ประชากรจีน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 15 Sep 2024 05:30:10 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 วิกฤตประชากรจีน จำนวนสัตว์เลี้ยงแซงเด็กเกิดใหม่ ผู้คนไม่มีเงินมากพอ หันไปเลี้ยงสัตว์เป็นลูกสบายใจกว่า https://thestandard.co/china-pets-over-toddlers-aging-population/ Sun, 15 Sep 2024 03:47:36 +0000 https://thestandard.co/?p=983772 วิกฤตประชากรจีน

รัฐบาลจีนกังวลหนัก เมื่อจำนวนสัตว์เลี้ยงมีมากกว่าเด็กเก […]

The post วิกฤตประชากรจีน จำนวนสัตว์เลี้ยงแซงเด็กเกิดใหม่ ผู้คนไม่มีเงินมากพอ หันไปเลี้ยงสัตว์เป็นลูกสบายใจกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิกฤตประชากรจีน

รัฐบาลจีนกังวลหนัก เมื่อจำนวนสัตว์เลี้ยงมีมากกว่าเด็กเกิดใหม่ถึง 2 เท่า ฟังเสียงสะท้อนของคนรุ่นใหม่ ในภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ไม่มีค่าใช้จ่ายมากพอที่จะเลี้ยงดูบุตร หันไปเลี้ยงสัตว์เป็นลูกสบายใจกว่า

 

สำนักข่าว BBC รายงานว่า ในปีที่ผ่านมาประชากรของจีนลดลงเหลือ 1.409 พันล้านคน หนึ่งในปัจจัยดังกล่าวมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงเหลือ 6.39 ต่อจำนวนประชากร 1,000 คน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 1949 สร้างความกังวลให้กับรัฐบาลจีนอย่างมาก

 

หลังจากยกเลิกใช้กฎหมายให้ 1 ครอบครัวมีลูกได้ 1 คนในปี 2016 และมีการเปลี่ยนนโยบายให้คู่รักมีบุตรจำนวน 3 คนอีกครั้งในปี 2021 แต่ในเมืองใหญ่ๆ อย่างปักกิ่ง แม้รัฐบาลจะเสนอสิ่งจูงใจหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่เงินสด ให้วันลาคลอดมากขึ้น ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มจำนวนการเกิดได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

แน่นอนว่าเมื่อจำนวนประชากรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แถมยังเผชิญปัญหาประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งที่ตามมาคือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทั้งภาคการผลิตและภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งมีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

 

อะไรคือปัจจัยลบที่ไม่เอื้อให้ประชากรในจีนอยากมีลูก

 

ส่วนใหญ่เป็นผลพวงของภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อ จีนนับว่าเป็นประเทศที่มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และสูงกว่าประเทศออสเตรเลียและฝรั่งเศส

 

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้จำนวนเด็กแรกเกิดในจีนลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายครอบครัวทุ่มแรงกายไปเลี้ยงสัตว์ทั้งแมวและสุนัขมากกว่าการมีลูก ตลอดจนปัจจัยทางสังคมต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูเด็กที่สูงขึ้น และผู้ปกครองต้องการมีเวลาทำงานมากขึ้น

 

ทั้งนี้ จากรายงานการวิจัยของธนาคารเพื่อการลงทุน Goldman Sachs ที่ศึกษาเกี่ยวกับความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น คาดว่าในปีนี้จำนวนสัตว์เลี้ยงในจีนจะมีมากกว่าจำนวนเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 4 ปี สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป ไม่มองว่าการแต่งงานเป็นเพียงการมีลูกและสืบทอดตระกูลเหมือนคนในอดีตอีกต่อไป

 

ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงบูมมากในจีน

 

Goldman Sachs พบว่า ระหว่างปี 2017-2023 ยอดขายอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตเฉลี่ยปีละ 16% ปัจจุบันภาพรวมอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์ มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2030 สวนทางตลาดสินค้าเด็กแรกเกิด โดยคาดการณ์ว่าระหว่างปี 2022-2030 จำนวนการเกิดในจีนจะลดลงในอัตราเฉลี่ยปีละ 4.2%

 

อ้างอิง:

 

The post วิกฤตประชากรจีน จำนวนสัตว์เลี้ยงแซงเด็กเกิดใหม่ ผู้คนไม่มีเงินมากพอ หันไปเลี้ยงสัตว์เป็นลูกสบายใจกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: วิกฤตประชากรจีน คาดปี 2030 จำนวนสัตว์เลี้ยงจะมีมากกว่าเด็กเกือบเท่าตัว | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-09082024-4/ Fri, 09 Aug 2024 10:35:39 +0000 https://thestandard.co/?p=969475

รายงานของ Goldman Sachs ชี้ ปี 2030 จีนจะมีประชากรสัตว์ […]

The post ชมคลิป: วิกฤตประชากรจีน คาดปี 2030 จำนวนสัตว์เลี้ยงจะมีมากกว่าเด็กเกือบเท่าตัว | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
  • รายงานของ Goldman Sachs ชี้ ปี 2030 จีนจะมีประชากรสัตว์เลี้ยงสูงกว่าเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปีเกือบเท่าตัว อัตราการเกิดของทารกที่ลดลงกำลังสร้างผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจจีน ติดตามรายละเอียดได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: วิกฤตประชากรจีน คาดปี 2030 จำนวนสัตว์เลี้ยงจะมีมากกว่าเด็กเกือบเท่าตัว | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
สถานะทางประชากรจีนอาจกำลังแย่ Goldman Sachs เผย ภายในปี 2030 จีนจะมีจำนวนสัตว์เลี้ยงมากกว่าประชากรเด็กเกือบเท่าตัว https://thestandard.co/goldman-china-2030-pet-children/ Thu, 08 Aug 2024 06:26:30 +0000 https://thestandard.co/?p=968949

สำนักข่าว CNBC เปิดเผยรายงานของ Goldman Sachs ที่อ้างอิ […]

The post สถานะทางประชากรจีนอาจกำลังแย่ Goldman Sachs เผย ภายในปี 2030 จีนจะมีจำนวนสัตว์เลี้ยงมากกว่าประชากรเด็กเกือบเท่าตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

สำนักข่าว CNBC เปิดเผยรายงานของ Goldman Sachs ที่อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics of China) ระบุว่า ในปี 2030 ประเทศจีนจะมีประชากรสัตว์เลี้ยงสูงกว่าประชากรเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปี โดยประชากรของสัตว์เลี้ยงจะสูงกว่า 70 ล้านตัว ในขณะที่ประชากรเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 4 ปีจะมีน้อยกว่า 40 ล้านคน

 

ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวต่างกันกับช่วงปี 2017 อย่างสิ้นเชิง ที่ประชากรสัตว์เลี้ยง ณ ปีนั้นอยู่ที่ 40 ล้านตัว และประชากรเด็กมีสูงถึง 90 ล้านคน

 

“เราคาดว่าจะเห็นคนเลี้ยงสัตว์มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเกิดที่อ่อนแอลงและตลาดสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนที่สูงขึ้นจากความนิยมของคนรุ่นใหม่” Valerie Zhou นักวิเคราะห์ตลาดทุนสถาบันการลงทุนกล่าว

 

รายงานระบุต่อว่า อัตราการเกิดของเด็กแรกเกิดคาดว่าจะลดลงโดยเฉลี่ยที่ 4.2% ในปี 2030 เป็นผลมาจากประชากรผู้หญิงอายุ 20-35 ปีลดลง และคนรุ่นใหม่ไม่นิยมมีลูก และอ้างอิงจากตลาดอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงของจีน (China’s Pet Industry White Paper) รายงานของปี 2023 ครึ่งหนึ่งของผู้เลี้ยงสัตว์นั้นมีอายุอยู่ระหว่าง 23-33 ปี

 

จากการที่คนหนุ่มสาวชาวจีนหันมาเลือกเลี้ยงสัตว์มากกว่าเลี้ยงลูกจึงมีการคาดการณ์ว่าตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงจะเติบโตแข็งแกร่งจนมีมูลค่ากว่า 1.2 หมื่นล้านหยวน ในปี 2030

 

อัตราการเกิดของเด็กแรกเกิดทั่วโลกลดลงจากการที่ผู้หญิงเลือกที่จะมีลูกน้อยลง ในขณะที่ประชากรโลกกำลังทำจุดสูงสุดในศตวรรษนี้ โดยบางประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกกำลังเผชิญกับอัตราการเกิดใหม่ที่ลดลง

 

รายงานจากสถิติของรัฐบาลจีนในปี 2023 ประชากรของจีนปรับตัวลดลง 2 ปีซ้อน สู่ระดับ 1.41 พันล้านคน ซึ่งปรับตัวลดลงมาจาก 2.08 พันล้านคน ในปี 2022 ในขณะเดียวกัน ในปี 2023 จำนวนการแต่งงานในจีนกลับปรับตัวเพิ่มขึ้น 12.4% จากปีก่อน แต่มากกว่าครึ่งของประชากรที่มีอายุ 25-29 ปี ยังคงไม่แต่งงาน จากการที่คนนิยมแต่งงานกันในช่วงอายุที่มากขึ้น

 

การปรับลดของประชากรจีนนั้นมีผลกระทบอย่างมากกับเศรษฐกิจจีน โดยเฉพาะภาคตลาดแรงงาน “อัตราการเกิดของเด็กแรกเกิดนั้นจะกลายมาเป็นประชากรในตลาดแรงงานในอีก 2 ทศวรรษต่อมา” Tay จากสถาบันการเงิน Maybank กล่าวกับ CNBC

 

อ้างอิง:

The post สถานะทางประชากรจีนอาจกำลังแย่ Goldman Sachs เผย ภายในปี 2030 จีนจะมีจำนวนสัตว์เลี้ยงมากกว่าประชากรเด็กเกือบเท่าตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ปีนี้อาจไม่ใช่ปีของจีน? เหตุใดหนุ่มสาวจีนยุคใหม่ลังเลที่จะแต่งงาน กลัวการมีลูก และอัตราการหย่าร้างปีนี้ก็พุ่งถึง 1.97 ล้านครั้ง https://thestandard.co/why-chinese-young-people-reluctant-to-get-married/ Mon, 20 Nov 2023 09:54:11 +0000 https://thestandard.co/?p=867741 ครอบครัวชาวจีน

นับตั้งแต่มีรายงานเมื่อต้นปีว่า ตัวเลขประชากรจีนลดต่ำลง […]

The post ปีนี้อาจไม่ใช่ปีของจีน? เหตุใดหนุ่มสาวจีนยุคใหม่ลังเลที่จะแต่งงาน กลัวการมีลูก และอัตราการหย่าร้างปีนี้ก็พุ่งถึง 1.97 ล้านครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ครอบครัวชาวจีน

นับตั้งแต่มีรายงานเมื่อต้นปีว่า ตัวเลขประชากรจีนลดต่ำลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี ด้วยอัตราเกิดลดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เหลือ 6.77 คนต่อประชากร 1,000 คน เวลานี้รัฐบาลจีนกำลังเผชิญความยากลำบากอีกครั้งในการหาทางออกเพื่อพลิกฟื้นอัตราการเกิดที่ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ สาเหตุหลักอาจไม่ใช่ปัจจัยเศรษฐกิจจีนที่ซบเซาเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายก็สะเทือนเศรษฐกิจภายในของจีนไม่น้อย

 

สำนักข่าว Nikkei Asia รายงานว่า นักวิจัยจาก YuWa Population Research ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยประชากร ออกมาเปิดเผยว่า ประเทศจีนกำลังเผชิญกับการฟื้นฟูอัตราการเกิดที่นับวันเริ่มทยอยลดลง โดยนักวิเคราะห์ประเมินว่า อัตราการเกิดใหม่ในจีนในปี 2566 จะลดลงมากกว่า 10% เหลือต่ำกว่า 9 ล้านคน จากปัจจัยหลักคือ หนุ่มสาวจีนเริ่มระมัดระวังสภาวะทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่ซบเซาต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะปลดล็อกข้อจำกัดจากโควิดไปแล้วก็ตาม

 

Qiao Jie สถาบันการแพทย์ประจำมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของจีน ระบุว่า ทารกแรกเกิดของจีนลดลงถึง 40% ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และจำนวนการเกิดในปีนี้จะมากที่สุดได้แค่ 8 ล้านคน 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

นักวิจัยยังประเมินอีกว่า หลังอัตราการเกิดใหม่ของจีนลดลงสู่ต่ำกว่า 10 ล้านคนเป็นครั้งแรกในปี 2565 อยู่ที่ 9.56 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลง 50% จากปี 2559 โดยขณะนั้นรัฐบาลจีนมีนโยบายให้คู่สมรสมีลูกคนที่สอง แต่เมื่อดูจากอัตราการเกิดที่ลดลงในปี 2566 ก็ถือว่าติดต่อกันเป็นปีที่ 3 และเป็นตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ปกครองประเทศในปี 2492 ที่มีอัตราการเกิด 8.5 ล้านคน 

 

เศรษฐกิจจีนซบเซา ค่าเรียนแพง รายได้บริษัทเอกชนฟื้นตัวช้า 

 

