บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 30 Apr 2025 04:16:16 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 DELTA – 1Q68: กำไรสุทธิดีกว่าคาดท่ามกลางความต้องการ AI https://thestandard.co/delta-1q68-ai-demand/ Wed, 30 Apr 2025 04:16:16 +0000 https://thestandard.co/?p=1069724 delta-1q68-ai-demand

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 บมจ.เดล […]

The post DELTA – 1Q68: กำไรสุทธิดีกว่าคาดท่ามกลางความต้องการ AI appeared first on THE STANDARD.

]]>
delta-1q68-ai-demand

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (DELTA) รายงานกำไรสุทธิ 1Q68 ที่ 5.5 พันล้านบาท สูงกว่าตลาดคาด 37% โดยได้แรงหนุนจากรายได้ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่แข็งแกร่งและการฟื้นตัวของอัตรากำไรขั้นต้น รายได้ เพิ่มขึ้น 12.5%YoY และ 2.4%QoQ หลักๆ ได้แรงหนุนจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากกระแสการใช้งาน AI รวมถึงแนวโน้มอุปสงค์ที่ดีจากกลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ และกลุ่มโครงสร้างเครือข่าย แต่ถูกลดทอนบางส่วนโดยอุปสงค์กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ EV ที่อ่อนแอ 

 

อัตรากำไรขั้นต้น ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 25.6% ใน 1Q68 จาก 21% ใน 1Q67 หลักๆ เกิดจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ให้อัตรากำไรสูง เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์ระบบไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงสำหรับการใช้งานในโครงสร้างพื้นฐานดาต้าเซ็นเตอร์ AI และความต้องการบริการคลาวด์ที่ยังดีต่อเนื่อง  ในขณะที่อัตรากำไรผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ EV ยังคงอ่อนตัวลง 

 

ค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขาย เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY มาอยู่ที่ 12.2% จากค่าบริการทางเทคนิคสำหรับผลิตภัณฑ์ AI แต่ลดลงจาก 16.9% ใน 4Q67 ที่มีการบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับคดีความและค่าใช้จ่าย Royalty จำนวนมาก อัตราภาษีที่แท้จริง เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12.5% ใน 1Q68 (เทียบกับ ลดลง 2.6% ใน 1Q67) หลังจากเริ่มบันทึกภาษีส่วนเพิ่มตามเกณฑ์ Global Minimum Tax (GMT) 

 

กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน อยู่ที่ 437 ล้านบาท ใน 1Q68 (เทียบกับกำไร 493 ล้านบาท ใน 1Q67 และขาดทุน 329 ล้านบาท ใน 4Q67) หากตัดรายการพิเศษออก กำไรปกติ เพิ่มขึ้น 32.4%YoY มาอยู่ที่ 5 พันล้านบาท คิดเป็น 24.5% ของประมาณการกำไรปกติปี 2568 

 

กระทบอย่างไร:

 

หลังรายงานผลประกอบการ 1Q68 ณ 28 เมษายน 2568 ราคาหุ้น DELTA ปรับขึ้น 1.50%DoD สู่ 83.25 บาท ขณะที่ SET Index ปรับขึ้น 0.05%DoD สู่ 1,159.53 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2568:

 

DELTA คงเป้าการเติบโตของรายได้ปี 2568 ไว้ที่ 10-15% หลักๆ ได้แรงหนุนจากรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่คาดว่าจะเติบโต 50% YoY และน่าจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 50-55% ของรายได้รวมภายในสิ้นปี 2568 ในขณะที่คาดว่าสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ EV จะลดลงจาก 25% มาอยู่ที่ราว 20% ซึ่งสะท้อนถึงวัฏจักรการเติบโตที่ช้าลงในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ส่วนกลุ่มอื่นๆ คาดว่าจะยังเติบโตในระดับปานกลาง 

 

แม้ว่าความต้องการ AI ยังคงแข็งแกร่ง แต่ DELTA ค่อนข้างผลิตเต็มกำลัง 100% แล้ว ดังนั้นคำสั่งซื้อส่วนเพิ่มของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI อาจจะมีเพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก และ DELTA วางแผนจัดสรรพื้นที่การผลิตบางส่วนเพื่อใช้ในการผลิต AI Power Supply ใน 3Q68 อัตรากำไรขั้นต้น คาดว่าจะยังอยู่ที่ราว 25% ในปี 2568 แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากกลุ่ม EV ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นลดลงแรงใน 1Q68 

 

ผลกระทบจากภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ DELTA มีรายได้จากสหรัฐฯ มากกว่า 35% ของรายได้รวม โดยสินค้าหลักที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ได้แก่ สินค้ากลุ่มยานยนต์ (ภาษีนำเข้า 25%) และดาต้าเซ็นเตอร์และผลิตภัณฑ์ Consumer Electronic (ภาษีนำเข้า 10%) โดยทาง DELTA อาจจะต้องแบ่งเบาภาระบางส่วนให้กับลูกค้าด้วย 

 

DELTA มีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้โรงงานผลิตเนื่องจากมีฐานการผลิตที่ครอบคลุมทั่วโลก โดยการเลือกให้โรงงานไหนผลิตให้นั้นอยู่ที่ลูกค้าเป็นหลัก

ความเสี่ยงด้านคดีความยังคงเป็น overhang ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ค่าใช้จ่ายด้านคดีความใน 1Q68 มีจำนวนน้อยกว่า 100 ล้านบาท ลดลงจากที่มีการบันทึกเกือบ 1 พันล้านบาท ใน 2H67  

 

โดยคาดว่าจะเห็นค่าใช้จ่ายด้านคดีความเข้ามาอย่างมีนัยสำคัญ หากคดีมีความคืบหน้าในชั้นศาล ซึ่งคาดว่าจะอยู่ใน 2Q68 และ/หรือ 2H68 โดยคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิบัตรค่อนข้างที่ต้องใช้เวลาในการตัดสิน รวมถึงยังมีความไม่แน่นอนเรื่องค่าปรับด้วยว่าจะอยู่ประมาณเท่าไร จึงอาจจะยังเป็น Overhang Issue สำหรับประเด็นนี้

 

กลยุทธ์การลงทุน InnovestX Research คงคำแนะนำ Underperform สำหรับ DELTA โดยให้ราคาเป้าหมายสิ้นปี 2568 ที่ 80 บาทต่อหุ้น อ้างอิง PE ที่ 49 เท่า หรือ PE เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การเปลี่ยนแปลงในกำลังซื้อ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่อ่อนแอกว่าคาด และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัย ESG ที่สำคัญ คือ การจัดการแรงงาน และซัพพลายเออร์

 

DELTA – 1Q68: กำไรสุทธิดีกว่าคาดท่ามกลางความต้องการ AI

The post DELTA – 1Q68: กำไรสุทธิดีกว่าคาดท่ามกลางความต้องการ AI appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทยพุ่ง 2% รับ กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% นักลงทุนไล่ซื้อ CPALL-DELTA สลับเทขายหุ้นแบงก์ https://thestandard.co/thai-stocks-surge-2-percent/ Wed, 26 Feb 2025 12:44:08 +0000 https://thestandard.co/?p=1046099

ดัชนี SET ของตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาปิดที่ 1,231.14 จุ […]

