันไปตัดหญ้ามาให้ช้างได้ไหม 

 

ส่วนเรื่องการขาดแคลนรายได้ของเจ้าของ อันนี้สำคัญมากเลย ผมอยากย้อนไปว่าในสมัยก่อน ถ้าเราเคยเห็นหรือเคยได้ยิน คงจำเรื่องการนำช้างมาเดินเร่ร่อนในตัวเมืองได้ อันนั้นเรียกว่าช้างเร่ร่อน กระบวนการแก้ไขปัญหาตรงนั้นใช้เวลานานมาก ราวๆ 20 ปีได้ 

 

แต่ปัจจุบันปัญหามาจากโควิด เมื่อตกงานควาญก็ไม่เอาช้างมาเร่ร่อนแล้ว อันนี้เป็นเรื่องที่ดีมากๆ โดยควาญก็เลือกพาช้างกลับบ้าน ช้างส่วนหนึ่งก็ขาดแคลนอาหารหลักอย่างหญ้า จึงมีการไลฟ์นำเสนอ ประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปซื้ออาหารให้ช้าง ผมมองว่ามันไม่ใช่เรื่องผิดนะ ถ้าควาญช้างเขาเลี้ยงช้างอย่างดี ดูแลดี แต่ด้วยความที่เขาขาดแคลนรายได้ และเขาก็หาทางออกโดยการใช้สื่อโซเชียลมาเป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหาตรงนี้ โดยไม่ขัดต่อหลักกฎหมายและจรรยาบรรณ ดูแลช้างอย่างมีสวัสดิภาพ แล้วคนที่มีความพร้อมจะช่วยเหลือช้างด้วยการซื้ออาหารให้ช้าง ร่วมโอนเงินต่างๆ ผมถือว่าเป็นความพร้อมของคนที่ซื้อ ถ้าเขาซื้อก็แสดงว่าเขาพร้อมจะช่วย และร่วมยินดีครับ

 

คือมันไม่ได้ไปขัดหลักสวัสดิภาพ จรรยาบรรณของช้าง ถ้าเขาเอาช้างไปทุบตี บังคับ หรือดูแลช้างไม่ดี อันนั้นคือสิ่งที่ขัดหลักสวัสดิภาพ

 

หลักสวัสดิภาพของช้างมีอะไรบ้าง 

ไม่ต่างจากหลักสวัสดิภาพของสัตว์อื่นๆ เลย เราเรียกกันว่า 5F หรือ Five Freedom แบ่งออกเป็น การเป็นอิสระจากความหิวกระหาย, จากความหวาดกลัว, ความทุกข์ทรมาน, ความเศร้า กังวลทางจิตใจ, ความเจ็บปวดและโรคภัย คือเมื่อเจ็บป่วยก็มีการรักษาดูแล เป็นหลักพื้นฐานของสวัสดิภาพสัตว์

 

อย่างเรื่องการสร้างความหวาดกลัวของช้าง คือต้องมองว่ามันเป็นการกระทำที่ไปทำให้เขาเกิดภาวะหวาดกลัวตลอดเวลา (เน้นเสียง) ไหม หรือล่ามโซ่เขาตลอดเวลาหรือเปล่า ทั้งนี้ การล่ามโซ่หรือการถือมีดถือขอก็ไม่ใช่ความหวาดกลัวเหมือนกัน เราต้องแยกให้ออกว่า ณ เวลานั้นเรากำลังกระทำอะไรกับช้าง เรากำลังสอนเขา ดูแลเขา เช่น เวลาผมไปรักษาช้าง ควาญก็ต้องมีขอและล่ามโซ่ช้างไว้ เพราะถ้าหมอไปฉีดยาแล้วช้างยืนแกว่งงวง แกว่งขาก็เตะหมอได้ (ยิ้ม) 

 

mahout and elephant

 

ควาญช้างที่พาช้างกลับไปบ้านตัวเอง จะยังสร้างหรือมอบสวัสดิภาพแก่ช้างของตัวเองได้ไหม

จริงๆ ผมว่าได้นะ พอเรากลับไปบ้าน ข้อจำกัดในการทำงานและการใช้แรงงานมันลดลง ที่แน่ๆ คือสิ่งแวดล้อม สภาพจิตใจของช้างซึ่งเมื่อได้กลับบ้าน ไปอยู่กับธรรมชาติที่บ้านเขา โดยลักษณะของช้างเลี้ยงแล้วเมื่อไปอยู่ในพื้นที่แบบนั้น ผ่อนคลายได้มากขึ้น มันจะเป็นสวัสดิภาพให้เขาอยู่แล้ว

 

สำหรับปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหาร ถ้าเราแก้ปัญหาเรื่องแหล่งอาหารได้ สมมติว่าชาวบ้านเลี้ยงช้างที่หมู่บ้าน ก. เรารู้แล้วว่าหมู่บ้านนี้มีช้างเลี้ยงอยู่ 10 เชือก ขาดแคลนอาหารหลักที่เป็นหญ้าหรืออาหารอื่นๆ เช่น กล้วย ส่วนหมู่บ้านอื่นๆ เช่น หมู่บ้าน ข. กับหมู่บ้าน ค. เขาอาจไม่ได้เลี้ยงช้าง แต่เขามีแหล่งเพาะปลูก มีหญ้า เขาอาจจะบริจาคให้ควาญ ซึ่งต้องมาตัดหญ้าไปเองได้ไหม หรือควาญอาจจะขอซื้อในราคาที่ถูกหน่อยได้ไหม หรือคนที่อยากบริจาค ก็อาจจะบริจาคเงินด้วยการซื้ออาหารจากหมู่บ้าน ข. กับ ค. มาให้ช้างที่หมู่บ้าน ก. ไปก่อน แต่ทั้งนี้ หมู่บ้าน ก. ที่เลี้ยงช้างก็ต้องมีแผนที่จะปลูกหญ้าเองด้วยเพราะคงซื้อตลอดเวลาไม่ได้

 

อันที่จริงสิ่งเหล่านี้มันแก้คนเดียวไม่ได้ มันอาจต้องใช้เวลาและกระบวนการหลายปีมากๆ แต่สุดท้ายถ้าภาครัฐเข้ามาช่วยเรื่องพื้นที่ มีการศึกษาวิจัยเรื่องพืชอาหารช้างแล้วปลูกเพื่อรองรับจำนวนช้างในพื้นที่แต่ละพื้นที่ มันก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ เพราะอาหารนี่ไม่ใช่ว่าปลูกแล้วเอามาให้ช้างกินได้เลยนะ มันต้องปลอดสารพิษ ปลอดสารเคมี เพราะมันส่งผลต่อระบบการหมักย่อยของช้าง คือเขาเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว หมักที่ลำไส้ใหญ่ส่วนท้าย ไม่เหมือนวัว ถ้าช้างกินอาหารที่มีสารเคมีหรือสารพิษเข้าไป ท้องผูกอีก มันส่งผลเยอะมาก ดังนั้นอาหารจึงต้องได้คุณภาพด้วย

 

ที่ผ่านมาผมว่าเรามองว่าการเอาช้างมาเป็นหลักในการท่องเที่ยว แต่หลังจากยุคโควิด ส่วนตัวผมคิดว่าเราเอาช้างมาเป็นส่วนเสริมได้ไหม เช่น ตั้งธงเรื่องการท่องเที่ยวของชุมชนไหม ยกตัวอย่างหมู่บ้าน ก. ที่มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจเป็นเอกลักษณ์ อาหารเป็นเอกลักษณ์ จุดท่องเที่ยวเป็นเอกลักษณ์ เช่น น้ำตก ทิวเขาสักอย่างหนึ่ง แล้วเอาช้างไปเป็นส่วนประกอบ คือถ้าคุณมาเที่ยวน้ำตกนี้ แวะข้างๆ กันก็อาจถ่ายรูปกับช้างได้นะ มาให้อาหารช้างได้นะ คือได้เที่ยวแล้วก็ได้ถ่ายรูป ได้ช่วยช้าง 

 

mahout and elephant

ขอบคุณภาพจาก: www.onceinlife.co

 

สิ่งที่น่าสนใจคือพอมันเกิดการเอาช้างมาใช้ในการท่องเที่ยว หรือในกรณีนี้คือเอาช้างมาไลฟ์เพื่อหาค่าอาหารให้ช้าง ควาญถูกมองว่าเอาช้างมาหากิน ซึ่งจริงๆ ความสัมพันธ์ของควาญกับช้างมันผิวเผินหรือลึกซึ้งอย่างไรบ้าง

การเป็นควาญมันคือการที่คุณต้องตื่นตีห้าเพื่อมาดูแลช้าง ยิ่งกว่าลูกอีก ตื่นแต่เช้า พาไปกินอาหาร เขาหิวขึ้นมาเมื่อไรก็ไปแบกหญ้าแบกอาหารมาป้อนเขา 4-5 ครั้งต่อวัน เสร็จแล้วอาบน้ำให้ ช้างขี้มาก็ตามไปเก็บ ตกเย็นมาพาไปอาบน้ำให้อีกครั้งแล้วพาไปผูก อยู่กับเขาทั้งวัน ทำอยู่แบบนี้สักปีหนึ่ง รู้เรื่องเลย