นักวิเคราะห์หลายฝ่ายประเมินว่า สาเหตุหลักๆ มาจากเศรษฐกิจจีนที่กำลังถดถอย และรายได้ของบริษัทเอกชนฟื้นตัวช้า ประกอบกับการว่างงานในกลุ่มคนหนุ่มสาวก็สูงขึ้น บวกกับค่าใช้จ่ายที่สูงของเยาวชนจีนซึ่งมากกว่า 60% กำลังศึกษาระดับอุดมศึกษา 

 

หมายความว่า ปัจจุบันเด็กจีนยิ่งเรียนสูงยิ่งมีค่าใช้จ่ายที่ราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ลังเลที่จะเริ่มวางแผนมีครอบครัว โดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีนรายงานอีกว่า คู่รักหลายคู่เลือกที่จะไม่มีลูก

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนอนุญาตให้มีลูกคนที่สาม แต่ก็พบว่าจำนวนเด็กแรกเกิดที่ไม่ใช่ลูกคนแรกของคู่รักมีจำนวนทั้งสิ้น 5.15 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลง 43% ในรอบ 5 ปี

 

ย้อนมาดูนโยบายลูกคนเดียวก็ไม่เป็นผล เพราะในปี 2563 ข้อมูลระบุว่า ผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์อายุ 20-39 ปี ลดลงเกือบ 20% ดังนั้น ในช่วงทศวรรษนี้ไปจนถึงปี 2030 การคลอดบุตรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง 

 

น่าสนใจว่า แม้ว่าจำนวนการแต่งงานตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายนจะเพิ่มขึ้น 4% ต่อปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งปีเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่การมีลูกยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากการหย่าร้างที่เพิ่มขึ้นก็มีส่วนสำคัญต่อการมีลูกที่ลดลง โดยกระทรวงกิจการพลเรือนของจีนรายงานว่า ปี 2566 ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน อัตราการหย่าร้างในจีนมีมากถึง 1.97 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึง 25% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2564

 

ห่วงอัตราการเกิดที่ลดลงอาจนำไปสู่การขาดแคลนแรงงาน

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนตุลาคมประธานาธิบดีสีจิ้นผิงกล่าวกับผู้นำสหพันธ์สตรีแห่งประเทศจีนว่า ปักกิ่งสนับสนุนให้ผู้หญิงมีลูก โดยรัฐบาลวางแผนที่จะเพิ่มการสนับสนุนทั้งการศึกษา กระตุ้นการแต่งงาน ค่าเลี้ยงดูบุตร และส่งเสริมการมีครอบครัว ตลอดจนอุปถัมภ์การคลอดบุตร

 

เนื่องจากรัฐบาลมองว่าอัตราการเกิดที่ลดลงอาจนำไปสู่การขาดแคลนแรงงานในระยะยาว ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลได้รวมการเพิ่มอายุเกษียณตามกฎหมายไว้ในแผนนโยบาย 5 ปี จนถึงปี 2568 ด้วย

 

แม้การเพิ่มอายุเกษียณต้องเผชิญกับการต่อต้านจากสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง คนรุ่นเก่ากลัวว่าสิทธิประโยชน์เงินบำนาญของตนจะลดลง ในขณะที่คนอายุน้อยกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้พวกเขาขาดโอกาสในการจ้างงาน ซึ่งรายงานข่าวอยู่ระหว่างตรวจสอบ

 

สอดคล้องกับการรายงานข่าวจาก South China Morning Post ที่ระบุว่า ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของจีน มีการแต่งงาน 5.69 ล้านคู่ และมีแนวโน้มว่าจะมียอดการแต่งงานทั้งปีสูงกว่า 7 ล้านคู่เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2564 ที่การแต่งงานในจีนดิ่งลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แต่การแต่งงานที่เพิ่มขึ้นกลับสะท้อนปัญหาท่ามกลางวิกฤตทางประชากรที่หนุ่มสาวจีนวางแผนที่จะมีลูกลดลง สวนทางจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ระบุเช่นเดียวกันว่า สถานการณ์ประชากรประเทศไทยเองก็เป็นที่น่ากังวล หากดูจากโครงสร้างประชากรไทยในขณะนี้ ‘อยู่ในสภาวะขาดความสมดุล’

 

โดยในช่วง 20 ปีถึงปัจจุบันพบว่า จำนวนเด็กและแรงงานไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก

 

อ้างอิง: 

The post ปีนี้อาจไม่ใช่ปีของจีน? เหตุใดหนุ่มสาวจีนยุคใหม่ลังเลที่จะแต่งงาน กลัวการมีลูก และอัตราการหย่าร้างปีนี้ก็พุ่งถึง 1.97 ล้านครั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
นโยบายลูกคนที่ 2 ไม่ได้ผล อัตราการเกิดลดลงเรื่อยๆ ผู้เชี่ยวชาญคาดหลังปี 2050 ประชากรของจีนจะลดลง 10 ล้านคนต่อปี https://thestandard.co/china-birth-rate-keeps-falling/ Sun, 15 Oct 2023 10:58:02 +0000 https://thestandard.co/?p=854878 ผู้ชายอุ้มเด็กทารก

ครอบครัวชาวจีนที่ให้กำเนิดลูกคนที่ 2 ในปีที่แล้วจำนวนลด […]

The post นโยบายลูกคนที่ 2 ไม่ได้ผล อัตราการเกิดลดลงเรื่อยๆ ผู้เชี่ยวชาญคาดหลังปี 2050 ประชากรของจีนจะลดลง 10 ล้านคนต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้ชายอุ้มเด็กทารก

ครอบครัวชาวจีนที่ให้กำเนิดลูกคนที่ 2 ในปีที่แล้วจำนวนลดน้อยลง ซึ่งนี่เป็นการส่งสัญญาณถึงผลกระทบที่ค่อยๆ หายไปจากนโยบายลูกสองคนของจีนที่ริเริ่มในปี 2016

 

คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของแดนมังกรระบุว่า ปี 2022 มีทารกเกิดในจีนทั้งหมด 9.56 ล้านคน ซึ่งลดลง 10% จากปีที่แล้ว และคาดว่าอัตราการเกิดจะลดลงต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามเปลี่ยนจากข้อจำกัดการเกิดมาเป็นการส่งเสริมให้คู่รักทุกคู่มีลูก 3 คนก็ตาม

 

He Yafu นักประชากรศาสตร์ระบุว่า จำนวนบุตรคนที่ 1, 2 และ 3 ทั้งหมดลดลงเมื่อเทียบกับปี 2021 สะท้อนถึงจำนวนสตรีวัยเจริญพันธุ์และอัตราการเจริญพันธุ์ที่ลดลง

 

