นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 15 Nov 2024 09:48:11 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เปิด 5 อุตสาหกรรมเด่นของไทยที่พร้อมเป็น ​New Growth Engine ของประเทศ https://thestandard.co/thai-industries-new-growth-engine/ Fri, 15 Nov 2024 09:48:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1009088 อุตสาหกรรมไทย

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM […]

The post เปิด 5 อุตสาหกรรมเด่นของไทยที่พร้อมเป็น ​New Growth Engine ของประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุตสาหกรรมไทย

วันนี้ (15 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: BRAVE NEW WORLD เศรษฐกิจไทย ไล่กวดโลกใหม่ นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ขึ้นกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Boosting Investments, Bolstering Growth: BOI’s Strategic Blueprint ขับเคลื่อนการลงทุนไทย ให้เติบโตบนเวทีโลก ด้วยยุทธศาสตร์ BOI โดยย้ำว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนในระดับโลกได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อเป็น New Growth Engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อในทศวรรษข้างหน้า

 

นฤตม์กล่าวว่า โครงสร้างเศรษฐกิจไทยพึ่งพาอุตสาหกรรมเดิมมา 30 ปี และตอนนี้เป็นโอกาสทองของไทยที่จะสร้างอุตสาหกรรมใหม่เป็น New Growth Engine ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตต่อในทศวรรษข้างหน้า

 

ปัจจัยที่มีผลต่อทิศทางลงทุนจากนี้อีก 5 ปี มี 5 ปัจจัย ดังนี้

 

  1. Geopolitics: หลังการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาจบลงและได้ โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 ทำให้ภาพ Trade War และ Tech War ชัดเจนมากขึ้น

 

  1. Green Transformation: จากภาวะโลกร้อนทำให้ทุกภาคส่วนมุ่งไปสู่การลดคาร์บอน ตั้งเป้าหมายเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอนและ Net Zero

 

  1. Global Minimum Tax: OECD ออกกติกาภาษีใหม่ของโลก ที่บังคับให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ต้องเสียภาษีขั้นต่ำ 15% โดยประเทศส่วนใหญ่จะเริ่มใช้ในปีหน้า เช่นเดียวกับไทยซึ่งกระทรวงการคลังเตรียมเก็บภาษีส่วนเพิ่มตั้งแต่ปีหน้า

 

เรื่องนี้จะกระทบต้นทุน มีผลต่อการวางแผนลงทุน ประเทศต่างๆ ต้องมีมาตรการในการดึงดูดการลงทุนแบบใหม่ รวมถึงเครื่องมือทางภาษีที่ต้องคิดเครื่องมือใหม่ๆ เพื่อดึงการลงทุนให้ได้

 

  1. Technology Disruption: เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, IoT, EV Automation, Biotechnology เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรม

 

  1. Talent: ทุกประเทศกำลังมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีใหม่ องค์ความรู้และทักษะของบุคลากรใหม่เป็นที่ต้องการ ดังนั้นเราจะได้เห็น War for Talent เกิดขึ้นต่อเนื่อง

 

เมื่อฉายภาพมาที่ไทยพบว่ามีศักยภาพหลายๆ ด้านที่สามารถตอบโจทย์ 5 ปัจจัยดังกล่าวได้ โดยไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เช่น ท่าเรือน้ำลึก, สนามบินนานาชาติ, นิคมอุตสาหกรรม, โลจิสติกส์, บุคลากรที่มีคุณภาพ, ซัพพลายเชนที่แข็งแกร่ง รวมถึงมีตลาดที่มีศักยภาพสูง

 

นฤตม์กล่าวอีกว่า ในเรื่องของการลงทุนช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีเงินไหลเข้าไทยต่อเนื่อง เฉพาะงวด 9 เดือนแรกของปีนี้มีผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มูลค่ามากกว่า 7 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 40% สูงสุดในรอบ 10 ปี โดยประเทศและดินแดนที่เข้ามาลงทุนส่วนมาก ได้แก่ จีน, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และไต้หวัน

 

และในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2565 – กันยายน 2567) การลงทุนที่มาขอรับการส่งเสริมจาก BOI มูลค่ามากกว่า 2 ล้านล้านบาท คิดเป็นจำนวนโครงการกว่า 6,400 โครงการ โดยเซ็กเตอร์ที่เป็นผู้นำคือเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 6 แสนล้านบาท ตามมาด้วยยานยนต์และชิ้นส่วน

 

และอีกสาขาที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นมากคือพลังงานหมุนเวียนและกลุ่ม Smart & Sustainable Industry

 

