นักบินอวกาศ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 23 Nov 2024 09:02:48 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สวทช. ชวนเยาวชนไทยส่งไอเดียการทดลองให้นักบินอวกาศปฏิบัติจริง จากสถานีอวกาศนานาชาติ https://thestandard.co/nstda-youth-space-experiment-ideas-iss/ Sat, 23 Nov 2024 09:02:48 +0000 https://thestandard.co/?p=1012038

สวทช. ชวนเยาวชนไทยร่วมส่งไอเดียการทดลองขึ้นไปให้นักบินอ […]

The post สวทช. ชวนเยาวชนไทยส่งไอเดียการทดลองให้นักบินอวกาศปฏิบัติจริง จากสถานีอวกาศนานาชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>

สวทช. ชวนเยาวชนไทยร่วมส่งไอเดียการทดลองขึ้นไปให้นักบินอวกาศทดลองจริงจากบนสถานีอวกาศนานาชาติ ในโครงการ Asian Try Zero-G 2025

 

โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ร่วมกับ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยเสนอแนวคิดการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ เพื่อให้นักบินอวกาศนำขึ้นไปปฏิบัติจริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS

 

สำหรับปีนี้มีการเปิดรับไอเดียการทดลองทางฟิสิกส์อย่างง่าย ที่สามารถทำได้ด้วยอุปกรณ์บน ISS ขั้นตอนต่างๆ สามารถดำเนินการให้เสร็จสิ้นทั้งหมดได้ภายในเวลา 10 นาที และไม่เคยถูกนำไปทดลองบนสถานีอวกาศมาก่อน

 

โดยโครงการ Asian Try Zero-G 2025 เปิดรับไอเดียการทดลองจากเยาวชนทุกระดับชั้นการศึกษา จนถึงระดับปริญญาตรี และสามารถส่งไอเดียการทดลองได้ทั้งแบบบุคคลเดี่ยว หรือแบบกลุ่ม (ไม่เกิน 3 คน) ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 12 มกราคม 2025 ก่อนมีการประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยในเดือนมีนาคม เพื่อเดินทางไปร่วมรับชมการทดลอง ณ ศูนย์อวกาศสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นลำดับถัดไป

 

คาดการณ์ว่าการทดลองจริงจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2025 คาบเกี่ยวต้นปี 2026 เนื่องจากผู้ทำการทดลองจะเป็นนักบินอวกาศญี่ปุ่นที่ต้องขึ้นไปปฏิบัติงานและดูแลการทดลอง Asian Try Zero-G 2025 จากโมดูล ‘คิโบะ’ บนสถานีอวกาศ ซึ่งในปัจจุบันไม่มีนักบินอวกาศของ JAXA ประจำการอยู่บน ISS

 

เมื่อช่วงต้นปี 2024 มี 3 ไอเดียการทดลองของเยาวชนไทยที่ได้รับคัดเลือกให้นักบินอวกาศ ซาโตชิ ฟุรุคาวะ ของ JAXA ทดลอง พร้อมกับพูดคุยสื่อสารกับนักเรียนผู้เสนอไอเดียในระหว่างการถ่ายทอดสดจากสถานีอวกาศลงมาบนโลก โดยสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่: https://thestandard.co/thai-youth-ideas-in-space/ 

 

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดโครงการและดาวน์โหลดไฟล์ใบสมัครได้ทางเว็บไซต์: https://www.nstda.or.th/spaceeducation/atzg2025/ 

 

ภาพ: JAXA / NSTDA

 

อ้างอิง:

 

The post สวทช. ชวนเยาวชนไทยส่งไอเดียการทดลองให้นักบินอวกาศปฏิบัติจริง จากสถานีอวกาศนานาชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
จีนส่ง 3 นักบินอวกาศภารกิจเสินโจว-19 ไปสถานีอวกาศเทียนกงได้สำเร็จ https://thestandard.co/astronauts-of-shenzhou-19-successfully/ Thu, 31 Oct 2024 05:01:23 +0000 https://thestandard.co/?p=1002048 เสินโจว-19

จีนประสบความสำเร็จในการนำส่ง 3 นักบินอวกาศขึ้นไปทำงานระ […]

The post จีนส่ง 3 นักบินอวกาศภารกิจเสินโจว-19 ไปสถานีอวกาศเทียนกงได้สำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เสินโจว-19

จีนประสบความสำเร็จในการนำส่ง 3 นักบินอวกาศขึ้นไปทำงานระยะยาวบนสถานีอวกาศเทียนกงในภารกิจเสินโจว-19

 

วันที่ 30 ตุลาคม เวลา 03.27 น. ตามเวลาประเทศไทย จรวด Long March 2F นำส่งยานอวกาศเสินโจว-19 ขึ้นจากฐานปล่อยจรวดจิ่วฉวนทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน

 

ลูกเรือของภารกิจดังกล่าวประกอบด้วย ไช่ซวี่เจ๋อ ผู้บัญชาการภารกิจวัย 48 ปี ที่เคยเดินทางขึ้นไปทำงานบนสถานีอวกาศเทียนกงกับภารกิจเสินโจว-14 เมื่อปี 2022, ซ่งลิ่งตง นักบินบังคับยานวัย 34 ปี และ หวังเฮ่าเจ๋อ วิศวกรหญิงวัย 34 ปี ผู้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีจรวดพลังงานนิวเคลียร์

 

3 นักบินอวกาศของภารกิจเสินโจว-19 เดินทางไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเทียนกงเมื่อเวลา 10.00 น. และเปิดประตูเข้าประจำการบนสถานีเมื่อเวลา 11.51 น. เพื่อเริ่มต้นการปฏิบัติงานนานกว่า 6 เดือน พร้อมแผนการทดลองรวม 86 รายการ เช่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ, วัสดุศาสตร์, การแพทย์ และฟิสิกส์ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ

