บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 26 Nov 2024 01:49:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 คนหมดแรงผ่อนบ้าน หนี้เสียบ้าน 3Q67 พุ่ง 28% ด้านสภาพัฒน์ห่วง แนวโน้ม NPL เร่งตัวขึ้น สะท้อนปัญหาสภาพคล่องคนยังตึงตัว https://thestandard.co/housing-npl-rise-q3-67/ Tue, 26 Nov 2024 01:49:13 +0000 https://thestandard.co/?p=1012684

หนี้เสียสินเชื่อบ้านพุ่ง 28% ในไตรมาส 3 ด้านสภาพัฒน์ห่ว […]

The post คนหมดแรงผ่อนบ้าน หนี้เสียบ้าน 3Q67 พุ่ง 28% ด้านสภาพัฒน์ห่วง แนวโน้ม NPL เร่งตัวขึ้น สะท้อนปัญหาสภาพคล่องคนยังตึงตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

หนี้เสียสินเชื่อบ้านพุ่ง 28% ในไตรมาส 3 ด้านสภาพัฒน์ห่วง แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้บ้านที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะบ้านที่มีวงเงินสินเชื่อต่ำกว่า 3 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่ารายได้ของครัวเรือนบางกลุ่มยังไม่ฟื้นตัว และสถานะทางการเงินยังตึงตัว จากการเลือกที่จะผิดนัดชำระหนี้บ้านก่อนสินเชื่อประเภทอื่น แม้ว่าบ้านจะถือเป็นสินทรัพย์จำเป็น

 

ตามข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) แสดงให้เห็นว่า ในไตรมาส 3 ปี 2567 ยอดคงค้างสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นหนี้เสีย (NPL) อยู่ที่ 2.3 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 28% จากปีก่อน (YoY) นับว่าเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวของ NPL สินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 23.2% (YoY)

 

ขณะที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า จากข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) แสดงให้เห็นว่ามูลค่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เป็นหนี้เสีย (Housing NPL) หรือหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วันที่ ‘เพิ่มขึ้น’ สะท้อนให้เห็นว่าผู้คนเริ่มเลือกที่จะผิดนัดชำระหนี้บ้านที่ถือเป็นสินทรัพย์จำเป็น ทั้งต่อการอยู่อาศัยและบางส่วนยังใช้เป็นสถานที่ในการประกอบอาชีพ สะท้อนให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของครัวเรือนที่ตึงตัว

 

ทั้งนี้ ตามผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ เรื่อง ‘เข้าใจลำดับการผิดนัดชำระหนี้ครัวเรือนไทยจากข้อมูลเครดิตบูโร’ เมื่อปี 2566 พบว่าลูกหนี้ที่มีการก่อหนี้หลายประเภทเกือบ 1 ใน 3 เลือกที่จะผิดนัดชำระหรือหยุดชำระสินเชื่อบ้าน ก่อนสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคล เนื่องจากมีความสามารถในการชำระหนี้จำกัด จึงเลือกรักษาวงเงินที่เหลือในสินเชื่อบัตรเครดิตหรือสินเชื่อส่วนบุคคลไว้จับจ่ายใช้สอยแทน

 

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาหนี้เสียของสินเชื่อที่อยู่อาศัยจำแนกตามวงเงินสินเชื่อในไตรมาส 2 ปี 2567 จากฐานข้อมูลเครดิตบูโร จะพบว่าวงเงินต่ำกว่า 3 ล้านบาทมีสัดส่วนหนี้เสียสูงเมื่อเปรียบเทียบกับวงเงินอื่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่ยังไม่ฟื้นตัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขปัญหาหนี้เสียข้างต้น เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อเสถียรภาพทางการเงินและเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว

The post คนหมดแรงผ่อนบ้าน หนี้เสียบ้าน 3Q67 พุ่ง 28% ด้านสภาพัฒน์ห่วง แนวโน้ม NPL เร่งตัวขึ้น สะท้อนปัญหาสภาพคล่องคนยังตึงตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์หวั่น แบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อ อาจดันลูกหนี้หันกู้นอกระบบ https://thestandard.co/nesdc-banks-tight-loans-risk/ Mon, 25 Nov 2024 07:18:14 +0000 https://thestandard.co/?p=1012507

สภาพัฒน์เผย จากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินท […]

The post สภาพัฒน์หวั่น แบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อ อาจดันลูกหนี้หันกู้นอกระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

สภาพัฒน์เผย จากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง ทำให้มีความเสี่ยงที่ครัวเรือนต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น โดยเฉพาะลูกหนี้ที่กู้ในระบบเต็มวงเงินแล้ว ท่ามกลางภาวะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนยังลดลงต่อเนื่อง เห็นจาก NPL ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์คุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง รวมถึงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น เริ่มส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่กู้ในระบบเต็มวงเงินแล้ว ทำให้ไม่เหลือทางเลือกจนอาจต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบ

 

ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนยังลดลงต่อเนื่อง เห็นจากยอดคงค้างสินเชื่อบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วันขึ้นไป (NPL) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 มีมูลค่าเกือบ 1.2 ล้านล้านบาท จากมูลค่ากว่า 1.16 ล้านล้านบาทในไตรมาสที่ 2

 

คนก่อหนี้นอกระบบเพื่ออุปโภคบริโภค สะท้อนขาดสภาพคล่องรุนแรง!

