บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 06 Feb 2025 01:02:23 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ถอดบทเรียน ‘เงินหมื่นเฟสแรก’ คุ้มหรือไม่? KKP เปิด 3 เหตุผล ทำให้ ‘แจกเงิน’ ได้ผลน้อยกว่าคาด https://thestandard.co/10k-distribution-lessons/ Thu, 06 Feb 2025 01:02:23 +0000 https://thestandard.co/?p=1038521 เงินหมื่น

ถอดบทเรียน ‘เงินหมื่นเฟสแรก’ คุ้มหรือไม่? หลังรัฐบาลทุ่ […]

The post ถอดบทเรียน ‘เงินหมื่นเฟสแรก’ คุ้มหรือไม่? KKP เปิด 3 เหตุผล ทำให้ ‘แจกเงิน’ ได้ผลน้อยกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เงินหมื่น

ถอดบทเรียน ‘เงินหมื่นเฟสแรก’ คุ้มหรือไม่? หลังรัฐบาลทุ่มงบประมาณมูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท (หรือคิดเป็นต้นทุน 0.7% ต่อ GDP) แต่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ 0.3% ด้าน KKP เปิด 3 เหตุผลทำให้ ‘เงินหมื่น’ ได้ผลน้อยกว่าคาด

 

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายน 2567 รัฐบาลดำเนินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ หรือ ‘เงินหมื่นเฟสที่ 1’ คิดเป็นเงินมูลค่ากว่า 1.4 แสนล้านบาท หรือประมาณ 0.7% ของ GDP

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่น่ามานี้ พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจ (Survey) ที่จัดทำขึ้น โดยมาจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จากกลุ่มตัวอย่างราว 30,000 ราย และผลสำรวจจากสวนดุสิตโพล จากกลุ่มตัวอย่างราว 4,000 ราย พบว่า โครงการ ‘เงินหมื่นเฟสที่ 1’ กระตุ้น GDP ได้ 0.3% ตามที่คาดไว้ และสร้างตัวทวีคูณ (Multiplier Effect) เฉลี่ยอยู่ที่ 0.7 เท่า

 

KKP ‘เห็นต่าง’ ประเมินตัวคูณมีแค่ 0.1-0.3 เท่า

 

โดยล่าสุด KKP Research ของเกียรตินาคินภัทร เปิดเผยบทวิเคราะห์เรื่อง ‘KKP แจงสาเหตุเศรษฐกิจไทยโตต่ำ แม้แจกเงิน-ส่งออก-ท่องเที่ยวฟื้นตัว’ โดยในบทความดังกล่าว KKP Research ประเมินว่า จากข้อมูลการบริโภคในช่วงที่ผ่านมา พบว่า จำนวนเงินที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบริโภคใหม่คิดเป็นไม่ถึง 10% ของเงินที่แจกไป สอดคล้องกับที่ KKP Research เคยประเมินไว้ว่า ตัวคูณทางเศรษฐกิจ (Multiplier Effect) จากโครงการนี้จะเกิดขึ้นในระดับต่ำมากเพียงประมาณ 0.1-0.3 เท่า หรือการแจกเงิน 100 บาทจะส่งผลต่อเศรษฐกิจจริงประมาณ 10-30 บาทเท่านั้น

 

การแจกเงินแทบไม่ส่งถึงการบริโภค

 

KKP Research ยังชี้ให้เห็นว่า เมื่อพิจารณาดัชนีการบริโภคภาคเอกชนรายสินค้าในไตรมาส 4 ช่วงหลังที่มีมาตรการแจกเงินจะพบการเติบโตที่เป็นบวกของการบริโภคสินค้าไม่คงทนและกึ่งคงทนบ้าง สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีค้าปลีกในหมวดอาหาร

 

อย่างไรก็ตาม อัตราการปรับตัวเพิ่มขึ้นของการบริโภคโดยรวมยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำมาก โดยการเพิ่มขึ้นของการบริโภคในไตรมาส 4 ปี 2567 ในภาพรวมมีอัตราการเติบโตโกล้เคียงกับการบริโภคในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2567 หรือหมายความว่า การแจกเงินแทบไม่มีผลต่อการบริโภคโดยรวมของภาคเอกชนไทยเลย

 

 

KKP Research เปิด 3 เหตุผลทำให้ ‘เงินหมื่น’ ได้ผลน้อยกว่าคาด

 

นอกจากนี้ KKP Research ยังวิเคราะห์ว่า 3 เหตุผลสำคัญที่ทำให้มาตรการแจกเงินของรัฐได้ผลน้อยกว่าที่หวังไว้ มีดังนี้

 

  1. เงินที่ได้รับไปไม่ได้กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายใหม่ในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากมีแนวโน้มที่ระดับหนี้ครัวเรือนสูง โดยเฉพาะในกลุ่มคนรายได้น้อยจะลดประสิทธิภาพของนโยบายแจกเงินลง เนื่องจากเงินบางส่วนไม่ได้ถูกนำไปใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ถูกนำไปใช้เพื่อการชำระหนี้

 

โดยผลสำรวจวจจากกลุ่มตัวอย่างของสำนักงานสถิติพบว่า คนสัดส่วนประมาณ 12.8% นำเงินไปใช้เพื่อชำระหนี้ นอกจากนี้การใช้จ่ายในสินค้าส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายไปกับสินค้าจำเป็นที่มีการใช้จ่ายเดิมอยู่แล้ว และไม่ได้เป็นการเพิ่มการบริโภคใหม่ที่ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจ

 

โดยจากผลสำรวจพบว่า การใช้จ่ายในการแจกเงินกระจุกตัวอยู่ในอาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ในครัวเรือน และการชำระค่าสาธารณูปโภคมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นที่คนมีการใช้จ่ายอยู่แล้วในทุกเดือน

 

 

 

 

  1. การใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายในเศรษฐกิจนอกระบบ (Informal Sectors) ซึ่งสะท้อนถึงปัญหาของเศรษฐกิจนอกระบบคือ ภาครัฐไม่สามารถวัดข้อมูลกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้โดยตรง ตัวอย่างเช่น การใช้จ่ายในตลาดชนบทต่างจังหวัด

 

สอดคล้องกับผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ชี้ว่า ช่องทางที่มีการนำเงินไปใช้จ่ายมากที่สุดคือร้านค้าในชุมชนและหาบเร่แผงลอย ซึ่งอาจทำให้การวัดผลของนโยบายต่อเศรษฐกิจทำได้ยาก

 

โดยเมื่อพิจารณาข้อมูลจาก World Bank จะพบว่า เศรษฐกิจไทยมีขนาดของเศรษฐกิจนอกระบบใหญ่ถึงประมาณ 45% ของ GDP คิดเป็นลำดับที่ 8 ของโลก