 

เสินโจว-19 เป็นยานอวกาศที่นำส่งลูกเรือไปทำงานบนสถานีอวกาศเทียนกงภารกิจที่ 8 หลังจากนำส่งโมดูล ‘เทียนเหอ’ ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อปี 2021 ก่อนที่สถานีอวกาศของจีนจะได้รับการต่อขยายโมดูลเพิ่มเติมในปี 2022 และมีนักบินอวกาศจีนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ภารกิจเสินโจว-14 เป็นต้นมา

 

ด้านลูกเรือภารกิจเสินโจว-18 ที่ปฏิบัติงานอยู่บนสถานีอวกาศในปัจจุบัน มีกำหนดเดินทางกลับโลกในวันที่ 4 พฤศจิกายน หลังใช้ชีวิตอยู่ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำมานานกว่า 6 เดือน

 

ภาพ: Wang Jiangbo / Xinhua

อ้างอิง:

The post จีนส่ง 3 นักบินอวกาศภารกิจเสินโจว-19 ไปสถานีอวกาศเทียนกงได้สำเร็จ appeared first on THE STANDARD.

]]>
NASA เลือก 9 พื้นที่ขั้วใต้ดวงจันทร์เพื่อพานักบินอวกาศกลับไปลงจอด https://thestandard.co/nasa-lunar-south-pole-landing/ Wed, 30 Oct 2024 00:38:40 +0000 https://thestandard.co/?p=1001570 NASA

NASA ประกาศ 9 พื้นที่บริเวณใกล้เคียงขั้วใต้ดวงจันทร์สำห […]

The post NASA เลือก 9 พื้นที่ขั้วใต้ดวงจันทร์เพื่อพานักบินอวกาศกลับไปลงจอด appeared first on THE STANDARD.

]]>
NASA

NASA ประกาศ 9 พื้นที่บริเวณใกล้เคียงขั้วใต้ดวงจันทร์สำหรับการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และเตรียมความพร้อมในการนำนักบินอวกาศไปลงจอดบนพื้นผิวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ภารกิจอพอลโล 17

 

วันที่ 28 ตุลาคม องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ NASA ประกาศเลือก 9 พื้นที่บริเวณใกล้ขั้วใต้ดวงจันทร์เพื่อเป็นจุดลงจอดของยาน Starship HLS พาสองนักบินอวกาศจากภารกิจอาร์ทีมิส 3 ไปลงบนดวงจันทร์ โดยมีกำหนดเกิดขึ้นเร็วที่สุดในเดือนกันยายน 2026

 

เจคอบ บลีเชอร์ หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ด้านการสำรวจของ NASA ระบุว่า “อาร์ทีมิส 3 จะเป็นครั้งแรกที่นักบินอวกาศไปลงจอดในบริเวณขั้วใต้ดวงจันทร์ พวกเขาจะขึ้นบินไปกับยานลงจอดลำใหม่ในพื้นที่ที่แตกต่างไปจากประสบการณ์ในสมัยโครงการอพอลโล เราจึงต้องเลือกจุดลงจอดที่เหมาะสมกับช่วงเวลาประวัติศาสตร์นี้ เริ่มจากการหาตำแหน่งที่มีความปลอดภัยในการลงจอด และศึกษาคุณค่าทางวิทยาศาสตร์ที่จะได้จากพื้นที่ดังกล่าว”

 

พื้นที่ลงจอดของอาร์ทีมิส 3 ที่ NASA ประกาศเลือกสำหรับการศึกษาเพิ่มเติม ได้แก่ Mons Mouton, Mons Mouton Plateau, Malapert Massif, Nobile Rim 1, Nobile Rim 2, Slater Plain, de Gerlache Rim 2, Haworth และยอดเขาบริเวณ Cabeus B ซึ่งต่างมีความหลากหลายในเชิงธรณีวิทยา เนื่องจากขั้วใต้ของดวงจันทร์เป็นจุดที่ไม่เคยมีมนุษย์ลงไปสำรวจมาก่อน และมีหลุมอุกกาบาตที่ไม่เคยได้รับแสงอาทิตย์มาหลายพันล้านปี ซึ่งอาจมีทรัพยากรต่างๆ รวมถึงน้ำซ่อนอยู่

 

กระบวนการคัดเลือกจุดลงจอดของภารกิจนี้ ประกอบด้วยการศึกษาข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์จากยาน LRO ของ NASA เช่นเดียวกับงานวิจัยดวงจันทร์จากแขนงต่างๆ ประกอบกับความเหมาะสมของพื้นผิวในการนำยานไปลงจอด การติดต่อสื่อสารกลับโลก สภาพแสงที่สามารถมองเห็นได้ รวมถึงความสามารถในการเดินทางไปลงจอดของยาน Starship HLS และเดินทางกลับมาสู่วงโคจรอย่างปลอดภัย โดยมีนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในทีมที่พิจารณาเลือกตำแหน่งการลงจอดครั้งนี้

 

NASA ระบุเพิ่มเติมว่า การเลือกจุดลงจอดของอาร์ทีมิส 3 จะเกิดขึ้นหลังประกาศกำหนดวันขึ้นบินของภารกิจ เพื่อให้มีการคำนวณวิถีโคจรและศึกษาสภาพแวดล้อมของจุดลงจอดที่เหมาะสมได้ โดยปัจจุบันกำหนดการของภารกิจดังกล่าววางไว้ว่าจะเกิดขึ้นเร็วที่สุดในเดือนกันยายน 2026 แต่อาจเลื่อนออกไปได้ 

 

ภาพ: NASA / SpaceX

อ้างอิง:

The post NASA เลือก 9 พื้นที่ขั้วใต้ดวงจันทร์เพื่อพานักบินอวกาศกลับไปลงจอด appeared first on THE STANDARD.

