ปัญหาสินค้าราคาแพง – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 30 Aug 2024 16:49:52 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 นี่คือยุคข้าวยากหมากแพง! ผ่านมา 5 ปี ราคาสินค้าสามัญประจำบ้านพุ่งขึ้นไม่หยุด ปริศนาที่ (ยัง) ต้องหาคำตอบ? https://thestandard.co/thai-household-goods-price-surge/ Tue, 06 Aug 2024 07:24:46 +0000 https://thestandard.co/?p=967830 สินค้าอุปโภคบริโภค

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายอย่างถึ […]

The post นี่คือยุคข้าวยากหมากแพง! ผ่านมา 5 ปี ราคาสินค้าสามัญประจำบ้านพุ่งขึ้นไม่หยุด ปริศนาที่ (ยัง) ต้องหาคำตอบ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
สินค้าอุปโภคบริโภค

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคหลายอย่างถึงยังพุ่งสูงลิ่ว ทั้งที่อัตราเงินเฟ้อก็ดูเหมือนจะปรับตัวลดลง? 

 

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับราคาสินค้าสำคัญที่เราคุ้นเคยกันดี ซึ่งอาจทำให้หลายคนต้องร้องว่า โอ้โห! นี่มันยุคข้าวยากหมากแพงชัดๆ!

 

แก๊สโซฮอล์ 95 ลิตรละ 38.8 บาท แพงขึ้นกว่า 40% จาก 5 ปีก่อน, น้ำมันพืชขวดละ 53 บาท เพิ่มขึ้น 32.5%, ไข่ไก่ฟองละ 5 บาท เพิ่มขึ้น 25% นี่ยังไม่รวมน้ำมันดีเซล, ก๊าซหุงต้ม, ไก่สด และหมูสันนอก ที่ราคาต่างก็พาเหรดปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราวกับว่าเงินในกระเป๋ามันเบาหวิวลงทุกวัน

 

ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน ‘Meet the Press: ผู้ว่าการพบสื่อมวลชน’ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ว่า เหตุผลที่ ธปท. ต้องให้ความสำคัญกับอัตราเงินเฟ้อเป็นพิเศษ เนื่องจากแม้ตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์จะบอกว่าอัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ค่าครองชีพในประเทศที่เพิ่มขึ้นไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ ยากที่จะลดลงอีกครั้ง

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

ย้อนกลับไปช่วงปี 2565 อัตราเงินเฟ้อไทยเคยปรับตัวขึ้นไปสูงถึงเกือบ 8% ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น และโรคระบาดในสุกรที่เกิดขึ้นในประเทศ

 

ดังนั้นไม่ใช่เรื่องเกินจริงที่จะบอกว่า สถานะทางการเงินของผู้บริโภคจำนวนมากกำลังสั่นคลอน จากรายงาน Thai Shopper Trends 2567 ของ NIQ ระบุถึงผลสำรวจในปี 2567 มีผู้บริโภคไทยมากถึง 48% ยอมรับว่าฐานะทางการเงินของพวกเขาแย่ลงกว่าปีก่อนหน้า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกหย่อมหญ้าทำให้หลายคนต้องรัดเข็มขัดและคิดทบทวนการใช้จ่ายอย่างจริงจัง

 

จุดนี้เองที่ทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่ไม่ได้มองหาแค่สินค้าที่ถูกใจเท่านั้น แต่ต้องเป็นสินค้าที่จำเป็นและคุ้มค่าด้วย หลายคนหันมาลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นรวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ

 

นอกจากนี้การซื้อสินค้าจำนวนน้อยลงและรอจังหวะลดราคาหรือโปรโมชัน ก็กลายเป็นกลยุทธ์ยอดฮิตที่ช่วยเซฟเงินในกระเป๋าได้อย่างมาก ถึงขนาดที่ 90% ของผู้บริโภคในปี 2567 ให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้ามากกว่าราคา เพิ่มขึ้นจาก 82% ในปี 2565

 

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของผู้บริโภคส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ความภักดีต่อแบรนด์ที่เคยมีกำลังสั่นคลอน โดยในปี 2566 มีเพียง 19% ของผู้บริโภคที่ยังคงภักดีต่อแบรนด์เดิม ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ผู้บริโภคพร้อมที่จะเปลี่ยนใจหากเจอสินค้าที่ดีและคุ้มค่ากว่า

 

การปรับตัวของผู้บริโภคต่อภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและราคาสินค้าที่พุ่งไม่หยุดนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความเปราะบางของเศรษฐกิจในภาพรวมหรือไม่? 

 

การที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับราคาและคุณภาพของสินค้ามากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจและการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างไร? 

 

นี่คือโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายและต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน!

 

 

The post นี่คือยุคข้าวยากหมากแพง! ผ่านมา 5 ปี ราคาสินค้าสามัญประจำบ้านพุ่งขึ้นไม่หยุด ปริศนาที่ (ยัง) ต้องหาคำตอบ? appeared first on THE STANDARD.

]]>
MUJI ประเทศไทย ขอลบภาพจำ ‘ราคาแพง’ ด้วยสัดส่วนสินค้าราคาต่ำกว่า 300 บาทกว่า 53% ของสินค้าทั้งหมดที่มีขาย https://thestandard.co/muji-removing-expensive-image/ Fri, 04 Aug 2023 11:36:08 +0000 https://thestandard.co/?p=825674 MUJI

MUJI บริษัทค้าปลีกชื่อดังของญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักจากก […]

The post MUJI ประเทศไทย ขอลบภาพจำ ‘ราคาแพง’ ด้วยสัดส่วนสินค้าราคาต่ำกว่า 300 บาทกว่า 53% ของสินค้าทั้งหมดที่มีขาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
MUJI

MUJI บริษัทค้าปลีกชื่อดังของญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักจากกลยุทธ์การไม่มีแบรนด์ แต่สำหรับในไทยด้วยความที่เป็นสินค้านำเข้าจึงมักถูกมองว่ามีราคาแพง จนไม่ใช่สินค้าที่สามารถซื้อง่ายขายคล่องสำหรับลูกค้าคนไทย

 

แม้ที่ผ่านมาจะมีการพยายามปรับราคาให้ใกล้เคียงแล้วก็ตาม แต่ Perception ดังกล่าวก็ยังมีอยู่ ทำให้ MUJI ต้องสื่อสารให้มากขึ้น และหนึ่งในนั้นคือการออกมาบอกว่า สินค้าในร้านตัวเองส่วนใหญ่มีราคาต่ำกว่า 300 บาท 

