บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 27 Dec 2023 01:41:48 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 หุ้นกู้ณุศาศิริเสี่ยง! หวั่นศึกผู้ถือหุ้นกระทบดีลขายสินทรัพย์หาเงินคืนหนี้ วิษณุจ่อฟ้องกลับประเดช เหตุบิดเบือนข้อมูลทำให้ชื่อเสียงเสียหาย https://thestandard.co/nusasiri-bonds-are-risky/ Wed, 27 Dec 2023 01:41:48 +0000 https://thestandard.co/?p=881498

‘วิษณุ’ ประธานบอร์ดณุศาศิริ จ่อฟ้องกลับ ‘ประเดช’ ทั้งคด […]

The post หุ้นกู้ณุศาศิริเสี่ยง! หวั่นศึกผู้ถือหุ้นกระทบดีลขายสินทรัพย์หาเงินคืนหนี้ วิษณุจ่อฟ้องกลับประเดช เหตุบิดเบือนข้อมูลทำให้ชื่อเสียงเสียหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘วิษณุ’ ประธานบอร์ดณุศาศิริ จ่อฟ้องกลับ ‘ประเดช’ ทั้งคดีแพ่ง-อาญา เหตุบิดเบือนข้อมูลทำให้ชื่อเสียงเสียหาย กล่าวหาขายสินทรัพย์ทุจริตบริษัท ระบุต้องการขายสินทรัพย์บางส่วนเตรียมแผนใช้คืนหนี้ครบดีล

 

วิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการบริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 8 ของ บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA เปิดเผยว่า ตนเองและกรรมการ (บอร์ด) ของ NUSA รวมจำนวน 7 ราย อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลหลักฐานเพื่อเตรียมฟ้องกลับดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับ ประเดช กิตติอิสรานนท์ กรรมการ และผู้ถือหุ้นใหญ่ NUSA ที่กล่าวหายื่นฟ้องตนเองและกรรมการรวมทั้ง 7 ราย โดยกล่าวหาจากกรณีที่การประชุมบอร์ด NUSA ในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 อนุมัติให้ผู้บริหารขายทรัพย์สินบริษัทล็อตใหญ่ จำนวน 6 รายการ มูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านบาท ว่าเป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมาย โดยประเดชบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริง โดยกล่าวหาว่าส่อมีการฉ้อโกงหรือส่อทำการทุจริต ซึ่งขอยืนยันว่าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง และสร้างความเสียหายให้กับทั้งครอบครัวของตนเอง, ผู้บริหาร, กรรมการ, บริษัท และสร้างความเข้าใจผิดให้กับนักลงทุน

 

โดยการอนุมัติจากบอร์ดดังกล่าวเป็นการอนุมัติหลักการในการขายทรัพย์สินเพื่อสร้างความคล่องตัวในการดำเนินการขายสินทรัพย์ ซึ่งบริษัทจำเป็นจะต้องแบ่งขายสินทรัพย์บางรายการออกมาเท่านั้น เพื่อให้ได้เงินสดกลับมา 2,000 ล้านบาท เพื่อเตรียมไว้สำหรับรองรับชำระหนี้คืนหนี้ที่จะต้องชำระคืนในปี 2567 รวมทั้งสิ้นประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งหนี้จำนวนดังกล่าวบางส่วนเป็นหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระ 750 ล้านบาท ซึ่งมีความเสี่ยงอาจ Rollover ไม่ได้ เพราะตลาดหุ้นกู้อยู่ในช่วงชะลอตัว ดังนั้นจึงต้องหาแนวทางป้องกันการผิดนัดชำระ (Default) พร้อมทั้งขอชี้แจงว่าเมื่อได้ขายสินทรัพย์และได้เงินครบตามแผนแล้วบริษัทไม่มีความจำเป็นและไม่มีแผนจะขายสินทรัพย์ทั้ง 6 รายการออกทั้งหมด ทั้งนี้ ในปี 2568 บริษัทยังมีหุ้นอีกมูลค่ารวม 900 ล้านบาทที่จะครบกำหนดชำระ

 

ทั้งนี้ หากรายการขายสินทรัพย์บางรายการมีผู้ซื้อตกลงซื้อและเข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ต้องผ่านความเห็นชอบของบอร์ด ก็จะนำกลับมาเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาเห็นชอบอีกครั้ง ดังนั้นในฐานะผู้บริหารยืนยันว่าเป็นการดำเนินการตามกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และบริหารธุรกิจอย่างถูกต้อง

 

ขณะนี้มีนักลงทุนที่สนใจเข้ามาติดต่อพูดคุยเพื่อขอซื้อหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วน 7.12% แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ โดยบริษัทจะนำหุ้น WEH ออกขายหากผลการเจรจาสำเร็จ แต่ยอมรับว่าประเด็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอาจจะทำให้ผู้ซื้อเกิดความกังวลอยู่บ้าง ทำให้มีการชะลอการตัดสินใจ รวมถึงหุ้น บมจ.เด็มโก้ หรือ DEMCO ที่บริษัทถือหุ้นในสัดส่วนราว 24% ก็จะมีการพิจารณาขายออกไปหากมีผู้สนใจ แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องขายสูงกว่าราคาตลาดหรือมูลค่าทางบัญชี

 

สำหรับแผนงานของ NUSA ในปี 2567 จะลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม 2 โครงการ ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับพันธมิตร มูลค่าโครงการละ 3,000 ล้านบาท เบื้องต้นจะเปิดเผยแผนการลงทุนร่วมกับพันธมิตรรายแรกเพื่อพัฒนาพื้นที่ภายในโครงการมายโอโซน เขาใหญ่ ในรูปแบบโรงแรมและที่อยู่อาศัย ภายในเดือนมกราคม 2567 ส่วนอีก 1 โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาทำเลที่ศรีราชาและพัทยา ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีที่ดินอยู่แล้ว

 

ปัจจุบัน NUSA มีผลขาดทุนสะสมประมาณ 3,400 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการขาดทุนสะสมจากภาระดอกเบี้ยค่าที่ดินที่อยู่ระหว่างรอการพัฒนา โดยบริษัทกำลังหาแนวทางในการพัฒนาโครงการเพื่อสร้างรายได้เข้ามาให้กับ NUSA รวมถึงการทยอยขายสินทรัพย์ของ NUSA ออกมา เพื่อทำให้บริษัทมีผลการดำเนินงานพลิกกลับมาเป็นบวกได้ในปี 2567 รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมของ NUSA เพื่อรองรับแผนการเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์ทางอ้อม (Backdoor Listing) ของ WEH ซึ่งหากมีความพร้อมคาดว่าจะยื่นไฟลิ่งและสามารถเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ในปี 2568

The post หุ้นกู้ณุศาศิริเสี่ยง! หวั่นศึกผู้ถือหุ้นกระทบดีลขายสินทรัพย์หาเงินคืนหนี้ วิษณุจ่อฟ้องกลับประเดช เหตุบิดเบือนข้อมูลทำให้ชื่อเสียงเสียหาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจาะปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้าน ทั้งธุรกิจขาดทุน-ผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องกันเอง นักวิเคราะห์มองเสี่ยงขาดสภาพคล่อง https://thestandard.co/what-dragging-down-nusasiri-stocks/ Tue, 26 Dec 2023 04:01:35 +0000 https://thestandard.co/?p=881052

ราคาหุ้นของ บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ผู้พัฒนาอสังหาริมทรั […]

The post เจาะปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้าน ทั้งธุรกิจขาดทุน-ผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องกันเอง นักวิเคราะห์มองเสี่ยงขาดสภาพคล่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ราคาหุ้นของ บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีย้อนหลัง โดยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ราคาหุ้นสูงสุดอยู่ที่ 1.83 บาท มีมาร์เก็ตแคปสูงถึง 2.39 หมื่นล้านบาท จนล่าสุดถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ราคาหุ้นร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 0.30 บาท ส่งผลให้มาร์เก็ตแคปลดลงเหลือเพียงประมาณ 3.9 พันล้านบาท เพียงไม่ถึง 2 ปี สูญมาร์เก็ตแคปไปเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จากหลายประเด็นข่าวและข้อมูล รวมถึงผลการดำเนินงาน 5 ปีย้อนหลังที่ขาดทุนมาตลอด ระดับ 400-900 ล้านบาทต่อปี 

 