]]>
SpaceX พา 4 นักบินอวกาศกลับโลก หลังปฏิบัติภารกิจนาน 232 วัน บนสถานีอวกาศนานาชาติ https://thestandard.co/spacex-brings-4-astronauts-back-to-earth/ Sun, 27 Oct 2024 06:13:26 +0000 https://thestandard.co/?p=1000594

ยานอวกาศ Crew Dragon ของบริษัท SpaceX พา 4 ลูกเรือของภา […]

The post SpaceX พา 4 นักบินอวกาศกลับโลก หลังปฏิบัติภารกิจนาน 232 วัน บนสถานีอวกาศนานาชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ยานอวกาศ Crew Dragon ของบริษัท SpaceX พา 4 ลูกเรือของภารกิจ Crew-8 เดินทางกลับมาลงจอดบนโลกได้สำเร็จ หลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติงานบนสถานีอวกาศนานาชาตินานเกือบ 8 เดือน

 

เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม เวลา 14.29 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานอวกาศ Crew Dragon ลงจอดเหนือผิวน้ำในอ่าวเม็กซิโก นอกชายฝั่งนครเพนซาโคลา รัฐฟลอริดา โดยมีทีมกู้ภัยเข้าไปนำตัวนักบินอวกาศทั้ง 4 คนออกมาอย่างปลอดภัย

 

ลูกเรือภารกิจ Crew-8 ประกอบด้วย Matthew Dominick, Michael Barratt และ Jeanette Epps สามนักบินอวกาศของ NASA และ Alexander Grebenkin จาก Roscosmos โดยทั้งสี่คนเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจ Expedition 70-71 บนสถานีอวกาศนานาชาติ และได้โคจรรอบโลกรวมทั้งสิ้น 3,760 ครั้ง ระหว่างปฏิบัติงานนาน 232 วัน ที่ความสูง 400 กิโลเมตร ในวงโคจรต่ำรอบโลก

 

อย่างไรก็ตาม NASA ระบุว่าหลังการลงจอดของภารกิจ Crew-8 ลูกเรือทั้ง 4 คนได้ถูกนำตัวส่งสถานพยาบาล Ascension Sacred Heart Pensacola เพื่อรับการตรวจร่างกายเพิ่มเติม และมีนักบินอวกาศหนึ่งรายที่ต้องอยู่สังเกตอาการเพิ่มเติม โดยเบื้องต้น NASA ระบุว่าลูกเรือคนนี้มีอาการคงที่ และไม่มีการระบุรายละเอียดอาการป่วย หรือเผยชื่อลูกเรือดังกล่าว ด้วยเหตุผลด้านความเป็นส่วนตัว

 

ภารกิจ Crew-8 เป็นภารกิจที่ปฏิบัติงานบนอวกาศยาวนานที่สุดของยานอวกาศ Crew Dragon โดยนักบินอวกาศทั้ง 4 คน ออกเดินทางขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2024 และมีกำหนดกลับโลกตามเดิมในช่วงเดือนสิงหาคม เพื่อเป็นไปตามกำหนดหมุนเวียนลูกเรือทุกๆ 180 วัน แต่ถูกเลื่อนการเดินทางกลับออกไป เพื่อทำหน้าที่เป็น ‘ยานชูชีพ’ ในกรณีต้องพาลูกเรือของยาน Starliner เดินทางกลับโลกมาด้วย

 

ทั้งนี้ นักบินอวกาศทั้ง 2 คน ที่เดินทางขึ้นมากับยาน Starliner ของบริษัท Boeing จะเดินทางกลับโลกกับภารกิจ Crew-9 ของ SpaceX ที่มีกำหนดลงจอดในเดือนกุมภาพันธ์ 2025 หลังเสร็จสิ้นการสับเปลี่ยนลูกเรือบนสถานีอวกาศนานาชาติกับภารกิจ Crew-10 เป็นที่เรียบร้อย

 

ภาพ: Joel Kowsky / NASA

อ้างอิง:

The post SpaceX พา 4 นักบินอวกาศกลับโลก หลังปฏิบัติภารกิจนาน 232 วัน บนสถานีอวกาศนานาชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Prada ร่วมกับ Axiom Space พัฒนาชุดอวกาศสำหรับภารกิจ Artemis III สู่ดวงจันทร์ https://thestandard.co/prada-spacesuit-nasa-artemis-2026/ Thu, 17 Oct 2024 12:59:15 +0000 https://thestandard.co/?p=997308 Prada Axiom Space

Prada แบรนด์แฟชั่นหรูจากอิตาลี ร่วมมือกับ Axiom Space บ […]

The post Prada ร่วมกับ Axiom Space พัฒนาชุดอวกาศสำหรับภารกิจ Artemis III สู่ดวงจันทร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Prada Axiom Space

Prada แบรนด์แฟชั่นหรูจากอิตาลี ร่วมมือกับ Axiom Space บริษัทอวกาศเชิงพาณิชย์จากสหรัฐอเมริกา เปิดตัวชุดอวกาศที่จะใช้ในภารกิจ Artemis III ของ NASA ซึ่งมีเป้าหมายในการส่งมนุษย์อวกาศเดินบนดวงจันทร์อีกครั้ง

 

ชุดอวกาศที่ออกแบบโดย Prada และ Axiom Space มีน้ำหนักมากกว่า 200 กิโลกรัม เป็นสีขาว มีแผ่นรองสีเทาที่หัวเข่าและข้อศอก รวมทั้งสามารถสวมใส่ได้ทั้งชายและหญิง โดยมีการออกแบบให้เหมาะกับรูปร่างที่หลากหลาย

 

