บมจ.ไทยออยล์ (TOP) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 18 Oct 2024 11:31:01 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 TOP – พรีวิว 3Q67 คาดขาดทุนสต็อกกดดันผลประกอบการ https://thestandard.co/top-3q67/ Fri, 18 Oct 2024 11:31:01 +0000 https://thestandard.co/?p=997724 TOP

เกิดอะไรขึ้น: InnovestX Research จัดทำพรีวิวผลประกอบการ […]

The post TOP – พรีวิว 3Q67 คาดขาดทุนสต็อกกดดันผลประกอบการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
TOP

เกิดอะไรขึ้น:

InnovestX Research จัดทำพรีวิวผลประกอบการ 3Q67 ของ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) โดยประเมินว่า Market GIM ของ TOP จะลดลง 60%YoY และ 5.3%QoQ สู่ 5.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีสาเหตุมาจากค่าการกลั่นที่อ่อนแอ ปัจจัยลบคือ Crack Spread ที่ลดลงของน้ำมันเบนซิน (ลดลง 15%QoQ) และน้ำมันดีเซล (ลดลง 8%QoQ) 

 

นอกจากนี้ คาดว่า GIM จากธุรกิจอะโรเมติกส์และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานรวมกันจะลดลง 5%QoQ มาอยู่ที่ 1.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แม้ว่า GIM จากธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานจะเพิ่มขึ้น QoQ จากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันพื้นฐานที่สูงขึ้น (เพิ่มขึ้น 9%QoQ) นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ถึงขาดทุนสินค้าคงเหลือที่ 7.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (รวมมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือน้ำมันจำนวน 2 พันล้านบาท) 

 

แม้ Market GRM อยู่ในระดับต่ำ แต่คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นทั้งหมดของ TOP จะเพิ่มขึ้น 1%QoQ สู่ 314,000 บาร์เรลต่อวัน สูงที่สุดนับตั้งแต่ 2Q56 ซึ่งเป็นผลมาจากอัตราการใช้กำลังการกลั่นที่สูงขึ้นเป็น 113% จาก 111% ใน 2Q67 เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยยังอยู่ในระดับต่ำท่ามกลาง Market GRM ที่อ่อนแอ

 

ใน 3Q67 TOP สามารถบริหารจัดการกระบวนการขนถ่ายน้ำมันดิบได้ แม้ว่า SBM-2 ยังคงปิดใช้งานอยู่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าต้นทุนการดำเนินงานต่อหน่วยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยสู่ 1.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เทียบกับ 1.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 2Q67 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุงที่หน่วยเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ (Upgrading Unit)   

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TOP ปรับลง 5.37% อยู่ที่ 48.50 บาท ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 4.26% อยู่ที่ 1,485.01 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567-2568:

InnovestX Research คาดว่ากำไรปกติจะปรับตัวดีขึ้น QoQ ใน 4Q67 โดยได้รับปัจจัยหนุนจากอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ Middle Distillates (> 55% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด) ตามฤดูกาล แม้ว่า Singapore GRM โดยเฉลี่ยจะลดลง YoY อย่างต่อเนื่องใน 4Q67 จากระดับ 5.47 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 4Q66 ทั้งนี้ สต็อก Gasoil ทั่วโลกยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี 

 

ในขณะที่โรงกลั่นลดอัตราการใช้กำลังการกลั่นลงอย่างต่อเนื่องใน 3Q67 ซึ่งเป็นผลมาจาก Market GRM ที่อ่อนแอ นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ถึงผลกระทบที่ลดน้อยลงจากโควตาส่งออกชุดที่ 3 ของจีนที่มีจำนวนเพียง 8 ล้านตัน หรือเพียง 20% ของโควตาส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสะอาดทั้งหมดในปี 2567 เทียบกับ 80% ที่จัดสรรใน 9M67

 

ทั้งนี้ Market GRM ที่น่าผิดหวังและแนวโน้มที่จะขาดทุนสต็อกใน 3Q67 ทำให้ปรับประมาณการกำไรปี 2567 ของ TOP ลดลง 34% สู่ 1.24 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนถึง Market GIM ที่ลดลง 24% สู่ 9.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งจะได้รับการชดเชยเล็กน้อยจากอัตราการใช้กำลังการกลั่นที่เพิ่มขึ้นจาก 105% เป็น 110% 

 

นอกจากนี้ ยังปรับราคาเป้าหมายลดลงจาก 77 บาท สู่ 71 บาทต่อหุ้น โดยอิงกับ P/BV 1 เท่า (ปี 2568) หรือค่าเฉลี่ย 5 ปี ซึ่งคิดเป็น EV/EBITDA ที่ 7.9 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยของหุ้นกลุ่มเดียวกันในตลาดภูมิภาคที่ 8.4 เท่า ปัจจุบันหุ้น TOP ซื้อขายที่ P/BV 0.6 เท่า หรือ -1.9SD ซึ่งสูงกว่าระดับ 0.5 เท่าในปีที่เกิดสถานการณ์โควิดอยู่เล็กน้อย  ซึ่งยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ TOP โดยแนะนำให้ทยอยเข้าซื้อสะสมหลังจากประกาศผลประกอบการ 3Q67 (คาดประกาศวันที่ 8 พฤศจิกายน)

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ราคาน้ำมันและ GRM ผันผวน ราคาน้ำมันที่ลดลงจะทำให้เกิดขาดทุนสินค้าคงเหลือ และอุปสงค์ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่ลดลง ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญคือ ผลกระทบของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

The post TOP – พรีวิว 3Q67 คาดขาดทุนสต็อกกดดันผลประกอบการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดกำไร 8 หุ้นในเครือ ปตท. ปี 2566 ใครรุ่ง-ใครร่วง https://thestandard.co/8-ptt-group-stocks-profits-2023/ Mon, 19 Feb 2024 11:13:04 +0000 https://thestandard.co/?p=901867

หุ้นในกลุ่ม ปตท. ที่มีการจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แ […]

The post เปิดกำไร 8 หุ้นในเครือ ปตท. ปี 2566 ใครรุ่ง-ใครร่วง appeared first on THE STANDARD.

]]>

หุ้นในกลุ่ม ปตท. ที่มีการจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถือเป็นหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ มีน้ำหนักต่อการเคลื่อนของ SET Index ปัจจุบันมีจำนวน 8 บริษัท 

 

ล่าสุดรายงานผลประกอบปี 2566 ออกมาครบแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มีข้อมูลตัวเลขกำไรสุทธิที่ออกมาเติบโตขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 

 

โดยบริษัทแม่คือ บมจ.ปตท. หรือ PTT ที่มีกำไรสุทธิออกมาทะลุระดับ 1 แสนล้านบาท เพราะได้รับแรงหนุนรับรู้กำไรจากการถือหุ้นในบริษัทลูกที่มีกำไรโดดเด่น โดยเฉพาะ บมจ.ปตท.สผ. หรือ PTTEP ปี 2566 มีกำไร 2,208 ล้านดอลลาร์ หรือ 7.67 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2565 

 

ไล่เลียงข้อมูลรายตัวของทั้ง 8 บริษัทในกลุ่ม ปตท. ถึงผลการดำเนินงานปี 2566 มีรายละเอียดดังนี้

 

  • บมจ.ปตท. หรือ PTT ในปี 2566 มีกำไรสุทธิ 1.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% จากปี 2565 โดยหลักจากขาดทุนตราสารอนุพันธ์ลดลง ส่วนรายได้จากการขายจำนวน 3.14 ล้านล้านบาท ลดลง 6.6% จากปี 2565 โดยสัดส่วนกำไรส่วนใหญ่มาจากการลงทุนของบริษัทในกลุ่ม ปตท. โดยแบ่งตามประเภทธุรกิจได้เป็นธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัทลูก บมจ.ปตท.สผ. หรือ PTTEP สัดส่วน 45%, ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น สัดส่วน 9%, ธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐานและบริษัทย่อยอื่นๆ สัดส่วน 17% และกลุ่มธุรกิจน้ำมันและค้าปลีก 7% ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจน้ำมันและธุรกิจ Non-Oil ขณะที่เป็นกำไรจากการดำเนินธุรกิจก๊าซธรรมชาติและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของ ปตท. เพียง 22%

