บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 16 Dec 2022 14:25:57 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘เฮียฮ้อ’ จับมือ ‘สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง’ ทุ่ม 910 ล้านบาท ฮุบหุ้น ‘GIFT’ ลุยซื้อทั้งหุ้นสามัญพ่วงหุ้น PP ด้าน ‘เฮียฮ้อ’ แจงเป็นการลงทุนส่วนตัว https://thestandard.co/hia-hor-joins-somyot/ Fri, 16 Dec 2022 08:00:08 +0000 https://thestandard.co/?p=724560

บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล (UKEM) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แ […]

The post ‘เฮียฮ้อ’ จับมือ ‘สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง’ ทุ่ม 910 ล้านบาท ฮุบหุ้น ‘GIFT’ ลุยซื้อทั้งหุ้นสามัญพ่วงหุ้น PP ด้าน ‘เฮียฮ้อ’ แจงเป็นการลงทุนส่วนตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล (UKEM) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 มีมติเห็นชอบการจำหน่ายหุ้นทั้งหมดที่ถือใน บมจ.แกรททิทูด อินฟินิท (GIFT) ซึ่ง UKEM ถืออยู่ในสัดส่วน 66.99% ของหุ้นทั้งหมดของ GIFT หรือมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 221.60 ล้านหุ้น

 

พีรพล สุวรรณนภาศรี กรรมการผู้จัดการ บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล (UKEM) กล่าวว่า การขายหุ้นใน บมจ.แกรททิทูด อินฟินิท (GIFT) แบ่งเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อ มีรายละเอียดดังนี้ 

 

  1. สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ จำนวน 160.60 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 48.55% จากหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ 
  2. เชษฐ เชษฐโชติศักดิ์ จำนวน 26 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 7.86% จากหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ 
  3. โชติ เชษฐโชติศักดิ์ จำนวน 20 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 6.05% จากหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ 
  4. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง จำนวน 15 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 4.53 จากหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของกิจการ 

 

โดยขายหุ้น GIFT ในราคาหุ้นละ 1.65 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 365.63 ล้านบาท ซึ่งการพิจารณาอนุมัติการจำหน่ายเงินลงทุนดังกล่าวเกิดจากการที่ GIFT มีผลการดำเนินงานที่มีแนวโน้มถดถอยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทคาดการณ์ไว้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจากการลดการดำเนินงานที่ไม่เกื้อหนุนกับธุรกิจหลักของบริษัท 


บทความที่เกี่ยวข้อง


ทั้งนี้ จะส่งผลให้บริษัทสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันได้ดียิ่งขึ้น และจากสถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด 

 

ประกอบกับธุรกิจจำหน่ายสารเคมีตั้งต้นสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลครัวเรือน และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย (Chemical Ingredient) มีการแข่งขันสูง ในขณะที่ GIFT มีผลประกอบการขาดทุนในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทจึงเชื่อว่าการจำหน่ายเงินลงทุนใน GIFT ออกไปจะเป็นประโยชน์ในระยะยาวต่อบริษัท เนื่องจากบริษัทต้องการมุ่งมั่นทุ่มเทศักยภาพที่มีเพื่อการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในธุรกิจที่บริษัทมีความชำนาญ หรือมีความเกี่ยวเนื่องส่งเสริมกันกับบริษัท และบริษัทจะได้รับเงินสดจากการขายหุ้นสามัญของ GIFT

 

‘GIFT’ เพิ่มทุน PP 330 ล้านหุ้น มูลค่า 544.50 ล้านบาท ขายให้ ‘เฮียฮ้อ-สมยศ’

วิรัช สุวรรณนภาศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แกรททิทูด อินฟินิท (GIFT) แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 มีอนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียน 330 ล้านบาท เป็น 680.81 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจาก 330 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) หุ้นละ 1.65 บาท รวมเป็นมูลค่า 544.50 ล้านบาท โดยบริษัทแบ่งจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน PP ดังนี้ 

 

  1. บริษัท เชษฐโชติ โฮลดิ้งส์ จำกัด จำนวน 195 ล้านหุ้น
  2. สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ จำนวน 40 ล้านหุ้น 
  3. เชษฐ เชษฐโชติศักดิ์ จำนวน 20 ล้านหุ้น 
  4. โชติ เชษฐโชติศักดิ์ จำนวน 20 ล้านหุ้น
  5. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง จำนวน 20 ล้านหุ้น
  6. กานดา สธนกุลพานิช จำนวน 15 ล้านหุ้น
  7. ศิริชัย โตวิริยะเวช จำนวน 8 ล้านหุ้น
  8. พิมล เจริญชนิกานต์ จำนวน 8 ล้านหุ้น
  9. อนิญช์ หวั่งหลี จำนวน 5 ล้านหุ้น
  10. เอกลักษณ์ ปัทมสัตยาสนธิ จำนวน 4 ล้านหุ้น