Lorenzo Bertelli ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ Prada Group และอดีตนักแข่งรถ มองว่า อวกาศคือพรมแดนใหม่ และเชื่อว่าความเชี่ยวชาญด้านวัสดุและเทคโนโลยีที่ Prada ได้รับจากการพัฒนาชุดอวกาศนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตเมื่อการเดินทางในอวกาศเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

 

“วันนี้ใครก็ตามที่มีเงินมากพอก็สามารถไปอวกาศได้ ในไม่ช้ามันจะกลายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้และผู้คนจะสามารถไปดวงจันทร์ได้ ดังนั้นผมคิดว่าเราเพิ่งเริ่มต้นยุคใหม่” Lorenzo Bertelli กล่าว

 

Prada มีประสบการณ์ในการพัฒนาวัสดุที่มีประสิทธิภาพสูงและมีเทคนิคการตัดเย็บขั้นสูง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในการพัฒนาชุดอวกาศชั้นนอก 

 

นอกจากนี้ทีมออกแบบและผลิตภัณฑ์ของ Prada ยังทำงานร่วมกับวิศวกรของ Axiom Space ในการออกแบบคุณสมบัติต่างๆ เพื่อปกป้องนักบินอวกาศจากสภาพแวดล้อมที่รุนแรงบนดวงจันทร์ และเพิ่มความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว

 

ชุดอวกาศนี้มาพร้อมกับคุณสมบัติล้ำสมัยมากมาย เช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิ, ระบบโภชนาการในชุด, การตรวจสอบทางชีวภาพ, ระบบกำจัด CO2 แบบหมุนเวียน และอุปกรณ์ควบคุมแรงดันในชุด 

 

รองเท้าบู๊ตได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อให้ทนต่ออุณหภูมิที่สูงและต่ำมากๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินบนพื้นผิวดวงจันทร์ที่อุณหภูมิอาจแตกต่างกันอย่างมาก ตั้งแต่เย็นจัดไปจนถึงร้อนจัด

 

ภารกิจ Artemis III ของ NASA มีกำหนดการในช่วงครึ่งหลังของปี 2026 โดยมีเป้าหมายในการส่งนักบินอวกาศไปลงจอดบนดวงจันทร์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ภารกิจ Apollo 17 ในปี 1972 และอาจเป็นครั้งแรกที่ผู้หญิงจะได้เหยียบดวงจันทร์ด้วย

 

ภาพ: Courtesy of Prada

อ้างอิง:

The post Prada ร่วมกับ Axiom Space พัฒนาชุดอวกาศสำหรับภารกิจ Artemis III สู่ดวงจันทร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Prada และ Axiom Space เผยโฉมชุดนักบินอวกาศสำหรับภารกิจท่องดวงจันทร์ของ NASA https://thestandard.co/prada-axiom-spacesuit-nasa-moon-landing/ Thu, 17 Oct 2024 09:19:10 +0000 https://thestandard.co/?p=997175 Prada Axiom Space

ในที่สุด Prada และบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสถานีอ […]

The post Prada และ Axiom Space เผยโฉมชุดนักบินอวกาศสำหรับภารกิจท่องดวงจันทร์ของ NASA appeared first on THE STANDARD.

]]>
Prada Axiom Space

ในที่สุด Prada และบริษัทผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างสถานีอวกาศเอกชนแห่งแรกของโลกอย่าง Axiom Space ก็เผยโฉมชุดอวกาศสำหรับนักบินอวกาศ NASA ที่จะไปทำภารกิจเหยียบดวงจันทร์ในปี 2025 ออกมาให้ได้รับชมกันแล้ว หลังจากที่ประกาศร่วมงานกันตั้งแต่เดือนตุลาคม 2023

 

ภารกิจเหยียบดวงจันทร์ในครั้งนี้มีชื่อมิชชันว่า Artemis III ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ NASA จะพานักบินอวกาศขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ นับตั้งแต่ภารกิจเหยียบดวงจันทร์ครั้งล่าสุดอย่าง Apollo 17 ในปี 1972 โดย Prada และ Axiom Space มีส่วนร่วมกับภารกิจสำคัญในครั้งนี้ นั่นคือการออกแบบชุดอวกาศให้กับทีมนักบินอวกาศ โดยพวกเขาเริ่มต้นพัฒนาจากชุดอวกาศรุ่นล่าสุดของ NASA อย่าง Exploration Extravehicular Mobility Unit (xEMU) มาตั้งแต่ปี 2022 จนได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นชุดอวกาศรุ่นใหม่ที่ใช้ชื่อว่า Axiom Extravehicular Mobility Unit (AxEMU) ในที่สุด

 

ดีไซน์ชุดนักบินอวกาศรุ่น AxEMU ได้รับการเผยโฉมครั้งแรกที่งาน International Astronautical Congress ในมิลาน ประเทศอิตาลี โดย Axiom Space ทำงานเคียงข้างทีมนักออกแบบและพัฒนาโปรดักต์ของ Prada ในการพัฒนาแมตทีเรียล และผลิตฟีเจอร์ที่ช่วยปกป้องนักบินอวกาศจากข้อจำกัดและความท้าทายต่างๆ บนดวงจันทร์ ยกตัวอย่างเช่น ชุดอวกาศรุ่นนี้จะรักษาอุณหภูมิให้นักบินอวกาศรู้สึกสบายตัว แม้จะอยู่ในจุดที่อากาศร้อนจัด หรือหนาวจัดบนขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์หรือในพื้นที่ที่ไม่มีแสงเลยเป็นเวลาอย่างต่ำ 2 ชั่วโมง 

 

การเพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยให้กับชุดอวกาศ AxEMU คือหัวใจสำคัญของการออกแบบในครั้งนี้ของ Prada และ Axiom Space โดยในชุดนั้นมีระบบต่างๆ มากมาย ทั้งฟีเจอร์สำหรับวินิจฉัยนักบินอวกาศในชุด ระบบการหมุนเวียนอากาศหายใจ ระบบระบายความร้อนด้วยอากาศ ไปจนถึงฟีเจอร์ต่างๆ ที่ทำให้มั่นใจได้ว่านักบินอวกาศจะปลอดภัยในชุดนี้ ซึ่ง Prada มีส่วนในการสร้างเนื้อผ้าและโครงสร้างใหม่ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงของ Axiom Space โดยคาดการณ์ว่าภารกิจ Artemis III จะเกิดขึ้นในปี 2026 เป็นต้นไป

 

ภาพ: Prada

อ้างอิง: 

 

The post Prada และ Axiom Space เผยโฉมชุดนักบินอวกาศสำหรับภารกิจท่องดวงจันทร์ของ NASA appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักบินอวกาศ NASA เลือกตั้งจากนอกโลกได้อย่างไร? https://thestandard.co/how-astronauts-cast-votes-in-space/ Wed, 09 Oct 2024 07:15:30 +0000 https://thestandard.co/?p=993789 นักบินอวกาศ เลือกตั้ง

ในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประ […]

The post นักบินอวกาศ NASA เลือกตั้งจากนอกโลกได้อย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักบินอวกาศ เลือกตั้ง

ในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ สหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ ระหว่าง Donald Trump อดีตประธานาธิบดีคนที่ 45 และ Kamala Harris รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันที่รับไม้ต่อจาก Joe Biden ที่ประกาศถอนตัวจากการเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตอีกสมัย และกำลังจะหมดวาระลงในวันที่ 20 มกราคม 2025

 

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ต้องเป็นพลเรือนอเมริกันที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทำให้ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2024 จะมีชาวอเมริกัน 4 คน ที่ไม่สามารถมาลงคะแนนเสียงด้วยตนเองได้ เนื่องจากกำลังปฏิบัติภารกิจอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งโคจรรอบโลกด้วยความเร็วประมาณ 27,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากความสูง 400 กิโลเมตรจากพื้นดิน

 

อย่างไรก็ตาม นักบินอวกาศขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NASA สามารถใช้สิทธิเลือกตั้งจากอวกาศได้ หลังจากรัฐเท็กซัสมีการผ่านกฎหมายอนุญาตให้นักบินอวกาศเลือกตั้งจากนอกโลกในปี 1997 หนึ่งปีหลังจากที่ John Blaha ประสงค์จะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 1996 แต่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกฎหมายของรัฐดังกล่าวไม่อนุมัติให้นักบินอวกาศโหวตผ่านอีเมลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ในเวลานั้น

 

เนื่องจากรัฐเท็กซัสเป็นที่ตั้งของศูนย์อวกาศจอห์นสัน (เมืองฮิวสตัน) สถานที่ปฏิบัติการภารกิจอวกาศแบบมีมนุษย์ของ NASA ตั้งแต่การฝึกซ้อม วิจัย และเป็นศูนย์ควบคุมภารกิจ ทำให้นักบินอวกาศส่วนมากมักอยู่อาศัยในเท็กซัส และตัดสินใจขึ้นทะเบียนเพื่อลงคะแนนเสียงในรัฐดังกล่าว การผ่านกฎหมายข้างต้นจึงทำให้นักบินอวกาศ NASA สามารถเลือกตั้งจากนอกโลกได้จนถึงปัจจุบัน

 

David Wolf กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ได้เลือกตั้งจากอวกาศ หลังลงคะแนนเลือกตั้งท้องถิ่นในปี 1997 ขณะทำงานอยู่บนสถานีอวกาศมีร์ของรัสเซีย ในขณะที่ Kate Rubins เป็นนักบินอวกาศคนล่าสุดของ NASA ที่ได้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020

 

คำถามคือการโหวตจากนอกโลกมีวิธีการอย่างไร

 

สำหรับการลงคะแนนเสียงของนักบินอวกาศ พวกเขาต้องกรอกแบบฟอร์มเพื่อส่งบัตรเลือกตั้งของผู้ไม่สามารถเดินทางไปคูหาเลือกตั้งด้วยตนเอง หรือ Absentee Ballot เช่นเดียวกับชาวอเมริกันที่ไม่ได้อยู่ในประเทศ ณ วันเลือกตั้ง ต่างแค่นักบินอวกาศต้องเลือกตั้งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์บนสถานีอวกาศนานาชาติ ก่อนที่บัตรเลือกตั้งของนักบินอวกาศจะถูกเข้ารหัส และส่งผ่านระบบติดตามและทวนสัญญาณดาวเทียมของ NASA (TDRS System) ไปยังจานรับสัญญาณใน White Sands Test Facility รัฐนิวเม็กซิโก แทนที่จะเป็นการขนส่งบัตรเลือกตั้งผ่านไปรษณีย์หรือยานขนส่งต่างๆ

 

จากจุดนี้บัตรเลือกตั้งของนักบินอวกาศจะถูกส่งต่อไปยังศูนย์อวกาศจอห์นสัน เพื่อส่งต่อไปยัง County Clerk ประจำหน่วยเลือกตั้งตามที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศ และนำไปนับรวมคะแนนเสียงกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายอื่น เพื่อรวมเป็นคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ของแต่ละรัฐ ที่จะเป็นคะแนนโหวตเลือกประธานาธิบดีในลำดับถัดไป

 

อ่านคู่มือการเลือกตั้งสหรัฐฯ 2024: https://thestandard.co/us-election-2024-guide/

 