 

  • บมจ.ปตท.สผ. หรือ PTTEP ปี 2566 จำนวน 2,208 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2565 แม้ว่ารายได้จากการขายลดลง แต่กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยหลักจากขาดทุนจากสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน และขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์มีจำนวนลดลง รวมถึงปีนี้มีกำไรจากการขายสัดส่วนการลงทุนในโครงการเอซี / อาร์แอล 7 (Cash-Maple)

 

  • บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC มีกำไรสุทธิรวม 999 ล้านบาท เติบโต 111% จากปี 2565 แม้ขาดทุนจากการดำเนินงานปกติ แต่มีกำไรทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินรวม 790 ล้านบาท นอกจากนี้จากการขายหุ้น GCL ตามที่ได้กล่าวข้างต้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,640 ล้านบาท

 

  • บมจ.ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก หรือโออาร์ (OR) ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 1.11 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปี 2565 โดยจาก EBITDA ที่เพิ่มขึ้น 598 ล้านบาทจากปี 2565 จากปริมาณขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของทั้งประเทศไทยและต่างประเทศในภูมิภาค รวมทั้งการกลับมาของภาคท่องเที่ยว ส่งผลให้ปริมาณจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันอากาศยานเพิ่มขึ้น 

 

  • บมจ.ไออาร์พีซี หรือ IRPC ปี 2566 มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 2.92 พันล้านบาท ลดลง 33% จากปี 2565 โดยมีสาเหตุจากราคาขายเฉลี่ยลดลง 22% จากปี 2565 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง สำหรับธุรกิจปิโตรเลียมมีกำไรขั้นต้นจากการกลั่นราคาตลาด (Market GRM) ที่ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบที่ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ 

 

  • บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 3.69 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 314% จากปี 2565 มีรายได้ที่ 9.03 หมื่นล้านบาท ลดลง 27% จากปีก่อน สาเหตุหลักจากต้นทุนพลังงานที่ลดลง ทำให้ราคาขายไฟฟ้าและไอน้ำเฉลี่ยลดลง ขณะที่โรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน ได้รับคำสั่งหยุดเดินเครื่องตั้งแต่เดือนมีนาคม-ธันวาคม 2566 จาก กฟผ. ซึ่งทำให้รายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า (EP) ลดลงตามแผนการเรียกรับไฟฟ้า แต่โรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน ยังได้รับรายได้ค่าความพร้อมจ่ายจากความพร้อมในการเดินเครื่องตลอดทั้งปี ทำให้กำไรขั้นต้นของ IPP ยังอยู่ในระดับที่ดี

 

  • บมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP ปี 2566 มีกำไรสุทธิ 1.94 หมื่นล้านบาท ลดลง 40% จากปี 2565 ส่วนรายได้จากการขายอยู่ที่ 4.59 แสนล้านบาท ลดลง 9% จากปี 2565 โดยในปี 2566 โรงกลั่นไทยออยล์มีอัตราการใช้กำลังการกลั่นเพิ่มขึ้น โดยมีปริมาณจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยรวมใกล้เคียงเดิม ในขณะที่ราคาขายเฉลี่ยที่ปรับลดลงอย่างมากส่งผลให้มีรายได้จากการขาย

 

  • บมจ.โกลบอลกรีนเคมิคอล หรือ GGC ปี 2566 มีผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ 262 ล้านบาท ลดลง 29% จากปี 2565 มีรายได้จากการขาย 1.77 หมื่นล้านบาท ลดลง 29% จากปี 2565 โดยมี Adjusted EBITDA จำนวน 812 ล้านบาท ลดลง 62% จากปี 2565 ทั้งนี้ บริษัทฯ รับรู้ผลกระทบจาก Stock Loss & NRV จำนวน 341 ล้านบาท

 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post เปิดกำไร 8 หุ้นในเครือ ปตท. ปี 2566 ใครรุ่ง-ใครร่วง appeared first on THE STANDARD.

]]>
TOP – 4Q66 กำไรลดลง QoQ ตามคาด https://thestandard.co/top-4q66-profit-decreased-qoq-as-expected/ Thu, 15 Feb 2024 10:57:08 +0000 https://thestandard.co/?p=900408

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 บมจ […]

The post TOP – 4Q66 กำไรลดลง QoQ ตามคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2567 บมจ.ไทยออยล์ (TOP) รายงานกำไรสุทธิลดลง 72.8%QoQ สู่ 2.9 พันล้านบาทใน 4Q66 แต่ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากกำไรสุทธิ 147 ล้านบาทใน 4Q65 เป็นไปตามที่คาดการณ์ กำไรที่ลดลง QoQ สะท้อนถึง GIM (กำไรขั้นต้นจากการผลิตของกลุ่ม) ที่ลดลง 23%YoY และ 37%QoQ สู่ 8.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จาก Market GRM ที่ลดลงของธุรกิจโรงกลั่น ด้วยขาดทุนสต็อกที่ 5.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล Accounting GIM จึงปรับตัวลดลง 85%QoQ สู่ 3.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ดีกว่า 1.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 4Q65 และได้รับการชดเชยบางส่วนจากกำไรของธุรกิจอะโรเมติกส์ที่ดีขึ้น ด้านกำไรจากการดำเนินงานสุทธิลดลง 17%YoY และ 50%QoQ สู่ 5.3 พันล้านบาท 

 

สำหรับกำไรสุทธิปี 2566 อยู่ที่ 1.94 หมื่นล้านบาท ลดลง 40.5%YoY จากฐานที่สูงผิดปกติในปี 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ GRM ปรับตัวขึ้นแรงสืบเนื่องมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

 

กระทบอย่างไร:

 

หลังรายงานผลประกอบการ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ราคาหุ้น TOP ปรับขึ้น 2.21% สู่ระดับ 57.75 บาท ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 0.39% สู่ระดับ 1,390.45 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการ 2567:

 

InnovestX Research คาดว่ากำไรปกติจะปรับตัวดีขึ้น QoQ ใน 1Q67 จากการฟื้นตัวของ GRM โดยได้แรงหนุนจาก Crack Spread ที่สูงขึ้นของน้ำมันเบนซินและน้ำมันเตา แม้ว่าการดำเนินงานโรงกลั่นจะสะดุดลงจากการหยุดผลิตนอกแผน ซึ่งจะส่งผลทำให้อัตราการใช้กำลังการกลั่นลดลงสู่ 95-98% เทียบกับ 111% ใน 4Q66 

 

นอกจากนี้ยังคาดว่าผลการดำเนินงานของธุรกิจอะโรเมติกส์จะปรับตัวดีขึ้น โดยเกิดจากอุปทานที่ตึงตัวในเอเชีย และความต้องการสารผสมน้ำมันเบนซินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ผลิต PX ตึงตัวขึ้น แนวโน้มในระยะสั้นสำหรับเบนซินก็เป็นบวก โดยได้แรงหนุนจากการหยุดชะงักของอุปทานในสหรัฐฯ และการขาดแคลนเรือสืบเนื่องมาจากวิกฤตทะเลแดง 

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน ยังคงคำแนะนำ Outperform สำหรับ TOP เพราะ GRM และธุรกิจอะโรเมติกส์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยราคาเป้าหมายอยู่ที่ 77 บาทต่อหุ้น อิงกับ PBV 1 เท่า (ปี 2567) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อย และคิดเป็น EV/EBITDA ที่ 8.67 เท่า ราคาหุ้น TOP ในปัจจุบันคิดเป็น PBV ที่ 0.7 เท่า (-1.4SD) ซึ่งสูงกว่าระดับ 0.5 เท่าในปีที่เกิดสถานการณ์โควิดอยู่เล็กน้อย 

 

TOP ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดสุดท้ายของปี 2566 ที่อัตรา 2.75 บาทต่อหุ้น (XD: 27 กุมภาพันธ์) ทำให้เงินปันผลรวมทั้งหมดสำหรับปี 2566 อยู่ที่ 3.4 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราการจ่ายเงินปันผล 39%

