ประมูลดาวเทียม – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 16 Jan 2023 12:38:40 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ราคา THCOM ดิ่งกว่า 3% แม้ชนะประมูลคว้า 2 ใบอนุญาต พบบิ๊กล็อต 1.80 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 15.90 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่ากระดาน https://thestandard.co/thcom-price-down/ Mon, 16 Jan 2023 08:04:11 +0000 https://thestandard.co/?p=737893

THCOM ร่วงแรงกว่า 3% ขณะเดียวกันมีรายการบิ๊กล็อต 1.80 ล […]

The post ราคา THCOM ดิ่งกว่า 3% แม้ชนะประมูลคว้า 2 ใบอนุญาต พบบิ๊กล็อต 1.80 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 15.90 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่ากระดาน appeared first on THE STANDARD.

]]>

THCOM ร่วงแรงกว่า 3% ขณะเดียวกันมีรายการบิ๊กล็อต 1.80 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 15.90 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่ากระดาน แม้ช่วงเช้า THCOM แจ้งชนะประมูล คว้า 2 ใบอนุญาตใช้สิทธิ์ใช้วงโคจรดาวเทียม ด้านนักวิเคราะห์คาด ช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นได้อีก 3-5 บาทต่อหุ้น แต่ระวังแรงขายทำกำไร

 

ราคาหุ้น บมจ.ไทยคม หรือ THCOM ปิดการซื้อ-ขายภาคเช้าวันที่ 16 มกราคม 2566 ที่ 15.80 บาท ลดลง 0.50 บาท หรือ 3.07% จากราคาวันก่อนปิดที่ 16.30 บาท หลังช่วงต้นของการซื้อ-ขายภาคเช้าพบรายการซื้อ-ขายขนาดใหญ่ (Big Lot) จำนวน 1 รายการ จำนวน 1.80 ล้านหุ้น มูลค่า 28.62 ล้านหุ้น ที่ราคา 15.90 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคากระดาน หลังจากที่เช้านี้ THCOM แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ตามที่บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด (STI) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ถือหุ้น 100% ชนะประมูลได้ใช้สิทธิ์ในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) จำนวน 2 ชุด มูลค่า 797.43 ล้านบาท

 

กิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ผลการประมูลวงโคจรดาวเทียมไม่สร้างความประหลาดใจ ผลประมูลวงโคจรดาวเทียมวันที่ 15 มกราคม 2566 มีผู้เสนอราคาประมูล 3 จาก 5 ชุด (2, 3 และ 4) มูลค่ารวม 806 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยของ THCOM คือบริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด เป็นผู้ชนะการประมูลในชุดที่ 2 และ 3 

 

ทั้งนี้ ส่งผลให้ THCOM สามารถรักษาวงโคจรที่ 119.5E (ไทยคม 4) และ 78.5E (ไทยคม 6 และ 8) ไว้ได้ ประเมินว่าจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับหุ้น 3-5 บาท 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่ออิงกับราคาเหมาะสมของ Bloomberg Concensus ที่ 12.59 บาท ทำให้ราคาเหมาะสมของ THCOM คาดจะปรับขึ้นมาที่ 15.59-17.59 บาท เมื่อเทียบกับราคาปิดที่ 16.30 บาท ถือว่ามีอัปไซด์ไม่ได้น่าสนใจแล้ว ดังนั้นควรระวังความผันผวนหรือแรงขายทำกำไรที่อาจตามมา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post ราคา THCOM ดิ่งกว่า 3% แม้ชนะประมูลคว้า 2 ใบอนุญาต พบบิ๊กล็อต 1.80 ล้านหุ้น ราคาเฉลี่ย 15.90 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่ากระดาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนุดิษฐ์ค้านประมูลวงโคจรดาวเทียม ขอ ‘กสทช.’ ชะลอ เตรียมยื่นหนังสือให้นายกฯ ช่วยทบทวนด่วน https://thestandard.co/satellite-bidding-15012566/ Sun, 15 Jan 2023 04:03:37 +0000 https://thestandard.co/?p=737508

วานนี้ (14 มกราคม) น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ สมาชิกสภาผู้แ […]