 

ตอนผมเป็นนักเรียน ฝึกงานที่ศูนย์ช้างลำปาง ผมอยู่ที่นั่นแล้วทำแบบนี้อยู่เดือนหนึ่ง แค่เดือนเดียวเรายังรู้สึกเลยว่าเราต้องเข้าใจช้างมากๆ ผูกพันมากๆ มันคือการที่เราตื่นเช้ามาแล้วไม่สนใจอะไรเลย ไปเอาช้างก่อน อยู่กับเขาทั้งวัน เย็นก็ไปส่งช้าง ควาญก็เหมือนกัน ดังนั้นผมจึงรู้สึกว่าควาญช้าง 80-90% สัมพันธ์กับช้างในระดับจิตวิญญาณเลย ผมใช้คำนั้น มันไม่ใช่แค่ความผูกพันนะ

 

การที่คนจะเลี้ยงช้างแล้วอยู่กับช้างได้ เขาจะต้องมีจิตวิญญาณหรือความผูกพันกับช้างในระดับหนึ่งเลย เพราะมันคือการที่ต้องใช้ชีวิตด้วยการตื่นเช้ามาแล้วฉันจะอยู่กับเธอทั้งวัน ฉะนั้น ควาญที่อยู่กับช้างมาได้นาน ผมยืนยันว่ามันมีความผูกพันกันอยู่แล้ว ต่อให้เป็นคนที่เมาเหล้าอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าเขาอยู่กับช้างที่เขาเลี้ยง เขาเลี้ยงได้ดีมากนะครับ หลายคนที่ผมเจอ ตอนกลางวันก็กินเหล้าเก่ง แต่เขาตื่นเช้าเพื่อมาดูช้างของเขาทุกวัน ช้างเขาอ้วน ผิวสวย มันบ่งบอกได้หมดเลย

 

ตัวช้างเองจำควาญของตัวเองได้ แล้วช้างนี่ความจำดีมาก ถ้าเราเคยให้อาหารเขา แม้จะเจอเพียงครั้งเดียว เขาก็จำเราได้นะ ทางวิทยาศาสตร์เขาจำกลิ่นฮอร์โมนได้ และสามารถจำแนกได้ว่าคนนี้คือควาญ คนนี้คือหมอ คือหมอจะมีกลิ่นแอลกอฮอล์ติดตัวมาอยู่แล้วเพราะจะมาฉีดยา หรือถ้าได้ยินเสียงผมเขาก็จะรู้แล้วว่าเป็นเสียงหมอ จนถ้าจะเข้าไปหาช้างมันก็ต้องใช้แท็กติก คือถ้าเป็นช้างที่ไม่เอาเราเลย ผมก็จะยืมผ้าขาวม้า เสื้อควาญมาห่มตัวให้เป็นกลิ่นควาญ

 

ผมว่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างควาญกับช้างนี่นั่งคุยกันเป็นสิบวันก็ไม่หมด

 

ที่ผ่านมามีการพยายามเสนอให้คืนช้างสู่ธรรมชาติเหมือนกัน มองประเด็นนี้อย่างไรบ้าง

โครงการคืนช้างสู่ธรรมชาติเป็นโครงการนำช้างเลี้ยงกลับคืนไปสู่ป่า มีการศึกษาที่จังหวัดลำปางซึ่งมันก็ได้ผลนะ เพียงแค่ไม่เห็นผลในช้างเจเนอเรชันที่ 1 และ 2 เนื่องจากมันต้องใช้เวลานานพอสมควร คือเขาเป็นช้างเลี้ยง เขาถูกเลี้ยงมา การกิน การใช้ชีวิตหรือทัศนคติของช้างต่อสิ่งแวดล้อมเองก็ตาม เขายังผูกพัน ยังมีปฏิสัมพันธ์กับคนอยู่ และความเป็นช้างเลี้ยง พอเขาเจอไร่สับปะรด ไร่มัน อะไรที่เขากินได้ก็ไปเหมาสวนคนเขา แต่พอเป็นเจเนอเรชันรุ่นลูก รุ่นหลานที่เกิดและโตในป่า เมื่อไม่เจอคนตั้งแต่แรกเขาก็จะเดินหนีคน

 

