บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 25 Mar 2025 10:37:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 TFM หันรุกตลาดต่างประเทศ หวังเพิ่มสัดส่วนรายได้ กระจายความเสี่ยงธุรกิจในประเทศ พร้อมตั้งเป้ารายได้รวมแตะ 1 หมื่นล้านบาทภายในปี 2573 https://thestandard.co/tfm-goes-global-strategy-2573/ Tue, 25 Mar 2025 10:37:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1056442

TFM ตั้งเป้าหมายจะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ที่ระดับ 18-2 […]

The post TFM หันรุกตลาดต่างประเทศ หวังเพิ่มสัดส่วนรายได้ กระจายความเสี่ยงธุรกิจในประเทศ พร้อมตั้งเป้ารายได้รวมแตะ 1 หมื่นล้านบาทภายในปี 2573 appeared first on THE STANDARD.

]]>

TFM ตั้งเป้าหมายจะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ที่ระดับ 18-20% โดยมีการเติบโตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งเตรียมจะใช้งบลงทุนในระหว่างปี 2568-2573 ไว้ที่ 300-500 ล้านบาทต่อปี

 

พีระศักดิ์ บุญมีโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFM เปิดเผยว่า บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายภายในปี  2573 จะมีรายได้รวมแตะ 10,000 ล้านบาทหรือคิดเป็นการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 11% พร้อมตั้งเป้ารักษาอัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ไว้ที่ระดับ 18-20% โดยมีการเติบโตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ (Segment) โดยเฉพาะอาหารกุ้งและอาหารปลา ที่เป็นผู้นำตลาดอยู่แล้ว รวมถึงขยายสู่อาหารปลาน้ำจืดอื่นๆ โดยปัจจุบันสินค้าที่วางจำหน่ายของบริษัทฯ มีจำนวนประมาณ 275 รายการ (SKU)

 

ส่วนแผนธุรกิจในปี 2568 บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 8-10% จากการเติบโตทั้งในและต่างประเทศ จากในปี 2567 ที่ผ่านมาบริษัทฯ มีรายได้จากการขาย 5,365 ล้านบาท เติบโต 5.6% อัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 18.7% และกำไรสุทธิโตขึ้นจากปีก่อน 5 เท่าตัวคิดเป็นกำไรที่ 535 ล้านบาท

 

กระจายความเสี่ยง ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศ

 

บริษัทฯ มีแผนในช่วง 2568-2573 จะขยายรุกตลาดในต่างประเทศมากขึ้นเพื่อกระจายความเสี่ยงของธุรกิจจากในประเทศและเป็นการสร้างโอกาสการเติบโตที่เพิ่มขึ้นซึ่งในปี 2573 ตั้งเป้าหมายสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งในอินโดนีเซียจะมีสัดส่วนรายได้เพิ่มเป็น 18%, ส่วนตลาดต่างประเทศอื่นๆ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 11% ขณะที่ประเทศไทยจะมีสัดส่วนลดลงอยู่ที่ประมาณ 71%

 

ขณะที่โครงสร้างของราคาขายสินค้าในตลาดต่างประเทศถือเป็นราคาที่สูงกว่าราคาขายในประเทศไทย ส่งผลให้บริษัทจะยังสามารถรักษา GPM อยู่ที่ 18-20% ได้ตามเป้าหมายของบริษัทฯ ที่ตั้งไว้

 

ทั้งนี้พอร์ตรายได้ปัจจุบันของบริษัทมาจากธุรกิจในประเทศไทยประมาณ 84%, อินโดนีเซียสัดส่วน 12%, ปากีสถานสัดส่วน 1% และประเทศอื่นๆ อีก 3%

 

โดยตลาดต่างประเทศ นับเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญของบริษัทฯ ในอนาคตและช่วยกระจายความเสี่ยงพอร์ตรายได้ จากจุดเริ่มต้นด้วยการส่งออกสินค้าประเทศศรีลังกา และต่อยอดสู่ประเทศที่มีอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเติบโต ได้แก่ อินเดีย,อินโดนีเซีย, แอฟริกาใต้, กลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง และเริ่มส่งออกสินค้าไปรัฐฮาวาย ของสหรัฐฯ

 

โดยกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจในตลาดประเทศจะเน้นการร่วมมือกับคู่ค้าพันธมิตรในต่างประเทศที่มีฐานะที่แข็งแกร่งเพื่อลดความเสี่ยงให้บริษัทฯ เพื่อรุกตลาดใหม่ๆ และขยายตลาดเดิม พร้อมสร้างฐานลูกค้าและโอกาสทางธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้นในตลาดส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ

 

พีระศักดิ์ บุญมีโชติ

ภาพ: พีระศักดิ์ บุญมีโชติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน ฟีดมิลล์ จำกัด (มหาชน)

 

“เราไม่ได้กังวลประเด็นกำแพงภาษีของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพราะเราส่งออกสหรัฐฯ ไม่มาก ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบจากสหรัฐฯ ก็ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากแหล่งอื่นๆ คือ บราซิลกับอาร์เจนตินา ขณะที่วัตถุดิบหลักที่เราใช้ คือ BY-PRODUCT ของปลาทูน่า จึงไม่มีผลกระทบกับบริษัทฯ”

 

ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์จำนวน 4 โรงงานทั่วโลก แบ่งเป็นในประเทศไทยจำนวน 2 โรงงาน, ในอินโดนีเซียจำนวน 1 โรงงาน และปากีสถานอีกจำนวน 1 โรงงาน อีกทั้งมีประเทศคู่ค้าทั่วโลกจำนวน 13 ประเทศ

 

“บริษัทฯ มีการใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้ากลุ่มอาหารสัตว์ที่มาจาก BY-PRODUCT ของปลาทูน่าของบริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU สัดส่วนประมาณ 30-40% ของที่ใช้ทั้งหมด ซึ่งเป็นจุดแข็งที่มีความแตกต่างจากคู่แข่ง ถือเป็นบริษัทฯ เดียวที่มีทรัพยากรนี้

 

ดังนั้น จึงมีคาแรกเตอร์ของสินค้าอาหารสัตว์ที่แตกต่างจากคู่แข่งด้วย ส่วนการซื้อวัตถุดิบมีการ Synergy ของทั้งกลุ่มทำให้สามารถได้ทั้งวอลุ่มกับแวลูที่มีต้นทุนที่ถูกลง อีกทั้งจะเลือกขายสินค้าเฉพาะที่ทำกำไร และตัดสินค้าที่ไม่ทำกำไรออกจากพอร์ต”

 

แผน ปี 68-73 ทุ่ม 300-500 ล้านบาท ซื้อเครื่องจักร เพิ่มกำลังผลิต

 

สำหรับแผนลงทุนระหว่างปี 2568-2573 ตั้งลงทุนไว้ประมาณ 300-500 ล้านบาทต่อปี เพื่อใช้ซื้อเครื่องจักร รวมปรับปรุงประสิทธิภาพของโรงงาน เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ มีการใช้เพียงสัดส่วนประมาณ 60% ของกำลังการผลิตรวมทั้งหมด ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยสนับสนุนให้รายได้เป็นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

นอกจากนี้ สำหรับตลาดในประเทศ TFM จะรักษาความเป็นผู้นำในกลุ่มอาหารกุ้ง อาหารปลากะพง และอาหารกบ โดยจะมุ่งขยายตลาดในพื้นที่ที่ยังมีโอกาสเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ด้วยการรักษาคุณภาพสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับเกษตรกร ผ่านบริการและองค์ความรู้เชิงวิชาการ

 

ขณะเดียวกันได้เตรียมขยายสู่ตลาดอาหารปลาน้ำจืดที่มีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านบาท ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก และตั้งเป้าหมายก้าวเป็นผู้นำตลาดอาหารปลาน้ำจืดในอนาคต

 

นอกจากนี้ ยังเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอาหารสัตว์น้ำในประเทศไทย ล่าสุด ได้เปิดตัว 3 แบรนด์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ตลาดเฉพาะกลุ่ม ได้แก่ แบรนด์ขุนศึก เป็นอาหารปลานิลที่โดดเด่นในเรื่องช่วยให้ปลาโตเร็วและมีรูปร่างตรงตามความต้องการของตลาด, แบรนด์กบทอง เป็นอาหารสำหรับกบขนาดใหญ่ ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรที่เลี้ยงกบเชิงพาณิชย์ และแบรนด์โปรฟีดปลากดคัง เป็นอาหารปลากดคัง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคตะวันออกของประเทศไทย

 

แตกพาร์หุ้น TFM เหลือ 1 บาท ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง

 

พีระศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่บริษัทฯ ก่อนหน้าที่ได้มีการแตกพาร์หุ้น TFM จาก 2 บาทต่อหุ้น เหลือ 1 บาทต่อหุ้น เนื่องจากก่อนหน้านี้หุ้นของ TFM มีวอลุ่มสภาพคล่องการซื้อขายที่ต่ำมาก ดังนั้นเชื่อว่าการแตกพาร์ ประกอบกับแผนกลยุทธ์การสร้างการเติบโตของบริษัทฯ ในอนาคต จะสามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องของหุ้น TFM ให้ดีขึ้น ขณะที่สัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) ปัจจุบันอยู่ที่ 31.70% มองว่าเป็นระดับที่มีความเหมาะสม

 

ปัจจุบัน TFM มี บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับที่ 1 ด้วยสัดส่วน 51%

The post TFM หันรุกตลาดต่างประเทศ หวังเพิ่มสัดส่วนรายได้ กระจายความเสี่ยงธุรกิจในประเทศ พร้อมตั้งเป้ารายได้รวมแตะ 1 หมื่นล้านบาทภายในปี 2573 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผ่ากลยุทธ์ใหม่ ‘ไทยยูเนี่ยน’ กับภารกิจครั้งสำคัญเสริมแกร่งธุรกิจหลัก สร้างคลื่นลูกใหม่ ขยายโอกาสผ่านน่านน้ำใหม่ ดันเป้ายอดขายปี 2573 ทะลุ 2.45 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 2 เท่า [PR NEWS] https://thestandard.co/thai-union-growth-strategy-2030-targets/ Tue, 19 Nov 2024 07:00:35 +0000 https://thestandard.co/?p=1010278 ไทยยูเนี่ยน

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี […]

The post ผ่ากลยุทธ์ใหม่ ‘ไทยยูเนี่ยน’ กับภารกิจครั้งสำคัญเสริมแกร่งธุรกิจหลัก สร้างคลื่นลูกใหม่ ขยายโอกาสผ่านน่านน้ำใหม่ ดันเป้ายอดขายปี 2573 ทะลุ 2.45 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 2 เท่า [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยน

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU ฉายภาพว่า ปัจจุบันโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป โดยเฉพาะการต้องเผชิญกับความท้าทาย ทั้งความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเติบโตของ GDP ทั่วโลกที่ยังชะลอตัว ตลอดจนภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น มีส่วนทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลง

 

นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย ผู้บริโภคหลายคนหันมาใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพตัวเองและสัตว์เลี้ยงมากขึ้นกว่าในอดีต สะท้อนให้เห็นว่าทุกความท้าทายที่เกิดขึ้นมีโอกาสให้ธุรกิจต้องคว้าเอาไว้ให้ได้

 

 

แม้สภาพตลาดยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนสูง แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณบวกจากอัตราดอกเบี้ยเริ่มลดลง และเงินเฟ้อเองก็ลดลงเช่นกัน จึงมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจกำลังจะกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น ซึ่งหากย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อนไทยยูเนี่ยนเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเน้นต่อยอดจากสินค้าเดิมไปสู่สินค้าใหม่และการเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศ

 

เปลี่ยนมุมมองการทำธุรกิจรับโลกยุคใหม่

 

แต่วันนี้ต้องบอกว่ามุมมองการทำธุรกิจของไทยยูเนี่ยนเปลี่ยนไปอย่างมาก เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เร็วขึ้น ไทยยูเนี่ยนไม่เคยหยุดนิ่งที่จะพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง นอกจากมุ่งเน้นการเติบโตของรายได้ยังต้องเน้นความสามารถในการทำกำไรให้มากขึ้น

 

 

ทั้งหมดจะช่วยให้องค์กรเดินหน้าไปสู่เป้าหมายสร้างยอดขายให้ได้ 2.45 แสนล้านบาท และทำกำไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2573

 

 

“เราพร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพจากท้องทะเล ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการมีสุขภาพที่ดีและท้องทะเลที่อุดมสมบูรณ์ขององค์กร” หัวเรือใหญ่ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ย้ำ

 

แล้วอะไรคือกุญแจช่วยผลักดันให้ไทยยูเนี่ยนสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

 

พอล เฮอร์โฮลซ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และทรานส์ฟอร์เมชั่น บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อไปว่า ความสำเร็จทั้งหมดจะมาจากแผนงานและกลยุทธ์ที่จะมุ่งสู่ปี 2573 เน้นให้ความสำคัญกับกลุ่มธุรกิจที่เติบโตได้ดี พร้อมเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจเดิม ธุรกิจใหม่ รวมถึงการควบรวมกิจการ เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

ไทยยูเนี่ยน

 

เมื่อมาดูหัวใจสำคัญของทิศทางการดำเนินธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 แกนหลัก เริ่มตั้งแต่

 

 

  1. สร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจหลัก ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป อาหารแช่เย็น และอาหารสัตว์ เพื่อสร้างกระแสเงินสดที่จำเป็นสำหรับการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตใหม่ๆ
  2. สร้างคลื่นลูกใหม่ของการเติบโต มุ่งเน้นกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็ว เช่น อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมรับประทาน และอินกรีเดียนท์ ซึ่งไทยยูเนี่ยนเชื่อว่าจะยังคงขับเคลื่อนการเติบโตของผลกำไรได้อย่างต่อเนื่อง
  3. การเปิดน่านน้ำใหม่ มุ่งเน้นการแสวงหาไอเดียและเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และโปรตีนทางเลือก เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของไทยยูเนี่ยนในอนาคต

 

 

กลยุทธ์ทั้งหมดช่วยวางรากฐานให้องค์กรแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืน

 

และจะยิ่งแข็งแรงมากขึ้นไปอีกคือบริษัทเตรียมดำเนินงานผ่าน 2 โปรเจกต์ทรานส์ฟอร์เมชันเข้ามาช่วย ซึ่งอยู่ภายใต้กลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573

 

ไทยยูเนี่ยน

 

  1. โปรเจกต์โซนาร์ (Project Sonar) ซึ่งเป็นโครงการทรานส์ฟอร์เมชันของกลุ่มบริษัท ที่วางรากฐานในการเติบโตระยะยาวและตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนเฉลี่ยต่อปี 2,625 ล้านบาท (75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป

 

 

แน่นอนว่าการจะลดต้นทุนได้ต้องปรับโครงสร้างองค์กรและการพัฒนาบุคลากร มุ่งเน้นลดต้นทุนด้วยการสร้างขีดความสามารถด้านการจัดซื้อและนำดิจิทัลและนวัตกรรมเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ซึ่งสัดส่วนงบประมาณ 40% ของเงินส่วนนี้จะถูกนำกลับมาลงทุนเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายธุรกิจต่อไป

 

  1. โปรเจกต์เทลวินด์ (Project Tailwind) เร่งการเติบโตในกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำไรจากการดำเนินงานประมาณ 1,750 ล้านบาท (50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อปี

 

สำหรับธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงตั้งแต่ปี 2570 เป็นต้นไป

 

หากพูดถึงสิ่งที่น่าสนใจของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงซึ่งเป็นตลาดที่กำลังสดใส จะนำความเชี่ยวชาญทางธุรกิจและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อตลาด รู้ลึก รู้จริง ถึงความต้องการของลูกค้า เข้ามาช่วยสร้างการเติบโตควบคู่กับการสร้างขีดความสามารถใหม่ๆ เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดซื้อและกระบวนการผลิต

 

 

ขณะเดียวกัน โปรเจกต์เทลวินด์จะมุ่งเน้นไปที่การเร่งขับเคลื่อนการเติบโตจากการเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจในปัจจุบันอย่างบริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จะมุ่งสร้างการเติบโตจากการควบรวมกิจการ โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้ 3 เท่าอยู่ที่ประมาณ 52,500 ล้านบาท (1,500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในปี 2573

 

สุดท้ายแล้วจะยิ่งเห็นภาพความสำเร็จได้มากขึ้น เมื่อทั้ง 2 โปรเจกต์ดำเนินการควบคู่กันไปและสอดคล้องกัน เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573 และยังส่งเสริมการรวมแผนงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในอนาคตได้อีกด้วย

 

ไทยยูเนี่ยน

The post ผ่ากลยุทธ์ใหม่ ‘ไทยยูเนี่ยน’ กับภารกิจครั้งสำคัญเสริมแกร่งธุรกิจหลัก สร้างคลื่นลูกใหม่ ขยายโอกาสผ่านน่านน้ำใหม่ ดันเป้ายอดขายปี 2573 ทะลุ 2.45 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 2 เท่า [PR NEWS] appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยนมองบวก! กางแผนเสริมแกร่งธุรกิจอาหารทะเล-สัตว์เลี้ยง ดันเป้ายอดขายปี 2030 ทะลุ 2.45 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 2 เท่า https://thestandard.co/thai-union-seafood-pet-business/ Tue, 12 Nov 2024 04:13:13 +0000 https://thestandard.co/?p=1007597 ไทยยูเนี่ยน มองบวก! กางแผนเสริมแกร่งธุรกิจอาหารทะเล-สัตว์เลี้ยง