ในช่วง 2-3 ปีแรก หลังปี 2016 เมื่อนโยบายลูกสองคนถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ ผลกระทบจากการสั่งห้ามก่อนหน้านี้ได้ผลักดันอัตราส่วนของทารกคนที่ 2 ให้สูงขึ้น แต่ผลกระทบดังกล่าวเริ่มจางหายไปในปี 2018 เมื่ออัตราส่วนลูกคนที่ 2 ลดลง และจำนวนลูกคนแรกเพิ่มขึ้น

 

ปีที่แล้วนับเป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกว่าจำนวนทารกแรกเกิดลดลงต่ำกว่า 10 ล้านคน และน้อยกว่าจำนวนผู้เสียชีวิต จำนวนประชากรของจีนก็ลดลงในปี 2022 เป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี จนแดนมังกรต้องเสียตำแหน่งที่มีมายาวนานในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกให้กับอินเดีย

 

Chen Wei ศาสตราจารย์จากศูนย์การศึกษาประชากรและการพัฒนา มหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีน กล่าวว่า เหตุผลหนึ่งที่ทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ลดลงก็คือ จำนวนสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในช่วงทศวรรษ 1980 และ 1990 ลดลงอย่างมากจากรุ่นพ่อแม่ อันเป็นผลมาจากนโยบายลูกคนเดียว

 

นักประชากรศาสตร์หลายคนกล่าวว่า จำนวนประชากรของจีนถึงจุดสูงสุดแล้ว และการเติบโตของจำนวนประชากรติดลบเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คาดการณ์ในการศึกษาพบว่า จำนวนประชากรของจีนจะลดลง 10 ล้านคนต่อปีหลังจากปี 2050

 

นักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่า นโยบาย บรรทัดฐานทางสังคม และประเพณีของครอบครัวของจีนหลายอย่าง เกิดขึ้นเมื่อประชากรมีอัตราการเจริญพันธุ์สูงและมีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหม่ นโยบายเหล่านี้ไม่ได้รับการปรับให้เข้ากับแนวโน้มการพัฒนาประชากรในปัจจุบันและอนาคต และจำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที

 

อ้างอิง:

The post นโยบายลูกคนที่ 2 ไม่ได้ผล อัตราการเกิดลดลงเรื่อยๆ ผู้เชี่ยวชาญคาดหลังปี 2050 ประชากรของจีนจะลดลง 10 ล้านคนต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
UN คาดการณ์ อินเดียจะมีประชากรแซงหน้าจีนเกือบ 3 ล้านคน ภายในช่วงกลางปี 2023 https://thestandard.co/un-india-population-overtakes-china/ Wed, 19 Apr 2023 10:05:47 +0000 https://thestandard.co/?p=778579 ประชากรอินเดีย จีน

องค์การสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า อินเดียเตรียมเป็นปร […]

The post UN คาดการณ์ อินเดียจะมีประชากรแซงหน้าจีนเกือบ 3 ล้านคน ภายในช่วงกลางปี 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชากรอินเดีย จีน

องค์การสหประชาชาติ (UN) คาดการณ์ว่า อินเดียเตรียมเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกแซงหน้าจีนเกือบ 3 ล้านคน ภายในช่วงกลางปี 2023

 

โดยข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ในรายงานฉบับล่าสุดปี 2023 ของกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) คาดการณ์ว่า อินเดียจะมีจำนวนประชากรราว 1.4286 พันล้านคน สูงกว่าจีนที่มีจำนวนประชากรราว 1.4257 พันล้านคน ก่อนช่วงกลางปีนี้

 

ทางด้านผู้เชี่ยวชาญด้านประชากรศาสตร์เผยว่า จากข้อมูลของ UN ก่อนหน้านี้ มีความเป็นไปได้ที่อินเดียจะแซงหน้าจีนภายในเดือนเมษายนนี้ แต่รายงานฉบับล่าสุดกลับไม่ได้ระบุวันเวลาของการเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไว้แต่อย่างใด 

 

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่แน่นอนของข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของอินเดียและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งสุดท้ายของอินเดียที่เคยจัดทำข้อมูลไว้เมื่อปี 2011 ซึ่งรอบถัดไปคือปี 2021 แต่กลับต้องล่าช้าออกไป เนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด

 

แม้ว่าจำนวนประชากรของอินเดียและจีนจะคิดเป็นราว 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั่วทั้งโลก 8.045 พันล้านคน แต่การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในประเทศยักษ์ใหญ่ของเอเชียทั้ง 2 ประเทศกลับมีแนวโน้มชะลอตัวลง ซึ่งเกิดขึ้นในจีนมากกว่าอินเดีย

 

เมื่อปี 2022 จำนวนประชากรของจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ทศวรรษ นับเป็นจุดเปลี่ยนครั้งประวัติศาสตร์ที่หลายฝ่ายคาดว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่จำนวนประชากรชาวจีนจะลดลงต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลก

 

ขณะที่การเติบโตของจำนวนประชากรเฉลี่ยต่อปีของอินเดียอยู่ที่ 1.2% นับตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งลดลงจาก 1.7% ในช่วงทศวรรษก่อนหน้านั้น

 

ด้าน อันเดรีย โวจนาร์ ผู้แทนของ UNFPA อินเดีย แสดงความเห็นว่า “จำนวนประชากรไม่ควรเป็นปัจจัยในการสร้างความตื่นตระหนกหรือกระวนกระวายใจให้กับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม แต่ควรเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้า การพัฒนา และแรงขับเคลื่อนสังคมนั้นๆ หากสิทธิและทางเลือกส่วนบุคคลในสังคมนั้นๆ ต่างได้รับการปกป้อง”

 

ขณะที่ประเทศอันดับ 3 ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกคือ สหรัฐอเมริกา (339.6 ล้านคน) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย (277 ล้านคน) และปากีสถาน (239.5 ล้านคน)

 

ภาพ: Pradeep Gaurs / Shutterstock

อ้างอิง:

The post UN คาดการณ์ อินเดียจะมีประชากรแซงหน้าจีนเกือบ 3 ล้านคน ภายในช่วงกลางปี 2023 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชากรจีนอาจหดตัวระยะยาว จะส่งผลอย่างไรต่อโลกใบนี้ https://thestandard.co/how-china-population-effect/ Fri, 20 Jan 2023 08:20:04 +0000 https://thestandard.co/?p=739826

“ตอนนี้แค่เอาตัวเองให้รอดก็ยากแล้ว ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่อ […]

The post ประชากรจีนอาจหดตัวระยะยาว จะส่งผลอย่างไรต่อโลกใบนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

“ตอนนี้แค่เอาตัวเองให้รอดก็ยากแล้ว ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องว่าจะมีลูกเลย” 

 