The post หุ้นไทยพุ่ง 2% รับ กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% นักลงทุนไล่ซื้อ CPALL-DELTA สลับเทขายหุ้นแบงก์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ดัชนี SET ของตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวกลับมาปิดที่ 1,231.14 จุด เพิ่มขึ้น 24.75 จุด หรือ 2.05% จากวันก่อนหน้า พร้อมด้วยมูลค่าการซื้อขาย 6.2 หมื่นล้านบาท หลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% มาเหลือ 2.00% 

 

นักลงทุนต่างชาติที่เทขายหุ้นไทยมาต่อเนื่อง 4 วันติดต่อกันราว 8 พันล้านบาท วันนี้ (26 กุมภาพันธ์) กลับมาเป็นฝ่ายซื้อสุทธิ 2 พันล้านบาท แต่ภาพรวมทั้งปี 2568 ยังคงขายสุทธิราว 1 หมื่นล้านบาท 

 

หุ้นขนาดใหญ่ที่ปรับตัวขึ้นได้โดดเด่นวันนี้ คือ บมจ.ซีพีออลล์ หรือ CPALL เพิ่มขึ้น 10.15% บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA เพิ่มขึ้น 9.63% บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF เพิ่มขึ้น 8.48% 

 

ในมุมกลับกันหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นกลุ่มที่ปรับตัวลดลงสวนทางตลาด เช่น ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ลดลง 2.91% ธนาคารกรุงเทพ หรือ BBL ลดลง 2.32% ธนาคารกรุงไทย หรือ KTB ลดลง 1.3% ธนาคารกรุงศรีอยุธยา หรือ BAY ลดลง 1.3% และธนาคารทหารไทยธนชาต หรือ TTB ลดลง 1.03%

 

บล.ทรีนีตี้ ระบุว่า การลดดอกเบี้ยในวันนี้เป็นปัจจัยบวกต่อดัชนี SET จากข้อมูลในอดีตคาดว่าจะช่วยหนุนดัชนีราว 2.9% ส่วนกลุ่มหุ้นที่คาดว่าจะเห็น sentiment เชิงบวกคือกลุ่มไฟแนนซ์ เช่น บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น หรือ SAWAD, บมจ.เมืองไทย แคปปิตอล หรือ MTC และ บมจ.เงินติดล้อ หรือ TIDLOR โดยหุ้นของทั้ง 3 บริษัทปรับตัวขึ้นได้กว่า 3% ในวันนี้

The post หุ้นไทยพุ่ง 2% รับ กนง. ลดดอกเบี้ย 0.25% นักลงทุนไล่ซื้อ CPALL-DELTA สลับเทขายหุ้นแบงก์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลท. ปรับเกณฑ์ Capped Weight ลดน้ำหนักหุ้นรายตัว ใช้คำนวณกับ SET50 และ SET100 คาดเริ่มใช้กลางปีนี้ หวังช่วยลดความผันผวน https://thestandard.co/set-capped-weight-adjustment-2025/ Mon, 17 Feb 2025 09:05:51 +0000 https://thestandard.co/?p=1042864 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศปรับเกณฑ์ Capped Weight จำกัดน้ำหนักหุ้นรายตัวที่ 10%

SET Index ระหว่างการซื้อขายวันนี้ (17 กุมภาพันธ์) ดิ่งห […]

The post ตลท. ปรับเกณฑ์ Capped Weight ลดน้ำหนักหุ้นรายตัว ใช้คำนวณกับ SET50 และ SET100 คาดเริ่มใช้กลางปีนี้ หวังช่วยลดความผันผวน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศปรับเกณฑ์ Capped Weight จำกัดน้ำหนักหุ้นรายตัวที่ 10%

SET Index ระหว่างการซื้อขายวันนี้ (17 กุมภาพันธ์) ดิ่งหนักกว่า 30 จุด ขณะที่หุ้น บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ดิ่งติดฟลอร์ หลังตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมปรับปรุงเกณฑ์จำกัดน้ำหนักรายตัวที่ใช้กับ SET50 และ SET100 

 

ล่าสุดวันนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ชี้แจงระบุว่า ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) เปิดภาคเช้าวันนี้ (17 กุมภาพันธ์) ปรับลดลง 31.96 จุด หรือ 2.51% ลดลงจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ 1,240.14 จุด สาเหตุหลักมาจากการปรับลงของราคาหุ้น DELTA ที่ลดลงหลังข่าวผลประกอบการที่ลดลงต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ และการปรับลดลงของหุ้น AOT เนื่องจากข่าวสัญญาสัมปทาน อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ชี้แจงเพิ่มเติมมาแล้วเช้าวันนี้

 

ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) อยู่ระหว่างการเปิดเฮียริ่งปรับปรุงการคำนวณดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่วันที่ 4-17 กุมภาพันธ์ 2568 โดยวันนี้เป็นวันสุดท้ายของการเปิดเฮียริ่งก่อนที่จะพิจารณาเป็นเกณฑ์ต่อไป

 

โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ เสนอให้พิจารณาจำกัดน้ำหนักหุ้นรายตัว (Constituent Stock Weight Capping) เพื่อช่วยลดอิทธิพลของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ต่อดัชนี เนื่องจากเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับผลการหารือเบื้องต้นกับผู้ใช้งานดัชนีและผลการศึกษาต่างประเทศข้างต้น โดยจะพิจารณานำ Capped Weight มาใช้กับ SET50, SET100, SET50FF และ SET100FF 

 

โดยต่างประเทศจึงเลือกใช้การกำหนด Capped Weight ในการคำนวณดัชนี เพื่อจำกัดสัดส่วนของหลักทรัพย์/กลุ่มหลักทรัพย์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการจำกัดน้ำหนักของหลักทรัพย์ในดัชนีนั้นเป็นมาตรฐานที่ใช้ในหลายดัชนีทั่วโลก เช่น EuroStoxx50, HSI, MSCI, CAC40, NASDAQ100 และ Nikkei225 

 

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ทำการทดสอบ (Index Simulation) พบว่าการจำกัดน้ำหนักหลักทรัพย์ราย ตัวในดัชนี SET50 และ SET100 ที่ระดับ 10% นั้น สามารถลดอิทธิพลของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังคงรักษาโครงสร้างและความสามารถในการสะท้อนภาพรวมของตลาดไว้ได้ นอกจากนี้ระดับ 10% ยังสอดคล้องกับข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่กำหนดให้กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนทั่วไป (Retail Mutual Fund) ไม่สามารถลงทุนในหลักทรัพย์รายตัวเกิน 10%

 

ตลท.ชง 2 แนวทางปรับเกณฑ์ Capped Weight

 

สำหรับเสนอแนวทางการปรับปรุงการคำนวณดัชนีด้วยการ Capped Weight หุ้นรายตัว ดังนี้ 

 

  1. กำหนดให้หลักทรัพย์รายตัวที่เป็นองค์ประกอบในดัชนี SET50, SET50FF, SET100 และ SET100FF มีน้ำหนักไม่เกิน 10% ในแต่ละรอบการคัดเลือก

 

