บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 21 Jan 2025 13:47:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ศาลสั่งไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชงแก้แผนฟื้นฟูฯ ส่งตัวแทน 2 ชื่อนั่งเพิ่มในคณะผู้บริหารแผน ‘การบินไทย’ https://thestandard.co/wealth-in-depth-court-finance-thai/ Tue, 21 Jan 2025 13:47:46 +0000 https://thestandard.co/?p=1032850

วันนี้ (21 มกราคม) ศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาฟังคำสั่งจา […]

The post ศาลสั่งไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชงแก้แผนฟื้นฟูฯ ส่งตัวแทน 2 ชื่อนั่งเพิ่มในคณะผู้บริหารแผน ‘การบินไทย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (21 มกราคม) ศาลล้มละลายกลางนัดพิจารณาฟังคำสั่งจากกรณีที่เจ้าหนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI รวมตัวกันยื่นเรื่องร้องขอคัดค้านการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้ง 3 วาระต่อศาล ถึงมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ออกมาแล้ว เพื่อขอให้ศาลล้มละลายกลางไต่สวนกรณีที่กระทรวงการคลังโหวตในการประชุมเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ว่าสามารถทำได้หรือไม่ 

 

โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในการประชุมเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย ที่ประชุมเห็นชอบให้แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 วาระ ดังนี้

 

  1. แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อกำหนดให้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม

 

  1. แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อเพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่า เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ

 

  1. กระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน ได้แก่ ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม และ พลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

 

โดยก่อนวันประชุมเจ้าหนี้ในวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงการคลังซึ่งเดิมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แจ้งความจำนงขอใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนแล้วทั้งจำนวนในสัดส่วนเต็ม 100% ก่อนวันประชุมดังกล่าว ตามแผนการปรับโครงสร้างทุนและเงื่อนไขของแผนฟื้นฟูฯ ส่งผลให้ ณ วันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีการประชุมเจ้าหนี้เพื่อลงมติขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ กระทรวงการคลังไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิออกเสียงโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว

 

อีกทั้งฝ่ายกฎหมายของ บมจ.การบินไทย ยังลงความเห็นไปแล้วด้วยว่า กระทรวงการคลังไม่มีสิทธิโหวตลงคะแนนในวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพราะไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แล้ว แม้ในวันดังกล่าวกระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้รับเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ตาม

 

ศาลไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชง 2 ชื่อเพิ่มนั่งผู้บริหารแผน ชี้กระทบการทำงาน

 

ล่าสุดวันนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่เห็นชอบในวาระที่ 3 ที่กระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน 

 

โดยสาระสำคัญ ศาลให้เหตุผลว่าภายใต้แผนฟื้นฟูฯ ของ บมจ.การบินไทย ที่ศาลเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 กำหนดให้มีผู้บริหารแผนจำนวน 5 คน ปัจจุบันคงเหลือผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน

 

ทั้งนี้ ผู้บริหารแผนที่เหลืออยู่ เมื่อพิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานแล้วสามารถดำเนินการได้ตามสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูฯ โดยไม่มีปัญหาขัดข้องหรือติดขัดจากการที่มีผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน

 

นอกจากนี้ หากเพิ่มผู้บริหารแผนอีก 2 คน จะต้องจัดประชุมผู้บริหารแผนเพื่อตั้งประธานคณะผู้บริหาร เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานคณะผู้บริหารแผนและผู้บริหารแผนแต่ละคน และกำหนดกรอบวิธีการดำเนินการของผู้บริหารแผนตามที่ระบุในแผนฟื้นฟูฯ จะเป็นการเพิ่มกระบวนการและขั้นตอนในการบริหารงานของผู้บริหารชุดเดิมให้มีความยุ่งยากมากขึ้น และทำให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาตัดสินใจในการบริหารงานต่างๆ เนื่องจากผู้บริหารแผนทั้ง 2 คนที่ถูกเสนอเพิ่มเติมเข้ามา ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่ในส่วนงานของภาครัฐ ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารงานของการบินไทยมาก่อน ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการภายในไม่คล่องตัวเท่าเดิม 

 

อีกทั้งการเพิ่มผู้บริหารแผนยังเป็นการเพิ่มรายจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้ผู้บริหารแผน ซึ่งตามแผนฟื้นฟูฯ กำหนดว่าผู้บริหารแผนจะได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 5 ล้านบาทต่อคนต่อปี 

 

นอกจากนี้ ตามข้อเท็จจริงตามรายงานตั้งแต่เหลือผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน ค่าใช้จ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหารแผนลดลงเกือบครึ่งหนึ่งจากเดิม โดยการปรับลดค่าใช้จ่ายนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่จะส่งผลให้แผนฟื้นฟูฯ สำเร็จ

 

ประกอบกับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ ของการบินไทยที่ดำเนินมาถึงปีที่ 4 สามารถทำได้ตามสาระสำคัญของแผนมาโดยตลอด และไม่เกิดการผิดนัดชำระหนี้ คาดว่าจะสามารถยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้ศาลยกเลิกแผนฟื้นฟูฯ ได้ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ ดังนั้นการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ในประเด็นนี้จึงไม่มีความจำเป็น

 

ส่วนการดำเนินการในวาระที่ 1 คือ ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม กับวาระที่ 2 คือ เพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ ให้เป็นอำนาจของคณะผู้บริหารแผนปัจจุบันดำเนินการได้

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ของ บมจ.การบินไทย ประกอบด้วยผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน ดังนี้

 

  1. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผน
  2. ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ผู้บริหารแผน
  3. พรชัย ฐีระเวช ผู้บริหารแผน

 

ซีอีโอ ‘การบินไทย’ ย้ำ ออกจากแผนฟื้นฟูฯ ได้ตามกำหนด

 

ด้าน ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ออกมาถือว่าเป็นที่สิ้นสุด ส่งผลให้คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ของบริษัทยังคงมีจำนวนเท่าเดิมที่ 3 คน สามารถดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ ได้ต่อเนื่อง

 

ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันตามเงื่อนไขหลักในการดำเนินการเพื่อออกจากแผนฟื้นฟูฯ บริษัทสามารถดำเนินการได้ครบทุกเงื่อนไขแล้ว เหลือเพียงอีกหนึ่งเงื่อนไขเท่านั้นคือ การแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดใหม่ของการบินไทย ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้พิจารณาอนุมัติในวันที่ 18 เมษายนนี้ จากนั้นขั้นตอนต่อไปจะเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ และนำหุ้นของ THAI กลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/68 เป็นไปตามแผนงานที่บริษัทวางไว้

 

ภาพ: Aerial Mike / Shutterstock

The post ศาลสั่งไม่เห็นชอบ ‘คลัง’ ชงแก้แผนฟื้นฟูฯ ส่งตัวแทน 2 ชื่อนั่งเพิ่มในคณะผู้บริหารแผน ‘การบินไทย’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เบื้องลึกแผน ‘การบินไทย’ พร้อม Take Off ออกจากแผนฟื้นฟูฯ ปูทางกลับเข้าเทรดในตลาดหุ้นปีนี้ https://thestandard.co/wealth-in-depth-thai-airways-exit-rehab-return-to-stock-market/ Tue, 07 Jan 2025 05:37:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1027768 "thai-airways-exit-rehab-return-to-stock-market"

ย้อนไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่เริ่มต้นตั้ […]

The post เบื้องลึกแผน ‘การบินไทย’ พร้อม Take Off ออกจากแผนฟื้นฟูฯ ปูทางกลับเข้าเทรดในตลาดหุ้นปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
"thai-airways-exit-rehab-return-to-stock-market"

ย้อนไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดที่เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและธุรกิจทั่วโลก ไม่เว้นอุตสาหกรรมการบิน

 

โดยถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เพราะวิกฤตโควิดทำให้การเดินทางทั่วโลกหยุดชะงักลง ธุรกิจสายการบินมีความจำเป็นต้องลดจำนวนเที่ยวบินอย่างมีนัยสำคัญ หรือจำเป็นต้องหยุดการให้บริการชั่วคราว อีกทั้งทำให้ความสามารถในการขนส่งผู้โดยสาร รวมถึงพัสดุภัณฑ์และไปรษณียภัณฑ์ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ 

 

วิกฤตที่เกิดขึ้นเข้ามาซ้ำเติมของธุรกิจของ บมจ.การบินไทย ที่กำลังอ่อนแอ สะท้อนจากผลการดำเนินงานที่ขาดทุนมา 8 ปีติดต่อกันในช่วงปี 2556-2563 จนในปี 2563 มีผลขาดทุนสุทธิหนักราว 141,000 ล้านบาท เป็นตัวเลขขาดทุนที่สูงสุดในประวัติการณ์ของบริษัท และมีหนี้ที่ต้องแบกรับมหาศาลราว 200,000 ล้านบาท 