 

จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ครัวเรือนไทยก่อหนี้นอกระบบคิดเป็นมูลค่า 6.7 หมื่นล้านบาท โดยจำนวนนี้เกือบครึ่ง (47.5%) เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภค สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องของครัวเรือน

 

โดยการก่อหนี้นอกระบบจะทำให้ลูกหนี้เสี่ยงตกอยู่ใน ‘วังวนหนี้สินไม่รู้จบ’ ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกฎหมายกำหนด ซึ่งบางครั้งสูงถึง 20% ต่อเดือน หรือ 240% ต่อปี นอกจากนี้ยังอาจถูกโกงจากสัญญาที่ไม่ชัดเจน การใช้วิธีการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายและรุนแรง เป็นต้น

 

แนวโน้มการก่อหนี้สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค ‘ในระบบ’ ก็ ‘เพิ่มขึ้น’

 

ไม่ใช่แค่ลูกหนี้นอกระบบที่ก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภค แต่ลูกหนี้ในระบบก็มีแนวโน้มก่อหนี้ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) และสินเชื่อบัตรเครดิต

 

โดยตามการประมวลผลของสภาพัฒน์ จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด และมีสัดส่วนของมูลค่าหนี้เสีย (NPLs) สูงที่สุดเมื่อเทียบกับหนี้ครัวเรือนประเภทอื่น

 

โดยสัดส่วนสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลในไตรมาส 2 ของปี 2567 คิดเป็น 27.9% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 25% จากไตรมาสแรกของปี 2555

 

สภาพัฒน์ยังเตือนว่าสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) และสินเชื่อบัตรเครดิต เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Loan) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูง ดังนั้นหากครัวเรือนไม่มีความระมัดระวังในการก่อหนี้หรือไม่มีวินัยการเงิน ก็จะนำไปสู่การติดกับดักหนี้ได้

 

ทั้งนี้ ตามข้อมูลล่าสุด (ไตรมาส 2 ปี 2567) หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.32 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.3% ชะลอลงจาก 2.3% ในไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ปรับลดลงจาก 90.7% ของไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 89.6% โดยหนี้สินครัวเรือนเกือบทุกประเภทมีการปรับตัวชะลอลงหรือหดตัวยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาระหนี้ที่สูง

The post สภาพัฒน์หวั่น แบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อ อาจดันลูกหนี้หันกู้นอกระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เจาะ มาตรการแก้หนี้ครัวเรือน แก้ปัญหาตรงจุดหรือไม่ | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-22112024-2/ Fri, 22 Nov 2024 07:08:29 +0000 https://thestandard.co/?p=1011573

เครดิตบูโรเผย หนี้เสียหรือ NPL ในไตรมาส 3/67 พุ่งสูงสุด […]

The post ชมคลิป: เจาะ มาตรการแก้หนี้ครัวเรือน แก้ปัญหาตรงจุดหรือไม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

เครดิตบูโรเผย หนี้เสียหรือ NPL ในไตรมาส 3/67 พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในฐานะผู้ประกอบการและนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ มีมุมมองต่อสถานการณ์นี้อย่างไร พูดคุยกับ สุธัช เรืองสุทธิภาพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เงินเทอร์โบ จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถ (VTLA)

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: เจาะ มาตรการแก้หนี้ครัวเรือน แก้ปัญหาตรงจุดหรือไม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เครดิตบูโร’ จับตาหนี้เสียไตรมาส 3 ไต่ระดับสู่ 1.2 ล้านล้านบาท หลังหนี้ SM เดือน ส.ค. อยู่ที่ 6.4 แสนล้านบาท ขณะที่ลูกหนี้เรื้อรังเข้าโครงการแก้หนี้เพียง 5,300 ราย จากลูกหนี้เข้าข่าย 5 แสนราย https://thestandard.co/credit-bureau-bad-debt-q3-2024/ Mon, 21 Oct 2024 04:20:20 +0000 https://thestandard.co/?p=998313

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัด […]

The post ‘เครดิตบูโร’ จับตาหนี้เสียไตรมาส 3 ไต่ระดับสู่ 1.2 ล้านล้านบาท หลังหนี้ SM เดือน ส.ค. อยู่ที่ 6.4 แสนล้านบาท ขณะที่ลูกหนี้เรื้อรังเข้าโครงการแก้หนี้เพียง 5,300 ราย จากลูกหนี้เข้าข่าย 5 แสนราย appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคมที่ผ่านมา สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) โพสต์ข้อมูลเรื่องสินเชื่อรายย่อยและหนี้เสียในระบบ (ที่เครดิตบูโรจัดเก็บ) ของไทย ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า 

 

สรุปตัวเลขสิ้นสุดเดือน​ 8 (สิงหาคม​ 2567)​ ซึ่งขอเน้นว่ายังไม่เห็นหรือรวมผลกระทบจากการที่เกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่​ โดยตัวเลขที่น่าสนใจจะเป็นตัวเลขสิ้นสุดไตรมาส​ 3 (กันยายน​ 2567)​ ซึ่งจะออกมาในช่วงสิ้นเดือนพฤศจิ​กายน​ 2567

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

จากภาพที่แสดง​มีความหมายดังนี้

 

  1. จากฐานข้อมูล​สถิติที่ไม่มีตัวตนของเครดิตบูโร ​ครอบคลุมหนี้สินรายย่อยของประชาชนที่ไม่รวมลูกหนี้นิติบุคคลนั้น ซึ่งรวบรวมจากสถาบันการเงิน​สมาชิกเครดิตบูโร​กว่า​ 158 แห่ง พบว่า ​มียอดสินเชื่อ​ 13.63 ล้านล้านบาท​ มีการเติบโต​ ​0.8%YoY, 0.0%MoM คือแทบไม่มีการเติบโต​

 

  1. หนี้เสีย หรือ​ NPL มาหยุดอยู่ที่​ 1.18 ล้านล้านบาท เคลื่อนที่ช้าๆ ไปสู่จุด​ 1.2 ล้านล้านบาท ตามที่คาดการณ์​ไว้เมื่อต้นปี​ 2567​ คิดเป็นอัตราส่วน​ 8.7% ของยอดสินเชื่อรวม