เสียงจากชาวจีนคนหนึ่งที่ระบายความในใจของเธอออกมาบนแอปพลิเคชัน Weibo หลังจากที่โลกโซเชียลได้ถกเถียงกันถึงข่าวใหญ่ที่ออกมาในช่วงต้นสัปดาห์นี้ว่า ‘จำนวนประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี’ ท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลสีจิ้นผิง ที่เข็นหลากนโยบายออกมาจูงใจให้คนรุ่นใหม่อยากมีลูกกันมากขึ้น เพื่อผลักดันอัตราการเกิดให้กลับมาพุ่งขึ้นอีกครั้ง

 

โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเผยว่า เมื่อปี 2022 อัตราการเกิดในประเทศต่ำเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 6.77 ต่อประชากร 1,000 ราย ซึ่งลดลงจากปี 2021 ถึงราว 8.5 แสนราย ถือเป็นคลื่นความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ซัดถาโถมเข้าสู่จีน ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหาแรงงานสูงวัย และเศรษฐกิจที่ยังบอบช้ำจากการใช้นโยบายสกัดโควิดที่เข้มงวดถึง 3 ปี

 

ข่าวดังกล่าวยังเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่องค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศการคาดการณ์ว่า อินเดียจะก้าวขึ้นเป็นแชมป์ใหม่ที่แซงหน้าจีนขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในปีนี้ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะพลิกโฉมเศรษฐกิจโลกในระยะยาว

 

ย้อนกลับไปในอดีต ครั้งสุดท้ายที่จำนวนประชากรจีนลดลงคือปี 1961 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนเผชิญกับปัญหาขาดแคลนอาหารที่รุนแรงและเลวร้ายสุดในประวัติศาสตร์ จนมีประชากรหลายสิบล้านคนต้องจากโลกนี้ไป

 

แต่ในโลกยุคปัจจุบันที่จีนพัฒนาก้าวหน้าไปอย่างมาก ปัจจัยที่ทำให้ประชากรลดลงไม่ใช่ความอดอยากอีกแล้ว แต่เป็นเพราะหลายปัญหาสุมรวมกัน หนึ่งในนั้นก็เป็นผลพวงมาจากการที่จีนบังคับใช้นโยบายลูกคนเดียวมานานหลายทศวรรษ ประกอบกับว่าคนรุ่นใหม่ในจีนมีทัศนคติต่อการแต่งงานและการมีครอบครัวที่แตกต่างไปจากในอดีต รวมถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเพศที่หยั่งรากลึกในสังคมจีน และความท้าทายในการเลี้ยงดูเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ท่ามกลางค่าครองชีพ ค่าเทอม และค่าเรียนพิเศษที่สูงลิบลิ่วจนทำให้ผู้ปกครองเลือดตาแทบกระเด็น

 

ด้านผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า หากประชากรจีนส่อแววลดลงต่อเนื่องเช่นนี้ก็อาจส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ เนื่องจากจีนถือเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 รองก็เพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้น

 

ทำไมประชากรจีนถึงลดลง

 

  • หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชากรจีนหดตัวลงนั้นคือ ‘นโยบายลูกคนเดียว’ อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยจีนได้บังคับใช้นโยบายดังกล่าวเป็นเวลาถึง 35 ปีเต็ม หรือในช่วงปี 1980-2015 เพื่อชะลออัตราการเกิดของประชากรที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนภาคสังคมและเศรษฐกิจของจีนในขณะนั้นไม่อาจรับมือได้ทัน หากครอบครัวไหนฝ่าฝืนก็จะถูกปรับ และหลายครั้งก็เกิดกรณีที่สตรีมีครรภ์ถูกบังคับให้ทำแท้ง 

 

  • ขณะเดียวกันค่านิยมของชาวจีนสมัยก่อนที่อยากได้ลูกชายมาสืบสกุล ก็ส่งผลให้มีปัญหาการทำแท้งเพื่อเลือกเพศลูกเกิดขึ้นพร้อมกันไปด้วย 

 

  • โดยจีนเคยเปิดเผยว่า นโยบายดังกล่าวสามารถป้องกันอัตราการเกิดได้ถึง 400 ล้านคน

 

  • แต่ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนเริ่มตระหนักได้ว่าการหดตัวของประชากรระยะยาวอาจสร้างความเสียหายกับเศรษฐกิจได้ จึงมีความพยายามที่จะกระตุ้นอัตราการเกิดให้มากขึ้น โดยในปี 2015 ทางการให้ได้อนุญาตให้คู่สามี-ภรรยาสามารถมีลูกคนที่ 2 ได้ และต่อมาในปี 2021 เป็นอีกครั้งที่จีนได้ประกาศนโยบายให้คู่รักมีลูกคนที่ 3 ได้ พร้อมกับชุดมาตรการจูงใจต่างๆ มากมาย เช่น การลดหย่อนภาษีจากการมีลูก การให้เงินอุดหนุนลดต้นทุนที่อยู่อาศัย การคุมเข้มติวเตอร์ไม่ให้แสวงหากำไร และนโยบายในระดับเมืองหรือมณฑลอีกหลายขนาน แต่ถึงเช่นนั้นก็ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถโน้มน้าวให้คนอยากมีลูกได้มากนัก

 

  • ปัญหาหลักๆ เลยคือ ค่าครองชีพในจีนสูงลิบลิ่ว ส่วนค่าเทอมของเด็กๆ ก็แพงหูฉี่ ยังไม่นับรวมการแข่งขันทางการศึกษาที่ต้องผลักดันให้ผู้ปกครองส่งลูกหลานไปเรียนกับติวเตอร์ที่ราคาก็ไม่ได้ถูก แถมราคาที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่กว้างพอจะอยู่ได้เป็นครอบครัวใหญ่ก็หนักหนาสาหัส โดยเฉพาะในเขตเมือง หลายคนเจอกับปัญหาค่าจ้างที่ไม่กระเตื้องขึ้น โอกาสในการหางานที่น้อยลง แต่ชั่วโมงการทำงานยังโหดเอาเรื่องเหมือนเดิม มวลปัญหาที่เล่ามานี้จึงทำให้ชาวจีนมองว่าการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งนั้น ทั้งยาก ทั้งแพง ไม่ต้องพูดถึงว่าจะมี 3 คนเลย

 

  • แรงกดทับด้านเพศก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยในสังคมจีน ผู้หญิงมักจะถูกวางบทบาทให้เป็นทั้งแม่บ้านที่ต้องดูแลบ้านช่องให้เรียบร้อย รวมถึงต้องรับบทหนักในการเลี้ยงดูอบรมบุตร แต่ในโลกสมัยใหม่ ผู้หญิงมีการศึกษาสูงขึ้น รวมถึงสามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาฝ่ายชาย ทำให้ผู้หญิงยุคใหม่เริ่มมีมุมมองที่ไม่อยากรับภาระที่พวกเธอมองว่าไม่เท่าเทียมกันอีกแล้ว