แต่เราลองมาคำนวณปีกัน ช้างตั้งท้องสองปี กว่าจะมีลูก เจเนอเรชันรุนแรกที่เราเอาไปปล่อย กว่าจะผสม ผสมเสร็จก็ตั้งท้องอีกสองปี ตัวแม่ก็ต้องเลี้ยงลูกที่กว่าจะหย่านมไปอีกสี่ปี รวมก็หกปีแล้ว ทีนี้กว่าช้างรุ่นลูกจะ Puberty พร้อมผสมพันธุ์ แยกออกจากโขลงได้ ก็ต้อง 12-15 ปีไปแล้วถึงจะหวังผลตรงนั้นได้ คือถ้าเราจะหวังผลให้เป็นช้างป่าโดยที่ลูกหรือหลานช้างเกิดมาแล้วเดินหนีคนก็ต้องใช้เวลา ต้องรอที่รุ่นนั้น

 

ในอีกด้านหนึ่ง พื้นที่ป่ามันพอให้ช้างไปอยู่ไหม

ที่เราคุยกันมาก็มีเรื่องพฤติกรรมของช้างที่เป็นเรื่องสังคมช้างก่อน และต่อมาคือเรื่อง Biology การตั้งท้อง การผสมพันธุ์ และสามคือเรื่องนี้แหละ มันคือเรื่องพื้นที่การหากินของช้างต่อหนึ่งโขลง หรืออาจจะหนึ่งเชือก มันต้องคิดครอบคลุม สมมติเราเอาช้างไปเลี้ยงในโขลงนี้ 10 ตัว เราก็ต้องคำนวณว่าต้องใช้พื้นที่กี่ไร่ แล้วถ้ามี 10 โขลง ก็เพิ่มเป็น 10 เท่า คือพื้นที่ป่าอาจจะพอ แต่ Pathway เส้นทางการเดินหากินของช้างมันคือ Ecology ครับ 

 

Ecology คือนิเวศของป่า เราต้องดูว่าเมื่อเราเอาช้างเข้าไปอยู่ Ecology มันเป็น Positive หรือ Negative เช่น ต้องศึกษาว่าเอาช้างไปปล่อยมันจะส่งผลต่อ Ecology ทั้งระบบไหม เราอาจจะมองว่า ดีแล้วนี่ ช้างไปกินพืช แต่ความจริงผมมองในฐานะสัตวแพทย์คือ มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยเพราะเชื้อโรค 

 

นี่คืออีกหนึ่งปัจจัย มันคือเรื่องของการนำโรคจากสัตว์เลี้ยงไปสู่สัตว์ป่า นี่เรื่องสำคัญมาก เพราะสัตว์เขาจะมีโรคประจำตัวของเขา หลักๆ เลยคือพยาธิ เขาอยู่กับเราเราก็ถ่ายพยาธิให้เสมอ ดูแลต่างๆ แต่ถ้าวันหนึ่งเราเอาพวกเขาไปปล่อยในป่า Ecology ที่จะกระทบอย่างแรกคือสัตว์กลุ่มเดียวกันที่จะติดโรคจากช้างได้ เช่น กลุ่มวัวกระทิง วัวแดง วัวป่า ควายป่า เราไม่รู้ว่าช้างจะเป็นพาหะนำความผิดปกติเหล่านี้ไปสู่สัตว์ในป่าไหม 

 

แล้วตอนนี้ สิ่งสำคัญคือโรคเฮอร์ปีไวรัสในช้าง (EEHV) มันทำให้ลูกช้างที่อายุต่ำกว่า 15 ปีเสียชีวิตทันทีทันใดภายใน 5-7 วัน แล้วถ้าเราปล่อยช้างเหล่านี้ไปเขาใหญ่ ลูกช้างที่เกิดมาเป็นพาหะของโรค แจ็กพอตขึ้นมา ช้างป่าจะทำอย่างไร 

 

มันไม่ใช่เราคิดแล้วจะทำได้เลย แต่มันต้องมีแผนเป็นระยะรายปีด้วย และคำนึงว่า กระบวนการตอนนั้น เทคโนโลยีตอนนั้นจะสามารถตรวจวินิจฉัยลูกช้างหรือสัตว์ที่เราจะปล่อยเข้าป่าว่าปลอดโรคหรือเปล่าได้ไหม นอกจากนี้มันยังต้องคำนึงเรื่อง DNA โรคทางพันธุกรรมที่ตรวจไม่เจอด้วย 

 

ดังนั้นผลกระทบมันจึงเยอะมาก ตัวช้างเองก็ต้องใช้เวลาในการปรับพฤติกรรม สังคม เรื่องการสืบพันธุ์ เรื่องพื้นที่อาหาร เรื่องโรคภัย และสุดท้ายคือเรื่องการเป็นพาหะนำโรคหรือความผิดปกติต่างๆ ด้วย

 

mahout and elephant

 