จุดปรับกลยุทธ์สำคัญธุรกิจของ NUSA เกิดขึ้นเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา โดยในช่วงปลายปีก่อนหน้า NUSA ใช้เงินลงทุน 850 ล้านบาท รุกสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการพึ่งพาพอร์ตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ผลการดำเนินงานไม่ดี โดย NUSA เข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อตของ บมจ.เด็มโก้ หรือ DEMCO สัดส่วน 23.27% จากนั้นในช่วงต้นปี 2565 ประเดิมซื้อหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) สัดส่วน 7.12% บริษัทธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งที่ผ่านมามีคดีความข้อพิพาทมายาวนาน 9 ปี จนศาลอังกฤษมีคำตัดสินให้ ณพ ณรงค์เดช อดีตผู้ถือหุ้นของวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้แก่ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้ง และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WEH

 

ดีลยักษ์เพิ่มทุน PP หมื่นล้านแลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ สู่ Backdoor Listing 

 

ขณะที่ NUSA ยังรุกธุรกิจลงทุนพลังงานหมุนเวียนต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ประกาศออกหุ้นเพิ่มทุน PP ราคา 0.90 บาทต่อหุ้น มูลค่ารวมไม่เกิน 11,748.28 ล้านบาท เพื่อใช้ทำ Share Swap หรือชำระแลกกับหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ เพิ่มอีก 26.65% จากบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) บริหารงานโดยบุคคลใน ‘ตระกูลกิตติอิสรานนท์’ ซึ่งอีกสถานะหนึ่ง ตระกูลนี้ยังเป็นผู้ถือใหญ่ใน NUSA ด้วย ส่งผลให้เมื่อดีลจบ NUSA เข้ามาถือหุ้น WEH ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวม 49.98% 

 

ส่งผลให้​ในวันถัดมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลคำนวณขนาดรายการได้มาซึ่งหุ้น WEH เตือนให้ผู้ลงทุนติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีคำเตือนเช่นเดียวกัน ทำให้ในที่สุด NUSA ต้องกลับลำรวมขนาดรายการการเข้าซื้อหุ้น WEH ทั้ง 2 ครั้งที่เกิดขึ้นให้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์ทางอ้อม (Backdoor Listing) แม้ว่าก่อนหน้านี้จะชี้แจงว่าดีลการแลกหุ้น PP กับหุ้นของ WEH ไม่มีเจตนาจะทำ Backdoor Listing  

 

ตามมาด้วยวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่ง NUSA ชี้แจงข้อมูลงบการเงินไตรมาสที่ 3/66 ซึ่งผู้สอบบัญชียังคงแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความซับซ้อนของการจัดโครงสร้างของผู้ขายโรงแรม สิทธิเครื่องหมายทางการค้า ใบอนุญาตต่างๆ ในประเทศเยอรมนี และมูลค่าเงินมัดจำรวม 937 ล้านบาท 

 

โดย NUSA ได้ออกมาชี้แจงในทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวแล้วดังนี้ 

  1. โรงแรม Panacée Grand Hotel Römerbad ตอนนี้ NUSA ได้สิทธิ์เป็นเจ้าของแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอน เพียงรอแค่ใบอนุญาตดำเนินการโรงแรม สามารถกลับรายการสินทรัพย์เป็นบวก พร้อมตีราคาตลาด รับรู้กำไรทันที .
  2. การขายทรัพย์สิน คือโครงการค้างสต็อก หากดูเงื่อนไขการขายแล้วผู้ซื้อต้องลงทุนอีกจำนวนมากกับแปลงที่ดินเปล่า โดยกรณีนี้หากผู้ซื้อได้กำไรต้องแบ่งกำไรให้ NUSA ครึ่งหนึ่ง
  3. กู้เงินมีการวางประกันถึง 5 เท่า โดยหากเปรียบเทียบกับราคาทุนกับราคาตลาดจะใช้ข้อมูลที่ต่างกัน เพราะหากเทียบราคาตลาดกู้เงินมีการวางประกัน 2 เท่ากว่า

 

จับตาผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องบอร์ด กรณีอนุมัติขายสินทรัพย์กว่า 1 หมื่นล้าน

 

ตามมาด้วยประเด็นร้อนแรงอีกครั้งในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เมื่อ ประเดช กิตติอิสรานนท์ กรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ NUSA รวมถึงยังเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร กรรมการ และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ กับพวก ยื่นฟ้องบริษัทและกรรมการบริษัทจากการประชุมบอร์ด NUSA ในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 อนุมัติให้ผู้บริหารขายทรัพย์สินบริษัทล็อตใหญ่ จำนวน 6 รายการ มูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านบาท หรือเกือบ 70% ของทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวมีทั้งหุ้นของวินด์ เอ็นเนอร์ยี่, หุ้น DEMCO และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งให้เหตุผลว่าผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เพราะยังไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น จึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติขายทรัพย์สินดังกล่าว โดยศาลได้ประทับรับฟ้องคดีแล้ว

 

โดยมีจำเลย 8 รายในคดีนี้ ประกอบด้วย 

  1. บมจ.ณุศาศิริ 
  2. วิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับที่ 8
  3. สมพิจิตร ชัยชนะจารักษ์ 
  4. ศิริญา เทพเจริญ  
  5. สมคิด ศริ 
  6. สิรินงคร์นาถ เพรียวพานิช 
  7. พิบูลย์ วรวรรณปรีชา 
  8. ธีรธัช โปษยานนท์

 

และในวันที่ 21 ธันวาคม บมจ.ณุศาศิริ แจ้งว่า ฝ่ายบริหารของบริษัทยังไม่ได้รับการแจ้งรายละเอียดของคดีที่ระบุว่าบอร์ดบริษัทบางรายถูกฟ้องร้องกรณีขายทรัพย์สินบริษัทฯ และยังไม่ได้มีนัดหมาย สอบถามจากศาลยุติธรรมแต่อย่างใด 

 

นักวิเคราะห์ แนะเลี่ยงหุ้น NUSA เสี่ยง Money Game 

 

นักวิเคราะห์รายหนึ่งเปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ปัจจุบันไม่มีนักวิเคราะห์ที่ออกบทวิเคราะห์ครอบคลุมหุ้น NUSA เนื่องจากโครงสร้างการทำธุรกิจที่มีความซับซ้อน อีกทั้งมีผลการเดินงานที่ขาดทุนมาต่อเนื่อง จึงขาดปัจจัยพื้นฐานในการมาสนับสนุน รวมถึงยังถูกมองว่าเป็นหุ้นที่มีลักษณะเป็นหุ้น Money Game ซึ่งมีประเด็นความขัดแย้งภายในระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงแนะนำให้ ‘หลีกเลี่ยงการลงทุน’

 

นอกจากนี้ NUSA ยังมีกระแสเงินสดที่ไม่ค่อยดี มีความเสี่ยงเกิดปัญหาเกี่ยวกับสภาพคล่องในอนาคตขึ้นได้ แม้ปัจจุบันจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่ 0.50 เท่าซึ่งถือว่าไม่สูง แต่ยังมีปัญหากระแสเงินสดที่ยังติดลบ ซึ่งทำให้มีความจำเป็นในการต้องจัดหาเงินกู้ยืมเข้ามาใช้ในการลงทุนค่อนข้างสูง แต่สร้างกำไรกลับมาได้ไม่ทัน 

 

ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงหากไม่สามารถขอกู้ยืมเงินต่อ (Rollover) ได้ในรูปแบบต่างๆ ก็เสี่ยงจะมีปัญหาสภาพคล่องเกิดขึ้นได้ โดยในปี 2567 NUSA มีหนี้ที่จะครบกำหนดชำระประมาณ 1.2 พันล้านบาท อีกทั้งยังมีหนี้สินระยะยาวอีกประมาณ 2.2 พันล้านบาท รวมหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 3.4 พันล้านบาท ขณะที่บริษัทมีสต็อกโครงการอสังหาริมทรัพย์รอขายมูลค่าประมาณ 1.7 พันล้านบาท ซึ่งแม้หากขายได้หมดก็ยังมีเงินไม่เพียงพอในการนำมาชำระคืนหนี้ที่มีได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องติดตามต่อว่าบริษัทจะมีวิธีในการบริหารจัดการหนี้ที่มีอย่างไร

The post เจาะปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้าน ทั้งธุรกิจขาดทุน-ผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องกันเอง นักวิเคราะห์มองเสี่ยงขาดสภาพคล่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
พลิกปมมหากาพย์ฟ้องร้องหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่ ‘ณพ ณรงค์เดช’ แถลงโต้ ยันความบริสุทธิ์จากข้อกล่าวหา ‘โกงเจ้าหนี้’ และ ‘ปลอมลายเซ็น’ https://thestandard.co/epic-lawsuit-against-weh/ Thu, 02 Nov 2023 11:06:27 +0000 https://thestandard.co/?p=861869 ฟ้องร้องหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่

