บมจ.ณุศาศิริ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 26 Dec 2023 04:01:35 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เจาะปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้าน ทั้งธุรกิจขาดทุน-ผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องกันเอง นักวิเคราะห์มองเสี่ยงขาดสภาพคล่อง https://thestandard.co/what-dragging-down-nusasiri-stocks/ Tue, 26 Dec 2023 04:01:35 +0000 https://thestandard.co/?p=881052

ราคาหุ้นของ บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ผู้พัฒนาอสังหาริมทรั […]

The post เจาะปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้าน ทั้งธุรกิจขาดทุน-ผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องกันเอง นักวิเคราะห์มองเสี่ยงขาดสภาพคล่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ราคาหุ้นของ บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีย้อนหลัง โดยเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2565 ราคาหุ้นสูงสุดอยู่ที่ 1.83 บาท มีมาร์เก็ตแคปสูงถึง 2.39 หมื่นล้านบาท จนล่าสุดถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2566 ราคาหุ้นร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ 0.30 บาท ส่งผลให้มาร์เก็ตแคปลดลงเหลือเพียงประมาณ 3.9 พันล้านบาท เพียงไม่ถึง 2 ปี สูญมาร์เก็ตแคปไปเกือบ 2 หมื่นล้านบาท จากหลายประเด็นข่าวและข้อมูล รวมถึงผลการดำเนินงาน 5 ปีย้อนหลังที่ขาดทุนมาตลอด ระดับ 400-900 ล้านบาทต่อปี 

 

จุดปรับกลยุทธ์สำคัญธุรกิจของ NUSA เกิดขึ้นเมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา โดยในช่วงปลายปีก่อนหน้า NUSA ใช้เงินลงทุน 850 ล้านบาท รุกสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการพึ่งพาพอร์ตธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ผลการดำเนินงานไม่ดี โดย NUSA เข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อตของ บมจ.เด็มโก้ หรือ DEMCO สัดส่วน 23.27% จากนั้นในช่วงต้นปี 2565 ประเดิมซื้อหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) สัดส่วน 7.12% บริษัทธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ซึ่งที่ผ่านมามีคดีความข้อพิพาทมายาวนาน 9 ปี จนศาลอังกฤษมีคำตัดสินให้ ณพ ณรงค์เดช อดีตผู้ถือหุ้นของวินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง (WEH) และพวกรวม 14 คน จ่ายค่าเสียหายรวมประมาณ 900 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 3 หมื่นล้านบาท ให้แก่ นพพร ศุภพิพัฒน์ ผู้ก่อตั้ง และอดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ WEH

 

ดีลยักษ์เพิ่มทุน PP หมื่นล้านแลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ สู่ Backdoor Listing 

 

ขณะที่ NUSA ยังรุกธุรกิจลงทุนพลังงานหมุนเวียนต่อเนื่อง โดยเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ประกาศออกหุ้นเพิ่มทุน PP ราคา 0.90 บาทต่อหุ้น มูลค่ารวมไม่เกิน 11,748.28 ล้านบาท เพื่อใช้ทำ Share Swap หรือชำระแลกกับหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ เพิ่มอีก 26.65% จากบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) บริหารงานโดยบุคคลใน ‘ตระกูลกิตติอิสรานนท์’ ซึ่งอีกสถานะหนึ่ง ตระกูลนี้ยังเป็นผู้ถือใหญ่ใน NUSA ด้วย ส่งผลให้เมื่อดีลจบ NUSA เข้ามาถือหุ้น WEH ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวม 49.98% 

 

ส่งผลให้​ในวันถัดมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สั่งให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลคำนวณขนาดรายการได้มาซึ่งหุ้น WEH เตือนให้ผู้ลงทุนติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด รวมถึงตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีคำเตือนเช่นเดียวกัน ทำให้ในที่สุด NUSA ต้องกลับลำรวมขนาดรายการการเข้าซื้อหุ้น WEH ทั้ง 2 ครั้งที่เกิดขึ้นให้ดำเนินการให้เป็นไปตามเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนหลักทรัพย์ทางอ้อม (Backdoor Listing) แม้ว่าก่อนหน้านี้จะชี้แจงว่าดีลการแลกหุ้น PP กับหุ้นของ WEH ไม่มีเจตนาจะทำ Backdoor Listing  

 

ตามมาด้วยวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่ง NUSA ชี้แจงข้อมูลงบการเงินไตรมาสที่ 3/66 ซึ่งผู้สอบบัญชียังคงแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขเกี่ยวกับความซับซ้อนของการจัดโครงสร้างของผู้ขายโรงแรม สิทธิเครื่องหมายทางการค้า ใบอนุญาตต่างๆ ในประเทศเยอรมนี และมูลค่าเงินมัดจำรวม 937 ล้านบาท 

 

โดย NUSA ได้ออกมาชี้แจงในทั้ง 3 ประเด็นดังกล่าวแล้วดังนี้ 

  1. โรงแรม Panacée Grand Hotel Römerbad ตอนนี้ NUSA ได้สิทธิ์เป็นเจ้าของแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอน เพียงรอแค่ใบอนุญาตดำเนินการโรงแรม สามารถกลับรายการสินทรัพย์เป็นบวก พร้อมตีราคาตลาด รับรู้กำไรทันที .
  2. การขายทรัพย์สิน คือโครงการค้างสต็อก หากดูเงื่อนไขการขายแล้วผู้ซื้อต้องลงทุนอีกจำนวนมากกับแปลงที่ดินเปล่า โดยกรณีนี้หากผู้ซื้อได้กำไรต้องแบ่งกำไรให้ NUSA ครึ่งหนึ่ง
  3. กู้เงินมีการวางประกันถึง 5 เท่า โดยหากเปรียบเทียบกับราคาทุนกับราคาตลาดจะใช้ข้อมูลที่ต่างกัน เพราะหากเทียบราคาตลาดกู้เงินมีการวางประกัน 2 เท่ากว่า