  1. กำหนดให้มีการ Rebalance น้ำหนักของหลักทรัพย์ที่เป็นองค์ประกอบของดัชนีดังกล่าวเป็นราย ไตรมาส และในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างรอบคัดเลือก เช่น กรณีหลักทรัพย์ IPO ขนาดใหญ่ หรือกรณีควบรวมและซื้อกิจการ (Merger & Acquisition) โดยแนวทางการ Rebalance จะเน้นการลด Index Turnover ที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ใช้ดัชนี

 

หวังปรับเกณฑ์ Capped Weight ใหม่ ช่วยลดความผันผวน คาดเริ่มใช้กลางปีนี้

 

อัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างรอผลการเฮียริ่งของการปรับเกณฑ์ Capped Weight เพื่อต้องการนำมาใช้ช่วยลดความผันผวนหรือลดการพึ่งพาหุ้นตัวใดตัวหนึ่งที่จะมีผลต่อดัชนีตลาดหุ้น ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ศึกษามาจากในระดับมาตรฐานสากลที่มีการใช้ในตลาดหุ้นทั่วโลก

 

เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาจะมีหุ้นของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) บางแห่งที่จะมีความแตกต่าง (Unique) และมีความเฉพาะตัวส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของ SET Index ให้ความผันผวนแบบผิดปกติได้



“มีความตั้งใจที่จะสร้างเสถียรภาพให้ตลาดหุ้นไทยมีความเหมาะสมมากขึ้น” อัสสเดชกล่าว

 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการปรึกษาหารือกับ บจ. รายดังกล่าวที่มีประเด็นมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเป็นประเด็นเฉพาะของ บจ. รายดังกล่าว เช่น กรณีของประเด็นของการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) เพื่อเพิ่มให้มี Free Float หรือให้สภาพคล่องให้มากขึ้น เพราะโดยหลักการพื้นฐานของตลาดหุ้นหรือหุ้นรายตัว ราคาควรต้องสะท้อนมูลค่าพื้นฐานของตลาดหุ้นหรือ บจ. นั้นๆ

 

“โดยหลักการพื้นฐานของตลาดทุนราคาควรที่อยู่ที่พื้นฐาน เพราะฉะนั้นหากมีอะไรที่แปลก ทำให้ราคาหลุดจากพื้นฐานได้จะเป็นสิ่งที่เรียกว่าอาจจะไม่ได้ดีต่อเสถียรภาพของตลาดทุนของไทย” อัสสเดชกล่าว

 

ด้าน ดร.รินใจ ชาครพิพัฒน์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า กรณีที่ในเฮียริ่งกำหนดเกณฑ์ Capped Weight ของหุ้นรายตัวไว้ที่ 10% ถือเป็นไปตามเกณฑ์ในตลาดหุ้นในต่างประเทศมีการกำหนดเกณฑ์ Capped Weight ของหุ้นรายตัวไว้ที่ 8-15% ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละประเทศ

 

อีกทั้งสอดคล้องกับข้อกำหนดของสำนักงาน ก.ล.ต. ที่กำหนดให้กองทุนรวมสำหรับผู้ลงทุนทั่วไป (Retail Mutual Fund) ไม่สามารถลงทุนในหุ้นรายตัวเกิน 10% ของกองทุน

 

ทั้งนี้ คาดว่าเกณฑ์ Capped Weight ใหม่จะสามารถนำมาใช้ได้ในการคำนวณ SET50 และ SET100 ได้ในช่วงกลางปีนี้

 

ทบทวนมาตรการ Uptick Rule คุม Short Selling 

 

ขณะที่ อัสสเดช ยังกล่าวต่อว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างการวิเคราะห์กับทบทวนผลกระทบมาตรการ Uptick Rule ที่มาใช้ในช่วงที่ผ่านมา หรือปรับมาตรการเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวะบรรยากาศตลาดหุ้นปัจจุบันให้มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีข้อดีคือช่วยสัดส่วนธุรกรรม Short Selling ต่อวอลุ่มซื้อขายในตลาดหุ้นไทยที่เคยสูงระดับประมาณ 15-16% โดยปัจจุบันลดลงมาเหลือเฉลี่ยประมาณ 5% ช่วยลดความผันผวนธุรกรรม Short Selling ไปในระดับหนึ่ง

The post ตลท. ปรับเกณฑ์ Capped Weight ลดน้ำหนักหุ้นรายตัว ใช้คำนวณกับ SET50 และ SET100 คาดเริ่มใช้กลางปีนี้ หวังช่วยลดความผันผวน appeared first on THE STANDARD.

]]>
DELTA บนมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซื้ออนาคตล่วงหน้าเกือบ 100 ปี https://thestandard.co/delta-2-trillion-buy-future-100-years/ Fri, 29 Nov 2024 02:00:25 +0000 https://thestandard.co/?p=1013744 delta

ไม่บ่อยครั้งที่เราจะเห็นหุ้นที่มีมูลค่า (Market Capital […]

The post DELTA บนมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซื้ออนาคตล่วงหน้าเกือบ 100 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
delta

ไม่บ่อยครั้งที่เราจะเห็นหุ้นที่มีมูลค่า (Market Capitalization) มากที่สุดของแต่ละตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้นเท่าตัวในแต่ละปี ซึ่งปีนี้เราก็ได้เห็นบริษัทอย่าง NVIDIA ที่เพิ่มขึ้นกว่า 180% ขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองก็มีหุ้นอย่าง บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA ที่พุ่งขึ้นกว่า 100% ในวันที่ราคาหุ้นพุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 173.50 บาท

 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลกำไรของบริษัทเหล่านี้เติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะหลัง และไม่เพียงแค่ต่อเนื่อง แต่ยังเติบโตได้ค่อนข้างโดดเด่นเมื่อเทียบกับภาพรวมของหุ้นอื่นๆ ในตลาด

 

แต่คำถามสำคัญที่ตามมาในมุมของการลงทุนคือ มูลค่าหรือราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นอย่างร้อนแรงเหมาะสมกับกำไรที่เพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน

 

ในกรณีของ DELTA แม้ว่ากำไรยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง โดย 9 เดือนแรกกำไรเพิ่มขึ้น 22% มาเป็น 16,783 ล้านบาท ในขณะที่มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 1.09 ล้านล้านบาทเมื่อปลายปี 2023 ไปแตะระดับ 2 ล้านล้านบาท ทำให้มาตรวัดมูลค่าหุ้นในมุมของ P/E Ratio พุ่งขึ้นไปสูงถึง 100 เท่า

 

เท่ากับว่าหากกำไรของ DELTA ไม่เติบโตอีกแล้วถัดจากนี้ นักลงทุนจะต้องใช้เวลาถึง 100 ปีจึงจะคืนทุน หากบริษัทนำกำไรที่ทำได้ทั้งหมดมาจ่ายปันผลคืนให้กับผู้ถือหุ้น

 

หากเปรียบเทียบคร่าวๆ กับเฉพาะหุ้นอย่าง NVIDIA ที่มูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าตัว จะเห็นว่ากำไรสุทธิของ NVIDIA ในช่วง 9 เดือนของปี 2024/2025 ก็เพิ่มขึ้น 190% มาเป็น 50,789 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ P/E ของ  NVIDIA ยังอยู่ที่ราว 53 เท่า

 