 

เข้าสู่แผนฟื้นฟูฯ ทางรอดการบินไทย

 

การบินไทยตัดสินใจยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2563 เพื่อใช้เป็นทางรอดแก้ปัญหาที่หมักหมมมาอย่างยาวนานจากหลายปัจจัย ดังนี้

 

  • สภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมการบินที่ปรับเปลี่ยนและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • การแพร่ระบาดของโควิดที่มีผลกระทบให้ธุรกิจสายการบินต้องหยุดการให้บริการ
  • ส่วนปัจจัยภายในของ บมจ.การบินไทย ยังเผชิญปัญหาความไม่คล่องตัวในการทำธุรกิจ เพราะเดิมมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ทำให้การบริหารจัดการธุรกิจต้องอยู่ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์รัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้แข่งขันกับสายการบินคู่แข่งที่มีการบริหารจัดการแบบเอกชนเต็มรูปแบบได้ยาก

 

ขณะที่หุ้นของ บมจ.การบินไทย หรือ THAI หยุดการซื้อขายตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 โดยในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ราคาปิดของหุ้นของบริษัทฯ เท่ากับ 3.32 บาทต่อหุ้น

 

ภาพรวมการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย

ภาพรวมการฟื้นฟูกิจการของการบินไทย

 

การบินไทยหลุดสถานะรัฐวิสาหกิจ ช่วยเพิ่มความคล่องตัว

 

ต่อมากระทรวงการคลังเคยถือหุ้นการบินไทยในระดับกว่า 51% แต่ปัจจุบันถือในสัดส่วน 48% หลังจากในปี 2563 ยอมลดสัดส่วนขายหุ้นออกมาให้กับกองทุนรวมวายุภักษ์ ส่งผลให้การบินไทยหลุดจากสถานะของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจกลายเป็นเอกชน และเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการในช่วงกลางปี 2564 ตามที่ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการ

 

ในระยะเวลา 3 ปีเต็มที่ บมจ.การบินไทย เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ ภายใต้คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย ประกอบด้วย

 

ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีประสบการณ์การทำงานในองค์กรเอกชนชั้นนำของไทยมาแล้วหลายแห่ง ทั้งภาคธุรกิจและการเงิน, ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ และอดีตซีอีโอ บมจ.ปตท. หรือ PTT, พรชัย ฐีระเวช ผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะตัวแทนกระทรวงการคลัง

 

ประกอบกับ บมจ.การบินไทย เปลี่ยนสถานะเป็นองค์กรเอกชนแบบเต็มตัว ทำให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างคล่องตัวขึ้น สามารถดำเนินตามแผนฟื้นฟูฯ จนทำให้มีพัฒนาการของธุรกิจในเชิงบวกอย่างต่อเนื่อง

 

การบินไทย Take Off ธุรกิจ พลิกฟื้นกำไรต่อเนื่อง

 

โดยดำเนินงานภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการนับตั้งแต่ปี 2563 โดยบริษัทฯ ดำเนินการปฏิรูปธุรกิจ การดำเนินงาน และโครงสร้างองค์กร พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การดำเนินงานเพื่อเพิ่มรายได้และลดต้นทุนการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบการสถานการณ์โควิดที่คลี่คลายลง ส่งผลให้ในปี 2566 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

 

ปี 2564 มีกำไรสุทธิ 55,100 ล้านบาท แม้ไม่ได้มาจากการดำเนินงาน แต่ปัจจัยหลักมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ การขายทรัพย์สิน และเงินลงทุน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ

 

ปี 2565 การบินไทยและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 105,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 342% จากปี 2564 แต่ขาดทุน 272 ล้านบาท เพราะรับรู้ผลขาดทุนจากบริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด ที่บริษัทถือหุ้น 100% ซึ่งในปี 2565 มีผลขาดทุน 4,248 ล้านบาท และมีผลขาดทุนสะสมถึง 20,000 ล้านบาท การบินไทยจึงตัดสินใจยุบไทยสมายล์รวมกับการบินไทย เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและลดต้นทุนในการทำธุรกิจ

 

ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 28,100 ล้านบาท เติบโตมากกว่า 10,000% จากปี 2565 เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว และความต้องการเดินทางของผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

9 เดือนแรกปี 2567 มีกำไรสุทธิ 12,480 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 711% เปรียบเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากแรงหนุนของการท่องเที่ยวและจำนวนผู้โดยสารที่เติบโตขึ้นต่อเนื่อง

 

บรรยายภาพ: ผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2567 ของการบินไทย

ผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2567 ของการบินไทย

 

ด้าน ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย กล่าวว่า ภาพรวมผลประกอบธุรกิจของการบินไทยในงวด 9 เดือนของปี 2567 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่แข็งแกร่งและความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการฟื้นฟูกิจการ จากจำนวนผู้โดยสารกว่า 11.62 ล้านคน เพิ่มขึ้น 14.7% เมื่อเทียบกับงวด 9 เดือนของปี 2566 

 

นอกจากนี้ยังมีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) 47,778 ล้าน ASK เพิ่มขึ้น 19.2% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน สะท้อนถึงศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจากการดำเนินธุรกิจตามแผนฟื้นฟูกิจการที่เรียกความเชื่อใจจากลูกค้ากลับมาได้

 

“การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น เช่น ค่าซ่อมแซมและบำรุงอากาศยานที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนเครื่องบินที่เข้ามาใหม่สำหรับการรองรับผู้โดยสารที่มากกว่าเดิม และค่าบริการการบินจากจำนวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราค่าบริการการบินต่อเที่ยวปรับตัวสูง ตลอดจนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายและการโฆษณาที่เพิ่มขึ้น จากความจำเป็นในการจ่ายค่าธรรมเนียมสำรองที่นั่งที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการจองเที่ยวบิน มั่นใจว่าการลงทุนเหล่านี้จะสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว” ชายกล่าว

 

ขณะที่คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บมจ.การบินไทย ประกาศตั้งเป้าหมาย และมีความมั่นใจในการเตรียมยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ และกลับเข้ามาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 2/68

 

เปิด 4 เงื่อนไข พาการบินไทยออกจากแผนฟื้นฟูฯ-กลับเข้าตลาดหุ้น

 

  1. จดทะเบียนเพิ่มทุนเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างทุน ซึ่ง บมจ.การบินไทย ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565

 

  1. ดำเนินการตามแผนฟื้นฟูฯ โดยไม่เกิดเหตุผิดนัดชำระหนี้ โดย บมจ.การบินไทย ยังไม่เกิดเหตุผิดนัดชำระหนี้ นับตั้งแต่วันที่เข้าแผนฟื้นฟูฯ ถึงปัจจุบัน

 

  1. มี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามสัญญาเช่าเครื่องบิน

(EBITDA – Aircraft Lease Payment) ไม่น้อยกว่า 20,000 ล้านบาทในรอบ 12 เดือนย้อนหลัง ทั้งนี้ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2567 บมจ.การบินไทย ทำได้แล้วประมาณ 27,000 ล้านบาท 

 

  1. ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบการเงินเฉพาะกิจการเป็นบวก โดยภายหลังการแปลงหนี้เป็นทุน ส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นของ บมจ.การบินไทย จากเดิมที่เคยติดลบพลิกกลับมาเป็นบวก 18,000 ล้านบาท อีกทั้งการเพิ่มทุนทำให้บริษัทได้เงินกลับมาอีกราว 23,000 ล้านบาท 

 

โดย 4 เงื่อนไขข้างต้นเป็นเงื่อนไขหลักสำคัญที่ บมจ.การบินไทย ทำได้ครบแล้วทุกข้อตามแผนฟื้นฟูฯ เหลือเพียงรอการปิดงบการเงินปี 2567 และจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี (AGM) ของการบินไทย เพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัทชุดใหม่ตามเงื่อนไขในแผนฟื้นฟูฯ ได้ภายในช่วงเดือนเมษายนนี้

 

ความคืบหน้าการดำเนินการตามผลสำเร็จของแผนฟื้นฟูฯ ของการบินไทย

ความคืบหน้าการดำเนินการตามผลสำเร็จของแผนฟื้นฟูฯ ของการบินไทย

 

อีกประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายจับตาคือการต่อสู้ระหว่างกลุ่มเจ้าหนี้การบินไทยกับกระทรวงการคลังที่เริ่มมีประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด หลังมีกลุ่มเจ้าหนี้สหกรณ์กับเจ้าหนี้หุ้นกู้รายย่อยยื่นเรื่องร้องให้ศาลไต่สวนว่ากระทรวงการคลังมีสิทธิโหวตแก้แผนฟื้นฟูกิจการในการประชุมเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมาหรือไม่ หลังจากแจ้งความจำนงแปลงหนี้เป็นทุนแบบ 100% ส่งผลให้หมดสถานะความเป็นเจ้าหนี้