 

‘เฮียฮ้อ’ แจงซื้อหุ้น ‘GIFT’ เป็นการลงทุนของครอบครัว

สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ หรือ ‘เฮียฮ้อ’ ออกมาชี้แจงว่า การเข้าลงทุนใน บมจ.แกรททิทูด อินฟินิท (GIFT) เป็นความสนใจส่วนตัวของครอบครัวเท่านั้น เพื่อเข้าไปพัฒนาธุรกิจเดิมของ GIFT และยังมีความประสงค์มองหาโอกาสเพื่อขยายไปสู่สายธุรกิจใหม่ที่มีศักยภาพและสร้างผลกำไรที่ดีให้กับบริษัท ไม่จำกัดเพียงธุรกิจด้านการบริการและธุรกิจร้านอาหาร (Food & Beverage and Services) ซึ่งสมาชิกในครอบครัวมีประสบการณ์ในการบริหารและการลงทุนในธุรกิจนี้มายาวนาน เพื่อต่อยอดธุรกิจให้กับ GIFT ในอนาคต

 

สุรชัยกล่าวต่อว่า ในฐานะกลุ่มถือหุ้นใหญ่กลุ่มใหม่ มีความพร้อมจะนำ GIFT ไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยแรงขับเคลื่อนจากธุรกิจใหม่ ที่จะช่วยสร้างรายได้และผลกำไรของ GIFT ให้เติบโต 

 

นอกจากนี้ ด้วยความร่วมมือของพันธมิตรนักลงทุนที่เข้าลงทุนในครั้งนี้ จะเป็นสิ่งที่เพิ่มความเชื่อมั่นว่า GIFT จะได้รับการบริหารงานด้วยคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารชุดใหม่ที่มีประสบการณ์และศักยภาพสูง สามารถสร้างมูลค่าของผู้ถือหุ้นให้เติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต และก้าวสู่การเป็นบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป

 

ทั้งนี้ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ.อาร์เอส (RS) ยังคงยืนยันให้ความมั่นใจกับนักลงทุนของ RS ว่าจะมุ่งมั่นที่จะสานต่อโมเดลธุรกิจ Entertainmerce ที่เริ่มขึ้นเพื่อสร้างการเติบโตให้กับ RS ในระยะยาว

 

ทั้งนี้ ภายหลังเฉพาะธุรกรรมที่ บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล (UKEM) ขายหุ้นทั้งหมดที่ถือใน บมจ.แกรททิทูด อินฟินิท (GIFT) ถืออยู่ในสัดส่วน 66.99% ในครั้งนี้ (ไม่รวมธุรกรรมขาย PP ของ GIFT) จะส่งผลให้ บมจ.แกรททิทูด อินฟินิท มีรายชื่อผู้ถือหุ้น 5 อันดับแรก ดังนี้

 

  1. กลุ่มเชษฐโชติศักดิ์ ถือหุ้นสัดส่วน 62.45% (ผู้ถือหุ้นใหม่)
  2. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ถือหุ้นสัดส่วน 4.53% (ผู้ถือหุ้นใหม่)
  3. วนันธร กิจวานิชเสถียร ถือหุ้นสัดส่วน 3.59% (ผู้ถือหุ้นเดิม)
  4. พชร เลาหเพียงศักดิ์ ถือหุ้นสัดส่วน 3.08% (ผู้ถือหุ้นเดิม)
  5. กนกอร บดินทร์รัตน ถือหุ้นสัดส่วน 2.67% (ผู้ถือหุ้นเดิม)

The post ‘เฮียฮ้อ’ จับมือ ‘สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง’ ทุ่ม 910 ล้านบาท ฮุบหุ้น ‘GIFT’ ลุยซื้อทั้งหุ้นสามัญพ่วงหุ้น PP ด้าน ‘เฮียฮ้อ’ แจงเป็นการลงทุนส่วนตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
UKEM ดิ่ง 15% หลังตลาดหลักทรัพย์จับติด Cash Balance ขณะที่บริษัทเผยไม่มีพัฒนาการสำคัญใดๆ แม้ราคาหุ้นพุ่งแรงในช่วงก่อนหน้า https://thestandard.co/ukem-dropped-15-percents/ Wed, 04 Aug 2021 04:12:13 +0000 https://thestandard.co/?p=521218 UKEM