ความร้อนแรงของ DELTA ที่ดูเหมือนจะเกินกว่าปัจจัยพื้นฐาน ทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประกาศให้ DELTA เป็นหลักทรัพย์เข้ามาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 1 ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน – 11 ธันวาคม 2024 ส่งผลให้บริษัทหลักทรัพย์ไม่สามารถนำหุ้น DELTA มาคำนวณวงเงินซื้อขาย และนักลงทุนต้องซื้อด้วยบัญชี Cash Balance โดยวางเงินสด 100% ก่อนซื้อ

 

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า ราคาหุ้น DELTA ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องเกินปัจจัยพื้นฐาน โดย ณ วันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมาราคาปิดที่ระดับสูงสุด (New All Time High) ที่ 173.50 บาท ด้วย P/E และ P/BV ที่ 100.68 เท่า และ 28.03 เท่า ตามลำดับ ขณะที่มาร์เก็ตแคปเพิ่มขึ้นจากประมาณ 1.38 ล้านล้านบาท เป็นประมาณ 2.16 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 57% ภายในระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน หลังประกาศของตลาดหลักทรัพย์ฯ ราคาหุ้น DELTA ร่วงลงทันที 26.5 บาท พร้อมมูลค่าที่หายไปกว่า 3 แสนล้านบาท

 

ในมุมมองของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ 16 แห่งตามข้อมูลใน https://www.settrade.com/ ต่างเป็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ราคาหุ้นของ DELTA ในปัจจุบันเกินกว่ามูลค่าพื้นฐานไปมาก โดยนักวิเคราะห์ 7 รายแนะนำให้ขาย และอีก 9 รายแนะนำให้ถือ โดยมีนักวิเคราะห์ให้ราคาเหมาะสมไว้สูงสุดที่ 128 บาท ซึ่งยังคงต่ำกว่าราคาปัจจุบันราว 15%

 

ภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า การประกาศให้ DELTA เข้ามาตรการกำกับการซื้อขายเป็นการส่งสัญญาณแตะเบรกความร้อนแรงของตลาดหลักทรัพย์ฯ

 

“ปัจจุบัน Forward P/E ของ DELTA อยู่ที่ 73 เท่า ถือว่าร้อนแรงเกินไป อิงจากกำไรของ DELTA ที่คาดว่าจะเติบโต 15% ในปีหน้า จาก 21,000 ล้านบาท เป็น 24,600 ล้านบาท”

 

หรือหากจะมองในมุม PEG ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ใช้พิจารณาหุ้นเติบโตสูง (Growth) ปัจจุบัน PEG ก็อยู่ที่ระดับ 4.6 เท่า สูงกว่าระดับทั่วไปที่ 1 เท่า

 

“แม้ DELTA จะเป็นหุ้น High Growth และมีธุรกิจดี แต่ราคาแพงมาก” ภาดลกล่าว

 

เชื่อว่าการลงทุนกับหุ้นที่เติบโตเป็นสิ่งที่นักลงทุนทุกคนมองหา แต่การเติบโตเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะต้องเป็นราคาที่เหมาะสมด้วย อย่างที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยกล่าวไว้ว่า “It’s far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price.” หรือ “การซื้อบริษัทที่ยอดเยี่ยมในราคาที่เหมาะสมย่อมดีกว่าการซื้อบริษัทธรรมดาในราคาที่น่าดึงดูดใจ”

 

เพราะหากเราซื้อหุ้นในราคาที่สูงจนเกินไป เมื่อการเติบโตช้าลงราคาหุ้นอาจถล่มลงมาก่อนที่เราจะขยับตัวได้ทัน

The post DELTA บนมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซื้ออนาคตล่วงหน้าเกือบ 100 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
DELTA – 3Q67 กำไรปกติที่แข็งแกร่งได้แรงหนุนจากสินค้าเกี่ยวกับ AI https://thestandard.co/market-focus-delta-3q67/ Tue, 29 Oct 2024 14:31:31 +0000 https://thestandard.co/?p=1001534

เกิดอะไรขึ้น:   เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 บมจ.เดล […]

The post DELTA – 3Q67 กำไรปกติที่แข็งแกร่งได้แรงหนุนจากสินค้าเกี่ยวกับ AI appeared first on THE STANDARD.

]]>

เกิดอะไรขึ้น:

 

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) (DELTA) รายงานกำไรสุทธิ 3Q67 ที่ 5.9 พันล้านบาท สูงกว่า InnovestX Research คาด 6% และสูงกว่าตลาดคาด 5% หลักๆ เกิดจากอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีกว่าคาดเล็กน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากยอดขายผลิตภัณฑ์มาร์จิ้นสูงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI กำไรสุทธิ 3Q67 ลดลง 10%QoQ จากผลกระทบขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่เพิ่มขึ้น 8.9%YoY จากผลการดำเนินงานที่ยังคงแข็งแกร่งในเกือบทุกผลิตภัณฑ์

 

กำไรปกติใน 3Q67 อยู่ที่ 6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.3%QoQ และ 18.7%YoY โดยได้แรงหนุนจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น 3.5%QoQ (เพิ่มขึ้น 8%QoQ ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) และ 6.8%YoY (เพิ่มขึ้น 8%YoY ในรูปสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) เนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งรวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับ AI กลุ่มผลิตภัณฑ์โครงสร้างพื้นฐาน และกลุ่มผลิตภัณฑ์ Mobility จากความต้องการผลิตภัณฑ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับ EV ที่ฟื้นตัวดีขึ้น

 

อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ 27.6% ใน 3Q67 จาก 26.9% ใน 2Q67 และ 22.6% ใน 3Q66 หลักๆ ได้แรงหนุนจากยอดขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่มีมาร์จิ้นสูงที่เพิ่มขึ้น จากทั้ง Power System สำหรับ Data Center และผลิตภัณฑ์ DC Power นอกจากนี้ อัตราส่วนค่าใช้จ่าย SG&A/ยอดขาย ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 13.7% ใน 3Q67 จาก 12.9% ใน 2Q67 และ 10.1% ใน 3Q66 เนื่องจากยอดขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ที่พัฒนาโดย Delta Taiwan เพิ่มขึ้น ส่งผลให้บริษัทต้องจ่ายค่าบริการด้านเทคนิคให้กับ Delta Taiwan เพิ่มขึ้น

 

สำหรับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำจากบริษัทข้ามชาติที่จะบังคับให้บริษัทข้ามชาติที่มีรายได้เกิน 770 ล้านยูโรต่อปีต้องเสียภาษีขั้นต่ำ 15% นั้น ปัจจุบันรัฐบาลกำลังอยู่ในช่วงพิจารณาออก พ.ร.บ. ขณะที่ความคืบหน้าล่าสุดอาจจะเปลี่ยนเป็นการออก พ.ร.ก. ซึ่งมีความง่ายในการออกมากกว่า หากเกิดขึ้นเร็วอาจจะเริ่มปีหน้า ซึ่งจะทำให้ DELTA ต้องเสียภาษีขึ้นมาเป็น 15% จากปัจจุบันที่มี Effective Tax Rate อยู่ที่เพียง 2.4%

 