หากวันหนึ่งโควิดสิ้นสุดลง ปางช้างกลับมาเปิดอีกครั้ง ทิศทางของปางช้างจะเป็นอย่างไร

เราอาจเคยได้ยินคำว่า ที่ผ่านมาช่วง 2-3 ปี กลุ่มนักท่องเที่ยวยุโรปหรืออเมริกา เขาค่อนข้างต่อต้านการโชว์ช้างหรือใช้ช้างแบบที่เราเคยทำ เช่น ใช้โซ่ต่างๆ ก่อนโควิดปางช้างสมัยใหม่จึงมีการปรับตัวว่า สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการคืออะไร เพราะมันก็คืออุปสงค์-อุปทานว่านักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวกับเราเขาไม่อยากให้เราทำอะไร นักท่องเที่ยวเขาบอกผมว่าเขาไม่อยากให้มีการใช้มีด โซ่หรือขอ ผมเป็นหมอก็บอกว่าไม่ได้ครับ มันคือความปลอดภัย มันคือการเรียนรู้และการดูแลที่เราต้องใช้ แต่ถ้าคุณต้องการในลักษณะ Free Time ผมก็มีให้ช้าง แต่ไม่ใช่ 24 ชั่วโมง

 

คือที่ผ่านมา ผมเคยกำหนดเวลา Free Time ของช้าง ฝึกให้ช้างอยู่กันเป็นกลุ่ม 4-10 เชือก โดยปล่อยเขาไปอยู่ในพื้นที่เดียวกัน คล้ายๆ สร้างเป็นโขลงขึ้นมา แล้วเราก็นั่งดูห่างๆ โดยที่ไม่ต้องไปล่ามโซ่เขา

 

ช่วงแรกๆ ที่ฝึก Free Time แบบนี้ก็มีปัญหาเหมือนกัน คือครั้งแรก ปางช้างแต่ละปางเขาจะเลี้ยงช้างแบบ Individual คือเลี้ยงรายตัว ผูกโซ่ล่ามไว้ ถึงเวลาก็ไปทำงาน เสร็จแล้วก็พาช้างกลับเข้าซอง ทำให้ช้างมีพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละเชือก ซึ่งผมมองว่า มันน่าลองมาศึกษาว่าถ้าเรามีช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่เราไม่ล่ามโซ่เขา ในแต่ละวันขอสักสองชั่วโมง ปล่อยช้างเหล่านั้นออกมาอยู่รวมกันในแปลงหญ้า ควาญแค่เอาอาหารไปวางจุดนั้นจุดนี้ ภาษาหมอเขาเรียกว่าการทำ Enlistment วันพรุ่งนี้ก็ขออีกสองชั่วโมง วางหญ้าวางอาหารไว้อีกจุด ย้ายจุดวางเพื่อให้ช้างได้ออกเดิน แต่ก็ต้องค่อยๆ ทำไป ช้างแต่ละเชือกจะค่อยๆ มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน จนวันหนึ่งเมื่อ 3-4 เดือนผ่านไป ช้างเขาก็รวมกลุ่มกันเป็นโขลง มีปฏิสัมพันธ์กัน เชือกไหนที่ไม่เอาใครเลย ฉันรักสันโดษนะ ก็จะอยู่ของเขาเชือกเดียว เวลากินอาหารก็มารวมกับเพื่อน แต่พอถึงเวลาก็เดินออกห่างไปเอง แต่อีก 5-6 เชือกที่เขามีปฏิสัมพันธ์กัน เขาก็จะรวมกลุ่มกัน

 

จน ณ วันหนึ่งสักเดือนที่ห้า จากการที่ผมไปเฝ้าสังเกตและตั้งกล้อง คือหมอเนี่ยเป็นคนแปลกหน้านะครับ เพราะเราไม่ใช่ควาญ ก็มีช้างเชือกหนึ่งที่หันหน้ามาหาเรา ที่เหลือก็ไปยืนรวมกลุ่ม อันนี้แหละเป็นพฤติกรรมปกติของช้างที่อยู่ในธรรมชาติ นั่นคือเขามีจ่าฝูงหรือ ‘แม่แปรก’ เราศึกษามาเราสังเกตเห็นแล้วว่า ถ้าเราปล่อยเขาให้มี Free Time สักช่วงใดช่วงหนึ่ง แล้วให้เขารวมกลุ่มกัน ก็จะเกิดสังคมช้างขึ้น

 