มหากาพย์คดีฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัท วินด์ […]

The post พลิกปมมหากาพย์ฟ้องร้องหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่ ‘ณพ ณรงค์เดช’ แถลงโต้ ยันความบริสุทธิ์จากข้อกล่าวหา ‘โกงเจ้าหนี้’ และ ‘ปลอมลายเซ็น’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฟ้องร้องหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่

มหากาพย์คดีฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ยังไม่จบลงโดยง่าย แม้ก่อนหน้านี้จะมีคำตัดสินของศาลที่อังกฤษพิพากษาให้ ณพ ณรงค์เดช อดีตผู้ถือหุ้นโดยอ้อมของ WEH และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 30,000 ล้านบาท ให้แก่ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้งและอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WEH

 

อย่างไรก็ตาม คำตัดสินของศาลที่อังกฤษยังไม่ใช่บทสรุปของเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น เพราะยังคงมีอีกหลายคดีและหลายข้อสงสัย เกี่ยวกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากหุ้น WEH ที่จำเป็นจะต้องได้รับการพิสูจน์ด้วยกระบวนการยุติธรรมของไทย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ย้อนรอยการเปลี่ยนมือของหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’

 

ก่อนอื่นคงต้องย้อนไปดูกันก่อนว่าที่มาที่ไปของปมการฟ้องร้องตั้งแต่ปี 2561 เกิดมาจากสาเหตุใด และปัจจุบันใครกันแน่ที่เป็นผู้ถือหุ้นของ WEH ในส่วนที่มีคดีความฟ้องร้องกันอยู่นี้

 

วีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ ที่ปรึกษากฎหมาย เล่ารายละเอียดในส่วนนี้ว่า แท้จริงแล้วทั้ง นพพร ศุภพิพัฒน์ และ ณพ ณรงค์เดช ต่างไม่ได้ถือหุ้น WEH โดยตรง แต่เป็นการถือผ่านบริษัทที่ชื่อ Renewable Energy Corporation หรือ REC ก่อนจะปรับโครงสร้างและกลายมาเป็น เคพีเอ็น เอนเนอยี (ประเทศไทย) หรือ KPNET ซึ่ง REC เป็นผู้ถือหุ้นของ WEH ในสัดส่วน 59.45%

 

ณพซื้อหุ้น REC ต่อจากนพพร และกลายมาเป็นผู้ถือหุ้นทางอ้อมใน WEH ส่วนสาเหตุที่นพพรจำเป็นต้องขายหุ้น REC เนื่องจากปัญหาเรื่องคดีความส่วนตัว จนทำให้สถาบันการเงินระงับการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการของ WEH

 

หลังจากการโอนหุ้น REC ให้กับณพเสร็จสิ้น สถาบันการเงินจึงพร้อมจะกลับมาปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการของ WEH อีกครั้ง แต่การให้สินเชื่อต้องสะดุดลง เมื่อนพพรกลับมาฟ้องร้องเพื่อเรียกหุ้นคืนจากณพด้วยประเด็น ‘โกงเจ้าหนี้’

 

เมื่อคดีความเกิดขึ้นจนทำให้บริษัทประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ทางแก้คือการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยการขายหุ้น WEH ที่ REC ถืออยู่ 59.45% ให้กับ คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา โดยคุณหญิงกอแก้วได้ทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนเป็น เกษม ณรงค์เดช เพื่อทำธุรกรรมในครั้งนี้ ก่อนที่หุ้น WEH จะถูกโอนไปให้กับบริษัท โกลเด้น มิวสิค จำกัด หรือ GML อีกทอดหนึ่ง

 

เส้นทางหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่

 

ปมขัดแย้งกับ ‘นพพร ศุภพิพัฒน์’

 

วีระวงค์เปิดเผยว่า คดีความที่นพพรฟ้องร้องณพ ประเด็นหลักคือการพิสูจน์ว่ามีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งเมื่อ 31 ตุลาคมที่ผ่านมา ศาลแขวงพระนครใต้ได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลยทุกคน ถือเป็นผลที่กลับด้านกับการตัดสินของศาลที่อังกฤษ

 

ในประเด็นนี้วีระวงค์ขยายความว่า การฟ้องร้องว่าโกงเจ้าหนี้โดยนพพรเกิดขึ้นเมื่อ 23 มกราคม 2561 เป็นคดีอาญา ซึ่งตามกระบวนการยุติธรรมของไทยโดยปกติแล้ว หากมีคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกัน คดีแพ่งที่ฟ้องร้องจะถูกพักไว้ก่อน และเมื่อมีคำตัดสินของคดีอาญาออกมาแล้วก็จะผูกพันกับคดีแพ่งด้วย

 

แต่กรณีนี้นพพรเลือกฟ้องร้องคดีแพ่งที่อังกฤษ ซึ่งศาลที่อังกฤษได้รับพิจารณาและตัดสินให้นพพรชนะคดี แต่คำตัดสินดังกล่าวไม่ได้มีผลผูกพันในประเทศไทย แต่จะมีผลกับทรัพย์สินในอังกฤษและประเทศที่ยอมรับกฎหมายของอังกฤษ เช่น ฮ่องกง

 

โดยสรุปแล้วด้วยคำพิพากษาจากศาลในไทย นพพรจึงไม่สามารถเรียกร้องเอาหุ้น REC คืนกลับไปได้

 

ด้านณพเปิดเผยว่าการจ่ายเงินซื้อหุ้น REC จากนพพรแบ่งออกเป็น 2 งวด งวดแรกจำนวน 90.5 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3,000 ล้านบาท และงวดที่สองอีก 85.75 ล้านดอลลาร์ หรือราว 3,000 ล้านบาท ส่วนที่ยังติดค้างกันอยู่ตามสัญญาและยังเป็นคดีความค้างอยู่คือเงินโบนัสที่ตกลงว่าจะจ่ายตามเงื่อนไข

 

ณพกล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้นพพรพยายามขัดขวางไม่ให้เขาสามารถหาเงินมาชำระค่าหุ้น REC ให้ทันตามกำหนด เพื่อที่จะได้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาการโอนหุ้นดังกล่าว

 

ปมขัดแย้งกับ ‘ครอบครัวณรงค์เดช’

 

คดีความฟ้องร้องกันระหว่างครอบครัวณรงค์เดชเกี่ยวกับหุ้น WEH เกิดขึ้นตามมาหลังคดีความกับนพพร ซึ่งณพบอกว่าที่ผ่านมามีความพยายามเจรจากับพี่น้องในตระกูลณรงค์เดชไม่ต่ำกว่า 20 ครั้ง “แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากข้อเสนอไม่อยู่บนหลักการของความเป็นจริง”​

 

หนึ่งในข้อเรียกร้องจากพี่และน้องคือ กฤษณ์ ณรงค์เดช และ กรณ์ ณรงค์เดช คือการแบ่งหุ้นในสัดส่วน 49% ให้โดยไม่ต้องชำระเงิน โดยอ้างว่าทั้งสองคนได้ร่วมลงทุนด้วยก่อนหน้านี้

 

ณพกล่าวต่อว่า เงินทุนที่นำมาซื้อหุ้น REC ต่อจากนพพร ส่วนหนึ่งเป็นการกู้ยืมจากเงินที่อยู่ในบัญชีร่วมของทั้ง 3 คนพี่น้อง และกู้ยืมจาก KPN Land ซึ่งเงินเหล่านี้ได้ชำระคืนพร้อมดอกเบี้ยแล้ว แต่ก็ยังมีเงินที่กู้ยืมจากครอบครัวอีกส่วนหนึ่งราว 500-600 ล้านบาทที่ยังค้างจ่ายคืนอยู่

 

“ก่อนหน้านี้เคยชักชวนครอบครัวมาร่วมลงทุน แต่ได้รับคำตอบว่าเพ้อฝัน ก่อนที่จะมาขอให้คุณหญิงกอแก้วช่วย ซึ่งตอนนั้น WEH ยังมีแค่ 2 โครงการ”

 

หลังจากนั้นศาลแพ่งกรุงเทพใต้ได้มีคำพิพากษายกฟ้อง โดยพิจารณาว่าทั้งกฤษณ์และกรณ์ไม่ได้ร่วมลงทุนจ่ายเงินซื้อหุ้น WEH

 