 

แน่นอนว่าหนี้เสียก้อนนี้ที่ค้างเกิน​ 90 วัน​ กำลังรอมาตรการแก้ไขแบบแรงๆ​ มีแรงจูงใจสูงทั้งเจ้าหนี้​ ลูกหนี้​ ให้เข้ามาตกลงกัน​ ภายใต้กติกาที่ผู้กำกับดูแลน่าจะได้ขยับเข้ามากระชับพื้นที่​ 

 

 

  1. หนี้กำลังจะเสีย หรือหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ หรือ​ SM ในเดือนสิงหาคม​ 2567 ในระบบของเครดิตบูโร ​มาหยุดอยู่ที่​ 6.4 แสนล้านบาท คิดเป็น​ 4.7% นิ่งๆ ซึ่งมาตรการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน หรือ​ Preemptive​ Debt​ Restructure (DR) ที่เริ่มให้บันทึกข้อมูล​ในระบบเครดิตบูโรตั้งแต่เดือนเมษายน​ 2567 ตอนนี้มียอดสะสมจนถึงเดือนสิงหาคม​ 2567​ คิดเป็น​จำนวน​ 1 ล้านบัญชีเศษ​ 

 

“ผมก็ไม่รู้ว่าทำกันมากน้อย เพราะไม่มีตัวเลขเปรียบเทียบก่อนหน้าเดือนเมษายน​ 2567​ เพราะไม่ได้รับอนุญาต​ให้เก็บข้อมูล​นี้ จำนวนเงินที่ทำ​ DR​ สะสมจนถึงตอนนี้​ 5.4 แสนล้านบาท”

 

มาตรการนี้เป็นเหมือนฝายทดน้ำไม่ให้​ SM ไหลไปเป็น​ NPLs เพราะตามเกณฑ์​การให้สินเชื่อที่รับผิดชอบ​ เจ้าหนี้ต้องยื่นข้อเสนอให้ลูกหนี้ ถ้าเห็นว่าลูกหนี้จะผ่อนตามเงื่อนไขเดิมไม่ไหว​ กล่าวคือปรับโครงสร้างหนี้ก่อนที่จะค้างเกิน​ 90 วัน​ ที่กำลังมีจำนวนทวีเพิ่มคือ​ลูกหนี้เริ่มร้องมาที่เครดิตบูโร​ว่า​ พอไปทำ​ DR มันกลายเป็นเหตุที่ทำให้ขอสินเชื่อไม่ได้​ ถูกปฏิเสธ​ หรือลูกหนี้บางรายบอกว่าเขายอมเข้าโครงการ​ DR เพราะนึกว่าไม่ใช่การปรับโครงสร้างหนี้ที่จะใส่รหัสไว้ในรายงานเครดิตบูโร​ บางรายก็บอกว่าข้อเสนอเจ้าหนี้ที่ให้ทำ​ DR ไม่ได้พูดชัดเจนว่าถ้าทำแล้วอาจได้รับผลกระทบอะไรบ้าง​ กล่าวสรุปคือบอกว่า​ ถ้ารู้ว่าจะโดนปฏิเส​ธสินเชื่อก็อาจไม่เข้าโครงการ​ DR 

 

“ท่านที่ออกกติกาครับ​ โปรดลงไปพูดจาให้เกิดการปฏิบัติอย่างที่ท่านมุ่งหมายด้วยนะครับ​ เป้าตัวเลขที่อยากได้​จากสถาบันการเงินเจ้าหนี้ กับปริมาณ​คำร้องที่มันเริ่มทวีมากขึ้น​ ท่านต้องรับด้วยนะครับ ถ้าเอาใจลูกหนี้มากก็เละ​ ถ้าไม่ชัดกับเจ้าหนี้มันก็ละล้าละลัง​กันไปทั้งขบวน สถานการณ์​แบบ ‘กลับก็ไม่ได้​ ไปก็ไม่ถึง’ ถ้ายังเป็นแบบนี้​ ขยันทำอยู่ผิดที่ 10 ปีก็ไม่ถึงเป้าหมายครับ”

 

 

 

  1. ภาพต่อมาคือข้อมูล​บางส่วนที่ท่านเลขาฯ​ กนง. นำออกมาแถลงชี้แจงผลการตัดสินใจลดดอกเบี้ยนโยบายของ​ กนง. กล่าวคือท่านผู้อ่านจะเห็นว่าการเติบโตของสินเชื่อทุกประเภทที่แสดงนั้นเติบโตในอัตราลดลง​ โดยเฉพาะเส้นสีฟ้าคือสินเชื่อ​ SME ติดลบ​ 3.3% ขณะที่​ NPLs​ ของสถาบันการเงิน (โปรดดูคำนิยามนะครับว่าครอบคลุมใครบ้าง​ เดี๋ยวจะงงว่าครบไม่ครบ)​ โดยเฉพาะ​ SMEs มันไปถึง​ 9.1% (ดูคำนิยามด้วยครับว่าใครคือ​ SME​s) ต่อด้วยสรุปประเด็นสำคัญจากการตัดสินใจของ กนง. ว่าเหตุปัจจัยที่ออกมา​ 5:2 ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายนั้นคืออะไร

 

มีข้อมูล​เพิ่มเติมเล็กๆ คือบัญชีสินเชื่อที่ถือว่าเป็นหนี้เรื้อรังที่ควรต้องได้รับการแก้ไข​ (Severe PD) ได้รับข้อเสนอจากเจ้าหนี้ให้เข้าโครงการแก้ไข​ และลูกหนี้ตอบรับการเข้ากระบวนการแก้ไขมีจำนวน​เพียง 5,300 บัญชี จากจำนวน​ 5 แสนบัญชีที่เข้าข่ายหนี้เรื้อรัง (ข้อมูล​ตามการแถลง)​ คิดเป็นเงินที่เก็บข้อมูล​ได้​ว่า เข้าโครงการปิดจบใน​ 5 ปีที่ดอกไม่เกิน​ 15% มีจำนวน 247 ล้านบาท จากยอดที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรัง​ทั้งหมดประมาณ​ 9.7 หมื่นล้านบาท (ข้อมูล​ตามการแถลงเช่นกัน)