สำหรับความคืบหน้าในการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ของไทย โดยเฉพาะใน 5 สาขาหลักที่จะเป็น Game Changer ของประเทศ เรียกได้ว่าเป็น New Growth Engine ของไทยในอนาคต ประกอบด้วย

 

  1. Bio-based & Green Industries (BCG)
  2. EV+Battery and Key Parts
  3. International Business Center
  4. Digital
  5. Semiconductor and Advanced Electronics

 

ซึ่ง 5 สาขานี้มีความคืบหน้าด้านการลงทุน โดยขอรับการส่งเสริมการลงทุนมากกว่า 3,700 โครงการ เงินลงทุนรวมมากกว่า 1.3 ล้านล้านบาท

 

“สำหรับอุตสาหกรรม EV ขอยืนยันว่ารัฐบาลมุ่งมั่นในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ EV แบบครบวงจรในทุกเซ็กเมนต์ ซึ่งตั้งแต่ต้นปี BOI สนับสนุนการลงทุนไปแล้วกว่า 8 หมื่นล้านบาท” นฤตม์กล่าว

 

นฤตม์กล่าวอีกว่า ต้นน้ำที่สำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ EV ก็คือแบตเตอรี่ ซึ่ง ณ ขณะนี้ไทยต้องการดึงดูดต้นน้ำของการผลิตแบตเตอรี่ คือ Battery Cell ให้มาตั้งในไทย ซึ่งค่อนข้างเชื่อมั่นว่าในต้นปีหน้าจะมีการประกาศการลงทุนของบริษัทรายใหญ่ชั้นนำในการผลิตแบตเตอรี่เซลล์ในไทยด้วย

 

อีกสาขาที่สำคัญคือ Semiconductor และ Advanced Electronics ซึ่งไทยเป็นฐานการผลิตด้านนี้มาอย่างยาวนาน แต่ตอนนี้รัฐบาลและ BOI ต้องการยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไปสู่ต้นน้ำโดยเฉพาะที่เป็น Semiconductor Front End

 

และความคืบหน้าล่าสุดด้าน Semiconductor คือเมื่อปลายเดือนที่แล้วมีการจัดตั้งบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ BOI เป็นเลขานุการ ซึ่งบอร์ดชุดนี้จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการสร้างฐานอุตสาหกรรม Semiconductor ในไทย

The post เปิด 5 อุตสาหกรรมเด่นของไทยที่พร้อมเป็น ​New Growth Engine ของประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘แพทองธาร’ นั่งประธานบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ หนุนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ดันไทยเป็นฮับของภูมิภาค https://thestandard.co/paetongtarn-semiconductor/ Fri, 25 Oct 2024 04:05:11 +0000 https://thestandard.co/?p=999912 เซมิคอนดักเตอร์

นายกฯ ตั้ง ‘บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ’ พร้อมนั่งประธ […]

The post ‘แพทองธาร’ นั่งประธานบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ หนุนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ดันไทยเป็นฮับของภูมิภาค appeared first on THE STANDARD.

]]>
เซมิคอนดักเตอร์

นายกฯ ตั้ง ‘บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ’ พร้อมนั่งประธานบอร์ดฯ หนุนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง พร้อมบูรณาการรัฐ-เอกชน พัฒนาบุคลากร เปิดรับการลงทุน ยกระดับไทยขึ้นแท่นฮับเซมิคอนดักเตอร์ของภูมิภาค

 

นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธาน พร้อมแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชนมาร่วมเป็นกรรมการ ได้แก่ รมว.ต่างประเทศ, รมว.อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.), รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, รมว.พลังงาน, รมว.อุตสาหกรรม, เลขาธิการสภาพัฒน์, เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, ม.ล.ชโยทิต กฤดากร, วุฒินันท์ เจียมศักดิ์ศิริ และ ศุภกร คงสมจิตต์ โดยมีเลขาธิการ BOI เป็นกรรมการและเลขานุการ

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ฯ จะทำหน้าที่กำหนดทิศทางนโยบายและเป้าหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง (Semiconductor and Advanced Electronics) พร้อมทั้งจัดทำแผนแม่บท (Roadmap) ของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นรูปธรรมและครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านการส่งเสริมการลงทุน, การกำหนดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม, การพัฒนาบุคลากรทักษะสูงทั้งในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา, การพัฒนาซัพพลายเชน และการพัฒนาระบบนิเวศที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรม 

 

“บอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ฯ จะมีหน้าที่พิจารณาแผนงานและโครงการต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และบูรณาการติดตามให้เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม”

 

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ถือเป็นอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในระดับโลก ซึ่งมีการแข่งขันดึงดูดการลงทุนระหว่างประเทศที่รุนแรง เนื่องจากเป็นหัวใจสำคัญของหน่วยประมวลผลและผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นสูงเกือบทุกประเภท 