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล หรือ U […]

The post UKEM ดิ่ง 15% หลังตลาดหลักทรัพย์จับติด Cash Balance ขณะที่บริษัทเผยไม่มีพัฒนาการสำคัญใดๆ แม้ราคาหุ้นพุ่งแรงในช่วงก่อนหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
UKEM

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้น บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล หรือ UKEM ล่าสุดดิ่งลงราว 15% จากวันก่อนหน้า หลังจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ประกาศให้ UKEM เป็นหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 1 : Cash Balance ตั้งแต่วันที่ 4-24 สิงหาคมนี้

 

ขณะที่ UKEM ได้ชี้แจงผ่านตลาดหลักทรัพย์ว่าบริษัทไม่มีพัฒนาการใดๆ ที่ยังไม่ได้เปิดเผย หรือสารสนเทศที่มีนัยสำคัญที่บริษัทอยู่ระหว่างพิจารณาและอาจเปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ในระยะเวลาอันใกล้ เช่น การเพิ่มทุน การร่วมทุน การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินหรือข้อพิพาทที่สำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพการซื้อขายที่เปลี่ยนแปลงไป

 

ทั้งนี้หุ้น UKEM ก่อนหน้าที่จะปรับตัวลงแรงวันนี้ ราคาหุ้นได้ปรับขึ้นมาราว 5 เท่าตัวในช่วงประมาณ 7 เดือนที่ผ่านมา จากราคาปิด 0.7 บาทเมื่อปลายปีก่อน ขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 4.38 บาท หรือเพิ่มขึ้น 525% 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

The post UKEM ดิ่ง 15% หลังตลาดหลักทรัพย์จับติด Cash Balance ขณะที่บริษัทเผยไม่มีพัฒนาการสำคัญใดๆ แม้ราคาหุ้นพุ่งแรงในช่วงก่อนหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘UKEM’ กลายเป็นหุ้น ‘5 เด้ง’ ใน 7 เดือน บนความคาดหวังว่าผลประกอบการปีนี้จะเติบโตก้าวกระโดด ดึงค่า P/E ปัจจุบันพุ่งแรงแตะ 40 เท่า https://thestandard.co/ukem-stock-market-trend/ Tue, 03 Aug 2021 10:55:07 +0000 https://thestandard.co/?p=520962 UKEM

จากราคาปิดที่ 0.7 บาท เมื่อสิ้นปี 2563 มาวันนี้ราคาหุ้น […]

The post ‘UKEM’ กลายเป็นหุ้น ‘5 เด้ง’ ใน 7 เดือน บนความคาดหวังว่าผลประกอบการปีนี้จะเติบโตก้าวกระโดด ดึงค่า P/E ปัจจุบันพุ่งแรงแตะ 40 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
UKEM

จากราคาปิดที่ 0.7 บาท เมื่อสิ้นปี 2563 มาวันนี้ราคาหุ้นของ บมจ.ยูเนี่ยน ปิโตรเคมีคอล หรือ UKEM พุ่งขึ้นราว 5 เท่าตัว พร้อมกับความคาดหวังที่ว่ากำไรของบริษัทน่าจะเติบโตได้อย่างโดดเด่นในปีนี้ 

 

UKEM เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่ปลายปี 2549 โดยประกอบธุรกิจหลักในการนำเข้าและจัดจำหน่ายเคมีภัณฑ์ มีสินค้าหลักคือ สารทำละลาย (Solvents) ซึ่งเป็นสินค้าที่จำหน่ายทั่วไป (Commodity Solvent) สำหรับใช้เป็นสารทำละลายซึ่งเป็นส่วนประกอบในการผลิตสินค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ

 

หากย้อนดูจากราคาหุ้นที่ผ่านมาพอจะสะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตของ UKEM ไม่ค่อยเสถียรนัก บริษัทเคยมีช่วงวัฏจักรขาขึ้นในปี 2552-2554 ซึ่งราคาหุ้นวิ่งขึ้นเกือบ 800% แต่หลังจากนั้น UKEM ก็เข้าสู่ช่วงวัฏจักรขาลง จนราคาหุ้นค่อยๆ ซึมลงจากราวๆ 2 บาทกว่า กลับมาอยู่ที่ราว 0.60 บาท เมื่อปี 2559 (ราคาหลังลดพาร์) 

 