The post อนุดิษฐ์ค้านประมูลวงโคจรดาวเทียม ขอ ‘กสทช.’ ชะลอ เตรียมยื่นหนังสือให้นายกฯ ช่วยทบทวนด่วน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (14 มกราคม) น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคเพื่อไทย ในฐานะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดประมูลสิทธิการใช้ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมในวันนี้ (15 มกราคม) ว่า

 

ขอให้ กสทช. ชะลอการประมูลดาวเทียมออกไปก่อน เนื่องจากตามกฎหมายการพิจารณาการให้สิทธิการใช้ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมนั้นสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ต้องเจาะจงว่าต้องใช้วิธีเปิดประมูลเพียงอย่างเดียว

 

น.อ. อนุดิษฐ์กล่าวว่า ตนจะยื่นหนังสือถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ONDE) เพื่อขอให้เรียกกรรมการ กสทช. เข้าชี้แจงต่อ ONDE เพื่อให้พิจารณาทบทวนให้ชะลอการเปิดประมูลการให้สิทธิตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมไว้ก่อน ซึ่ง ONDE สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากอยู่ในขอบเขตของอำนาจตามกฎหมายที่ให้ดำเนินการ

 

ทั้งนี้ การพิจารณาให้สิทธิใช้ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมสามารถทำได้หลายวิธี โดยเสนอใช้วิธีการจัดสรรให้หน่วยงานรัฐ เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น โดยให้สิทธิหน่วยงานรัฐเหล่านี้เพื่อนำไปจัดสรรเพื่อใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับภารกิจของกระทรวง หากมีสล็อตที่เหลือก็สามารถนำไปให้เอกชนใช้งานโดยใช้วิธีสัมปทานต่อไปได้

 

น.อ. อนุดิษฐ์กล่าวต่อไปว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นลำดับแรกในการกำหนดเงื่อนไขการให้สิทธิ วิธีนี้จะเกิดประโยชน์กับการพัฒนาประเทศและสร้างรายได้ให้รัฐได้ด้วย

 

ทั้งนี้ มีรายงานว่า ก่อนหน้านี้ที่ประชุม กสทช. ได้มีมติเห็นชอบผลการตรวจสอบคุณสมบัติ ประสบการณ์ และความสามารถทางด้านการเงินของผู้ขอรับอนุญาตสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) เพื่อเป็นผู้เข้าร่วมการคัดเลือก จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด, บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด ทำให้ทั้ง 3 บริษัท มีสิทธิที่จะเข้าร่วมประมูลในวันนี้

 

สำหรับการประมูลครั้งนี้ใช้วิธี Sequential Ascending Clock Auction โดยผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องตัดสินใจตามระยะเวลาที่กำหนดในแต่ละรอบ (20 นาที) ด้วยการเคาะ ซึ่งจะทำให้ราคาสูงขึ้นครั้งละ 5% ของราคาขั้นต่ำ โดยผู้ชนะคือผู้ให้ราคาสุดท้ายสูงสุด

 

อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมประมูลจะไม่ทราบว่าผู้ร่วมแข่งขันรายใดต้องการสิทธิวงโคจรชุดใด และมีความต้องการกี่ชุด รวมทั้งลำดับชุดในการประมูลนั้น กสทช. จะกำหนดลำดับในวันประมูล เพื่อป้องกันการสมยอมกันระหว่างผู้เข้าร่วมประมูล ซึ่งการประมูลในลักษณะนี้จะทำให้เกิดการแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรมมากที่สุด รวมทั้งรายได้ที่เกิดขึ้นหลังหักค่าใช้จ่ายในการประมูล กสทช. จะนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด

The post อนุดิษฐ์ค้านประมูลวงโคจรดาวเทียม ขอ ‘กสทช.’ ชะลอ เตรียมยื่นหนังสือให้นายกฯ ช่วยทบทวนด่วน appeared first on THE STANDARD.