 

ปัจจุบันในร้านของ MUJI มีสินค้าอยู่ราวๆ 3,000 รายการ โดยสัดส่วนของสินค้าที่มีราคาต่ำกว่า 300 บาท ปัจจุบันได้มีการขยายจำนวนมากถึง 1,500 รายการ หรือคิดเป็น 53% ของจำนวนสินค้าทั้งหมดที่มีจำหน่ายในประเทศไทย และมีครอบคลุมในทุกหมวดหมู่สินค้า

 

หากเจาะสัดส่วนสินค้าราคาต่ำกว่า 300 บาท เทียบกับสินค้าทั้งหมดที่มีจำหน่ายในแต่ละหมวดสินค้าในปัจจุบันมีรายละเอียด ดังนี้

 

  • สินค้าในหมวดเครื่องเขียนและอุปกรณ์สำนักงานมีมากถึง 82% 
  • สินค้าหมวดเครื่องครัวมี 70% 
  • สินค้าหมวด Health & Beauty 
  • เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงามมี 65% 
  • สินค้าในกลุ่มเสื้อยืด ถุงเท้า ชุดชั้นใน และชุดนอน มี 40% 
  • สินค้าหมวดเครื่องนอนมี 22% 
  • สินค้ากลุ่มอุปกรณ์จัดระเบียบห้องมี 8%
  • 100% ของสินค้าหมวด MUJI Food และ Coffee Corner เป็นสินค้าราคาต่ำกว่า 300 บาททั้งหมด 

 

MUJI ย้ำว่า การที่สินค้าส่วนใหญ่ต่ำกว่า 300 บาทจะทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น แม้สถานการณ์เงินเฟ้อจะมีผลกระทบต่อสินค้าพื้นฐานในชีวิตประจำวันก็ตาม

 

โดยในอนาคต MUJI มีแผนที่จะขยายโซนที่มีสินค้าต่ำกว่า 300 บาทภายในร้าน ด้วยการรวบรวมจากทุกกลุ่มสินค้ามาอยู่ในที่เดียวกัน เพื่อความสะดวกของลูกค้าในการช้อปปิ้งมากขึ้น

 

สำหรับในไทย MUJI เข้ามาเมื่อปี 2549 ในรูปแบบของธุรกิจแฟรนไชส์ จนในปี 2556 ได้ก่อตั้งบริษัท มูจิ รีเทล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับบริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด โดยปัจจุบันมีอยู่ราว 29 สาขาด้วยกัน

The post MUJI ประเทศไทย ขอลบภาพจำ ‘ราคาแพง’ ด้วยสัดส่วนสินค้าราคาต่ำกว่า 300 บาทกว่า 53% ของสินค้าทั้งหมดที่มีขาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ttb analytics คาดราคาสินค้าหลายรายการทยอยปรับขึ้นในครึ่งปีหลัง เหตุแรงกดดันต้นทุนภาคธุรกิจยังสูงต่อเนื่อง https://thestandard.co/ttb-analytics-expects-the-price-of-many-items-to-gradually-increase/ Sat, 09 Jul 2022 11:11:03 +0000 https://thestandard.co/?p=652145 ราคาสินค้า

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดช่ว […]

The post ttb analytics คาดราคาสินค้าหลายรายการทยอยปรับขึ้นในครึ่งปีหลัง เหตุแรงกดดันต้นทุนภาคธุรกิจยังสูงต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราคาสินค้า

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดช่วงครึ่งหลังของปี 2565 แรงกดดันฝั่งต้นทุนของผู้ประกอบการยังส่งผลต่อเนื่อง ทำให้ราคาสินค้ามีแนวโน้มทยอยปรับตัวเพิ่ม หลังเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ผ่านดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทะยานสูงเกิน 7% ในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่ผ่านมา 

 

ทั้งนี้ จากการศึกษาพบลักษณะการเพิ่มของราคาสินค้ามีความแตกต่างตามความสามารถในการปรับราคาของแต่ละอุตสาหกรรม แนะผู้ประกอบการจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพควบคู่กับการบริหารจัดการตลาด ช่วยรักษาพื้นที่กำไรให้คงอยู่ 

 

ปี 2565 นับเป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้ประกอบการ จากภาวะต้นทุนสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากแรงกดดันหลายระลอก นับตั้งแต่ปัญหาราคาน้ำมันที่เป็นต้นทุนการผลิต และต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อเนื่องจากปี 2564 มีแนวโน้มต้นทุนที่เพิ่มขึ้นคล้ายชะลอตัวลงในช่วงต้นปี 2565 แต่ภายหลังความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งเป็นแรงกดดันระลอกใหม่เข้ากดดันภาคธุรกิจต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์อย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อภาคการเกษตร ที่อุปทานสินค้าเกษตรหลายรายการเริ่มประสบภาวะขาดแคลน ส่งผลต่อเงินเฟ้อกลุ่มอาหารที่ทะยานสูงขึ้นชัดเจนในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา 

 

ทิศทางของปัจจัยราคาพลังงาน ต้นทุนค่าขนส่ง และราคาวัตถุดิบทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตร ที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้นพร้อมกัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการเริ่มประสบปัญหาในการรับต้นทุน โดยดัชนีราคาผู้ผลิตในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 11.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเริ่มมีสัญญาณการส่งผ่านราคาไปยังผู้บริโภค สะท้อนผ่านดัชนีราคาผู้บริโภคที่ทะยานตัวสูงสุดในรอบ 13 ปี ที่ระดับ 7.66% ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และทำให้ในครึ่งปีแรกเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 5.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตามสภาวการณ์ปัจจุบัน แนวโน้มแรงกดดันฝั่งต้นทุนคาดว่ายังไม่จบลงในระยะสั้น 

 

ดังนั้น ttb analytics จึงประเมินความเป็นไปได้ของการขึ้นราคาสินค้ารายอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ประกอบเร่งรับมือจัดการต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นควบคู่กับการบริหารจัดการตลาด จะช่วยรักษาพื้นที่กำไรให้คงอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ด้วยการวิเคราะห์ผ่านงบการเงินและธรรมชาติของภาคธุรกิจ จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 35,000 บริษัท บนสมมติฐานความเป็นไปได้ในการส่งผ่านราคาสินค้าไปยังผู้บริโภค ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือ ความสามารถในการปรับราคา และความจำเป็นในการขี้นราคาสินค้า โดยได้ข้อสรุปสำคัญดังนี้ 