นอกจากนี้ณพเปิดเผยว่า ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา คดีความทั้งหมด 5 คดีที่ถูกฟ้องร้อง ต่างเป็นคดีที่ถูกยกฟ้องหรือไม่ก็ถอนฟ้องทั้งหมด รวมทั้งคดีปลอมลายเซ็นล่าสุด ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง โดยศาลใช้ดุลพินิจรับฟังว่าเอกสารทั้ง 6 ฉบับปลอม แต่ทางนำสืบและพยานหลักฐาน รวมทั้งคำเบิกความของพยานฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ได้ร่วมกันปลอมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องในการปลอม รวมทั้งไม่สามารถยืนยันได้ว่าใช้เอกสารปลอมดังกล่าว

 

ฟ้องร้องหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่

 

ด้าน คุณหญิงกอแก้ว บุณยะจินดา เปิดเผยว่า ที่ผ่านมารอความชัดเจนจากคำพิพากษาของศาลมาตลอด ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าไม่ได้โกงใคร และไม่ได้ปลอมลายเซ็นใคร เรามีหลักฐานการเงินทุกอย่างครบ

 

ไม่คิดเลยว่าเหตุการณ์วุ่นวายจะเกิดขึ้น หลังจาก WEH พ้นวิกฤตและทำรายได้ปีละหลายพันล้าน เมื่อนั้นคดีความต่างๆ และการกล่าวหาก็ตามมา เพื่อต้องการอยากได้หุ้น ซึ่งถ้าคุณลงทุนคุณก็ต้องได้หุ้น ถ้าคุณไม่ลงทุนคุณก็ไม่มีสิทธิ์ อันนี้เป็นข้อที่ชัดเจนอยู่แล้ว

 

อนาคตของ ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’

 

ปัจจุบันณพไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นทางตรงใน WEH และไม่ได้มีบทบาทในการบริหารงาน ณพเปิดเผยว่าลาออกจากตำแหน่งประธานบริหารเมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งในเวลานั้นผู้บริหารของบริษัทมองว่าหากณพยังมีอำนาจในการบริหารงานจะกระทบต่อการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของบริษัท

 

ปัจจุบันผลของคดีความต่างๆ ไม่ได้กระทบต่อการดำเนินธุรกิจของ WEH และโครงการต่างๆ ก็สามารถดำเนินต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องพิจารณากันต่อไปหลังจากนี้คือคำพิพากษาของศาลในคดีต่างๆ จะมีผลต่อโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ WEH อย่างไรบ้าง และใครจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ WEH 

 

ส่วน GML ที่เคยถือหุ้น WEH ในสัดส่วน 59.45% ปัจจุบันลดสัดส่วนลงมาเหลือประมาณ 30-40% ขณะที่ตระกูลกิตติอิสรานนท์ก็เป็นอีกหนึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ของ WEH ผ่านบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE)

 

ทั้งนี้ ความพยายามในการนำ WEH เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ยังคงดำเนินต่อไป โดยล่าสุด TONE อยู่ระหว่างการเจรจาขายหุ้นให้กับ บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) โดย NUSA จะชำระค่าหุ้นโดยการออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับ TONE ซึ่งคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ก่อนหน้านี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเข้าข่ายการเข้าจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) และเข้าข่ายถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการหรือไม่

The post พลิกปมมหากาพย์ฟ้องร้องหุ้นวินด์ เอนเนอร์ยี่ ‘ณพ ณรงค์เดช’ แถลงโต้ ยันความบริสุทธิ์จากข้อกล่าวหา ‘โกงเจ้าหนี้’ และ ‘ปลอมลายเซ็น’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ณุศาศิริ’ แก้ไขดีลซื้อหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ให้เป็น Backdoor Listing ตามที่ ก.ล.ต. สั่ง https://thestandard.co/nusa-weh-backdoor-listing/ Fri, 04 Aug 2023 07:10:22 +0000 https://thestandard.co/?p=825502

จากกรณีที่คณะกรรมการบริษัทของ บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) มีมติ […]

The post ‘ณุศาศิริ’ แก้ไขดีลซื้อหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ให้เป็น Backdoor Listing ตามที่ ก.ล.ต. สั่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากกรณีที่คณะกรรมการบริษัทของ บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นสามัญของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) โดยจะออกและจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนเพื่อจัดสรรให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) เป็นการตอบแทน 

 

ล่าสุดบริษัทได้แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พร้อมทั้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า เห็นควรให้รวมขนาดรายการการเข้าซื้อหุ้น WEH ทั้งเมื่อปีก่อนในสัดส่วน 7.12% และครั้งล่าสุดที่จะเข้าซื้อในสัดส่วน 26.65% ซึ่งทำให้บริษัทจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์ทางอ้อม (Backdoor Listing)

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งให้บริษัทดำเนินการแลก (Swap) หุ้นกับ WEH เป็นประเภท Backdoor Listing เมื่อบริษัทได้เตรียมการตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเห็นจากที่ปรึกษาการเงินอิสระ (IFA) ในเรื่องต่างๆ ครบถ้วนแล้ว 

 

นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทของ NUSA ยังได้มีมติให้สัตยาบันสำหรับการรับความช่วยเหลือทางการเงินจากบริษัท ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทในวงเงิน 260 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 รายการคือ 

 

  1. เงินกู้จำนวน 60 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 8.75% ต่อปี ระยะเวลากู้ 3 เดือน โดยมีหลักประกันเป็นการจำนำหุ้นของ WEH จำนวน 260,000 หุ้น เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

 

  1. เงินกู้จำนวน 200 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 8.75% ต่อปี ระยะเวลากู้ 6 เดือน โดยมีหลักประกันเป็นการจำนำหุ้น WEH 866,990 หุ้น เพื่อนำมารวมกับเงินของบริษัทใช้ชำระหนี้เงินกู้กับ ธนา พาวเวอร์ โฮลดิ้ง ตามสัญญาเดิมจำนวน 600 ล้านบาท 

 

ทั้งนี้ ราคาหุ้นของ NUSA ในช่วงครึ่งวันทำการแรกของวันนี้ (4 สิงหาคม) พุ่งขึ้นแตะระดับ 0.57 บาท เพิ่มขึ้นสูงสุด 14% จากวันก่อนหน้า ก่อนจะลดช่วงบวกลงมาปิดที่ 0.52 บาท 

The post ‘ณุศาศิริ’ แก้ไขดีลซื้อหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ให้เป็น Backdoor Listing ตามที่ ก.ล.ต. สั่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทสรุป 9 ปี คดีฟ้องร้อง ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ศาลอังกฤษสั่งชดใช้ 3 หมื่นล้านบาท จับตา! ตำนานบทใหม่ในมือตระกูลกิตติอิสรานนท์ https://thestandard.co/summary-of-lawsuit-against-wind-energy/ Thu, 03 Aug 2023 09:44:12 +0000 https://thestandard.co/?p=825175 คดี วินด์ เอนเนอร์ยี่

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลพาณิชย์ของอังกฤษมีคำ […]

The post บทสรุป 9 ปี คดีฟ้องร้อง ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ศาลอังกฤษสั่งชดใช้ 3 หมื่นล้านบาท จับตา! ตำนานบทใหม่ในมือตระกูลกิตติอิสรานนท์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คดี วินด์ เอนเนอร์ยี่

เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมที่ผ่านมา ศาลพาณิชย์ของอังกฤษมีคำตัดสินให้ ณพ ณรงค์เดช อดีตผู้ถือหุ้นของ วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้แก่ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้ง และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WEH 

 

บทสรุปคดีฟ้องร้องหุ้น WEH 

คดีความดังกล่าวดำเนินมาอย่างยาวนานถึง 9 ปี หลังจากที่นพพรฟ้องร้องจำเลยทั้งหมดว่าสมคบกันชักจูงให้เขาขายหุ้น WEH ให้ด้วยราคาที่ต่ำกว่ามูลค่า โดยมูลค่าหุ้นที่นพพรได้รับจากการขายอยู่ที่ 176 ล้านดอลลาร์ ต่ำกว่ามูลค่าหุ้นในเวลานั้นที่ 872 ล้านดอลลาร์ และปัจจุบันหุ้นดังกล่าวมีมูลค่าถึง 1.6 พันล้านดอลลาร์ 

 

หลังคำตัดสินใจดังกล่าว ดูเหมือนว่าคดีความที่ยืดเยื้อมานานคงจะได้บทสรุปไปแล้ว อย่างน้อยที่สุดก็โดยกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษ 

 

อย่างไรก็ตาม ประเดช กิตติอิสรานนท์ หนึ่งในบุคคลที่ถูกฟ้องร้องในคดีนี้ และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของ WEH ในปัจจุบัน เปิดเผยถึงผลการตัดสินในครั้งนี้ว่า ไม่มีผลผูกพันกับศาลไทยที่จะต้องปฏิบัติตามศาลอังกฤษที่มีคำพิพากษาไว้ หากจะให้มีผลผูกพันตามกฎหมายไทย ต้องยื่นฟ้องกันใหม่ในประเทศไทยเท่านั้น