ตลาดเริ่มมีสัญญาณบวก! ‘ไทยยูเนี่ยน’ กางแผนยุทธศาสตร์เสร […]

The post ไทยยูเนี่ยนมองบวก! กางแผนเสริมแกร่งธุรกิจอาหารทะเล-สัตว์เลี้ยง ดันเป้ายอดขายปี 2030 ทะลุ 2.45 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 2 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยน มองบวก! กางแผนเสริมแกร่งธุรกิจอาหารทะเล-สัตว์เลี้ยง

ตลาดเริ่มมีสัญญาณบวก! ‘ไทยยูเนี่ยน’ กางแผนยุทธศาสตร์เสริมแกร่งธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและอาหารสัตว์เลี้ยงที่กำลังโตแรง พร้อมรอจังหวะหาน่านน้ำใหม่ ดันเป้ายอดขายปี 2030 ทะลุ 245,000 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 2 เท่า

 

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และมีความท้าทายด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเติบโตของ GDP ทั่วโลกชะลอตัว รวมถึงภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคลดลงและมีพฤติกรรมหันมาใช้จ่ายเพื่อสุขภาพตัวเองและสัตว์เลี้ยงมากขึ้น

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ถึงกระนั้นสภาพตลาดยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณบวกจากอัตราดอกเบี้ยเริ่มลดลง ที่ผ่านมาองค์กรเตรียมพร้อมมาแล้ว ซึ่งหากย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อนไทยยูเนี่ยนเติบโตอย่างเร็ว เพราะเน้นต่อยอดจากสินค้าเดิมไปสู่สินค้าใหม่ รวมถึงเน้นบริหารต้นทุนต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แต่เมื่อบริบทเปลี่ยนบริษัทจึงต้องเปลี่ยนแปลงในเชิงลึกมากขึ้น และพยายามหาโอกาสสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจหลักควบคู่ไปกับมองหาการควบรวมกิจการเพิ่มแหล่งรายได้ใหม่

 

สำหรับทิศทางการดำเนินงานต่อจากนี้ บริษัทวางกลยุทธ์ปี 2030 มุ่งให้ความสำคัญกับการเสริมแกร่งธุรกิจหลัก ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป อาหารแช่เย็น และอาหารสัตว์เลี้ยง เพื่อสร้างกระแสเงินสดในการขยายธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตใหม่ๆ

 

ตามด้วยการสร้างคลื่นลูกใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจที่เติบโตเร็ว โดยเฉพาะอาหารสัตว์เลี้ยง โดยต้องการสร้างเทรนด์ใหม่ๆ และจะเน้นขยายสินค้าพรีเมียม พร้อมขยายไปยังตลาดอินโดนีเซีย

 

ส่วนธุรกิจอาหารแช่แข็ง อาหารพร้อมรับประทาน และวัตถุดิบ ก็จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาเติมตลาดต่อเนื่อง ซึ่งไทยยูเนี่ยนเชื่อว่าทุกธุรกิจจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของผลกำไรได้เป็นอย่างดี

 

พร้อมกันนี้ยังมองหาน่านน้ำธุรกิจใหม่ ซึ่งจะต้องเป็นธุรกิจที่มีภาพลักษณ์ที่ดีและมีผลประกอบการเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และโปรตีนทางเลือก โดยภาพรวมการลงทุนทั้งหมดบริษัทได้วางงบประมาณไว้ที่ 5,000 ล้านบาทต่อปี

 

นอกจากนี้ ยังปรับโครงสร้างองค์กรและการพัฒนาบุคลากร มุ่งเน้นลดต้นทุนด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ ตลอดจนการยกระดับความสามารถทางดิจิทัล การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเข้ามาช่วยในการทำงาน

 

นอกจากนี้ ภายใต้กลยุทธ์ปี 2030 บริษัทมีโปรเจกต์ทรานส์ฟอร์เมชัน ประกอบไปด้วย

 

  1. โปรเจกต์โซนาร์ บริษัทตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนเฉลี่ยต่อปีได้ 2,625 ล้านบาท เริ่มตั้งแต่ปี 2026 เป็นต้นไป โดยประมาณ 40% ของเงินส่วนนี้จะนำกลับมาลงทุน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและขยายธุรกิจต่อไป
  2. โปรเจกต์เทลวินด์ เป็นแผนการทรานส์ฟอร์เมชันของกลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงที่เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยจะเร่งเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจภายใต้บริษัท ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผ่านการสร้างการเติบโตจากการควบรวมกิจการ พร้อมทำการตลาดให้เข้าใจความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้ได้ลึกที่สุด โดยตั้งเป้าหมายทำรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่า หรือประมาณ 52,500 ล้านบาทภายในปี 2030

 

ทั้งนี้ กลยุทธ์ที่วางไว้จะช่วยให้บริษัทสร้างยอดขายได้ 245,000 ล้านบาท และเพิ่มกำไรเป็น 2 เท่า หรือ 24,500-28,000 ล้านบาทภายในปี 2030 ส่วนไตรมาส 3 มีอัตรากำไรสุทธิที่ 1,400 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.4% ส่วนใหญ่มาจากความต้องการซื้อที่เพิ่มขึ้นและต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง และประเมินว่าไตรมาส 4 จะรักษาระดับการเติบโตให้ได้ที่ 3-4%

The post ไทยยูเนี่ยนมองบวก! กางแผนเสริมแกร่งธุรกิจอาหารทะเล-สัตว์เลี้ยง ดันเป้ายอดขายปี 2030 ทะลุ 2.45 แสนล้านบาท กำไรพุ่ง 2 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
TU – พรีวิว 2Q67: คาดกำไรปกติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY https://thestandard.co/tu-expects-profit-to-increase-slightly-yoy/ Mon, 08 Jul 2024 00:34:27 +0000 https://thestandard.co/?p=954552

เกิดอะไรขึ้น:   พรีวิวผลประกอบการ 2Q67 InnovestX R […]

The post TU – พรีวิว 2Q67: คาดกำไรปกติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

พรีวิวผลประกอบการ 2Q67 InnovestX Research คาดว่า บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) จะรายงานกำไรสุทธิที่ 1.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 7%YoY แต่ลดลง 4%QoQ หากตัดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 200 ล้านบาทออกไป กำไรปกติ 2Q67 จะอยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2%YoY และ 45%QoQ กำไรปกติที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY มาจากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น ซึ่งจะมากเกินพอชดเชยอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายและดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น

 

ในขณะที่จะไม่มีการรับรู้ผลการดำเนินงานของ Red Lobster ใน 2Q67 หลังจากบริษัทปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน Red Lobster เป็นศูนย์เมื่อสิ้น 4Q66 กำไรปกติที่เพิ่มขึ้นมาก QoQ เป็นผลมาจากยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นจากปัจจัยฤดูกาล TU จะประกาศผลประกอบการวันที่ 7 สิงหาคม 2567

 

รายการที่สำคัญใน 2Q67

 

  1. ยอดขาย คาดว่าจะเติบโต 5%YoY เนื่องจากยอดขายที่ดีขึ้นจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงในสหรัฐฯ และยุโรปหักล้างยอดขายที่ลดลง จากธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งตามกลยุทธ์ปรับลดขนาดธุรกิจที่มีมาร์จิ้นต่ำในธุรกิจเทรดดิ้งล็อบสเตอร์และปลา รวมถึงอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงในสหรัฐฯ และมีผลบวกจากการแปลงค่าเงินจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า

 

  1. อัตรากำไรขั้นต้น จะกว้างขึ้นสู่ 18% (เพิ่มขึ้น 110bps YoY, เพิ่มขึ้น 70bps QoQ) จากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้นในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (เพิ่มขึ้น YoY, QoQ) จากปริมาณขายและสัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป (เพิ่มขึ้น QoQ) จากราคาผลิตภัณฑ์ OEM ที่สูงขึ้นท่ามกลางต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าที่ลดลง และธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง (เพิ่มขึ้น YoY) จากการปรับลดขนาดธุรกิจที่มีมาร์จิ้นต่ำ

 

  1. อัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขาย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสู่ 12.7% (เพิ่มขึ้น 100bps YoY, เพิ่มขึ้น 10bps QoQ) จากค่าใช้จ่ายการตลาดที่สูงขึ้น และค่าที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างธุรกิจ

 

  1. ผลกระทบจากการขาดแคลนเรือคอนเทนเนอร์ TU ได้รับผลกระทบเพียงเล็กน้อยจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนค่าระวาง เนื่องจากการขนส่งส่วนใหญ่อยู่ภายใต้สัญญา FOB โดยที่มีความล่าช้าเล็กน้อยในการรับรู้ยอดขายซึ่งเป็นผลมาจากการใช้ระยะเวลาขนส่งใน 2Q67 เพิ่มขึ้น 10 วันจาก 1Q67