 

จับตาผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องบอร์ด กรณีอนุมัติขายสินทรัพย์กว่า 1 หมื่นล้าน

 

ตามมาด้วยประเด็นร้อนแรงอีกครั้งในวันที่ 20 ธันวาคม 2566 เมื่อ ประเดช กิตติอิสรานนท์ กรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่ของ NUSA รวมถึงยังเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร กรรมการ และเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ใน ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ กับพวก ยื่นฟ้องบริษัทและกรรมการบริษัทจากการประชุมบอร์ด NUSA ในวันที่ 7 ธันวาคม 2566 อนุมัติให้ผู้บริหารขายทรัพย์สินบริษัทล็อตใหญ่ จำนวน 6 รายการ มูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านบาท หรือเกือบ 70% ของทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวมีทั้งหุ้นของวินด์ เอ็นเนอร์ยี่, หุ้น DEMCO และอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ซึ่งให้เหตุผลว่าผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เพราะยังไม่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น จึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนมติขายทรัพย์สินดังกล่าว โดยศาลได้ประทับรับฟ้องคดีแล้ว

 

โดยมีจำเลย 8 รายในคดีนี้ ประกอบด้วย 

  1. บมจ.ณุศาศิริ 
  2. วิษณุ เทพเจริญ ประธานกรรมการผู้บริหารและผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับที่ 8
  3. สมพิจิตร ชัยชนะจารักษ์ 
  4. ศิริญา เทพเจริญ  
  5. สมคิด ศริ 
  6. สิรินงคร์นาถ เพรียวพานิช 
  7. พิบูลย์ วรวรรณปรีชา 
  8. ธีรธัช โปษยานนท์

 

และในวันที่ 21 ธันวาคม บมจ.ณุศาศิริ แจ้งว่า ฝ่ายบริหารของบริษัทยังไม่ได้รับการแจ้งรายละเอียดของคดีที่ระบุว่าบอร์ดบริษัทบางรายถูกฟ้องร้องกรณีขายทรัพย์สินบริษัทฯ และยังไม่ได้มีนัดหมาย สอบถามจากศาลยุติธรรมแต่อย่างใด 

 

นักวิเคราะห์ แนะเลี่ยงหุ้น NUSA เสี่ยง Money Game 

 

นักวิเคราะห์รายหนึ่งเปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า ปัจจุบันไม่มีนักวิเคราะห์ที่ออกบทวิเคราะห์ครอบคลุมหุ้น NUSA เนื่องจากโครงสร้างการทำธุรกิจที่มีความซับซ้อน อีกทั้งมีผลการเดินงานที่ขาดทุนมาต่อเนื่อง จึงขาดปัจจัยพื้นฐานในการมาสนับสนุน รวมถึงยังถูกมองว่าเป็นหุ้นที่มีลักษณะเป็นหุ้น Money Game ซึ่งมีประเด็นความขัดแย้งภายในระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงแนะนำให้ ‘หลีกเลี่ยงการลงทุน’

 

นอกจากนี้ NUSA ยังมีกระแสเงินสดที่ไม่ค่อยดี มีความเสี่ยงเกิดปัญหาเกี่ยวกับสภาพคล่องในอนาคตขึ้นได้ แม้ปัจจุบันจะมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ที่ 0.50 เท่าซึ่งถือว่าไม่สูง แต่ยังมีปัญหากระแสเงินสดที่ยังติดลบ ซึ่งทำให้มีความจำเป็นในการต้องจัดหาเงินกู้ยืมเข้ามาใช้ในการลงทุนค่อนข้างสูง แต่สร้างกำไรกลับมาได้ไม่ทัน 

 

ดังนั้น จึงมีความเสี่ยงหากไม่สามารถขอกู้ยืมเงินต่อ (Rollover) ได้ในรูปแบบต่างๆ ก็เสี่ยงจะมีปัญหาสภาพคล่องเกิดขึ้นได้ โดยในปี 2567 NUSA มีหนี้ที่จะครบกำหนดชำระประมาณ 1.2 พันล้านบาท อีกทั้งยังมีหนี้สินระยะยาวอีกประมาณ 2.2 พันล้านบาท รวมหนี้ทั้งสิ้นประมาณ 3.4 พันล้านบาท ขณะที่บริษัทมีสต็อกโครงการอสังหาริมทรัพย์รอขายมูลค่าประมาณ 1.7 พันล้านบาท ซึ่งแม้หากขายได้หมดก็ยังมีเงินไม่เพียงพอในการนำมาชำระคืนหนี้ที่มีได้ทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องติดตามต่อว่าบริษัทจะมีวิธีในการบริหารจัดการหนี้ที่มีอย่างไร

The post เจาะปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้าน ทั้งธุรกิจขาดทุน-ผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องกันเอง นักวิเคราะห์มองเสี่ยงขาดสภาพคล่อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เจาะ Money Game หุ้น ‘ณุศาศิริ’ เสี่ยง วิกฤตเงินขาดมือ | Morning Wealth 26 ธ.ค. 2566 https://thestandard.co/morning-wealth-26122023/ Tue, 26 Dec 2023 00:10:09 +0000 https://thestandard.co/?p=880982

หลายปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้า […]