อย่างไรก็ดี BOI อาจจะออกมาตรการช่วยเหลือลดผลกระทบ ซึ่งยังไม่มีรายละเอียดออกมา ปัจจุบันใช้สมมติฐาน Effective Tax Rate ที่ 3% สำหรับปี 2568 ถ้ามาตรการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำจากบริษัทข้ามชาติมีผลบังคับใช้ InnovestX Research คาดว่าประมาณการกำไรปกติปี 2568 จะปรับลดลง 12.4% จากที่คาดการณ์ไว้ในปัจจุบัน

 

กระทบอย่างไร:

 

ในช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาหุ้น DELTA ปรับลง 3.04% อยู่ที่ 127.50 บาทต่อหุ้น ขณะที่ SET Index ปรับลง 0.95% อยู่ที่ 1,456.32 จุด

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2567:

 

DELTA ปรับเป้าการเติบโตของยอดขายปี 2567 จาก 10-20% เป็น 10-15% (InnovestX Research คาดการณ์ที่ 14%) โดย DELTA ยังคงคาดว่าผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก โดยได้รับปัจจัยหนุนจากความต้องการใช้ Generative AI และ Co-location Service ที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ Dc Power System ที่ช่วยสนับสนุนความต้องการ GPU Data Center

 

ทั้งนี้ สัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI ต่อรายได้รวมยังคงเป็นตัวเลขหลักเดียวระดับสูง โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Power System ระดับ Rack ที่พัฒนาโดย Delta Thailand เอง รวมถึง Liquid Cooling System จะมีเข้ามาบ้างใน 4Q67 แต่น่าจะเห็นชัดเจนมากขึ้นในปี 2568

 

ในขณะที่ Mobility EV Power อาจจะเติบโตต่ำกว่าคาด จึงปรับลดมุมมองการเติบโตลงสู่ระดับที่เติบโตเป็นตัวเลขหลักเดียวในปี 2567 (จากเดิม +/-20%YoY, vs. 9M67 ที่เพิ่มขึ้น 7.4%YoY) โดยปัจจุบันเห็นภาพคำสั่งซื้อแค่ 3-6 เดือนเท่านั้น

 

สำหรับเป้าอัตรากำไรขั้นต้น ทาง DELTA ขยับขึ้นจาก 23-24% มาเป็น 24-25% ในปี 2567 เทียบกับประมาณการที่ 24.2% ค่าใช้จ่าย SG&A มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก Royalty Fee ที่จ่ายให้กับ Delta Taiwan แต่บริษัทพยายามจะควบคุมให้ไม่เกิน 13% ทั้งนี้ กำไรปกติ 9M67 คิดเป็น 73% ของประมาณการกำไรเต็มปี โดยยังคงประมาณการกำไรปี 2567-2568 ไว้

 

กลยุทธ์การลงทุนและคำแนะนำ InnovestX Research ยังคงคำแนะนำ Neutral สำหรับ DELTA โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 109 บาทต่อหุ้น อ้างอิง +0.5SD ของ P/E เฉลี่ย 5 ปี

 

ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม คือ การเปลี่ยนแปลงในกำลังซื้อ อุตสาหกรรมยานยนต์ที่อ่อนแอกว่าคาด และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ปัจจัย ESG ที่สำคัญ คือ การจัดการแรงงาน และซัพพลายเออร์

 

อ่านบทวิเคราะห์ InnovestX Research: DELTA – 3Q67 กำไรปกติที่แข็งแกร่งได้แรงหนุนจากสินค้าเกี่ยวกับ AI:

https://www.innovestx.co.th/cafeinvest/research/company-analysis/company-update/delta-update-241029

The post DELTA – 3Q67 กำไรปกติที่แข็งแกร่งได้แรงหนุนจากสินค้าเกี่ยวกับ AI appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น DELTA พุ่งสูงสุดรอบ 10 เดือน หลัง Q2 มีกำไร 6.5 พันล้านบาท ทุบสถิติสูงสุดใหม่ https://thestandard.co/delta-highest-in-10-months/ Tue, 30 Jul 2024 09:31:33 +0000 https://thestandard.co/?p=964971

ดัชนี SET ปรับตัวขึ้นแตะ 1,315 จุด เพิ่มขึ้นสูงสุดระหว่ […]

The post หุ้น DELTA พุ่งสูงสุดรอบ 10 เดือน หลัง Q2 มีกำไร 6.5 พันล้านบาท ทุบสถิติสูงสุดใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ดัชนี SET ปรับตัวขึ้นแตะ 1,315 จุด เพิ่มขึ้นสูงสุดระหว่างวัน 8.57 จุด จากวันก่อน ด้วยแรงหนุนของ หุ้น DELTA หรือ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ที่ปรับตัวขึ้นสูงสุด 11% ไปแตะระดับ 103 บาท ในช่วงเช้า ทำจุดสูงสุดในรอบ 10 เดือน

 

แรงหนุนสำคัญต่อราคาหุ้น DELTA วันนี้ มาจากการรายงานกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2567 ซึ่งทำได้ 6,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.6% จากปีก่อน และ 52.4% จากไตรมาสแรก โดยกำไรที่ทำได้ถือเป็นกำไรสูงสุดรายไตรมาสของบริษัท

 

ปัจจัยหลักที่หนุนกำไร DELTA มาจากยอดขายสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น 16.6% มาเป็น 41,772 ล้านบาท เนื่องจากกลุ่มผลิตภัณฑ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะกลุ่มโซลูชันระบบไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง เพื่อรองรับการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์​ (AI) ในดาต้าเซ็นเตอร์และการคำนวณสมรรถนะสูง

 

นอกจากนี้ ยอดขายในกลุ่มพาวเวอร์ซิสเต็มสำหรับเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (ICT Infrastructure) และกลุ่มพลังงานสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Solutions) ส่งสัญญาณฟื้นตัวของรายได้ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน

 

บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) ประเมินว่า DELTA จะได้ประโยชน์จากความต้องการพลังงานและระบบระบายอากาศในเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ที่จะเพิ่มขึ้นในครึ่งหลังของปีนี้ไปจนถึงปี 2568 ตามการใช้งานระบบ Cloud และ AI Training

 

ทั้งนี้ ประมาณการยอดขายธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์จะมียอดขายราว 1.5 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 30% ของรายได้จากการขาย ขณะที่ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI จะมียอดขายราว 8-10% ของรายได้ปี 2567

 

ภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า หากไม่รวมกำไรพิเศษ กำไรของ DELTA จะอยู่ที่ราว 5.9 พันล้านบาท สูงกว่าคาดการณ์ของเรา 18% และสูงกว่าคาดการณ์ของตลาด 26%

 

“กำไรที่ดีขึ้นมาจากสินค้าในกลุ่มดาต้าเซ็นเตอร์และ AI ซึ่งเป็นกลุ่มที่อัตรากำไรขั้นต้นดี ทำให้เราเห็นอัตรากำไรขั้นต้นของ DELTA เพิ่มขึ้นมาเป็น 26.9% ในไตรมาสนี้ จากไตรมาสแรกอยู่ที่ 21% และปีก่อนอยู่ที่ 23%”

 

อย่างไรก็ตาม ในมุมของการลงทุน ภาดลแนะนำว่า DELTA ยังเหมาะกับการเก็งกำไรเท่านั้น ด้วยราคาหุ้นในปัจจุบันที่ไม่ถูกนัก หากมองจากอัตราส่วน P/E ที่ 46 เท่า สำหรับกำไรปีหน้า และ P/E 54 เท่า จากกำไรปีนี้