 

โดยผลการประชุมเจ้าหนี้การบินไทยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 มีมติเห็นชอบการแก้ไขแผนทั้ง 3 ข้อ ดังนี้

 

  • แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อกำหนดให้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม
  • แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อเพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ
  • เพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ โดยกระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน ได้แก่ ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม และ พลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

 

โดยศาลล้มละลายกลางนัดฟังคำสั่งการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย ในวันที่ 21 มกราคมนี้ หลังจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นรายงานเกี่ยวกับผลการประชุมเจ้าหนี้การบินไทย

 

โดยประเด็นสำคัญที่เจ้าหนี้ของการบินไทยกังวลคือ การแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ในข้อที่ 3 เนื่องจากเป็นห่วงว่าการเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน ที่เป็นตัวแทนจากกระทรวงการคลัง จะส่งผลให้กระทรวงการคลังครองเสียงข้างมากในคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เป็น 3 ใน 5 เสียง จากเดิม 1 ใน 3 เสียง จึงกังวลว่าฝั่งการเมืองอาจเข้ามาครอบงำหรือแทรกแซงการบินอีก จนอาจกลับไปเป็นปัญหาอีกครั้งดังเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต รวมทั้งยังต้องติดตามการตั้งแต่งคณะกรรมการ (บอร์ด) ชุดใหม่ของการบินไทยที่จะมีส่วนสำคัญในการกำหนดชะตาของการบินไทยในอนาคต

 

คาดอุตสาหกรรมการบินโลกโต 2.1 เท่าในปี 2586

 

สำหรับสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินในอนาคต สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารทางอากาศทั่วโลกเติบโตถึง 2.1 เท่าภายในปี 2586 มาอยู่ที่ 8,600 ล้านคน หรือมีอัตราการเติบโตระหว่างปี 2566-2586 เฉลี่ย 3.8% ต่อปี โดยภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกคิดเป็นสัดส่วน 2 ใน 3 ของการเติบโตนี้ 

 

ขณะที่รายได้รวมของสายการบินในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ 119% ของรายได้รวมก่อนโควิด

สถานการณ์อุตสาหกรรมการบินโลกปี 2566-2586

สถานการณ์อุตสาหกรรมการบินโลกปี 2566-2586

 

ส่วนจุดเด่นและข้อได้เปรียบสำคัญของ บมจ.การบินไทย ที่เตรียมนำมาใช้รองรับการแข่งขันทางธุรกิจหลังจากออกแผนฟื้นฟูฯ ตามที่ผู้บริหารประกาศไว้ เช่น

 

  1. ความพร้อมด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยที่อยู่ในจุดศูนย์กลางของภูมิภาค ช่วยสนับสนุนธุรกิจของบริษัทฯ 

 

  1. แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมการบินโลกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยที่ฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

  1. เครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลกและฝูงบินที่มีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและความสามารถในการสร้างรายได้ของบริษัทฯ 

 

  1. แบรนด์ที่แข็งแกร่งของการบินไทยที่เป็นที่รู้จักในระดับสากล มุ่งเน้นการให้บริการคุณภาพสูง

 

  1. การปฏิรูปธุรกิจช่วยให้สามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เพิ่มอัตรากำไรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

 

  1. มีธุรกิจสนับสนุนที่ครบวงจร สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน 

 

  1. ผู้บริหารมีประสบการณ์สูงและมีวิสัยทัศน์ในการฟื้นฟูบริษัทฯ ร่วมผลักดันให้บริษัทฯ เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

 

เปิดแผนระยะยาว ขยายฝูงบินเป็น 150 ลำ ทวงคืนมาร์เก็ตแชร์

 

โดยจากโอกาสของธุรกิจในอนาคต บมจ.การบินไทย ประกาศแผนธุรกิจระยะยาวของบริษัท ในปี 2576 ตั้งเป้าหมายจะขยายฝูงบินเพิ่มเป็นจำนวน 150 ลำ จากปัจจุบันที่มีจำนวน 77 ลำ โดยสิ้นปีนี้จะทยอยเพิ่มขึ้นเป็น 79 ลำ เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว

 

โดยในอนาคตบริษัทตั้งเป้าหมายเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด หรือมาร์เก็ตแชร์ ในอนาคตสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกลับไปที่ระดับ 42% ใกล้เคียงกับที่เคยทำได้ในปี 2556 ซึ่งในขณะนั้นบริษัทฯ มีฝูงบิน 100 ลำ ต่อมาในปี 2562 ส่วนแบ่งลดลงเหลือ 37% แม้มีฝูงบินอยู่ที่ 103 ลำ และในช่วงเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ ส่งผลให้ในปี 2566 บริษัทฯ ปรับโครงสร้างฝูงบินโดยการลดจำนวนลงเหลือ 70 ลำ ส่งผลกระทบต่อมาร์เก็ตแชร์ ทำให้ส่วนแบ่งลดลงมาที่ 27% เพื่อสร้างความคล่องตัวและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนให้กับธุรกิจ

 

เป้าหมายเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ของการบินไทย

เป้าหมายเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ของการบินไทย

 

นอกจากนี้ การบินไทยมีแผนลงทุนสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยานที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา เพิ่มจากปัจจุบันซึ่งบริษัทฯ มีศูนย์ซ่อมอากาศยาน 2 แห่ง คือ ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อรองรับฝูงบินของบริษัทฯ ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น รวมทั้งขยายโอกาสทางธุรกิจและหารายได้เพิ่มเติมจากการรับซ่อมอากาศยานให้กับสายการบินอื่นๆ รวมทั้งรองรับการเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานของภูมิภาค

 

หวังหุ้นการบินไทยเป็น Value Stock โตตามอุตสาหกรรมการบินโลก

 

ชาย เอี่ยมศิริ ยังให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า หุ้นของ บมจ.การบินไทย หรือ THAI ที่กำลังจะ Resume Trading ในตลาดหุ้นได้ในช่วงราวกลางปีนี้ ในมุมมองผู้บริหารต้องการให้ THAI เป็นหุ้น Value Stock ที่อิงตามปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจจริง เพราะมองว่ามีความยั่งยืนมากกว่า โดยต้องการให้ธุรกิจของบริษัทฯ เติบโตได้ตามทิศทางของอุตสาหกรรมการบินของโลก

 

ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย

ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย

 

“มุมมองส่วนตัวผมไม่ค่อยเชื่อเรื่อง Speculative หุ้น เพราะมองว่าเป็นการลงทุนที่หวือหวา จะไม่ยั่งยืน” ชายกล่าว

 

ขณะที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในปี 2568 ยังไม่มีอะไรที่น่าเป็นห่วง ยังมีโอกาสในการเติบโตที่ดี โดยประเมินประเทศไทยยังคงเป็น Top Destination ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกที่ต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวในไทย 

 

‘ศุภวุฒิ’ ชี้ การบินไทยไม่ควรกลับไปเป็นรัฐวิสาหกิจ

 

ส่วน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า มีมุมมองว่าการดำเนินธุรกิจสายการบินของ บมจ.การบินไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันถือว่าได้รับประโยชน์จากภาครัฐ เพราะมีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยบนสิทธิพิเศษ (Privilege) จากภาครัฐ ซึ่งสายการบินอื่นๆ ไม่ได้รับ

 

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และประธานสภาพัฒน์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และประธานสภาพัฒน์

 

อย่างไรก็ดี มีความเห็นว่าการบินไทยไม่ควรกลับไปเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอีก เพื่อให้ดำเนินธุรกิจในฐานะเอกชนที่มีความคล่องตัวมากกว่า ซึ่งกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ.การบินไทย ก็เห็นด้วยในประเด็นนี้

 

นอกจากนี้ มีความเห็นว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการของ บมจ.การบินไทย ชุดใหม่ตามเงื่อนไขของแผนฟื้นฟูฯ ควรใช้บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีความเข้าใจในการบริหารจัดการธุรกิจสายการบินที่กำลังเผชิญความท้าทาย เช่น การแข่งขันที่สูง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

 

The post เบื้องลึกแผน ‘การบินไทย’ พร้อม Take Off ออกจากแผนฟื้นฟูฯ ปูทางกลับเข้าเทรดในตลาดหุ้นปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้งลุยซื้อหุ้นเพิ่มทุน ‘การบินไทย’ จำนวนกว่า 22 ล้านหุ้น มูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท https://thestandard.co/spi-100-million-baht-thai-airways/ Wed, 18 Dec 2024 00:47:49 +0000 https://thestandard.co/?p=1020753 การบินไทย

