บางจาก คอร์ปอเรชั่น – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 28 Jan 2025 10:57:06 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 บางจาก คอร์ปอเรชั่น มีมติแต่งตั้งอดีต ผบ.ตร. ‘พล.ต.อ. สุวัฒน์’ นั่งเป็นกรรมการอิสระ มีผลทันที https://thestandard.co/bangchak-corporation-appoints-suwat/ Tue, 28 Jan 2025 10:57:06 +0000 https://thestandard.co/?p=1035420 พล.ต.อ. สุวัฒน์ บางจาก

วันนี้ (28 มกราคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท บางจาก ค […]

The post บางจาก คอร์ปอเรชั่น มีมติแต่งตั้งอดีต ผบ.ตร. ‘พล.ต.อ. สุวัฒน์’ นั่งเป็นกรรมการอิสระ มีผลทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
พล.ต.อ. สุวัฒน์ บางจาก

วันนี้ (28 มกราคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP มีหนังสือแจ้งถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าผลจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันจันทร์ที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา

 

มีมติแต่งตั้ง พล.ต.อ. สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระ แทน นรินทร์ กัลยาณมิตร กรรมการที่ลาออก ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ตามข้อเสนอของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน

 

สำหรับ พล.ต.อ. สุวัฒน์ เป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.), อดีตสมาชิกวุฒิสภา, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

 

อ้างอิง: 

  • สำนักข่าวไทยแทบลอยด์

The post บางจาก คอร์ปอเรชั่น มีมติแต่งตั้งอดีต ผบ.ตร. ‘พล.ต.อ. สุวัฒน์’ นั่งเป็นกรรมการอิสระ มีผลทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
จากแรงบันดาลใจ สู่เกมแข่งขันตอบคำถามหน้าจอ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/genwit-quiz-competition-game/ Fri, 26 Apr 2024 12:00:07 +0000 https://thestandard.co/?p=926110

หลังจากที่เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา รายการ Genwit อ […]

The post จากแรงบันดาลใจ สู่เกมแข่งขันตอบคำถามหน้าจอ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากที่เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่านมา รายการ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group ได้ออกอากาศตอนแรกผ่านทางช่องเวิร์คพอยท์ 23 สร้างความฮือฮาและเสียงตอบรับจากผู้ชมหลากหลายกลุ่ม ทั้งตัวนักเรียนและผู้ปกครอง สะท้อนได้ชัดเจนจากการแสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ของรายการ ที่ส่วนใหญ่มองว่าเป็นรายการที่แข่งขันตอบคำถามเชิงวิชาการที่สนุก ไม่น่าเบื่อ พร้อมชื่นความสามารถของนักเรียนจากโรงเรียนต่างๆ ที่มาร่วมการแข่งขัน

 

สำหรับรายการ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group เป็นรายการแข่งขันตอบคำถามเชิงวิชาการ ซึ่งหลายคำถามเป็นคำถามรอบตัวที่เราคุ้นเคย แต่เมื่อผสมกับการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของอาจารย์ประจำรายการ การทดลอง และการจำลองเหตุการณ์ รวมถึงกติกาที่ทำให้ต้องลุ้นในทุกช่วงของการแข่งขัน นอกจากผู้ชมจะได้ร่วมลุ้นเป็นกำลังใจให้แก่ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ยังได้ความรู้ไปอีกด้วย

 

โดยมีนักเรียนจาก 16 โรงเรียนชื่อดังของประเทศมาช่วยกันสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ผ่านการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษา 1,000,000 บาท ซึ่งจะมีการจัดแข่งขันเป็นฤดูกาลอย่างต่อเนื่องทุกปี 

 

 

จากแนวคิดส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนของบางจาก จึงถือกำเนิดรายการ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group ซึ่งจับมือกับเวิร์คพอยท์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ ถือเป็นเจ้าตลาดรายการบันเทิงในหลากหลายประเภทโดยเฉพาะเกมโชว์ที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน 

 

บางจากได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสาขาวิชาการตามแนวทาง STEM Education ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ เป็นการบูรณาการ 4 สาขาวิชาที่เป็นพื้นฐานของการศึกษา โดยหัวใจสำคัญของ STEM Education คือ ไม่เน้นการท่องจำ แต่ให้ลงมือปฏิบัติ ทดลองจริงมากกว่าการเรียนภาคทฤษฎี เพื่อนำความรู้ไปต่อยอด

 

ผสานแนวคิดจาก ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ได้มีโอกาสรับชมรายการแข่งขันตอบคำถามวิชาการจากเด็กมัธยมในอดีต ซึ่งช่วยกระตุ้นและสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้ตนเองและอีกหลายๆ คนอยากจะเก่งเหมือนผู้เข้าแข่งขัน

 

 

“แรงส่งตรงนี้ทำให้ประเทศไทยก้าวข้ามจากประเทศเกษตรกรรมมาสู่ประเทศอุตสาหกรรม และสาขาวิชา STEM เหล่านี้ถือเป็นวิชาพื้นฐานที่ทำให้เด็กและเยาวชนรุ่นนั้นมีวิธีคิด วิธีการทำงาน ทำให้ประเทศพัฒนาอย่างก้าวกระโดด” ชัยวัฒน์กล่าว

 

หากย้อนกลับไปในอดีตรายการเกมโชว์ที่เปิดโอกาสให้เด็กมัธยมเข้ามาแข่งขันตอบคำถามมีอยู่จำนวนมาก เช่น รายการเวทีคนเก่ง หรือแม้แต่วิทยสัประยุทธ์ ซึ่งถือเป็นรายการแข่งขันตอบคำถามของเด็กนักเรียนมัธยมที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงอย่างมาก แต่จากเทรนด์การรับชมรายการของผู้ชมที่เปลี่ยนไปเน้นรายการให้ความเทิง ความสนุกสนาน จนรายการเหล่านี้ทยอยหายไปจากหน้าจอทีวีอย่างต่อเนื่องจนแทบจะหาไม่ได้ในปัจจุบัน 

 

 

ปรากฏการณ์การกลับมาของรายการแข่งขันตอบคำถามเชิงวิชาการที่ทั้งสนุกและได้ความรู้บนหน้าจอทีวีอย่างรายการ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group ย่อมสร้างแรงกระตุ้นสำคัญให้ทุกภาคส่วนหันมาให้ความสนใจกับรายการทีวีที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะผู้ชมที่มีส่วนอย่างยิ่งในการที่จะทำให้รายการประเภทนี้มีที่ยืนหยัดบนหน้าจอทีวี ผู้สนใจสามารถรับชมได้ผ่านช่องเวิร์คพอยท์ 23 ทุกวันพุธ เวลา 20.05-21.30 น.

 

The post จากแรงบันดาลใจ สู่เกมแข่งขันตอบคำถามหน้าจอ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ Presented by Bangchak Group [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
BCP – สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง https://thestandard.co/market-focus-bcp-2/ Mon, 11 Mar 2024 07:00:29 +0000 https://thestandard.co/?p=909639

เกิดอะไรขึ้น: กำไรที่เติบโตอย่างน่าประทับใจในช่วง 3 ปีท […]

The post BCP – สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

กำไรที่เติบโตอย่างน่าประทับใจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาของ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) ได้พิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งของกำไรท่ามกลางราคาน้ำมันและค่าการกลั่นที่ผันผวน ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้จากราคาหุ้น BCP ที่ปรับตัว Outperform SET ในปี 2564-2566 ถึง 86%

 

InnovestX Research คาดว่าค่าการกลั่นที่แข็งแกร่งขึ้นและราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพมากขึ้นจะช่วยสนับสนุนกำไรใน 1Q67 BCP น่าจะสามารถคงปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นไว้ในระดับสูงใน 1Q67 ก่อนที่จะลดลงเล็กน้อยใน 2Q67 โดยมีสาเหตุมาจากการหยุดซ่อมบำรุงใหญ่โรงกลั่นตามแผนในเดือนพฤษภาคม 2567 เป็นเวลา 27 วัน (ถือเป็นการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นที่สั้นที่สุดในสถิติของ BCP) หลังจากการหยุดซ่อมบำรุงครั้งนี้ วงจรการบำรุงรักษาของบริษัทจะขยายออกไปเป็น 4 ปี เทียบกับ 2-3 ปีก่อนหน้านี้ 