 

 

 

  1. ปัจจัยเศรษฐกิจอื่นๆ ยังอยู่ในทิศทางขาลง ไม่สนับสนุนการฟื้นตัวของการบริโภค โดยเฉพาะการบริโภคสินค้าคงทน โดย KKP Research ประเมินว่า ทิศทางการบริโภคภาคเอกชนในภาพรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัว ทำให้แม้มีการแจกเงินแต่ไม่พอชดเชยปัจจัยลบอื่นๆ ได้แก่

 

  • สินเชื่อภาคธนาคารที่ยังมีทิศทางหดตัวต่อเนื่อง จากปัญหาด้านคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวแย่ลง ทำให้ธนาคารมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นชัดเจน
  • รายได้ของครัวเรือนยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะรายได้ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไทยในภาพรวมยังคงไม่ฟื้นตัว
  • หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังกดดันการฟื้นตัวของการบริโภค

 

ถอดบทเรียน ‘เงินหมื่นเฟสแรก’ คุ้มหรือไม่? รัฐบาลควรปรับนโยบายอย่างไร

 

“ปัจจัยที่กล่าวมาเป็นข้อสังเกตสำคัญที่ทำให้การฟื้นตัวของการบริโภคยังคงอ่อนแอ แม้ว่าจะมีมาตรการแจกเงินเพิ่มเติม ประสบการณ์จากมาตรการแจกเงินในช่วงปลายปีชี้ให้เห็นว่า การใช้มาตรการดังกล่าวอาจเป็นทางเลือกนโยบายที่ได้ผลทางเศรษฐกิจน้อยกว่าต้นทุนทางการคลังที่เกิดขึ้น และเกิดคำถามว่างบประมาณการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2025 ควรปรับรูปแบบให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อเศรษฐกิจได้หรือไม่” KKP Research ระบุ

 

โดย KKP คาดการณ์ว่า การบริโภคภาคเอกชนของไทยยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2025 โดยจะขยายตัวได้ที่ 2.3% ชะลอลงจาก 4.2% ในปี 2024 โดยเฉพาะกลุ่มการบริโภคสินค้าคงทนที่จะยังหดตัวลงต่อไป

 

ขณะที่ รศ. ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การออกแบบนโยบายแจกเงิน รัฐควรทำให้เม็ดเงินเข้าไปกระตุ้นที่รากฐานของเศรษฐกิจไทยได้ พร้อมแนะแนวทางปรับปรุงหลักนั่นคือ รัฐควรจำกัดเงื่อนไขให้คนจับจ่ายกับสินค้าและบริการในประเทศ (Domestic Content) ไม่ควรให้เม็ดเงินรั่วไหลไปกับสินค้านำเข้า (Import Content) รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติม เนื่องจากการแจกเงินโดยไม่กำหนดเงื่อนไขก็จะทำให้เกิดตัวทวีคูณทางเศรษฐกิจไม่สูงมาก

 

ทั้งนี้ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการแจกเงิน 10,000 บาทของรัฐบาลแบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกแจกให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและผู้พิการจำนวนกว่า 14 ล้านคน เป็นเงินกว่า 1.4 แสนล้านบาท ส่วนระยะที่ 2 แจกให้ผู้สูงอายุจำนวนราว 3 ล้านคน เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2568 สำหรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ตระยะที่ 3 รัฐบาลไทยเตรียมเปิดตัวในเดือนเมษายนนี้

The post ถอดบทเรียน ‘เงินหมื่นเฟสแรก’ คุ้มหรือไม่? KKP เปิด 3 เหตุผล ทำให้ ‘แจกเงิน’ ได้ผลน้อยกว่าคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เงินหมื่นเฟส 2’ แจกผู้สูงอายุราว 4 ล้านคน ใช้งบประมาณเกือบ 4 หมื่นล้านบาท คาดกระตุ้น GDP ได้ 0.07-0.1% ต่อปี https://thestandard.co/4-million-elderly-10k-baht-phase-2/ Tue, 24 Dec 2024 10:30:33 +0000 https://thestandard.co/?p=1023272

วันนี้ (24 ธันวาคม) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และร […]

The post ‘เงินหมื่นเฟส 2’ แจกผู้สูงอายุราว 4 ล้านคน ใช้งบประมาณเกือบ 4 หมื่นล้านบาท คาดกระตุ้น GDP ได้ 0.07-0.1% ต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (24 ธันวาคม) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ‘โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘เงินหมื่นเฟส 2’

 

“การดำเนินโครงการดังกล่าวเป็นการขยายผลกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ควบคู่กับการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพให้แก่กลุ่มเปราะบางให้ครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น” แถลงการณ์ระบุ

 

สำหรับกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สำเร็จ ที่มีสัญชาติไทย และมีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ 15 กันยายน 2567 (เกิดก่อนหรือในวันที่ 16 กันยายน 2507) และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้

 

  • ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาทสำหรับปีภาษี 2566

 

  • ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากรวมกันเกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567

 

  • ไม่เป็นผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

 

  • ไม่เป็นผู้ต้องขัง 4 ประเภท ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด, ผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา, ผู้ต้องกักขัง และผู้ต้องกักกัน ตามฐานข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

 

  • ไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

 

ทั้งนี้ ประมาณการจำนวนกลุ่มเป้าหมายไม่เกิน 4 ล้านคน
สำหรับการดำเนินการโครงการฯ กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลาง จะเริ่มทยอยจ่ายเงินจำนวน 10,000 บาทต่อคน โดยจะเร่งจ่ายเงินครั้งแรกภายในเดือนมกราคม 2568 ผ่านบัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของกลุ่มเป้าหมาย



 

ทั้งนี้ ในกรณีที่จ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรก จะมีการดำเนินการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง โดยเมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว รัฐจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ


 

เงินหมื่นเฟส 2 คาดกระตุ้น GDP อีก 0.07-0.1% ต่อปี

 

พิชัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ เป็นกลุ่มที่ผ่านการคัดกรองแล้วว่ามีสถานภาพด้านรายได้และเงินฝากค่อนข้างจำกัด จึงถือเป็นผู้ที่ค่อนข้างมีความเปราะบางที่มีความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume: MPC) สูงกว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้สูง ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้จ่ายเงินหมดทั้งจำนวน ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินโครงการฯ จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.07-0.1% ต่อปีเมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการฯ



 

ย้ำประชาชนเร่งผูก PromptPay

 

พิชัยกล่าวเน้นย้ำให้กลุ่มเป้าหมายเร่งดำเนินการตรวจสอบบัญชีธนาคารที่ผูก PromptPay กับเลขประจำตัวประชาชน ว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่ หรือหากยังไม่ได้ผูก PromptPay ก็ขอให้ดำเนินการผูก PromptPay ด้วยเลขประจำตัวประชาชน เพื่อรับสิทธิตามโครงการฯ