]]>
กสทช. เผยชื่อ 3 รายยื่นประมูลใช้สิทธิวงโคจรดาวเทียม ‘ไทยคม’ มาตามนัด แต่ไร้เงา ‘กลุ่มซีพี’ ส่งใบสมัครเข้าประมูล https://thestandard.co/reveal-3-company-bidding-satellite/ Wed, 28 Dec 2022 03:42:08 +0000 https://thestandard.co/?p=729710

สำนักงาน กสทช. เปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ยื่นขอรับอนุญาตให […]

The post กสทช. เผยชื่อ 3 รายยื่นประมูลใช้สิทธิวงโคจรดาวเทียม ‘ไทยคม’ มาตามนัด แต่ไร้เงา ‘กลุ่มซีพี’ ส่งใบสมัครเข้าประมูล appeared first on THE STANDARD.

]]>

สำนักงาน กสทช. เปิดเผยรายชื่อบริษัทที่ยื่นขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะชุด (Package) จำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ไทยคม (THCOM), บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด

 

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ระบุว่า วานนี้ (27 ธันวาคม) ได้เปิดให้ผู้ขอรับอนุญาตยื่นขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะชุด (Package) ณ อาคารหอประชุม ชั้น 2 สำนักงาน กสทช. พหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ซึ่งมีผู้ประสงค์ขอรับอนุญาตจำนวน 3 ราย ได้แก่ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ไทยคม (THCOM), บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


สำหรับขั้นตอนต่อไป สำนักงาน กสทช. จะตรวจสอบคุณสมบัติตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2565 – 5 มกราคม 2566 และจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านและมีสิทธิเข้าร่วมการประมูล โดยจะเสนอให้ที่ประชุม กสทช. รับรองผลในวันที่ 9 มกราคม 2566 และหากมีผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลมากกว่า 1 ราย โดยไม่มีผู้ใดยื่นอุทธรณ์ สำนักงาน กสทช. จะ Mock Auction ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 และประมูลสิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะชุด (Package) ในวันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 ซึ่งเลื่อนจากกำหนดการเดิมไป 1 สัปดาห์

 

เนื่องจากต้องเปิดโอกาสให้สิทธิในการอุทธรณ์ หลังสำนักงาน กสทช. ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ ประสบการณ์ และความสามารถทางด้านการเงิน เป็นผู้เข้าร่วมการคัดเลือก ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้ง อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีผู้ผ่านคุณสมบัติเพียงรายเดียว สำนักงาน กสทช. จะขยายระยะเวลาในการยื่นขอรับอนุญาตเพิ่มเติมไปอีก 2 สัปดาห์ ตามที่ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้สิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะชุด (Package) กำหนด

 

ด้านธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการ กสทช. ให้ความเห็นว่า ในการประมูลครั้งนี้ อย่างน้อยทั้ง 3 รายน่าจะผ่านและเข้าร่วมการแข่งขัน แต่จะมีความต้องการในการประมูลกี่ชุด หรือชุดใด ต้องดูข้อเสนอที่เสนอมา และจะประกาศให้ทราบในวันประมูลตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อป้องกันการสมยอมในการเสนอราคา ทำให้มั่นใจว่าการประมูลครั้งนี้จะเกิดการแข่งขันที่โปร่งใส เป็นธรรม 

 

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มีบริษัทที่มีความสนใจเข้ามารับเอกสารการคัดเลือกสำหรับการประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) พร้อมลงนามในหนังสือตกลงการไม่เปิดเผยข้อมูล (Non-Disclosure Agreement: NDA) ที่สำนักงาน กสทช. รวมจำนวน 5 ราย ได้แก่ 

  1. บริษัท พร้อม เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด 
  2. บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 
  3. บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บมจ.ไทยคม (THCOM)
  4. บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด 
  5. บริษัท แอสเซนด์ แคปปิตอล จำกัด ซึ่งบริษัทในเครือของกลุ่มซีพี 

 

โดยในการยื่นขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการใช้วงโคจรดาวเทียมในครั้งนี้ไม่มี บริษัท แอสเซนด์ แคปปิตอล จำกัด ซึ่งบริษัทในเครือของกลุ่มซีพี 