วานนี้ (17 ธันวาคม) ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริ […]

The post สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้งลุยซื้อหุ้นเพิ่มทุน ‘การบินไทย’ จำนวนกว่า 22 ล้านหุ้น มูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบินไทย

วานนี้ (17 ธันวาคม) ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย หรือ THAI แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ตามที่บริษัทได้ดำเนินการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 9,822,473,626 หุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทก่อนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการและพนักงานของบริษัทที่มีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน

 

บริษัทขอแจ้งผลการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว โดยบริษัทได้จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทก่อนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,048,989,272 หุ้น และมีการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่พนักงานของบริษัทเป็นจำนวนทั้งสิ้น 59,512,700 หุ้น และบริษัทมีหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เหลือจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทก่อนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการและพนักงานของบริษัทที่มีสิทธิ์ได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน เนื่องจากบุคคลดังกล่าวไม่ใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าว หรือใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนดังกล่าวไม่เต็มจำนวน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 4,713,971,654 หุ้น

 

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ที่ประชุมคณะผู้บริหารแผนจึงมีมติให้นำหุ้นส่วนที่เหลือดังกล่าวไปจัดสรรให้แก่บุคคลในวงจำกัดตามแผนฟื้นฟูกิจการ ที่ราคาเสนอขายที่เท่ากันกับราคาที่เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทที่ 4.48 บาทต่อหุ้น

 

โดยมีรายชื่อบุคคลในวงจำกัดที่ได้รับการจัดสรรหุ้นและจำนวนหุ้นที่บุคคลในวงจำกัดแต่ละรายได้รับการจัดสรร ได้แก่

 

  1. บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง หรือ SPI จำนวน 22,321,400 หุ้น

 

  1. วิชัย กุลสมภพ จำนวน 250,000 หุ้น ทั้งนี้ วิชัย กุลสมภพ ปัจจุบันเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการของ SPI มูลค่ากว่า 100 ล้านบาท

 

ภายหลังการเสนอขายและจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนสำหรับการแปลงหนี้เป็นทุนและการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการแล้วเสร็จนั้น บริษัทจะมีหุ้นสามัญเพิ่มทุนคงเหลือจากการดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการซึ่งไม่ได้มีการจัดสรรเป็นจำนวนทั้งสิ้น 5,379,168,598 หุ้น

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะผู้บริหารแผนจึงมีมติลดทุนจดทะเบียนของบริษัท โดยการตัดหุ้นซึ่งยังไม่ได้มีการออกจำหน่ายจากการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ

The post สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้งลุยซื้อหุ้นเพิ่มทุน ‘การบินไทย’ จำนวนกว่า 22 ล้านหุ้น มูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ มองอย่างไร คลังส่งคนเพิ่มคุมแผนฟื้นฟูกิจการ | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-02122024-3/ Mon, 02 Dec 2024 06:05:41 +0000 https://thestandard.co/?p=1015064

ฟังมุมมองเจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ มองอย่างไรเมื่อคลังส่งคนเ […]

The post ชมคลิป: เจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ มองอย่างไร คลังส่งคนเพิ่มคุมแผนฟื้นฟูกิจการ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
  • ฟังมุมมองเจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ มองอย่างไรเมื่อคลังส่งคนเพิ่มคุมแผนฟื้นฟูกิจการ และความกังวลต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับอนาคตของการบินไทย พูดคุยกับ ผศ. ดร.ประชา คุณธรรมดี กรรมการเจ้าหนี้ บมจ.การบินไทย

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: เจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ มองอย่างไร คลังส่งคนเพิ่มคุมแผนฟื้นฟูกิจการ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ จ่อยื่นศาลคัดค้านคลังหมดสิทธิ์โหวตประชุมเจ้าหนี้ หลังแปลงหนี้เป็นทุน สกัดแผนภาครัฐยึดการบินไทย https://thestandard.co/thai-airways-creditors-block-finance-ministry-vote/ Mon, 02 Dec 2024 05:38:39 +0000 https://thestandard.co/?p=1015049 การบินไทย

ที่ประชุมเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย มีมติเห็นชอบให้แก้ไข […]

The post เจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ จ่อยื่นศาลคัดค้านคลังหมดสิทธิ์โหวตประชุมเจ้าหนี้ หลังแปลงหนี้เป็นทุน สกัดแผนภาครัฐยึดการบินไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบินไทย

ที่ประชุมเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย มีมติเห็นชอบให้แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ จำนวน 3 ฉบับ แต่เรื่องยังไม่จบลงง่ายๆ หลังจากมีเจ้าหนี้เตรียมยื่นเรื่องร้องให้ศาลไต่สวนกรณีที่กระทรวงการคลังมีการโหวตในการประชุมเจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สามารถทำได้หรือไม่ 

 

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีการนัดประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อพิจารณาขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ จำนวน 3 ฉบับ ของ บมจ.การบินไทย ที่เลื่อนการลงมติมาจากการประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยการประชุมเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย ในวันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ประชุมเห็นชอบให้แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 ฉบับ ดังนี้ 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

 

  1. แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อกำหนดให้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม

 

  1. แก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อเพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ

 

  1. เพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ โดยกระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน ได้แก่ ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม และ พลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง 

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการของ บมจ.การบินไทย ประกอบด้วยผู้บริหารแผนจำนวน 3 คน ดังนี้

 

  1. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผน 

 

  1. ชาญศิลป์ ตรีนุชกร ผู้บริหารแผน 

 

  1. พรชัย ฐีระเวช ผู้บริหารแผน 

 

ซึ่งปัจจุบันผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นหนึ่งในตัวแทนที่มาจากกระทรวงการคลัง หมายความว่าหากเป็นไปตามมติของเจ้าหนี้ในการโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ในรอบนี้ กระทรวงการคลังจะมีเสียงข้างมากในคณะผู้บริหารแผนเพิ่มเป็น 3 ใน 5 เสียง จากเดิมที่มี 1 ใน 3 เสียง

 

ปิยสวัสดิ์ชี้ สัญญาณภาครัฐส่อกลับมาครอบงำ ‘การบินไทย’

 

ด้าน ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย หรือ THAI ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH ว่า ยอมรับว่ามีความกังวลว่าการที่กระทรวงการคลังส่งตัวแทนจำนวน 2 คน มานั่งเพิ่มในคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ ของ บมจ.การบินไทย จะเป็นสัญญาณว่าภาครัฐต้องการกลับเข้ามาครอบงำและแทรกแซงการบินไทยเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในอดีต 

 

ดังนั้นจึงกังวลว่าผลการประชุมที่ออกมาจะมีผลกระทบต่อการขายหุ้นเพิ่มทุนกับกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมและนักลงทุนรายใหญ่ (High Net Worth) เพราะเป็นประเด็นที่กังวลมากว่าจะมีการครอบงำและแทรกแซงจากรัฐ โดยบริษัทจะเปิดให้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 9,822.5 ล้านหุ้น ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมและพนักงานของบริษัท คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 44,004 ล้านบาท ที่ราคาเสนอขาย 4.48 บาทต่อหุ้น ในระหว่างวันที่ 6-12 ธันวาคมนี้ โดยกังวลว่าอาจไม่สามารถระดมทุนได้ตามแผนที่วางไว้

 

“ตอนนี้นักลงทุนที่กำลังจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของการบินไทยมีความกังวล เพราะเห็นสัญญาณว่าภาครัฐต้องการที่จะเข้ามาครอบงำและแทรกแซงการบินไทย เพราะในคณะผู้บริหารแผนจะมีตัวแทนจากฝ่ายกระทรวงการคลังเป็น 3 ใน 5 คน เป็นเสียงข้างมาก จากเดิม 1 ใน 3 คน”

 

เจ้าหนี้การบินไทยจ่อร้องศาลขอไต่สวน มองคลังไร้สิทธิ์โหวต

 

อย่างไรก็ดี ในประเด็นการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 ฉบับ แม้ว่าที่ประชุมเจ้าหนี้จะลงมติเห็นชอบไปแล้ว ขณะนี้อาจยังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องจากมีเจ้าหนี้สถาบันการเงินรายใหญ่และเจ้าหนี้กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์บางราย เตรียมยื่นเรื่องร้องคัดค้านการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 ฉบับต่อศาลถึงมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ออกมาแล้ว โดยเฉพาะมีเจ้าหนี้กลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์บางรายเตรียมยื่นเรื่องร้องให้ศาลไต่สวน กรณีที่กระทรวงการคลังโหวตในการประชุมเจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นในวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สามารถทำได้หรือไม่ 

 

 

ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บมจ.การบินไทย

เนื่องจากก่อนวันประชุมเจ้าหนี้ กระทรวงการคลังซึ่งเดิมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แปลงหนี้เป็นทุนแล้วทั้งจำนวนในสัดส่วนเต็ม 100% ตามแผนการปรับโครงสร้างทุนและเงื่อนไขของแผนฟื้นฟูฯ ส่งผลให้ ณ วันที่มีการประชุมเจ้าหนี้ กระทรวงการคลังจึงไม่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย จึงไม่สิทธิ์ออกเสียงโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว อีกทั้งฝ่ายกฎหมายของ บมจ.การบินไทย ยังให้ความเห็นด้วยว่า กระทรวงการคลังไม่มีสิทธิ์โหวตลงคะแนนเพราะไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ของ บมจ.การบินไทย แม้ในวันดังกล่าวกระทรวงพาณิชย์ยังไม่ได้รับเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ตาม

 

อย่างไรก็ดี ให้ติดตามการแต่งตั้งคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทชุดใหม่ตามเงื่อนไขในแผนฟื้นฟูฯ ที่สรรหาแต่งตั้งในช่วงต้นปี 2568 เพื่อเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี (AGM) ของการบินไทย เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ภายในช่วงเดือนเมษายนปีหน้า โดยขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นของ บมจ.การบินไทย ว่าจะเป็นอย่างไร เพราะหากแต่งตั้งบุคคลที่ไม่เหมาะสมก็อาจมีผลกระทบให้ บมจ.การบินไทย กลับไปประสบภาวะปัญหาเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งจะมีผลกระทบกับผู้ถือหุ้นตามมาด้วย

 

ชี้คลังยึดการบินไทยเบ็ดเสร็จ-ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ส่อผิดกฎหมายวินัยการเงินการคลัง 

 

ด้าน ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ผลการประชุมเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในการลงคะแนนโหวตข้อเสนอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ มีผลก็คือ รัฐบาลควบคุมเสียงผู้บริหารแผนได้ 3 ใน 5 เสียง เป็นการยึดแบบเบ็ดเสร็จ เหลือแค่ต้องทำให้มีผลถาวร โดยดันสัดส่วนหุ้นของกระทรวงการคลังให้สูงขึ้น

 

โดยมีวาระลับอนุมัติให้กระทรวงการคลังขายหน่วยลงทุนคืนกองทุนวายุภักษ์ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนการบินไทย เพื่อจะดันสัดส่วนให้ถึง 40%

 

อย่างไรก็ดี การที่รัฐบาลนี้พยายามจะแทรกตัวเข้าไปยึดคืนการบินไทย เป็นประโยชน์ต่อการบินไทยหรือไม่ มองว่าสาเหตุหนึ่งที่การบินไทยบริหารงานขาดทุนจนต้องเข้าแผนฟื้นฟูกิจการ เกิดจากเดิมรัฐเป็นเจ้าของ ทำให้มีการฝากพนักงาน จ้างงานเกินจำเป็น มีการวิ่งเต้นประมูลงาน และมีข่าวผลประโยชน์ใต้โต๊ะจากการซื้อเครื่องบินและอุปกรณ์อยู่เนืองๆ

 

ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 

 

ส่วนกรณีทำไมการเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการคลังขายหน่วยลงทุนคืนกองทุนวายุภักษ์ 2 หมื่นล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นเพิ่มทุนการบินไทย ต้องทำเป็นวาระลับ มีมุมมองว่ารัฐบาลไม่มีเหตุผลที่จะทำเป็นวาระลับ เพราะการใช้เงินส่วนรวมของประเทศชาติต้องดำเนินการอย่างโปร่งใส ต้องอธิบายเหตุผลให้ประชาชนทราบ

 

สำหรับการที่รัฐบาลนี้กำหนดให้กองทุนวายุภักษ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนการบินไทยเพื่อจะดันสัดส่วนให้ถึง 40% เป็นการลงทุนตามครรลองปกติของกองทุนรวมหรือไม่ มองว่าไม่น่าจะใช่ เพราะการลงทุนตามปกติของกองทุนรวม เน้นการแสวงหาผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน แต่การลงทุนกรณีนี้ซึ่งเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นวาระลับ หากจริงก็น่าจะมุ่งเพื่อควบคุมกิจการมากกว่า

 

ส่วนนโยบายให้กองทุนวายุภักษ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนการบินไทยเพื่อควบคุมกิจการ เป็นประโยชน์เพื่อคนไทยหรือไม่ มองว่าเนื่องจากการบินไทยฟื้นตัวได้ดี และมีแนวโน้มจะเดินหน้าไปได้ด้วยตนเอง น่าจะมีความสามารถหาแหล่งเงินทุนได้เองโดยไม่ต้องอาศัยเงินทุนจากรัฐ ดังนั้นการที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงเพื่อยึดคืนจึงไม่ได้ก่อประโยชน์เพื่อคนไทยโดยรวม แต่น่าจะเป็นนโยบายที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ที่กุมอำนาจทางการเมืองมากกว่าประชาชน

 

ด้านแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับกระทรวงการคลังกล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า กระทรวงการคลังในฐานะหนึ่งในผู้ถือหุ้นของการบินไทย มีเจตนาหลักคืออยากให้การบินไทยออกจากแผนฟื้นฟูฯ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน และยืนยันว่าไม่ต้องการดึงการบินไทยกลับมาเป็นรัฐวิสาหกิจหรือครอบงำการบินไทยแต่อย่างใด 

 

ส่วนกรณีที่มีการเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน ซึ่งเป็นคนที่กระทรวงการคลังมั่นใจในคุณสมบัติ ก็เพราะต้องการให้เกิดการส่งต่อนโยบายจากผู้บริหารแผนและคณะผู้บริหารที่ราบรื่นและสอดรับกับเป้าหมายที่รัฐบาลกำลังผลักดัน นั่นก็คือการเป็น Aviation Hub 

 

The post เจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ จ่อยื่นศาลคัดค้านคลังหมดสิทธิ์โหวตประชุมเจ้าหนี้ หลังแปลงหนี้เป็นทุน สกัดแผนภาครัฐยึดการบินไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: สกัดแผนภาครัฐยึด ‘การบินไทย’ เจ้าหนี้จ่อยื่นศาลคัดค้าน | Morning Wealth 2 ธ.ค. 2567 https://thestandard.co/morning-wealth-02122024/ Mon, 02 Dec 2024 03:29:19 +0000 https://thestandard.co/?p=1014990 การบินไทย

กลุ่มเจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ เตรียมยื่นศาลคัดค้านกระทรวงกา […]

The post ชมคลิป: สกัดแผนภาครัฐยึด ‘การบินไทย’ เจ้าหนี้จ่อยื่นศาลคัดค้าน | Morning Wealth 2 ธ.ค. 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบินไทย
  • กลุ่มเจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ เตรียมยื่นศาลคัดค้านกระทรวงการคลัง ไต่สวนหมดสิทธิ์โหวตประชุมเจ้าหนี้ หลังแปลงหนี้เป็นทุน หวังสกัดแผนภาครัฐยึดการบินไทย รายละเอียดเป็นอย่างไร
  • เจ้าหนี้ ‘การบินไทย’ มองอย่างไร คลังส่งคนเพิ่มคุมแผนฟื้นฟูฯ พูดคุยกับ ผศ. ดร.ประชา คุณธรรมดี กรรมการเจ้าหนี้ บมจ.การบินไทย
  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยและผลกระทบ Trump 2.0 พูดคุยกับ ดร.ปุณยวัจน์ ศรีสิงห์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 . ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: สกัดแผนภาครัฐยึด ‘การบินไทย’ เจ้าหนี้จ่อยื่นศาลคัดค้าน | Morning Wealth 2 ธ.ค. 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘การบินไทย’ นับหนึ่งไฟลิ่งแปลงหนี้เป็นทุน เปิดให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิระหว่างวันที่ 19-21 พ.ย. นี้ พร้อมเล็งยื่นออกจากแผนฟื้นฟูฯ ย้ำนำหุ้นกลับมาเทรด Q2/68 ตามแผน https://thestandard.co/thai-airways-debt-equity-plan/ Mon, 18 Nov 2024 05:33:14 +0000 https://thestandard.co/?p=1009914 การบินไทย

การบินไทย ประกาศเดินหน้าแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจก […]

The post ‘การบินไทย’ นับหนึ่งไฟลิ่งแปลงหนี้เป็นทุน เปิดให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิระหว่างวันที่ 19-21 พ.ย. นี้ พร้อมเล็งยื่นออกจากแผนฟื้นฟูฯ ย้ำนำหุ้นกลับมาเทรด Q2/68 ตามแผน appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบินไทย

การบินไทย ประกาศเดินหน้าแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ หลังไฟลิ่งมีผลใช้บังคับ เปิดให้เจ้าหนี้แสดงเจตนาการใช้สิทธิได้ระหว่างวันที่ 19-21 พฤศจิกายน 2567

 

บมจ.การบินไทย หรือ THAI ออกแถลงการณ์ระบุว่า บริษัทพร้อมเดินหน้าปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ หลังจากแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) สำหรับการใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนของบริษัทได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้มีผลใช้บังคับเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 โดยการแปลงหนี้เป็นทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ ประกอบไปด้วย

 

(ก) การแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการแบบภาคบังคับเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุน (Mandatory Conversion) จำนวนไม่เกิน 14,862,369,633 หุ้น ที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 37,828 ล้านบาท

 

(ข) การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 4,911,236,813 หุ้น ที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 12,500 ล้านบาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นทุนเพิ่มเติมโดยความสมัครใจ (Voluntary Conversion)

 

(ค) การจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 1,903,608,176 หุ้น ที่ราคา 2.5452 บาทต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าไม่เกิน 4,845 ล้านบาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิแปลงหนี้ดอกเบี้ยใหม่ตั้งพักของเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นทุนโดยความสมัครใจ 

 

ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก และดำเนินการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการให้สำเร็จ

 

ภาพ: เปิดขั้นตอนการใช้สิทธิแปลงหนี้เป็นทุนของ บมจ.การบินไทย

 

สำหรับเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีสิทธิแปลงหนี้เป็นทุน ได้แก่ เจ้าหนี้กลุ่มที่ 4, เจ้าหนี้กลุ่มที่ 5, เจ้าหนี้กลุ่มที่ 6 และเจ้าหนี้กลุ่มที่ 18-31 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้ถือหุ้นกู้ อ้างอิงรายชื่อ ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567 จะไม่ต้องดำเนินการใดๆ ในส่วนการแปลงหนี้เป็นทุนแบบภาคบังคับตามข้อ (ก) ข้างต้น โดยจะได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ สำหรับการใช้สิทธิแปลงหนี้เดิมตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นทุนเพิ่มเติม (Voluntary Conversion) และ/หรือใช้สิทธิแปลงหนี้ดอกเบี้ยตั้งพักใหม่เป็นทุนตามข้อ (ข) และ (ค) ข้างต้น เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีสิทธิแปลงหนี้เป็นทุนสามารถแสดงเจตนาการใช้สิทธิดังกล่าวได้ระหว่างวันที่ 19 พฤศจิกายน ตั้งแต่เวลา 09.00 น. – วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 16.00 น. (หรือเวลาทำการของแต่ละสาขา) ผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ดังนี้

 

  • สำนักงานใหญ่บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) สำหรับการส่งใบแสดงเจตนาด้วยเอกสารตัวจริง (Hard Copy)
  • สำนักงานใหญ่และสาขาของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำหรับการส่งใบแสดงเจตนาด้วยเอกสารตัวจริง (Hard Copy)
  • ระบบออนไลน์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ผ่านระบบ Money Connect by Krungthai บน Krungthai NEXT Application (สำหรับบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยจะต้องดำเนินการเปิดบัญชีธนาคารผ่านระบบ Krungthai NEXT)

 

เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการที่มีสิทธิแปลงหนี้เป็นทุนสามารถดาวน์โหลดเอกสารใบแสดงเจตนาในการใช้สิทธิ และรายละเอียดเอกสารประกอบผ่านทาง https://bit.ly/TGVoluntary

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของหุ้นการบินไทยหลังจากวันที่กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เจ้าหนี้ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นจากการแปลงหนี้เป็นทุนภายใต้แผนฟื้นฟูกิจการทุกราย (ทั้งในส่วน Mandatory Conversion และ Voluntary Conversion และดอกเบี้ยใหม่ตั้งพัก) ถูกกำหนดห้ามมิให้ขายหุ้นเพิ่มทุนเป็นระยะเวลานับตั้งแต่วันที่ได้รับจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากการแปลงหนี้เป็นทุน จนกว่าจะครบระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่หุ้นของการบินไทยกลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยหุ้นจำนวนร้อยละ 25 ของหุ้นที่ถูกห้ามขายสามารถขายได้เมื่อครบกำหนด 6 เดือน ดังนั้น เจ้าหนี้ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นจากการแปลงหนี้เป็นทุนแต่ละรายจะได้รับหุ้นในรูปแบบใบหุ้น (Scrip) เท่านั้น และใบหุ้นดังกล่าวจะถูกเก็บรักษาไว้ที่บริษัท หรือผู้ดูแลรับฝากทรัพย์สิน (Custodian) ที่บริษัทกำหนดในระหว่างระยะเวลาห้ามขายหุ้น

 

อย่างไรก็ตาม การบินไทยยังคงดำเนินการในการชำระหนี้สำหรับมูลหนี้คงเหลือของเจ้าหนี้แต่ละราย ในกรณีที่ไม่ได้มีการแปลงหนี้เป็นทุนโดยความสมัครใจ (Voluntary Conversion) เพิ่มเติม ซึ่งกำหนดไว้ตามแผนตั้งแต่ปี 2567-2579 พร้อมทั้งมุ่งมั่นพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงาน และคุณภาพการบริการเพื่อเพิ่มรายได้และส่วนแบ่งทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง ผ่านการกำหนดกลยุทธ์เครือข่ายเส้นทางบินและปรับปรุงฝูงบินให้สอดรับกับแนวโน้มของตลาด มุ่งเน้นการให้บริการคุณภาพสูงด้วยอัตลักษณ์ความเป็นไทย พัฒนาช่องทางการขายเพื่อเพิ่มสัดส่วนยอดขายผ่านช่องทางของบริษัทโดยตรง ทั้งเว็บไซต์และแอปพลิเคชันใหม่ ตลอดจนมีแผนพัฒนาศูนย์บริการลูกค้าต่างประเทศเพื่อขยายการให้บริการผู้โดยสารได้หลากหลายขึ้น สอดรับเป้าหมายในการเป็นผู้นำตลาดในประเทศ และศูนย์กลางการบินของภูมิภาค เพื่อสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

 

ภายหลังกระบวนการแปลงหนี้เป็นทุนดังกล่าวแล้วเสร็จ การบินไทยจะดำเนินการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนอีกส่วนรวมกับหุ้นที่เหลือจากการที่เจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการไม่ใช้สิทธิ หรือใช้สิทธิไม่เต็มจำนวนจากการใช้สิทธิแปลงหนี้เดิมของเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการเป็นทุนเพิ่มเติมโดยความสมัครใจ (Voluntary Conversion) (หากมี) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของการบินไทย ก่อนการปรับโครงสร้างทุนที่มีที่อยู่ และจัดส่งเอกสารในประเทศไทยตามข้อมูลที่ปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 เท่านั้น พนักงานของการบินไทยและบุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ตามลำดับ ในราคาที่ผู้บริหารแผนกำหนด ที่จะต้องไม่ต่ำกว่า 2.5452 บาทต่อหุ้น

 

กระบวนการปรับโครงสร้างทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายให้ส่วนของผู้ถือหุ้นกลายเป็นบวก ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งยังส่งผลให้การบินไทยมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้น โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หลังจากนั้นจะจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการบริษัท ซึ่งเป็นเงื่อนไขตามที่แผนฟื้นฟูกิจการกำหนด ก่อนยื่นคำร้องยกเลิกการฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง และนำหุ้น THAI กลับเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2568 อีกครั้ง

The post ‘การบินไทย’ นับหนึ่งไฟลิ่งแปลงหนี้เป็นทุน เปิดให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิระหว่างวันที่ 19-21 พ.ย. นี้ พร้อมเล็งยื่นออกจากแผนฟื้นฟูฯ ย้ำนำหุ้นกลับมาเทรด Q2/68 ตามแผน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลากูน่า ภูเก็ต ครบรอบ 30 ปีไตรกีฬาระดับโลก ตั้งเป้าเติบโตด้วยการแข่งขันที่หลากหลาย ด้าน กกท. ร่วมสนับสนุนเพื่อส่งเสริม Sports Tourism https://thestandard.co/laguna-phuket-30y-sports-tourism/ Sat, 16 Nov 2024 11:45:34 +0000 https://thestandard.co/?p=1009458 ลากูน่า ภูเก็ต

วันนี้ (16 พฤศจิกายน) ฝ่ายจัดการแข่งขันลากูน่า ภูเก็ต พ […]

The post ลากูน่า ภูเก็ต ครบรอบ 30 ปีไตรกีฬาระดับโลก ตั้งเป้าเติบโตด้วยการแข่งขันที่หลากหลาย ด้าน กกท. ร่วมสนับสนุนเพื่อส่งเสริม Sports Tourism appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลากูน่า ภูเก็ต