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ราคาน้ำมันและ GRM ผันผวน ราคาน้ำมันที่ลดลงจะทำให้เกิดขาดทุนสินค้าคงเหลือ และอุปสงค์ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่ลดลง ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

 

ปัจจัยเสี่ยงด้าน ESG ที่สำคัญคือ ผลกระทบของธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับตัวในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด

The post TOP – 4Q66 กำไรลดลง QoQ ตามคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
TOP – 3Q66: กำไรเพิ่มขึ้นมากตามคาด https://thestandard.co/market-focus-top-3q66/ Thu, 09 Nov 2023 12:17:40 +0000 https://thestandard.co/?p=864169

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวานนี้ (8 พฤศจิกายน) บมจ.ไทยอ […]

The post TOP – 3Q66: กำไรเพิ่มขึ้นมากตามคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวานนี้ (8 พฤศจิกายน) บมจ.ไทยออยล์ (TOP) รายงานกำไรสุทธิ 3Q66 อยู่ที่ 1.08 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นมาก YoY และ QoQ ตามคาด โดยได้แรงหนุนจาก Market GIM ที่ปรับตัวขึ้นแรงสู่ 13.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 6.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 2Q66 และกำไรสต๊อกที่ 9.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เทียบกับขาดทุน 1.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 2Q66 กำไร 9M66 อยู่ที่ 1.64 หมื่นล้านบาท ลดลง 49%YoY แต่คิดเป็น 96% ของประมาณการกำไรเต็มปี

 

เหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลซึ่งส่งผลกระทบต่อการขนถ่ายน้ำมันดิบและการขนส่ง เป็นสาเหตุที่ทำให้ปริมาณวัตถุดิบที่ป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยรวมลดลงสู่ 305 kbd อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงกลั่นเพียง 1 เดือน และบริษัทสามารถจัดการเปลี่ยนจุดขนถ่ายน้ำมันดิบไปยังจุดอื่นที่มีอยู่ได้อย่างค่อนข้างราบรื่น 

 

ในขณะเดียวกันผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้ โดยมี OPEX ที่ 2.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการทำความสะอาดและการตั้งสำรองสำหรับการจ่ายเงินชดเชยให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 155 ล้านบาท 

 

อัตราการผลิตสารอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นจาก 71% ใน 2Q66 สู่ 74% ใน 3Q66 จากการปรับแผนการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพตลาด แม้ Product-to-Feed Margin ปรับตัวลดลง 37%QoQ สู่ 31 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน 

 

ในขณะเดียวกัน Product-to-Feed Margin ที่ลดลงของธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ส่งผลทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของธุรกิจนี้ปรับลดลงจาก 83% ใน 2Q66 สู่ 79% ใน 3Q66 เนื่องจากเป็นช่วงโลว์ซีซันของการก่อสร้างถนน และเกิดสถานการณ์น้ำท่วมเป็นวงกว้างในประเทศแถบเอเชีย

 

GRM ที่แข็งแกร่งช่วยสนับสนุนมาร์จินโดยรวม Market GIM ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจากเพียง 6.1 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 2Q66 สู่ 13.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 3Q66 โดยได้แรงหนุนหลักจากธุรกิจกลั่นน้ำมันซึ่งคิดเป็น 91% ของ GIM ใน 3Q66 เนื่องจาก Crack Spread ของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญอย่าง Middle Distillates (น้ำมันดีเซลและน้ำมันอากาศยาน) กว้างขึ้นมาก QoQ GIM จากธุรกิจอะโรเมติกส์และธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานลดลง QoQ จาก 1.7 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 2Q66 สู่ 1.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 3Q66 เพราะส่วนต่างราคา PX และน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานลดลง โดยมีสาเหตุมาจากต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น

 

ส่วนธุรกิจโอเลฟินส์ยังคงมีผลขาดทุนใน 3Q66 โดยมีสาเหตุมาจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่อ่อนแอ QoQ และไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทย่อยในอินโดนีเซียได้   

 

กระทบอย่างไร:

 

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ณ 12.30 ราคาหุ้น TOP ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง DoD อยู่ที่ระดับ 47.25 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 1.29%DoD สู่ระดับ 1,393.56 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2566:

 

ใน 4Q66 คาดการณ์กำไรปกติว่าจะลดลง เพราะ GRM เฉลี่ยใน 4Q66TD ลดลง 59%QoQ สืบเนื่องมาจากความกังวลของตลาดเกี่ยวกับโควตาส่งออกมากขึ้นของจีนและอุปสงค์น้ำมันเบนซินที่ลดลงหลังสิ้นสุดฤดูร้อน InnovestX Research คาดว่า GRM จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ Middle Distillates ที่สูงขึ้น และการฟื้นตัวของ Crack Spread น้ำมันเบนซินภายหลังมีข้อบ่งชี้ว่า รัฐบาลจีนจะไม่ออกโควตาใหม่สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสะอาดและการนำเข้าน้ำมันดิบในปีนี้ ปัจจัยเสี่ยงต่อกำไร 4Q66 คือ ราคาน้ำมันที่ผันผวน ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดทุนสต๊อกน้ำมัน 

 

แม้จะคาดว่าผลประกอบการจะอ่อนตัวลง QoQ โดยมีสาเหตุมาจาก GRM ที่อ่อนแอลงและผลกระทบที่ลดลงจากกำไร / ขาดทุนสต๊อก แต่เชื่อว่ากำไรปี 2566 ยังมีแนวโน้ม Upside อยู่บ้าง โดยยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2566 ไว้ที่ 1.7 หมื่นล้านบาท ลดลง 50%YoY

 

กลยุทธ์การลงทุนยังคงเรตติ้ง Outperform สำหรับ TOP ด้วยราคาเป้าหมาย 71 บาทต่อหุ้น อ้างอิง PBV 1 เท่า (ปี 2567) ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อย และคิดเป็น EV / EBITDA ที่ 8.6 เท่า ซึ่งราคาหุ้น TOP ในปัจจุบันคิดเป็น PBV ที่ 0.6 เท่า (-1.6 SD) ซึ่งสูงกว่าระดับ 0.5 เท่าในปีที่เกิดสถานการณ์โควิดอยู่เล็กน้อย

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ ราคาน้ำมันและ GRM ผันผวน ราคาน้ำมันที่ลดลงจะทำให้เกิดการขาดทุนสินค้าคงเหลือและอุปสงค์ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่อ่อนแอลง ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

The post TOP – 3Q66: กำไรเพิ่มขึ้นมากตามคาด appeared first on THE STANDARD.

]]>
TOP – พรีวิว 3Q66 คาดกำไรเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดของปี 2566 https://thestandard.co/market-focus-top-2/ Mon, 16 Oct 2023 10:49:36 +0000 https://thestandard.co/?p=855204 ไทยออยล์

เกิดอะไรขึ้น: InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรี […]

The post TOP – พรีวิว 3Q66 คาดกำไรเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดของปี 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ไทยออยล์

เกิดอะไรขึ้น:

InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 3Q66 ของ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลประกอบการวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566

 

โดยคาดการณ์กำไรสุทธิว่าจะเพิ่มขึ้นจากเพียง 1.1 พันล้านบาท ใน 2Q66 สู่ 1.02 หมื่นล้านบาท ใน 3Q66 ได้รับการสนับสนุนจาก GRM ที่แข็งแกร่งขึ้นมากและกำไรสต๊อกน้ำมันจำนวนมากถึง 9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล (~8.9 พันล้านบาท) GIM ของ TOP คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 50%YoY และ 116%QoQ สู่ 13.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสูงกว่าต้นทุนรวมที่ 3.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งมี OPEX ที่ 1.6 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลที่สูงขึ้นรวมอยู่ด้วยค่อนข้างมาก

 

อย่างไรก็ตาม ขาดทุนจากสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันจำนวน 4.5 พันล้านบาท และขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 770 ล้านบาท จะลดทอนผลกระทบเชิงบวกของ GIM ที่แข็งแกร่ง หากไม่มีกำไรพิเศษ คาดว่ากำไรปกติจะเพิ่มขึ้น 135%QoQ สู่ 7.3 พันล้านบาท แต่ลดลง 16.8%YoY