 

“สาเหตุที่หุ้น DELTA ซื้อขายด้วยราคาพรีเมียม เพราะหุ้นไทยที่เกี่ยวข้องกับ AI และดาต้าเซ็นเตอร์มีให้เลือกไม่มากนัก และถ้ามองภาพรวมหุ้นไทยในเวลานี้ จะเห็นว่าหุ้นที่ราคาถูกมักจะผลประกอบการไม่ดีนัก นอกจากนี้ ด้วย Free Float ของหุ้นที่ต่ำเพียง 23% ก็เป็นอีกหนึ่งแรงหนุนให้ราคาหุ้นซื้อขายในราคาพรีเมียม”

The post หุ้น DELTA พุ่งสูงสุดรอบ 10 เดือน หลัง Q2 มีกำไร 6.5 พันล้านบาท ทุบสถิติสูงสุดใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธุรกิจ ‘จีน-ไต้หวัน’ แห่ตั้งฐานผลิต EV และชิปในไทย นักวิเคราะห์เผย บจ.ไทยได้ไม่คุ้มเสีย https://thestandard.co/china-taiwan-ev-plant-thailand/ Fri, 12 Apr 2024 03:07:17 +0000 https://thestandard.co/?p=922149 จีน-ไต้หวัน ฐานผลิต EV

ประเทศไทยกำลังต้อนรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทไต้หว […]

The post ธุรกิจ ‘จีน-ไต้หวัน’ แห่ตั้งฐานผลิต EV และชิปในไทย นักวิเคราะห์เผย บจ.ไทยได้ไม่คุ้มเสีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีน-ไต้หวัน ฐานผลิต EV

ประเทศไทยกำลังต้อนรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทไต้หวัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) และการผลิตชิป 

 

สัญญาณบวกล่าสุดที่เห็นได้ชัดคือการขยายโรงงานผลิตแห่งใหม่ของ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ซึ่งมีบริษัทแม่คือ Delta Electronics ในไต้หวัน ซึ่งระหว่างการเปิดโรงงานเมื่อเดือนก่อน เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ระบุว่า รัฐบาลพร้อมที่จะสนับสนุนการลงทุนดังกล่าว และต้องการที่จะผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิต EV ของภูมิภาค โดยรัฐบาลได้ให้การสนับสนุนผ่านสิทธิประโยชน์ทางภาษีและนโยบายสนับสนุนอื่นๆ 

 

สำหรับโรงงานแห่งใหม่ของ Delta ที่เน้นผลิตส่วนประกอบของยานยนต์ไฟฟ้า และแท่นชาร์จ ใช้เงินลงทุนราว 3 พันล้านบาท ซึ่งรวมทั้งส่วนของศูนย์วิจัยและพัฒนา 

 

นอกจากการลงทุนของ Delta ในส่วนของ EV แล้ว อีกหนึ่งบริษัทไต้หวันอย่าง Foxconn ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่เข้ามาลงทุนในไทย โดยร่วมทุนกับบริษัทอย่าง ปตท. (PTT) เพื่อสร้างโรงงานผลิต EV เช่นเดียวกับ Kymco จากไต้หวันที่จับมือ ปตท. เพื่อผลิตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในไทย 

 

นอกจากอุตสาหกรรม EV บริษัทจากไต้หวันยังขยายการลงทุนเกี่ยวกับเซมิคอนดักเตอร์ในไทยอีกด้วย เช่น Zhen Ding Technology ที่จับมือกับเครือสหพัฒน์ ด้วยเงินลงทุนเฟสแรกจำนวน 1 หมื่นล้านบาท 

 

นอกจากนี้ มีกระแสข่าวว่ารัฐบาลไทยอยู่ระหว่างการเจรจากับ TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของโลก เพื่อดึงเข้ามาลงทุนในไทย 

 

เมื่อปี 2023 เม็ดเงินลงทุนจากไต้หวันเพิ่มขึ้นเป็น 4.74 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6 เท่าจากปี 2018 จากข้อมูลของ BOI ขณะเดียวกันไทยยังพยายามดึงเม็ดเงินลงทุนจากจีนเช่นกัน ซึ่งปีที่ผ่านมามีการอนุมัติเงินลงทุนราว 1.24 แสนล้านบาทจากบริษัทจีน นำโดยการลงทุน EV ของ BYD ค่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีน 

 

ภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าการเข้ามาลงทุนของบริษัทจีนและไต้หวัน โดยเฉพาะในส่วนของ EV โดยรวมแล้วน่าจะเป็นลบกับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย 

 

“บริษัทยานยนต์ไทยส่วนใหญ่จะผลิตให้กับลูกค้าญี่ปุ่นเป็นหลัก ขณะที่บริษัทยานยนต์จีนที่เข้ามาตั้งโรงงานมักจะนำซัพพลายเออร์ของตัวเองมาด้วย และสั่งซื้อสินค้าเพิ่มเติมบางส่วนจากผู้ผลิตไทย เมื่อลูกค้าญี่ปุ่นผลิตน้อยลง ทำให้บริษัทไทยถูกกระทบไปด้วย” 

 

สำหรับแนวโน้มผลประกอบการของหุ้นกลุ่มยานยนต์ไทยในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา น่าจะลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเพราะลูกค้าญี่ปุ่นที่สูญเสียส่วนแบ่งตลาดบางส่วนให้กับยานยนต์จีน 

 

ขณะที่บริษัทในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ของไทย ผลประโยชน์จากการเพิ่มการลงทุนของไต้หวันน่าจะตกอยู่กับบริษัทนั้นๆ อย่างกรณีของ Delta ที่ขยายการลงทุนของตัวเอง ส่วนบริษัทอย่าง KCE อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มยานยนต์ยุโรป หากยอดขายของลูกค้าลดลงก็อาจกระทบกับบริษัท 

 

อ้างอิง:

The post ธุรกิจ ‘จีน-ไต้หวัน’ แห่ตั้งฐานผลิต EV และชิปในไทย นักวิเคราะห์เผย บจ.ไทยได้ไม่คุ้มเสีย appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทยสูงสุดในรอบ 14 วัน จับตานโยบายดอกเบี้ยกำหนดทิศทาง SET ช่วงสั้น https://thestandard.co/thai-stock-highest-in-14-days/ Tue, 09 Apr 2024 09:41:04 +0000 https://thestandard.co/?p=921167 หุ้นไทย

ดัชนี หุ้นไทย (SET) กลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 14 วัน ห […]

The post หุ้นไทยสูงสุดในรอบ 14 วัน จับตานโยบายดอกเบี้ยกำหนดทิศทาง SET ช่วงสั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทย

ดัชนี หุ้นไทย (SET) กลับมาทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 14 วัน หลังจากปรับตัวขึ้นมาแตะระดับ 1,393 จุด เพิ่มขึ้นราว 17 จุด จากวันก่อนหน้า โดยได้แรงหนุนสำคัญจากสองหุ้นใหญ่คือ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA และ บมจ.ท่าอากาศยานไทย หรือ AOT

 