 

  1. กลุ่มที่มีความสามารถในการปรับราคาสูง เป็นกลุ่มที่ลักษณะสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมมีความจำเป็นในการดำรงชีพของผู้คน สินค้ามีคุณสมบัติที่ไม่สามารถใช้สินค้าอื่นทดแทนได้ง่าย รวมถึงการแข่งขันด้านราคาของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ส่งผลให้การส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคเผชิญอยู่เป็นระยะ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความจำเป็นในการปรับราคา สามารถพิจารณาถึงความถี่และระยะเวลาที่อาจเกิดการส่งผ่านราคาในรูปแบบที่ต่างกัน ดังนี้

 

1.1 กลุ่มที่มีความจำเป็นสูง เช่น สินค้ากลุ่มพลังงาน เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมิคอล และวัสดุก่อสร้าง เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้นทุนสินค้าขยับตัวเร็ว และสัดส่วนกำไรค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับภาคบริการ ทำให้เมื่อมีการขยับของราคาต้นทุน จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ราคาสินค้าของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องขยับราคาเพื่อรักษาสถานะทางการเงินของกิจการ ดังนั้น เมื่อพิจารณาประกอบกับความจำเป็นในการส่งผ่าน จึงพบว่าในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้ราคาจะปรับตัวในช่วงเวลาสั้น และมีความถี่ในการปรับราคาที่สูง

 

1.2 กลุ่มที่มีความจำเป็นปานกลางถึงต่ำ เช่น ผู้ค้าส่งข้าว ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า และธุรกิจสุขภาพ เนื่องจากกลุ่มเหล่านี้มีสัดส่วนกำไรที่สูงกว่า และต้นทุนทางตรงที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ การขยับของราคาต้นทุนอาจส่งผลไม่มากนัก แต่ด้วยความสามารถในการส่งผ่านราคาที่สูง ส่งผลให้ในอุตสาหกรรมกลุ่มนี้มีความถี่ในการปรับราคาน้อยครั้ง หรือใช้ระยะเวลานานกว่าจะปรับขึ้นราคา โดยต้องอาศัยช่วงเวลาที่เหมาะสมในการส่งผ่านราคา

 

  1. กลุ่มที่มีความสามารถในการปรับราคาปานกลาง เป็นกลุ่มลักษณะของสินค้าและบริการของอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นในการดำรงชีพของผู้คนปานกลาง และสามารถชะลอการบริโภค หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคได้สะดวกกว่ากลุ่มที่มีความสามารถในการปรับราคาสูง ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มนี้ ลักษณะการปรับราคาจึงแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้า และความสามารถในการทำการตลาดของแต่ละกิจการ 

 

อย่างไรก็ดี เนื่องจากการปรับราคาขึ้นกับความสามารถในการทำการตลาด ดังนั้น ผู้ประกอบการในกลุ่มที่มีความจำเป็นสูง จากสัดส่วนต้นทุนทางตรงที่สูง และพื้นที่กำไรที่ไม่มากนัก เช่น กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ และจากประเด็นของความผันผวนด้านราคาต้นทุน เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์จากเหมืองแร่ อาจต้องให้ความสำคัญเรื่องการจัดการต้นทุนภายในกิจการเป็นสำคัญ เพื่อรักษาพื้นที่กำไร โดยเฉพาะกลุ่มที่มีลูกค้าน้อยราย หรือรูปแบบการขายที่อยู่ภายใต้สัญญารับซื้อที่มีระยะเวลา เป็นต้น

 

  1. กลุ่มที่มีความสามารถในการปรับราคาต่ำ เป็นกลุ่มที่ลักษณะสินค้ามีความจำเป็นไม่สูงต่อการดำรงชีพ เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย กระดาษและสิ่งพิมพ์ หรือเป็นกลุ่มที่มีสินค้าป้ายราคา เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค และเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงกลุ่มโทรคมนาคมที่ราคาขายอยู่บนสัญญาระยะยาว เป็นต้น กลุ่มนี้การปรับราคาสินค้าอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบาก และอาจต้องใช้ช่วงเวลาที่เหมาะสม รวมถึงควรเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นเจาะตลาดบนที่มีกำลังซื้อสูง 

 

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดการปรับราคา อาจกระทบอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้าจากต้นทุนทางตรงที่สูง เช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย กลุ่มบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มค้าปลีกค้าส่ง ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ควรเร่งพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และเน้นตอบโจทย์กับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน เพื่อรักษาหรือเพิ่มพื้นที่กำไรในช่วงที่ต้นทุนหลายด้านยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

โดยสรุปพบว่าผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับราคาเป็นสำคัญ ซึ่งในอุตสาหกรรมที่สามารถปรับเปลี่ยนราคาได้ดี ผู้ประกอบการในกลุ่มนี้สามารถรักษาพื้นที่กำไรให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงเดิมจากราคาที่สามารถขยับหนีตามต้นทุนที่ปรับเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ในกลุ่มที่มีความสามารถปรับราคาได้ปานกลางและน้อยอาจได้รับผลกระทบที่ชัดเจนกว่า จึงควรเน้นเรื่องการจัดการต้นทุน เพื่อรักษาสัดส่วนกำไร รวมถึงพัฒนามูลค่าเพิ่ม และเน้นตอบโจทย์ของผู้บริโภคในปัจจุบัน เพื่อขยายพื้นที่กำไรรองรับต้นทุนที่ยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

The post ttb analytics คาดราคาสินค้าหลายรายการทยอยปรับขึ้นในครึ่งปีหลัง เหตุแรงกดดันต้นทุนภาคธุรกิจยังสูงต่อเนื่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สำรวจร้านอาหารทั่วกรุงเทพฯ ตรึงราคาช่วยลูกค้า ในวันที่ของแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม https://thestandard.co/restaurants-around-bangkok-090565/ Mon, 09 May 2022 12:33:19 +0000 https://thestandard.co/?p=626498 ร้านอาหาร

ช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจร้านอาหารทั่วพื้นที่ […]