 

ขณะที่ ณัฐพศิน เชฎฐ์อุดมลาภ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WEH ในปัจจุบัน ออกมาเปิดเผยเช่นกันว่า ผลการพิพากษาตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของตัวบุคคล และยืนยันว่าไม่ได้มีผลกระทบใดๆ ทั้งสิ้นต่อธุรกิจ การดำเนินธุรกิจ และการบริหารงานของ WEH 

 

WEH ในมือของตระกูลกิตติอิสรานนท์ 

ปัจจุบัน WEH มีหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่คือ บริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) บริหารงานโดยบุคคลในตระกูลกิตติอิสรานนท์คือ นันทิดา กิตติอิสรานนท์ และกำธร กิตติอิสรานนท์

 

อย่างไรก็ตาม TONE อยู่ระหว่างการทำธุรกรรมขายหุ้น WEH ให้กับ บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) ในสัดส่วน 26.65% ของหุ้นทั้งหมดของ WEH ซึ่งมูลค่าของการซื้อขายหุ้นในครั้งนี้อยู่ที่ราว 1.17 หมื่นล้านบาท โดย NUSA จะชำระราคาหุ้นด้วยการออกหุ้นเพิ่มทุนให้กับ TONE เป็นการตอบแทน และภายหลังจากการขายหุ้นดังกล่าว TONE จะปิดกิจการและโอนหุ้น NUSA ที่ได้รับมาทั้งหมดให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น 

 

หนึ่งในประเด็นที่ต้องติดตามสำหรับอนาคตของ WEH ซึ่งในอดีตถูกคาดหมายว่าจะเป็นหนึ่งในบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผ่านการขายหุ้น IPO แต่ล่าสุดดูเหมือนว่าธุรกิจของ WEH จะเข้ามาอยู่ภายใต้ NUSA ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อยู่แล้วในขณะนี้ 

 

แท้จริงแล้ว NUSA ไม่ได้เพิ่งตัดสินใจที่จะเข้าลงทุนใน WEH แต่ถือหุ้นอยู่ก่อนแล้ว 7.12% จากการเข้าลงทุนเมื่อเดือนมกราคม 2565 คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 3.54 พันล้านบาท ทำให้ภายหลังการซื้อหุ้น WEH เพิ่มเติมในครั้งที่สองนี้ จะทำให้ NUSA มีสัดส่วนการถือหุ้นใน WEH เพิ่มขึ้นเป็น 33.77% 

 

การซื้อหุ้นทั้งสองครั้งของ NUSA ทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะเข้าข่ายการเข้าจดทะเบียนโดยอ้อม (Backdoor Listing) และเข้าข่ายถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการหรือไม่ เพราะหากนำมูลค่าการลงทุนทั้งสองครั้งในหุ้น WEH มารวมกัน จะเป็นมูลค่าที่สูงเกินกว่า 100% ของสินทรัพย์ที่มีตัวตน

 

อย่างไรก็ตาม NUSA ชี้แจงว่า ธุรกรรมครั้งแรกมูลค่า 3.54 พันล้านบาท คิดเป็น 49.80% ของสินทรัพย์รวมของ NUSA ขณะที่การลงทุนในครั้งที่สองมูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 99.90% ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนของ NUSA 

 

การทำธุรกรรมครั้งที่สองเป็นเวลาห่างจากครั้งแรก 1 ปี 5 เดือน 27 วัน ซึ่งไม่ได้อยู่ในกรอบ 6 เดือน จึงไม่เข้าข่ายครอบงำกิจการ อีกทั้งผู้ขายหุ้น WEH ให้กับบริษัทในครั้งแรกและครั้งที่สองก็แตกต่างกันคือ ผู้ถือหุ้นรายย่อยและนิติบุคคลตามลำดับ 

 

แม้ TONE จะยอมปล่อยมือจาก WEH ไปให้กับ NUSA แต่สำหรับตระกูลกิตติอิสรานนท์อาจเป็นเหมือนกับการเปลี่ยนมือที่ใช้ถือครองเท่านั้น เพราะนันทิดา และกำธร กิตติอิสรานนท์ ก็เป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของ NUSA ซึ่งจะมีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นเป็น 16.6% และ 16.29% ภายหลังการทำธุรกรรมครั้งนี้ 

 

แนวโน้มธุรกิจของ WEH

ณัฐพศิน ซีอีโอของ WEH เปิดเผยว่า ผลประกอบการของ WEH ในครึ่งปีแรกของปี 2566 มีรายได้ 5.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 2.86 พันล้านบาท จากการดำเนินงานโรงไฟฟ้าทั้งหมด 717 เมกะวัตต์ 

 

“ล่าสุดบริษัทได้รับงานโครงการใหม่อีก 2 โครงการจากภาครัฐ ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมราว 170 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ บริษัทยังได้จับมือกับบริษัทชั้นนำของโลกในการพัฒนาโครงการในอนาคต ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการและจะมีการประกาศในอนาคตอันใกล้นี้” 

 

สำหรับกำลังการผลิตไฟฟ้า 717 เมกะวัตต์ มาจากโครงการ 8 แห่ง ประกอบด้วย

 

  1. โรงไฟฟ้าพลังงานลม FKW กำลังผลิต 103.5 MW เริ่มผลิตและจำหน่ายเชิงพาณิชย์ (COD) ปี 2555
  2. โรงไฟฟ้าพลังงานลม KR2 กำลังผลิต 103.5 MW เริ่ม COD ปี 2556
  3. โรงไฟฟ้าพลังงานลม WTB กำลังผลิต 60 MW เริ่ม COD ปี 2559
  4. โรงไฟฟ้าพลังงานลม T1 กำลังผลิต 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
  5. โรงไฟฟ้าพลังงานลม T2 กำลังผลิต 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
  6. โรงไฟฟ้าพลังงานลม T3 กำลังผลิต 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
  7. โรงไฟฟ้าพลังงานลม NKS กำลังผลิต 90 MW เริ่ม COD ปี 2561
  8. โรงไฟฟ้าพลังงานลม T4 กำลังผลิต 90 MW เริ่ม COD ไตรมาส 1/62

 

สำหรับปี 2565 WEH มีรายได้รวม 4.16 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 3.77 พันล้านบาท ส่วนปี 2564 มีรายได้รวม 4.09 พันล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 3.55 พันล้านบาท 

 

อ้างอิง:

The post บทสรุป 9 ปี คดีฟ้องร้อง ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ศาลอังกฤษสั่งชดใช้ 3 หมื่นล้านบาท จับตา! ตำนานบทใหม่ในมือตระกูลกิตติอิสรานนท์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
NUSA แจงปมศาลอังกฤษสั่ง ‘ณพ ณรงค์เดช’ จ่ายค่าเสียหายกว่า 3 หมื่นล้านให้อดีต CEO วินด์ เอนเนอร์ยี่ ยันไร้กระทบลงทุนหุ้น WEH เหตุเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้น https://thestandard.co/nusa-clarifies-court-narongdej/ Wed, 02 Aug 2023 09:33:19 +0000 https://thestandard.co/?p=824622

บมจ.ณุศาศิริ ชี้แจงกรณีศาลอังกฤษาตัดสินให้ ‘ณพ ณรงค์เดช […]

The post NUSA แจงปมศาลอังกฤษสั่ง ‘ณพ ณรงค์เดช’ จ่ายค่าเสียหายกว่า 3 หมื่นล้านให้อดีต CEO วินด์ เอนเนอร์ยี่ ยันไร้กระทบลงทุนหุ้น WEH เหตุเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.ณุศาศิริ ชี้แจงกรณีศาลอังกฤษาตัดสินให้ ‘ณพ ณรงค์เดช’ และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้แก่ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้ง และอดีต CEO วินด์ เอนเนอร์ยี่ ไม่กระทบลงทุนหุ้น WEH เหตุเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้น ไม่เกี่ยวข้องกับ WEH

 

วิษณุ เทพเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าตามที่มีข่าวปรากฏตามสื่อต่างๆ ว่าศาลอังกฤษได้มีคำตัดสินให้ ณพ ณรงค์เดช และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้แก่ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้ง และอดีต CEO ของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จํากัด หรือ WEH นั้น