แต่เมื่อถึงเวลา หมดช่วง Free Time เขาก็จะเรียนรู้ว่าจะมีควาญช้างมาหา พาเขาไปล่ามในซอง เพราะตอนกลางคืนเราปล่อยเขาไว้ไม่ได้ ไม่งั้นจะไปเดินเข้าบ้านชาวบ้านหมด ดังนั้นมันจึงเป็นกลไกเช่นนี้ ที่จะมีการฝึกฝน การให้เขาได้เรียนรู้อยู่ เช่น เวลาหมอทำงานรักษาคุณ คุณต้องถูกล่ามโซ่ก่อนนะ ยืนตรงๆ นะ ฟังคำสั่งจากควาญนะ แต่เวลาที่เราปล่อยคุณ 2-4 ชั่วโมงต่อวัน คุณก็เดินไปในทุ่งตรงนี้ได้เลยนะ แล้วมันมีผลต่อสุขภาพกายและใจช้างโดยตรง ซึ่งนี่แหละคือสวัสดิภาพของช้างที่ปางช้างสมัยใหม่กำลังทำ

 

เราต้องคุยกับนักท่องเที่ยวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนเลี้ยง นักท่องเที่ยว และช้าง มันต้องสมดุลกัน จะเอาน้ำหนักเทไปที่สวัสดิภาพของช้างที่จะต้องอยู่ดีกินดีแล้วไม่ถูกล่ามก็ไม่ได้ เพราะเขาเป็นช้างเลี้ยง เขาต้องอยู่กับคน และช้างต้องเจอนักท่องเที่ยว มันจึงต้องมีสมดุลด้วย คือเราก็ต้องนึกถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และสวัสดิภาพของช้างด้วย

The post #ช้างตกงาน การดิ้นรนครั้งใหญ่ของควาญและช้างในภายหลัง ‘ระบบปาง’ ปิดตัวลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ‘ปางช้าง’ ในวันที่ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ความช่วยเหลือที่ยังมาไม่ถึง https://thestandard.co/video-elephant-camp-without-foreign-tourists/ Mon, 28 Dec 2020 08:53:15 +0000 https://thestandard.co/?p=436705 ‘ปางช้าง’ ในวันที่ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ความช่วยเหลือที่ยังมาไม่ถึง

เมื่อ 63 ปีก่อน ‘ช้าง’ ในเมืองไทยเคยมีจำนวนมากถึง 12,50 […]

The post ชมคลิป: ‘ปางช้าง’ ในวันที่ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ความช่วยเหลือที่ยังมาไม่ถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ปางช้าง’ ในวันที่ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ความช่วยเหลือที่ยังมาไม่ถึง

เมื่อ 63 ปีก่อน ‘ช้าง’ ในเมืองไทยเคยมีจำนวนมากถึง 12,500 เชือก แต่วันนี้กลับลดลงเหลือเพียง 3,800 เชือกเท่านั้น

 

สถานการณ์ยิ่งน่าเป็นห่วงมากขึ้นทุกที เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ถือเป็น ‘เส้นเลือด’ หลักได้หายไปจากการระบาดของโรคโควิด-19

 

แถมความช่วยเหลืออื่นๆ ยังมาไม่ถึงอีกต่างหาก

The post ชมคลิป: ‘ปางช้าง’ ในวันที่ไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ความช่วยเหลือที่ยังมาไม่ถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ช่วยท่องเที่ยวไทย-การ์ดอย่าตก | HIGHLIGHT 4 ธันวาคม 2563 https://thestandard.co/morning-wealth-04122020-2/ Fri, 04 Dec 2020 06:14:56 +0000 https://thestandard.co/?p=428561 ช่วยท่องเที่ยวไทย-การ์ดอย่าตก | HIGHLIGHT

ฟังเสียงผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ […]

The post ชมคลิป: ช่วยท่องเที่ยวไทย-การ์ดอย่าตก | HIGHLIGHT 4 ธันวาคม 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ช่วยท่องเที่ยวไทย-การ์ดอย่าตก | HIGHLIGHT
  • ฟังเสียงผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ถึงสถานการณ์ความเสี่ยงการระบาดของโควิด-19 ระลอกสองในโซนภาคเหนือ
  • ผลกระทบและการปรับตัวเป็นอย่างไร พูดคุยกับตัวแทนผู้ประกอบการสปา จังหวัดเชียงใหม่ กิติพัฒน์ จิรกิจวิวัธน์ ผู้บริหารศิรา สปา และตัวแทนท่องเที่ยวปางช้าง ธีรภัทร​ ตรังปราการ นายกสมาคมสหพันธ์​ช้าง​ไทย