 

แต่จะถูกชดเชยโดยปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นเพิ่มขึ้นที่ BSRC เพื่อรองรับปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นที่สถานีบริการน้ำมันของ BCP และการขายเชิงพาณิชย์ กำไรจากกลุ่มธุรกิจ E&P จะปรับตัวดีขึ้นจากการผลิตที่สูงขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากสินทรัพย์ที่ได้มาใหม่ (ถือหุ้น 28% ในแหล่ง Statfjord ที่ดำเนินการโดย Equinor)

กำไรสุทธิ 1Q67 คาดว่าจะแข็งแกร่งขึ้น QoQ จาก GRM ที่แข็งแกร่งขึ้นและปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นที่สูงขึ้นของทั้ง BCP และ BSRC นอกจากนี้ยังสามารถประหยัดต้นทุนได้มากขึ้นจากการผนึกกำลังทางธุรกิจร่วมกันด้วย

 

ด้านการขยายธุรกิจการตลาด กลุ่มธุรกิจการตลาดค้าปลีกของ BCP จะได้แรงหนุนจากสถานีบริการที่เพิ่มขึ้นจาก BSRC และการตั้งเป้าเปิดสถานีบริการใหม่ 40 สถานีในปี 2567 สู่ 2,259 สถานี โดยคาดว่าปริมาณการขายของธุรกิจการตลาด (สำหรับ BCP+BSRC) จะเติบโต 60%YoY ปริมาณการขายที่สูงขึ้นในธุรกิจค้าปลีกจะทำให้ BBGI (บริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพ) สามารถเดินเครื่องโรงงานไบโอดีเซลและเอทานอลได้เต็มกำลังการผลิต แม้ว่าในปัจจุบันอุปสงค์และอุปทานในประเทศไทยจะไม่สมดุลก็ตาม 

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น BCP ปรับลง 2.30% สู่ระดับ 42.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.41% สู่ระดับ 1,382.88 จุด 

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ:

ปัจจุบัน Valuation ของหุ้น BCP ยังไม่แพง เนื่องจากยังคงเทรดที่ EV/EBITDA 4.7 เท่า (ปี 2567) ตามงบการเงินรวม เทียบกับบริษัทอื่นๆ ที่ประกอบธุรกิจอย่างเดียวกันในตลาดภูมิภาคที่ 8 เท่า ซึ่งมองว่าตลาดมีความกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับการที่ BCP เข้าลงทุนใน BSRC และ OKEA แม้ว่าการเติบโตของ EBITDA ในช่วงปี 2565-2566 โดยเฉพาะ OKEA ได้รับการพิสูจน์แล้ว ราคาหุ้น BCP ในปัจจุบัน (สุทธิจากบริษัทจดทะเบียนอื่นๆ) สะท้อนถึง Trailing EV/EBITDA เพียง 3.8 เท่าของธุรกิจโรงกลั่นและการตลาด และคาดว่ากำไรจะยังคงรักษาโมเมนตัมขาขึ้นเอาไว้ได้ในระยะ 3 ปีข้างหน้า โดยยังคงยึดหลักความระมัดระวังเมื่อเทียบกับเป้าหมายของ BCP ที่จะทำ EBITDA ให้ได้ 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2573

 

InnovestX Research ยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ BCP เพราะแนวโน้มกำไรแข็งแกร่งและมีธุรกิจที่หลากหลาย โดยให้ราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี SOTP ที่ 51 บาทต่อหุ้น ซึ่งคิดเป็น EV/EBITDA (ปี 2567) ที่ 4.3 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีที่ 7.4 เท่า Valuation ยังไม่แพงที่ P/E (ปี 2567) เพียง 4.1 เท่า และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลน่าสนใจที่ 6-7% ในระยะ 3 ปีข้างหน้า

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปและค่าการกลั่น ในขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันอาจส่งผลทำให้ขาดทุนสต็อกเพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายการด้อยค่าของสินทรัพย์ในธุรกิจ E&P และรัฐบาลเข้าแทรกแซงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ 

 

ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ คือ ผลกระทบของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

The post BCP – สิ่งที่ดีที่สุดยังมาไม่ถึง appeared first on THE STANDARD.

]]>
BCP – 4Q66 ขาดทุนสุทธิน้อยกว่าคาด https://thestandard.co/market-focus-bcp-4q66/ Fri, 23 Feb 2024 10:23:20 +0000 https://thestandard.co/?p=903564

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 บมจ […]

The post BCP – 4Q66 ขาดทุนสุทธิน้อยกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) รายงานขาดทุนสุทธิ 977 ล้านบาทใน 4Q66 ดีกว่าคาด และเป็นผลมาจาก GRM ที่ลดลง บวกกับขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ในธุรกิจ E&P ที่ 2.2 พันล้านบาท หากตัดรายการพิเศษออกไปพบว่า BCP มีกำไรปกติ 1.3 พันล้านบาท GRM ที่ลดลงและขาดทุนสต็อกในกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและกลุ่มธุรกิจการตลาดเป็นตัวฉุดรั้งผลการดำเนินงาน 4Q66 ซึ่งถูกชดเชยโดยธุรกิจ E&P (ไม่รวมรายการด้อยค่าของสินทรัพย์) จากราคาก๊าซที่สูงขึ้น 

 

กำไรสุทธิปี 2566 ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1.32 หมื่นล้านบาท (เพิ่มขึ้น 5.2%YoY) เติบโตเฉลี่ย (CAGR) 40% ต่อปีในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา กำไรปกติอยู่ที่ 8.9 พันล้านบาท (ลดลง 23%YoY) เนื่องจาก GRM สูงผิดปกติในปี 2565 

 

กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและกลุ่มธุรกิจการตลาดเป็นตัวฉุดรั้งผลการดำเนินงาน 4Q66 โดยมีสาเหตุมาจาก GRM ที่ลดลงและขาดทุนสต็อก GRM รวม (รวมผลกระทบของการขาดทุนสต็อกและกำไรจากสัญญาซื้อ-ขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า) ลดลง 57%QoQ สู่ 7.38 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่เพิ่มขึ้น 11%YoY ซึ่งถูกชดเชยโดยปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นที่เพิ่มขึ้น 4%QoQ สู่ 120.8kbd หลังจากมีการหยุดซ่อมบำรุงใน 3Q66 เพื่อเตรียมผลิตผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานยูโร-5 ขาดทุนสต็อก ส่วนใหญ่ถูกชดเชยโดยกำไรจากสัญญาซื้อ-ขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันล่วงหน้า แต่ยังต่ำกว่ากำไรสต็อกสุทธิที่ 2.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 3Q66 ค่อนข้างมาก 

 

ด้านกลุ่มธุรกิจการตลาดน้ำมันได้รับผลกระทบจากค่าการตลาดสุทธิที่ลดลง 28%QoQ โดยมีสาเหตุมาจากขาดทุนสต็อก แม้ปริมาณการขายเพิ่มขึ้น 10%QoQ เนื่องจากไตรมาส 4 เป็นช่วงไฮซีซันของการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยและค่าการตลาดเพิ่มขึ้น (เพิ่มขึ้น 15.5%QoQ สู่ 0.97 บาทต่อลิตร ซึ่งเป็นไตรมาสที่สูงที่สุดในปี 2566) ส่งผลทำให้ EBITDA ของธุรกิจการตลาดลดลง 58%QoQ เพราะ EBITDA Margin ลดลงจาก 2.8% ใน 3Q66 สู่ 1.1% ใน 4Q66 (ต่ำกว่าคาด) 

 