 

ส่วนผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลมีจำกัด ผู้บริหารกล่าวว่า ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลเมื่อช่วงต้นเดือนกันยายนมีจำนวนน้อยมากที่ราว 100 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่บันทึกใน 3Q66 โดยอาจจะมีการบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมบางส่วนหลัง 3Q66 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าชดเชยสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด

 

ทั้งนี้ ยังไม่มีความแน่นอนว่า SBM-2 จะกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้งเมื่อใด เนื่องจากจะต้องได้รับอนุมัติจากทางการ อย่างไรก็ตาม หากการระงับใช้ SBM-2 กินเวลานานกว่า 2 เดือน ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น (ส่วนใหญ่เป็นค่าขนส่งที่สูงขึ้น) จะได้รับการคุ้มครองโดยประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก

 

กระทบอย่างไร:

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้น TOP ปรับขึ้น 3.65%MoM สู่ระดับ 49.75 บาท ขณะที่ SET Index ปรับลง 6.13%MoM อยู่ที่ระดับ 1,450.75 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการ 2566:

ใน 4Q66 คาดกำไรปกติจะลดลง เมื่อพิจารณาจาก GRM ที่ลดลง 44%MoM ในเดือนตุลาคม สืบเนื่องมาจากความกังวลของตลาดเกี่ยวกับโควตาส่งออกมากขึ้นของจีนและอุปสงค์น้ำมันเบนซินที่ลดลงหลังสิ้นสุดฤดูร้อน ซึ่งส่งผลทำให้ Crack Spread ของน้ำมันเบนซินลดลง 56%MoM เหลือเพียง 7.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในเดือนตุลาคม ในขณะที่ Crack Spread ของน้ำมันดีเซลและน้ำมันเครื่องบินลดลงเพียง 8.5%MoM และ 12.6%MoM ตามลำดับ

 

InnovestX Research คาดว่า GRM จะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงที่เหลือของปีนี้ โดยได้แรงหนุนจากอุปสงค์ผลิตภัณฑ์ Middle Distillate ที่สูงขึ้น และการฟื้นตัวของ Crack Spread น้ำมันเบนซินภายหลังมีข้อบ่งชี้ว่ารัฐบาลจีนจะไม่ออกโควตาใหม่สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสะอาดและการนำเข้าน้ำมันดิบในปีนี้ (S&P Global) ปัจจัยเสี่ยงต่อกำไร 4Q66 คือราคาน้ำมันที่ผันผวน ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดทุนสต๊อกน้ำมัน

 

ทั้งนี้ ด้วยมุมมองเชิงบวกมากขึ้นต่อผลประกอบการ 3Q66 จึงปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2566 เพิ่มขึ้น 45% สู่ 1.7 หมื่นล้านบาท แม้ว่าจะยังคงลดลง 50%YoY และคาดว่ากำไรจะเติบโต 20%YoY ในปี 2567 โดยได้รับการสนับสนุนจาก GIM ที่ดีขึ้น (คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 21%YoY สู่ 12.4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล) แม้คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบที่นำเข้ากลั่นจะลดลงเล็กน้อยก่อนที่โครงการ CFP จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ใน 2H67

 

สำหรับกลยุทธ์การลงทุน InnovestX Research ปรับเรตติ้งขึ้นสู่ OUTPERFORM ก่อนที่บริษัทจะเริ่มเดินเครื่องโรงกลั่นแห่งใหม่ภายใต้โครงการพลังงานสะอาด (CFP) ราคาเป้าหมายที่ 71 บาทต่อหุ้น อิงกับ PBV 1 เท่า (ปี 2567) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีเล็กน้อย และคิดเป็น EV/EBITDA ที่ 8.6 เท่า ราคาหุ้น TOP ในปัจจุบัน คิดเป็น PBV ที่ 0.6 เท่า (-1.6 SD) ซึ่งสูงกว่าระดับ 0.5 เท่าในปีที่เกิดสถานการณ์โควิดอยู่เล็กน้อย

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือราคาน้ำมันและ GRM ผันผวน ราคาน้ำมันที่ลดลงจะทำให้เกิดการขาดทุนสินค้าคงเหลือ และอุปสงค์ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่อ่อนแอลงจะส่งผลกระทบต่อส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

The post TOP – พรีวิว 3Q66 คาดกำไรเพิ่มขึ้นทำจุดสูงสุดของปี 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทยออยล์ ดิ่งนิวโลว์รอบ 1 เดือน หลังเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำมันรั่วขณะขนถ่ายกลางทะเล เสี่ยงโดนสั่งปิดทุ่นผูกเรือ กระทบธุรกิจ https://thestandard.co/top-new-low-in-1-month/ Mon, 04 Sep 2023 10:56:45 +0000 https://thestandard.co/?p=837309

ราคาหุ้น บมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP ระหว่างการซื้อ-ขาย วันนี […]

The post หุ้นไทยออยล์ ดิ่งนิวโลว์รอบ 1 เดือน หลังเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำมันรั่วขณะขนถ่ายกลางทะเล เสี่ยงโดนสั่งปิดทุ่นผูกเรือ กระทบธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ราคาหุ้น บมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP ระหว่างการซื้อ-ขาย วันนี้ (4 กันยายน) ปรับตัวลดลงแตะจุดต่ำสุดใหม่ในรอบประมาณ 1 เดือนที่ 48.25 บาท หลังจากบริษัทแจ้งว่าเกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วจากเรือบรรทุกน้ำมัน ขณะขนถ่ายน้ำมันดิบกลางทะเลของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ อำเภอศรีราชา จากนั้นราคามาปิดตลาดที่ 48.75 บาท ลดลง 2.75 บาท ติดลบไป 5.34% เปรียบเทียบจากราคาปิดวันที่ 1 กันยายน ที่ 51.50 บาท 

 

บัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2566 เวลาประมาณ 21.00 น. ได้เกิดเหตุน้ำมันดิบรั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมัน ขณะขนถ่ายน้ำมันดิบบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล หมายเลข 2 (SBM-2) ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งบริษัทได้เข้าควบคุมสถานการณ์บริเวณที่เกิดเหตุทันที 

 

โดยได้ปิดวาล์วท่อน้ำมันที่เกิดปัญหาและวางทุ่นล้อมคราบน้ำมันเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจายตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสากล ทำให้ขณะนี้ไม่มีน้ำมันรั่วไหลเพิ่มเติมแล้ว และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าว 

         

บริษัทอยู่ระหว่างการตรวจสอบพื้นที่ เพื่อประเมินสถานการณ์โดยรอบจุดเกิดเหตุรวมทั้งได้เตรียมสารเคมีและอุปกรณ์ต่างๆ และดำเนินการเพื่อขจัดคราบน้ำมัน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

          

ขณะนี้เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการเดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้บริษัทมีประกันคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากทรัพย์สินและธุรกิจหยุดชะงัก ประกันการขนส่งสินค้าทางทะเล ประกันภัยคุ้มครองความรับผิดต่อสิ่งแวดล้อม และประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สาม

 

จับตาความเสี่ยงกรมเจ้าท่าสั่งปิด SBM-2 ยาวกระทบธุรกิจ

 

ด้าน เบญจพล สุทธิ์วนิช ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากกรณีปัญหาน้ำมันรั่วของ บมจ.ไทยออยล์ ได้มีการชี้แจงกับนักวิเคราะห์ดังนี้

 

  1. บริษัทมีการวางทุ่นล้อมคราบน้ำมันเพิ่มเติมเพื่อป้องกันและจำกัดการแพร่กระจายตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานสากล โดยปริมาณน้ำมันดิบที่รั่วไหลอยู่ที่ 50,000-100,000 ลิตร โดยปัจจุบันไม่มีการรั่วไหลเพิ่มเติม ขณะที่ส่วนน้ำมันที่ออกนอกบริเวณทุ่นล้อมมีพื้นที่ 1.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเทียบกับเหตุน้ำมันรั่วในกรณีของ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC และ บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง หรือ SPRC โดย SBM ของ TOP อยู่ห่างจากพื้นที่ชายฝั่งอ่าวอุดมประมาณ 6 กิโลเมตร เปรียบเทียบกับกรณีของ PTTGC ในเดือนกรกฎาคม 2556 ที่น้ำมันรั่ว 54,341 ลิตร และกรณีของ SPRC ในเดือนมกราคม 2565 ที่น้ำมันรั่ว 52,000 ลิตร