The post สำรวจร้านอาหารทั่วกรุงเทพฯ ตรึงราคาช่วยลูกค้า ในวันที่ของแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ร้านอาหาร

ช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจร้านอาหารทั่วพื้นที่ ท่ามกลางวิกฤตราคาสินค้าแพงขึ้นหลากหลายรายการอย่างต่อเนื่อง พบว่า นอกจากกระแสการขึ้นค่าอาหารตามราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นในปัจจุบัน ยังมีร้านอีกจำนวนไม่น้อยเลือกตรึงราคา เพื่อช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องจ่ายค่าอาหารที่แพงขึ้น แถมยังรักษาฐานลูกค้าไว้ได้อีกด้วย

 

 

ร้านอาหาร

เจ้าของร้านหมูทอด+ไข่ ราคา 40 บาท บอกว่าตอนนี้ราคาน้ำมันพืชสูงมาก ตั้งแต่เปิดร้านขายมายังไม่เคยเจอราคาน้ำมันพืชที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัวขนาดนี้ ตอนนี้ทางร้านพยายามพยุงราคาเดิมคือข้าวหมูทอด+ไข่ ในราคา 40 บาท อาจจะได้กำไรน้อยไปบ้าง แต่ก็เป็นการช่วยลูกค้า และยังคงรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้ ซึ่งคาดหวังว่าราคาวัตถุดิบต่างๆ จะปรับลดลงเร็วๆ นี้

 

ร้านอาหาร

ร้านขายข้าวกล่องสำเร็จรูปแห่งหนึ่งบริเวณสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ยังคงขายในราคากล่องละ 40 บาท โดยยังไม่มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างใด ซึ่งผู้ขายยอมรับว่าเคยมีความคิดอยากจะปรับขึ้นราคาตามต้นทุน แต่ทางร้านกลัวลูกค้าไม่ซื้อ จึงเลือกขายราคาเดิม แม้ได้กำไรไม่มาก แต่ยังดีกว่าขายไม่ได้เลย โดยเฉพาะในยุควิกฤตเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้

 

ร้านอาหาร

ร้านข้าวแกง ‘รสมือแม่’ ย่านพญาไท ติดป้ายสโลแกนของทางร้านไว้อย่างชัดเจนว่า ‘ยุคข้าวของแพง ข้าวแกงก็ยัง 30’ นับเป็นการประกาศตรึงราคาช่วยลูกค้า สู้วิกฤตของแพง ที่ได้ใจผู้บริโภคไปเต็มๆ

 

ร้านอาหาร

ร้านบะหมี่ปราบเซียน ย่านเตาปูน ยืนยันยังไม่ขึ้นราคาอาหารแม้ต้นทุนสูงขึ้น โดยเจ้าของร้านเชื่อว่าราคาวัตถุดิบน่าจะลดลงในเร็วๆ นี้ ตอนนี้ทางร้านยังพอรับไหว พร้อมยึดราคาเดิมช่วยลูกค้าต่อไป เพราะทางร้านมองว่าตอนนี้ค่าครองชีพหลายอย่างสูงขึ้น ในขณะที่ค่าแรงเท่าเดิม ฉะนั้นการขึ้นราคาอาจจะเป็นการไปซ้ำเติมลูกค้าในแง่ของค่าใช้จ่าย ดังนั้นถ้าร้านช่วยให้ลูกค้าอิ่มท้องในราคาเดิม ทางร้านก็ยินดี

 

ร้านก๋วยเตี๋ยวแห่งหนึ่ง ย่าน กม.11 เจ้าของร้านยืนยันขายราคาเดิมในเรตราคา 40-45 บาทมาตั้งแต่ปี 2564 แม้ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกำไรที่น้อยลงไปบ้าง แต่ทางร้านไม่ขอขึ้นราคา เพราะอยากช่วยผู้บริโภคที่ต้องแบกรับค่าอาหารการกินที่แพงขึ้น 

 

ร้านอาหาร

ร้านข้าวแกงแห่งหนึ่ง บริเวณถนนประดิพัทธ์ สะพานควาย เจ้าของร้านยืนยันว่าไม่ขึ้นราคาค่ากับข้าว เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำ หากขึ้นราคาไปมากกว่านี้อาจทำให้ลูกค้าซื้อไม่ไหว เพราะตอนนี้ข้าวของต่างๆ รอบตัวมีราคาสูงขึ้นทุกอย่าง ซึ่งทางร้านก็พยายามพยุงราคาไว้จนถึงที่สุด

 

ร้านอาหาร

ร้านส้มตำแห่งหนึ่งย่านพญาไท เลือกที่จะไม่ปรับราคาตามต้นทุนที่สูงขึ้น เจ้าของร้านบอกว่า ตอนนี้ยังคงราคาเดิมไว้ทุกเมนู เพราะอยากช่วยลูกค้าที่มีกำลังซื้อน้อย หากร้านขึ้นราคาลูกค้าอาจจะซื้อไม่ไหวหรือเลือกที่จะไม่ซื้อ ถ้าเป็นแบบนี้ร้านก็อาจจะได้รับผลกระทบไปด้วย

 

ร้านอาหาร

ร้านขายข้าวกล่องบริเวณสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี ยังคงขายในราคากล่องละ 45 บาท โดยผู้ขายบอกว่า กลุ่มลูกค้าเป็นพนักงานออฟฟิศในละแวกใกล้เคียง ทางร้านขายราคานี้มา 9 ปีแล้ว และไม่คิดจะปรับขึ้นราคา เนื่องจากเห็นใจลูกค้าที่ต้องจ่ายค่าอาหารแพงขึ้นทุกวัน ขณะที่ผู้ที่ซื้อประจำบอกว่า ราคาและปริมาณรวมถึงรสชาติอาหารคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป 

 

ร้านก๋วยเตี๋ยวหมูย่านเตาปูน ยืนยันว่าจะไม่ขึ้นราคาตั้งแต่วันแรกที่เปิดขาย ยึดราคา 40-45 บาทมาตลอด แม้ตอนนี้ราคาต้นทุนจะสูงขึ้น แต่ลูกค้าประจำก็ยังคงอุดหนุนอยู่เสมอ ทั้งทางเดลิเวอรีและหน้าร้าน หากขึ้นราคาลูกค้าอาจจะลดลง ตอนนี้กำไรน้อยลงไปบ้าง แต่ร้านยังรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อยู่ และทางร้านเองก็เห็นใจลูกค้าเพราะข้าวของขึ้นราคาทุกอย่าง 