The post ‘เงินหมื่นเฟส 2’ แจกผู้สูงอายุราว 4 ล้านคน ใช้งบประมาณเกือบ 4 หมื่นล้านบาท คาดกระตุ้น GDP ได้ 0.07-0.1% ต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
โอนเงิน 10,000 บาท สำเร็จกว่า 3.16 ล้านรายแล้ว พบผู้พิการกว่า 90,000 คน ยังโอนไม่ผ่าน https://thestandard.co/10k-baht-3-16-m-successful-transfers/ Wed, 25 Sep 2024 05:37:45 +0000 https://thestandard.co/?p=987744

กระทรวงคลังเผย เช้านี้ (25 กันยายน) โอนเงินสำเร็จ 3,167 […]

The post โอนเงิน 10,000 บาท สำเร็จกว่า 3.16 ล้านรายแล้ว พบผู้พิการกว่า 90,000 คน ยังโอนไม่ผ่าน appeared first on THE STANDARD.

]]>

กระทรวงคลังเผย เช้านี้ (25 กันยายน) โอนเงินสำเร็จ 3,167,565 ราย พบยังมีผู้พิการกว่า 90,000 คนยังโอนไม่ผ่าน ขอให้เร่งแก้ไขก่อนวันที่ 22 ธันวาคม เข้มมาเฟีย-เจ้าหนี้นอกระบบยึดเงินหมื่น ประสานมหาดไทยดูแลเข้ม

 

จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการแถลงข่าวเปิดตัว (Kick Off) การโอนเงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการว่า ยอดเงินทั้งหมดที่จะโอนให้กับกลุ่มเปราะบางและผู้พิการในวันนี้ จำนวน 3,167,565 ราย เริ่มโอนตอนเที่ยงคืน สำเร็จทั้งหมดตอน 7 โมงเช้าวันนี้ และวันนี้นอกจากการโอนเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังมีการโอนเงินเดือนข้าราชการด้วย ทำให้ระบบอาจจะช้านิดหนึ่ง แต่กระบวนการทั้งหมดเป็นไปด้วยความราบรื่น 

 

ส่วนการตรวจสอบสิทธิสามารถทำได้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น แอปพลิเคชันรัฐจ่าย ของกรมบัญชีกลาง สามารถตรวจสอบสวัสดิการได้หลายประเภท ทั้งคนพิการและกลุ่มบัตรสวัสดิการ แต่หากคนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจในรอบต่อไป 

 

อย่างไรตาม ในวันนี้ยังพบว่ามีกลุ่มสวัสดิการที่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ ก็ขอให้เร่งไปดำเนินการผ่านทางธนาคารที่มีบัญชี ส่วนในกลุ่มผู้พิการมีอีกราว 90,000 คนยังมีสถานะที่ต้องแก้ไข เช่น บัตรผู้พิการหมดอายุ บัตรผิดพลาด และยังไม่ได้เชื่อมช่องทางในการจ่ายเงิน ซึ่งต้องเร่งประสานทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้เร่งแก้ไขให้เรียบร้อย เพราะเราจะมีการโอนซ้ำอีก 3 ครั้ง คือวันที่ 22 ตุลาคม – 22 พฤศจิกายน และวันที่ 22 ธันวาคม เป็นครั้งสุดท้าย หากดำเนินการแก้ไขไม่ทันวันที่ 22 ธันวาคม ถือว่าสละสิทธิ  

 

ส่วนคนพิการที่ไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองได้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีเจ้าหน้าที่ประจำพื้นที่อยู่แล้ว เพื่อดูว่ามีคนตกหล่นหรือไม่ แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้นยืนยันว่าไม่มีคนตกหล่น

 

ขณะที่ เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า วันนี้จะเห็นถึงความคึกคักที่เกิดขึ้นกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ทั้งในตลาดและหน้าตู้ ATM ซึ่งบางคนไปกดเงินจากตู้ ATM ได้รับเงิน 10,000 บาท แต่ในบัญชีมีเงินอยู่ 10,010 บาท ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่เปราะบางมากจริงๆ ไม่มีเงินเก็บเลย ดังนั้นเงินที่โอนเข้าสู่บัญชีในวันนี้เป็นไปได้สูงว่าจะถูกนำไปใช้ทั้งหมด ซึ่งจากการสำรวจพบว่าจะมีการดำเนินไปใช้กับปัจจัย 4 ทั้งอาหารเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงเครื่องมือสำหรับคนพิการ นอกจากนี้ยังมีการรวมเงินของคนในครอบครัวเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าคงทน 

 

เมื่อถามว่า หากประชาชนนำเงินที่ได้ไปใช้หนี้จะไม่ตอบโจทย์เรื่องของการกระตุ้นเศรษฐกิจใช่หรือไม่ เผ่าภูมิย้ำว่าส่วนใหญ่นำไปใช้จ่าย ซึ่งเป็นปัจจัยแรกที่ประชาชนจะใช้ เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปราะบางจริงๆ แม้กระทั่งเงินในการดำรงชีพในแต่ละวันยังไม่พอ จึงต้องนำเงินไปใช้สำหรับการดำรงชีวิตด้วยปัจจัย 4 เป็นเรื่องแรก

 

ส่วนเรื่องเจ้าหนี้นอกระบบและมาเฟียจะดูแลเรื่องนี้หรือไม่ จุลพันธ์กล่าวว่า การแก้ไขหนี้นอกระบบทางกระทรวงมหาดไทยเป็นแม่งานร่วมกับกระทรวงการคลัง เราเดินหน้าตั้งแต่สมัย เศรษฐา ทวีสิน ยังไม่ได้หยุดดำเนินการ และความคืบหน้าการทำงานเรื่องนี้ยังคงเข้มข้น เรายืนยันว่าการปราบปรามเจ้าหนี้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนดเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสนใจ ขณะนี้เงินเข้าถึงมือประชาชนกลุ่มเปราะบาง ขอโอกาสให้เขาได้ใช้เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อชีวิต ซึ่งการโอนเงินครั้งนี้นอกจากการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว วันนี้ตลาดสด ตลาดค้าส่ง-ค้าปลีก จะมีความคึกคักเป็นอย่างมาก และสำหรับกลุ่มเปราะบางยังถือเป็นการจุนเจือและลดภาระค่าครองชีพ 

 

ดังนั้น ขอโอกาสที่เขาจะได้นำไปใช้สร้างชีวิต ช่วยเหลือครอบครัว หากมีข่าวสารเรื่องหนี้นอกระบบเข้ามาทวงต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด ตนมีโอกาสได้คุยกับ อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตนจะนำเรียนเรื่องดังกล่าวเพื่อให้อนุทินช่วยกระชับพื้นที่ด้วย