 

สุดท้าย​ผมใคร่ขอเสนอเพื่อเป็นเครื่องเจริญสติ​ว่า เมื่อเรามีตำแหน่งหน้าที่ตามที่เรามุ่งหวัง​ ทะเยอทะยาน​ มุ่งมั่นเติบโต​จนมาถึงตำแหน่งแห่งที่นี้ หรือตัวเราในอดีตสมัครเข้ามาทำหน้าที่นั้นแล้ว​ อย่าลืม​วันนั้น อย่ากลัววันนี้ที่จะเสียตำแหน่ง​ แต่ควรกลัวที่จะไม่ได้ใช้ตำแหน่งแห่งที่​ อำนาจวาสนานั้น​ในเวลานี้ที่อยู่ในมืออย่างเต็มศักยภาพ​ คุ้มกับค่าจ้าง คุ้มกับความสนับสนุน​เพื่ออำนวยผลประโยชน์​ในทางบวกแก่ผู้คน (เปราะบาง แม้ไม่มีคำนิยามชัดจนถูกกล่าวว่ามันคือเพียง ‘วาทกรรม’ เพื่อให้ดูดี)

 

ตำแหน่งอยู่ไม่นาน​ ตำนาน (การทำเรื่องดีๆ) ​นั้นอยู่ตลอดไป​

 

อ้างอิง:

The post ‘เครดิตบูโร’ จับตาหนี้เสียไตรมาส 3 ไต่ระดับสู่ 1.2 ล้านล้านบาท หลังหนี้ SM เดือน ส.ค. อยู่ที่ 6.4 แสนล้านบาท ขณะที่ลูกหนี้เรื้อรังเข้าโครงการแก้หนี้เพียง 5,300 ราย จากลูกหนี้เข้าข่าย 5 แสนราย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: วิกฤตหนี้หนักกว่าต้มยำกุ้ง เสี่ยงลามรายได้สูง เงินเดือน 5 หมื่นมีอาการ! I Exclusive Interview EP.6 https://thestandard.co/the-standard-wealth-exclusive-interview-ep-6/ Fri, 11 Oct 2024 09:00:11 +0000 https://thestandard.co/?p=994677

ชวนวิเคราะห์สถานการณ์หนี้ครัวไทยปัจจุบันกับ สุรพล โอภาส […]

The post ชมคลิป: วิกฤตหนี้หนักกว่าต้มยำกุ้ง เสี่ยงลามรายได้สูง เงินเดือน 5 หมื่นมีอาการ! I Exclusive Interview EP.6 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ชวนวิเคราะห์สถานการณ์หนี้ครัวไทยปัจจุบันกับ สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) พร้อมจับสัญญาณความเสี่ยงที่ยังอยู่ในระบบ ท่ามกลางแนวโน้มที่ว่า หนี้เสีย (NPL) และหนี้ใกล้เน่า (SM) กำลังแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สะท้อนว่าลูกหนี้โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีรายได้น้อยกำลังเผชิญภาวะสภาพคล่องกำลังตึงตัว และภาวะ ‘หลุมรายได้-ภูเขาหนี้’ ขณะที่ผู้มีรายได้สูงก็เริ่มมีสัญญาณค้างชำระแล้ว

The post ชมคลิป: วิกฤตหนี้หนักกว่าต้มยำกุ้ง เสี่ยงลามรายได้สูง เงินเดือน 5 หมื่นมีอาการ! I Exclusive Interview EP.6 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เดือนเดียว! คนไทยค้างจ่ายหนี้ 1-3 เดือน เพิ่มก้าวกระโดด 34.5% | Morning Wealth 20 ก.ย. 2567 https://thestandard.co/morning-wealth-20092024/ Fri, 20 Sep 2024 02:49:51 +0000 https://thestandard.co/?p=985748

เครดิตบูโรเผยข้อมูล 7 เดือนแรกของปีนี้ พบคนกู้สินเชื่อ […]

The post ชมคลิป: เดือนเดียว! คนไทยค้างจ่ายหนี้ 1-3 เดือน เพิ่มก้าวกระโดด 34.5% | Morning Wealth 20 ก.ย. 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เครดิตบูโรเผยข้อมูล 7 เดือนแรกของปีนี้ พบคนกู้สินเชื่อ Nano Finance ที่มีดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นถึง 4.7% ในเดือนเดียว สะท้อนคนไทยยังขาดสภาพคล่อง ขณะที่หนี้ใกล้เสียหรือ SM (ที่ค้างชำระ 1-3 เดือน) เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดถึง 34.5% จากเดือนก่อน รายละเอียดเป็นอย่างไร

 

Fed ประกาศลดดอกเบี้ยครั้งนี้ กำลังบอกอะไร? พูดคุยกับ วิจักขณ์ ณ เชียงใหม่ Director, ผู้บริหารฝ่ายการลงทุนผ่านกองทุนต่างประเทศ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBAM)

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: เดือนเดียว! คนไทยค้างจ่ายหนี้ 1-3 เดือน เพิ่มก้าวกระโดด 34.5% | Morning Wealth 20 ก.ย. 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>
จ่ายหนี้เริ่มไม่ไหว! เครดิตบูโรเผย คนค้างชำระหนี้ 1-3 เดือน ‘เพิ่มก้าวกระโดด’ 34.5% ในเดือนเดียว https://thestandard.co/debt-defaulters-for-1-3-months-increase-exponentially/ Thu, 19 Sep 2024 11:13:06 +0000 https://thestandard.co/?p=985557