 

  1. บริษัทยังสามารถใช้ SBM-1 ทดแทนได้ (ขึ้นอยู่ความเห็นชอบของกรมเจ้าท่า) อย่างไรก็ตามจากเหตุการณ์ดังกล่าวจะทำให้ TOP มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากการขนถ่ายด้วยเรือเล็ก โดยบริษัทคาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต และการเดินเครื่องหน่วยกลั่นของบริษัท 

 

  1. กรณีแย่สุด หากกรมเจ้าท่าไม่อนุญาตให้ใช้ SBM-1 ในการดำเนินงาน บริษัทยังสามารถใช้ CBM ของ TOP หรือท่าเรือของ PTT ในการรับน้ำมัน โดยท่าเรือดังกล่าวมีจุดเชื่อมกับโรงกลั่น TOP 

 

  1. บริษัทมีประกันคุ้มครองความเสียหาย (All Risk Insurance) อันเกิดจากทรัพย์สิน (Property Damage) วงเงิน 1,016 ล้านดอลลาร์ โดยทั้งสินทรัพย์และสต๊อก โดยประกันมีความรับผิดชอบส่วนแรก (Fist Deductible) วงเงิน 5 ล้านดอลลาร์ และธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption) และมีความรับผิดส่วนแรก (Fist Deductible) เป็นระยะเวลา 60 วัน นอกจากนี้ยังมีประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลที่สาม วงเงิน 50 ล้านดอลลาร์ โดยมีความรับผิดส่วนแรก  (Fist Deductible) วงเงิน 10,000 ดอลลาร์

 

สำหรับ ราคาหุ้น TOP ปรับลดลงแรงจากความกังวลต่อเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ปัจจุบันบริษัทยืนยันว่าจะสามารถควบคุมสถานการณ์ดังกล่าวไว้ได้ทั้งหมด แต่ฝ่ายวิเคราะห์ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยยังมีประเด็นที่ต้องได้รับความชัดเจนเพิ่มคือ 

 

  1. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นจากการที่ต้องใช้เรือเล็กในการขนส่ง

 

  1. Resume Operation ของ SBM-2 โดย TOP มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประมาณ 30 วัน

 

  1. ความเห็นของกรมเจ้าท่าในการเปิดดำเนินงานต่อเนื่องของ SBM-1 รวมไปถึงการกลับมาดำเนินงานของ SBM-2 กรณีแย่สุดหากต้องปิดดำเนินงานเกิน 1 ปี อาจกระทบการเริ่มดำเนินงาน รวมถึงความชัดว่าจะตั้งมีการตั้งสำรองรายการดังกล่าวในไตรมาส 3/66 เป็นมูลค่าเท่าใด

 

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิเคราะห์มองว่าราคาหุ้นที่ปรับลดลงเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน จากมุมมองที่เป็นบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 3/66 คาดว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิประมาณ 1.1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งจากช่วงเดียวกันของปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้า มาจากปัจจัยบวกแนวโน้มค่าการกลั่น (GRM) ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้ไตรมาส 3/66 จะมีผลกำไรจากสต๊อกน้ำมัน (Stock Gain) เปรียบเทียบกับไตรมาส 1-2/66 ที่มีผลการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน (Stock Loss) แนะนำ ‘ซื้อ’ ราคาเป้าหมาย 68 บาท

The post หุ้นไทยออยล์ ดิ่งนิวโลว์รอบ 1 เดือน หลังเกิดเหตุเรือบรรทุกน้ำมันรั่วขณะขนถ่ายกลางทะเล เสี่ยงโดนสั่งปิดทุ่นผูกเรือ กระทบธุรกิจ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่องกำไร 1Q66 ของ ‘7 หุ้นเครือ ปตท.’ ใครรุ่ง-ใครร่วง https://thestandard.co/profit-1q23-of-7-shares-of-ptt-group/ Fri, 12 May 2023 12:17:13 +0000 https://thestandard.co/?p=789117 หุ้นเครือ ปตท 1Q66

หุ้นเครือ ปตท. ที่มีการจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ท […]

The post ส่องกำไร 1Q66 ของ ‘7 หุ้นเครือ ปตท.’ ใครรุ่ง-ใครร่วง appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นเครือ ปตท 1Q66

หุ้นเครือ ปตท. ที่มีการจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ถือว่าเป็นหุ้นขนาดใหญ่ ที่น้ำหนักต่อการเคลื่อนของ SET Index ปัจจุบันจำนวน 7 บริษัท รายงานผลประกอบไตรมาส 1/66 ออกมาครบแล้ว ข้อมูลตัวเลขกำไรสุทธิที่ออกมามีคละกันทั้งบริษัทที่กำไรสุทธิเติบโตขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจำนวน 3 บริษัท ซึ่งจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและโรงไฟฟ้า ส่วนบริษัทที่กำไรลดลงจำนวน 4 บริษัทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะในกลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่นน้ำมันที่กำไรทรุดลงค่อนข้างหนัก

 

เมื่อไล่เรียงข้อมูลรายตัวของทั้ง 7 บริษัทของผลการดำเนินงานไตรมาส 1/66 มีรายละเอียดดังนี้

 

  • บมจ.ปตท. หรือ PTT รายงานกำไรสุทธิ 27,855 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 756,690 ลดลง 0.2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นมาจากเหตุผลหลักที่ผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันลดลงมากกว่าหมื่นล้านบาท อีกทั้งกำไรจากขายปลีกน้ำมันและไฟฟ้าเพิ่มขึ้น   

 

  • บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ PTTEP รายงานกำไรสุทธิ 19,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 79% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 78,438 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.86% โดยกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นสาเหตุหลักมาจากรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น รวมถึงไตรมาส 1/65 มีบันทึกผลขาดทุนจากสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันจำนวนมาก

 

  • บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล หรือ PTTGC รายงานกำไรสุทธิ 82 ล้านบาท ลดลง 97% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 147,248 ล้านบาท ลดลง 13.86% โดยกำไรที่ลดลงมีสาเหตุจากการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปกติ ได้แก่ ผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและรายการกำไรจากการปรับมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ (Stock Loss Net NRV) รวม 1,359 ล้านบาท และผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินรวมเป็นกำไร 696 ล้านบาท

 

  • บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR รายงานกำไรสุทธิ 2,975 ล้านบาท ลดลง 22.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 197,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.4% โดยสาเหตุหลักที่กำไรของบริษัทลดลงมาจากราคาน้ำมันในไตรมาส 1/66 ที่ปรับตัวลดลงสู่ภาวะปกติเปรียบกับช่วงไตรมาส 1/66 ที่ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปเหนือระดับ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่งผลให้ในไตรมาสนี้บริษัทกำไรจากสต๊อกน้ำมันที่ลดลง

 

  • บมจ.ไออาร์พีซี หรือ IRPC รายงานกำไรสุทธิ 301 ล้านบาท ลดลง 80% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 197,414 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.4% สาเหตุหลักที่กำไรลดลงมาจากไตรมาส 1/66 มี Net Inventory Loss จำนวน 1,742 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 1/65 ที่มี Net Inventory Gain จำนวน 5,786 ล้านบาท ส่งผลให้ Accounting GIM ลดลง 4,549 ล้านบาท หรือ 46% ส่งผลให้มี EBITDA จำนวน 2,020 ล้านบาท ลดลง 4,580 ล้านบาท หรือ 69% ขณะที่มีกำไรจากการลงทุนลดลง 119 ล้านบาท หรือ 92% 

 

  • บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ หรือ GPSC รายงานกำไรสุทธิ 1,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 257% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 27,905 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% สาเหตุหลักที่กำไรเพิ่มขึ้นมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของค่า Ft ในจาก 0.0139 บาทต่อหน่วย เป็น 1.5492 บาทต่อหน่วย ทำให้ Margin จากการขายไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นจากที่ถูกควบคุมให้ต่ำกว่าปกติในช่วงก่อนหน้านี้ 