The post ชมคลิป: เจาะ Money Game หุ้น ‘ณุศาศิริ’ เสี่ยง วิกฤตเงินขาดมือ | Morning Wealth 26 ธ.ค. 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลายปมฉุดหุ้น ‘ณุศาศิริ’ สูญมาร์เก็ตแคปเฉียด 2 หมื่นล้านบาท ธุรกิจขาดทุน ผู้ถือหุ้นใหญ่ฟ้องกันเอง ฟากนักวิเคราะห์มองเสี่ยงเจอปัญหาสภาพคล่อง รายละเอียดเป็นอย่างไร

 

วิเคราะห์ ‘ดอกเบี้ยขาลง’ ได้แค่ไหน และความหวังตลาดหุ้นในปี 2024 พูดคุยกับ ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจและการลงทุนสายงานวิจัย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย)

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: เจาะ Money Game หุ้น ‘ณุศาศิริ’ เสี่ยง วิกฤตเงินขาดมือ | Morning Wealth 26 ธ.ค. 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลท. เตือนนักลงทุนติดตามข้อมูล NUSA ด้วยความระวัง เหตุดีลซื้อหุ้น ‘WEH’ เพิ่ม เข้าข่าย Backdoor Listing ต้องทำตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง https://thestandard.co/set-nusa-stock/ Tue, 18 Jul 2023 04:11:45 +0000 https://thestandard.co/?p=818541 หุ้น NUSA

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ออกแถลงการณ์เตือนให้ […]

The post ตลท. เตือนนักลงทุนติดตามข้อมูล NUSA ด้วยความระวัง เหตุดีลซื้อหุ้น ‘WEH’ เพิ่ม เข้าข่าย Backdoor Listing ต้องทำตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้น NUSA

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ออกแถลงการณ์เตือนให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลของ NUSA ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากการซื้อหุ้น WEH เพิ่มเติมเข้าข่ายเป็นรายการ Backdoor Listing ที่ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง

 

บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 อนุมัติซื้อหุ้นบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) รวม 11,748 ล้านบาท โดยออกหุ้นเพิ่มทุน NUSA ให้กับบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด (TONE) ไม่เกิน 49.98% เป็นการตอบแทน ซึ่งมีขนาดของรายการ 99.90% เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 สำนักงาน ก.ล.ต. ให้ NUSA ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลการคำนวณขนาดรายการดังกล่าวที่ไม่เป็นไปตามความเห็นของสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ครบถ้วน ถูกต้อง โดยให้นับรวมขนาดรายการที่ NUSA ลงทุนหุ้น WEH เมื่อปี 2565 ด้วย ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 NUSA ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าจะเร่งประสานกับที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ (IFA) เพื่อให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนทุกด้าน เพื่อให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน ก่อนวันประชุมตามหน้าที่ของบริษัทมหาชนต่อไปโดยเร่งด่วน

 

เนื่องจากธุรกรรมดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัท หากรวมการซื้อหุ้น WEH ในปี 2565 ซึ่งมีขนาดรายการ 49% จะทำให้มูลค่ารายการเกิน 100% ซึ่งเข้าข่ายเป็นรายการเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์โดยอ้อม (Backdoor Listing) ซึ่ง NUSA มีหน้าที่ต้องดำเนินการดังนี้

 

  1. ขออนุมัติการเข้าทำรายการต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยยื่นคำขอให้พิจารณารับหลักทรัพย์ใหม่ (Relisting) โดยไม่ชักช้า หากคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนด ตลาดหลักทรัพย์ฯ อาจพิจารณาเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท

 

  1. ขออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อเข้าทำรายการดังกล่าวโดยไม่ชักช้า หากมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นก่อนทราบผลการพิจารณาคำขอให้รับหลักทรัพย์จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามข้อ 1 บริษัทจะต้องระบุในหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยชัดแจ้งว่าอยู่ระหว่างรอผลการพิจารณา 

 

ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอคำชี้แจงของ NUSA และบริษัทต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลของ NUSA ด้วยความระมัดระวัง

The post ตลท. เตือนนักลงทุนติดตามข้อมูล NUSA ด้วยความระวัง เหตุดีลซื้อหุ้น ‘WEH’ เพิ่ม เข้าข่าย Backdoor Listing ต้องทำตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ก.ล.ต. สั่ง NUSA ให้ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลดีลเพิ่มทุน PP แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ มูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท ให้ครบถ้วนถูกต้อง https://thestandard.co/sec-nusa-clarify-and-update-information/ Tue, 18 Jul 2023 02:12:56 +0000 https://thestandard.co/?p=818468 บมจ.ณุศาศิริ

สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งให้ บมจ.ณุศาศิริ ชี้แจงและปรับปรุงข […]

The post ก.ล.ต. สั่ง NUSA ให้ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลดีลเพิ่มทุน PP แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ มูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท ให้ครบถ้วนถูกต้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
บมจ.ณุศาศิริ

สำนักงาน ก.ล.ต. สั่งให้ บมจ.ณุศาศิริ ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลการคำนวณขนาดรายการกรณีการได้มาซึ่งหุ้น WEH พร้อมออกคำเตือนขอให้ผู้ลงทุนศึกษาและติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด 