ส่วนผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยที่สำคัญมีทิศทางคละเคล้ากัน กำไรจากกลุ่มธุรกิจ E&P (ไม่รวมรายการด้อยค่า) ปรับตัวดีขึ้น 17%QoQ เพราะราคาก๊าซสูงขึ้น (เพิ่มขึ้น 21%QoQ) แต่ปริมาณการขายลดลง 4%QoQ นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจ E&P ยังได้รับผลกระทบจากการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์จำนวน 2.2 พันล้านบาทสำหรับโครงการ YME และ Statfjord ด้วย โดยโครงการหลังเข้าซื้อมาในช่วงปลายปี 2566 แต่ปริมาณสำรองปิโตรเลียมต่ำกว่าที่ประเมินได้ในตอนแรก 

 

กำไรจากกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพปรับตัวเพิ่มขึ้น 50%QoQ เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจไบโอดีเซลและธุรกิจเอทานอลสูงขึ้น กำไรของกลุ่มธุรกิจไฟฟ้าพลังงานสะอาดลดลง 21%QoQ เพราะปริมาณการขายของโรงไฟฟ้าพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานน้ำ ปรับตัวลดลง แต่ถูกชดเชยบางส่วนโดยยอดขายไฟฟ้าที่สูงขึ้นของโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ

 

กระทบอย่างไร:

 

หลังรายงานผลประกอบการในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ราคาหุ้น BCP ปรับขึ้น 0.57% สู่ระดับ 43.75 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.01% สู่ระดับ 1,402.30 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการ 2567:

 

InnovestX Research คาดว่า GRM ที่แข็งแกร่งขึ้นและราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพมากขึ้นจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนกำไรใน 1Q67 ซึ่งคาดว่าปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นจะยังคงสูงใน 1Q67 ก่อนที่จะลดลงเล็กน้อยใน 2H67 โดยมีสาเหตุมาจากการหยุดซ่อมบำรุงใหญ่ตามแผน แต่จะถูกชดเชยโดยปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นที่เพิ่มขึ้นที่ BSRC เพื่อรองรับปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นที่สถานีบริการน้ำมันของ BCP และการขายเชิงพาณิชย์ กำไรจากกลุ่มธุรกิจ E&P จะปรับตัวดีขึ้นจากการผลิตที่สูงขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากสินทรัพย์ที่ได้มาใหม่ (ถือหุ้น 28% ในแหล่ง Statfjord ที่ดำเนินการโดย Equinor)

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ BCP โดยให้ราคาเป้าหมายอ้างอิงวิธี SOTP ที่ 51 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็น EV / EBITDA (ปี 2567) ที่ 4.3 เท่า เพราะแนวโน้มกำไรแข็งแกร่งและมีธุรกิจที่หลากหลาย Valuation ยังไม่แพงที่ P/E <5 เท่า (ปี 2567) และอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลน่าสนใจที่ 6-7% 

 

BCP ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายสำหรับผลการดำเนินงานปี 2566 ที่ 1.50 บาทต่อหุ้น (XD: วันที่ 6 มีนาคม) ทำให้เงินปันผลรวมทั้งหมดสำหรับปี 2566 อยู่ที่ 2 บาทต่อหุ้น (อัตราการจ่ายเงินปันผล 21%)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปและ GRM ในขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันอาจส่งผลทำให้ขาดทุนสต็อกเพิ่มขึ้น ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รายการด้อยค่าของสินทรัพย์ในธุรกิจ E&P และรัฐบาลเข้าแทรกแซงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญคือ ผลกระทบของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

The post BCP – 4Q66 ขาดทุนสุทธิน้อยกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดแผนธุรกิจปี 2567 ‘บางจาก’ มุ่งผสาน 2 แบรนด์ จากเอสโซ่เป็นบางจาก สู่ ‘ใบไม้ใบใหม่’ ที่มีเป้าหมายรายได้ 5 แสนล้านบาท https://thestandard.co/revealing-business-plan-for-2024-bangchak/ Wed, 13 Dec 2023 08:36:13 +0000 https://thestandard.co/?p=876373 บางจาก คอร์ปอเรชั่น

หลังจากที่บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้า […]

The post เปิดแผนธุรกิจปี 2567 ‘บางจาก’ มุ่งผสาน 2 แบรนด์ จากเอสโซ่เป็นบางจาก สู่ ‘ใบไม้ใบใหม่’ ที่มีเป้าหมายรายได้ 5 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
บางจาก คอร์ปอเรชั่น

หลังจากที่บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือชื่อเดิมคือบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในปีนี้ นับเป็นความสำเร็จของบางจากและดีลใหญ่แห่งปีของอุตสาหกรรมพลังงาน และบางจากสามารถพาองค์กรเติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจ แต่เพื่อรักษาสมดุลของความท้าทายด้านพลังงานตลอดจนความยั่งยืน CEO ‘ชัยวัฒน์’ วางแผนการลงทุนในปี 2567 ไว้ที่ 5 หมื่นล้านบาท พร้อมตั้งเป้ารายได้ 5 แสนล้านบาท รุกขยายการลงทุนในทุกกลุ่มธุรกิจ 

 

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กลุ่มบางจากวางงบการลงทุนปี 2567 อยู่ที่ 5 หมื่นล้านบาท และวางเป้าหมายรายได้เติบโตในทุกกลุ่มธุรกิจรวมที่ 5 แสนล้านบาท จากเป้าหมายรายได้ปีนี้อยู่ที่ 3.6 แสนล้านบาท

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

 

ขณะที่งบการลงทุน 7 ปี (2567-2573) วางไว้ที่ 1.5 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นสัดส่วนธุรกิจ Green Power 30% ธุรกิจ Natural Resource 30% ธุรกิจโรงกลั่นและตลาด 30% และ Bio-Based & New Business 10% และบริษัทตั้งเป้าจะมี EBITDA แตะระดับ 1 แสนล้านบาทภายในปี 2573 โดยหลังจากนี้ บางจากจะหาโอกาสเพื่อขยายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

 

ศึกษาเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน พร้อมพัฒนาโรงกลั่นชีวภาพ (Biorefinery)

 

กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมันมาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง ตั้งเป้าหมายอัตราการกลั่นน้ำมันดิบ (รวม 266,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 72% จาก 155,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2566) โดยโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง มีต้นทุนการกลั่นต่ำที่ประมาณ 1.3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และมีแผนขยายระยะเวลาของรอบการหยุดซ่อมบำรุงจาก 2 ปีเป็น 4 ปี ทั้งยังมีการศึกษาเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนเพื่อต่อยอดทางธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาโรงกลั่นมุ่งสู่การเป็นโรงกลั่นชีวภาพ (Biorefinery) ซึ่งผลิตน้ำมัน Biofuel 2nd Generation ที่มีคุณสมบัติ Drop-in เทียบเท่ากับน้ำมันฟอสซิล โดยมีเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) เป็นผลิตภัณฑ์แรก

 

“บางจากจะนำความสำเร็จจากการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง มาใช้กับโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา โดยมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านต่างๆ สร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันและการผสานประโยชน์ร่วมกัน โดยตั้งเป้าอัตราการกลั่นน้ำมันดิบ สำหรับโรงกลั่นบางจาก ศรีราชา ในปี 2567 ที่ 155,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เปิดดำเนินการ”

 

จัดหาน้ำมันดิบผ่านบริษัท บีซีพี เทรดดิ้ง (BCPT) ในประเทศสิงคโปร์

 

กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและค้าน้ำมันของบางจากฯ มีการดำเนินธุรกิจครบวงจรใน Value Chain ด้วยธุรกิจจัดหาน้ำมันดิบผ่านบริษัท บีซีพี เทรดดิ้ง (BCPT) ในประเทศสิงคโปร์ ธุรกิจบริหารการขนส่งเชื้อเพลิงทางรถและเรือ ทางท่อ และโลจิสติกส์ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ผ่านบริษัท กรุงเทพขนส่งเชื้อเพลิงทางท่อและโลจิสติกส์ จำกัด (BFPL) และธุรกิจผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ผ่านบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF) และล่าสุดได้จัดตั้งบริษัท รีไฟเนอรี่ ออฟติไมซ์เซชั่น แอนด์ ซินเนอร์ยี่ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (ROSE) เพื่อจัดทำแผนและบริหารงานธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันทั้ง 2 แห่ง ให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน

 