แรงเก็งกำไรที่เข้ามายังหุ้นไทยวันนี้ (9 เมษายน) สุนทร ทองทิพย์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย มองว่า การปรับตัวขึ้นของหุ้นไทยวันนี้เป็นผลจากการที่นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งตั้งแต่สัปดาห์ก่อน 

 

“หุ้นไทยค่อนข้าง Laggard หลังจากอ่อนแอกว่าหุ้นโลกถึง 35% เมื่อปีก่อน และอ่อนแอกว่าอีก 10% ในปีนี้ ทำให้เริ่มเห็นแรงซื้อกลับ” 

 

ภาดล วรรณรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่า อีกหนึ่งแรงหนุนหุ้นไทยวันนี้มาจากกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ หลังจากรัฐบาลเตรียมนำมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี 

 

ส่วนอีกปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อทิศทางของตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นคือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบวันที่ 10 เมษายน 2567 

 

ในมุมมองของภาดลเชื่อว่าการลดดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้น่าจะเป็นบวกต่อตลาดหุ้นไทยมากกว่า เพราะจะช่วยเพิ่มโมเมนตัมเชิงบวกหลายด้าน เช่น การลดภาระหนี้ครัวเรือน หรือการที่บริษัทต่างๆ จะออกระดมทุนได้ง่ายขึ้น 

 

ในมุมกลับกัน ณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ เปิดเผยว่า จากการศึกษาของเราในอดีตพบว่า การลดดอกเบี้ยแบบเซอร์ไพรส์ตลาดของไทยนับตั้งแต่ปี 2557 มักจะนำไปสู่ความอ่อนแอของตลาดหุ้น เงินทุนที่ไหลออก และเงินบาทอ่อนค่า 

 

ดัชนี SET มักจะปรับลดลงเฉลี่ย 1.3% ในช่วง 1 สัปดาห์หลังการลดดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนต่างชาติมักจะขายสุทธิเฉลี่ย 5.6 พันล้านบาท และเงินบาทอ่อนค่าเฉลี่ย 0.7% 

 

“ด้วยความต่างของดอกเบี้ยไทยและประเทศอื่นๆ จึงเป็นความเสี่ยงอย่างมากต่อตลาด หากเราตัดสินใจลดดอกเบี้ยก่อน เมื่อย้อนไปดูช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นรอบล่าสุด จะเห็นว่าสาเหตุที่ฟันด์โฟลวไหลออกเป็นเพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น เพราะไทยขึ้นดอกเบี้ยช้ากว่าประเทศส่วนใหญ่”

 

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากสัญญาณต่างๆ ในเวลานี้ ทั้งการปรับตัวขึ้นของ SET ราว 15 จุด สัญญาณจากตลาด Swap ที่สะท้อนว่านักลงทุนประเมินว่าโอกาสของการลดดอกเบี้ยน้อยลงมาเหลือ 42% และเงินบาทที่แข็งค่ากลับมาเล็กน้อยสู่ระดับ 36.4 บาทต่อดอลลาร์ เหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าตลาดเชื่อว่า กนง. จะไม่ลดดอกเบี้ยในวันพรุ่งนี้ 

 

ทั้งนี้ โมเมนตัมเชิงบวกต่อหุ้นไทยจะดำเนินไปต่อเนื่องจากวันนี้ได้ โดยณัฐชาตมองว่า สถานการณ์ที่ดีที่สุดจะเกิดขึ้นจากการที่ กนง. มีมติคะแนนเสียงที่ให้คงอัตราดอกเบี้ยแตกต่างไปจากเดิม โดยเสียงที่ให้คงดอกเบี้ยน้อยลง 5:2 เป็น 4:3 เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปสู่การลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบหน้าวันที่ 12 มิถุนายน 

 

ผลกระทบต่อหุ้นรายกลุ่ม 

 

สำหรับนักลงทุนที่อยากลดความเสี่ยงจากกรณีที่ กนง. อาจเซอร์ไพรส์ขึ้นดอกเบี้ย อาจเพิ่มสัดส่วนหุ้นที่ได้อานิสงส์จากเงินบาทอ่อนค่า ได้แก่ กลุ่มส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์และอาหาร กลุ่มท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและขนส่ง

 

ขณะเดียวกัน กลุ่มที่เราแนะนำให้ใช้ความระมัดระวังก็คือ กลุ่มไฟแนนซ์ เนื่องจากตลาดอาจตีความไปว่าการลดดอกเบี้ยจะเป็นประโยชน์ต่อหุ้นกลุ่มนี้ แต่เรามองว่าแม้ดอกเบี้ยจะลด แต่เป็นการลดจากฐานสูงเท่านั้น ยังไม่ได้ลงมาในบริเวณต่ำเหมือนกับตอนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจใหม่ๆ 

 

และด้วยปัจจัยคุณภาพหนี้ที่เรายังคงเป็นกังวล ทำให้หากหุ้นกลุ่มนี้มีการตอบรับเชิงบวกต่อการลดดอกเบี้ย มองเป็นโอกาสในการขายที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีหุ้นกลุ่มนี้อยู่ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของเราในอดีตพบว่า หุ้นกลุ่มไฟแนนซ์มักปรับตัวแย่กว่าตลาด 1.6% และ 2.5% ในช่วง 1 เดือนแรก และ 3 เดือนแรกหลังการลดดอกเบี้ยครั้งแรกของวัฏจักร ส่วนการลดดอกเบี้ยแบบเซอร์ไพรส์ในอดีต ไม่ได้ทำให้หุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวดีแต่อย่างใด โดยมักปรับตัวลงเฉลี่ย 3.2% ทั้งในช่วง 1 และ 3 เดือนหลังจากนั้น

The post หุ้นไทยสูงสุดในรอบ 14 วัน จับตานโยบายดอกเบี้ยกำหนดทิศทาง SET ช่วงสั้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
“ผมมองว่า ช่วง 5 ปีนี้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไทยจะพุ่งสูงขึ้น” DELTA ทุ่ม 3 พันล้าน เปิดโรงงานแห่งที่ 8 ทุ่มวิจัย R&D รับคลื่นอุตสาหกรรม EV https://thestandard.co/thai-ev-car-market-growth-delta/ Sat, 23 Mar 2024 06:49:56 +0000 https://thestandard.co/?p=914606

หลังจากที่ DELTA หารือ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ทำ […]

The post “ผมมองว่า ช่วง 5 ปีนี้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไทยจะพุ่งสูงขึ้น” DELTA ทุ่ม 3 พันล้าน เปิดโรงงานแห่งที่ 8 ทุ่มวิจัย R&D รับคลื่นอุตสาหกรรม EV appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากที่ DELTA หารือ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา เพื่อร่วมพัฒนา Human Capital ทุนการศึกษา และพัฒนาหลักสูตรกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ พร้อมทั้งเร่งเครื่องดันไทยเป็นศูนย์กลางผลิต EV และเศรษฐกิจดิจิทัล 

 

เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาในการเปิดอาคาร ‘Delta Plant 8’ และศูนย์วิจัยและการพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้า (R&D Center) ของบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) ว่า เดลต้าเป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ที่สุดในไทย ซึ่งโรงงานใหม่นี้เป็นผลจากการขยายกำลังการผลิต โดยเฉพาะรองรับซัพพลายเออร์ในภาคยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากที่ความต้องการยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลแล้ว ยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ IGNITE THAILAND ที่มุ่งขับเคลื่อน 2 อุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