 

เมื่อถามถึงการตรวจสอบสถานะผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จุลพันธ์กล่าวว่าจะทบทวนทุก 2 ปี ซึ่งรอบหน้าจะทบทวนในเดือนตุลาคม 2568 แม้จะถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้สิทธิในรอบนี้ เพราะหากบัตรนั้นไม่ได้อยู่ในกรอบที่จะได้รับสิทธิในรอบนี้ก็ถือว่าไม่นับ เพราะฉะนั้นต้องดูว่าในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐยังได้รับการโอนเงินช่วยเหลือรายเดือนในทุกเดือนอยู่หรือไม่

The post โอนเงิน 10,000 บาท สำเร็จกว่า 3.16 ล้านรายแล้ว พบผู้พิการกว่า 90,000 คน ยังโอนไม่ผ่าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ คิกออฟแจกเงินหมื่นผู้มีบัตรสวัสดิการ-ผู้พิการวันแรก ชี้ สร้างพายุหมุนทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ ประชาชนมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี https://thestandard.co/thailand-cash-handout-economic-stimulus/ Wed, 25 Sep 2024 04:41:18 +0000 https://thestandard.co/?p=987695 แจกเงินหมื่น

วันนี้ (25 กันยายน) แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นป […]

The post นายกฯ คิกออฟแจกเงินหมื่นผู้มีบัตรสวัสดิการ-ผู้พิการวันแรก ชี้ สร้างพายุหมุนทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ ประชาชนมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี appeared first on THE STANDARD.

]]>
แจกเงินหมื่น

วันนี้ (25 กันยายน) แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ โดยกล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างเรื้อรังหลายปี ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่ได้มีเพียงแค่ภายในประเทศเท่านั้น ยังมีปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลกฟื้นตัวได้ช้าลงกว่าปกติ

 

ยิ่งไปกว่านั้นคือเรื่องความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ในหลายภูมิภาค และยังไม่รวมปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้น ประเทศไทยเองในปีนี้อุทกภัยเป็นปัญหารุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งหลายปัจจัยเหล่านี้เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เศรษฐกิจฝืดเคือง ไม่สามารถเพิ่มการลงทุนได้ เห็นได้ชัดว่าเงินในระบบหายไป เงินหมุนเวียนแทบจะหายาก การลงทุนใหม่ๆ น้อยลง กลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือกลุ่มเปราะบางที่มีรายได้น้อยและผู้พิการ

 

นายกฯ ระบุอีกว่า ในอนาคตประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจทั้งระบบ ทำให้เศรษฐกิจมีความพร้อมต่อการลงทุนและอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น ต้องสร้างการเกิดรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว เพื่อให้คนไทยมีความมั่นคง หารายได้ได้อย่างยั่งยืน

 

นโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลได้ทำและเน้นย้ำตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาจนถึงวันนี้คือนโยบายด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข มีชีวิตที่พัฒนาไปข้างหน้า แต่ละนโยบายต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปี เพราะต้องพิจารณาคุณภาพทางการเงินการคลังด้วย พร้อมยอมรับว่าเป็นความท้าทายที่จะเปลี่ยนปัญหาทั้งหมดนี้ให้เป็นโอกาส

 

รับเงิน 10,000 บาท ไม่มีเงื่อนไข

 

นายกฯ ย้ำด้วยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญ และมีการออกนโยบายหลายอย่าง เช่น การพักหนี้เกษตรกร การลดดอกเบี้ย การส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านฟรีวีซ่า แต่สิ่งเหล่านี้ยังไม่มากพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งประเทศได้ วันนี้ระบบเศรษฐกิจจะเติมเงินหมุนเวียนกว่า 145,552 ล้านบาท เป็นการสร้างเศรษฐกิจลูกใหม่ลูกใหญ่ครั้งแรก ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และเงินก้อนนี้จะสามารถต่อลมหายใจให้กับพี่น้องประชาชนที่กำลังเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้

 

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจรอบนี้จะถึงมือประชาชนกลุ่มเปราะบางจำนวน 14.55 ล้านคน ทุกคนจะได้รับเงินสด 10,000 บาท ผ่านช่องทางบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์ไว้กับเลขบัตรประชาชนและช่องทางรับเงินเบี้ยคนพิการ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ เมื่อเงินถึงมือประชาชนแล้วสามารถใช้จ่ายได้ทันที ซึ่งจะทยอยโอนเงินจนครบ

 

ประชาชนมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี

 

นายกฯ ระบุด้วยว่า นโยบายนี้จะช่วยกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน สร้างความหวังและนำคุณภาพชีวิตที่ดีมาให้กับประชาชน ทำให้ประชาชนมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ตามที่เคยได้กล่าวไว้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของพี่น้องประชาชนว่าจะมีการใช้เงินนี้อย่างมีประโยชน์ หรือบางครอบครัวที่ได้มากกว่าหนึ่งคนสามารถนำเงินมารวมกันเพื่อต่อยอดธุรกิจหรือสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับครอบครัวได้

 

นายกฯ ระบุว่า รัฐบาลยืนยันโครงการดิจิทัลวอลเล็ตไปต่อ เพื่อเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับคนไทย ที่จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐบาลกับประชาชนทำธุรกรรมต่างๆ ความเชื่อมต่อกับรัฐอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ง่ายขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเอื้อให้กับประชาชนมีความหวัง มีรอยยิ้มมากขึ้น ต่อยอดให้กับประชาชนมีโอกาสในชีวิตเพิ่มมากขึ้น สร้างความเท่าเทียมด้านโอกาส และหวังเป็นอย่างยิ่งว่านโยบายนี้จะสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับมาเหมือนเดิม ทำให้ประชาชนกลับมามีความสุขอีกครั้ง

 

วิดีโอคอลหาประชาชนได้เงินหมื่น

 

นอกจากนี้นายกฯ ยังได้วิดีโอคอลหาประชาชนผู้มีสิทธิได้รับเงิน 10,000 บาท โดยได้พูดคุยกับประชาชนจากจังหวัดเชียงใหม่ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท ซึ่งบอกว่าจะเอาเงินไปจ่ายค่าเทอมลูก ส่วนหนึ่งจะแบ่งไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลของตัวเอง

 

ขณะที่ผู้พิการจากจังหวัดสมุทรสาครบอกว่า ได้รับเงินเวลา 03.15 น. ซึ่งจะเก็บเงินไว้รักษาตัวและซื้อของจำเป็นสำหรับผู้พิการ พร้อมขอบคุณนายกฯ และ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

 