เพิ่มปั๊มเป็น 2,500 แห่ง รีแบรนด์เอสโซ่เป็นบางจากให้เสร็จสิ้นกลางปีหน้า

 

กลุ่มธุรกิจการตลาดมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้สถานีบริการบางจากเป็นจุดหมายปลายทางที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้บริการทุกช่วงวัย ตั้งเป้าขยายเครือข่ายสถานีบริการจาก 2,221 สถานี ณ สิ้นปี 2566 เป็นมากกว่า 2,500 สถานีในปี 2573 ซึ่งรวมถึงสถานีบริการในรูปแบบ Unique Design ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค 

 

โดยกลุ่มธุรกิจการตลาดจะมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ทั้ง Premium 97 และ Premium Diesel รวมถึงตั้งเป้าในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าผ่านการขยายธุรกิจ Non-oil เช่น การขยายร้านอินทนิล คอฟฟี่ เพิ่มขึ้นปีละ 140 สาขา เป็น 2,000 สาขาในปี 2573

 

“กลุ่มธุรกิจการตลาดยังให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์บางจากที่สถานีบริการเป็น ‘ใบไม้ใบใหม่’ และการผสาน 2 แบรนด์เข้าสู่แบรนด์บางจากอย่างราบรื่น ปรับเปลี่ยนตราสัญลักษณ์ และเปลี่ยนตราสัญลักษณ์เอสโซ่เป็นบางจาก ซึ่งทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2567” ชัยวัฒน์กล่าว

 

นอกจากนี้บริษัทลูก บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ปี 2567 ตั้งเป้าเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้ากว่าเท่าตัว พร้อมมุ่งเน้นพัฒนาธุรกิจที่เป็น New S-Curve เช่น ธุรกิจกักเก็บพลังงานทั้งสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และสำหรับโรงงานหรือนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้ไฟฟ้าสีเขียว และธุรกิจการบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ

 

ร่วมทุนกับ Fermbox Bio จากสหรัฐอเมริกา ผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน

 

ขณะเดียวกัน บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) เองก็ตั้งเป้าหมายปริมาณจำหน่ายปี 2567 เพิ่มขึ้น 40% จากปี 2566 เป็น 560 ล้านลิตร มุ่งสร้างการเติบโตในธุรกิจหลักจากการขยายเครือข่าย และเติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง โดยจะร่วมกับบางจากฯ ในการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) และโรงงานเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงเชิงพาณิชย์ที่ร่วมทุนกับ Fermbox Bio จากสหรัฐอเมริกา โดยในระยะแรกจะผลิตเอนไซม์ด้วยกำลังการผลิตประมาณ 200,000 ลิตรในปี 2567 และเพิ่มเป็นมากกว่า 1 ล้านลิตรในปี 2570 และขยายการผลิตไปยังผลิตภัณฑ์ด้านชีววิทยาสังเคราะห์ (Synbio) อื่นๆ อีกด้วย

 

สำรวจและผลิตปิโตรเลียมทวีปอื่นๆ นอกเหนือจาก ‘OKEA ASA’ นอร์เวย์

 

ส่วนกลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติและกลุ่มธุรกิจขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ มุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงานผ่านการขยายธุรกิจ โดยธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมตั้งเป้าหมายเติบโต 74% มีกำลังการผลิตปิโตรเลียม 40,000 boepd (บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน) ในปี 2567 และมีเป้าหมายกำลังการผลิตมากกว่า 100,000 boepd ภายในปี 2573 จากการดำเนินการแหล่งปิโตรเลียมในประเทศของนอร์เวย์ผ่านบริษัทฯ OKEA ASA รวมถึงการแสวงหาการเติบโตในธุรกิจด้านทรัพยากรธรรมชาติในแหล่งใหม่ๆ ในทวีปอื่นๆ ที่มีศักยภาพ

 

ชัยวัฒน์กล่าวทิ้งท้ายว่า “ท่ามกลางความท้าทายของอุตสาหกรรมพลังงาน โดยเฉพาะทิศทางราคาน้ำมันปีหน้า มองว่าราคาอาจจะลดลงบ้าง แต่เชื่อว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่สูง แต่บางจากมีการเตรียมแผนบริหารด้านราคาและความเสี่ยงไว้เป็นอย่างดี โดยมีพื้นฐานจากการรักษาสมดุลระหว่างคุณค่าและมูลค่า ขับเคลื่อนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ตลอดจนรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และมีการกำกับดูแลธุรกิจที่ดี (ESG) พาองค์กรไปสู่เป้าหมายรายได้ 5 แสนล้านบาทในปีหน้า”

The post เปิดแผนธุรกิจปี 2567 ‘บางจาก’ มุ่งผสาน 2 แบรนด์ จากเอสโซ่เป็นบางจาก สู่ ‘ใบไม้ใบใหม่’ ที่มีเป้าหมายรายได้ 5 แสนล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
เตรียมตัวให้พร้อม บางจากเตรียมเสนอขาย ‘หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก’ บนแอปเป๋าตัง 30 ต.ค. – 1 พ.ย. นี้ ซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 3.45% ต่อปี https://thestandard.co/bangchak-digital-bonds-on-paotang/ Tue, 24 Oct 2023 05:21:21 +0000 https://thestandard.co/?p=857817 หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก

บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น หรือ BCP และธนาคารกรุงไทย พร้อม […]

The post เตรียมตัวให้พร้อม บางจากเตรียมเสนอขาย ‘หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก’ บนแอปเป๋าตัง 30 ต.ค. – 1 พ.ย. นี้ ซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 3.45% ต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก

บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น หรือ BCP และธนาคารกรุงไทย พร้อมเสนอขาย ‘หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก’ ครั้งที่ 2 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 3.45% ต่อปี วงเงินรวม 3,000 ล้านบาท ผ่านบริการซื้อขายหุ้นกู้บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2566 โดยเปิดจองซื้อพร้อมกันตั้งแต่เวลา 08.30 น. วันที่ 30 ตุลาคม 2566 จนเต็มจำนวนที่เสนอขาย กำหนดจองซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท ทวีคูณครั้งละ 10,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย จัดสรรในรูปแบบจองซื้อก่อนมีสิทธิก่อน

 

หุ้นกู้ดิจิทัลบางจากเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกันและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับ A แนวโน้ม ‘คงที่’ (Stable) จากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566 สะท้อนถึงสถานะทางธุรกิจที่แข็งแกร่งและการผสานประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจากการเข้าซื้อหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง​: 

 


 

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนสามารถเตรียมความพร้อมในการจองซื้อหุ้นกู้ดิจิทัลบางจากล่วงหน้าด้วยการดำเนินการ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้

 

  1. ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปเป๋าตัง
  2. สมัครบริการวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้บนแอปเป๋าตัง
  3. ประเมินความเสี่ยงการลงทุน
  4. ผูกบัญชีเงินฝากและโอนเงินเข้าบัญชีสำหรับการซื้อหุ้นกู้

 

นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ลงทุนในการจองซื้อหุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก ธนาคารกรุงไทยได้ปรับเพิ่มวงเงิน Krungthai NEXT ชั่วคราว โดยผู้ลงทุนสามารถโอนหรือเติมเงินวอลเล็ตซื้อขายหุ้นกู้ได้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อวัน

 

การซื้อหุ้นกู้ผ่านช่องทางดิจิทัล ทำให้ผู้ลงทุนเข้าถึงการลงทุนแบบเรียลไทม์ 24 ชั่วโมง ลงทุนง่าย สะดวก รวดเร็ว และซื้อขายได้ตลอด ผู้ลงทุนจะได้รับหุ้นกู้ทันทีที่ซื้อและได้รับเงินทันทีที่ขาย โดยระบบจะแสดงข้อมูลการถือครองหุ้นกู้ ราคาซื้อขาย ครบจบในที่เดียว นับเป็นการตอบโจทย์การออมและการลงทุนในยุคดิจิทัล

 

บางจากฯ เป็นผู้นำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมธุรกิจไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับทุกภาคส่วน โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ ปัจจุบันดำเนินธุรกิจครอบคลุม 5 ธุรกิจ ได้แก่ 