 

  • บมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP รายงานกำไรสุทธิ 4,554 ล้านบาท ลดลง 36.6% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้อยู่ที่ 115,943 ล้านบาท ลดลง 1.25% สาเหตุหลักที่กำไรลดลงมาจากราคาน้ำมันดิบไตรมาส 1/66 รวมถึง Crude Premium ที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้กลุ่มไทยออยล์ขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 3,339 ล้านบาทในไตรมาส 1/66 เทียบกับไตรมาส 1/65 ที่มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน 14,472 ล้านบาท อีกทั้งมีผลกระทบจากรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปลดลง 2,402 ล้านบาท จากไตรมาส 1/65 เมื่อรวมกับผลกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงสุทธิ ส่งผลให้กลุ่มไทยออยล์มี EBITDA ลดลง 4,852 ล้านบาทจากไตรมาส 1/65

 

ด้าน เบญจพล สุทธิ์วนิช ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) กล่าวว่า ยังคงแนะนำ ‘ซื้อ’ PTT ให้ราคาเป้าหมายใหม่ที่ 39 บาท ปรับลดลงจากเดิม 42.4 บาท โดยราคาเป้าหมายที่ปรับลดลงจากเดิม ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง Target Price ของบริษัทในกลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม คือ PTTEP และธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นคือ TOP และ PTTGC ลง 

 

อย่างไรก็ดียังมองว่าราคาหุ้น PTT ยังน่าสนใจ จาก Valuation และ Dividend โดยราคาหุ้น PTT ในปี 2566 ปรับลดลง 8.7% เปรียบเทียบกับ SET Index ที่ปรับ

 

ลดลง 6.2% ขณะที่ PTT ให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลเฉลี่ยในช่วง 3 ปีข้างหน้าสูงถึง 6.8% โดยในปี 2566 คาดว่าบริษัทจะจ่ายเงินปันผลไม่น้อยกว่า 2 บาท อ้างอิง Dividend Pay-out Ratio ที่ 60%

 

หุ้นกลุ่ม ปตท 1Q66


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

The post ส่องกำไร 1Q66 ของ ‘7 หุ้นเครือ ปตท.’ ใครรุ่ง-ใครร่วง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซีอีโอ ‘ไทยออยล์’ มองน้ำมัน 1H อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ ชี้ราคาเสี่ยงผันผวนดอกเบี้ยขาขึ้นกดดีมานด์ ฉุดรายได้ปีนี้ลดลงจากปีก่อน https://thestandard.co/thaioil-sees-1h-oil-at-80-85-dollar/ Wed, 08 Mar 2023 11:28:14 +0000 https://thestandard.co/?p=760136

บมจ.ไทยออยล์ มองน้ำมันครึ่งแรกปีนี้จะอยู่ที่ 80-85 ดอลล […]

The post ซีอีโอ ‘ไทยออยล์’ มองน้ำมัน 1H อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ ชี้ราคาเสี่ยงผันผวนดอกเบี้ยขาขึ้นกดดีมานด์ ฉุดรายได้ปีนี้ลดลงจากปีก่อน appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.ไทยออยล์ มองน้ำมันครึ่งแรกปีนี้จะอยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชี้ราคายังผันผวนหนักจึงคาดการณ์ราคาช่วงครึ่งปีหลังได้ยาก ระบุแม้ดีมานด์ฟื้น แต่ดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งแรงกดดันต่อเนื่อง ด้านซีอีโอใหม่จ่อทุ่มลงทุน 3 ปีที่ 1 พันล้านดอลลาร์ เน้นต่อยอดธุรกิจ

 

บัณฑิต ธรรมประจำจิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยออยล์ หรือ TOP กล่าวว่า กล่าวว่า ประเมินแนวโน้มราคาน้ำมันดิบดูไบระยะสั้นในช่วงครึ่งแรกปีนี้จะอยู่ที่ระดับประมาณ 80-85 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อีกทั้งยังมีโอกาสเห็นการเคลื่อนไหวที่ผันผวนของราคา จึงคาดการณ์ราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังปีนี้ได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสถานการณ์ขณะนี้มีทั้งปัจจัยที่สนับสนุนราคาและปัจจัยที่กดดันต่อราคาน้ำมัน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


โดยปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การที่จีนเปิดประเทศ ทำให้มีดีมานด์น้ำมันเพิ่มขึ้น อีกทั้งกลุ่มประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน (OPEC) ยังคงการผลิตน้ำมันไว้ที่ระดับเดิมเพื่อเป็นการรักษาระดับราคาน้ำมันไว้ ประกอบกับรัสเซียที่ถูกคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ จนมีการประกาศปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมัน (Shutdown) ทำให้มีซัพพลายน้ำมันลดลงไปในตลาดโลกประมาณ 2-3 แสนบาร์เรลต่อวัน รวมทั้งยังมีประเด็นจากความไม่แน่นอนจากประเด็นของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังประเมินสถานการณ์ได้ยาก

 

ขณะที่ปัจจัยกดดัน ได้แก่ การธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) กับธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะยังเดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมเงินเฟ้อซึ่งจะเป็นปัจจัยที่กระทบกำลังซื้อหรือดีมานด์น้ำมันหรือสินค้าโภคภัณฑ์ให้มีความเสี่ยงลดลง

 

ยอมรับราคาน้ำมันลงฉุดรายได้

บัณฑิตกล่าวว่า แนวโน้มรายได้ของบริษัทในปี 2566 จะปรับตัวลดลงเหลือประมาณ 4 แสนล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ทำได้ประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เพราะได้รับผลกระทบจากทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับค่าการกลั่น (GRM) อ้างอิงตลาดสิงคโปร์ที่คาดว่าจะกลับมาสู่ระดับปกติเฉลี่ยราว 7-8 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงจากปีก่อนที่พุ่งขึ้นไปสูงกว่าระดับปกติ 10.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดย GRM ถือว่ากลับมาสูงกว่าระดับก่อนเกิดโควิดที่อยู่ราว 5-6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ขณะที่แนวโน้มปริมาณการขายน้ำมันทุกประเภทของบริษัทปีนี้คาดว่าจะเติบโตได้หมดทุกประเภท โดยในส่วนของปริมาณการขายน้ำมันสำเร็จรูปคาดว่าจะโตประมาณ 4-5% และน้ำมันอากาศยานคาดว่าจะโตถึงระดับ 50-60% เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีการเดินทางกันเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งในปีนี้บริษัทจะไม่มีแผนการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีกำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 3 แสนบาร์เรลต่อวัน

 

“ส่วนกรณีที่ บมจ.บางจากคอร์ปอเรชั่น หรือ BCP เข้าซื้อกิจการ บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) หรือ ESSO มองว่าไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจโรงกลั่นของบริษัท เพราะกำลังการกลั่นน้ำมันทั้งระบบยังเท่าเดิม ไม่มีผลทำให้ฝั่งผู้ซื้อน้ำมันสำเร็จรูปจากโรงกลั่นมีอำนาจต่อรอง แต่อาจทำให้การแข่งขันในฝั่งรีเทลรุนแรงขึ้น แต่การที่โรงกลั่น ESSO เปลี่ยนผู้ถือหุ้นมาเป็นคนไทยมองว่าเป็นโอกาสที่เห็นความร่วมมือกันได้มากขึ้น Synergy กันได้มากขึ้นกับบริษัท หลัง ESSO มีผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย เพราะโรงกลั่นน้ำมันของไทยออยล์กับ ESSO ตั้งอยู่ใกล้กันในอำเภอศรีราชา เช่น การจัดหาวัตถุดิบ หรือในเรื่องอื่นๆ”

 