เครดิตบูโรเปิดเผยข้อมูล 7 เดือนแรกของปีนี้ พบคนกู้สินเช […]

The post จ่ายหนี้เริ่มไม่ไหว! เครดิตบูโรเผย คนค้างชำระหนี้ 1-3 เดือน ‘เพิ่มก้าวกระโดด’ 34.5% ในเดือนเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>

เครดิตบูโรเปิดเผยข้อมูล 7 เดือนแรกของปีนี้ พบคนกู้สินเชื่อ Nano Finance ที่มีดอกเบี้ยสูงเพิ่มขึ้นถึง 4.7% ในเดือนเดียว สะท้อนว่าคนยังขาดสภาพคล่อง ขณะที่หนี้ใกล้เสียหรือ SM (ที่ค้างชำระ 1-3 เดือน) เพิ่มขึ้นก้าวกระโดดถึง 34.5%MoM

 

วันนี้ (19 กันยายน) สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ระบุผ่าน Facebook ว่า จากฐานข้อมูล​สถิติที่ไม่มีตัวตน (No Privacy) ของเครดิตบูโร แสดงให้เห็นว่า 7 เดือนแรกของปีนี้ พบหนี้ครัวเรือนไทยทรงตัวแทบไม่เปลี่ยนจากเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท เหตุสินเชื่อหลายประเภทลดลงหรือทรงตัว ท่ามกลางภาวะที่สถาบันการเงินส่วนใหญ่เข้มงวดมาตรฐานการให้สินเชื่อ อย่างไรก็ตาม สินเชื่อ Nano Finance ที่มีดอกเบี้ยสูงกลับเพิ่มขึ้นถึง 4.7%

 

 

สุรพลกล่าวอีกว่า จากข้อมูล​ล่าสุดเดือนกรกฎา​คม​ 2567​ สะท้อนว่า บรรดาลูกหนี้ยังอยู่ในสภาพมีหลุมรายได้และภูเขาหนี้ ดังนี้

 

  1. ตัวเลขหนี้ครัวเรือนในฐานข้อมูล​สถิติ​เครดิตบูโร​เท่ากับ​ 13.6 ล้านล้านบาท แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดือนมิถุนายน​ 2567 โดยที่พอจะเพิ่มได้บ้างคือ​ Nano​ Finance +4.7%MoM

 

  1. NPL ขยับเพิ่มจาก​ 1.16 ล้านล้านบาท มาเป็น​ 1.19 ล้านล้านบาท​ คิดเป็น​ 8.7% ของหนี้รวม​ ซึ่งเคยประมาณ​การ​ณ์ว่าคงจะไปถึง​ 1.2 ล้านล้านบาท ไม่ช้าไม่นาน​ กล่าวคือไหลต่อ แต่คงไม่ไหลบ่าแบบน้ำท่วมฉับพลัน​ น้ำป่าไหลหลาก​ น้ำโคลนถึงหลังคา

 

  1. SM เที่ยวนี้ที่น่าสนใจ​ กล่าวคือ​เดือนมิถุนายน​ 2567​ ปรับลดลงมาจากไตรมาสก่อนอย่างมากจนเหลือ​ 5 แสนล้านบาท แต่ผ่านไป​ 1 เดือน เข้าเดือนกรกฎา​คม กลับกระโดดมาเป็น​ 6.7 แสนล้านบาท เพิ่ม​ 1.7 แสนล้านบาท​ ดูจากตารางจะพบว่า
    สินเชื่อบ้านเพิ่มจาก​ 1.43 แสนล้านบาทเป็น​ 1.69 แสนล้านบาท โตขึ้น​ 18%MoM สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มจาก​ 8.5 หมื่นล้านบาท เป็น​ 1.13 แสนล้านบาท โตขึ้น​ 33%MoM สินเชื่อธุรกิจที่คนตัวเล็กกู้​ (Commercial Loan) จาก​ 2.6 หมื่นล้านบาท มาเป็น​ 4.4 หมื่นล้านบาท​ โตขึ้น​ 69%MoM ขณะที่สินเชื่อรถยนต์ บัตรเครดิต นิ่งๆ กับลดลง

 

ทั้งนี้ หนี้กำลังจะเสีย (Special Mentioned: SM) หมายถึงหนี้ที่ค้างชำระ 31-90 วัน ขณะที่หนี้เสีย (Non-Performing Loan: NPL) คือหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน

 

 

สุรพลกล่าวอีกว่า สงครามการสู้รบระหว่างหนี้ปกติไหลมาเป็นหนี้กำลังจะเสีย หนี้กล่าวถึงเป็นพิเศษ​หรือหนี้​ SM​ โดยมีอาวุธคือการปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน​ Preemptive Debt Restructure หรือที่เรียกว่า​ DR ภายใต้มาตรการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรมหรือ​ RL​ มีความเข้มข้นมาก​ในเวลานี้ และจะเพิ่มมากขึ้นแน่ๆ จนถึงสิ้นปีแน่นอน

 

“แต่เอ๊ะ ตัวเลขของหนี้เรื้อรัง หนี้เรื้อรังรุนแรง​ ที่เข้ามาตรการช่วยเหลือ อันเป็นเรือธงของการสู้รบตอนนี้ไปได้เท่าไรแล้ว​ เพราะ​ P-Loan​ แบบหมุนเวียนของลูกหนี้รายได้น้อยที่มีลักษณะ​จ่ายดอกสะสมมาในอดีตที่มากกว่าจ่ายเข้าต้นนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของ​ P-Loan​ ที่มีการไหลมาเป็น​ SM​ เพิ่มอย่างมีนัย​สำคัญ​ในเดือนกรกฎาคมนี้​ 