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

โดย บมจ.ณุศาศิริ ขอแจ้งให้ทราบว่า บริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นใน WEH ในสัดส่วน 7.12% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ WEH ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ต่อคำตัดสินดังกล่าว เนื่องจากเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้นฝ่ายหนึ่งกับผู้ถือหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งของ WEH โดยบริษัทได้รับการยืนยันจากผู้บริหารของ WEH ว่าข้อพิพาทดังกล่าวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับตัวบริษัท WEH อีกทั้งหุ้นที่ บมจ.ณุศาศิริ เข้าซื้อจำนวน 7.12% ใน WEH ไม่ได้อยู่ในข้อพิพาทดังกล่าวแต่อย่างใด

 

ประเดช’ หุ้นใหญ่ NUSA จ่ายค่าหุ้นวินด์ เอ็นเนอร์ยี่ ครบถ้วน

 

ด้านประเดช กิตติอิสรานนท์ ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ของ บมจ.ณุศาศิริ เปิดเผยข้อเท็จจริงว่า เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2560 ณพ ณรงค์เดช และณัฐวุฒิ เภาโบรมย์ ได้พากันมาขอให้ตนช่วยซื้อหุ้น WEH จากบริษัท GML ซึ่งมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท WEH เนื่องจากณพต้องการนำเงินไปจ่ายค่าซื้อหุ้น WEH จากนพพร ศุภพิพัฒน์ ไม่เช่นนั้นธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) จะไม่ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม 5 โครงการ (T5) ให้แก่ WEH รวมถึงโครงการพลังงานลมวะตะแบกก็จะไม่สามารถเบิกเงินกู้จาก SCB มาใช้ในการก่อสร้างต่อไปได้ ซึ่งจะสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากให้กับ WEH

 

สำหรับราคาหุ้น WEH ที่ณพเสนอขายหุ้นรวมเป็นเงินทั้งหมด 5.9 พันล้านบาท ในราคาหุ้นละ 410 บาท โดยมีข้อตกลงให้ชำระเงินจำนวนครึ่งหนึ่งในวันโอนหุ้น ส่วนที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งให้ชำระเมื่อ WEH ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (IPO) ได้ ตนและนักลงทุนอีก 32 ราย จึงรวมเงินกันมาซื้อหุ้นดังกล่าวและมีการจ่ายเงินตามที่ตกลงไว้ครบถ้วน 

 

ทั้งนี้ ในการตัดสินใจซื้อหุ้นในตอนนั้น ประเดชยืนยันว่าไม่เคยรู้มาก่อนว่าณพซื้อหุ้นมาในราคาเท่าไร แต่มารู้ในภายหลังว่าณพซื้อหุ้นจากนพพรมาในราคาหุ้นละประมาณ 370 บาทต่อหุ้น ดังนั้นหุ้นที่ตนซื้อมาจึงมีราคาสูงกว่าหุ้นที่ณพได้ซื้อมาจากนพพร 

 

สำหรับการซื้อหุ้นดังกล่าว ประเดชมีความตั้งใจและเจตนาเพื่อเป็นการช่วยให้ WEH ไม่ได้รับความเสียหาย สามารถดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม T5 ต่อไปได้ จนเป็นที่มาของโรงไฟฟ้าพลังงานลม T5 ในปัจจุบัน ทั้งตนได้รับคำยืนยันจาก SCB ในขณะนั้นว่า หากซื้อหุ้นและชำระเงินค่าซื้อหุ้นให้แก่ณพแล้ว SCB จะปล่อยเงินกู้ให้กับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม T5 รวมถึงได้รับการยืนยันว่าหุ้นที่ซื้อจะไม่มีปัญหา เพราะการที่ณพถูกนพพรฟ้องที่อนุญาโตตุลาการประเทศสิงคโปร์เป็นเรื่องการฟ้องให้ชำระหนี้เงินค่าหุ้น ไม่ใช่ฟ้องเรียกเอาหุ้นที่ซื้อคืน

 

ส่วนกรณีที่ศาลสูงแห่งประเทศอังกฤษและเวลส์ (ศาลอังกฤษ) ได้มีคำพิพากษาใดก็ตาม ไม่มีผลผูกพันกับศาลไทยที่จะต้องปฏิบัติตามศาลอังกฤษที่มีคำพิพากษาไว้ หากจะให้มีผลผูกพันตามกฎหมายไทย ต้องยื่นฟ้องกันใหม่ในประเทศไทยเท่านั้น 

 

ในส่วนของประเดชนั้นไม่ได้ไปต่อสู้คดีที่ศาลอังกฤษ และน่าจะมีฝ่ายใดให้การหรือเบิกความถึงข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ ซึ่งพิจารณาดูตามคำพิพากษาของศาลอังกฤษแล้วอาจเป็นการฟังความจากฝ่ายเดียว ฉะนั้นความจริงจะปรากฏเมื่อหากคู่ความฝ่ายใดในคดีที่ศาลอังกฤษได้ยื่นฟ้องในศาลไทย ซึ่งหากมีการให้การเท็จใดๆ บุคคลนั้นอาจจะมีความผิดฐานเบิกความเท็จ ซึ่งประเดชพร้อมจะพิสูจน์ความจริงที่ศาลไทย

The post NUSA แจงปมศาลอังกฤษสั่ง ‘ณพ ณรงค์เดช’ จ่ายค่าเสียหายกว่า 3 หมื่นล้านให้อดีต CEO วินด์ เอนเนอร์ยี่ ยันไร้กระทบลงทุนหุ้น WEH เหตุเป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ถือหุ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
NUSA แจงไร้แผนทำ Backdoor ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ พร้อมระบุไม่ใช่การครอบงำกิจการ เหตุมีมูลค่าไม่ถึง 100% ของ NTA https://thestandard.co/nusa-no-plan-backdoor-weh/ Thu, 20 Jul 2023 10:05:15 +0000 https://thestandard.co/?p=819841 วิษณุ เทพเจริญ

บมจ.ณุศาศิริ ออกโรงชี้แจงการเข้าลงทุนซื้อหุ้น ‘วินด์ เอ […]

The post NUSA แจงไร้แผนทำ Backdoor ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ พร้อมระบุไม่ใช่การครอบงำกิจการ เหตุมีมูลค่าไม่ถึง 100% ของ NTA appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุ เทพเจริญ

บมจ.ณุศาศิริ ออกโรงชี้แจงการเข้าลงทุนซื้อหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ ครั้งที่ 2 สัดส่วนไม่เกิน 26.65% มูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาท ไม่ใช่การครอบงำกิจการ เหตุมีมูลค่าไม่ถึง 100% ของ NTA และไม่เข้าเงื่อนไขเป็นรายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์

 

วิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการ บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าสาเหตุที่คณะกรรมการ (บอร์ด) ได้อนุมัติการเข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) โดยไม่นับรวมรายการที่เข้าลงทุนใน WEH เมื่อปี 2565 จำนวน 7.12% เนื่องจากเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 บอร์ดของบริษัทได้อนุมัติการลงทุนซื้อหุ้น WEH ครั้งที่ 2 จำนวน 29.01 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 26.65% ในราคา 405 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่า 11,748.28 ล้านบาท โดยการซื้อในครั้งที่ 2 มีระยะห่างจากครั้งที่ 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี 5 เดือน 27 วัน โดยไม่ได้อยู่ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่เข้าตามเกณฑ์รายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ ส่งผลให้รายการดังกล่าวไม่เข้าข่ายเป็นรายการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์

 

ขณะที่การลงทุนใน WEH ในครั้งที่ 2 มีมูลค่ารวมอยู่ 11,748.28 ล้านบาท คิดเป็น 99.90% ของสินทรัพย์ที่มีตัวตนของบริษัท (NTA) ซึ่งไม่ถึง 100% ตามเกณฑ์ ดังนั้นจึงไม่เข้าข่ายการถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ อีกทั้งผู้ขายหุ้น WEH ในครั้งที่ 2 เป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นการซื้อจากบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) แตกต่างจากการลงทุนซื้อหุ้นเมื่อปี 2565 ที่ซื้อจากผู้ถือหุ้นรายย่อย

 

นอกจากนี้ยังมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการเห็นว่าการพิจารณาการลงทุน WEH ครั้งที่ 2 ไม่เข้าหลักเกณฑ์การคำนวณขนาดรายการการเข้าลงทุนจากที่ลงทุนไปแล้วเมื่อปี 2565 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เห็นว่าการทำธุรกิจทั้งสองครั้งควรคำนวณขนาดรายการเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้ขนาดการได้มาซึ่งสินทรัพย์มีมูลค่ามากกว่า 100% หรือมากกว่า เข้าข่ายเป็นการเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์ทางอ้อม (Backdoor Listing) โดยทางคณะกรรมการ บมจ.ณุศาศิริ ยืนยันว่าไม่มีเจตนากระทำดังกล่าว