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TU ปรับลง 1.33% สู่ระดับ 14.80 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 2.71% สู่ระดับ 1,301.04 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567:

 

InnovestX Research คาดว่ากำไร 3Q67 จะเพิ่มขึ้น QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากยอดขายที่ดีขึ้นจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และอัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะจากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปจากราคาผลิตภัณฑ์ OEM ที่ดีขึ้น (สัญญาระยะสั้น) ท่ามกลางต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าที่ลดลง (มีสต็อกอยู่ในมือราว 5 เดือน) และไม่มีผลขาดทุนจาก Red Lobster

 

ราคา Spot ปลาทูน่าท้องแถบเพิ่มขึ้น 11%QoQ สู่ 1,478 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ใน 2Q67 แต่ลดลง 21%YoY สู่ 1,406 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ใน 6M67 (เทียบกับ 1,784 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในปี 2566) ทั้งนี้ เมื่ออิงกับปัจจัยตามฤดูกาล TU คาดว่าราคา Spot ปลาทูน่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย MoM ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จากการเข้าสู่ช่วงห้ามจับปลาด้วยเครื่องล่อ (FAD) ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกของปีนี้ จากนั้นจะปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายปีนี้

 

เป้าหมายในปี 2567 TU ยังคงเป้ายอดขายเติบโต 3-4% อัตรากำไรขั้นต้นที่ 17-18% (เทียบกับ 17.1% ในปี 2566) และอัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขายที่ 11-12% ในขณะที่เงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่ามากกว่าสมมติฐานที่ TU วางไว้ก่อนหน้านี้ (36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2567TD เทียบกับ 33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐที่บริษัทตั้งสมมติฐานไว้ก่อนหน้านี้) และแนวโน้มที่จะมีการปรับเป้ายอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นสำหรับธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (ITC) เพิ่มขึ้นหลังจากตัวเลข 1H67 ออกมาแข็งแกร่ง บ่งชี้ถึงความเสี่ยงขาขึ้นต่อเป้าหมายปี 2567 ของ TU

 

สำหรับหุ้นที่ซื้อคืนมาจำนวน 200 ล้านหุ้น (4.2% จากหุ้นทั้งหมด) ใน 1H66 (ที่ต้นทุนเฉลี่ย 14.88 บาทต่อหุ้น) TU ประกาศจำหน่ายหุ้นซื้อคืนดังกล่าวในวันที่ 8-12 กรกฎาคม 2567 หรือลดทุนที่ชำระแล้วโดยการตัดหุ้นที่ซื้อคืนหลังจากวันที่ 12 กรกฎาคม 2567 เช่นเดียวกับที่เคยทำกับหุ้นซื้อคืนในปี 2563

 

แผนการจำหน่ายหุ้นซื้อคืนอาจเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นในระยะสั้น แต่หลังจากนั้นราคาหุ้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการดำเนินงานที่ดีขึ้นในระยะถัดไป โดยยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ TU โดยมีราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 18 บาทต่อหุ้น อ้างอิง PE 16 เท่า (PE เฉลี่ย 10 ปี)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ แรงกดดันเงินเฟ้อ และการแข็งค่าของเงินบาท ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญคือ การบริหารจัดการพลังงาน ของเสีย และน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ยังยืน (E) นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัย (S)

The post TU – พรีวิว 2Q67: คาดกำไรปกติเพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY appeared first on THE STANDARD.

]]>
TU – ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมากเกินไป https://thestandard.co/market-focus-tu-9/ Mon, 01 Apr 2024 10:15:37 +0000 https://thestandard.co/?p=917940 หุ้น TU ไทยยูเนี่ยน

เกิดอะไรขึ้น   InnovestX Research คาดการณ์กำไรสุทธ […]

The post TU – ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมากเกินไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น TU ไทยยูเนี่ยน

เกิดอะไรขึ้น

 

InnovestX Research คาดการณ์กำไรสุทธิ 1Q67 ของ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ที่ 902 ล้านบาท ลดลง 11%YoY แต่เพิ่มขึ้นจากขาดทุนสุทธิ 1.72 หมื่นล้านบาทใน 4Q66 หากตัดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 20 ล้านบาทออกไป กำไรปกติ 1Q67 จะอยู่ที่ 922 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%YoY แต่ลดลง 25%QoQ จากปัจจัยฤดูกาล ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้กำไรปกติเพิ่มขึ้น YoY คือ 

 

  1. ยอดขายที่ดีขึ้น (เพิ่มขึ้น 2%YoY) จากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง (เพิ่มขึ้น 15%YoY) และยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูป (เพิ่มขึ้นในอัตราเลขตัวเดียวระดับกลาง YoY) ที่เติบโตเพิ่มขึ้นจากปริมาณการขายที่สูงขึ้น ซึ่งมากเกินพอที่จะชดเชยยอดขายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งที่ลดลง (ลดลง 10%YoY จากการลดขนาดธุรกิจที่มีมาร์จิ้นต่ำในสหรัฐฯ เริ่มตั้งแต่ 2Q66 และลดลง 5%YoY จากอุปสงค์ที่อ่อนแอลงในสหรัฐฯ)

 

  1. อัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้นสู่ 16.90% (เพิ่มขึ้น 180bps YoY) เนื่องจากมาร์จิ้นที่ดีขึ้นของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งจากการมีสัดส่วนการขายที่ดีขึ้น จะช่วยชดเชยมาร์จิ้นที่อ่อนแอลงของธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปจากราคาสินค้ารับจ้างผลิต (OEM) ที่อยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับระดับราคา Spot ปลาทูน่า ท่ามกลางต้นทุนสต็อกปลาทูน่าที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ TU จะไม่มีการบันทึกผลการดำเนินงานจาก Red Lobster ใน 1Q67 (เทียบกับกำไร 272 ล้านบาทใน 1Q66 ส่วนแบ่งกำไร 20 ล้านบาท และเครดิตภาษี 252 ล้านบาท) หลังจากบริษัทปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน Red Lobster เป็นศูนย์เมื่อสิ้น 4Q66 โดย TU จะประกาศผลประกอบการวันที่ 8 พฤษภาคม

 

ส่วน 2Q67 คาดว่ากำไรปกติจะเติบโต QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY จากธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป (ต้นทุนปลาทูน่าที่แท้จริงลดลงท่ามกลางราคาผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น) และธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (สัดส่วนการขายดีขึ้น) ที่ดีขึ้น และไม่มีผลขาดทุนจาก Red Lobster (เทียบกับขาดทุน 55 ล้านบาทใน 2Q66)

 

ด้านโครงการซื้อหุ้นจะช่วยพยุงราคาหุ้นไม่ให้ปรับตัวลดลง คณะกรรมการของ TU มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน จำนวนไม่เกิน 200 ล้านหุ้น (4.30% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด) ในวงเงินไม่เกิน 3.6 พันล้านบาท นับถึงปัจจุบันบริษัทซื้อหุ้นคืนมาแล้ว 85.71 ล้านหุ้น (43% ของจำนวนหุ้นที่ตั้งเป้าซื้อคืน) ที่ต้นทุน 1.24 พันล้านบาท คิดเป็นต้นทุนซื้อคืนเฉลี่ย 14.40 บาทต่อหุ้น (ต่ำกว่าราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ 1%) โดยบริษัทยังคงเหลือหุ้นอีก 114 ล้านหุ้นที่สามารถซื้อคืน ซึ่งจะช่วยพยุงราคาหุ้นไม่ให้ปรับตัวลดลง

 

กระทบอย่างไร

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TU ปรับขึ้น 2.84% สู่ระดับ 14.50 บาทต่อหุ้น ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 0.77% สู่ระดับ 1,377.94 จุด 

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ

 

ราคาหุ้น TU ปรับตัวลดลง และ Underperform SET อยู่ 5% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยซื้อ-ขายที่ P/E ปี 2567 ระดับ 12.7 เท่า (-1S.D. จาก P/E เฉลี่ย 10 ปี) สะท้อนความกังวลของตลาดเกี่ยวกับธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปที่อ่อนแอใน 1Q67 ซึ่งมองว่าตลาดมีความกังวลมากเกินไป เนื่องจาก

 

  1. กำไรปกติ 1Q67 ประเมินได้อยู่ที่ 922 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%YoY โดยได้แรงหนุนจากยอดขายและมาร์จิ้นที่ดีขึ้น นำโดยธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง แต่ลดลง 25%QoQ จากปัจจัยฤดูกาล 

 

  1. โมเมนตัมกำไร 2Q67 จะแข็งแกร่งขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้น QoQ จากปัจจัยฤดูกาล และ YoY นำโดยธุรกิจอาหารทะเลแปรรูปและธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง และไม่มีผลขาดทุนจาก Red Lobster 

 