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ช่วยท่องเที่ยวไทย-การ์ดอย่าตก | HIGHLIGHT 4 ธันวาคม 2563 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เที่ยวช้างแบบอนุรักษ์ กับ Phuket Elephant Sanctuary ไม่ต้องดูช้างเล่นกายกรรมก็สนุกได้ https://thestandard.co/phuket-elephant-sanctuary/ https://thestandard.co/phuket-elephant-sanctuary/#respond Fri, 26 Oct 2018 16:12:07 +0000 https://thestandard.co/?p=138031

ออกตัวก่อนว่าปกติเป็นคนไม่ชอบเที่ยวปางช้าง หรือโชว์เกี่ […]

The post เที่ยวช้างแบบอนุรักษ์ กับ Phuket Elephant Sanctuary ไม่ต้องดูช้างเล่นกายกรรมก็สนุกได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ออกตัวก่อนว่าปกติเป็นคนไม่ชอบเที่ยวปางช้าง หรือโชว์เกี่ยวกับสัตว์สักเท่าไร เพราะทราบดีว่า ก่อนที่หน้าม่านจะแสดงความสามารถน่ารักๆ ชวนตะลึง เบื้องหลังความสำเร็จเหล่านั้นมีความทุกข์ทรมานซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการฝึก หรือแม้แต่การขึ้นโชว์จริงที่ใช้เครื่องทรมานสัตว์สารพัดชนิด ยิ่งเป็นสัตว์ใหญ่ด้วยแล้ว ยิ่งโหดร้ายทรมานมากกว่าสัตว์เล็กหลายเท่าตัว ระหว่างโชว์ก็มีเคียวง้าวข้าวขอบังคับให้ทำตามสั่ง ในขณะที่ชีวิตหลังม่านยังได้รับการดูแลไม่ดีพอ ฉะนั้นยามเมื่อรู้ตัวว่าต้องไปเยือนปางช้างที่ภูเก็ต ใจมันก็จะต่อต้านหน่อยๆ อิดออดไม่อยากไป เพราะไม่อยากสนับสนุน ปากก็บ่นไปด้วยว่าเบื่อบ้างล่ะ ไม่ชอบดูโชว์ช้างบ้างล่ะ แต่เมื่อคนท้องถิ่นเอ่ยปาก และกล่อมด้วยประโยคที่ว่า “ที่นี่ไม่มีโชว์ช้าง” สุดท้ายเลยยอมลดราวาศอก ไปเยือนจนได้ แล้วก็พบว่า Phuket Elephant Sanctuary นั้นไม่เหมือนปางช้างที่เคยเข้าใจจริงๆ

 

ช้างและควาญช้าง

 

Phuket Elephant Sanctuary เป็นปางช้างยุคใหม่ของภูเก็ต สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พักพิงของช้างงานที่ทำงานหนักจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นโชว์กายกรรมช้าง เที่ยวบนหลังช้างฯลฯ โดยมีแนวคิดที่ว่า ช้างทุกเชือกสมควรมีชีวิตที่ดีตามธรรมชาติหลังปลดเกษียณ และไม่สมควรทำงานจนตาย ช้างที่อาศัยอยู่ที่นี่จึงมีอิสระเสรี อยากเดินไปตรงไหนหรือกินอะไรก็ได้ ชอบเล่นน้ำก็เล่น เบื่อก็พัก โดยจะมีควาญช้างคอยดูแลอยู่ใกล้ๆ ระวังไม่ให้ช้างเกิดอุบัติเหตุ หรือนักท่องเที่ยวเข้าใกล้มากเกินไปจนได้รับอันตราย

 

เยี่ยมชมแบบห่างๆ โดยมีควาญช้างและผู้นำทัวร์ให้ความรู้ตามประกบ

 

พื้นที่ราว 76 ไร่ มีช้างอาศัยอยู่แค่ 8 เชือก เนื่องจากเจ้าของ มนตรี ทดแทน กล่าวว่าต้องใช้เงินมหาศาลในการไถ่ช้าง 1 เชือกจึงค่อยเป็นค่อยไป ผนวกกับช้างที่ได้รับความช่วยเหลือ มักบาดเจ็บสาหัสจากการทำงานหนัก บางตัวตาบอด มองทางไม่เห็น บางเชือกขาพิการต้องผ่าตัดเดินไม่ได้เป็นแรมปี ต้องใช้เม็ดเงินในการรักษา และสร้างสถานที่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การอาศัย

 

บน: บางจุดเป็นดินโคลน ต้องใส่รองเท้าบู๊ตที่ทางปางช้างจัดเตรียมไว้ให้

ล่าง: บรรยากาศในปางช้าง พบแหล่งน้ำตามธรรมชาติเยอะมาก

 

ช้างเชือกนี้ตาบอด

ควาญช้างจึงต้องให้สัญญาณตลอด หากเดินเข้าใกล้คนมากเกินไป

 