 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ระบุให้ บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลที่ได้เผยแพร่ผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการได้มาซึ่งหุ้นของบริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด หรือ WEH ที่มีข้อมูลการคำนวณขนาดรายการที่ไม่เป็นไปตามความเห็นของ ก.ล.ต. ให้ครบถ้วนถูกต้อง และขอให้ผู้ถือหุ้นศึกษาและติดตามข้อมูลของการทำรายการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น หาก NUSA ดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณารายการดังกล่าว หรือขอมติเพิ่มทุนจดทะเบียน รวมถึงการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีหนังสือเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2566 ให้ NUSA ชี้แจงข้อมูล พร้อมทั้งได้แจ้งความเห็นของ ก.ล.ต. เกี่ยวกับการนับรวมขนาดรายการของแผนการลงทุนของ NUSA ที่จะมีการลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นของ WEH ที่เดิม NUSA ได้ลงทุนในหุ้น WEH ในปี 2565 ไปแล้วจำนวน 7.12% ของจำนวนหุ้น WEH ทั้งหมด ซึ่ง ก.ล.ต. พิจารณาและได้แจ้งความเห็นแล้วว่า เมื่อพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการลงทุนเพื่อเป็นการกระจายการลงทุนไปในธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับวัตถุประสงค์เดิมที่ NUSA ตัดสินใจลงทุนในปี 2565 และเป็นการลงทุนในหุ้นของ WEH ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกันกับที่ NUSA ได้ลงทุนไปก่อนหน้าแล้ว 

 

ดังนั้น จึงเห็นว่าควรรวมการคำนวณขนาดรายการของการลงทุนในหุ้น WEH ที่ลงทุนไปแล้วกับการลงทุนในครั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่จะได้พิจารณาถึงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการลงทุนในหุ้น WEH ทั้งหมดด้วย ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2551 และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2547 (ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ) 

 

โดยข้อ 12 ของประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดวิธีการพิจารณานับรวมขนาดรายการ โดยสรุปสาระสำคัญได้ว่า หากปรากฏว่าบริษัทจดทะเบียนมีการทำรายการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์หลายรายการ ซึ่งโดยสาระสำคัญของการทำรายการดังกล่าวเป็นโครงการเดียวกัน ก็ให้นับรวมรายการได้มาหรือมีจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ในการคำนวณขนาดรายการด้วย ซึ่ง ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ร่วมกันพิจารณารายการดังกล่าวด้วยแล้ว

 

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 NUSA ได้แจ้งข่าวผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถึงมติที่ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 4/2566 ที่ประชุมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 เรื่องการได้มาซึ่งหุ้นของ WEH การลดทุนจดทะเบียน การเพิ่มทุนจดทะเบียน และการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) โดยระบุว่า คณะกรรมการ NUSA ได้มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นสามัญของ WEH จำนวนไม่เกิน 29,008,091 หุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 26.65% ของจำนวนหุ้นที่จดทะเบียนและชำระแล้วของ WEH จากบริษัท ธนา พาวเวอร์ วัน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ WEH ในราคาหุ้นละ 405 บาท คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 11,748,276,855 บาท โดยมีขนาดของรายการสูงสุดเท่ากับ 99.90% ตามเกณฑ์มูลค่าหุ้นทุนที่ออกเพื่อชำระราคาสินทรัพย์ 

 

โดยคำนวณจากงบการเงินรวมของ NUSA ซึ่งผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีแล้ว สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 ทั้งนี้ รายการดังกล่าวมีขนาดรายการสูงกว่า 50% แต่ต่ำกว่า 100% NUSA จึงมีหน้าที่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยต้องได้รับอนุมัติด้วยคะแนนเสียง 3 ใน 4 ของผู้ถือหุ้นที่เข้าประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับรวมผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้ส่วนเสีย 

 

อย่างไรก็ดี การคำนวณขนาดของการทำรายการข้างต้นพิจารณาเพียงรายการซื้อหุ้น WEH ที่ NUSA จะลงทุนในครั้งนี้เท่านั้น โดยไม่ได้นับรวมรายการที่ NUSA ได้ลงทุนในหุ้นของ WEH ที่เกิดขึ้นไปแล้วในปี 2565 ด้วย

 

ก.ล.ต. ขอให้ NUSA ชี้แจงว่าเหตุใดคณะกรรมการจึงพิจารณาคำนวณขนาดรายการการลงทุนในหุ้น WEH โดยไม่นับรวมรายการที่ NUSA ลงทุนในหุ้น WEH เมื่อปี 2565 ด้วย ทั้งที่ NUSA ได้รับทราบความเห็นของ ก.ล.ต. แล้ว และขอให้ NUSA ทบทวนและปรับปรุงการคำนวณขนาดรายการข้างต้น โดยให้นับรวมขนาดรายการที่ NUSA ลงทุนในหุ้น WEH เมื่อปี 2565 ด้วย เพื่อให้ครอบคลุมธุรกรรมในโครงการเดียวกัน และให้ผู้ถือหุ้นได้พิจารณาข้อมูลดังกล่าว 

 

รวมถึงขอให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลอื่น เช่น ความสัมพันธ์กับผู้ขายหุ้น WEH และหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่จะใช้ประกอบการพิจารณาก่อนที่ผู้ถือหุ้นจะลงมติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำรายการดังกล่าว ทั้งนี้ ขอให้ NUSA เปิดเผยข้อมูลคำชี้แจงข้างต้นในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการรับ-ส่งข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้ผู้ลงทุนรับทราบด้วย

 

นอกจากนี้ ก.ล.ต. ขอให้ผู้ถือหุ้น NUSA ศึกษาและติดตามข้อมูลการทำรายการดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนของบริษัท และหาก NUSA ดำเนินการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณารายการดังกล่าว หรือขอมติเพิ่มทุนจดทะเบียน รวมถึงการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) ก็ขอให้ผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเพื่อใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นด้วย 

 

The post ก.ล.ต. สั่ง NUSA ให้ชี้แจงและปรับปรุงข้อมูลดีลเพิ่มทุน PP แลกหุ้น ‘วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ’ มูลค่า 1.17 หมื่นล้านบาท ให้ครบถ้วนถูกต้อง appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ณุศาศิริ’ แจง 3 ปมร้อนหลังตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งชี้แจงงบ ด้านราคาหุ้นทรุด 24% https://thestandard.co/nusa-explained-3-topics/ Tue, 11 Jul 2023 09:31:59 +0000 https://thestandard.co/?p=815429

บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ชี้แจง 3 ปมร้อนที่ตลาดหลักทรัพย์ […]

The post ‘ณุศาศิริ’ แจง 3 ปมร้อนหลังตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งชี้แจงงบ ด้านราคาหุ้นทรุด 24% appeared first on THE STANDARD.