  1. โครงการซื้อหุ้นคืนจะช่วยพยุงราคาหุ้นไม่ให้ปรับตัวลดลง 

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุนยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ TU โดยให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2567 ที่ 18 บาทต่อหุ้น อ้างอิง P/E 16 เท่า (P/E เฉลี่ย 10 ปี)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ แรงกดดันเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และการแข็งค่าของเงินบาท ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารจัดการพลังงาน ของเสีย และน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ยังยืน (E) นโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน (S)

The post TU – ราคาหุ้นปรับตัวลดลงมากเกินไป appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กำไรปี 66 ทรุด 37% เหลือ 4,499 ล้านบาท https://thestandard.co/tu-profit-dropped-37-percents/ Mon, 19 Feb 2024 10:01:10 +0000 https://thestandard.co/?p=901822 ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป

ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ไตรมาส 4/66 บันทึกด้อยค่า 18,433 ล้าน […]

The post ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กำไรปี 66 ทรุด 37% เหลือ 4,499 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป

ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป ไตรมาส 4/66 บันทึกด้อยค่า 18,433 ล้านบาท จากแผนถอนการลงทุนในธุรกิจ Red Lobster แต่ยืนยันว่า ไม่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสดและความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทฯ

 

บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป หรือ TU รายงานผลประกอบการปี 2566 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 4,499 ล้านบาท ลดลง 37% ขณะที่อัตราส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 3.3% เทียบกับ 4.6% ในปี 2565 โดยการลดลงของกำไรสุทธิส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของกำไรจากการดำเนินงานและรายการที่ไม่ได้มาจากการดำเนินงาน ได้แก่ 

 

  1. ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 236 ล้านบาท มีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยและการลดลงของเครดิตภาษี

 

อย่างไรก็ดี กำไรสุทธิปกติที่อ้างอิงข้างต้นไม่รวมการด้อยค่าที่ไม่ใช่เงินสดครั้งเดียวจากแผนถอนการลงทุนในธุรกิจ Red Lobster โดยบริษัทฯ มีการบันทึกรายการด้อยค่าที่ไม่ใช่เงินสดครั้งเดียวในไตรมาส 4/66 ที่มูลค่า 18,433 ล้านบาท (527 ล้านดอลลาร์) จากแผนถอนการลงทุนส่วนน้อยใน Red Lobster

 

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นกู้อย่างเป็นเอกฉันท์ เรื่อง การขออนุมัติผ่อนผันหลักเกณฑ์การคำนวณอัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยและเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นของไทยยูเนี่ยนฯ ในปี 2566 ตามที่บริษัทฯ เสนอขอให้ไม่นับรวมรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าตามหลักการทางบัญชีจากแผนดังกล่าว เพราะเมื่อพิจารณาตัวเลขการหักรายการผลขาดทุนจากการด้อยค่าตามหลักการทางบัญชีแล้วไม่มีผลกระทบต่อกระแสเงินสด และความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทฯ ประกอบกับทริสเรทติ้งยังคงอันดับเครดิตและแนวโน้มอันดับเครดิตบริษัทฯ ในระดับ A+

 

สำหรับในปี 2566 มียอดขายอยู่ที่ 136,153 ล้านบาท ลดลง 12.5% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีอัตราการเติบโตสูงเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการขนส่งทั่วโลกที่กลับสู่ภาวะปกติทำให้ลูกค้าไม่มีความจำเป็นต้องกักตุนสินค้า 

 

ขณะที่การดำเนินงานไตรมาส 4/66 มียอดขาย 35,529 ล้านบาท ลดลง 10.3% จากยอดขายที่อยู่ในระดับสูงปีก่อน มีสาเหตุหลักจากยอดขายที่ลดลงในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง, ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เย็น และธุรกิจผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่มีปริมาณการขายที่ลดลง

 

ส่วนมีกำไรสุทธิไตรมาส 4/66 อยู่ที่ 1,243 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีการฟื้นตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีสาเหตุจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 68 ล้านบาท เทียบกับการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 468 ล้านบาทในไตรมาส  4/65 ซึ่งถูกชดเชยบางส่วนด้วยต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และผลกระทบจาก i-Tail Dilution จำนวน 95 ล้านบาท โดยอัตราส่วนกำไรสุทธิ (NPM) อยู่ที่ 3.5% 

 

นอกจากนี้ไทยยูเนี่ยนฯ ยังได้อนุมัติการจ่ายเงินปันผลครึ่งปีหลังให้แก่ผู้ถือหุ้นที่ราคา 0.24 บาทต่อหุ้น ส่งผลให้ปี 2566 บริษัทฯ จ่ายเงินปันรวม 0.54 บาทต่อหุ้น

 

 

ตั้งเป้ายอดขายปี 67 โต 3-4% พร้อมตั้งงบลงทุน 4-4.5 พันล้านบาท

 

สำหรับเป้าหมายผลการดำเนินงานปี 2567 ตั้งเป้าหมายยอดขายเพิ่มขึ้น 3-4% จากปี 2566 โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 17-18% อีกทั้งตั้งเป้าสัดส่วน SG&A ต่อยอดขายอยู่ที่ 11-12% และตั้งงบลงทุนในปี 2567 ไว้ที่ 4-4.5 พันล้านบาท เพื่อใช้ขยายธุรกิจ

 

ด้าน ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กล่าวว่า สำหรับผลประกอบการในไตรมาส 4/66 กลุ่มธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งและแช่เยือกแข็งมียอดขายอยู่ที่ 12,525 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 8% ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 14.4% เป็นผลจากกลยุทธ์การบริหารจัดการขนาดองค์กรที่สหรัฐอเมริกาและการบริหารจัดการระบบสินค้าคงคลังที่ดีขึ้น ขณะที่กลุ่มธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงมีอัตราการเติบโต 22.5% 

 

เนื่องจากการฟื้นตัวของคำสั่งซื้อจากกลุ่มลูกค้าหลักและระดับสินค้าคงคลังที่กลับสู่ภาวะปกติ รวมถึงการนำกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นตลาดเฉพาะกลุ่มประเภทอาหารสัตว์เลี้ยงชนิดเปียกและขนมสำหรับสัตว์เลี้ยง โดยในไตรมาส 4/66 ไทยยูเนี่ยนฯ ยังมีกระแสเงินสดอิสระเป็นบวกมูลค่าถึง 2,842 ล้านบาทมาจากความสามารถในการทำกำไร (EBITDA) ที่แข็งแกร่ง ประกอบกับมีการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ

 

“ปีที่ผ่านมานับเป็นปีแห่งความท้าทายจากการปรับขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่กดดันตลาดที่ไทยยูเนี่ยนฯ ดำเนินธุรกิจอยู่ ซึ่งมีผลต่อเนื่องไปถึงค่าครองชีพและกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมธุรกิจจะยังคงอยู่ในภาวะที่ยากลำบาก แต่ไทยยูเนี่ยนฯ ก็สามารถรับมือและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ในไตรมาสสุดท้ายของปียังสามารถทำกำไรได้ดีในทุกกลุ่มธุรกิจ” ธีรพงศ์กล่าว

The post ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป กำไรปี 66 ทรุด 37% เหลือ 4,499 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
TU – ถอนการลงทุนใน Red Lobster https://thestandard.co/tu-withdraw-from-red-lobster/ Thu, 18 Jan 2024 07:45:25 +0000 https://thestandard.co/?p=889253 TU

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา คณะ […]

The post TU – ถอนการลงทุนใน Red Lobster appeared first on THE STANDARD.

]]>
TU

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา คณะกรรมการของ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (TU) ได้มีมติประกาศ: 

 

  1. แผนถอนการลงทุนใน Red Lobster (ร้านอาหารในสหรัฐอเมริกา)
  2. โครงการซื้อหุ้นคืนเพื่อการบริหารทางการเงิน TU เห็นควรถอนการลงทุนใน Red Lobster 

 

ซึ่ง TU ได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยและเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ Red Lobster ตั้งแต่ปี 2559 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนวัตถุดิบ และค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบต่อบริษัทและธุรกิจ Red Lobster ในระยะถัดไป ซึ่งมีความต้องการใช้เงินสูง ไม่สอดคล้องกับแผนการจัดสรรเงินลงทุนของบริษัท 

 

โดยในระหว่างการศึกษาช่องทางที่เป็นไปได้ในการถอนการลงทุนนี้ TU จะบันทึกรายการด้อยค่าที่ไม่ใช่เงินสดครั้งเดียวจำนวน 1.85 หมื่นล้านบาทใน 4Q66 โครงการซื้อหุ้นคืน TU มีแผนซื้อหุ้นคืนในวงเงินไม่เกิน 3.6 พันล้านบาท จำนวนหุ้นซื้อคืนไม่เกิน 200 ล้านหุ้น (4.3% ของหุ้นทั้งหมด) โดยมีกำหนดระยะเวลาการซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 30 มิถุนายน 2567

 