การเที่ยวชมช้างที่ Phuket Elephant Sanctuary แบ่งเป็น 2 ช่วงหลัก คือ เช้าและบ่าย ไม่ว่ารอบไหนก็เริ่มต้นด้วยคลิปวิดีโอ อธิบายปัญหาของการทารุณกรรมช้าง วิถีชีวิตของช้างในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ตามด้วยการเดินทัวร์ชมปางช้าง และปิดท้ายด้วยอาหารพื้นถิ่นท่ามกลางธรรมชาติ เวลาทัวร์ผู้นำทัวร์จะนำลูกทัวร์ไปทำความรู้จักกับช้างตามจุดต่างๆ โดยเล่าถึงประวัติความเป็นมาของช้างตัวนั้นว่าเคยผ่านงานอะไรมาก่อน และป่วยเป็นโรคอะไร เว้นระยะห่างระหว่างช้างและคนดูประมาณ 3-4 เมตรเป็นอย่างน้อย ซึ่งจากที่สังเกตดู ผู้เขียนเห็นว่าช้างแต่ละเชือกมีสุขภาพจิตดีมาก บางเชือกที่คุ้นเคยกับคนก็จะชอบอวดตัวให้เห็น มองกล้อง หยอกล้อกับควาญช้าง บางเชือกก็เหมือนเด็กแงงอน เมื่อโดนบังคับให้เดินในน้ำเพราะต้องทำกายภาพบำบัดกับคุณหมอ

 

ช้างคู่นี้เป็นเพื่อนกันตั้งแต่ฟาร์มเก่า

ไกด์เล่าว่าตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ ก็อยู่ด้วยกันตลอด ไม่ห่างกันเลย

 

ช้างทุกเชือกรู้ว่าตนเองต้องนอนคอกหมายเลขใด และควรเข้าห้องนอนตอนกี่โมง พอถึงเวลาก็จะเดินเข้าคอกเองอัตโนมัติ ในคอกมีฟางไว้สำหรับนอน มีน้ำ และอาหารเตรียมไว้เผื่อหิว และที่สำคัญคือสะอาดสะอ้าน มีคนดูแลตลอดเวลา

 

วันนี้ฝนตก อากาศชื้น ช้างงอแงไม่อยากลงน้ำทำกายภาพบำบัด

เลยลงไป 1 นาที แล้วขึ้น

 

ซ้าย: บางจุดก็เดินลำบากเล็กน้อย

ขวา: เชือกนี้ชอบกล้องและคุ้นคนมาก

ไกด์เล่าว่าสมัยก่อนเป็นนักแสดงต้องถ่ายรูปกับคนบ่อยๆ

 

แม้ที่นี่จะไม่มีกิจกรรมโชว์ช้าง อวดอ้างความสามารถพิเศษต่างๆ แต่ก็เพลิดเพลินไปกับธรรมชาติและเรื่องราวของช้างแต่ละเชือกได้ไม่น้อย ค่อยๆ ละเลียดดูวิถีชีวิตและลักษณะนิสัย ทั้งหมดล้วนเป็นกิจกรรมที่ช้างควรจะทำตามธรรมชาติ ให้ความรู้สึกเหมือนมาเที่ยวสวนสัตว์เปิดในป่าใหญ่ ที่ทำให้เรากลับบ้านไปพร้อมจิตสำนึกแห่งการรักษ์ช้าง บวกความรู้สึกดีๆ ถ้าคิดจะเที่ยวปางช้าง เราก็ขอให้คุณสนับสนุนปางช้างลักษณะนี้ ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ในภูเก็ต เชียงใหม่ สุรินทร์ กาญจนบุรี และสมุย ในชื่อที่ต่างกันออกไป ใครสนใจสามารถหาข้อมูลได้ในเว็บไซต์ของ Phuket Elephant Sanctuary

 

ฝากไว้ว่า อย่าให้ความสนุกชั่ววูบจากการโชว์สัตว์ ทำลายพวกเขาไปทั้งชีวิตอีกเลย

 

Phuket Elephant Sanctuary

Address: 100 หมู่ 2 ตำบลป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต

Open: 8.30-17.30 น.

Tel.: 07 6529 099 (8.30-17.30 น.), 0 2767 7111 (7.3 -10.00 น.)

Website: www.phuketelephantsanctuary.org

Map: 

 

The post เที่ยวช้างแบบอนุรักษ์ กับ Phuket Elephant Sanctuary ไม่ต้องดูช้างเล่นกายกรรมก็สนุกได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/phuket-elephant-sanctuary/feed/ 0