แผน 3 ปีทุ่มงบลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์ 

สำหรับแผนลงทุนของบริษัทในช่วง 3 ปีข้างหน้า ระหว่างปี 2566-2568 ตั้งงบลงทุนรวมไว้ประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ โดยแบ่งสัดส่วนราว 50% หรือมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์เพื่อใช้สำหรับลงทุนต่อเนื่องในโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) มูลค่ารวมทั้งโครงการรวม 1.60 แสนล้านบาท หรือ 5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นโครงการที่เริ่มทยอยสร้างตั้งแต่ปลาย 2561 ให้เสร็จตามแผนที่วางไว้ อีกทั้งแบ่งเงินลงทุนอีกประมาณ 270 ล้านดอลลาร์ ในการลงทุนธุรกิจปิโตรเคมีในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนที่เหลืออีกราว 120 ล้านดอลลาร์  สำหรับขยายกำลังการผลิตในอินโดนีเซียและเวียดนาม รวมถึงลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ

 

ขณะที่หากแยกงบลงทุนของปีนี้บริษัทเตรียมไว้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นเพื่อใช้สำหรับการลงทุนในโครงการ CFP ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างในส่วนที่เหลือ ปัจจุบันโครงการดังกล่าวคืบหน้าไปแล้วกว่า 90% โดยบริษัทมีแผนจะเร่งการก่อสร้างให้เสร็จภายในปีนี้เพื่อให้หน่วยกลั่นผลิตน้ำมันยูโร 5 สามารถเริ่มผลิตได้ในช่วงต้นปีหน้าเป็นต้นไป และคาดว่าทุกหน่วยจะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ (COD) เสร็จภายในไตรมาส 1/68 และการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้า (TOP SPP) ให้แล้วเสร็จตามแผน โดยจะเป็นปัจจัยบวกที่ส่งผลให้ GRM ของบริษัทดีขึ้นจากเดิมอีกเกือบเท่าตัว จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4-5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะโครงการ CFP จะสามารถใช้น้ำมันดิบประเภทหนักที่มีต้นทุนที่ต่ำกว่าน้ำมันเบาได้ และสามารถกลั่นออกมาได้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

 

เล็งออกหุ้นกู้ 2 พันล้านดอลลาร์

สำหรับวงเงินลงทุนดังกล่าว บริษัทคาดว่าจะใช้การออกหุ้นกู้และเงินกู้จากสถาบันการเงินเป็นหลัก ซึ่งในส่วนของปีนี้บริษัทมีแผนจะขอวงเงินออกหุ้นกู้กับที่ประชุมผู้ถือหุ้นจำนวน 2 พันล้านดอลลาร์ เพื่อรองรับการใช้เงินลงทุนในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยแบ่งออกเป็นงบลงทุนประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์ และที่เหลืออีก 1 พันล้านดอลลาร์ใช้สำหรับรีไฟแนนซ์หุ้นกู้ที่จะทยอยครบกำหนด

 

นอกจากนี้บริษัทยังได้ปรับเป้าหมายธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ในปี 2573 ซึ่งสัดส่วนกำไรจากธุรกิจปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจะอยู่ที่ 40%, ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ต่อยอดจากปิโตรเคมี 30%, ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและธุรกิจใหม่ๆ 25% และธุรกิจไฟฟ้า 5% เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

สำหรับเป้าหมายหลักในปีนี้จะเป็นการเร่งดำเนินก่อโครงการสำคัญตามแผนกลยุทธ์ เช่น โครงการพลังงานสะอาด (CFP) ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการขยายตลาดไปต่างประเทศในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย พร้อมทั้งเร่งศึกษาการต่อยอดห่วงโซ่คุณค่าเพื่อเพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง และแสวงหาโอกาสเข้าสู่ธุรกิจที่มีมูลค่าสูง 

 

อีกทั้งจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero การเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมพลังงานไปสู่การใช้พลังงานสะอาด รวมถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ บริษัทฯ จึงได้ปรับเป้าหมาย ธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ ในปี 2030 สัดส่วนกำไรจากธุรกิจปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงอยู่ที่ 40% ธุรกิจปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงที่ต่อยอดจากปิโตรเคมี 30% ธุรกิจที่มีมูลค่าสูงและธุรกิจใหม่ๆ 25% และธุรกิจไฟฟ้า 5% เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

The post ซีอีโอ ‘ไทยออยล์’ มองน้ำมัน 1H อยู่ที่ 80-85 ดอลลาร์ ชี้ราคาเสี่ยงผันผวนดอกเบี้ยขาขึ้นกดดีมานด์ ฉุดรายได้ปีนี้ลดลงจากปีก่อน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นกลุ่มพลังงาน (โรงกลั่น) – แนวโน้มดีขึ้นหลัง 4Q65 อ่อนแอ https://thestandard.co/market-focus-energy-stocks-3/ Mon, 06 Feb 2023 14:09:24 +0000 https://thestandard.co/?p=746762 หุ้นกลุ่มพลังงาน

เกิดอะไรขึ้น: InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรี […]

The post หุ้นกลุ่มพลังงาน (โรงกลั่น) – แนวโน้มดีขึ้นหลัง 4Q65 อ่อนแอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นกลุ่มพลังงาน

เกิดอะไรขึ้น:

InnovestX Research ได้จัดทำบทวิเคราะห์พรีวิวผลประกอบการ 4Q65 ของบริษัทกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่น ภายใต้การวิเคราะห์จำนวน 4 บริษัท ได้แก่ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP), บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC), บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC) และ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) 

 

กระทบอย่างไร: 

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ราคาหุ้นกลุ่มพลังงาน (SETENERG) ปรับลดลง 2.12%MoM โดยราคาหุ้น BCP ปรับเพิ่มขึ้น 14.29%MoM ราคาหุ้น IRPC ปรับเพิ่มขึ้น 2.70%MoM ราคาหุ้น SPRC ปรับเพิ่มขึ้น 6.67%MoM และราคาหุ้น TOP ปรับเพิ่มขึ้น 2.69%MoM


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


พรีวิวผลประกอบการ 4Q65:

InnnovestX Research คาดว่าผลการดำเนินงาน 4Q65 ของผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันไทยจะมีทิศทางที่คละเคล้ากัน โดยจะได้รับผลกระทบจากค่าการกลั่นที่ลดลงและขาดทุนสินค้าคงเหลือ เพราะราคาน้ำมันลดลง 15%QoQ ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ (Singapore GRM) ลดลง 11%QoQ สู่ 6.26 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ได้รับการชดเชยบางส่วนจาก Crude Premium ที่แคบลงมากกว่า 3 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล 

 

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นน้ำมันจากตะวันออกกลาง (~57% ของน้ำมันดิบที่ใช้ใน 4Q65) เนื่องจากซาอุดีอาระเบียได้ปรับลดราคาน้ำมันดิบส่วนใหญ่ที่ส่งไปยังเอเชียใน 4Q65 โดยมีสาเหตุมาจากปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในจีนที่ต่ำกว่าคาด ท่ามกลางกฎคุมโควิดที่เข้มงวด ทำให้อุปสงค์ในตลาดภูมิภาคชะลอตัวลง

 

สำหรับพรีวิวผลประกอบการ 4Q65 ของบริษัทภายใต้การวิเคราะห์ ดังนี้ 

 

BCP: คาดว่ากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 827 ล้านบาท อ่อนตัวลง YoY และ QoQ โดยมีสาเหตุมาจากรายการด้อยค่าของสินทรัพย์ธุรกิจ E&P ในนอร์เวย์จำนวน 250 ล้านโครนนอร์เวย์ (114 ล้านโครนนอร์เวย์ หรือราว 400 ล้านบาท อิงกับสัดส่วนการถือหุ้น 45.44% และก่อนภาษี) เนื่องจาก Okea บันทึกรายการด้อยค่าของสินทรัพย์แหล่ง Yme นอกจากนี้ยังประเมินขาดทุนสินค้าคงเหลือของ BCP (หลังหักกำไรจากสัญญาป้องกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน) ได้ที่ 2.6 พันล้านบาท เทียบกับ 300 ล้านบาท ใน 3Q65

 

IRPC: คาดว่าผลการดำเนินงานจะยังคงขาดทุนราว 7.1 พันล้านบาทใน 4Q65 โดยมีสาเหตุมาจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันตามแผนเป็นเวลา 1 เดือน ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบนำเข้ากลั่นปรับลดลงเหลือเพียง 120kbd (อัตราการใช้กำลังการผลิต 56%) และขาดทุนสินค้าคงเหลือต่อเนื่องที่ 6.5 พันล้านบาท