สำหรับผลกระทบต่อผลประกอบการใน 4Q66 จะส่งผลลบ แต่จะส่งผลบวกตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป ด้วยหลักการบัญชีที่ยึดหลักความระมัดระวังของ TU ในการปรับมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน Red Lobster ให้กลายเป็นศูนย์ ณ สิ้น 4Q66 TU จึงจะไม่มีการบันทึกผลการดำเนินงาน (ส่วนแบ่งขาดทุน รายได้อื่น และรายได้ / ค่าใช้จ่ายภาษี) และภาระผูกพันที่เกี่ยวข้องจาก Red Lobster ตั้งแต่ 1Q67 เป็นต้นไป 

 

โดยจากการทำธุรกรรมครั้งนี้ แม้ว่า TU จะบันทึกค่าใช้จ่ายด้อยค่าครั้งเดียวจำนวน 1.85 หมื่นล้านบาทใน 4Q66 แต่ InnovestX Research คาดว่ากำไรของ TU จะปรับตัวดีขึ้น ~300 ล้านบาทในปี 2567 เนื่องจากจะไม่มีการบันทึกขาดทุนสุทธิจาก Red Lobster อัตราส่วน Net DE ของ TU จะเพิ่มขึ้นจาก 0.65 เท่า สู่ 0.84 เท่า แต่ยังต่ำกว่า Debt Covenant ที่ 2 เท่า ในขณะที่อัตราส่วน Interest Coverage Ratio ของ TU จะเพิ่มขึ้นเกิน 3 เท่า (สูงกว่า Debt Covenant จากหุ้นกู้ 2 ชุด มูลค่า 6.1 พันล้านบาท) และไม่สามารถจ่ายเงินปันผลปี 2566 ได้ (อ้างอิง Debt Covenant จากหุ้นกู้ 5 ชุด มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท) 

 

ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้และมุมมองของ TU ที่ว่า การบันทึกรายการด้อยค่าที่ไม่ใช่เงินสดจะไม่กระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัท TU จะขออนุมัติยกเว้นเงื่อนไข Debt Covenant จากผู้ถือหุ้นกู้ก่อนประกาศผลประกอบการในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ TU ยังมีวงเงินสินเชื่อที่ยังไม่เบิกใช้จำนวน 2.9 หมื่นล้านบาท (บริษัทประเมินต้นทุนทางการเงินระดับเดียวกับปัจจุบัน) เพื่อใช้รองรับการไถ่ถอนหุ้นกู้ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นกู้ไม่อนุมัติ

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TU ไม่เปลี่ยนแปลง ทรงตัวที่ระดับ 15.00 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.75% อยู่ที่ระดับ 1,380.65 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567:

 

InnovestX Research ปรับประมาณการผลประกอบการปี 2566 ของ TU ลดลงสู่ขาดทุนสุทธิ 1.38 หมื่นล้านบาท (จากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 4.6 พันล้านบาท) เพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายด้อยค่าจาก Red Lobster จำนวน 1.85 หมื่นล้านบาท ในขณะที่ปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 เพิ่มขึ้น 12% สู่ 5.7 พันล้านบาท เพื่อสะท้อนว่าไม่มีการบันทึกขาดทุนสุทธิจาก Red Lobster ประมาณปีละ 300 ล้านบาท และอัตรากำไรขั้นต้นที่กว้างขึ้น เนื่องจากราคาปลาทูน่าท้องแถบ (Spot Price) ที่ลดลงใน 4Q66 จะส่งผลทำให้ต้นทุนวัตถุดิบที่แท้จริงของ TU ลดลงใน 1H67 

 

ทั้งนี้ 1Q67 คาดว่ากำไรปกติจะเพิ่มขึ้น YoY จากมาร์จิ้นธุรกิจอาหารทะเลที่ดีขึ้น (ต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่าลดลง) และไม่มีการบันทึกขาดทุนจาก Red Lobster 

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ปรับคำแนะนำ Tactical Call สำหรับ TU ขึ้นจาก ‘NEUTRAL’ สู่ ‘OUTPERFORM’ ด้วยราคาเป้าหมายกลางปี 2567 ที่ปรับใหม่เป็น 17.50 บาทต่อหุ้น (จาก 16 บาท) อ้างอิง P/E 16 เท่า (P/E เฉลี่ย 10 ปี)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ แรงกดดันเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และการแข็งค่าของเงินบาท 

 

ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญ ได้แก่ การบริหารจัดการพลังงาน ของเสีย และน้ำ ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (E) และนโยบายด้านสุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงาน (S)

The post TU – ถอนการลงทุนใน Red Lobster appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยนติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ 10 ปีต่อเนื่อง ขึ้นแท่นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงแห่งทศวรรษ https://thestandard.co/thai-union-dow-jones-sustainability-indices-2023/ Wed, 13 Dec 2023 08:56:24 +0000 https://thestandard.co/?p=876387 ไทยยูเนี่ยน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทอาห […]

The post ไทยยูเนี่ยนติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ 10 ปีต่อเนื่อง ขึ้นแท่นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงแห่งทศวรรษ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทอาหารทะเลชั้นนำของโลก ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) 2023 เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน 

 

ไทยยูเนี่ยนได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์เป็นครั้งแรกในปี 2013 จากความสำเร็จต่างๆ และการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความพยายามของบริษัทในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ไทยยูเนี่ยนได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา  

 

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การได้รับการยอมรับและได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ต่อเนื่องถึง 10 ปี เป็นการยืนยันถึงความพยายามและความมุ่งมั่นของเราในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำเท่านั้น แต่หมายถึงการเป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณที่ดี ซึ่งกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 คือหัวใจสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่ออุตสาหกรรม” 

 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนใช้ DJSI เป็นเกณฑ์มาตรฐานประกอบการปรับปรุงพัฒนาและเพื่อท้าทายตัวเองอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการประเมินอันเข้มงวดของ DJSI เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวัดผล และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทด้านความยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความเป็นเลิศ โดยเฉพาะในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และความมุ่งมั่นที่ลงมือทำอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างเช่น การที่ไทยยูเนี่ยนได้ริเริ่มการบริหารจัดการการเงินเพื่อการทำงานด้านการอนุรักษ์ท้องทะเล หรือที่เรียกว่า Blue Finance 

 

SeaChange® หรือกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน เปิดตัวในปี 2016 และปรับปรุงใหม่ในปี 2023 ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งเป้าหมายใหม่จนถึงปี 2030 โดยถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจของไทยยูเนี่ยน ซึ่งปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนไว้ในทุกแง่มุมของการดำเนินงาน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายอันมุ่งมั่นผ่านเป้าหมายทั้ง 11 ประการที่เชื่อมโยงถึงกัน 

 

อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่ม ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การยอมรับจาก DJSI เป็นแรงบันดาลใจอย่างมากให้กับเราในการทำงานต่อไปในอนาคต เรามุ่งมั่นผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลกดีขึ้น และเรามั่นใจว่ากลยุทธ์ SeaChange® 2030 จะช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจริง วันนี้บริษัทกับพันธมิตรพร้อมแล้วที่จะช่วยพลิกโฉมทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลกหันมาร่วมกันทำให้โลกของเรายั่งยืน เพื่อคนรุ่นต่อไป”

 

เป้าหมายของกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ประกอบด้วย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42 เปอร์เซ็นต์ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2030 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050, การฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนงบประมาณ 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศสำคัญ นอกจากนี้ ยังลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์ ต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ ไทยยูเนี่ยนจะปรับปรุงระบบภายในโรงงาน เพื่อลดการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ ลดของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ และลดการสูญเสียอาหารเป็นศูนย์ ในโรงงานหลัก 5 แห่งทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการทำประมงอย่างรับผิดชอบ โดย 100 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทะเลที่จับจากธรรมชาติจะต้องผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ และไทยยูเนี่ยนยังคงเดินหน้าสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีคุณค่า ยอมรับความแตกต่างและหลากหลาย มีความเท่าเทียม

 

ในแต่ละปี S&P Global Corporate Sustainability Assessment (CSA) จะประเมินการทำงานด้านความยั่งยืนของบริษัทกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก โดย CSA ช่วยให้บริษัทต่างๆ เช่น ไทยยูเนี่ยน สามารถวัดผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมที่หลากหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับนักลงทุนที่เน้นเรื่องความยั่งยืน 

The post ไทยยูเนี่ยนติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ 10 ปีต่อเนื่อง ขึ้นแท่นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงแห่งทศวรรษ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยนคว้าอันดับ 1 ดัชนีอาหารทะเลยั่งยืน SSI 3 ปีซ้อน ย้ำความเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ UN https://thestandard.co/thai-union-no1-ssi-three-years-in-a-row/ Thu, 19 Oct 2023 01:06:12 +0000 https://thestandard.co/?p=856255 ไทยยูเนี่ยน อาหารทะเล