ขณะที่ชาวบ้านจังหวัดมุกดาหารเปิดเผยว่า ได้รับเงินเมื่อเวลา 02.05 น. ที่ผ่านมา โดยจะนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนซื้อของมาขาย พร้อมฝากนายกฯ ให้ดูแลเรื่องเขื่อนริมโขง ซึ่งนายกฯ ก็รับปากว่าจะดูแลให้ทุกพื้นที่ ซึ่งนายกฯ ได้แสดงความยินดีกับประชาชน และบอกว่ารัฐบาลก็ดีใจเช่นเดียวกัน

 

ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นการแถลงข่าว ผู้สื่อข่าวพยายามสอบถามนายกฯ ถึงการดำเนินการโครงการโอนเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเฟส 2 และ 3 นายกฯ กล่าวว่า กระทรวงการคลังจะเป็นผู้ชี้แจงในรายละเอียดทั้งหมด

 

The post นายกฯ คิกออฟแจกเงินหมื่นผู้มีบัตรสวัสดิการ-ผู้พิการวันแรก ชี้ สร้างพายุหมุนทางเศรษฐกิจลูกใหญ่ ประชาชนมีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุป! ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ผู้พิการจะรับเงิน 10,000 บาทอย่างไร และต้องลงทะเบียนหรือไม่ https://thestandard.co/welfare-cardholders-and-disabled-persons-receive-10000-baht/ Thu, 19 Sep 2024 11:26:17 +0000 https://thestandard.co/?p=985573

พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะ […]

The post สรุป! ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ผู้พิการจะรับเงิน 10,000 บาทอย่างไร และต้องลงทะเบียนหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

พรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ย้ำว่า ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) สำเร็จแล้ว ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 และคนพิการที่ได้รับเบี้ยความพิการ 800 บาทอยู่แล้วตามฐานข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 จะได้รับสิทธิใน ‘โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ผู้พิการ’ (ชื่อเดิม: ดิจิทัลวอลเล็ต) โดยไม่ต้องลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ อีก

 

โดยผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการจะได้รับเงิน 10,000 บาทผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

 

ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับเงินผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

 

  1. บัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน
  2. ยกเว้นกรณีผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และไม่สามารถผูก PromptPay ได้ จะโอนเงินผ่านบัญชีเงินฝากตามที่ได้แจ้งความประสงค์เป็นหนังสือ ณ สำนักงานคลังจังหวัดหรือกรมบัญชีกลาง

 

ทั้งนี้ คนพิการที่บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุหรือมีบัตรประจำตัวคนพิการแบบเก่า (แบบเล่ม) โดยยังไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนมีบัตรแบบใหม่ แต่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) สำเร็จแล้ว ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 จะถูกรวมอยู่ในกลุ่มนี้และได้รับเงินผ่านบัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน

 

ผู้พิการจะได้รับเงินผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่

 

  1. ช่องทางที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการอยู่ในปัจจุบัน (ทั้งที่รับเงินผ่านบัญชีเงินฝากและที่รับเงินสดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

 

  1. กรณีคนพิการไม่ปรากฏข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการตามข้อ 1. จะโอนเงินผ่านบัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของคนพิการ

 

กรณีคนพิการที่บัตรประจำตัวคนพิการหมดอายุ หรือผู้ได้รับเงินเบี้ยความพิการที่ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ

 

บุคคลดังกล่าวจะต้องต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการหรือทำบัตรประจำตัวคนพิการให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะได้รับโอนเงินตามโครงการฯ อย่างไรก็ดี ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ

 

การผูกบัญชี PromptPay กับเลขประจำตัวประชาชน

 

สามารถผูกบัญชีกับธนาคารใดก็ได้ที่มีบัญชีเงินฝาก โดยไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นธนาคารของรัฐ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการผูกบัญชี PromptPay กับเลขประจำตัวประชาชนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ

 

ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการควรตรวจสอบบัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนหรือบัญชีเงินฝากธนาคารให้มีสถานะปกติ (Active) เพื่อพร้อมรับเงินตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป

 

ในกรณีที่จ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรก จะมีการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง

 

รอบจ่ายเงินซ้ำจะดำเนินการภายในวันที่ทำบัตรหรือต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการ และภายในวันที่ผูกบัญชี PromptPay กับเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่

 

 

ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดการจ่ายเงินซ้ำครั้งที่ 3 แล้ว จะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ

 

โฆษกกระทรวงการคลังเน้นย้ำในหลักที่ว่า คนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการอยู่แล้วในปัจจุบัน ไม่ว่าจะได้รับเงินเข้าบัญชีเงินฝากหรือรับเงินสดผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะได้รับเงิน 10,000 บาทผ่านช่องทางที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการอยู่เดิม

 

ขณะที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะต้องมีบัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน โดยมีช่องทางตรวจสอบการมีอยู่หรือผูกบัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนได้หลายช่องทาง เช่น ผ่านเครื่องถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) และแอปพลิเคชันของธนาคาร

 

อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้พิการบางกลุ่มที่มีสิทธิในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ยืนยันตัวตนแบบอิเล็กทรอนิกส์สำเร็จแล้วภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ขอให้ตรวจสอบเพิ่มว่าบัตรประจำตัวคนพิการของตนเองหมดอายุหรือไม่ หรือเป็นผู้มีบัตรประจำตัวคนพิการแบบเก่า (แบบเล่ม) ที่ยังไม่ได้ขอขึ้นทะเบียนเพื่อมีบัตรแบบใหม่กับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โดยหากเป็นกลุ่มดังกล่าวนี้จะโอนเงิน 10,000 บาทให้ตามสิทธิของกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยจะต้องมีบัญชี PromptPay ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนด้วย ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่า กลุ่มดังกล่าวนี้มีจำนวนค่อนข้างน้อย

 

เปิดช่องทางตรวจสอบผลการจ่ายเงิน

 

ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการสามารถตรวจสอบผลการจ่ายเงินในวันถัดไปหลังจากวันที่จ่ายเงินผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้

 

ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

 

  1. เว็บไซต์ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ2567.cgd.go.th (ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป)
  2. เว็บไซต์ govwelfare.cgd.go.th (ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2567 เป็นต้นไป)
  3. แอปพลิเคชัน ‘รัฐจ่าย’ (ของกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง)
  4. Call Center กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2270 6400 ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

 

  1. ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 0 2109 2345 ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-17.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
  2. ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่านระบบตอบรับอัตโนมัติ โทร. 0 2109 2345 กด 1 หรือ 5 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

 

ผู้พิการ

 

  1. เว็บไซต์ govwelfare.dep.go.th/check
  2. ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. Call Center กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทร. 0 2354 3388 ต่อ 701-702 (หน่วยงานออกบัตรประจำตัวคนพิการ) หรือศูนย์บริการคนพิการจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์
  4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ที่คนพิการรับเงินเบี้ยความพิการ ตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์

The post สรุป! ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-ผู้พิการจะรับเงิน 10,000 บาทอย่างไร และต้องลงทะเบียนหรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เผ่าภูมิเล็งจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นกลุ่มแรก ภายในเดือน ก.ย. https://thestandard.co/digital-wallet-state-card-first/ Thu, 29 Aug 2024 06:04:39 +0000 https://thestandard.co/?p=976914

เผ่าภูมิเผย มีความเป็นไปได้สูงว่าจะแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ […]

The post เผ่าภูมิเล็งจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นกลุ่มแรก ภายในเดือน ก.ย. appeared first on THE STANDARD.