 

  1. กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ด้วยกำลังการผลิตรวมเกือบ 300,000 บาร์เรลต่อวัน (โรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex Refinery มาตรฐานระดับโลก 2 แห่ง: โรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง และโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา) โดยมีการบริหารงานธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันทั้ง 2 แห่งให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดผ่านบริษัท รีไฟเนอรี่ ออฟติไมซ์เซชั่น แอนด์ ซินเนอร์ยี่ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (ROSE) ขยายสู่ธุรกิจการค้าน้ำมันผ่านบริษัท บีซีพี เทรดดิ้ง (BCPT) ธุรกิจขนส่งเชื้อเพลิง ผ่านบริษัท กรุงเทพขนส่งเชื้อเพลิงทางท่อและโลจิสติกส์ จำกัด (BFPL) รวมถึงลงทุนในธุรกิจเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน หรือ SAF ผ่านบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด (BSGF)

 

  1. กลุ่มธุรกิจการตลาด ส่งมอบ Greenovative Experience ผ่านเครือข่ายสถานีบริการกว่า 2,200 แห่ง เสริมด้วยธุรกิจ Non-oil เช่น กาแฟอินทนิล น้ำมันหล่อลื่น FURiO และ EV Charger รวมทั้งความร่วมมือกับพันธมิตรด้านอาหารหลากหลาย 

 

  1. กลุ่มธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด และการนำนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้พลังงานของผู้บริโภคและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดย บมจ.บีซีพีจี ผู้นำธุรกิจพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 

 

  1. กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ดำเนินการภายใต้ บมจ.บีบีจีไอ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวภาพรายใหญ่ของประเทศ และขยายสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง 

 

  1. กลุ่มธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติ ลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมผ่านการถือหุ้นใน OKEA ASA ประเทศนอร์เวย์ ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมาตรฐานด้านการดูแลสิ่งแวดล้อมดีที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง และมีกลุ่มธุรกิจขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ๆ (New Frontier Businesses) เช่น ธุรกิจแพลตฟอร์มให้บริการรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Winnonie และมีสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BiiC) เป็นผู้ลงทุน Corporate Venture Capital เน้นการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมทั้งช่วยสร้างระบบนิเวศสำหรับนวัตกรรมสีเขียว ส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาพลังงานสีเขียวและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

The post เตรียมตัวให้พร้อม บางจากเตรียมเสนอขาย ‘หุ้นกู้ดิจิทัลบางจาก’ บนแอปเป๋าตัง 30 ต.ค. – 1 พ.ย. นี้ ซื้อขั้นต่ำ 10,000 บาท ดอกเบี้ย 3.45% ต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
BCP – ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าซื้อ ESSO https://thestandard.co/bcp-price-adjustment-after-esso-acquisition/ Tue, 05 Sep 2023 02:35:11 +0000 https://thestandard.co/?p=837462 BCP

เกิดอะไรขึ้น: บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) กลายเป็นผู้ […]

The post BCP – ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าซื้อ ESSO appeared first on THE STANDARD.

]]>
BCP

เกิดอะไรขึ้น:

บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) (ESSO) ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน หลังจากโอนกรรมสิทธิ์เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ด้วยการชำระค่าหุ้น 65.99% ของ ESSO รวมเป็นเงิน 2.26 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาทำคำเสนอซื้อหุ้นที่เหลือของ ESSO จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ถึง 12 ตุลาคม ในราคาเสนอซื้อที่ 9.8986 บาทต่อหุ้น เท่ากับราคาเข้าซื้อของ BCP 

 

ผู้บริหารยืนยันมูลค่า Synergy จากการเข้าซื้อกิจการ ESSO ขั้นต่ำที่ 3 พันล้านบาท ต่อปี ซึ่งจะรับรู้อย่างเต็มที่ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป แต่จะถูกลดทอนลงบางส่วน โดยค่าใช้จ่ายครั้งเดียวที่เกี่ยวข้องกับการซื้อกิจการที่มีต่อเนื่องมาจากปี 2566 ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะเกิดจากการประหยัดต้นทุนขององค์กรได้ หลังจากไม่ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายในการบริหารสำหรับ Shared Service จาก Exxon 

 

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นที่สูงขึ้นที่ ESSO จะทำให้การดำเนินงานโรงกลั่นปรับตัวดีขึ้นด้วย ผู้บริหารมั่นใจว่า Operation Team จะทำให้โรงกลั่นของ ESSO ดำเนินงานได้เต็มศักยภาพที่กำลังการผลิตติดตั้ง 174kbd

 

ด้านปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นของ ESSO จะปรับเพิ่มขึ้น โดย BCP กำลังดำเนินการร่วมกับ ESSO เพื่อปรับปริมาณน้ำมันดิบเข้ากลั่นที่ ESSO ให้เหมาะสมที่สุดเพื่อเติมเต็ม Gap ที่ BCP เนื่องจากโรงกลั่นของ BCP ใช้กำลังการผลิตสูงสุดที่ 120kbd ในขณะที่ปริมาณการขายอยู่ที่ 140-150kbd ดังนั้นผู้บริหารจึงวางแผนเพิ่มปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นที่ ESSO จาก 130kbd เป็น 160kbd ภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมธุรกิจการตลาดของ BCP ต่อไปในอนาคต ปัจจุบันโรงกลั่นทั้งสองแห่งใช้ Linear Program (LP Model) แยกกันในปัจจุบัน แต่กำลังดำเนินการปรับใช้แบบคู่ขนานเป็น Single LP Model 

 

ส่วนการรีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ESSO ใช้เวลา 2 ปี ซึ่ง BCP จำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมเพื่อรีแบรนด์สถานีบริการน้ำมัน ESSO จำนวน 830 แห่ง โดยจะปิดสถานีที่ทับซ้อนกันเพียงไม่กี่แห่ง ผู้บริหารมองว่าสถานีบริการน้ำมันของ ESSO จะช่วยเสริมธุรกิจการตลาดของ BCP โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจำนวนสถานีบริการน้ำมันของ BCP ยังมีน้อยกว่าคู่แข่งค่อนข้างมาก

 

ทั้งนี้ ผู้บริหารยังคงมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการของ BCP โดยตั้งเป้า EBITDA ที่ 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2573 เพิ่มขึ้นจาก 4.5 หมื่นล้านบาท ในปี 2565 โดยมี ESSO เป็นปัจจัยใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโต ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของ BCP เนื่องจากอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนของ BCP จะไม่สูงเกิน 1.3 เท่า 

 

หากเข้าซื้อหุ้น ESSO ทั้งหมดภายหลังการทำคำเสนอซื้อ บริษัทวางแผนใช้แหล่งเงินทุน 48% ในการทำธุรกรรมนี้จากเงินสด และที่เหลือจะใช้เงินกู้จากธนาคาร ที่อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน 1.3 เท่า BCP ยังสามารถกู้ยืมเงินเพิ่มเพื่อสนับสนุนการเติบโตในอนาคตได้

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้น BCP ปรับเพิ่มขึ้น 3.33%MoM สู่ระดับ 38.75 บาท ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 0.08%MoM สู่ระดับ 1,561.51 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

InnovestX Research ปรับประมาณการกำไรปี 2566 ของ BCP เพิ่มขึ้น 27% เพื่อสะท้อนกำไรที่เกิดขึ้นครั้งเดียว และไม่ใช่เงินสดจากการต่อรองราคาซื้อจำนวน 5 พันล้านบาท (ก่อนหักภาษี) ใน 3Q66 ตามข้อมูลที่ได้จากผู้บริหาร และการรวมผลการดำเนินงานของ ESSO เข้ามา 1 ไตรมาส การหยุดโรงกลั่นของ ESSO ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2566 เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ใหม่สำหรับโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันตามมาตรฐานยูโร 5 กับโรงกลั่นเดิม จะทำให้ BCP รับรู้กำไรของ ESSO เพียงเล็กน้อยใน 3Q66 

 