 

  • นอกจากนี้ ผู้หญิงยังมักเจอปัญหาการเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน โดยเฉพาะหากแต่งงานหรือมีลูกแล้ว เพราะนายจ้างมักลังเลที่จะจ่ายเงินให้พวกเธอในช่วงลาคลอด หรืออาจมีปัญหาต้องลางานเพื่อดูแลลูก ขณะที่ผู้ชายถึงแม้จะมีลูกแล้วก็ไม่ได้เจอกับสถานการณ์เดียวกัน

 

  • อย่างไรก็ตาม ในบางเมืองและมณฑลของจีนได้เริ่มบังคับใช้มาตรการต่างๆ เพื่อจูงใจให้คนอยากมีลูก เช่น การให้สิทธิลาเพื่อดูแลบุตร และขยายบริการด้านการดูแลเด็กๆ มากขึ้น แต่ถึงเช่นนั้นบรรดานักเคลื่อนไหวด้านสิทธิและผู้หญิงจำนวนมากต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘แค่นี้ยังไม่พอ’

 

  • ขณะเดียวกันการแพร่ระบาดของโควิดก็ยิ่งทำให้อัตราการเกิดน้อยลง เนื่องจากโรคระบาดทำให้คู่รักต้องเลื่อนการแต่งงานออกไป บางคู่ต้องเลื่อนการมีลูกเพราะกังวลเรื่องของสุขภาพ รวมถึงสถานะทางการเงินที่ไม่มั่นคงเนื่องจากโควิดทำให้หลายคนต้องตกงาน 

 

จีนต้องเจอกับอะไรบ้าง

 

  • การที่ประชากรหดตัวลงนั้นมีแนวโน้มซ้ำเติมปัญหาด้านประชากรศาสตร์ที่จีนกำลังเผชิญอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันจีนกำลังเจอกับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ ขณะที่ประชากรวัยแรงงานหดตัวลง ซึ่งสร้างแรงกดดันให้กับคนรุ่นใหม่อย่างมาก

 

  • ปัจจุบันสัดส่วนของผู้สูงอายุอยู่ที่เกือบ 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญบางคนได้เตือนว่า ในท้ายที่สุดจีนจะลงเอยเช่นเดียวกับญี่ปุ่น ซึ่งประสบกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมาแต่ตั้งแต่ช่วงต้นปี 1990 หรือกว่า 30 ปีมาแล้ว และภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองนี้ก็สอดคล้องกับจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น

 

  • สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจจีนกำลังมีปัญหา โดยในปี 2022 เศรษฐกิจจีนขยายตัวเพียงแค่ 3% ซึ่งถือเป็นหนึ่งในระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 50 ปี เนื่องจากทางการจีนได้สั่งล็อกดาวน์และใช้มาตรการที่เข้มงวดสกัดโควิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับวิกฤตในตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ยังไม่คลี่คลาย

 

  • ขณะเดียวกันจำนวนแรงงานที่หดตัวลงจะทำให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจมีความท้าทายมากขึ้น ในช่วงเวลาที่จีนกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง รวมถึงยกเลิกมาตรการด้านโควิดที่เข้มงวดทั้งหมด

 

  • นอกจากนี้ ระบบประกันสังคมของจีนมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับความตึงเครียด เนื่องจากเมื่อจำนวนแรงงานลดลง จำนวนเงินสมทบที่จะเข้าระบบก็จะลดลงตามไปด้วย สวนทางกับความต้องการเงินบำนาญและสวัสดิการด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากรสูงอายุที่มากขึ้นเรื่อยๆ

 

  • ทั้งนี้ จำนวนผู้ที่จะช่วยดูแลผู้สูงอายุก็จะน้อยลงด้วย โดยปัจจุบันมีคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนัก เนื่องจากต้องทำงานเพื่อซัพพอร์ตพ่อและแม่ตัวเอง รวมถึงไปปู่ย่าตายายอีก

 

โลกจะได้รับผลกระทบอะไรบ้าง

 

  • ในฐานะที่จีนเป็นประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ การหดตัวลงของประชากรจึงสร้างแรงสั่นสะเทือนไปถึงประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ดังที่เราเคยเห็นจากในช่วงโควิดมาแล้ว โดยในช่วงที่เกิดโรคระบาด ปัญหาที่เกิดในจีนก็ส่งผลกระทบต่อภาคการค้าและการลงทุนโลก เนื่องจากการล็อกดาวน์และการควบคุมพรมแดนทำให้ซัพพลายเชนโลกหยุดชะงักลง

 

  • เฟรเดริก นอยมันน์ (Frederic Neumann) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของธนาคาร HSBC กล่าวว่า “เศรษฐกิจจีนกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ซึ่งไม่สามารถพึ่งพากำลังแรงงานที่มีจำนวนมากและมีต้นทุนต่ำเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและการเติบโตของเศรษฐกิจได้อีกต่อไป” 

 

  • โดยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา แรงงานต้นทุนต่ำของจีนนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก เพราะแรงงานจำนวนมหาศาลเหล่านี้ทำงานในโรงงานผลิตสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งในระยะยาวนั้น ปัญหาแรงงานหดตัวจะทำให้ต้นทุนสินค้าในต่างประเทศเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสหรัฐฯ ที่พึ่งพาการนำเข้าสินค้าจากจีนอย่างมาก

 

  • และด้วยความที่ค่าแรงของแรงงานจีนปรับตัวขึ้น ทำให้ตอนนี้หลายบริษัทได้โยกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่มีค่าแรงถูกกว่า เช่น เวียดนาม และเม็กซิโก

 

  • ขณะเดียวกันการที่ประชากรจีนลดลงก็หมายความว่ายอดการบริโภคจากชาวจีนจะลดลงด้วย ส่งผลให้ยอดขายของแบรนด์ระดับโลกที่ขายดีในจีนมีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกัน เช่น ผลิตภัณฑ์ของ Apple และรองเท้าของ Nike

 

  • นอกจากนี้ เป้าหมายอันทะเยอทะยานของจีนที่จะแซงหน้าสหรัฐฯ ขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็เสี่ยงไปไม่ถึงฝัน

 

  • ศูนย์ยุทธศาสตร์และการศึกษาระหว่างประเทศในสหรัฐฯ ประเมินเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาว่า หากจีนไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงของประชากรศาสตร์นี้ได้ ก็มีแนวโน้มที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในอีก 20-30 ปีข้างหน้า และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลกกับสหรัฐฯ

 

  • นอกจากนี้ จีนยังเตรียมที่จะเสียแชมป์ประเทศที่มีพลเมืองมากที่สุดในโลกให้กับอินเดีย ซึ่งขณะนี้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและประชากร

 