]]>

เผ่าภูมิเผย มีความเป็นไปได้สูงว่าจะแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐราว 13-14 ล้านคนก่อนเป็นกลุ่มแรก ภายในเดือนกันยายน

 

วันนี้ (29 สิงหาคม) เผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กำลังหารือในรายละเอียดและพิจารณาว่ากลุ่มผู้มีสิทธิ์รับเงินดิจิทัลวอลเล็ตกลุ่มแรกภายในเดือนกันยายนอาจพิจารณาให้กลุ่มที่มีความจำเป็นสูงกว่าก่อน

 

“มีความเป็นไปได้สูงที่จะจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจนก่อน อย่างไรก็ตาม สำหรับความชัดเจนจะอยู่ที่การแถลงนโยบาย” เผ่าภูมิกล่าวในงาน ‘FPO Symposium 2024 Fiscal GreenPrint พิมพ์เขียวนโยบายการคลังสู่เศรษฐกิจสีเขียว’

 

เผ่าภูมิระบุว่า กรณีจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ตผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนใหม่ เนื่องจากมีข้อมูลอยู่แล้ว สามารถส่งเงินไปโดยตรงได้เลย

 

พร้อมทั้งยืนยันว่าผู้ที่ได้รับสวัสดิการจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอยู่แล้วก็จะได้รับต่อไปไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเป็นโครงการที่มีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ใช่โครงการซ้ำซ้อน

 

“โครงการดิจิทัลวอลเล็ตอาจมีการปรับเงื่อนไขให้ตรงกับสถานการณ์มากขึ้น เพื่อให้สะท้อนภาวะเศรษฐกิจให้มากขึ้น สะท้อนความจำเป็นให้มากขึ้น และสะท้อนกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น อะไรที่สามารถกระตุ้นได้ก่อนก็จะกระตุ้นก่อน” เผ่าภูมิกล่าว

 

ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจาก ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวที Dinner Talk : Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 โดยเสนอว่าให้แจกกับกลุ่มเปราะบางและผู้พิการก่อน

The post เผ่าภูมิเล็งจ่ายเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นกลุ่มแรก ภายในเดือน ก.ย. appeared first on THE STANDARD.

]]>
คมนาคมช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อตั๋วเดินทางเดือนละ 750 บาท พร้อมลดอีก 10% ให้ 5 หน่วยงาน https://thestandard.co/mot-welfare-card-travel-discounts/ Sat, 15 Jun 2024 08:35:17 +0000 https://thestandard.co/?p=945490

วันนี้ (15 มิถุนายน) เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนัก […]

The post คมนาคมช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อตั๋วเดินทางเดือนละ 750 บาท พร้อมลดอีก 10% ให้ 5 หน่วยงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (15 มิถุนายน) เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมต้องการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการใช้บริการรถโดยสารของบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)

 

ประชาชนสามารถซื้อตั๋วโดยสารของ บขส. โดยใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตามโครงการของรัฐบาลที่ให้ประชาชนสามารถจ่ายค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาทต่อคนต่อเดือน โดยสามารถนำบัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อตั๋วโดยสารได้ที่จุดบริการจำหน่ายตั๋วโดยสาร บขส. ทั่วประเทศ

 

เกณิกากล่าวต่อว่า ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในการใช้สิทธิ์เดินทางกับรถโดยสาร บขส. ขอให้ยื่นบัตรแสดงตนในการซื้อตั๋วโดยสาร และต้องเป็นผู้เดินทางเองเท่านั้น จากนั้นซื้อตั๋วรถโดยสาร บขส. ภายในวงเงิน 750 บาทต่อเดือน กรณีที่ค่าโดยสารเกินวงเงินที่ได้รับ ต้องจ่ายส่วนต่างเป็นเงินสดเท่านั้น โดยใช้ได้ทุกเส้นทาง

 

อีกทั้งสามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์ลดหย่อนอื่นๆ ได้ตามเงื่อนไขที่ บขส. กำหนด ซึ่งสามารถซื้อตั๋วโดยสารได้ที่ช่องจำหน่ายตั๋วของ บขส. ทั้งนี้เมื่อซื้อตั๋วโดยสารแล้ว ไม่สามารถคืนตั๋วได้ทุกกรณี แต่สามารถเลื่อนการเดินทางได้ภายใต้เงื่อนไขที่ บขส. กำหนด

 

เกณิกากล่าวว่า กระทรวงคมนาคมต้องการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และเป็นการกระตุ้นรายได้จากการใช้บริการรถโดยสารประจำทาง และสร้างสัมพันธ์อันดีกับผู้ใช้บริการ บขส. จึงให้สิทธิ์ส่วนลดพิเศษ 10% (ไม่รวมค่าธรรมเนียม) ในการซื้อตั๋วโดยสาร สำหรับกลุ่มผู้โดยสารจาก 5 หน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.), นักเรียนหรือนักศึกษาจากสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), บุคลากรสังกัดบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน), บุคลากรสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และบุคลากรสังกัดกระทรวงคมนาคม

 

โดยเงื่อนไขการรับสิทธิ์ จะต้องแสดงบัตรประจำตัวสังกัดหน่วยงานของท่านควบคู่บัตรประชาชน โดยข้อมูลในบัตรต้องเป็นปัจจุบัน ณ วันที่ใช้สิทธิ์ ให้ผู้ใช้สิทธิ์แจ้งความประสงค์ขอรับส่วนลดในโครงการ พร้อมรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งสามารถใช้สิทธิ์ส่วนลดได้ ณ จุดบริการจำหน่ายตั๋วโดยสาร บขส. ทั่วประเทศ

 

สามารถรับสิทธิ์ส่วนลดได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2567 ทุกเส้นทางภายในประเทศ และขอสงวนสิทธิ์การเปลี่ยนแปลงโปรโมชันโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และเงื่อนไขเป็นไปตามที่ บขส. กำหนด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่งานการตลาดและลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0 2537 8737 หรือ Call Center โทร. 1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง

The post คมนาคมช่วยลดค่าใช้จ่ายประชาชน ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐซื้อตั๋วเดินทางเดือนละ 750 บาท พร้อมลดอีก 10% ให้ 5 หน่วยงาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐบาลเตือน 1.15 ล้านคน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รีบยืนยันตัวตน ก่อนใช้สิทธิจริง 1 ส.ค. นี้ https://thestandard.co/gov-warns-1-15-m-welfare-cards/ Wed, 28 Jun 2023 00:46:15 +0000 https://thestandard.co/?p=808510

วานนี้ (27 มิถุนายน) รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนา […]

The post รัฐบาลเตือน 1.15 ล้านคน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รีบยืนยันตัวตน ก่อนใช้สิทธิจริง 1 ส.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (27 มิถุนายน) รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และการใช้สิทธิภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

 

ความก้าวหน้าโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 19,647,241 ราย เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของการลงทะเบียนแล้ว พบว่ามีผู้ผ่านเกณฑ์ จำนวน 14,596,820 ราย ไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 5,050,421 ราย โดยผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้ยื่นอุทธรณ์ จำนวน 1,266,682 ราย (คิดเป็นร้อยละ 25.08 ของผู้ไม่ผ่านเกณฑ์) และมีผู้ผ่านการตรวจสอบเพิ่มเติม (เกษตรกร) จำนวน 416,153 ราย ทำให้มีผู้ผ่านเกณฑ์โครงการ ปี 2565 รวมทั้งสิ้น 15,012,973 ราย 

 

ทั้งนี้ มีผู้ที่ยืนยันตัวตนสำเร็จ จำนวน 13,444,534 ราย (คิดเป็นร้อยละ 92.11 ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด) และยังไม่ได้ยืนยันตัวตนหรือยืนยันตัวตนไม่สำเร็จอีก จำนวน 1,152,286 ราย (คิดเป็นร้อยละ 7.89 ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด) สำหรับผู้ที่ไม่ได้ยืนยันตัวตนหรือยืนยันตัวตนไม่สำเร็จ ยังคงยืนยันตัวตนได้ และจะเริ่มใช้สิทธิในวันที่ 1 สิงหาคม 2566 โดยจะได้รับสิทธิเฉพาะเดือนที่กระทรวงการคลังดำเนินการตั้งวงเงินให้ แต่ไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง 

 

สำหรับการใช้สิทธิภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ในช่วงเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม 2566 มีดังนี้ 

 

เดือนเมษายน 2566 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 12.31 ล้านราย มูลค่าการใช้สิทธิรวม 4,005.65 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 3,682.35 ล้านบาท ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 259.41 ล้านบาท ค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ 63.88 ล้านบาท สำหรับมาตรการบรรเทาค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา ผู้ขอใช้สิทธิต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ ส่วนการจ่ายเงินเพิ่มเติมเบี้ยคนพิการ เดือนละ 200 บาท เฉพาะผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ และผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการปี 2565 มีจำนวน 794,189 ราย รวมเป็นเงิน 158.84 ล้านบาท

 

เดือนพฤษภาคม 2566 มีผู้ใช้สิทธิจำนวน 12.79 ล้านราย มูลค่าการใช้สิทธิรวม 4,252.15 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 4,028.97 ล้านบาท ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45.45 ล้านบาท ค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ 62.62 ล้านบาท สำหรับมาตรการบรรเทาค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า มูลค่าการใช้สิทธิ 105.09 ล้านบาท ค่าน้ำประปา มูลค่าการใช้สิทธิ 9.93 ล้านบาท ส่วนการจ่ายเงินเพิ่มเติมเบี้ยคนพิการ เดือนละ 200 บาท เฉพาะผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ และผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการปี 2565 มีจำนวน 1,016,008 ราย รวมเป็นเงิน 203.20 ล้านบาท

 

รัชดากล่าวด้วยว่า สถานะปัจจุบันของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองทุนมีงบประมาณรวม 51,644.51 ล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (1 ตุลาคม 2565 – 24 พฤษภาคม 2566) จำนวน 35,923.45 ล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณคงเหลือ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 รวมทั้งสิ้น 15,721.06 ล้านบาท

The post รัฐบาลเตือน 1.15 ล้านคน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รีบยืนยันตัวตน ก่อนใช้สิทธิจริง 1 ส.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บังคับใช้วันนี้ หลักเกณฑ์เข้าร่วมเป็นร้านค้าก๊าซตามโครงการบัตรสวัสดิการรายใหม่ ฝ่าฝืนจะถูกเพิกถอนสิทธิและห้ามเข้าร่วมโครงการอีก https://thestandard.co/gas-shop-state-welfare-card-project/ Thu, 08 Jun 2023 02:27:34 +0000 https://thestandard.co/?p=800544 ร้านค้าก๊าซ

วันนี้ (8 มิถุนายน) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนัก […]

The post บังคับใช้วันนี้ หลักเกณฑ์เข้าร่วมเป็นร้านค้าก๊าซตามโครงการบัตรสวัสดิการรายใหม่ ฝ่าฝืนจะถูกเพิกถอนสิทธิและห้ามเข้าร่วมโครงการอีก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ร้านค้าก๊าซ

วันนี้ (8 มิถุนายน) ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2566 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเข้าร่วมเป็นร้านค้าก๊าซ เพื่อรับชำระเงินจากการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ พ.ศ. 2566 มีผลบังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือตั้งแต่วันนี้ (8 มิถุนายน) เป็นต้นไป

 

กรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศในครั้งนี้เพื่อให้การดำเนินตามนโยบายรัฐบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการยิ่งขึ้น ด้วยการวางเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้มีความชัดเจน และให้สอดคล้องกับการจัดสรรประชารัฐสวัสดิการรอบใหม่ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ด้วย

 

ไตรศุลีกล่าวต่อไปว่า สาระสำคัญของประกาศฯ ได้กำหนดคุณสมบัติของร้านค้าก๊าซที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการรับชำระเงินจากการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัตินี้จะใช้กับเฉพาะร้านค้ารายใหม่เท่านั้น จะไม่ใช้บังคับกับร้านค้าก๊าซที่ร่วมโครงการอยู่แล้ว รวมถึงร้านที่ได้ยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการก่อนวันที่ประกาศมีผลบังคับ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา

 

คุณสมบัติของร้านค้าก๊าซที่จะสมัครร่วมโครงการฯ เช่น ต้องเป็นร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้ม และมีใบรับแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ลักษณะที่หนึ่ง (ธพ.ป.2) หรือมีใบอนุญาตประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 3 ลักษณะที่สอง (ธพ.ก.2) ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542, มีทำเลและสถานที่ตั้งร้านค้าที่แน่นอน, ไม่เคยถูกเพิกถอนสิทธิโดยมีรายชื่อที่ระบบของธนาคารกรุงไทยตรวจพบ, ไม่เคยยกเลิกการติดตั้งเครื่อง EDC หรือยกเลิกแอปพลิเคชันถุงเงินเพื่อรับชำระเงินจากสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม)