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้รับการจัดอันด […]

The post ไทยยูเนี่ยนคว้าอันดับ 1 ดัชนีอาหารทะเลยั่งยืน SSI 3 ปีซ้อน ย้ำความเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ UN appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยยูเนี่ยน อาหารทะเล

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้รับการจัดอันดับในดัชนี Seafood Stewardship Index (SSI) อยู่ในอันดับที่ 1 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ในฐานะผู้นำในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก และมีการทำงานสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN)

 

โดยดัชนี SSI มีองค์กร World Benchmarking Alliance (WBA) เป็นผู้ประเมินและจัดอันดับจาก 30 บริษัทด้านอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดในอุตสาหกรรมอาหารทะเล ในแง่ของหลักธรรมาภิบาล กลยุทธ์ ระบบนิเวศ ความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ และความรับผิดชอบต่อสังคม

 

WBA กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีความโดดเด่นในอุตสาหกรรม ในความพยายามของบริษัทเพื่อให้มั่นใจได้ว่าเรือประมงที่จัดหาวัตถุดิบให้นั้นมีสภาพการทำงานและความเป็นอยู่ที่ดี และยังคงมีการเฝ้าสังเกตเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับ และมีการแสดงหลักฐานในการพัฒนาปรับปรุงต่างๆ”

 

ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ที่ไทยยูเนี่ยนเรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำธุรกิจอาหารทะเลที่ได้รับความไว้วางใจที่สุดในโลก ดังนั้นเราจึงตระหนักดีว่าสิ่งที่จะทำให้เราบรรลุวิสัยทัศน์นี้ก็คือเราจะต้องสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ไม่เพียงแต่ในการผลิตของเราเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการจัดหาวัตถุดิบทั่วโลกทั้งหมดของเรา เราภูมิใจกับผลงานความสำเร็จที่ผ่านมา แต่ก็มองว่ายังมีความท้าทายอีกมากรอเราอยู่ข้างหน้า ไทยยูเนี่ยนยังคงมุ่งมั่นในการทำงานผ่านโครงการและแนวทางต่างๆ ที่จะสร้างผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์แก่ผู้คนและสิ่งแวดล้อมบนโลก”

 

ไทยยูเนี่ยนยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับต้นๆ ด้านความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ ส่วนหนึ่งจากการทำงานอย่างสม่ำเสมอของบริษัทและการเปิดเผยข้อมูลภายใต้โครงการของ Ocean Disclosure ที่ส่งเสริมด้านความโปร่งใสในอุตสาหกรรมอาหารทะเล โดยบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจอาหารทะเลสามารถแสดงข้อมูลการจัดหาอาหารทะเลสู่สาธารณชนได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลและขั้นตอนการทำงานต่างๆ ของหลักธรรมาภิบาลและกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานด้านความยั่งยืนตามกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท รวมทั้งไทยยูเนี่ยนยังทำผลงานได้ดีในการเปิดเผยการทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และรายงานผลจากการทำงานร่วมกันนั้น

 

ปัจจุบันไทยยูเนี่ยนได้รับการจัดอันดับเป็นที่ 1 ของดัชนี SSI ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกๆ 2 ปี และครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วนับจากครั้งแรกในปี 2562 และครั้งที่ 2 ในปี 2564 โดยการที่ไทยยูเนี่ยนสามารถคว้าอันดับที่ 1 ได้ในการจัดอันดับดัชนี SSI ในครั้งที่ 3 นี้เป็นการตอกย้ำความสำเร็จของกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ที่ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีการขยายเป้าหมายถึงปี 2573 เพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมอาหารทะเลโลก

 

อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การที่ไทยยูเนี่ยนได้รับการจัดอันดับในดัชนี SSI ในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการทำงานด้านความยั่งยืนของเราได้ส่งผลบวกต่อธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลก ไทยยูเนี่ยนได้คะแนน 47.5 จาก 100 คะแนนเต็ม แสดงให้เห็นว่ายังมีความท้าทายรอเราและอุตสาหกรรมอยู่อีกมาก ไทยยูเนี่ยนมีการตั้งเป้าหมายไว้ว่าการทำงานของเราผ่านกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ที่ได้ขยายขอบเขตการทำงานผ่านพันธกิจ 11 ประการ จะช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระดับสากลและยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติถึง 10 ข้ออีกด้วย กลยุทธ์ SeaChange® 2030 ยังมีเป้าหมายใหม่ๆ ในด้านที่ SSI ทำการประเมิน ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศและความสามารถในการตรวจสอบย้อนกลับได้ ทำให้เรามองเห็นโอกาสที่จะพัฒนาการทำงานของเราต่อไป”

 

นอกจากนี้ดัชนี SSI ยังเป็นการวัดว่าบริษัทอาหารทะเลชั้นนำของโลกได้ทุ่มเทในการจัดการอย่างยั่งยืนให้กับมหาสมุทรและระบบนิเวศชายฝั่งอย่างไร ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่ามาตรการต่างๆ ที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมีการดำเนินการ เพราะบริษัทเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการหล่อเลี้ยงผู้คนหลายพันล้านทั่วโลก ซึ่งทาง SSI ยังระบุว่าทั้ง 30 บริษัทที่ได้รับการประเมินนี้มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อธุรกิจการประมงในโลกและสามารถเร่งให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้

 

ในการประเมินนี้ SSI กล่าวว่าไทยยูเนี่ยนยังมีแง่มุมในการทำงานที่สามารถพัฒนาอีกได้ เช่น ในด้านสิ่งแวดล้อมในการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศจากการผลิตทั้งหมดได้อย่างไร

 

ทั้งนี้ กลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ยังมีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42% ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 รวมถึงจัดสรรงบประมาณบริษัทเป็นจำนวน 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศที่สำคัญ การเริ่มดำเนินการลดการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ ลดของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ และลดการสูญเสียอาหารเป็นศูนย์ ในโรงงานหลัก 5 แห่งทั้งในและต่างประเทศ กุ้งเพาะเลี้ยงทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ของเราจะต้องผลิตขึ้นโดยส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้อยที่สุด ขยายขอบเขตการทำงานในเรื่องอาหารทะเลที่จับจากธรรมชาติจะผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ ให้ครอบคลุมสายพันธุ์สัตว์น้ำหลักๆ ของธุรกิจ และสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีคุณค่า ยอมรับความแตกต่างและหลากหลาย มีความเท่าเทียม

The post ไทยยูเนี่ยนคว้าอันดับ 1 ดัชนีอาหารทะเลยั่งยืน SSI 3 ปีซ้อน ย้ำความเป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ UN appeared first on THE STANDARD.

]]>
ถอดรหัสความยั่งยืนทุกมิติ กับงาน ‘SUSTAINABILITY EXPO 2023’ นำโดย 5 องค์กรธุรกิจต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก จับมือภาครัฐ-เอกชนเปิดเวที ร่วมสร้างความยั่งยืนที่ใช้ได้ผลจริงในระยะยาว https://thestandard.co/sustainability-expo-2023/ Thu, 05 Oct 2023 02:00:01 +0000 https://thestandard.co/?p=850635 SX 2023

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทย […]

The post ถอดรหัสความยั่งยืนทุกมิติ กับงาน ‘SUSTAINABILITY EXPO 2023’ นำโดย 5 องค์กรธุรกิจต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก จับมือภาครัฐ-เอกชนเปิดเวที ร่วมสร้างความยั่งยืนที่ใช้ได้ผลจริงในระยะยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>
SX 2023

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานอำนวยการจัดงาน SX 2023 กล่าวว่า ไทยเบฟให้ความสำคัญกับการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติ โดยเราเชื่อว่างาน SUSTAINABILITY EXPO 2023 หรือ SX 2023 นั้นถือเป็นมหกรรมด้านความยั่งยืนที่จะเป็นโอกาสและเวทีกลางให้ทุกภาคส่วนได้มาร่วมพูดคุย แลกเปลี่ยน เรียนรู้เรื่องความยั่งยืน เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (SDGs) ภายในปี 2030

 

 

ถอดรหัสด้านความยั่งยืนในทุกมิติ

 

สำหรับงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023 จัดต่อเนื่องมา 4 ปี ถือเป็นงานเอ็กซ์โปเกี่ยวกับความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน บนพื้นที่จัดงานรวมกว่า 70,000 ตารางเมตร ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยงานเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำ ได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

 

 

หัวใจหลักของการจัดงานในครั้งนี้อยู่ภายใต้นิยามของคำว่า ‘พอเพียง ยั่งยืน เพื่อโลก’ (Sufficiency for Sustainability) ที่ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญกว่า 300 รายทั่วโลก และองค์กรชั้นนำของไทยและต่างประเทศกว่า 500 แห่ง มาให้ความรู้ ส่งต่อแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจผ่านโครงการต่างๆ ที่ทำสำเร็จจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

 