  • อี้ฟู่เสียน (Yi Fuxian) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน กล่าวว่า ในอนาคตเศรษฐกิจอินเดียอาจโตก้าวกระโดดแซงหน้าสหรัฐฯ แต่ถึงเช่นนั้นหนทางข้างหน้าก็ยังมีอุปสรรคหลายประการที่อินเดียจะต้องฝ่าไปให้ได้ โดยปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 หลังเบียดขึ้นแซงอังกฤษได้สำเร็จในปีที่ผ่านมา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความกังวลว่าอินเดียจะต้องเร่งสร้างตำแหน่งงานใหม่ให้เพียงพอ เพื่อรองรับกับจำนวนประชากรที่กำลังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

 

  • อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนมองว่า ในวิกฤตที่เกิดขึ้นก็ยังมีโอกาสสำหรับจีนอยู่บ้าง เพราะท่ามกลางปัญหาโลกรวนและสิ่งแวดล้อมที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ การมีประชากรน้อยลงก็อาจเป็นผลดีกับประเทศมากกว่า

 

  • ปีเตอร์ คาลมุส (Peter Kalmus) นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศของ NASA มองว่าการที่ประชากรลดลงไม่ใช่เป็นเรื่องที่ไม่ดีเสมอไป เพราะการที่ยิ่งประชากรมาก ก็จะยิ่งทำให้โลกร้อนมากกว่าเดิม และยิ่งเร่งให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

 

รัฐบาลจีนทำอะไรเพื่อแก้ไขปัญหานี้

 

  • ดังที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นว่ารัฐบาลจีนเองก็พยายามออกนโยบายที่จะช่วยกระตุ้นอัตราการเกิด เช่น เพิ่มสิทธิในการลาคลอด การลดหย่อนภาษีจากการมีลูก และให้เงินอุดหนุนลดต้นทุนที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวใหญ่ รวมถึงชุดมาตรการอื่นๆ อีกมากมายเพื่อจูงใจให้คนรุ่นใหม่อยากมีลูกมากขึ้น

 

  • ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงได้ประกาศเมื่อเดือนตุลาคมว่า ทางการจีนจะเดินหน้ายกระดับกลยุทธ์ด้านการพัฒนาประชากร โดยจะวางระบบนโยบายที่ช่วยกระตุ้นการเกิด และลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ปกครอง ตั้งแต่การฝากครรภ์ ไปจนถึงการคลอดบุตร การเลี้ยงดู และการศึกษา ขณะเดียวกันก็จะวางแผนกลยุทธ์ระดับชาติในการรับมือกับประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น ผ่านการพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนบริการต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุที่ไม่มีลูกหลานดูแล

 

  • ขณะเดียวกันบางเมืองและมณฑลของจีนก็ได้ออกมาตรการจูงใจเพื่อกระตุ้นอัตราการเกิดด้วย เช่น เมืองเซินเจิ้นประกาศให้เงินอุดหนุนครอบครัวที่มีลูก 3 คนขึ้นไป ปีละ 6,000 หยวน จนกว่าลูกจะอายุ 3 ขวบ ส่วนครอบครัวที่มีลูก 2-3 คนในเมืองจี่หนาน สามารถรับเงินช่วยเหลือเดือนละ 600 หยวน จนกว่าลูกจะอายุ 3 ขวบ ขณะบางเมืองประกาศมอบสิทธิซื้อบ้านเพิ่มสำหรับครอบครัวที่มีลูกหลายคน

 

  • อย่างไรก็ตาม ความพยายามของจีนนั้นก็ยังไม่เห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยผู้เชี่ยวชาญและประชาชนหลายคนพูดตรงกันว่า จีนยังต้องปฏิรูปนโยบายอีกมาก และที่สำคัญที่สุดคือ ทางการจีนจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับคนรุ่นใหม่ได้ก่อน เพราะในวันนี้หลายคนยังไม่เห็นโอกาสที่จะลืมตาอ้าปากได้

 

“เงินเดือนเราน้อยเหลือเกิน ค่าเช่าบ้านก็แพงหูดับ สภาพการเงินเราง่อนแง่น ว่าที่สามีฉันต้องทำโอทีถึงตี 3 ทุกวันจนถึงสิ้นปีนี้” ผู้ใช้ Weibo คนหนึ่งเขียนระบายความในใจ 

 

“ตอนนี้แค่เอาตัวเองให้รอดก็ยากแล้ว ไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องว่าจะมีลูกเลย”

 

แฟ้มภาพ: VCG/VCG via Getty Images

 

อ้างอิง:

The post ประชากรจีนอาจหดตัวระยะยาว จะส่งผลอย่างไรต่อโลกใบนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนใช้นโยบายอะไรกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่อยากมีลูก ขณะประชากรลดลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี https://thestandard.co/china-policy-encourage-have-children/ Wed, 18 Jan 2023 09:46:45 +0000 https://thestandard.co/?p=738937

ประชากรจีนลดลงมากถึง 850,000 คนในปี 2022 โดยเป็นการหดตั […]

The post จีนใช้นโยบายอะไรกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่อยากมีลูก ขณะประชากรลดลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

ประชากรจีนลดลงมากถึง 850,000 คนในปี 2022 โดยเป็นการหดตัวลงครั้งแรกในรอบกว่า 6 ทศวรรษ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า นี่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของจำนวนพลเมืองที่คาดว่าจะลดลงในระยะยาว และแน่นอนว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จะส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจด้วยแน่นอน

 

ย้อนกลับไปในปี 1980 จีนได้บังคับใช้นโยบาย ‘ลูกคนเดียว’ อย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรก เพื่อชะลออัตราการเกิดของประชากรที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจนภาคสังคมและเศรษฐกิจของจีนในขณะนั้นไม่อาจรับมือได้ทัน ซึ่งหากครอบครัวไหนฝ่าฝืนก็จะถูกปรับ และหลายครั้งก็เกิดกรณีที่สตรีมีครรภ์ถูกบังคับให้ทำแท้ง ขณะเดียวกัน ค่านิยมของชาวจีนสมัยก่อนที่อยากได้ลูกชายมาสืบสกุลก็ส่งผลให้มีปัญหาการทำแท้งเพื่อเลือกเพศลูกเกิดขึ้นพร้อมกันไปด้วย โดยจีนเคยเปิดเผยว่า นโยบายดังกล่าวสามารถป้องกันอัตราการเกิดได้ถึง 400 ล้านคน

 

แม้ต่อมาในปี 2016 จีนจะกลับมาอนุญาตให้คู่สามี-ภรรยา สามารถมีลูกคนที่สองได้แล้ว แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ช่วยกระตุ้นให้อัตราการเกิดขยับขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เพราะประชาชนเจ็บปวดกับค่าครองชีพและค่าเทอมเด็กที่สูงลิ่ว จนในปี 2021 เป็นอีกครั้งที่จีนได้ประกาศนโยบายให้คู่รักมีลูกคนที่สามได้ พร้อมกับชุดมาตรการต่างๆ ที่จะรองรับโครงสร้างประชากรจำนวนมหาศาล 