 

ไตรศุลีกล่าวอีกว่า กรมธุรกิจพลังงานยังได้วางเงื่อนไขที่ร้านค้าก๊าซที่เข้าร่วมโครงการทุกราย ทั้งรายเดิมที่ร่วมโครงการอยู่แล้วหรืออยู่ระหว่างพิจารณาก่อนมีประกาศ และรายใหม่ที่จะสมัครเข้าร่วมในอนาคตจะต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด 8 ข้อ ได้แก่

 

1) ติดตั้งเครื่อง EDC หรือแอปพลิเคชันถุงเงิน

 

2) ห้ามปฏิเสธการรับชำระค่าก๊าซหุงต้มโดยการใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐโดยไม่มีเหตุอันสมควร

 

3) ห้ามยึดหรือเก็บบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ

 

4) ห้ามรับแลกสิทธิส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มเป็นเงินสด สินค้าชนิดอื่น หรือสิ่งตอบแทนอื่น 

 

5) ห้ามดำเนินธุรกิจที่มีลักษณะเป็นยานพาหนะเร่ขายก๊าซหุงต้ม

 

6) ห้ามรับชำระค่าก๊าซหุงต้มด้วยรูปแบบอื่นๆ ที่เป็นการรับชำระล่วงหน้า เช่น การสะสมคูปอง การสะสมแต้ม การรวมสิทธิเพื่อส่งมอบในภายหลัง 

 

7) ห้ามรับแลกสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม) ที่ก๊าซหุงต้มเป็นของร้านค้าอื่น

 

8) ห้ามหาผลประโยชน์อื่นใดจากสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม) ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของสวัสดิการแห่งรัฐ (ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม)

 

ไตรศุลีกล่าวอีกว่า กรณีฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด กรมธุรกิจพลังงานหรือสำนักงานพลังงานจังหวัดที่รับสมัครเป็นร้านค้าก๊าซจะดำเนินการเพิกถอนการเป็นร้านค้าก๊าซที่ร่วมโครงการ และแจ้งกรมบัญชีกลางพิจารณาการส่งคืนเครื่อง EDC หรือยกเลิกการใช้แอปพลิเคชันถุงเงิน

 

โดยผลของการเพิกถอนสิทธิดังกล่าว ร้านค้าก๊าซจะไม่มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใดๆ ทั้งสิ้น ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิ และจะไม่สามารถสมัครเป็นร้านค้าก๊าซเพื่อรับชำระเงินจากการใช้สิทธิสวัสดิการแห่งรัฐได้อีกต่อไป

 

อ่านประกาศฉบับเต็ม: https://bit.ly/ratchakitcha_doeb_welfare 

The post บังคับใช้วันนี้ หลักเกณฑ์เข้าร่วมเป็นร้านค้าก๊าซตามโครงการบัตรสวัสดิการรายใหม่ ฝ่าฝืนจะถูกเพิกถอนสิทธิและห้ามเข้าร่วมโครงการอีก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เลือกตั้ง 2566 : ‘ของจริงยิ่งกว่า 10,000 บาท’ รวมไทยสร้างชาติออกคลิป ‘บัตรสวัสดิการพลัส’ ให้มากกว่าปีละหมื่น ใช้ได้ 77 จังหวัดไม่จำกัดระยะทาง https://thestandard.co/utnp-welfare-plus-card/ Wed, 12 Apr 2023 12:29:49 +0000 https://thestandard.co/?p=776361 บัตรสวัสดิการพลัส

วันนี้ (12 เมษายน) พรรครวมไทยสร้างชาติ เผยแพร่คลิปวิดีโ […]

The post เลือกตั้ง 2566 : ‘ของจริงยิ่งกว่า 10,000 บาท’ รวมไทยสร้างชาติออกคลิป ‘บัตรสวัสดิการพลัส’ ให้มากกว่าปีละหมื่น ใช้ได้ 77 จังหวัดไม่จำกัดระยะทาง appeared first on THE STANDARD.

]]>
บัตรสวัสดิการพลัส

วันนี้ (12 เมษายน) พรรครวมไทยสร้างชาติ เผยแพร่คลิปวิดีโอหาเสียงล่าสุดเรื่อง ‘ของจริงยิ่งกว่า 10,000 บาท’ เป็นแคมเปญหาเสียงด้านนโยบายเศรษฐกิจภายใต้สโลแกน ‘หาเงินได้ ใช้เงินเป็น’ ชิ้นแรก

 

สำหรับคลิปวิดีโอชุดของจริงยิ่งกว่า 10,000 บาท เป็นเรื่องราวของบัตรสวัสดิการพลัส หรือที่พรรครวมไทยสร้างชาติเรียกว่า ‘บัตรลุงตู่’ ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือประชาชนที่มีรายได้น้อยของพรรครวมไทยสร้างชาติ ต่อยอดโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นช่องทางให้กลุ่มเป้าหมายเข้าถึงความช่วยเหลือแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีตัวกลางหักหัวคิว ใช้บัตรประชาชนเป็นดิจิทัลวอลเล็ต เติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยทุกเดือน จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแก๊ส ค่ารถ มากกว่าปีละ 10,000 บาท ใช้ได้ 77 จังหวัดทั่วประเทศไม่จำกัดระยะทาง

 

โดยโครงการบัตรสวัสดิการพลัส ใช้บัตรประชาชนอัจฉริยะเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัล เพิ่มสิทธิให้ผู้มีสิทธิเป็นเดือนละ 1,000 บาท เป็นค่าซื้อสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ ค่ารถเมล์ รถไฟ รถไฟฟ้า รถ บขส. ค่าไฟ ค่าน้ำประปา ค่าแก๊ส ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่ารวมเดือนละ 1,200 บาท ผู้มีสิทธิสามารถซื้อสินค้าได้จากร้านธงฟ้า 84,712 ร้านทั่วประเทศ

 

ซึ่งโครงการบัตรสวัสดิการพลัส หรือบัตรลุงตู่ เป็นโครงการช่วยเหลือแบบพุ่งเป้า เฉพาะกลุ่ม โดยใช้ถังข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data กลั่นกรองผู้มีรายได้น้อยที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ทำให้การใช้จ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพ ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยทุกปีจะมีการทบทวนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ

The post เลือกตั้ง 2566 : ‘ของจริงยิ่งกว่า 10,000 บาท’ รวมไทยสร้างชาติออกคลิป ‘บัตรสวัสดิการพลัส’ ให้มากกว่าปีละหมื่น ใช้ได้ 77 จังหวัดไม่จำกัดระยะทาง appeared first on THE STANDARD.

]]>