 

“ความโปร่งใสในตัวเลขจะสร้างความเชื่อถือเชื่อมั่นให้กับเรือธงนะครับ​ ความจริงมันไม่เซาะกร่อนบ่อนทำลายอะไร​เลย​ ฝากท่านผู้ดำเนินรายการช่วยขานไขนะครับ

 

“กราบเรียนมาด้วยความสุจริต​ใจเป็นที่ตั้ง​ ขัดเคืองใจก็อย่าใช้อำนาจเป็นธรรมนะครับ…มันบาป” สุรพลกล่าว

The post จ่ายหนี้เริ่มไม่ไหว! เครดิตบูโรเผย คนค้างชำระหนี้ 1-3 เดือน ‘เพิ่มก้าวกระโดด’ 34.5% ในเดือนเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: คนไทยจ่ายหนี้ไม่ไหว หนี้เสียพุ่งต่อ 12.2% ในไตรมาส 2 จ่อสูงกว่าช่วงโควิดแล้ว | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-15082024-3/ Thu, 15 Aug 2024 08:05:23 +0000 https://thestandard.co/?p=971368

เครดิตบูโรเผยภาพรวมสินเชื่อผู้บริโภคไทยในไตรมาสที่ 2 พบ […]

The post ชมคลิป: คนไทยจ่ายหนี้ไม่ไหว หนี้เสียพุ่งต่อ 12.2% ในไตรมาส 2 จ่อสูงกว่าช่วงโควิดแล้ว | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

เครดิตบูโรเผยภาพรวมสินเชื่อผู้บริโภคไทยในไตรมาสที่ 2 พบหนี้เสียหรือ NPL พุ่งต่อเนื่องถึง 12.2% และกำลังจ่อทำนิวไฮสูงกว่าช่วงโควิด ติดตามได้ในไฮไลต์นี้

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: คนไทยจ่ายหนี้ไม่ไหว หนี้เสียพุ่งต่อ 12.2% ในไตรมาส 2 จ่อสูงกว่าช่วงโควิดแล้ว | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
จ่ายหนี้ไม่ไหวแล้ว? หนี้เสียคนไทยพุ่ง 12.2% ใน Q2 เครดิตบูโรเตือน NPL มีโอกาสนิวไฮ หากรายได้-เศรษฐกิจไม่ฟื้น https://thestandard.co/thai-peoples-bad-debts-are-rising/ Wed, 14 Aug 2024 07:24:54 +0000 https://thestandard.co/?p=970840

เครดิตบูโรเผย หนี้เสียคนไทย (NPL) พุ่งต่อเนื่องถึง 12.2 […]

The post จ่ายหนี้ไม่ไหวแล้ว? หนี้เสียคนไทยพุ่ง 12.2% ใน Q2 เครดิตบูโรเตือน NPL มีโอกาสนิวไฮ หากรายได้-เศรษฐกิจไม่ฟื้น appeared first on THE STANDARD.

]]>

เครดิตบูโรเผย หนี้เสียคนไทย (NPL) พุ่งต่อเนื่องถึง 12.2% ทะลุ 1.15 ล้านล้านบาทแล้ว ขณะที่ยอดปล่อยสินเชื่อโดยรวมบวกเพียง 1.3% เท่านั้นในไตรมาส 2 จับตาไตรมาส 3 ยอด NPL อาจแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ หากรายได้ประชาชนไม่ฟื้น

 

วันนี้ (14 สิงหาคม) สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) เปิดเผยกับ THE STANDARD เกี่ยวกับภาพรวมสินเชื่อผู้บริโภคไทยในไตรมาสที่ 2 โดยระบุว่า หนี้เสียที่ค้างชำระเกิน 90 วัน (NPL) ในไตรมาสที่ 2 พุ่งต่อเนื่องถึง 12.2% ขณะที่จำนวนสินเชื่อโดยรวมทั้งระบบขยายตัวเพียง 1.3% เท่านั้น

 

โดยจำนวนสินเชื่อผู้บริโภคโดยรวมทั้งระบบ (Total Consumer Loan) อยู่ที่ 13.63 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพียง 1.3%YoY นับว่าชะลอตัวอย่างมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวราว 3% สะท้อนว่าสถาบันการเงินคุมเข้มมาตรฐานการให้สินเชื่อมากขึ้น

 

ตามรายงานผลการสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ (Credit Conditions Report) ประจำไตรมาส 2 ปี 2567 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ระบุว่า มาตรฐานการให้สินเชื่อภาคครัวเรือนในไตรมาส 2 ปี 2567 เข้มงวดขึ้นในทุกประเภทสินเชื่อ โดยสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีความกังวลต่อความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ และจากความน่าเชื่อถือด้านเครดิตของผู้กู้

 

คนดิ้นหาสภาพคล่อง ดันสินเชื่อ Nano Finance ดอกสูง พุ่ง 26.8%

 

สุรพลกล่าวอีกว่า การขยายตัวสินเชื่อเพียงแค่ 1.3% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสินเชื่อ Nano Finance ที่มีดอกเบี้ยสูง ขยายตัวถึง 26.8% สะท้อนว่าผู้คนที่ขาดสภาพคล่องกำลังไม่มีทางเลือก สวนทางกับสินเชื่อรถยนต์ที่หดตัว 3.2% และสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตที่โตไม่ถึง 3%

 

 

หนี้เสียคนไทยจ่อทำนิวไฮสูงกว่าช่วงโควิด

 