 

ร้านอาหาร

บรรดาร้านอาหารริมทางย่านพญาไท ยืนยันที่จะไม่ขึ้นราคาอาหารท่ามกลางวิกฤตของแพง เนื่องจากอยากให้ลูกค้าสามารถจับจ่ายซื้ออาหารราคาเดิมให้มากที่สุด และในทางกลับกันยังเป็นการช่วยให้ร้านเล็กๆ ได้ทำกำไร และรักษาฐานลูกค้าต่อไป นับเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยุคเศรษฐกิจซบเซาแบบนี้

The post สำรวจร้านอาหารทั่วกรุงเทพฯ ตรึงราคาช่วยลูกค้า ในวันที่ของแพง แต่ค่าแรงเท่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
รถติด น้ำมันแพง แย่งกันใช้ชีวิต ค่าครองชีพแพง ค่าแรงยังเท่าเดิม https://thestandard.co/traffic-jams-expensive-gas-high-cost-of-living/ Sat, 07 May 2022 02:51:04 +0000 https://thestandard.co/?p=625708 ค่าครองชีพ

‘รถติด’ ปัญหาที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนเมืองมาอย่างยาวนาน เว […]

The post รถติด น้ำมันแพง แย่งกันใช้ชีวิต ค่าครองชีพแพง ค่าแรงยังเท่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ค่าครองชีพ

‘รถติด’ ปัญหาที่อยู่คู่วิถีชีวิตคนเมืองมาอย่างยาวนาน เวลาเพียง 5 นาทีในการออกเดินทางอาจเปลี่ยนตารางชีวิตคุณได้ทั้งวัน หากจัดอันดับช่วงเวลาที่การจราจรหนาแน่นมากที่สุดในหนึ่งสัปดาห์ ‘วันศุกร์’ คือคำตอบที่ชัดเจนที่สุด 

 

ปัญหานี้ไม่ควรเป็นเรื่องที่เราจะมองว่าเป็นสิ่งที่คุ้นชิน เพราะสิ่งนี้อาจสะท้อนถึงความพร้อมในการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของคนได้ 

 

ข้อมูลการจราจรจากเว็บไซต์ TOMTOM เมื่อปี 2564 เป็นสิ่งที่ตอกย้ำเราว่ารถติดคือสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 74 จาก 404 เมือง ใน 58 ประเทศ 6 ทวีป ที่มีปัญหารถติดมากที่สุด ทำให้ประชาชนต้องเสียเวลาในการเดินทางอยู่ที่ 71 ชั่วโมงต่อปี

 

‘น้ำมันแพง’ คือปรากฏการณ์และหัวข้อข่าวที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในรอบสัปดาห์นี้ 50 บาทต่อลิตร คือราคาปิดตัวของน้ำมันเบนซินในวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม ซึ่งสูงสุดในรอบ 8 ปี ขณะที่น้ำมันดีเซลราคาปิดตัวลงที่ 40 บาทต่อลิตร สถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวมี 2 เหตุผลหลัก คือ การปรับสูตรตรึงราคาดีเซลเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา และการสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตในวันที่ 20 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ 

 

ราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อกันเป็นห่วงโซ่ ไม่ว่าภาคธุรกิจเล็กหรือใหญ่ต่างต้องโดนปรากฏการณ์นี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจหากข้าวผัดกะเพราหมูสับในสัปดาห์หน้าราคาจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม

 

‘ค่าแรงเท่าเดิม’ ขณะที่ค่ากิน อยู่ และเดินทาง ตั้งขบวนพาเหรดขึ้นอย่างไม่หยุดหย่อน แต่รายรับของประชาชนในสภาวการณ์แบบนี้ไม่ได้เปลี่ยนไปเลย 

 

จากข้อมูลพบว่า ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพฯ อัตราค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่ 331 บาทต่อวัน อัตราเท่านี้คงที่มา 2 ปีแล้ว ตั้งแต่การปรับครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2563 ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานไทยเพิ่มขึ้นเพียง 13-36 บาทต่อวัน

 

การปรับตัวเท่านั้นที่จะทำให้ทุกคนอยู่รอด แต่เราจะต้องปรับกันอีกกี่ครั้งจึงจะอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ถ้าสุดท้ายแล้วยังไม่มีนโยบายหรือแรงสนับสนุนที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืนจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

ค่าครองชีพ ค่าครองชีพ ค่าครองชีพ ค่าครองชีพ ค่าครองชีพ ค่าครองชีพ

The post รถติด น้ำมันแพง แย่งกันใช้ชีวิต ค่าครองชีพแพง ค่าแรงยังเท่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ยื้อให้ได้มากที่สุด’ สินค้าพาเหรดขึ้นราคาหลายรายการ คุณภาพชีวิตราคาแพงกำลังแซงค่าแรงที่เท่าเดิม https://thestandard.co/product-price-increase-020565/ Mon, 02 May 2022 10:31:36 +0000 https://thestandard.co/?p=623767 สินค้าขึ้นราคา

“ตอนนี้ร้านยื้อราคาให้มากที่สุดแล้วเพราะสงสารลูกค้า” &n […]

The post ‘ยื้อให้ได้มากที่สุด’ สินค้าพาเหรดขึ้นราคาหลายรายการ คุณภาพชีวิตราคาแพงกำลังแซงค่าแรงที่เท่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
สินค้าขึ้นราคา

“ตอนนี้ร้านยื้อราคาให้มากที่สุดแล้วเพราะสงสารลูกค้า”

 

แม่ค้าขายเครื่องปรุงในตลาดห้วยขวางเล่าว่าสินค้าบางชนิดต้นทุนไม่ได้ปรับสูงขึ้น แต่ค่าน้ำมันรถที่มีผลกับค่าส่งของโดยตรงปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้กระทบกับราคาสินค้าหลายอย่าง แต่ตอนนี้ร้านตัดสินใจที่จะแบกรับต้นทุนที่สูงขึ้นไว้เอง ไม่ให้ลูกค้าต้องเดือดร้อน แต่หากวันข้างหน้าราคาสูงไปกว่านี้ก็อาจจะต้องขอลูกค้าปรับหน้าร้าน

 

“ทุกวันนี้ที่ร้านได้กำไรจากของที่ขายชิ้นละ 1 บาท

 