นั่นคือ ‘ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต’ (Future Mobility Hub) และ ‘ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล’ (Digital Economy Hub) และเดลต้ายังร่วมพัฒนาทุนบุคลากรในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะช่วยสร้างงานที่มีมูลค่าสูงและโอกาสทางธุรกิจให้กับประเทศอย่างมาก

 

วิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA)

 

วิคเตอร์ เจิ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DELTA) เปิดเผยว่า วันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่บริษัทเปิดโรงงานเดลต้าแห่งที่ 8 และศูนย์วิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ นิคมอุตสาหกรรมบางปู ด้วยมูลค่าการลงทุนเกือบ 3,000 ล้านบาท

 

ปัจจัยหลักๆ เพื่อรองรับและขยายการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ของบริษัทป้อนให้กับซัพพลายเออร์ไปยังลูกค้าชั้นนำระดับโลก อีกทั้งยังช่วยผลักดันมูลค่าเศรษฐกิจและทำให้ไทยเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าภูมิภาค โดยโรงงานแห่งใหม่และศูนย์วิจัยและพัฒนาทั้งสองแห่งนี้ครอบคลุมพื้นที่กว่า 30,400 ตารางเมตร 

 

อานิสงส์ภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ผู้ผลิตต่างมองมาที่ตลาดอาเซียน 

 

อย่างไรก็ตาม ตลอด 35 ปี เดลต้าผลิตทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของบริษัท มีตั้งแต่ผลิตภัณฑ์การจัดการพลังงาน รวมไปถึงเครื่องชาร์จในตัว, ตัวแปลง DC/DC และผลิตภัณฑ์ระบบส่งกำลัง รวมทั้ง Traction Inverter และ Traction Motor โซลูชันการจัดการความร้อนและอุปกรณ์ที่ทำงานได้ด้วยตัวเอง Passive Component ส่วนที่เหลือ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) หลังจากเกิดปัญหาหลายๆ ปัจจัย ขณะนี้มีเพียงพอต่อโรงงาน ซึ่งเดลต้ายังคงนำเข้าทั้งหมด โดยผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในโรงงานเดลต้าจะส่งออกไปยังยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น รวมเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ 

 

 

“ขณะเดียวกันปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ทำให้กลุ่มผู้ผลิตอาจมีการย้ายฐานการผลิต โดยมองมาที่ตลาดอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย เวียดนาม หรือไทย ซึ่งสำหรับไทยชัดเจนมากว่าการเข้ามาอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV โดยเฉพาะค่ายรถจีนที่เข้ามาตั้งโรงงานในไทย กำลังเป็นโอกาสในการเพิ่มกำลังการผลิต ดังนั้นโรงงานใหม่แห่งนี้คาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 2 เท่า และมั่นใจว่ารายได้จากธุรกิจผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้าของบริษัทเพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 1,200 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา เป็น 2,500 ล้านดอลลาร์”

 

ทุ่มลงทุนวิจัยและพัฒนา (R&D) กว่า 7% 

 

วิคเตอร์กล่าวอีกว่า บริษัทวางงบลงทุน 200-300 ล้านดอลลาร์ เพื่อก่อสร้างโรงงานใหม่และซื้ออุปกรณ์สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงลงทุนด้านเครื่องจักรอัตโนมัติ อีกทั้งอยู่ระหว่างศึกษาเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน 

 

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการปีนี้ หลังจากที่ประเมินตัวเลขในช่วงไตรมาสที่ 1 เบื้องต้นคาดว่ารายได้จะเติบโตในระดับปานกลาง  

 

อย่างไรก็ตาม ทิศทางตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าในช่วง 5 ปีข้างหน้าจะพุ่งสูงขึ้น จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียง 10% ของจำนวนรถยนต์ทั้งหมดในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย 

 

ดังนั้นนอกจากบริษัทจะให้ความสำคัญกับการขยายกำลังผลิตเพื่อป้อนให้กับซัพพลายเออร์แล้ว ยังทุ่มลงทุนวิจัยและพัฒนา (R&D) รวมถึงปั้นบุคลากรคนรุ่นใหม่ร่วมกับ 8 มหาวิทยาลัย ซึ่งปีนี้ได้ลงทุนด้านวิจัยถึง 7% เพื่อพัฒนาแรงงานทักษะสูงด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมไฮเทคมากขึ้น

The post “ผมมองว่า ช่วง 5 ปีนี้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไทยจะพุ่งสูงขึ้น” DELTA ทุ่ม 3 พันล้าน เปิดโรงงานแห่งที่ 8 ทุ่มวิจัย R&D รับคลื่นอุตสาหกรรม EV appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทยเทรดวันแรกปี 67 พุ่ง 15 จุด ‘DELTA-AOT’ ช่วยดัน SET สูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน https://thestandard.co/thai-stock-boost-15-points-first-day/ Tue, 02 Jan 2024 06:03:44 +0000 https://thestandard.co/?p=883574 หุ้นไทย

วันทำการแรกของตลาดหุ้นไทยในปี 2567 (2 มกราคม) ดัชนี SET […]

The post หุ้นไทยเทรดวันแรกปี 67 พุ่ง 15 จุด ‘DELTA-AOT’ ช่วยดัน SET สูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นไทย

วันทำการแรกของตลาดหุ้นไทยในปี 2567 (2 มกราคม) ดัชนี SET ช่วงครึ่งวันเช้าพุ่งขึ้น 15.39 จุด มาปิดที่ 1,431.24 จุด ทำจุดสูงสุดนับแต่กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา 

 

หุ้นใหญ่ที่ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวขึ้นมากที่สุดวันนี้คือ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA และ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) ช่วยกันดันดัชนี 3.5 จุด และ 2.8 จุดตามลำดับ 

 

สิ่งที่ต้องจับตาดูในปีนี้คือการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งปีก่อนขายสุทธิไปมากถึง 1.92 แสนล้านบาท และขายต่อเนื่องมาถึง 11 เดือน ในส่วนนี้ บล.ทรีนีตี้ มองในแง่บวกว่า ต่างชาติมีโอกาสกลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิในปีนี้ จากสัญญาณบวกที่เกิดขึ้นช่วงปลายปีก่อน ได้แก่

 

  1. การทยอยปิดสถานะ Short ในระดับสูง และไม่ Rollover หรือเปิดสถานะ Short ต่อเนื่องในซีรีส์ใหม่ของนักลงทุนกลุ่มนี้ 

 

  1. ช่วงปลายปีเงินบาทแข็งค่าเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย 

 

หลังจากนี้คงต้องติดตามกันต่อว่าตลาดหุ้นไทยในปีนี้จะเป็นอย่างไร จะซ้ำรอยปีก่อนคือพุ่งขึ้นได้ช่วง 4-5 วันแรก หลังจากนั้นก็ซึมยาว หรือจะกลับมาเป็นปีที่สดใสแบบครึ่งวันแรกที่ผ่านมา

The post หุ้นไทยเทรดวันแรกปี 67 พุ่ง 15 จุด ‘DELTA-AOT’ ช่วยดัน SET สูงสุดในรอบกว่า 2 เดือน appeared first on THE STANDARD.

]]>