หนี้เสีย (NPL) ค้างชำระเกิน 90 วัน ในไตรมาส 2 ของปี 2567 เพิ่มขึ้น 12.2% โดยจำนวนนี้นำโดยหนี้สหกรณ์ที่เพิ่มขึ้น 54.7% ตามมาด้วยหนี้รถยนต์ หนี้บ้าน หนี้ Nano Finance ที่เพิ่มขึ้น 29.7%, 23.2% และ 22.0% ตามลำดับ

 

สุรพลคาดว่า หนี้เสียที่ตอนนี้ทะลุ 1.15 ล้านล้านบาทแล้ว คาดว่าจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องไปสู่ระดับ 1.2 ล้านล้านบาทในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งถือเป็นจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้มีแนวโน้มทำได้ยากขึ้น เนื่องมาจากรายได้ของผู้คนเพิ่มไม่เพียงพอ

 

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกขยายตัว 1.5% เท่านั้น ขณะที่ GDP ไตรมาส 2 ซึ่งจะประกาศวันที่ 19 สิงหาคมนี้ หลายฝ่ายรวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดว่า จะขยายตัวได้ราว 2% ส่วน GDP ทั้งปี 2567 นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนักประเมินว่าไม่น่าเกิน 3%

 

 

จับตาหนี้เสียบัตรเครดิต

 

สำหรับหนี้เสียบัตรเครดิต (NPL) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.5% ขณะที่ยอดค้างชำระ 31-90 วัน (SM) ​พุ่ง 31.3% ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ นับว่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับขึ้นอัตราจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิต (Minimum Payment) เป็น 8% เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2567 จากระดับ 5% ในช่วงโควิด

 

ทั้งนี้ เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ธปท. ประกาศตรึงอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิตที่ 8% ออกไปอีก 1 ปี จนถึงสิ้นปี 2568 จากเดิมที่กำหนดให้อัตราดังกล่าวกลับสู่เกณฑ์ปกติที่ 10% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568

 

“เราไม่รู้ว่ามาตรการของแบงก์ชาติที่ให้ตรึงอัตราจ่ายขั้นต่ำบัตรเครดิตไว้ที่ 8% จะทำให้หนี้กำลังจะเสีย (SM) ที่ค้างชำระ 31-90 วันของบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นต่อไปในไตรมาส 3 หรือไม่” สุรพลกล่าว

 

The post จ่ายหนี้ไม่ไหวแล้ว? หนี้เสียคนไทยพุ่ง 12.2% ใน Q2 เครดิตบูโรเตือน NPL มีโอกาสนิวไฮ หากรายได้-เศรษฐกิจไม่ฟื้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เครดิตบูโรเผย สินเชื่อบ้านไตรมาสแรกปีนี้แผ่ว 50% ของผู้ขอสินเชื่อถูกปฏิเสธ เหตุแบงก์สกรีนเข้ม https://thestandard.co/q1-50-percent-home-loan-rejections-banks-strict/ Wed, 15 May 2024 14:32:58 +0000 https://thestandard.co/?p=933998 credit bureau

วันนี้ (15 พฤษภาคม) สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริ […]

The post เครดิตบูโรเผย สินเชื่อบ้านไตรมาสแรกปีนี้แผ่ว 50% ของผู้ขอสินเชื่อถูกปฏิเสธ เหตุแบงก์สกรีนเข้ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
credit bureau

วันนี้ (15 พฤษภาคม) สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ( เครดิตบูโร ) โพสต์ Facebook โดยเปิดเผยรายงานสินเชื่อบ้านไตรมาสที่​ 1/67 จากข้อมู​ลสถิติของเครดิตบูโร 

 

สุรพลระบุว่า ในไตรมาสที่​ 1/67 เครดิตบูโร​เห็นอะไรจากข้อมู​ลที่สมาชิก​สถาบันการเงิน​ส่งเข้ามาในระบบ​ รายละเอียดดังนี้ 

 

บรรยากาศ​ที่พบเจอในการยื่นขอสินเชื่อบ้าน จะพบว่ามีเสียงอื้ออึงว่าถูกปฏิเสธสูงมาก​ เรียกได้ว่า​ 100 ใบสมัครผ่านการพิจารณา​เบื้องต้น​เพียง 50 ใบ​ เหตุเพราะมีการตรวจประเมินรายได้เข้มข้น​ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ขอกู้มีศักยภาพ​ คำว่าศักยภาพมันก็ต้องมีรายได้แน่นอน​ มั่นคง​ เพียงพอ​ สม่ำเสมอ​ เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์​ว่าลูกหนี้จะต้องมีความสามารถ​ในการชำระหนี้ตามตารางการชำระหนี้ได้ตลอด​รอดฝั่ง​ ตรวจรายได้เสร็จก็ไปตรวจเครดิตบูโร​ต่อว่า​มีหนี้มากแค่ไหน​ มีประวัติการค้างชำระหรือไม่​ เพื่อประเมินความตั้งใจในการชำระหนี้​ เพราะมันก็เป็นไปตามกฎว่ากรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา

 

บัญชีที่เปิดใหม่ของสินเชื่อบ้านในแต่ละปีมีกี่มากน้อย​ และคนวัยไหนเป็นผู้ได้สินเชื่อ​ พบว่าส่วนใหญ่คือ​ Gen Y​ ครับ​ สัดส่วนสูงขึ้นทุกๆ ปี​ ที่สำคัญคือ​วงเงินสินเชื่อบ้านระดับที่ไม่เกิน​ 3 ล้านบาท น่าจะเป็นกลุ่มหลัก

 