เสียงสะท้อนจากพ่อค้าร้านของชำอีกร้านเล่าว่า ตอนนี้วัตถุดิบต่างๆ ที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำพริกเผา ปรับราคาสูงขึ้น รวมไปถึงภาชนะบรรจุ เช่น ขวดและโลหะ ก็ปรับไปตามๆ กัน แม้ว่าตอนนี้จะยังตรึงราคาเดิมอยู่เพราะไม่อยากให้ลูกค้าเดือดร้อนแต่ก็ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้ที่ร้านได้กำไรเพียงชิ้นละ 1 บาทแล้ว

 

“อาทิตย์ก่อนว่าแย่แล้ว หลังจากนี้จะแย่กว่านี้”

 

พ่อค้าร้านข้าวสารพูดถึงราคาข้าวที่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้รับแจ้งมาว่าภายในสัปดาห์นี้จะมีการปรับราคาข้าวสูงขึ้น ทั้งข้าวเหนียวและข้าวสาร เขายอมรับว่ารู้สึกสงสารลูกค้าที่ต้องกินข้าวราคาสูงขนาดนี้ บางคนยังมีค่าแรงเท่าเดิมแต่ค่าครองชีพกลับเพิ่มขึ้นทุกอย่าง ไม่รู้ว่าจะสู้ไหวไปถึงเมื่อไร

 

“พวกเขากำลังแก้ปัญหากันอยู่ใช่ไหม”

 

พ่อค้าขายลูกชิ้นย้อนถามกลับเมื่อเราถามว่าตอนนี้ของแพงไหม เขาบอกว่าทุกอย่างแพงเรื่องนี้ใครๆ ก็รู้ แต่รัฐบาลและใครก็ตามที่เกี่ยวข้องรู้เรื่องใช่ไหม เพราะถ้ามีการควบคุมราคาของสินค้าให้ดีกว่านี้ พวกเขาที่เป็นพ่อค้ารายย่อยคงไม่ต้องแบกรับภาระที่มากขนาดนี้

 

“จ่ายตลาดแต่ละวันแทบไม่เหลือเงินเก็บ”

 

ขณะที่ลูกค้าที่มาจ่ายตลาดเล่าว่า ราคาน้ำมันพืชเวลานี้ราคาสูงมาก ไข่ไก่ เนื้อหมูราคาขึ้นสูงหมด เมื่อเทียบกับราคาค่าครองชีพในแต่ละวันแล้ว มาจ่ายตลาดแต่ละวันตอนนี้แทบไม่เหลือเงินเก็บ

 

ทั้งหมดนี้คือเสียงสะท้อนจากบรรยากาศจริงที่ประชาชนรวมถึงผู้ประกอบการกำลังได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าที่กำลังพุ่งสูงขึ้น ซึ่งสวนทางกับรายรับหรือค่าแรง ขณะที่แม้ผู้ประกอบการจะพยายามช่วยเหลือพยุงราคาขายไม่ให้สูงมาก เพราะเข้าใจสภาพเศรษฐกิจปากท้องของลูกค้า แต่ก็ไม่แน่นอนว่าจะยื้อไปได้ขนาดไหน

 

สินค้าขึ้นราคา สินค้าขึ้นราคา สินค้าขึ้นราคา สินค้าขึ้นราคา สินค้าขึ้นราคา

The post ‘ยื้อให้ได้มากที่สุด’ สินค้าพาเหรดขึ้นราคาหลายรายการ คุณภาพชีวิตราคาแพงกำลังแซงค่าแรงที่เท่าเดิม appeared first on THE STANDARD.

]]>
จุรินทร์ ยอมรับราคาน้ำมันพุ่ง มีผลสินค้าแพง สั่งดูแลราคา 18 หมวดเต็มที่ไม่ให้ขาดแคลน พบฉวยโอกาสค้ากำไรเกินควร-กักตุน จัดการทันที https://thestandard.co/jurin-admits-to-rising-oil-prices-effective-expensive-products/ Mon, 02 May 2022 06:38:30 +0000 https://thestandard.co/?p=623717 จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

วันนี้ (2 พฤษภาคม) เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงพาณิชย์ จุริ […]

The post จุรินทร์ ยอมรับราคาน้ำมันพุ่ง มีผลสินค้าแพง สั่งดูแลราคา 18 หมวดเต็มที่ไม่ให้ขาดแคลน พบฉวยโอกาสค้ากำไรเกินควร-กักตุน จัดการทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

วันนี้ (2 พฤษภาคม) เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวประเด็นราคาสินค้าภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ครั้งที่ 2/2565 และคณะกรรมการนโยบายอาหาร ครั้งที่ 1/2565 (ครั้งที่ 80) ที่ห้องกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ 

 

จุรินทร์กล่าวว่า ต้องยอมรับความจริงว่าราคาน้ำมันที่รัฐบาลมีมาตรการใหม่ออกมามีผลกระทบต่อต้นทุนและค่าขนส่ง การผลิตและการจำหน่ายสินค้าอย่างมีนัยสำคัญ จะมีผลกระทบไปถึงราคาสินค้าด้วย แต่ในส่วนที่กระทรวงพาณิชย์จะต้องเข้าไปดูแลถือว่าเป็นส่วนปลายน้ำ จะพยายามกำกับดูแลไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคและไม่ให้เกิดการค้ากำไรเกินควรหรือกักตุนสินค้า ถ้าพบว่ามีการกระทำดังกล่าว ปลัดกระทรวงพาณิชย์จะสั่งการให้ดำเนินการโดยทันทีและรวดเร็วต่อไป โดยปลัดกระทรวงพาณิชย์จะทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งถือเป็นนโยบายสำคัญ

 

จุรินทร์กล่าวว่า เรื่องราคาสินค้าในแต่ละหมวดพยายามกำกับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน 18 หมวด ให้สอดคล้องกับต้นทุนความเป็นจริงให้มากที่สุด โดยให้ทั้ง 3 ฝ่าย สามารถอยู่ร่วมกันได้ทั้งในส่วนของต้นน้ำ เกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบ ส่วนที่สองกลางน้ำ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าและผู้จำหน่ายสินค้า และส่วนที่สามปลายน้ำคือ ผู้บริโภค ให้อยู่ด้วยกันได้ บริหารให้เกิดความสมดุล

 