 

อีกทั้งบริษัทต้องพยายามบริหารธุรกิจของบริษัทให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นเป็นสําคัญ ในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา สภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีมีผลกระทบกับการประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานการณ์โรคโควิด จะเห็นได้ว่ามีธุรกิจในประเทศไทยและในต่างประเทศประสบภาวะขาดทุน ต้องมีการปลดพนักงานหรือยกเลิกกิจการจํานวนมาก แต่ NUSA ยังคงประคองการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไว้ได้จากสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี 

 

ทั้งนี้ บริษัทจึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธทางธุรกิจ แสวงหาธุรกิจอื่นที่มีความมั่นคงและผลประกอบการดีต่อเนื่อง คณะกรรมการจึงตั้งเป้าไปที่ธุรกิจพลังงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า จึงเริ่มลงทุนใน WEH ในปี 2565 ในวงเงิน 3,545.77 ล้านบาท คิดเป็น 49.80% ของสินทรัพย์รวมของ NUSA ซึ่งในปีนั้นบริษัทได้รับเงินปันผลจากผลประกอบการปี 2565 จำนวน 162.70 ล้านบาท

 

นอกจากนี้ ในปี 2566 บริษัทพิจารณาลงทุนเพิ่มใน WEH โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ และพิจารณาเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบต่างๆ และได้รับเงินปันผลมาแล้ว 3 ครั้ง รวมเป็นเงิน 162.71 ล้านบาท

 

สำหรับการลงทุนใน WEH ดังกล่าวได้แต่งตั้ง บริษัท ดิสคัฟเวอร์ แมเนจเม้นท์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อการทำ Due Diligence โดยความสัมพันธ์บุคคลและการกระทำในลักษณะ Acting in Concert คณะกรรมการพิจารณาเห็นว่าแม้ผู้ถือหุ้นบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นบางรายจะมีความเกี่ยวพันทางเครือญาติ แต่บริษัทได้รับการยืนยันจากผู้ถือหุ้นทุกรายว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกันในการลงทุน จึงไม่เป็นบุคคลที่กระทำการร่วมกัน (Concert Party) ที่จะส่งผลให้ผู้ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นครั้งนี้ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างการรอผล Due Diligence

The post NUSA แจงไร้แผนทำ Backdoor ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่’ พร้อมระบุไม่ใช่การครอบงำกิจการ เหตุมีมูลค่าไม่ถึง 100% ของ NTA appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลท. เตือนนักลงทุนติดตามข้อมูล NUSA ด้วยความระวัง เหตุดีลซื้อหุ้น ‘WEH’ เพิ่ม เข้าข่าย Backdoor Listing ต้องทำตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง https://thestandard.co/set-nusa-stock/ Tue, 18 Jul 2023 04:11:45 +0000 https://thestandard.co/?p=818541 หุ้น NUSA

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ออกแถลงการณ์เตือนให้ […]

The post ตลท. เตือนนักลงทุนติดตามข้อมูล NUSA ด้วยความระวัง เหตุดีลซื้อหุ้น ‘WEH’ เพิ่ม เข้าข่าย Backdoor Listing ต้องทำตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น NUSA

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ออกแถลงการณ์เตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลของ NUSA ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากการซื้อหุ้น WEH เพิ่มเติมเข้าข่ายเป็นรายการ Backdoor Listing ที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

 

บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 อนุมัติซื้อหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) รวม 11,748 ล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุน NUSA ให้กับบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) ไม่เกิน 49.98% เป็นการตอบแทน ซึ่งมีขนาดของรายการ 99.90% เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 สำนักงาน ก.ล.ต. ให้ NUSA ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลการคำนวณขนาดรายการดังกล่าวที่ไม่เป็นไปตามความเห็นของสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ครบถ้วน ถูกต้อง โดยให้นับรวมขนาดรายการที่ NUSA ลงทุนหุ้น WEH เมื่อปี 2565 ด้วย ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 NUSA ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าจะเร่งประสานกับที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทุกด้าน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน ก่อนวันประชุมตามหน้าที่ของบริษัทมหาชนต่อไปโดยเร่งด่วน

 

เนื่องจากธุรกรรมดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัท หากรวมการซื้อหุ้น WEH ในปี 2565 ซึ่งมีขนาดรายการ 49% จะทำให้มูลค่ารายการเกิน 100% ซึ่งเข้าข่ายเป็นรายการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม (Backdoor Listing) ซึ่ง NUSA มีหน้าที่ต้องดำเนินการดังนี้

 

  1. ขออนุมัติการเข้าทำรายการต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยยื่นคำขอให้พิจารณารับหลักทรัพย์ใหม่ (Relisting) โดยไม่ชักช้า หากคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจพิจารณาเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท

 

  1. ขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเข้าทำรายการดังกล่าวโดยไม่ชักช้า หากมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นก่อนทราบผลการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามข้อ 1 บริษัทจะต้องระบุในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยชัดแจ้งว่าอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณา 

 

ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอคำชี้แจงของ NUSA และบริษัทต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลของ NUSA ด้วยความระมัดระวัง

The post ตลท. เตือนนักลงทุนติดตามข้อมูล NUSA ด้วยความระวัง เหตุดีลซื้อหุ้น ‘WEH’ เพิ่ม เข้าข่าย Backdoor Listing ต้องทำตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ก.ล.ต. สั่ง NUSA ให้ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลดีลเพิ่มทุน PP แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ มูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท ให้ครบถ้วนถูกต้อง https://thestandard.co/sec-nusa-clarify-and-update-information/ Tue, 18 Jul 2023 02:12:56 +0000 https://thestandard.co/?p=818468 บมจ.ณุศาศิริ

สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งให้ บมจ.ณุศาศิริ ชี้แจงและปรับปรุงข […]

The post ก.ล.ต. สั่ง NUSA ให้ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลดีลเพิ่มทุน PP แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ มูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท ให้ครบถ้วนถูกต้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
บมจ.ณุศาศิริ

สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งให้ บมจ.ณุศาศิริ ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลการคำนวณขนาดรายการกรณีการได้มาซึ่งหุ้น WEH พร้อมออกคำเตือนขอให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด 

 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุให้ บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลที่ได้เผยแพร่ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ที่มีข้อมูลการคำนวณขนาดรายการที่ไม่เป็นไปตามความเห็นของ ก.ล.ต. ให้ครบถ้วนถูกต้อง และขอให้ผู้ถือหุ้นศึกษาและติดตามข้อมูลของการทำรายการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น หาก NUSA ดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณารายการดังกล่าว หรือขอมติเพิ่มทุนจดทะเบียน รวมถึงการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ให้ NUSA ชี้แจงข้อมูล พร้อมทั้งได้แจ้งความเห็นของ ก.ล.ต. เกี่ยวกับการนับรวมขนาดรายการของแผนการลงทุนของ NUSA ที่จะมีการลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นของ WEH ที่เดิม NUSA ได้ลงทุนในหุ้น WEH ในปี 2565 ไปแล้วจำนวน 7.12% ของจำนวนหุ้น WEH ทั้งหมด ซึ่ง ก.ล.ต. พิจารณาและได้แจ้งความเห็นแล้วว่า เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการลงทุนเพื่อเป็นการกระจายการลงทุนไปในธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์เดิมที่ NUSA ตัดสินใจลงทุนในปี 2565 และเป็นการลงทุนในหุ้นของ WEH ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่ NUSA ได้ลงทุนไปก่อนหน้าแล้ว 

 

ดังนั้น จึงเห็นว่าควรรวมการคำนวณขนาดรายการของการลงทุนในหุ้น WEH ที่ลงทุนไปแล้วกับการลงทุนในครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่จะได้พิจารณาถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการลงทุนในหุ้น WEH ทั้งหมดด้วย ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2551 และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547 (ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ) 

 

โดยข้อ 12 ของประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดวิธีการพิจารณานับรวมขนาดรายการ โดยสรุปสาระสำคัญได้ว่า หากปรากฏว่าบริษัทจดทะเบียนมีการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์หลายรายการ ซึ่งโดยสาระสำคัญของการทำรายการดังกล่าวเป็นโครงการเดียวกัน ก็ให้นับรวมรายการได้มาหรือมีจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ในการคำนวณขนาดรายการด้วย ซึ่ง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ร่วมกันพิจารณารายการดังกล่าวด้วยแล้ว