วันนี้ (16 พฤศจิกายน) ฝ่ายจัดการแข่งขันลากูน่า ภูเก็ต พร้อมด้วยจังหวัดภูเก็ต, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.), กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานอื่นๆ จัดงานแถลงข่าวไตรกีฬา ‘ลากูน่า ภูเก็ต’ ที่ในปีนี้เป็นการจัดการแข่งขันครบรอบ 30 ปีอย่างเป็นทางการ และนับเป็นการแข่งขันไตรกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย

 

โดย ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทยที่เดินทางมาร่วมงานแถลงข่าวในวันนี้ เปิดเผยว่า การแข่งขันรายการนี้ได้รับการยอมรับระดับโลกว่ามีมาตรฐาน และจัดการแข่งขันมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมชื่นชมว่า รายการนี้เป็นเวทีแจ้งเกิดสำหรับนักกีฬาไทยหลายคน และเป็นเวทีที่นักกีฬาจากต่างประเทศเข้ามาใช้ต่อยอดสู่ความสำเร็จในระดับโลก

 

ซึ่ง ดร.ก้องศักด เปิดเผยว่า สรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา มีนโยบายที่จะผลักดันเรื่องการท่องเที่ยวและกีฬามากขึ้นอีกในปี 2025 พร้อมวางแผนยกรายการ ‘ลากูน่า ภูเก็ต’ เป็นรายการสำคัญในปฏิทินประจำปีที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและนักกีฬาชาวต่างชาติเข้ามาร่วมแข่งขันอย่างต่อเนื่อง

 

ขณะที่ พอล วิลสัน รองประธานและรองกรรมการผู้จัดการ ลากูน่า ภูเก็ต เปิดเผยว่า 6 เดือนต่อจากนี้จะเป็นช่วงไฮซีซันของภูเก็ตในแง่ของการท่องเที่ยว ซึ่งรายการนี้เป็นจุดเริ่มต้นไฮซีซันที่ดีของจังหวัด และเนื่องในโอกาสพิเศษครบรอบ 30 ปีของการจัดการแข่งขัน

 

โดยฝ่ายจัดการแข่งขันมองว่า แนวทางการพัฒนารายการนี้ต่อไปในอนาคตคือการขยายทีมที่มาลงแข่งขันในประเภทอื่นๆ นอกจากไตรกีฬา ทั้งการแข่งขันว่ายน้ำแบบ Open Water โดย TriHub Thailand และ Charity Fun Run ระยะ 6 กิโลเมตร ในวันที่ 16 พฤศจิกายนนี้ อีกทั้งการแข่งขันสปรินต์ และ Duathlon หรือทวิกีฬา (บุคคล) ที่จะช่วยเปิดโอกาสให้คนที่ยังไม่พร้อมลงแข่งขันประเภทไตรกีฬาสามารถมาสัมผัสบรรยากาศของการแข่งขันได้มากขึ้น

 

ส่วน เคต วาก์ จากสหราชอาณาจักร อดีตแชมป์ไตรกีฬาโลกอายุ 23 ปี และแชมป์เก่าเมื่อปี 2023 ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD SPORT โดยเธอมองว่า เสน่ห์ของการมาแข่งขันที่ภูเก็ตคือการต้อนรับจากคนไทย อาหาร บรรยากาศ และความท้าทายของสนามที่มีความหลากหลาย ทั้งการว่ายน้ำในน้ำทะเลแล้วต่อด้วยทะเลสาบ รวมถึงเป้าหมายว่าอยากกลับมาป้องกันแชมป์ให้ได้ในปีนี้

 

ขณะที่ เฮย์เดน ไวลด์ เจ้าของเหรียญเงินโอลิมปิกจากกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี 2024 เดินทางมาแข่งขันที่ประเทศไทยเป็นครั้งแรก และเผยกับ THE STANDARD SPORT ว่า รู้สึกประทับใจที่มาถึงภูเก็ตและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี อีกทั้งอยากทำผลงานให้ได้ดีในการแข่งขันรายการนี้เป็นครั้งแรกอีกด้วย

 

สำหรับศึกลากูน่า ภูเก็ต ไตรกีฬา นับเป็นการแข่งขันไตรกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยปีนี้นับเป็นการจัดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 30 ซึ่งจะแข่งขันกันระหว่างวันที่ 16-17 พฤศจิกายนนี้ที่ลากูน่า โกรฟ โดยเช้าวันอาทิตย์ที่ 17 พฤศจิกายน กลุ่มนักกีฬาอีลีตชายจะออกสตาร์ทเป็นกลุ่มแรกตั้งแต่เวลา 06.30 น.

The post ลากูน่า ภูเก็ต ครบรอบ 30 ปีไตรกีฬาระดับโลก ตั้งเป้าเติบโตด้วยการแข่งขันที่หลากหลาย ด้าน กกท. ร่วมสนับสนุนเพื่อส่งเสริม Sports Tourism appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบินไทยเปิดให้เจ้าหนี้ลงมติโหวตแก้แผนฟื้นฟูฯ ล่วงหน้าระหว่างวันที่ 14-28 พ.ย. นี้ จับวาระคลังชงขอโควตาผู้บริหารแผนเพิ่มอีก 2 คน https://thestandard.co/thai-airways-creditors-vote-rehab/ Thu, 14 Nov 2024 09:15:20 +0000 https://thestandard.co/?p=1008593 การบินไทย แผนฟื้นฟูกิจการ

วันนี้ (14 พฤศจิกายน) บมจ.การบินไทย (THAI) ออกเอกสารเผย […]

The post การบินไทยเปิดให้เจ้าหนี้ลงมติโหวตแก้แผนฟื้นฟูฯ ล่วงหน้าระหว่างวันที่ 14-28 พ.ย. นี้ จับวาระคลังชงขอโควตาผู้บริหารแผนเพิ่มอีก 2 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบินไทย แผนฟื้นฟูกิจการ

วันนี้ (14 พฤศจิกายน) บมจ.การบินไทย (THAI) ออกเอกสารเผยแพร่โดยระบุว่า ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำร้องขอแก้ไขแผนทั้ง 3 ฉบับ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 น. ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) สำหรับเจ้าหนี้ที่เคยลงทะเบียนไว้แล้วไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ ระบบจะส่งลิงก์เพื่อเข้าร่วมประชุมอีกครั้งในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป

 

ทั้งนี้ หากเจ้าหนี้ไม่สะดวกเข้าร่วมประชุมเจ้าหนี้ในวันและเวลาดังกล่าว สามารถลงมติล่วงหน้าโดยกรอกแบบฟอร์มคำร้องขอลงมติล่วงหน้า และส่งไปรษณีย์ไปที่กองฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กรมบังคับคดี ชั้น 8 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ หรือส่งคำร้องขอลงมติล่วงหน้าในแบบฟอร์มไปที่อีเมล [email protected]

 

กรณีเจ้าหนี้ไม่สะดวกหรือมีข้อขัดข้องในการลงทะเบียนหรือลงมติล่วงหน้าตามวิธีข้างต้น บมจ.การบินไทย (THAI) จัดพื้นที่และเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าหนี้ ณ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานใหญ่การบินไทย ถนนวิภาวดีรังสิต โดยเจ้าหนี้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมประชุมเจ้าหนี้ทุกวันตั้งแต่วันที่ 14-28 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00-17.00 น.

 

โดยหากมีความประสงค์ลงมติล่วงหน้าสามารถดำเนินการได้ทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 14-21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00-17.00 น. และวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00-12.00 น.