ส่วนการปรับราคาขึ้นให้พิจารณาตามกรณีเป็นต้นทุนที่แท้จริง และผลกำไรในผู้ประกอบการอาจต้องเสียสละบ้างแต่ยังเดินธุรกิจได้ ไม่ใช่ทำให้ต้องปิดกิจการและเลิกการผลิต ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาปริมาณสินค้าขาดแคลนตามมา กรมการค้าภายในจะเป็นผู้บริหารจัดการเรื่องนี้ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะทำงานกำกับติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าแก้ไขปัญหาต่อไป

The post จุรินทร์ ยอมรับราคาน้ำมันพุ่ง มีผลสินค้าแพง สั่งดูแลราคา 18 หมวดเต็มที่ไม่ให้ขาดแคลน พบฉวยโอกาสค้ากำไรเกินควร-กักตุน จัดการทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
แรงงานในเมืองหลวง กับปัญหาของแพง ค่าแรงไม่ขยับ สู้-ทน-ต้นทุนชีวิตเท่านี้ https://thestandard.co/labor-and-problem-of-expensive-things/ Sun, 01 May 2022 03:09:22 +0000 https://thestandard.co/?p=623443 แรงงาน

วันแรงงานกลับมาบรรจบอีกครั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นโอกา […]

The post แรงงานในเมืองหลวง กับปัญหาของแพง ค่าแรงไม่ขยับ สู้-ทน-ต้นทุนชีวิตเท่านี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แรงงาน

วันแรงงานกลับมาบรรจบอีกครั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นโอกาสให้สังคมได้ตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ รวมถึงสวัสดิภาพและสวัสดิการในการทำงานกันอีกครั้งหนึ่ง

 

แรงงาน แรงงาน

 

สถานการณ์ปี 2565 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มแรงงานไทยได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล ขอปรับค่าจ้างเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ใช้แรงงานเป็น 492 บาททั่วประเทศ ในโอกาสที่ข้าวของแพงกระทบปากท้องคนทำงานมานานนับปี 

 

ด้านนายจ้างหลายฝ่ายต่างออกตัวไม่เห็นด้วย เพราะการปรับเพิ่มจากอัตราเดิมราว 330 บาทนั้น หรือเกือบ 50% จากอัตราเดิม มองว่าสูงเกินไป และจะเป็นการกระทบโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมถึงผลกระทบจากพิษโควิดและสงคราม ที่ผลักดันให้ปัญหาเงินเฟ้อยังคงรุนแรงทั่วโลก

 

แรงงาน แรงงาน แรงงาน แรงงาน

 

นำมาสู่คำถามใหญ่วันนี้ คุณคิดอย่างไรหากต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ต้องขึ้นแค่ไหนถึงจะรอดกันทั้งระบบ ไม่ว่าจะลูกจ้าง นายจ้าง รวมถึงระบบเศรษฐกิจภาพรวม?

 

อย่างไรก็ตามในห้วงที่โควิดระบาดในไทย แรงงานในไซต์งานก่อสร้างเป็นกลุ่มคนที่ถูกสั่งให้ยุติการทำงาน เพื่อเป็นการวางมาตรการในการป้องกันโรคตามมติศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. ได้วางแนวทาง ทว่าก็มีปัญหาการจัดการในหลายจุด รวมถึงการเข้าถึงการบริการด้านสาธารณสุขและสุขอนามัยในที่พักอาศัยซึ่งเป็นบ้านมุงสังกะสี และต้องอดทนอยู่ในบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิต รวมถึงอาหารที่ได้รับการจัดสรรในการบริโภครายวันที่ไม่เพียงพอในบางจุดด้วย 

 

แรงงาน แรงงาน แรงงาน แรงงาน

 

THE STANDARD สำรวจภาพการทำงานของพี่น้องแรงงานทั้งไทยและต่างชาติที่เข้ามาในเมืองหลวงกรุงเทพมหานคร ท่ามกลางความอดทนที่ต้องต่อสู้ ค้าแรงงาน เพื่อส่งเงินกลับบ้าน ดูแลตัวเองและครอบครัว และสู้ชีวิตท่ามกลางปัญหาเศรษฐกิจค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น หลายคนบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ของแพง ค่าแรงไม่ขยับ แต่ก็ทนทำงานต่อไป เพราะมีต้นทุนเพียงเท่านี้ หวังว่าจะได้ลืมตาอ้าปากในวันข้างหน้า 

 

THE STANDARD ขอเป็นหนึ่งกำลังใจให้แรงงาน ที่ทั้งได้หยุดพัก และบางส่วนต้องทำงานในวันนี้ 

 

แรงงาน แรงงาน แรงงาน แรงงาน

The post แรงงานในเมืองหลวง กับปัญหาของแพง ค่าแรงไม่ขยับ สู้-ทน-ต้นทุนชีวิตเท่านี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กกร. เพิ่มไก่ เป็น ‘สินค้าควบคุม’ จุรินทร์สั่งเบรก ห้ามเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นราคา https://thestandard.co/chicken-is-a-controlled-commodity/ Wed, 19 Jan 2022 08:01:56 +0000 https://thestandard.co/?p=584278 ไก่

วันนี้ (19 มกราคม) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประ […]

The post กกร. เพิ่มไก่ เป็น ‘สินค้าควบคุม’ จุรินทร์สั่งเบรก ห้ามเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นราคา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไก่

วันนี้ (19 มกราคม) จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ครั้งที่ 2/2565

 

โดยจุรินทร์กล่าวว่า วันนี้มีการประชุม กกร. ซึ่งที่ประชุมได้มีมติกำหนดให้ไก่และเนื้อไก่เป็นสินค้าควบคุม และให้ความเห็นชอบกำหนดมาตรการให้ผู้เลี้ยงไก่ที่มีปริมาณการเลี้ยงตั้งแต่ 100,000 ตัวขึ้นไป และโรงชำแหละไก่ที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 4,000 ตัวต่อวัน แจ้งปริมาณ สต๊อก และต้นทุนราคาจำหน่ายทุกเดือน 

 

นอกจากนั้นยังมีมติให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 55 โรง แจ้งต้นทุนราคาจำหน่าย ปริมาณการผลิต และสต๊อก รวมทั้งกำหนดมาตรการให้การปรับราคาต้องได้รับอนุญาตจากกรมการค้าภายใน

 