]]>

บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ชี้แจง 3 ปมร้อนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยขอให้ชี้แจงข้อมูล โดยอ้างถึงงบการเงินในไตรมาสที่ผ่านมา 3 ประเด็นนั้น ทาง NUSA ขอชี้แจงในเบื้องต้น ดังนี้

 

1. รายการเข้าซื้อโรงแรมที่เยอรมนี

 

ในการเปลี่ยนเป็นเงื่อนไขการซื้อเดิมจากการซื้อทรัพย์สิน (โรงแรม รวมถึงสิทธิในใบรับรอง ใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโรงแรม ซึ่งได้ออกให้ไว้โดยถูกต้องตามกฎหมายของประเทศเยอรมนี รวมตลอดถึงสิทธิ ลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ตราสินค้าของทรัพย์สินที่ซื้อขาย) เป็นการเข้าซื้อหุ้นในบริษัท พานาซี แฟร์วาลทุงส์ จีเอ็มบีเฮช จำกัด (PNCV) ผู้ถือหุ้นในบริษัท บาดิชเชอร์ โฮเทลแฟร์วัลทุงส์ จีเอ็มบีเฮช จำกัด (BHV) (เป็นเจ้าของทรัพย์ตามสัญญาซื้อทรัพย์สินเดิม)

 

เหตุที่บริษัทไม่รับเงินมัดจำคืนทันที เนื่องจากผู้ขายหุ้นใน PNCV คือบุคคลเดียวกับผู้ขายทรัพย์เดิม และปัจจุบันบริษัทได้รับการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้น PNCV (เจ้าของโรงแรม) มาเป็นของบริษัทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

2. รายการเกี่ยวกับบริษัท มอร์ มันนี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ในธุรกิจจัดคอนเสิร์ต Rolling Loud Thailand

 

ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาบริษัทได้รับชำระค่าหุ้นจำนวน 1.5 ล้านบาทแล้ว ยังคงเหลืออีกจำนวน 57.5 ล้านบาท โดยได้รับแจ้งขอขยายเวลาชำระคืนเงินเพิ่มทุนและเงินมัดจำ จำนวนรวม 57.5 ล้านบาทนั้น เนื่องจากทางมอร์ มันนี่ ใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการจัดคอนเสิร์ต Rolling Loud Thailand 2023 ยังไม่แล้วเสร็จ ทางมอร์ มันนี่จึงขอขยายระยะเวลาออกไปอีก 90 วัน ทั้งนี้ บริษัทยังมีการคิดดอกเบี้ยในเงินส่วนที่ให้ขยายระยะเวลาดังกล่าวด้วย

 

3. ความสามารถของกลุ่มบริษัทในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง



กรณีเจ้าหนี้ค่างานก่อสร้างของบริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม จำกัด (Legend Siam) โดย China International Economic and Trade Arbitration Commission มีคำชี้ขาดข้อพิพาทให้บริษัทชำระหนี้ของ Legend Siam ซึ่งณุศาถือหุ้นเพียง 50% นั้น

 

ข้อพิพาทในการชำระหนี้ข้างต้นยังไม่เป็นเหตุให้ผิดนัดในมูลหนี้อื่น เนื่องจากยังไม่มีคำสั่งศาลเป็นที่สิ้นสุด โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างนัดสืบพยานทั้งสองฝ่ายในศาลแพ่ง หากคำพิพากษาสิ้นสุดให้บริษัทชำระหนี้ดังกล่าว บริษัทมีแผนที่จะเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ในวงเงินประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเพียงพอในการชำระหนี้และการขยายงานในอนาคต ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา

 

บริษัทมีความมั่นใจอย่างยิ่งว่า ภาระตามข้อพิพาทดังกล่าวมิได้กระทบต่อสภาพคล่องและการชำระคืนหนี้ต่างๆ ของบริษัทแต่อย่างใด

The post ‘ณุศาศิริ’ แจง 3 ปมร้อนหลังตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งชี้แจงงบ ด้านราคาหุ้นทรุด 24% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลท. เตือนเกาะติดคำชี้แจงงบการเงิน 1Q66 ของ NUSA หลังผู้สอบบัญชีพบความซับซ้อนการจัดโครงสร้างผู้ขายโรงแรมในเยอรมนี ขีดเส้นตาย 25 ก.ค. นี้ https://thestandard.co/nusa-1q66/ Tue, 11 Jul 2023 05:47:54 +0000 https://thestandard.co/?p=815199 บมจ.ณุศาศิริ

ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตร […]

The post ตลท. เตือนเกาะติดคำชี้แจงงบการเงิน 1Q66 ของ NUSA หลังผู้สอบบัญชีพบความซับซ้อนการจัดโครงสร้างผู้ขายโรงแรมในเยอรมนี ขีดเส้นตาย 25 ก.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บมจ.ณุศาศิริ

ตลาดหลักทรัพย์ฯ สั่งให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาส 1/66 หลังผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต เหตุพบความซับซ้อนของการจัดโครงสร้างของผู้ขายโรงแรมรวม-สิทธิเครื่องหมายทางการค้า-ใบอนุญาตต่างๆ ในเยอรมนี พร้อมสั่งให้ชี้แจงข้อมูลภายในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้

 