อย่างไรก็ตาม คาดว่ากำไรสุทธิจะปรับตัวดีขึ้นทั้ง QoQ และ YoY ใน 3Q66 โดยได้รับการสนับสนุนจาก GRM และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และยังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรระยะยาวของ BCP โดยมี ESSO เป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตใหม่สำหรับธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน 

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนยังคงเรตติ้ง Outperform สำหรับ BCP ด้วยราคาเป้าหมายที่ปรับเพิ่มขึ้นจาก 44 บาท สู่ 51 บาทต่อหุ้น (สิ้นปี 2567) เพื่อสะท้อนมูลค่าส่วนเพิ่มจากการถือหุ้น 65.99% ใน ESSO

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปและ GRM ในขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันอาจส่งผลทำให้ขาดทุนสต๊อกเพิ่มขึ้น 

 

ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรัฐบาลเข้าแทรกแซงเพื่อตรึงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ

The post BCP – ปรับราคาเป้าหมายเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าซื้อ ESSO appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘น้ำมันแลกข้าว’ ถึง ‘ทอดไม่ทิ้ง’ ถอดรหัสธุรกิจ ESG กับที่มาของคำว่า DNA บางจาก https://thestandard.co/decode-bangchak-esg-business/ Wed, 26 Jul 2023 09:16:10 +0000 https://thestandard.co/?p=822348 ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช บางจาก

“โดยหากย้อนไปหลายปีที่ผ่านมา ESG ถือเป็นส่วนหนึ่งของการ […]

The post ‘น้ำมันแลกข้าว’ ถึง ‘ทอดไม่ทิ้ง’ ถอดรหัสธุรกิจ ESG กับที่มาของคำว่า DNA บางจาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช บางจาก

“โดยหากย้อนไปหลายปีที่ผ่านมา ESG ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจที่เปรียบเสมือนเป็น DNA ของบางจาก” ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP กล่าวในงานสัมมนา ESG Game Changer ในหัวข้อ ‘The Great Remake สู่โอกาสใหม่’ 

 

ทั้งนี้ บางจากเป็น ‘รายแรกในประเทศไทย’ ที่ดำเนินโครงการน้ำมันแลกข้าว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผ่านสหกรณ์การเกษตรในช่วงที่ราคาข้าวตกต่ำและในช่วงที่น้ำมันแพง ซึ่งได้ต่อยอดไปสู่การพัฒนาเป็นปั๊มน้ำมันสหกรณ์หรือปั๊มน้ำมันชุมชนแห่งแรกในปี 2533 จนปัจจุบันมีปั๊มน้ำมันชุมชนกว่า 600 แห่งทั่วประเทศ 

 

จุดนี้ถือเป็น Social Enterprise ที่สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง และเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 บางจากก็เป็นผู้ริเริ่มการใช้พลังงานทดแทน โดยการผลิตไบโอดีเซล เอทานอล เพื่อการจำหน่ายในสถานีบริการปี 2548

 

เข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านพลังงาน

 

ระยะหลัง เมื่อโลกเปลี่ยน เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน บางจากก็เป็นบริษัทไทยรายแรกที่ไปลงทุนเหมืองแร่ลิเธียมในทวีปอเมริกาใต้ผ่านบริษัทในสหรัฐอเมริกา และขยายธุรกิจพลังงานสะอาดผ่านบริษัทลูกกระทั่งเข้าตลาดหลักทรัพย์ นั่นคือบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) หรือ BCPG รวมถึงตั้งสถานีบริการน้ำมัน GEMS ต้นแบบด้านนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่มีระบบกักเก็บพลังงานและซื้อ-ขายไฟฟ้าผ่านบล็อกเชน และเป็นหนึ่งในบริษัทแรกๆ ของประเทศไทยที่ประกาศเป้าหมาย Net Zero GHG Emissions ในปี 2593 ผ่านแผน ‘BCP316 NET’ ซึ่งประกาศไว้เมื่อปี 2563 

 

BCP NET สำคัญอย่างไร

 

เรื่องแรก บางจากเข้าไปพัฒนาเครื่องจักรที่ใช้ให้สามารถลดคาร์บอนได้ โดยจะมีการปรับปรุงประสิทธิภาพภายใน 5-7 ปี ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนได้ 30% นอกจากนี้บางจากจะเข้าไปร่วมโครงการปลูกป่า ปลูกไม้โกงกาง หรือการปลูกหญ้าทะเล ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนลงได้คิดเป็น 10% ของแผนการดำเนินงาน และอีก 60% นั้นจะมุ่งเน้นไปที่การลงทุนในแผนระยะยาวที่จะดำเนินการโดยคัดเลือกพลังงานใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์กับการลดการปล่อยคาร์บอนและเข้าไปลงทุน ไม่ว่าจะเป็นไฮโดรเจนหรือการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) 

 

รวมไปถึงสร้างระบบนิเวศต่างๆ สำหรับสังคมคาร์บอนต่ำ ไม่ว่าจะเป็นการบุกเบิกแพลตฟอร์มให้เช่ามอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพร้อมเครือข่ายสถานีบริการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ Winnonie, จัดตั้ง Carbon Markets Club เพื่อส่งเสริมการซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต และส่งเสริมองค์ความรู้เรื่อง Synthetic Biology 

 

ทุ่ม 1 หมื่นล้านบาทรุกโปรเจกต์ ‘ทอดไม่ทิ้ง’ พร้อมให้บริการปลายปีหน้า

 

บางจากได้ก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) จากน้ำมันที่มาจากการปรุงอาหารใช้แล้วนับเป็นรายแรกในประเทศไทย

 

ขณะนี้กำลังก่อตั้งโรงงานผลิตน้ำมันเครื่องบินจากน้ำมันที่ใช้แล้ว โดยใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการ ‘ทอดไม่ทิ้ง’ โดยเป็นการนำน้ำมันพืชที่ใช้แล้วจากการทำอาหาร นำมาเข้ากระบวนการเพื่อผลิตเป็นไบโอดีเซลที่สามารถนำไปผสมกับน้ำมันเครื่องบินได้ 

 

โรงงานแห่งนี้สามารถผลิตน้ำมันได้กว่า 1 ล้านลิตรต่อวัน ลดการปล่อยคาร์บอนได้ 80,000 ตันต่อปี ร่วมกับพันธมิตร และคาดว่าจะพร้อมให้บริการอุตสาหกรรมการบินทั้งในและต่างประเทศในไตรมาส 4 ของปี 2567 หรือช่วงปลายปีหน้า

 

โอกาสธุรกิจที่เกิดขึ้นนั้นมาจากแนวคิดที่ว่า ปัจจุบันโลกบริโภคน้ำมันวันละ 100 ล้านบาร์เรล ขณะที่ประเทศไทยมีการบริโภคน้ำมันอยู่ที่วันละ 1 ล้านบาร์เรล หรือ 1% ของโลก โดยปีนี้คาดว่าโลกจะบริโภคน้ำมันอยู่ที่วันละ 102 ล้านบาร์เรล ขณะเดียวกันคาดการณ์การใช้น้ำมันของโลกจะแตะสูงสุดราว 20 ปีข้างหน้า รวมถึงการคมนาคมทั้งการขนส่งทางบกและการขนส่งทางน้ำก็จะถึงจุดสูงสุดด้วยเช่นกัน ขณะที่การขนส่งทางอากาศและธุรกิจปิโตรเคมีคอลยังมีโอกาสเติบโตได้อีก

 

ดังนั้นธุรกิจนี้คือโอกาสในอนาคต และเป็นคำตอบสำหรับผู้ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันในการขยายการลงทุนในธุรกิจปิโตรเคมีคอลที่มุ่งไปสู่การผลิตพลาสติกชีวภาพ และยังมีจุดที่น่าสนใจอีกข้อคือ ในปี 2613 ประเมินว่า การปล่อยมลพิษจากธุรกิจการบินจะเติบโตถึง 5 เท่า 

 

ดังนั้นโลกจึงพยายามคิดค้นและพัฒนาเครื่องบินให้มีน้ำหนักเบามากขึ้น เพื่อลดการปล่อยมลพิษและคาร์บอน สามารถนำเอาเทคโนโลยี AI มาวางแผนการบิน เพื่อลดการบริโภคน้ำมัน 