The post กสทช. เผยชื่อ 3 รายยื่นประมูลใช้สิทธิวงโคจรดาวเทียม ‘ไทยคม’ มาตามนัด แต่ไร้เงา ‘กลุ่มซีพี’ ส่งใบสมัครเข้าประมูล appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดศึกธุรกิจดาวเทียม ‘ซีพี’ ลุยรับใบสมัครจาก กสทช. ต่อยอดธุรกิจ Space Tech ฟาก ‘ไทยคม’ ตั้ง บ.ลูกใหม่ ‘สเปซ เทค อินโนเวชั่น’ ซุ่มรับใบสมัครแล้ว https://thestandard.co/satellite-business-competition/ Tue, 29 Nov 2022 02:54:51 +0000 https://thestandard.co/?p=717024

สำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ล่าสุดขณะนี้มีบริษัทที่มีความ […]

The post เปิดศึกธุรกิจดาวเทียม ‘ซีพี’ ลุยรับใบสมัครจาก กสทช. ต่อยอดธุรกิจ Space Tech ฟาก ‘ไทยคม’ ตั้ง บ.ลูกใหม่ ‘สเปซ เทค อินโนเวชั่น’ ซุ่มรับใบสมัครแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>

สำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ล่าสุดขณะนี้มีบริษัทที่มีความสนใจเข้ามารับเอกสารการคัดเลือกสำหรับการประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) แล้วรวมจำนวน 5 ราย พบบริษัท แอสเซนด์ แคปปิตอล ในเครือกลุ่มซีพีรับเอกสารด้วย ด้าน บมจ.ไทยคม ตั้งบริษัทลูกใหม่คือ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น รับใบสมัครไปแล้ว

 

พิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย กล่าวว่า กรณีล่าสุดที่ สำนักงาน กสทช. ออกมาเปิดเผยบริษัทเอกชนเข้ามารับเอกสารการคัดเลือกสำหรับการประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด พบว่ารายชื่อที่มีความสนใจมากที่สุดคือ บริษัท แอสเซนด์ แคปปิตอล จำกัด ซึ่งบริษัทในเครือของกลุ่มซีพี ที่มีโอกาสเข้ามาเป็นคู่แข่งขันธุรกิจของ บมจ.ไทยคม (THCOM) เพราะก่อนหน้านี้ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เคยออกมาแสดงความสนในในกลุ่ม Space Tech  เนื่องจากเห็นโอกาสที่ธุรกิจนี้มีโอกาสเติบโตที่สูงในอนาคต


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามต่อไปว่าบริษัทที่มารับเอกสารเพื่อประมูลสิทธิวงโคจรดาวเทียมว่าจะมีการยื่นส่งเอกสารพร้อมจ่ายสมัครจำนวน 5 แสนบาทต่อราย เพื่อให้ได้สิทธิ์เข้าประมูลจริงหรือไม่

 

“ในการประมูลวงโคจรอบที่แล้วทั้ง NT กับ มิว สเปซ ก็เคยเข้ารับเอกสารสำหรับการประมูลวงโคจรดาวเทียม แต่พอถึงเวลาก็ไม่ได้ส่งใบสมัครเข้าประมูล แต่คู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดในรอบนี้ที่จะเข้ามาเป็นคู่แข่งของไทยคมคือ แอสเซนด์ แคปปิตอล ในเครือซีพี เพราะก่อนหน้านี้ ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซีพีก็เคยพูดแสดงความสนใจธุรกิจซึ่งจำเป็นต้องใช้ดาวเทียม

 

ส่วน บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด นั้น เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในกลุ่ม Space Tech ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะเข้ามาเป็นคู่แข่งที่คู่มาประมูลในรอบนี้ ส่วน บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) ในฐานะหน่วยงานของรัฐก็มีบทบาทที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการประมูล

 

ทั้งนี้ THE STANDARD WEALTH ได้สืบค้นข้อมูลของ บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เข้ามารับเอกสารการคัดเลือกการประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมจาก กสทช. ในครั้งนี้ จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น เป็นบริษัทในเครือของ บมจ.ไทยคม (THCOM)  