ตลาดหลักแห่งประเทศไทย (ตลท.) ออกแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่ บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ได้นำส่งงบการเงินไตรมาส 1/66 ซึ่งผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต เนื่องจากความซับซ้อนของการจัดโครงสร้างของผู้ขายโรงแรม รวมถึงสิทธิเครื่องหมายทางการค้าและใบอนุญาตต่างๆ ในเยอรมนี และบริษัทย่อยมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเงื่อนไขการซื้อขายโรงแรมหลายครั้ง 

 

โดยผู้สอบบัญชีให้ความเห็นในลักษณะดังกล่าวตั้งแต่งบการเงินปี 2564 ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เคยให้บริษัทชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับงบการเงินปี 2564 และไตรมาส 3/65 โดยเฉพาะเรื่องการซื้อโรงแรมที่เยอรมนี

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่ระหว่างให้บริษัทชี้แจงข้อมูลผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 25 กรกฎาคมนี้ โดยมีรายการสำคัญดังนี้

 

  1. รายการเข้าซื้อโรงแรมที่เยอรมนี

เดือนมกราคม 2564 NUSA จะเข้าซื้อโรงแรมที่เยอรมนีซึ่งอยู่ระหว่างขอใบอนุญาต ต่อมาในงบการเงินไตรมาส 3/65 ได้เปลี่ยนเป็นการซื้อหุ้นแทน (เป็นเจ้าของบริษัทที่มีทรัพย์สินเป็นโรงแรมดังกล่าว โดยจ่ายเงินมัดจำให้ผู้ขายแล้ว 624 ล้านบาท (84% ของราคาซื้อไม่เกิน 740 ล้านบาท ขึ้นกับผล Due Diligence)) 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ได้เปลี่ยนการลงทุนเป็นการซื้อหุ้น (ไม่ระบุชื่อ) โดยยกเลิกสัญญาเดิมและตกลงให้ผู้ขายเดิมคืนเงินมัดจำภายใน 2 ปี โดยไม่มีดอกเบี้ย ทั้งนี้ ปรากฏข้อมูลว่ามีการเลื่อนเปิดโรงแรมจากไตรมาส 3/66 เป็นปี 2567 ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขว่า ไม่สามารถสอบทานรายการนี้ให้มั่นใจเกี่ยวกับผู้ขายที่แท้จริง และไม่สามารถสรุปได้ว่าจำเป็นต้องปรับปรุงเงินมัดจำค่าซื้อโรงแรมและสิทธิเครื่องหมายการค้าดังกล่าวหรือไม่ 

 

หากต้องปรับปรุงจะมีผลกระทบต่องบการเงินอย่างไร ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจงในประเด็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเงื่อนไขการลงทุนในโรงแรมดังกล่าว ความคืบหน้าและกรอบเวลาในการทำ Due Diligence แล้วเสร็จ เหตุใดจึงไม่เรียกคืนเงินมัดจำทันที และแนวทางการดำเนินการเพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถสอบทานรายการดังกล่าวได้อย่างมั่นใจ และสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินแบบไม่มีเงื่อนไขได้

 

  1. รายการเกี่ยวกับ บริษัท มอร์ มันนี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ 

เดือนกรกฎาคม 2565 NUSA ลงทุนในบริษัท มอร์ มันนี่ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ (มอร์ มันนี่) สัดส่วน 30% ซึ่งมีผู้ถือหุ้นอีกสัดส่วน 50% คือบริษัทย่อยของ บมจ.มอร์ รีเทิร์น หรือ MORE และได้วางเงินมัดจำกัดให้แก่มอร์ มันนี่ เพื่อเป็นหลักประกันว่าบริษัทจะปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงการร่วมทุน ต่อมาบริษัทได้ยกเลิกการร่วมลงทุน และขายหุ้นมอร์ มันนี่ โดยได้โอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้ซื้อแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระค่าขาย

 

นอกจากนี้ มอร์ มันนี่ ได้ขอขยายเวลาคืนเงินเพิ่มทุนและเงินมัดจำรวม 57.5 ล้านบาท ออกไปอีก 90 วัน (ครบวันที่ 29 กรกฎาคม 2566 และวันที่ 11 สิงหาคม 2566 ตามลำดับ)

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจงเหตุผลที่ขยายเวลาคืนเงินเพิ่มทุนและเงินมัดจำ มาตรการดำเนินการเพื่อให้ได้รับคืนเงินดังกล่าวเมื่อครบกำหนดเวลาที่ขยาย รวมทั้งผลกระทบต่อสภาพคล่องของกลุ่มบริษัท

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ NUSA ชี้แจงข้อมูลในงบการเงินไตรมาส 1/66 ซึ่งผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นแบบมีเงื่อนไขและมีข้อสังเกต เนื่องจากความซับซ้อนของการจัดโครงสร้างของผู้ขายโรงแรม รวมถึงสิทธิเครื่องหมายทางการค้าและใบอนุญาตต่างๆ ในเยอรมนี ซึ่งเป็นประเด็นต่อเนื่องที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เคยให้บริษัทชี้แจง ครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและเงื่อนไขการลงทุนในโรงแรมดังกล่าว

 

ทั้งนี้ ให้ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 และขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินของ NUSA และติดตามคำชี้แจงของบริษัท

 

  1. ความสามารถของกลุ่มบริษัทในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

ผู้สอบบัญชีได้ให้ข้อสังเกตเรื่องความสามารถของกลุ่มบริษัทในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มบริษัทมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานต่อเนื่องหลายปี และ ณ สิ้นไตรมาส 1/66 กลุ่มบริษัทมีหนี้สินสำคัญคือเจ้าหนี้ค่างานก่อสร้างของบริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม จำกัด (ณุศา เลเจนด์) รวม 1,723 ล้านบาท

 