 

SPRC: คาดว่าน่าจะยังคงมีผลขาดทุนที่ 825 ล้านบาท แต่ดีขึ้น QoQ เพราะขาดทุนสินค้าคงเหลือลดลง ในขณะที่ Market GRM น่าจะอยู่ในระดับทรงตัว QoQ เนื่องจากต้นทุนค่าระวางเพิ่มขึ้น รวมถึงมีผลกระทบจากค่าใช้จ่ายพิเศษ 1-1.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล สำหรับการขนส่งน้ำมันแบบ Ship-to-Sip เนื่องจาก SPM ยังใช้งานไม่ได้

 

TOP: คาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 141 ล้านบาท และจะปรับตัวดีขึ้น QoQ จากกำไรเพียง 12 ล้านบาทใน 3Q65 แม้ว่าจะยังคงอ่อนแอเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต และคาดว่า TOP จะบันทึกขาดทุนสินค้าคงเหลือสุทธิ 6 พันล้านบาทใน 4Q65

 

กลยุทธ์การลงทุน:

หุ้นผู้ประกอบการโรงกลั่นน้ำมันไทยส่วนใหญ่ปรับตัว Outperform SET และ SETENERG ใน 1Q66TD โดยได้รับการสนับสนุนจากการเริ่มต้นปี 2566 ที่ดี โดย Singapore GRM ปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ 10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จาก 6-7 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลใน 2H65 GRM มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ที่สูงขึ้นในตลาดภูมิภาคหลังจีนเปิดประเทศอีกครั้ง 

 

แม้ว่าผลการดำเนินงาน 4Q65 จะยังคงอ่อนแอ โดยมีสาเหตุมาจากการขาดทุนสินค้าคงเหลือและ GRM ที่อ่อนแอ แต่คาดว่าผลการดำเนินงานจะฟื้นตัว QoQ ใน 1Q66 เพราะ GRM จะปรับตัวดีขึ้นและไม่มีขาดทุนสินค้าคงเหลือจำนวนมากเกิดขึ้นอีก 

 

InnovestX Research เลือก BCP เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มพลังงาน ซึ่งราคาหุ้น BCP ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.3%YTD โดยได้แรงหนุนจากการประกาศซื้อหุ้น ESSO จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เชื่อว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ BCP เมื่อพิจารณาจากราคาเข้าซื้อยุติธรรม กำไรส่วนเพิ่มจาก ESSO และประโยชน์จาก Synergy ในด้านการดำเนินงานและการตลาด 

 

นอกเหนือจากพัฒนาการเชิงบวกดังกล่าวและ GRM ที่แข็งแกร่งในปี 2566 แล้ว ยังชอบที่ BCP มีธุรกิจ E&P ในนอร์เวย์ ซึ่งจะได้รับประโยชน์จากอุปสงค์น้ำมันและก๊าซที่แข็งแกร่งในยุโรป เพื่อทดแทนอุปทานจากรัสเซีย

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามคือ 

 

  1. ราคาน้ำมัน GRM และอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
  2. การเปลี่ยนแปลงความชอบที่ผู้บริโภคมีต่อเชื้อเพลิงฟอสซิล 
  3. การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

The post หุ้นกลุ่มพลังงาน (โรงกลั่น) – แนวโน้มดีขึ้นหลัง 4Q65 อ่อนแอ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แนวโน้มกำไรหุ้นโรงกลั่นและปิโตรเคมี ‘เครือ ปตท.’ งวดไตรมาส 3/65 จ่อพลิกขาดทุนรวมกันกว่าหมื่นล้านบาท เหตุบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมัน https://thestandard.co/ptt-share-profit-trend/ Wed, 26 Oct 2022 08:30:48 +0000 https://thestandard.co/?p=700403 เครือ ปตท.

อย่างที่ทราบกันดีว่าผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา หุ้นใ […]

The post แนวโน้มกำไรหุ้นโรงกลั่นและปิโตรเคมี ‘เครือ ปตท.’ งวดไตรมาส 3/65 จ่อพลิกขาดทุนรวมกันกว่าหมื่นล้านบาท เหตุบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
เครือ ปตท.

อย่างที่ทราบกันดีว่าผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา หุ้นในกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีได้รับอานิสงส์จากค่าการกลั่นที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามทิศทางของราคาน้ำมันดิบ เช่นเดียวกับธุรกิจปิโตรเคมีที่สามารถปรับเพิ่มราคาขายตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนราคาพลังงานมีความผันผวนในไตรมาส 3/65 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี

 

THE STANDARD WEALTH จึงสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์ที่มีต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 3/65 ของกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. ที่ประกอบธุรกิจโรงกลั่นและธุรกิจปิโตรเคมี ได้แก่ บมจ.ไทยออยล์ (TOP), บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) และ บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC)


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ซึ่งพบว่านักวิเคราะห์หลายแห่งมีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันว่าผลประกอบการกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมีในเครือ ปตท. ในงวดไตรมาส 3/65 อาจจะพลิกเป็นขาดทุนสุทธิ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการต้องบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมัน และบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน

 

โดยนักวิเคราะห์ บล.เอเชีย เวลท์ คาดการณ์ว่าผลประกอบการไตรมาส 3/65 ของ TOP จะขาดทุน 167 ล้านบาท พลิกจาก 3/64 และ 2/65 ที่มีกำไรสุทธิ 2,063 ล้านบาท และ 25,327 ล้านบาท ตามลำดับ อันเป็นผลมาจากการรับรู้ผลขาดทุนจากรายการพิเศษสำคัญ 2 รายการ ได้แก่

  1. การรับรู้ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 1,650 ล้านบาท จากผลของค่าเงินบาท ณ สิ้นไตรมาสที่อ่อนค่าลง 2.6 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และ
  2. การรับรู้บันทึกขาดทุนสต๊อกนำมันจำนวน 9,550 ล้านบาท จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงในระหว่างไตรมาสที่มากถึง 26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

 

ขณะที่ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) คาดการณ์ว่าแนวโน้มกำไรไตรมาส 3/65 ของ PTTGC จะพลิกเป็นขาดทุนสุทธิสูง 8.6 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2/65 และช่วงปีก่อน ซึ่งจะเห็นการอ่อนแอลงในทุกธุรกิจหลัก เช่น ธุรกิจโอเลฟินส์ที่ได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ยอดขายและราคาขายปรับตัวลง ส่วนธุรกิจอะโรมาติกคาด EBITDA พลิกเป็นติดลบ

 

นอกจากนี้การปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบ เงินบาทอ่อนค่า และ Crack Spread น้ำมันดีเซลสูงขึ้น ทำให้คาดว่าจะมีขาดทุนสต๊อกน้ำมัน 6.2 พันล้านบาท ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน (FX) 2.8 พันล้านบาท และขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) 2.2 พันล้านบาท

 

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 3/65 ของ IRPC นักวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) ประเมินว่าจะพลิกเป็นขาดทุนสุทธิ 2.2 พันล้านบาท เพราะอัตราการผลิตเหลือ 190,000 บาร์เรลต่อวัน ลดลงตามความต้องการใช้ ประกอบกับ Market GIM คาดทำได้ 7.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 37% จากปีก่อน เพราะ Crack Spread น้ำมันสำเร็จรูปลดลงทุกชนิด

 

ขณะเดียวกัน การปรับตัวลงของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทำให้คาดว่าจะบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมันประมาณ 3.8 พันล้านบาท และการอ่อนค่าของเงินบาทจะเกิดการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX) 550 ล้านบาท

 

เครือ ปตท.

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

The post แนวโน้มกำไรหุ้นโรงกลั่นและปิโตรเคมี ‘เครือ ปตท.’ งวดไตรมาส 3/65 จ่อพลิกขาดทุนรวมกันกว่าหมื่นล้านบาท เหตุบันทึกขาดทุนสต๊อกน้ำมัน appeared first on THE STANDARD.

]]>