นอกจากนักบินอวกาศชาวอเมริกัน นักบินอวกาศของรัสเซียสามารถลงคะแนนเสียงระหว่างทำงานอยู่นอกโลกได้เช่นกัน ทั้งผ่านการแต่งตั้งตัวแทนบนโลก (เจ้าหน้าที่ของ ROSCOSMOS หน่วยงานอวกาศรัสเซีย) ให้ไปลงคะแนนเสียงหรือการโหวตแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่นเดียวกับ Thomas Pesquet นักบินอวกาศชาวฝรั่งเศส ที่เลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2017 จากสถานีอวกาศนานาชาติ

 

ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งถัดไป มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีนักบินอวกาศอเมริกัน 3 คน ที่จะลงคะแนนเสียงจากดวงจันทร์ระหว่างปฏิบัติภารกิจอาร์ทีมิส 4 ที่มีกำหนดเดินทางจากโลกเร็วที่สุดในเดือนกันยายน 2028 ซึ่งอาจได้เห็นการลงคะแนนเสียงเลือกผู้นำบนโลกจากมนุษย์ที่อยู่บนพื้นผิวดาวดวงอื่นเป็นครั้งแรกได้

 

ภาพ: NASA

อ้างอิง:

The post นักบินอวกาศ NASA เลือกตั้งจากนอกโลกได้อย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุปเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ภารกิจ Polaris Dawn: รุ่งอรุณการสำรวจอวกาศของเอกชน https://thestandard.co/polaris-dawn-private-space-exploration/ Fri, 13 Sep 2024 06:54:48 +0000 https://thestandard.co/?p=983153 Polaris Dawn

ภารกิจ Polaris Dawn ประสบความสำเร็จในการเดินทางไปไกลจาก […]

The post สรุปเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ภารกิจ Polaris Dawn: รุ่งอรุณการสำรวจอวกาศของเอกชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
Polaris Dawn

ภารกิจ Polaris Dawn ประสบความสำเร็จในการเดินทางไปไกลจากโลกที่สุดในรอบ 52 ปี และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่นักบินอวกาศเอกชนได้ออกไปปฏิบัติงานภายนอกยานอวกาศ นับเป็นรุ่งอรุณของภารกิจสำรวจอวกาศยุคใหม่อย่างแท้จริง

 

แต่เบื้องหลังความสำเร็จของ Polaris Dawn นั้นอุดมไปด้วยความเสี่ยงด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางไปถึงแถบรังสีที่ห้อมล้อมโลก หรือการทดสอบชุดอวกาศรุ่นใหม่ของ SpaceX เป็นครั้งแรก ที่ข้อผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็อาจหมายถึงความล้มเหลวของภารกิจหรือภยันตรายต่อลูกเรือได้

 

ภารกิจ Polaris Dawn ริเริ่มจาก Jared Isaacman ผู้บัญชาการภารกิจ Inspiration4 ในปี 2021 ซึ่งเป็นเที่ยวบินแรกที่พาพลเรือนไปโคจรรอบโลกกับยาน Crew Dragon ของ SpaceX เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ และระดมทุนบริจาคให้กับ St. Jude Children’s Research Hospital

 

Isaacman ได้ก่อตั้งโครงการ Polaris เพื่อเป็นส่วนช่วยเร่งการพัฒนาภารกิจสำรวจอวกาศของมนุษย์ พร้อมกับต่อยอดการระดมทุนให้กับเหตุการณ์ที่สำคัญบนโลก โดย Polaris Dawn เป็นภารกิจแรกของโครงการดังกล่าวที่ถูกวางแผนไว้ให้มีอีกไม่น้อยกว่า 2 เที่ยวบิน รวมถึงการส่งมนุษย์เดินทางไปกับยาน Starship เป็นครั้งแรก

 

เป้าหมายสำคัญของภารกิจ Polaris Dawn คือการส่งมนุษย์เดินทางไปไกลจากโลกที่สุดในรอบมากกว่า 52 ปี นับตั้งแต่ภารกิจล่าสุดในโครงการ Apollo อย่าง Apollo 17 ที่พาสามนักบินอวกาศไปดวงจันทร์ในเดือนธันวาคม 1972 เช่นเดียวกับเป็นภารกิจแรกที่พาพลเรือนทั่วไปออกไปสัมผัสกับอวกาศภายนอกยานเป็นครั้งแรก หรือเรียกว่าการทำ EVA ที่ย่อมาจากคำว่า Extravehicular Activity

 

ด้วยเป้าหมายข้างต้น ทำให้ SpaceX ต้องพัฒนาชุดอวกาศแบบ EVA รุ่นแรก ที่ต่อยอดจากชุดแบบ IVA ซึ่งถูกสวมใส่ภายในยาน Crew Dragon มาตั้งแต่ปี 2020 โดยมีการเพิ่มระบบจัดการอุณหภูมิภายในชุด เช่นเดียวกับการเคลือบหน้ากากแบบพิเศษเพื่อป้องกันรังสีและฝ้าจากไอน้ำ รวมถึงมีระบบ Heads-up Display เพื่อใช้บอกข้อมูลของชุดอวกาศอยู่ในหน้ากาก

 

ในส่วนของยาน Crew Dragon ชื่อ Resilience ที่เคยนำส่งภารกิจ Crew-1 ไปสถานีอวกาศนานาชาติ และภารกิจ Inspiration4 ก็ได้มีการดัดแปลงประตูยานส่วนบนด้วยการติดตั้ง Skywalker บันไดที่ช่วยให้นักบินอวกาศสามารถยึดจับระหว่างก้าวออกไปมองโลกจากนอกยานของพวกเขาได้

 