โดย China International Economic and Trade Arbitration Commission มีคำชี้ขาดข้อพิพาทให้บริษัทชำระหนี้ของณุศา เลเจนด์ 

 

อย่างไรก็ดี บริษัทได้ยื่นขอเพิกถอนคำชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าว โดยบริษัทเชื่อมั่นว่าจะยังไม่ถือเป็นเหตุผิดนัดในมูลหนี้อื่นของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจงความคืบหน้าของข้อพิพาทดังกล่าว รวมถึงผลกระทบต่อเหตุผิดนัดในมูลหนี้อื่นของบริษัท เช่น หนี้หุ้นกู้ เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เป็นต้น

 

เนื่องจากประเด็นข้างต้นตามข้อ 1-3 อาจมีผลกระทบต่อฐานะการเงินและสภาพคล่องของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงขอทราบความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบต่อผลกระทบดังกล่าว รวมทั้งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มบริษัทและผู้ถือหุ้นอย่างไร

 

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ผู้ลงทุนติดตามคำชี้แจงของบริษัท โดยสามารถศึกษาข้อมูลได้จากงบการเงินของบริษัท (งวดปี 2564 ถึงไตรมาส 1/66) ข่าวชี้แจงของบริษัทวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 และวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566

The post ตลท. เตือนเกาะติดคำชี้แจงงบการเงิน 1Q66 ของ NUSA หลังผู้สอบบัญชีพบความซับซ้อนการจัดโครงสร้างผู้ขายโรงแรมในเยอรมนี ขีดเส้นตาย 25 ก.ค. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดแผน ‘ณุศาศิริ’ หลังทุ่ม 850 ล้านบาท ซื้อหุ้น ‘เด็มโก้’ 23.27% ขึ้นแท่นหุ้นใหญ่ เดินหน้าปรับกลยุทธ์กระจายพอร์ตกำไรสู่พลังงานทดแทนเพิ่ม https://thestandard.co/nusa-demco/ Mon, 28 Nov 2022 08:48:38 +0000 https://thestandard.co/?p=716654 ณุศาศิริ

บมจ.ณุศาศิริ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจใช้เงินลงทุน 850 ล้านบาท […]

The post เปิดแผน ‘ณุศาศิริ’ หลังทุ่ม 850 ล้านบาท ซื้อหุ้น ‘เด็มโก้’ 23.27% ขึ้นแท่นหุ้นใหญ่ เดินหน้าปรับกลยุทธ์กระจายพอร์ตกำไรสู่พลังงานทดแทนเพิ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ณุศาศิริ

บมจ.ณุศาศิริ ปรับกลยุทธ์ธุรกิจใช้เงินลงทุน 850 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้นบิ๊กล็อตของ บมจ.เด็มโก้ สัดส่วน 23.27% ขึ้นเป็นผู้ถือใหญ่อันดับ 1 รายใหม่ เพื่อรุกขยายธุรกิจพลังงานทดแทนเต็มที่ หลังต้นปีที่ผ่านประเดิมซื้อหุ้น บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ฯ มาแล้ว สัดส่วน 8% ระบุเป็นการกระจายความเสี่ยง ลดการพึ่งพอร์ตธุรกิจอสังหา พร้อมเดินหน้าหาดีลใหม่ลงทุนต่อเนื่อง เน้นโครงการผลแทนดี หวังพลิกผลงานปีหน้ากลับมามีกำไร

 

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บมจ.ณุศาศิริ หรือ NUSA ได้ทำรายการซื้อขายหุ้นขนาดใหญ่ (Big Lot) โดยเข้าซื้อหุ้นของ บมจ. เด็มโก้ (DEMCO) จำนวน 170 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 23.27% ของหุ้นทั้งหมดที่ ราคาหุ้นละ 5 บาท เป็นเงินลงทุนรวม 850 ล้านบาท ทำให้ NUSA จะมีสถานะขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ DEMCO ทันที


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


วิษณุ เทพเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ณุศาศิริ (NUSA) เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า สาเหตุที่บริษัทตัดสินเจ้าลงทุนในครั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจหลักของ DEMCO มีการลงทุนในธุรรกิจที่บริษัทมีความสนใจอยู่แล้วคือ ธุรกิจพลังงานทดแทนในกลุ่มพลังงานลม อีกทั้ง DEMCO ยังเป็นถือหุ้นใน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด (WEH) สัดส่วน 4% โดยก่อนหน้านี้ในช่วงต้นปี 2565 ที่ผ่านมา NUSA ได้เข้าไปลงทุนถือหุ้นใน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด แล้ว สัดส่วน 8% โดยชำระค่าทำรายการด้วยการหุ้นเพิ่มทุนให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP) ของ NUSA เพื่อนำไปแลกหุ้นกับหุ้นของ WEH

 

“นโยบายการลงซื้อหุ้น DEMCO คิดว่ายังคงถือไว้ที่สัดส่วนปัจจุบันไว้ก่อนเพื่อไม่ให้เข้าเกณฑ์ต้องไปทำเทนเดอร์หุ้น เพราะหากถือหุ้นเกิน 25 % ต้องทำเทนเดอร์”

 

ทั้งนี้ หลังจากบริษัทได้ลงทุน WEH เห็นโอกาสว่าการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนช่วยสร้างตอบแทนในรูปแบบกำไรและรายได้กลับมาในระดับที่ดี เพราะ WEH มีผลประกอบการที่มีกำไรสูงในระดับ 4-5 พันล้านบาทต่อปี จากธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว (PPA) ทำให้มีกำไรและรายได้ที่สม่ำเสมอในระยะยาว อีกทั้งการลงทุนซื้อ DEMCO ยังส่งผลดีทำให้บริษัทจะมีฐานะความเป็นเจ้าของและมีสัดส่วนการถือหุ้นของ WEH เพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