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 NUSA ได้แจ้งข่าวผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/2566 ที่ประชุมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 เรื่องการได้มาซึ่งหุ้นของ WEH การลดทุนจดทะเบียน การเพิ่มทุนจดทะเบียน และการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) โดยระบุว่า คณะกรรมการ NUSA ได้มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จำนวนไม่เกิน 29,008,091 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 26.65% ของจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนและชำระแล้วของ WEH จากบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ WEH ในราคาหุ้นละ 405 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 11,748,276,855 บาท โดยมีขนาดของรายการสูงสุดเท่ากับ 99.90% ตามเกณฑ์มูลค่าหุ้นทุนที่ออกเพื่อชำระราคาสินทรัพย์ 

 

โดยคำนวณจากงบการเงินรวมของ NUSA ซึ่งผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีแล้ว สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ รายการดังกล่าวมีขนาดรายการสูงกว่า 50% แต่ต่ำกว่า 100% NUSA จึงมีหน้าที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องได้รับอนุมัติด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับรวมผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 

 

อย่างไรก็ดี การคำนวณขนาดของการทำรายการข้างต้นพิจารณาเพียงรายการซื้อหุ้น WEH ที่ NUSA จะลงทุนในครั้งนี้เท่านั้น โดยไม่ได้นับรวมรายการที่ NUSA ได้ลงทุนในหุ้นของ WEH ที่เกิดขึ้นไปแล้วในปี 2565 ด้วย

 

ก.ล.ต. ขอให้ NUSA ชี้แจงว่าเหตุใดคณะกรรมการจึงพิจารณาคำนวณขนาดรายการการลงทุนในหุ้น WEH โดยไม่นับรวมรายการที่ NUSA ลงทุนในหุ้น WEH เมื่อปี 2565 ด้วย ทั้งที่ NUSA ได้รับทราบความเห็นของ ก.ล.ต. แล้ว และขอให้ NUSA ทบทวนและปรับปรุงการคำนวณขนาดรายการข้างต้น โดยให้นับรวมขนาดรายการที่ NUSA ลงทุนในหุ้น WEH เมื่อปี 2565 ด้วย เพื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมในโครงการเดียวกัน และให้ผู้ถือหุ้นได้พิจารณาข้อมูลดังกล่าว 

 

รวมถึงขอให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลอื่น เช่น ความสัมพันธ์กับผู้ขายหุ้น WEH และหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่จะใช้ประกอบการพิจารณาก่อนที่ผู้ถือหุ้นจะลงมติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายการดังกล่าว ทั้งนี้ ขอให้ NUSA เปิดเผยข้อมูลคำชี้แจงข้างต้นในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับ-ส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบด้วย

 

นอกจากนี้ ก.ล.ต. ขอให้ผู้ถือหุ้น NUSA ศึกษาและติดตามข้อมูลการทำรายการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัท และหาก NUSA ดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณารายการดังกล่าว หรือขอมติเพิ่มทุนจดทะเบียน รวมถึงการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ก็ขอให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นด้วย 

 

The post ก.ล.ต. สั่ง NUSA ให้ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลดีลเพิ่มทุน PP แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ มูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท ให้ครบถ้วนถูกต้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
บอร์ด ‘ณุศาศิริ’ ไฟเขียวเพิ่มทุน PP จำนวน 1.3 หมื่นล้านหุ้น ใช้แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ 26.65% มูลค่ารวมไม่เกิน 1.17 หมื่นล้านบาท https://thestandard.co/nusasiri-increase-pp-capital/ Mon, 17 Jul 2023 06:20:54 +0000 https://thestandard.co/?p=818126 วิษณุ เทพเจริญ

บมจ.ณุศาศิริ ประกาศออกหุ้นเพิ่มทุน PP จำนวน 13,053.64 ล […]

The post บอร์ด ‘ณุศาศิริ’ ไฟเขียวเพิ่มทุน PP จำนวน 1.3 หมื่นล้านหุ้น ใช้แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ 26.65% มูลค่ารวมไม่เกิน 1.17 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิษณุ เทพเจริญ

บมจ.ณุศาศิริ ประกาศออกหุ้นเพิ่มทุน PP จำนวน 13,053.64 ล้านหุ้น ราคา 0.90 บาทต่อหุ้น มูลค่ารวมไม่เกิน 11,748.28 ล้านบาท ใช้ทำ Share Swap กับหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ สัดส่วน 26.65% ส่งผลให้หลังดีลจบผู้ถือหุ้น WEH จะเข้ามาถือหุ้น NUSA สัดส่วน 49.98% ดันราคาหุ้นบวกกว่า 18%

 

วิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) มีมติอนุมัติแผนเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) จำนวน 13,053.64 ล้านหุ้น 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

เพื่อแลกหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) จากบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) จำนวนไม่เกิน 29.01 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 26.65% ของจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนและชำระแล้วของ WEH มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ในราคาหุ้นละ 405 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 11,748.28 ล้านบาท 

          

ทั้งนี้ NUSA จะลดทุนจดทะเบียน 743.25 ล้านบาท จาก 16,571.36 ล้านบาท เป็น 15,828.12 ล้านบาท โดยการตัดหุ้นสามัญที่ยังไม่ได้จำหน่ายออก 743.25 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท จากนั้นจะเพิ่มทุนเพื่อชำระค่าซื้อหุ้น WEH จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 11,748.28 ล้านบาท ด้วยหุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 13,053.64 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 49.98% ของจำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ในราคาเสนอขายหุ้นละ 0.90 บาท อัตราการแลกเปลี่ยน (Share Swap) ที่ 1 หุ้นสามัญของ WEH ต่อ 450 หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บมจ.ณุศาศิริ

 

อย่างไรก็ดี ธุรกรรมการซื้อหุ้นสามัญของ WEH และธุรกรรมการจัดสรรหุ้นเพื่อตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH นั้น จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเงื่อนไขบังคับก่อนตามที่ระบุไว้ในสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างบริษัทและผู้ขายหุ้นใน WEH รวมถึงข้อตกลงและสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์ โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญดังต่อไปนี้ 

 

  1. บริษัทพึงพอใจในการตรวจสอบสถานะทางกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้น WEH ของผู้ขายหุ้นใน WEH

 

  1. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติธุรกรรมการจัดสรรหุ้นเพื่อตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH รวมทั้งอนุมัติเรื่องต่างๆ ที่จำเป็น และ/หรือ เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าว

 

  1. ไม่มีบุคคลภายนอกคัดค้านการเข้าทำธุรกรรมการซื้อหุ้นสามัญของ WEH ภายใน 2 สัปดาห์ นับแต่วันที่ผู้ขายหุ้นใน WEH ลงประกาศหนังสือพิมพ์ท้องที่ที่ WEH ตั้งอยู่ และ/หรือ ช่องทางอื่นตามที่บริษัทกำหนด เพื่อแจ้งการเข้าทำธุรกรรมและให้สิทธิในการคัดค้านการโอนหุ้นของตนให้แก่บริษัท

     

  1. ณ วันทำการซื้อขายหุ้นสามัญของ WEH ไม่มีเหตุการณ์หรือการกระทำใดๆ เกิดขึ้น หรือถูกทำให้เกิดขึ้น หรือมีเหตุอันควรจะคาดได้ว่าจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบอย่างมีนัยสำคัญต่อ WEH หรือขัดขวางการเข้าทำธุรกรรมการซื้อหุ้นสามัญของ WEH และธุรกรรมการจัดสรรหุ้นเพื่อตอบแทนการซื้อหุ้นสามัญของ WEH หรือไม่มีเหตุการณ์ที่กระทบความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้น WEH ของผู้ขายหุ้นใน WEH

         

  1. สำนักงาน ก.ล.ต. อนุมัติการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ขายหุ้นใน WEH ซึ่งเป็นบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) 

 

ทั้งนี้ บริษัทคาดว่ากระบวนการซื้อขายทั้งหมดจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนนับจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติ

 

ด้านการเคลื่อนไหวราคาหุ้น NUSA วันนี้ (17 กรกฎาคม) เปิดการซื้อ-ขายที่ 0.56 บาท บวก 3.70% ซึ่งเป็นราคาต่ำสุดของวันนี้ โดยระหว่างการซื้อ-ขาย ราคาปรับขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 0.64 บาท บวก 18.52%

The post บอร์ด ‘ณุศาศิริ’ ไฟเขียวเพิ่มทุน PP จำนวน 1.3 หมื่นล้านหุ้น ใช้แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ 26.65% มูลค่ารวมไม่เกิน 1.17 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>