ลูกเรือภารกิจนี้ประกอบด้วย Jared Isaacman เป็นผู้บัญชาการภารกิจ Scott Poteet เป็นนักบิน และมีสองผู้เชี่ยวชาญภารกิจจาก SpaceX ได้แก่ Sarah Gillis กับ Anna Menon โดยที่ Isaacman กับ Gillis เป็นสองคนที่ถูกวางแผนให้ออกไปทำ EVA ในเที่ยวบินนี้

 

จรวด Falcon 9 ได้นำพาภารกิจ Polaris Dawn ขึ้นบินจากฐานปล่อย 39A ณ​ ศูนย์อวกาศเคนเนดี เมื่อวันที่ 10 กันยายน เวลา 16.23 น. ตามเวลาประเทศไทย ก่อนเดินทางไปถึงจุดไกลโลกที่สุด 1,408.3 กิโลเมตร ทำลายสถิติเดิมการโคจรอยู่ไกลโลกสุดของยาน Gemini 11 ด้วยระยะห่าง 1,377 กิโลเมตร ในเดือนกันยายน 1966 ลงอย่างเป็นทางการ

 

หลังจากนั้นยาน Crew Dragon ได้ลดระดับวงโคจรลงให้มีจุดไกลโลกสุดประมาณ 730 กิโลเมตร เพื่อเตรียมพร้อมการทำ EVA ครั้งแรกโดยนักบินอวกาศเอกชน โดยที่ลูกเรือทั้งสี่ได้ผ่านกระบวนการ Prebreathing เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคลดความกด หรือ Decompression Sickness เนื่องจากชุดอวกาศของ SpaceX ใช้ออกซิเจนแบบ 100% เป็นอากาศหายใจ ต่างจากบรรยากาศบนโลกและในยาน ทำให้ต้องมีการปรับลดปริมาณไนโตรเจนในเลือดของนักบินอวกาศก่อนการสวมใส่ชุด EVA

 

วันที่ 12 กันยายน เวลา 17.48 น. ประตูยาน Crew Dragon ได้ถูกเปิดออกในอวกาศเป็นครั้งแรก หลังจากที่ทีมภารกิจตรวจเช็กรอยรั่วของชุดและยานอวกาศ เช่นเดียวกับทดสอบความพร้อมระบบต่างๆ ก่อนที่ Jared Isaacman จะได้ก้าวออกสู่อวกาศเป็นครั้งแรก และได้ทดสอบความสามารถในการเคลื่อนไหวในชุด EVA บนสภาพแวดล้อมจริงเป็นครั้งแรก

 

ด้าน Sarah Gillis วิศวกรอาวุโสของ SpaceX ที่เป็นผู้นำในการฝึกซ้อมนักบินอวกาศภารกิจต่างๆ เป็นพลเรือนสุภาพสตรีคนแรกที่ได้ออกไปทำ EVA ก่อนเดินทางกลับเข้ายาน และเริ่มกระบวนการปรับความดันกลับสู่ระดับ 14.6 psi ตามปกติอีกครั้ง

 

ในช่วงหลังจากนี้ ลูกเรือ Polaris Dawn ยังมีภารกิจการทดลองรวมกว่า 38 ชุด ระหว่างปฏิบัติภารกิจในวงโคจรรอบโลกไปจนถึงวันที่ 15 กันยายน ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพนักบินอวกาศ ขณะอยู่ในวงโคจรที่ต้องสัมผัสกับรังสีจากแถบรังสีในอวกาศเป็นเวลายาวนาน การวิจัยผลของอาการ Neuro-Ocular Syndrome ที่เกิดขึ้นกับนักบินอวกาศบางส่วน เช่นเดียวกับผลกระทบของโรคลดความกดในยาน และมีการทดสอบระบบสื่อสารผ่านเลเซอร์กับเครือข่ายดาวเทียม Starlink ในวงโคจรเป็นครั้งแรก

 

แม้จะเป็นภารกิจของเอกชน แต่ Polaris Dawn มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาภารกิจสำรวจอวกาศของมนุษย์อย่างเห็นได้ชัด และข้อมูลที่ได้จากการขึ้นบินของภารกิจนี้อาจมีส่วนช่วยให้ภารกิจส่งมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อย่างยั่งยืน และแผนมุ่งหน้าสู่ดาวอังคารขยับเข้าใกล้ความเป็นจริงขึ้นไปอีกขั้นก็เป็นได้

 

ภาพ: @PolarisProgram

อ้างอิง:

The post สรุปเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ภารกิจ Polaris Dawn: รุ่งอรุณการสำรวจอวกาศของเอกชน appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักบินอวกาศขึ้นรูปโลหะจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้เป็นครั้งแรก https://thestandard.co/astronaut-metal-3d-print/ Mon, 09 Sep 2024 00:36:47 +0000 https://thestandard.co/?p=981166 นักบินอวกาศ

นักบินอวกาศ บนสถานีอวกาศนานาชาติใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ […]

The post นักบินอวกาศขึ้นรูปโลหะจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้เป็นครั้งแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักบินอวกาศ

นักบินอวกาศ บนสถานีอวกาศนานาชาติใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์ชิ้นส่วนโลหะบนอวกาศได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

 

เครื่องพิมพ์โลหะ 3 มิติของบริษัท Airbus และหน่วยงานพันธมิตรที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA ถูกนำไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อเดือนมกราคม 2024 เพื่อสาธิตความสามารถขึ้นรูปโลหะในสภาพแรงโน้มถ่วงต่ำเป็นครั้งแรก

 

กระบวนการขึ้นรูปเริ่มต้นขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2024 หลังผ่านขั้นตอนการทดสอบระบบและความปลอดภัย โดยการพิมพ์โลหะ 3 มิติในอวกาศต้องอาศัยการหลอมละลายสเตนเลสสตีลด้วยเลเซอร์พลังงานสูง และมีมากกว่า 200 เลเยอร์ที่ต้องพิมพ์ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ท้าทายกว่าบนโลก