 

นอกจากนี้ท่านเจ้าหนี้สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์บริการทางโทรศัพท์ของบริษัท โทร. 0 2140 2600 ระหว่างเวลา 09.00-17.00 น. ทุกวัน ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันประชุมเจ้าหนี้ในวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567

 

ทั้งนี้ ในการยื่นคำร้องขอลงมติล่วงหน้าเจ้าหนี้ต้องแนบเอกสารยืนยันตัวตน กล่าวคือ กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนที่ลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมขีดปิดทึบข้อมูลศาสนาและกรุ๊ปเลือด รวมทั้งลงนามกำกับ จำนวน 1 ชุด กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาหนังสือรับรองบริษัท และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม ซึ่งลงนามแทนนิติบุคคลดังกล่าวในคำร้องขอลงมติล่วงหน้า รวมถึงลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมขีดปิดทึบข้อมูลศาสนาและกรุ๊ปเลือด รวมทั้งลงนามกำกับ จำนวน 1 ชุด

 

ก่อนหน้านี้ บมจ.การบินไทย (THAI) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เรื่องมติที่ประชุมเจ้าหนี้เกี่ยวกับการพิจารณาคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทยจำนวน 3 ฉบับ ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยบริษัทขอแจ้งให้ทราบว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ของบริษัทที่จัดโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งมีเจ้าหนี้ที่มีจำนวนหนี้รวมกันในสัดส่วน 55.92% ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนน มีมติให้เลื่อนการประชุมพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ตามคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ออกไปเป็นวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ เวลา 10.00 น. ดังนี้

 

  1. พิจารณาขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อกำหนดให้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม

 

  1. พิจารณาคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อเพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ

 

  1. พิจารณาเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ โดยกระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 คน ได้แก่

 

1) ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม

 

 

2) พลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

 

 

ด้านแหล่งข่าวเจ้าหนี้ บมจ.การบินไทย (THAI) เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า การประชุมเจ้าหนี้ของการบินไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีกลุ่มเจ้าหนี้หุ้นกู้ที่เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวนหลายรายที่รวมเสียงข้างมากเสนอให้เลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ออกไปก่อน เนื่องจากในแต่ละสหกรณ์มีหลักเกณฑ์ของตัวเองในการพิจารณาเรื่องสำคัญ และมติอนุมัติจากสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์มาก่อน ซึ่งแต่ละสหกรณ์ออมทรัพย์มีสมาชิกผู้ออมเป็นจำนวนมาก และหลายรายเป็นผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้ออม หรือผู้ลงทุนในหุ้นกู้ของการบินไทยที่ไม่ทราบว่ามีการประชุมดังกล่าว

 

โดยเจ้าหนี้ของการบินไทยมีความกังวลโดยเฉพาะประเด็นที่กระทรวงการคลังเสนอขอแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีก 2 คน ซึ่งแจ้งเรื่องมายัง บมจ.การบินไทย (THAI) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และเป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิด ส่งผลให้สื่อสารกับเจ้าหนี้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งยังมีความกังวลว่าหากทั้ง 2 รายชื่อดังกล่าวได้รับเสียงโหวตข้างมากจากเจ้าหนี้ในที่ประชุมดังกล่าว จะส่งผลให้กระทรวงการคลังมีเสียงข้างมากในคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มเป็นจำนวน 3 คนจากทั้งหมด 5 คน จากปัจจุบันที่มี 1 คนจากทั้งหมด 3 คน ซึ่งจะมีผลให้กระทรวงการคลังมีอำนาจควบคุมในการบริหารจัดการแผนฟื้นฟูฯ ของการบินไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอาจมีผลกระทบสิทธิ์ของเจ้าหนี้ให้เสียเปรียบในอนาคตหรือไม่

The post การบินไทยเปิดให้เจ้าหนี้ลงมติโหวตแก้แผนฟื้นฟูฯ ล่วงหน้าระหว่างวันที่ 14-28 พ.ย. นี้ จับวาระคลังชงขอโควตาผู้บริหารแผนเพิ่มอีก 2 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เจ้าหนี้การบินไทยสั่งเลื่อนโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ หวั่นเพิ่มอำนาจให้คลัง ทำกระทบสิทธิ์เจ้าหนี้ https://thestandard.co/thai-airways-creditors-delay-rehab-vote/ Mon, 11 Nov 2024 08:40:42 +0000 https://thestandard.co/?p=1007110 การบินไทย

จากการประชุมแก้แผนฟื้นฟูกิจการของ การบินไทย จำนวน 3 ฉบั […]

The post เจ้าหนี้การบินไทยสั่งเลื่อนโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ หวั่นเพิ่มอำนาจให้คลัง ทำกระทบสิทธิ์เจ้าหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
การบินไทย

จากการประชุมแก้แผนฟื้นฟูกิจการของ การบินไทย จำนวน 3 ฉบับ เพื่อเสนอต่อเจ้าหนี้ให้พิจารณาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เจ้าหนี้มีมติให้เลื่อนการประชุมเพื่อลงมติออกไปเป็นวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้แทน เนื่องจากมีความกังวลว่าอาจมีผลกระทบสิทธิ์ของเจ้าหนี้ ทำให้อาจเสียเปรียบกระทรวงการคลัง

 

ชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.การบินไทย(THAI) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เรื่องมติที่ประชุมเจ้าหนี้เกี่ยวกับการพิจารณาคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยบริษัทขอแจ้งให้ทราบว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ของบริษัทที่จัดโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งมีเจ้าหนี้ที่มีจำนวนหนี้รวมกันในสัดส่วน 55.92% ของจำนวนหนี้ทั้งหมดที่เข้าร่วมประชุมและออกเสียงลงคะแนน มีมติให้เลื่อนการประชุมพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ตามคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ออกไปเป็นวันที่ 29 พฤศจิกายนนี้ เวลา 10.00 น. ดังนี้

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

  1. พิจารณาขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อกำหนดให้ผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ มีอำนาจลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม

 

  1. พิจารณาคำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ เพื่อเพิ่มข้อกำหนดให้ชัดเจนว่าเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูฯ จะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้นๆ

 

  1. พิจารณาเพิ่มผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ โดยกระทรวงการคลังเสนอให้พิจารณาแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีกจำนวน 2 ราย ได้แก่ ปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม และ พลจักร นิ่มวัฒนา รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง

 

เจ้าหนี้การบินไทยกังวลคลังชงคนเพิ่มเป็นผู้บริหาร หวั่นกระทบสิทธิ์เจ้าหนี้

 

ด้านแหล่งข่าวเจ้าหนี้ บมจ.การบินไทย(THAI) เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ในการประชุมเจ้าหนี้ของการบินไทยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีกลุ่มเจ้าหนี้หุ้นกู้ที่เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์จำนวนหลายรายที่รวมเสียงข้างมากเสนอให้เลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ออกไปก่อน เนื่องจากในแต่ละสหกรณ์มีหลักเกณฑ์ของตัวเองในการพิจารณาเรื่องสำคัญ และได้มติอนุมัติจากสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์มาก่อน ซึ่งแต่ละสหกรณ์ออมทรัพย์มีสมาชิกผู้ออมเป็นจำนวนมาก และหลายรายเป็นผู้สูงอายุซึ่งเป็นผู้ออมหรือผู้ลงทุนในหุ้นกู้ของการบินไทยที่ไม่ทราบว่ามีการประชุมดังกล่าว

 

อีกทั้งสหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งยังได้รับมอบอำนาจจากสมาชิกให้ออกเสียงโหวตได้บางวาระเท่านั้น จึงไม่มีอำนาจออกเสียงโหวตแทนสมาชิกได้ครบทุกวาระ

 

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีเจ้าหนี้ของการบินไทยอีกหลายรายที่ไม่ได้มาร่วมประชุม เพราะยังไม่ทราบว่ามีการประชุมของเจ้าหนี้เพื่อให้พิจารณาอนุมัติการแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่อเจ้าหนี้

 

โดยเฉพาะประเด็นที่กระทรวงการคลังเสนอขอแต่งตั้งผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มอีก 2 ราย ซึ่งแจ้งเรื่องมายัง บมจ.การบินไทย เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นระยะเวลาที่กระชั้นชิด ส่งผลให้สื่อสารกับเจ้าหนี้ไม่ทั่วถึง อีกทั้งยังมีความกังวลว่าหากทั้ง 2 รายชื่อดังกล่าวได้รับเสียงโหวตข้างมากจากเจ้าหนี้ในที่ประชุมดังกล่าว จะส่งผลให้กระทรวงการคลังมีเสียงข้างมากในคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ เพิ่มเป็นจำนวน 3 รายจากทั้งหมด 5 ราย จากปัจจุบันที่มี 1 รายจากทั้งหมด 3 ราย ซึ่งจะมีผลให้กระทรวงการคลังมีอำนาจควบคุมในการบริหารจัดการแผนฟื้นฟูฯ ของการบินไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และอาจมีผลกระทบสิทธิ์ของเจ้าหนี้ให้เสียเปรียบในอนาคตหรือไม่

 

ดังนั้นเจ้าหนี้จึงจำเป็นต้องมีสิทธิ์ใช้ระยะเวลาเพิ่มขึ้นในการพิจารณาข้อมูลที่มีความสำคัญดังกล่าว เพื่อให้มีการสื่อสารไปยังเจ้าหนี้ที่ยังไม่ทราบข้อมูลให้ได้รับทราบก่อน เพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ ที่เลื่อนออกไป รวมถึงเพื่อให้การโหวตลงมติของเจ้าหนี้เป็นไปอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม

The post เจ้าหนี้การบินไทยสั่งเลื่อนโหวตแก้ไขแผนฟื้นฟูฯ หวั่นเพิ่มอำนาจให้คลัง ทำกระทบสิทธิ์เจ้าหนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>