สำหรับการกำหนดให้ไก่เป็นสินค้าควบคุมนั้น จะต้องผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าที่ประชุม ครม. ได้ในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ในเรื่องของการกำกับราคาไก่ถือว่าได้รับความร่วมมืออย่างดีจากเกษตรกรและผู้ประกอบการ ซึ่งมีการประชุมร่วมกันมา 2 ครั้ง และกำหนดราคาหน้าฟาร์มและราคาจำหน่ายไก่ในราคาที่เป็นธรรมกับผู้บริโภค ซึ่งในภาพรวมถือว่าสามารถตรึงราคาไก่ไว้ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

 

โดยตนได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในประชุมร่วมกับเกษตรกร และผู้ประกอบการด้านไก่โดยต่อเนื่องและใกล้ชิดต่อไป เพื่อไม่ให้มีการซ้ำเติมอาหารทางเลือกกับผู้บริโภค 

 

นอกจากนี้ จุรินทร์ยังกล่าวถึงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวว่า เครื่องใช้ไฟฟ้ากำลังจะขึ้นราคาว่า ตนได้สั่งการผ่านอธิบดีกรมการค้าภายในไปแล้วว่า ห้ามเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นราคา เพราะยังไม่เห็นเหตุผลที่สมควร ซึ่งขณะนี้มีผู้พยายามฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าตามอำเภอใจ ซึ่งถือเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคมาก เพราะฉะนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงขอความร่วมมือ ถ้าพบเห็นการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า หรือกักตุนสินค้าให้แจ้งสายด่วน 1569 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด และพาณิชย์จังหวัด จะใช้เป็นข้อมูลในการลงไปตรวจสอบและดำเนินคดีต่อไป ถ้าพบการกระทำผิดกฎหมาย เช่น กรณีของการขึ้นราคาไข่ไก่ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวแจ้งว่า วัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้เชิญผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น ซัมซุง, แอลจี, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์ และโตชิบา เป็นต้น พร้อมทั้งสมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มาประชุมหารือกัน และได้ข้อยุติแล้วว่าจะไม่มีการขึ้นราคาเครื่องใช้ไฟฟ้า

 

The post กกร. เพิ่มไก่ เป็น ‘สินค้าควบคุม’ จุรินทร์สั่งเบรก ห้ามเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นราคา appeared first on THE STANDARD.

]]>
แก้ผ้า-โปรยผัก หน้าทำเนียบ เรียกร้องประยุทธ์แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง แคมเปญ ‘ตู่อยู่หมูแพง แพงทั้งแผ่นดิน’ https://thestandard.co/expensive-product-problem-190165/ Wed, 19 Jan 2022 07:06:33 +0000 https://thestandard.co/?p=584236 ตู่อยู่หมูแพง

วันนี้ (19 มกราคม) เครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ทำ […]

The post แก้ผ้า-โปรยผัก หน้าทำเนียบ เรียกร้องประยุทธ์แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง แคมเปญ ‘ตู่อยู่หมูแพง แพงทั้งแผ่นดิน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตู่อยู่หมูแพง

วันนี้ (19 มกราคม) เครือข่ายรามคำแหงเพื่อประชาธิปไตย ทำกิจกรรม ‘ตู่อยู่หมูแพง #แพงทั้งแผ่นดิน’ บริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล 

 

โดยตัวแทนกลุ่มได้อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และผู้เกี่ยวข้อง แก้ไขปัญหาราคาสินค้า โดยให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค รวมทั้งราคาน้ำมันที่ยังสูงในขณะนี้ เพื่อไม่ให้ประชาชนแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมากจนเกินไป ขณะเดียวกัน เรียกร้องรัฐบาลแก้ปัญหาโรคระบาดในสุกร ทั้งการควบคุม ป้องกัน และนำเสนอข่าวสารการแพร่ระบาดอย่างตรงไปตรงมา รวมทั้งเยียวยาฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบ 

 

ทางกลุ่มหวังว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน เพราะตลอดระยะเวลา 8 ปีที่รัฐบาลนี้บริหารประเทศ ได้นำปัญหามาสู่ประชาชนอย่างไม่รู้จบ ได้รับความเดือดร้อนทุกมิติ หากยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ เครือข่ายรามคำแหงฯ ขอเรียกร้องให้ พล.อ. ประยุทธ์ลาออกจากตำแหน่ง เพราะประเทศไทยไม่ใช่สนามเด็กเล่นที่จะให้ใครมาทดลองบริหารประเทศได้ตามใจชอบ  

 

อย่างไรก็ตาม หากวันนี้รัฐบาลรับหนังสือจากตัวแทนกลุ่มแล้ว และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ จะมีการเดินทางมากดดันเป็นระยะจนกว่าจะแก้ปัญหาราคาสินค้าแพงได้

 

จากนั้นตัวแทนกลุ่มได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ ได้โยนผักที่เป็นอาหารหมู และโปรยใบปลิวที่มีข้อความว่า ‘แพงทั้งแผ่นดิน’ เข้าไปในแนวรั้วกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 

ต่อมา สมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนรัฐบาลรับหนังสือพร้อมรับปากว่า จะนำข้อเสนอดังกล่าวไปเสนอต่อรัฐบาล 

 

การทำกิจกรรมในวันนี้ตำรวจ สถานีตำรวจนครบาล (สน.) นางเลิ้ง ได้วางกำลังเจ้าหน้าที่บริเวณถนนพิษณุโลก เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย และปิดการจราจร ตั้งแต่หน้าแยกพาณิชยการ ไปจนถึงแยกมิสกวัน และถนนพระรามที่ 5 ตั้งแต่แยกวัดเบญฯ จนถึงแยกพาณิชยการ โดยเจ้าหน้าที่จะเน้นการเจรจาในการทำกิจกรรม หากไม่มีการใช้รถเครื่องเสียงขนาดใหญ่ และไม่มีแนวโน้มความวุ่นวาย ก็จะประสานเจ้าหน้าที่เพื่อให้เข้าไปทำกิจกรรมบริเวณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ได้

 

ตู่อยู่หมูแพง

The post แก้ผ้า-โปรยผัก หน้าทำเนียบ เรียกร้องประยุทธ์แก้ปัญหาสินค้าราคาแพง แคมเปญ ‘ตู่อยู่หมูแพง แพงทั้งแผ่นดิน’ appeared first on THE STANDARD.

]]>