 

เพราะสุดท้ายแล้วคำตอบที่ชัดเจนของพลังงานในอนาคตคือ การหาเชื้อเพลิงอื่นที่จะนำมาใช้แทนน้ำมันจากปัจจุบันนี้ไปจนถึงปี 2593 

 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการพูดถึงว่าธุรกิจน้ำมันอาจไม่ใช่คำตอบของการใช้พลังงานในอนาคตแล้ว เนื่องจากโลกกำลังจะเปลี่ยนมาใช้พลังงานที่สะอาดและมีการใช้แบตเตอรี่มากขึ้นเพื่อกักเก็บพลังงาน แต่ในมุมมองของธุรกิจการบินนั้น เคยมีการทดลองเกิดขึ้นบนโลก โดยนำเครื่องบินที่ติดตั้งแบตเตอรี่เป็นพลังงานควบคู่ไปกับน้ำมัน แต่เมื่อลองใช้จริงแล้วไม่สามารถใช้งานได้ เพราะเมื่อแบตเตอรี่บินขึ้นไปถึงระดับหนึ่งแล้วจะติดไฟ เครื่องบินจึงมีข้อจำกัดที่ต้องใช้เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวเท่านั้น

 

‘ไบโอแมส’ คือคำตอบที่แท้จริงมากกว่า ‘ไฮโดรเจน’

 

เพราะฉะนั้นการเติบโตของการบินนั้นมีแต่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาพร้อมการพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายด้าน แม้หลายคนจะมองว่าไฮโดรเจนจะเข้ามาเป็นคำตอบ แต่ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า เทคโนโลยียังไม่เสถียรและราคายังแพง ดังนั้นคำตอบที่แท้จริง ณ วันนี้ คือ ‘ไบโอแมส’ จึงเป็นที่มาของการพัฒนา SAF ขึ้น พร้อมทั้งพัฒนาระบบลงทะเบียน Book and Claim หรือระบบจองและรับสิทธิ์โดยใช้บล็อกเชนผ่าน Carbon Markets Club เพื่อให้ผู้โดยสารสายการบินสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเดินทางทางอากาศผ่านการใช้ SAF ด้วย

 

ชัยวัฒน์ทิ้งท้ายว่า “การลงทุนเพื่อโลกและสังคม สิ่งสำคัญคือการหาธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์ ผสาน ESG เข้าไปในธุรกิจ และสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้ ESG จึงจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน ทั้งหมดนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า บางจากดำเนินงานด้านพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยยกให้เรื่อง ESG เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจเสมอมา”

The post ‘น้ำมันแลกข้าว’ ถึง ‘ทอดไม่ทิ้ง’ ถอดรหัสธุรกิจ ESG กับที่มาของคำว่า DNA บางจาก appeared first on THE STANDARD.

]]>
BCP – 1Q66 กำไรสุทธิดีกว่าคาด https://thestandard.co/bcp-1q66-net-profit-better-than-expected/ Thu, 11 May 2023 10:22:42 +0000 https://thestandard.co/?p=788555

เกิดอะไรขึ้น: เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 บมจ.บางจาก คอ […]

The post BCP – 1Q66 กำไรสุทธิดีกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) รายงานกำไรสุทธิ 1Q66 อยู่ที่ 2.7 พันล้านบาท โดยได้รับการสนับสนุนจากธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม (ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน ธุรกิจการตลาด และธุรกิจ E&P) ขาดทุนสินค้าคงเหลือที่ลดลงที่ 1.9 พันล้านบาท เทียบกับ 3.8 ล้านบาทใน 4Q65 ก็ช่วยหนุนให้กำไรปรับตัวดีขึ้น QoQ ด้วยเช่นกัน แม้ว่ายังแย่กว่า 1Q65 ซึ่งเป็นไตรมาสที่ BCP บันทึกกำไรสินค้าคงเหลือจำนวนมากถึง 3.6 พันล้านบาทค่อนข้างมาก กำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติใน 1Q66 เพิ่มขึ้น 29%QoQ สู่ 2.9 พันล้านบาท (เพิ่มขึ้น >200%YoY)

 

ใน 1Q66 BCP ยังคงเพิ่มอัตราการผลิตอย่างต่อเนื่อง สู่ระดับที่ทำสถิติสูงสุดที่ 124.7 kbd (104% ของกำลังการผลิตติดตั้ง) เพื่อสนับสนุนธุรกิจการตลาด EBITDA สำหรับธุรกิจนี้เพิ่มขึ้น 83%QoQ และขาดทุนสินค้าคงเหลือลดลง QoQ แม้ว่าค่าการกลั่นพื้นฐานลดลงจาก 14.68 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 4Q65 สู่ 11.44 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 1Q66 โดยมีสาเหตุมาจาก Crack Spread ที่ลดลงสำหรับน้ำมันดีเซล (52% ของผลผลิตทั้งหมด) 

 

ค่าการกลั่นโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น 53%QoQ จาก 6.64 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 4Q65 สู่ 10.16 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 1Q66 ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันคิดเป็น 39% ของ EBITDA ใน 1Q66 เพิ่มขึ้นจากเพียง 32% ใน 4Q65

 

ด้านกำไรของธุรกิจการตลาดเพิ่มขึ้น QoQ เพราะค่าการตลาดสูงขึ้น แม้ปริมาณการขายลดลง 6%QoQ หลังทำจุดสูงสุดใหม่ใน 4Q65 แต่กำไรจากธุรกิจการตลาดเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า QoQ จาก 4Q65 เนื่องจากค่าการตลาดสุทธิเพิ่มขึ้น 16%QoQ สู่ 0.79 บาทต่อลิตร เมื่อรัฐบาลผ่อนคลายการตรึงราคาน้ำมันดีเซล 

 

นอกจากนี้ BCP ยังได้รับประโยชน์จากปริมาณการขายน้ำมันอากาศยานที่เพิ่มขึ้นด้วย เพราะมี Lag Time ในการปรับราคาในช่วงที่ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลง

 

กำไรจากธุรกิจ E&P (OKEA) เพิ่มขึ้น 44%QoQ ใน 1Q66 โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว QoQ จากการเติบโตแบบ Organic และ Inorganic ซึ่งสามารถชดเชยราคาน้ำมันที่ลดลง (ลดลง 18%QoQ) ได้ 

 

สัดส่วน EBITDA จากธุรกิจ E&P ยังอยู่ในระดับสูงที่ 45% ใน 1Q66 เพิ่มขึ้นจาก 39% ในปี 2565

 

ส่วนกำไรจากธุรกิจพลังงานไฟฟ้าลดลงจาก 14% ของ EBITDA สู่ 8% เนื่องจากกำไรลดลง 15%QoQ โดยมีสาเหตุมาจากยอดขายไฟฟ้าที่ลดลง 50%QoQ เพราะไม่มียอดขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำในลาว เนื่องจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้หยุดการผลิตชั่วคราว เพื่อเตรียมขายไฟฟ้าไปยัง EVN ซึ่งได้รับการชดเชยเล็กน้อยจากยอดขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่เพิ่มขึ้นในประเทศไทยและญี่ปุ่น และยอดขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่เพิ่มขึ้น 

 

กระทบอย่างไร:

วันนี้ (11 พฤษภาคม ณ เวลา 12.30 น.) ราคาหุ้น BCP ปรับเพิ่มขึ้น 1.63%DoD สู่ระดับ 31.25 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลดลง 0.10%DoD อยู่ที่ระดับ 1,567.96 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

ใน 2Q66 คาดว่ากำไรจากการดำเนินงานปกติของ BCP จะลดลง เนื่องจาก Market GRM ลดลงต่อเนื่อง QoQ โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล GRM อาจฟื้นตัวในช่วงปลาย 2Q66 เพราะอัตราการผลิตของโรงกลั่นที่เน้นการส่งออกในภูมิภาคปรับลดลง ซึ่งคาดว่าธุรกิจการตลาดจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นและกลับสู่ภาวะปกติ เนื่องจากแรงกดดันจากราคาน้ำมันจะผ่อนคลายลง ที่สำคัญคือ ธุรกิจ E&P จะยังคงสร้างกำไรอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนจากปริมาณการขายที่สูงขึ้น แม้ว่าราคาขายจะอ่อนตัวลง