 

Anthony Lecossais หัวหน้าวิศวกรการพิมพ์โลหะ 3 มิติของ Airbus ระบุว่า “การขึ้นรูปแต่ละชั้นไม่ใช่งานที่ง่ายเลย โดยเฉพาะบนสถานีอวกาศนานาชาติที่มีระดับความปลอดภัยสูงมาก เราต้องมีระบบควบคุมการทำงานที่เสถียรและสามารถตรวจดูได้จากบนโลก”

 

การพิมพ์โลหะ 3 มิติเกิดขึ้นในกล่องปิดที่มีการปรับความดันแยกส่วนกับสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงเรื่องเพลิงไหม้ รวมถึงการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันที่อาจทำให้โลหะเกิดขึ้นสนิมได้

 

ในวันที่ 21 สิงหาคม หลังจากกระบวนาการพิมพ์เสร็จสิ้น Sunita Williams และ Jeanette Epps นักบินอวกาศ นำโลหะจากการพิมพ์ 3 มิติชิ้นแรก ขนาด 9×5 เซนติเมตรออกจากเครื่องพิมพ์ในโมดูลโคลัมบัสของสถานีอวกาศนานาชาติ ก่อนจะมีการเปรียบเทียบกับชิ้นส่วนที่พิมพ์บนโลกเป็นลำดับถัดไป

 

การขึ้นรูปโลหะ 3 มิติบนสถานีอวกาศ อาจเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของกระบวนการผลิตชิ้นงานในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ หรือนำไปสู่การก่อสร้างและประกอบสถานีอวกาศในอนาคตได้อีกเช่นกัน

 

ภาพ: ESA / NASA

อ้างอิง:

The post นักบินอวกาศขึ้นรูปโลหะจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้เป็นครั้งแรก appeared first on THE STANDARD.

]]>
จับตาภารกิจ Polaris Dawn พา 4 นักบินอวกาศเอกชนขึ้นบินครั้งประวัติศาสตร์ https://thestandard.co/polaris-dawn-spacex/ Tue, 27 Aug 2024 04:53:35 +0000 https://thestandard.co/?p=975825 Polaris Dawn SpaceX

ในวันที่ 28 สิงหาคมนี้ SpaceX เตรียมส่ง 4 นักบินอวกาศขึ […]

The post จับตาภารกิจ Polaris Dawn พา 4 นักบินอวกาศเอกชนขึ้นบินครั้งประวัติศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Polaris Dawn SpaceX

ในวันที่ 28 สิงหาคมนี้ SpaceX เตรียมส่ง 4 นักบินอวกาศขึ้นบินกับภารกิจ Polaris Dawn พร้อมออกไปทำภารกิจนอกยานอวกาศ Crew Dragon เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

 

ภารกิจ Polaris Dawn ประกอบด้วย 4 ลูกเรือพลเรือน ได้แก่ ผู้บัญชาการ Jared Isaacman นักธุรกิจชาวอเมริกัน ผู้มีประสบการณ์ขึ้นบินกับภารกิจ Inspiration4 ในปี 2021 นักบิน Scott Poteet และผู้เชี่ยวชาญภารกิจ Anna Menon กับ Sarah Gillis จาก SpaceX

 

Polaris Dawn มีกำหนดขึ้นบินวันที่ 28 สิงหาคม เวลา 14.38 น. ตามเวลาประเทศไทย จากฐานปล่อย 39A ศูนย์อวกาศเคนเนดี โดยลูกเรือทั้ง 4 คนจะใช้เวลาอยู่บนอวกาศนานถึง 5 วัน ในวงโคจรสูงจากพื้นดินมากสุด 1,400 กิโลเมตร เพื่อทำความเข้าใจผลกระทบของรังสีในอวกาศที่อาจมีต่อร่างกายมนุษย์

 

หนึ่งในไฮไลต์ของ Polaris Dawn คือการออกไปทำภารกิจนอกยานอวกาศ หรือการทำ ‘Spacewalk’ ครั้งแรกโดยยานอวกาศ Crew Dragon และภารกิจแบบเอกชน โดย SpaceX ได้ออกแบบชุดอวกาศ EVA ที่สามารถสวมใส่เพื่อทำภารกิจนอกยานอวกาศได้ ซึ่งแตกต่างจากชุดรุ่นปัจจุบันที่สวมใส่ไว้เพื่อป้องกันการสูญเสียความดันฉับพลันในยานอวกาศ

 

นอกจากนี้ ภารกิจดังกล่าวยังมีการทดลองผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้ชีวิตบนอวกาศเป็นระยะเวลายาวนาน อาทิ ผลกระทบของสายตาและโครงสร้างสมองจากการขึ้นไปทำงานบนสถานีอวกาศนานาชาติ และผลจากแถบรังสี Van Allen ที่อาจมีต่อร่างกายมนุษย์ เป็นต้น

 

Polaris Dawn ถูกเลื่อนกำหนดปล่อยจากเดิมวันที่ 27 สิงหาคม เนื่องจากพบการรั่วของฮีเลียม และหากมีปัญหาอื่นที่ทำให้ไม่สามารถปล่อยยานได้ในช่วงเวลา 14.38 น. ยานอวกาศ Crew Dragon Resilience จะมีช่วงขึ้นบินสำรอง ณ เวลา 16.23 น. และ 18.09 น. ในวันเดียวกัน ตามเวลาประเทศไทย ก่อนมีกำหนดกลับมาลงจอดเหนือมหาสมุทรในวันที่ 2 กันยายน

 

ภาพ: SpaceX

อ้างอิง:

 

The post จับตาภารกิจ Polaris Dawn พา 4 นักบินอวกาศเอกชนขึ้นบินครั้งประวัติศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>