เมื่อดูการเปิดบัญชี​ใหม่ของสินเชื่อบ้านในแต่ละปีก็จะพบว่า ​ปี​ 2018​ หรือ​ 2561 มีจำนวนเกินกว่า​ 4.3 แสนบัญชี​ ปีก่อนโควิดก็อยู่ที่ระดับ​ 3.7​ แสนบัญชี​ ปีที่แล้วอยู่ที่​ 3.3 แสนบัญชี​ ไตรมาสแรกของปีนี้​ได้เพียง 5.9 หมื่นบัญชี​ ดูแล้วมันมีแต่แผ่วลง​ ซึ่งฝั่งผู้ประกอบการต่างก็บ่นกันมากเรื่องขายได้ยาก​ กู้ไม่ผ่าน​ ของเหลือมาก​ อยากให้ลดเงื่อนไขเช่น​ LTV​ หลังที่สองหลังที่สาม​ แต่ยังไม่มีเสียงตอบรับที่ปลายสาย​ เป็นต้น

 

ประเด็นถัดมาคือสถานการณ์​ในภาพรวมของสินเชื่อบ้าน​ โดยหนี้บ้านที่เคยเป็น​ NPL แล้วมีการนำมาปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (หนี้ทำ​ TDR)​ ภาพมันบอกว่าปรับกันมาก

 

ขณะที่หนี้เสียในไตรมาสนี้มีการยกตัวขึ้นมาอยู่ที่​ 2.00 แสนล้านบาทเติบโต​ 18%YoY​ สัดส่วนในหนี้เสียรวม (1.09 ล้านล้านบาท) ก็ประมาณ​ 20% ถือว่าไม่น้อยนะครับ​

 

ส่วนหนี้บ้านที่เริ่มค้างชำระแต่ยังไม่เลย​ 90 วัน​ เรียกหนี้ตรงนี้ว่าหนี้กำลังจะเสีย หรือ​ SM มันมาหยุดที่​ 1.8 แสนล้านบาท เติบโต​ 15%YoY ดีขึ้นกว่า​ 4Q66 ที่เติบโต​ 31%YoY​ ที่สำคัญคือ​ 1.2 แสนล้านบาทอยู่ในความดูแลของแบงก์​รัฐ การปรับโครงสร้างหนี้จะมีความยืดหยุ่น​ ผ่อนปรน​ ไม่ขึงตึงเท่าทางฝั่งเอกชน​ ท่านจะดูเป็นยอดเงิน จำนวนบัญชี หรือเป็น​ % ก็ตามสะดวกนะครับ

 

credit bureau

 

เพื่อขยายความเพิ่ม กราฟแท่งสีแดงคือหนี้ที่ค้างเกิน​ 90 วัน หรือหนี้เสียของสินเชื่อบ้าน​ แท่งสีเหลืองคือหนี้กำลังจะเสียหรือ​ SM สินเชื่อบ้าน​ กราฟแท่งด้านซ้ายคือจำนวนบัญชีแยกตามช่วงวัยของ​ Generation ในแต่ละไตรมาส​ เช่น ไตรมาส​ 1 ปี​ 2567​ Gen Y ถือสัญญาสินเชื่อบ้านที่เป็น​ NPL เท่ากับ​ 83,281 สัญญา​ คิดเป็นเงิน​ 1.24 แสนล้านบาท​ 

 

50% ของหนี้รอเน่าเป็นของ Gen Y

 

ในกรณีของ​ SM​ บ้านที่อยู่ในมือคน​ Gen Y​ ช่วงเวลาเดียวกันนี้​มีจำนวน​ 76,276 สัญญา​ คิดเป็นเงิน​ 1.18 แสนล้านบาท​ คิดแบบเร็วๆ ครับ​ คน​ Gen Y​ เป็นหนี้เสียบ้านกว่า​ 50% ของหนี้เสียบ้านทั้งหมด ​(1.24/2.00 แสนล้านบาท) และก็กว่า​ 50% อีกเหมือนกันที่คน​ Gen Y​ เป็นหนี้กำลังจะเสียส่วนใหญ่ (1.18/1.80 แสนล้านบาท) 

 

คนวัยกำลังทำงานจะไปต่ออย่างไรในบรรยากาศ​เศรษฐกิจ​โตต่ำ​ มีปัญหาให้แก้แทบทุกด้าน​ จะเป็นหลานอาม่าในวันนี้มันไม่ง่ายเหมือนในหนังที่มีคนรุ่นก่อนเก็บเงินไว้ให้นะครับ​ ชีวิตจริงกับในหนังมันแตกต่างกันพอสมควร

 

ผมขอเสนอภาพความรู้สึก​ การประเมิน​ และข่าวร้ายๆ เกี่ยวกับคนที่เป็นลูกหนี้​ ว่าในสภาพที่รุมเร้าแบบนี้​ ทางออกของใครบางคนมันก็ไม่พึงประสงค์​ แต่คนเรานะครับ​ เมื่อมันสุดของสุด​ การตัดสินใจแบบนี้เราอาจจะเห็นมากขึ้น​ ได้แต่ภาวนาว่าอย่าเป็นเช่นนั้นเลย อันนี้มาจากภาพข่าวของสื่อ

 

ทั้งนี้ สุรพลระบุในข้อความว่า ขอเชิญชวนทุกๆ ท่านไปฟังการบรรยาย​ เรื่องหนี้ครัวเรือนไทยและการแก้ไขปัญหา จากมุมมองของคนที่รับผิดชอบโดยตรงซึ่งก็คือวิทยากรจากแบงก์​ชาติ​ ในงาน​ MONEY EXPO ที่เมืองทองธานี ในวันที่​ 18 พฤษภาคม​ 2567 นี้นะครับ​ ไปฟัง​ ไปถามครับ​ ว่าเราจะทำอย่างไร ถ้าเราคือคนที่มีปัญหาการค้างชำระหนี้บ้านในเวลานี้​

The post เครดิตบูโรเผย สินเชื่อบ้านไตรมาสแรกปีนี้แผ่ว 50% ของผู้ขอสินเชื่อถูกปฏิเสธ เหตุแบงก์สกรีนเข้ม appeared first on THE STANDARD.

]]>