วิษณุกล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีแรกที่บริษัทปรับกลยุทธ์ธุรกิจเข้าไปลงทุนธุรกิจใหม่ๆ คือธุรกิจพลังงานเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ คือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยว ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2563-2564) ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิดจนมีผลประกอบการที่ขาดทุน

 

“ปีนี้เป็นปีแรกที่ NUSA เริ่มลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน มี วินด์ เอนเนอร์ยี่ เป็นบริษัทแรก และมี DEMCO เป็นบริษัทที่สองซึ่งมีการลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ อีกทั้งยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการติดตั้งงานก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่จะเข้ามาช่วยสร้าง Synergy ธุรกิจได้เพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย

 

ขณะเดียวกัน ประเมินว่า หลังจากในปีนี้บริษัทจะเริ่มทยอยรับรู้กำไรบางส่วนการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน แต่ยังเป็นตัวเลขที่ยังไม่มาก ส่วนในปี 2566 จะเป็นปีแรกที่บริษัทรับรู้กำไรเต็มปีเป็นปีแรกจากธุรกิจพลังงานทดแทนจากการลงทุนใน บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด กับ บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) ส่งผลให้ในปี 2566 จะมีสัดส่วนกำไรจากธุรกิจพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นมาขึ้นมาใกล้เคียงกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ประมาณ 30% โดยยังไม่นับรวมกับที่มีการขยายเพิ่มการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนใหม่ๆ เพิ่มเติมอีกในอนาคต โดยเปลี่ยนแปลงจากปีนี้อสังหาริมทรัพย์ยังเป็นธุรกิจที่ยังสร้างกำไรหลัก

 

นอกจากนี้ บริษัทยังวางเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนกำไรจากธุรกิจพลังงานทดแทนเพิ่มเป็น 35-40% ของกำไรในปีหน้า โดยมาจากการเติบโตของกำไรของ บริษัท วินด์ เอนเนอร์ยี่ โฮลดิ้ง จำกัด กับ DEMCO ที่มีการขยายการลงทุนในโครงการใหม่ๆ รวมถึง NUSA การขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนใหม่ หรือเข้าลงทุนดีลในบริษัทด้านพลังงานทดแทนที่เน้นบริษัทที่มีผลประกอบการและผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงเพิ่มอีกด้วย

 

วิษณุกล่าวต่อว่า ใน 2565 คาดว่าบริษัทจะรายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 3 พันล้านบาท เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด จากปีก่อนที่มีรายได้ 1.65 พันล้านบาท หลังธุรกิจเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นซึ่งในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้บริษัทสามารถทำรายได้รวมแล้วอยู่ที่ 1.42 พันล้านบาท อีกทั้งปัจจุบันยังมียอดขายโครงการอสังหาริมทรัพย์รอโอน (Backlog) ที่มีมูลค่าราว 700-800 ล้านบาท จะทยอยโอนรับรู้เป็นรายทั้งหมดในช่วงปลายปีนี้และต้นปี 2566 และจะเริ่มรับรู้รายได้บางส่วนจากธุรกิจพลังงานทดแทน

 

อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าผลประกอบการรวมของ NUSA ทั้งปี 2565 จะยังมีผลการขาดทุนอยู่เล็กน้อยเพราะธุรกิจอสังทรัพย์กับ Wellness กำลังอยู่ในช่วงเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบโควิด แต่ในธุรกิจการท่องเที่ยวคือ โครงการเลเจนด์ สยาม (Regend Siam) ธีมพาร์กเชิงวัฒนธรรม เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ยังไม่สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้ปกติ ซึ่งดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทย่อย บริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม 

 

ทั้งนี้ บริษัทได้มีการปรับแผนธุรกิจแบ่งขายหุ้น บริษัท ณุศา เลเจนด์ สยาม ออกไปในช่วงต้นปีนี้ให้กับพาร์ตเนอร์สัดส่วน 50% จากเดิมที่บริษัทถือหุ้นเองสัดส่วน 100% ส่งผลให้มีเงินกลับเข้ามาบางส่วนและรับรู้ผลการขาดทุนที่ลดลง

 

อีกทั้งบริษัทยังมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเริ่มลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน แต่เชื่อว่าธุรกิจพลังงานทดแทนจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ผลประกอบการโดยรวมในปี 2566 มีโอกาสจะเริ่มพลิกกลับมามีกำไร รวมทั้งจะช่วยให้รายได้รวมของบริษัทในปีหน้าจะเติบโตได้อีก 25-30% จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้รวมที่ 3 พันล้านบาท 

 

ส่วนแผนการลงทุนธุรกิจหลัก ปัจจุบันคือการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ของปี 2566 เบื้องต้นมีแผนทยอยลงทุนพัฒนา 2 โครงการใหม่ มูลค่ารวม 4 พันล้านบาท มีที่ตั้งอยู่ในโครงการ ณุศา มายโอโซน บนพื้นที่กว่า 1,200 ไร่ ที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยโครงการประกอบด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งบ้าน โรงแรม และรีสอร์ต รวมทั้งยังบริการด้านสุภาพกับศูนย์สถาบันสุขภาพพานาซี สปอร์ตคลับ

The post เปิดแผน ‘ณุศาศิริ’ หลังทุ่ม 850 ล้านบาท ซื้อหุ้น ‘เด็มโก้’ 23.27% ขึ้นแท่นหุ้นใหญ่ เดินหน้าปรับกลยุทธ์กระจายพอร์ตกำไรสู่พลังงานทดแทนเพิ่ม appeared first on THE STANDARD.

]]>