 

อย่างไรก็ดี InnovestX Research เชื่อว่า BCP จะยังทำกำไรได้ถึงระดับที่คาดการณ์ไว้ในปี 2566 ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท เมื่อพิจารณาจากแหล่งรายได้ที่หลากหลายของบริษัท 

 

โดยคาดว่ากำไรสุทธิจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2566 เนื่องจากผลกระทบจากขาดทุนสินค้าคงเหลือและสัญญาประกันความเสี่ยงจะลดลง แต่กำไรปกติจะลดลงเนื่องจากค่าการกลั่นจะกลับสู่ระดับปกติ สำหรับกลยุทธ์การลงทุนยังคงเรตติ้ง Outperform สำหรับ BCP ด้วยราคาเป้าหมาย 44 บาทต่อหุ้น (สิ้นปี 2566) อ้างอิงวิธี SOTP

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะส่งผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปและ GRM ในขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันอาจส่งผลทำให้ขาดทุนสต๊อกเพิ่มขึ้น 

 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรัฐบาลเข้าแทรกแซงเพื่อตรึงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

The post BCP – 1Q66 กำไรสุทธิดีกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
BCP – ซื้อกิจการ ESSO เพื่อต่อยอดธุรกิจน้ำมัน https://thestandard.co/bcp-esso-focus/ Fri, 13 Jan 2023 12:18:22 +0000 https://thestandard.co/?p=737055

เกิดอะไรขึ้น: ในที่สุด บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) ก็ […]

The post BCP – ซื้อกิจการ ESSO เพื่อต่อยอดธุรกิจน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

ในที่สุด บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) ก็ประกาศเซ็นสัญญาซื้อขายหุ้นกับ ExxonMobil Asia Holdings Pte. เพื่อเข้าซื้อหุ้น 65.99% ของ ESSO โดยผู้บริหารกล่าวว่า การเคลื่อนไหวเชิงกลยุทธ์นี้สอดคล้องกับกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทย และเพิ่มการเข้าถึงพลังงานได้ง่ายขึ้น 

 

ซึ่งการลงทุนครั้งนี้จะสร้างกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานเพื่อนำไปลงทุนต่อและเร่งการเปลี่ยนผ่านพลังงาน โดย BCP จะต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นส่วนที่เหลือหลังจากบริษัทได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน ในขณะที่ผู้บริหารไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการเพิกถอนหุ้น ESSO ออกจากตลาด 

 

การซื้อกิจการ ESSO จะทำให้กำลังการผลิตติดตั้งโรงกลั่นทั้งหมดของ BCP เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 120kbd ในปัจจุบัน สู่ 294kbd และสถานีบริการน้ำมันจะเพิ่มขึ้น 59% จาก 1,320 แห่ง (ข้อมูล ณ สิ้นสุด 3Q65) สู่ 2,100 แห่ง

 

ด้านราคาเข้าซื้อ ผู้บริหารยืนยันว่าราคาเข้าซื้ออิงกับมูลค่ากิจการที่ 5.55 หมื่นล้านบาท และมีกลไกการปรับราคาเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในหนี้สินสุทธิ เงินทุนหมุนเวียน มูลค่าน้ำมันคงคลังที่ 7.4 ล้านบาร์เรล และสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆ ณ วันที่ทำธุรกรรมแล้วเสร็จ จากข้อมูลล่าสุด (สิ้นเดือนกันยายน 2565) ราคาเข้าซื้อเบื้องต้นที่ประเมินได้อยู่ที่ 3.06 หมื่นล้านบาท (8.84 บาทต่อหุ้น) 

 

ทั้งนี้ ExxonMobil ใช้กลไกการปรับราคาที่คล้ายกันกับการขายสินทรัพย์อื่นๆ ทั่วโลก เพื่อให้แน่ใจว่าได้มูลค่ายุติธรรมสำหรับทั้งผู้ขายและผู้ซื้อเมื่อพิจารณาจากราคาน้ำมันที่ผันผวน

 

สำหรับธุรกรรมนี้จะใช้แหล่งเงินทุนทั้งหมดจากวงเงินสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคาร โดยอยู่ระหว่างการเจรจาเกี่ยวกับข้อกำหนด เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ย บริษัทคาดว่าอันดับเครดิตจะไม่ได้รับผลกระทบ แม้ว่าอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนและอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA จะเพิ่มขึ้นสู่ 1.7 เท่า และ 2.2 เท่า ตามลำดับ (หากเข้าถือหุ้น 100% ใน ESSO) เทียบกับ 0.6 เท่า และ 1.1 เท่า ก่อนซื้อกิจการ 

 

ผู้บริหารคาดว่าธุรกรรมนี้จะเสร็จสิ้นภายใน 2H66 (น่าจะอยู่ในช่วงปลาย 3Q66 ถึงต้น 4Q66) หลังจากบรรลุเงื่อนไขบังคับก่อน เช่น ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของ BCP และได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงานให้ ESSO เปลี่ยนผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และได้รับความเห็นชอบตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้า

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น BCP ปรับเพิ่มขึ้น 18.85% WoW สู่ระดับ 36.25 บาท ดีกว่า SET Index ที่ปรับเพิ่มขึ้น 0.14%MoM สู่ระดับ 1,676.21 จุด 

 

แนวโน้มธุรกิจและกลยุทธ์การลงทุน:

การซื้อกิจการ ESSO จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปสำหรับธุรกิจการตลาดของ BCP นอกจากนี้ ESSO ยังจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับฐานลูกค้าในกลุ่ม Commercial/Wholesale ของ BCP และเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปประเภทเบา (น้ำมันเบนซิน) 

 

นอกจากนี้ ผู้บริหารยังคาดว่าการซื้อกิจการครั้งนี้จะทำให้เกิดมูลค่าจาก Synergy (ก่อนหักภาษี) ประมาณ 1.5-2 พันล้านบาท จากการเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุนจากการจัดหาน้ำมันดิบ การประกอบธุรกิจโรงกลั่น การขนส่ง รวมถึงค่าใช้จ่ายในการประกอบธุรกิจทางอ้อม 

 

การซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยหนุนให้ EPS ตามข้อมูลทางการเงินเสมือนปรับเพิ่มขึ้นได้ 57% เมื่อเทียบกับงบการเงินเฉพาะกิจการของ BCP โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (ไม่รวม Synergy จาก Crude Run Rate ที่ดีขึ้น) และจะเพิ่มเป็น 66% ด้วย Synergy ด้าน Crude Run ระหว่าง BCP และ ESSO

 

InnovestX Research เชื่อว่าการซื้อกิจการ ESSO จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ BCP เมื่อพิจารณาจากราคาเข้าซื้อยุติธรรม กำไรส่วนเพิ่มจาก ESSO และประโยชน์จาก Synergy ในด้านการดำเนินงานและการตลาด 

 

โดยประเมินในเบื้องต้นได้ว่าการซื้อกิจการ ESSO จะหนุนให้ราคาเป้าหมายของ BCP ปรับเพิ่มขึ้นได้อีก 17-18 บาทต่อหุ้น หากดีลสำเร็จ อิงกับการซื้อกิจการ 100% โดยปัจจุบัน InnovestX Research ให้เรตติ้ง Outperform สำหรับ BCP ด้วยราคาเป้าหมาย 44 บาทต่อหุ้น (ก่อนซื้อกิจการ ESSO) และยังคงมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มกำไรของ BCP พอร์ตธุรกิจที่มีความหลากหลาย และประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดี

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปและ GRM ในขณะที่ความผันผวนของราคาน้ำมันอาจส่งผลทำให้ขาดทุนสต๊อกเพิ่มขึ้น แต่มองว่าเหตุการณ์นี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น 

 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรัฐบาลเข้าแทรกแซงเพื่อตรึงราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

The post BCP – ซื้อกิจการ ESSO เพื่อต่อยอดธุรกิจน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>