ในมุมของผลประกอบการ ช่วงปี 2560-2563 กำไรของบริษัทยังค่อนข้างผันผวน แม้ในปี 2560 กำไรของ UKEM จะฟื้นตัวกลับมาอยู่ที่ระดับ 125 ล้านบาท หนุนให้ราคาหุ้นพุ่งขึ้นเกินกว่า 100% แต่ในปีถัดมากำไรกลับมาหดตัวเหลือเพียง 37 ล้านบาท พร้อมกับราคาหุ้นที่ไหลรูดลงมาอีกครั้ง 

 

ถัดมาในปี 2562-2563 กำไรของ UKEM ค่อยๆ ฟื้นตัวอีกครั้ง ขยับขึ้นมาเป็น 70 ล้านบาท และ 97 ล้านบาท ตามลำดับ แต่ในเวลานั้น UKEM อาจจะยังไม่เป็นที่สนใจของตลาดมากนัก สะท้อนจากค่า P/E ที่ยังอยู่ในระดับประมาณ 10 เท่า และราคาที่ยังซื้อขายต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี 

 

ช่วงท้ายของปี 2563 บริษัทได้ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืนโดยให้เหตุผลว่าเป็นการบริหารสภาพคล่องส่วนเกิน และเพื่อเพิ่มอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) รวมถึงเพิ่มอัตรากำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการซื้อหุ้นคืนรวม 66 ล้านบาท คิดเป็นราคาเฉลี่ยที่ซื้อคืนราว 1.124 บาท โดยการซื้อหุ้นคืนวันสุดท้ายคือเมื่อ 12 เมษายนที่ผ่านมา ระหว่างการซื้อหุ้นคืนนี้เองที่ราคาหุ้น UKEM สามารถฟื้นกลับมายืนเหนือระดับ 1 บาทได้อีกครั้งในรอบเกือบ 3 ปี 

 

สำหรับแนวโน้มกำไรสุทธิของ UKEM ในปี 2564 ถูกคาดหวังว่าจะเติบโตขึ้นเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน หลังจากไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% จากปีก่อน แม้ว่ารายได้จากการขายของบริษัทจะลดลง 15% แต่ด้วยต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายทางการเงินที่ลดลงในอัตราที่มากกว่า คือลดลง 19.4% และ 22.1% ตามลำดับ ส่งผลให้กำไรสุทธิปรับตัวขึ้นได้ 

 

แม้กำไรจะดีขึ้น แต่ราคาหุ้นก็ปรับขึ้นมาเร็วไม่แพ้กัน ทำให้ราคาหุ้น UKEM ที่เคยซื้อขายด้วยระดับ P/E 10-12 เท่าในช่วง 4 ปีก่อนหน้านี้ ขยับขึ้นมาเป็นประมาณ 40 เท่าในปัจจุบัน เช่นเดียวกับราคาที่เคยต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ปัจจุบันก็ซื้อขายที่กว่า 4 เท่าของมูลค่าทางบัญชี 

 

ด้วยราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นมาแรงทำให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสอบถามไปยังบริษัทเช่นกัน ว่ามีพัฒนาการที่สำคัญในเชิงธุรกิจใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้ UKEM ได้ชี้แจงว่าไม่มีพัฒนาการสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการซื้อขายหลักทรัพย์แต่อย่างใด 

 

ทั้งนี้หากย้อนดูการแจ้งข่าวที่ผ่านมา UKEM ได้ลงทุนเพิ่มเติมในบริษัทย่อยคือ มหานครแคปปิตอล ซึ่งทำธุรกิจให้สินเชื่อรถยนต์ โดย UKEM ถือหุ้นในสัดส่วน 60% ซึ่งในส่วนนี้บริษัทได้ใส่เงินเพิ่มทุนลงไปอีก 15 ล้านบาท 

 

ล่าสุด (3 สิงหาคม) ราคาหุ้น UKEM ยังคงปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 19.77% มาปิดที่ 4.24 บาท ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง หากดูจากตัวเลขอัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ดูเหมือนว่าในเวลานี้หุ้น UKEM จะขยับขึ้นมาบนความคาดหวังที่สูงกว่าเดิมมาก แต่จะมากเกินกว่าที่กำไรวิ่งตามทันหรือไม่นั้น เชื่อว่าผลประกอบการไตรมาส 2 น่าจะให้คำตอบที่ดีในเบื้องต้น

The post ‘UKEM’ กลายเป็นหุ้น ‘5 เด้ง’ ใน 7 เดือน บนความคาดหวังว่าผลประกอบการปีนี้จะเติบโตก้าวกระโดด ดึงค่า P/E ปัจจุบันพุ่งแรงแตะ 40 เท่า appeared first on THE STANDARD.

]]>