ควบคู่กับการจัดกิจกรรมเวิร์กช็อปเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ที่จะช่วยให้องค์กรและประชาชนนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงและสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ผ่านแนวคิด Good Balance, Better World สมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า

 

 

ส่องไฮไลต์เด็ดภายในงาน ‘SUSTAINABILITY EXPO 2023’

 

ยิ่งไปกว่านั้น ภายในงานจะมีทั้งหมด 8 โซน โดยหัวใจหลักของงานคือโซน SEP หัวใจของความยั่งยืน นิทรรศการที่จะช่วยให้เข้าใจถึงมิติคู่ขนานระหว่างโลกไร้สมดุลกับโลกแห่งสมดุลที่ดี ผ่านรูปแบบ Immersive Multimedia ที่ผสานความร่วมมือจากการนำเสนอผลงาน Collaboration ของศิลปิน BAB 2018 คุณสนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ (บีน) ผนวกกลุ่มสร้างแสงและเสียงร่วมสมัย ร่วมกับภาพมหัศจรรย์บนพื้นโลกจาก NAT GEO

 

 

ร่วมถ่ายทอดผ่านแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวเนื่องระหว่างองค์ประกอบและนโยบายต่างๆ ด้านความยั่งยืน ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถนำแรงบันดาลใจไปปรับใช้ในการสร้างความยั่งยืนได้

 

 

เช่นเดียวกับอีกหนึ่งไฮไลต์หลักๆ ในโซน ‘BETTER LIVING’ ซึ่งจะมีองค์กรชั้นนำขนาดใหญ่มานำเสนอกิจกรรมและโครงการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม ตามด้วยการสร้างระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและการยกระดับคุณภาพชีวิตที่เกิดจากการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทั้งหมดจะอยู่ภายใต้ 4 แกนหลัก เริ่มตั้งแต่

 

 

1. แนวทางในการดูแลบริหารจัดการน้ำ ภายในงานจะมีบูธของไทยเบฟที่มานำเสนอความสำคัญด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายของบริษัท เพื่อให้ลดการใช้น้ำและนำทรัพยากรน้ำกลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

 

 

ที่สำคัญยังได้ต่อยอดนโยบายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับนโยบายของกลุ่มไทยเบฟ หากย้อนกลับไปในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยเบฟได้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ การบริหารจัดการของเสีย การบริหารจัดการน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ เริ่มต้นด้วยโครงการการบริหารจัดการน้ำชุมชนของไทยเบฟ

 

 

ตามด้วยโครงการไทยเบฟรวมใจต้านภัยหนาว กับการนำเอาขวดพลาสติก PET หลังการบริโภคเข้าสู่ระบบรีไซเคิล และนำมาผลิตเป็นเส้นใย rPET เพื่อทำเป็นผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก พร้อมกับวิธีการจัดการขยะ และเสริมข้อมูลบรรจุภัณฑ์ของแต่ละผลิตภัณฑ์

 

 

รวมถึงในมุมสังคม ไทยเบฟนำกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มทางเลือกเพื่อสุขภาพ เข้ามาเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคและได้สนับสนุนโครงการต่างๆ โดยเน้นย้ำงานด้านสังคม ผ่าน 6 แกนหลัก ได้แก่ การพัฒนาด้านสาธารณสุข, การศึกษา, กีฬา, ศิลปะและวัฒนธรรม, การพัฒนาชุมชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

 

2. การลดคาร์บอนในหลากหลายมิติ ซึ่งปัจจุบันไทยเบฟได้ตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมตามหลักวิทยาศาสตร์อย่างน้อย 2.5% ต่อปี

 

 

3. ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยจะมีหลายองค์กรมาช่วยสะท้อนความสำคัญของความยั่งยืน ผ่านความหลากหลายทางชีวภาพที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างบูธของ BJC Glass ที่ได้นำเสนอขวดแก้ว บรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่มีจุดเด่นคือการนำเศษแก้วหมุนเวียนกลับมาผลิตใหม่ จนทำให้ปัจจุบันสามารถใช้ในการผลิตได้ถึง 85% และลดการใช้ทรัพยากรและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง

 

 

4. การจัดการของเสีย คือการลด การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์หลังการบริโภค ยกตัวอย่างจากบูธของโครงการ Aluminium Loop เป็นการเก็บกระป๋องอะลูมิเนียมกลับมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มกระป๋องอะลูมิเนียมใหม่อีกครั้ง

 

 

ทั้งหมดในโซน BETTER LIVING มีเป้าหมายเพื่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์หรือ Net Zero

 

ขณะที่โซนอื่นๆ ภายในงาน เริ่มตั้งแต่ โซน ‘BETTER ME’ มีหลายองค์กรมาอัปเดตเทรนด์สุขภาพและนวัตกรรมทางการแพทย์ในรูปแบบของ Application และ AI ที่จะนำไปสู่แนวทางการนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง ผ่าน 3 มิติ ได้แก่ สุขภาพ สังคมสูงวัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

ตามด้วยโซน ‘BETTER COMMUNITY’ ที่เน้นเปิดเผยมุมมองและเรื่องราวของสังคมเพื่อสร้างความเท่าเทียม รวมถึงการเปิดตลาดงานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคล พร้อมนำเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะความรับผิดชอบต่อสังคม ที่จะต้องมีการรวมตัวกัน การสืบสาน รักษา และต่อยอดมรดกทางวัฒนธรรม ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงต้นแบบของการพัฒนาชุมชนให้เกิดความยั่งยืน ทั้งชุมชน เมือง และภูมิภาค

 

รวมถึงโซน ‘BETTER WORLD’ ที่ได้รวมงานศิลป์มาสะท้อนมุมมองความยั่งยืนในหลากหลายรูปแบบ เช่น NAT GEO สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย และผลงานนานาชาติ 10 ประเทศอาเซียนที่ยังไม่เคยจัดแสดงที่ไหนมาก่อน จากโครงการ ASEAN SX Photo Contest และโครงการ Trash to Treasure เปลี่ยนขยะเป็นงานศิลป์ทรงคุณค่า พร้อมทั้งกิจกรรมต่างๆ ให้ร่วมประสบการณ์ใหม่ๆ

 

 

และยังมีโซนเทศกาลอาหารเพื่อโลก ‘SX FOOD FESTIVAL’ เรียกได้ว่าเป็นเทศกาลอาหารจากเชฟชื่อดัง หลากหลายร้าน และได้จำลองจุดแลนด์มาร์กชื่อดังร่วมสมัยในกรุงเทพฯ เมืองเก่าภูเก็ต และหัวเมืองสำคัญของไทยมาไว้ในที่เดียวกัน ผ่านธีม ‘THAI STREET FOOD MUSEUM : ไทยสตรีทฟู้ด ไทยสตรีทกู้ด ดีต่อไทย ดีต่อโลก’ ที่จะเน้นเสิร์ฟอาหารแนว Zero-Waste Cooking และแนว Sustainable Food ประเภทต่างๆ ถือเป็นการเรียนรู้การจัดการขยะอาหารเพื่อความยั่งยืนแบบเต็มรูปแบบ

 

ตามด้วยโซน ‘SX MARKETPLACE’ รวมร้านค้าจากดีไซเนอร์รักษ์โลก สินค้านวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม ต้นไม้ สินค้าตกแต่งบ้าน และสินค้าชุมชนกว่า 200 ร้านค้ามาไว้ในที่เดียว และโซน ‘SX KIDS ZONE’ ได้เปิดพื้นที่ให้เรียนรู้ทั้งในด้าน Digital Experience และ Environmental ที่สามารถสร้างจินตนาการและเสริมทักษะให้แก่เด็กๆ

 

พร้อมกันนี้ยังมีโซน ‘REPARTMENT STORE’ จุดเรียนรู้การแยกขยะ และจุดดรอปพอยต์ ที่เปิดให้นำสิ่งของที่ใช้แล้วมาแบ่งปัน ภายใต้แนวคิด ‘รวมให้ รวมแบ่งปัน’ ซึ่งของเหล่านั้นสามารถ Reduce, Reuse และ Recycle เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมไร้ขยะที่ยั่งยืน

 

ทั้งนี้ งาน SUSTAINABILITY EXPO 2023 จัดตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 8 ตุลาคม 2023 เวลา 10.00-20.00 น. ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยสามารถเข้าชมได้ฟรี เพื่อสร้างสมดุลที่ดี เพื่อโลกที่ดีกว่า

 

The post ถอดรหัสความยั่งยืนทุกมิติ กับงาน ‘SUSTAINABILITY EXPO 2023’ นำโดย 5 องค์กรธุรกิจต้นแบบด้านความยั่งยืนระดับโลก จับมือภาครัฐ-เอกชนเปิดเวที ร่วมสร้างความยั่งยืนที่ใช้ได้ผลจริงในระยะยาว appeared first on THE STANDARD.

]]>