 

โดยเพิ่งจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 โดยรายชื่อกรรมการของบริษัททั้งหมดจำนวน 4 คน นั่งเป็นผู้บริหารและกรรมการของ บมจ.ไทยคม ทั้งหมดด้วย มีรายชื่อดังนี้ 

  1. บุญชัย ถิราติ รองประธานคณะกรรมการ บมจ.ไทยคม
  2. ปฐมภพ สุวรรณศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยคม  
  3. คิมห์ สิริทวีชัย กรรมการ บมจ.ไทยคม
  4. คณิต วัลยะเพ็ชร์ กรรมการอิสระ กรรมการตรวจสอบ บมจ.ไทยคม

 

นอกจากนี้ สเปซ เทค อินโนเวชั่น ยังมีที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่เป็นที่อยู่เดียวกับ บมจ.ไทยคม ด้วยคือ เลขที่ 349 อาคารเอสเจ อินฟินิท วัน บิสซิเนส คอมเพล็กซ์ ชั้นที่ 28 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

 

เปิดชื่อเอกชน 5 ราย รับเอกสารสมัครประมูลใช้วงโคจรดาวเทียม 

พล.อ.ท. ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ล่าสุดขณะนี้มีบริษัทที่มีความสนใจ

 เข้ามารับเอกสารการคัดเลือกสำหรับการประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) พร้อมลงนามในหนังสือตกลงการไม่เปิดเผยข้อมูล (Non-disclosure Agreement: NDA) ที่สำนักงาน กสทช. รวมจำนวน 5 ราย ได้แก่ 

  1. บริษัท เทคนิคคอล เซอร์วิสเซส จำกัด 
  2. บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 
  3. บริษัท สเปซ เทค อินโนเวชั่น จำกัด
  4. บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด 
  5. บริษัท แอสเซนด์ แคปปิตอล จำกัด 

 

ทั้งนี้ กสทช. ยังเปิดให้รับเอกสารการคัดเลือกต่อไปจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ผู้ที่ประสงค์จะขอรับอนุญาตให้ใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) สามารถรับเอกสารได้ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ณ สำนักงาน กสทช. 

 

หลังจากนั้น กสทช. จะมีการจัดประชุมเพื่อรับฟังการชี้แจงกระบวนการประมูลและการกรอกเอกสารแบบคำขอรับอนุญาต (Public Information Session) ในวันที่ 2 ธันวาคม 2565 และจะเปิดให้ยื่นขอรับอนุญาตในวันที่ 27 ธันวาคม 2565 จากนั้นสำนักงานฯ จะทำการตรวจคุณสมบัติ 

 

โดยใช้เวลา 1 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 27  ธันวาคม 2565 – 4 มกราคม 2566 และจะประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการคัดเลือกในวันที่ 4  ธันวาคม 2566 ส่วนวันที่ 7  ธันวาคม 2566 จะจัด Mock Auction ให้ผู้เข้าร่วมการประมูล สำหรับวันประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) กำหนดเป็นวันที่ 8 ธันวาคม 2566

 

“ตอนนี้มีบริษัทเข้ามาขอรับเอกสารการคัดเลือก 5 รายแล้ว มากกว่าครั้งก่อนที่มีผู้มาขอรับเอกสารเพียง 2 ราย ทำให้ค่อนข้างมั่นใจในการจัดประมูลสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมในลักษณะจัดชุด (Package) ครั้งนี้ว่าจะประสบผลสำเร็จ เนื่องจาก กสทช. ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลให้มีความเหมาะสม เพื่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่การแข่งขันได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังสามารถรักษาไว้ซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็นสมบัติของชาติได้ด้วย”

The post เปิดศึกธุรกิจดาวเทียม ‘ซีพี’ ลุยรับใบสมัครจาก กสทช. ต่อยอดธุรกิจ Space Tech ฟาก ‘ไทยคม’ ตั้ง บ.ลูกใหม่ ‘สเปซ เทค อินโนเวชั่น’ ซุ่มรับใบสมัครแล้ว appeared first on THE STANDARD.

]]>