 

THE STANDARD ขอชวนย้อนดูนโยบายที่จีนผลักดันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เพื่อหวังกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่อยากมีลูกมากขึ้น

 

 

ภาพประกอบ: เทียนจรัส วงศ์พิเศษกุล

 

อ้างอิง:

The post จีนใช้นโยบายอะไรกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่อยากมีลูก ขณะประชากรลดลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชากรจีนลดลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี นักวิชาการคาด อินเดียเตรียมแซงจีนขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก https://thestandard.co/china-population-decline/ Wed, 18 Jan 2023 01:58:28 +0000 https://thestandard.co/?p=738676 ประชากรจีนลดลง

วานนี้ (17 มกราคม) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จำนวนปร […]

The post ประชากรจีนลดลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี นักวิชาการคาด อินเดียเตรียมแซงจีนขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชากรจีนลดลง

วานนี้ (17 มกราคม) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จำนวนประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 60 ปี อัตราการเกิดแห่งชาติต่ำเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 6.77 ต่อประชากร 1,000 ราย โดยจีนมีประชากรในปี 2022 ที่ผ่านมา 1.4118 พันล้านราย ลดลงจากปี 2021 ถึงราว 8.5 แสนราย 

 

อัตราการเกิดของจีนมีแนวโน้มลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ทางการจีนต้องออกมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยชะลอแนวโน้มดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ทางการจีนรายหนึ่งชี้ว่า 7 ปีหลังจากที่ทางการจีนประกาศยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวอย่างเป็นทางการเมื่อปี 2015 จีนก็ได้เข้าสู่ช่วงที่ขนาดประชากรจีนลดลงแล้ว

 

โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนเผยว่า อัตราการเกิดในปี 2022 ลดลงจาก 7.52 ต่อประชากร 1,000 ราย เมื่อปี 2021 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนั้น อัตราการเกิดของประชากรสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 11.06 ต่อประชากร 1,000 ราย ส่วนอัตราการเกิดของประชากรสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 10.08 ต่อประชากร 1,000 ราย นักวิชาการคาด อัตราการเกิดของประชากรอินเดียในปีเดียวกันนี้ที่อยู่ที่ 16.42 ต่อประชากร 1,000 ราย จะมีส่วนทำให้อินเดียแซงหน้าจีน กลายเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้

 

นอกจากนี้ เมื่อปี 2022 อัตราการเสียชีวิตในจีนยังมากกว่าอัตราการเกิดเป็นครั้งแรก โดยมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 7.37 ต่อประชากร 1,000 ราย เพิ่มขึ้นจาก 7.18 เมื่อปี 2021 ถือเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 1976

 

ผลการสำรวจจำนวนประชากรเพียงครั้งเดียวในรอบทศวรรษที่ประกาศในปี 2021 แสดงให้เห็นว่า จำนวนประชากรจีนเติบโตช้าที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ขณะที่ประชากรในหลายประเทศแถบเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ก็มีแนวโน้มลดจำนวนลง และเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ

 

โดย Yue Su หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Economist Intelligence Unit ระบุว่า แนวโน้มนี้จะดำเนินต่อไป และอาจจะยิ่งเลวร้ายลงในช่วงยุคหลังโควิด โดยอัตราการว่างงานของบรรดาคนรุ่นใหม่ และความเหนื่อยอ่อนจากความคาดหวังในประเด็นเรื่องรายได้ มีส่วนสำคัญที่ช่วยชะลอแผนการแต่งงานและการมีลูกให้ล่าช้าออกไปมากยิ่งขึ้น ทำให้จำนวนทารกแรกเกิดมีจำนวนลดลง ซึ่งเธอเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญที่คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรจีนจะลดลงอีกจนถึงปี 2023

 

นอกจากนี้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนไม่น้อยยังมองว่า แม้ทางการจีนจะพยายามสนับสนุนนโยบายการมีลูก 2 คน นับตั้งแต่ปี 2016 พร้อมเสนอมาตรการลดหย่อนภาษีและนโยบายที่ดูแลสุขภาพของแม่ให้ดียิ่งขึ้น เพื่อหวังจะชะลอแนวโน้มที่อัตราการเกิดลดลง แต่กระนั้นนโยบายเหล่านี้ก็ไม่ได้นำไปสู่การเพิ่มอัตราการเกิดอย่างยั่งยืน บางรายวิพากษ์ว่า นโยบายของรัฐที่สนับสนุนให้คนมีลูกอาจไม่ได้มาพร้อมกับความพยายามที่จะแบ่งเบาภาระการดูแลเด็ก หรือมอบความช่วยเหลืออื่นๆ เพิ่มเติมหลังจาก

 

ภาพ: Testing / Shutterstock

อ้างอิง:

The post ประชากรจีนลดลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี นักวิชาการคาด อินเดียเตรียมแซงจีนขึ้นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
27 ตุลาคม 1982 – ประชากรจีนทะลุพันล้านคน https://thestandard.co/onthisday27101982/ Thu, 27 Oct 2022 00:00:17 +0000 https://thestandard.co/?p=700460

วันนี้เมื่อ ค.ศ. 1982 จีนได้ประกาศต่อสาธารณชนว่ามีประชา […]

The post 27 ตุลาคม 1982 – ประชากรจีนทะลุพันล้านคน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้เมื่อ ค.ศ. 1982 จีนได้ประกาศต่อสาธารณชนว่ามีประชากรเกินกว่าหนึ่งพันล้านคน ทำให้จีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

 

รายงานของสำนักสถิติแห่งชาติของจีนระบุว่า ในช่วงกลาง ค.ศ. 1982 จีนมีประชากรประมาณ 1,000,868,900 คน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของประชากรโลกในขณะนั้น

 

ขณะที่คณะกรรมการสุขภาพและการวางแผนครอบครัวแห่งชาติจีนคาดการณ์ว่า จำนวนประชากรในประเทศจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,420 ล้านคน ภายในปี 2020 โดยรายงานระบุว่า ณ สิ้นปี 2015 จีนมีจำนวนประชากรอยู่ที่ประมาณ 1,370 ล้านคน อัตราการเพิ่มของประชากรตามธรรมชาติในแต่ละปีจะอยู่ที่ประมาณ 6 ต่อ 1,000 คน 

 

อ้างอิง:

The post 27 ตุลาคม 1982 – ประชากรจีนทะลุพันล้านคน appeared first on THE STANDARD.

]]>