 

ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน, ยานยนต์ไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ, เครื่องมือแพทย์, ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ รวมถึงเทคโนโลยี AI ต่างๆ โดยอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงมีแนวโน้มการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ และจะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต จากการแข่งขันทางเทคโนโลยีระหว่างประเทศ

 

การแต่งตั้งบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ฯ จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยมียุทธศาสตร์และแผนพัฒนาอุตสาหกรรมที่ชัดเจน ช่วยเติมเต็มห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 

 

นอกจากนี้การที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญโดยเป็นประธานบอร์ดด้วยตนเอง สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงของภูมิภาค อีกทั้งจะช่วยให้การประสานนโยบายและมาตรการต่างๆ ของภาครัฐเป็นไปอย่างมีเอกภาพ มีเป้าหมายร่วมกัน และเกิดความรวดเร็วในการทำงาน ซึ่งเป็นหัวใจของการแข่งขันในเวทีโลก

The post ‘แพทองธาร’ นั่งประธานบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์ หนุนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ดันไทยเป็นฮับของภูมิภาค appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่อง 5 อุตสาหกรรมมาแรงและทำเลทองที่ต่างชาติย้ายฐานผลิตมาไทยมากสุด BOI เผย คำขอลงทุน 9 เดือน พุ่ง 7.2 แสนล้านบาท ทุบสถิติรอบ 10 ปี https://thestandard.co/5-industries-that-foreigners-have-moved-their-production-bases-to-thailand/ Mon, 21 Oct 2024 09:11:57 +0000 https://thestandard.co/?p=998522

BOI เผย 9 เดือนแรกปีนี้ ไทยรับอานิสงส์ต่างชาติแห่ย้ายฐา […]

The post ส่อง 5 อุตสาหกรรมมาแรงและทำเลทองที่ต่างชาติย้ายฐานผลิตมาไทยมากสุด BOI เผย คำขอลงทุน 9 เดือน พุ่ง 7.2 แสนล้านบาท ทุบสถิติรอบ 10 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

BOI เผย 9 เดือนแรกปีนี้ ไทยรับอานิสงส์ต่างชาติแห่ย้ายฐานผลิต ยอดคำขอรับการส่งเสริมลงทุนพุ่ง 720,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% ทุบสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี โดยยอดส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ทุนสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ตามด้วยจีนและฮ่องกง ส่วนใหญ่ลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ ‘เซมิคอนดักเตอร์ – PCB – Data Center – EV – พลังงานหมุนเวียน’ ชี้ทำเลทองส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก

 

นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กันยายน 2567) ตัวเลขคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน โดยมีจำนวน 2,195 โครงการ เพิ่มขึ้น 46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าเงินลงทุนรวม 722,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นยอดลงทุนที่สูงสุดในรอบ 10 ปี 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

“คำขอลงทุนสะท้อนถึงศักยภาพและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีของประเทศไทย ทำให้เกิดการลงทุนโครงการใหญ่ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ จำนวนมาก เช่น เซมิคอนดักเตอร์และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) Data Center ขนาดใหญ่ ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน และพลังงานหมุนเวียน”

 

นอกจากนี้รัฐบาลยังเร่งพัฒนาระบบนิเวศและปัจจัยที่จะส่งผลต่อการลงทุนในห้วงเวลาสำคัญที่มีกระแสเคลื่อนย้ายฐานการผลิตโลก เช่น การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะรองรับเทคโนโลยีใหม่ กลไกจัดหาพลังงานสะอาดในราคาที่เหมาะสม พื้นที่รองรับอุตสาหกรรมใหม่ๆ และการปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการลงทุน 

 

กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก 

 

อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่า 183,444 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ดิจิทัล มูลค่า 94,197 ล้านบาท, ยานยนต์และชิ้นส่วน มูลค่า 67,849 ล้านบาท, เกษตรและแปรรูปอาหาร มูลค่า 52,990 ล้านบาท, ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ มูลค่า 34,341 ล้านบาท 

 

โดยกิจการที่มีการลงทุนสูงและอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น

 

  • กิจการ Data Center จำนวน 8 โครงการ เงินลงทุนรวม 92,764 ล้านบาท โดยมีการลงทุนจากบริษัทรายใหญ่สัญชาติอเมริกัน, ออสเตรเลีย, จีน, ฮ่องกง และอินเดีย 
  • กิจการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ได้แก่ การผลิต Wafer, การออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์, การประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์และวงจรรวม จำนวน 15 โครงการ เงินลงทุนรวม 19,856 ล้านบาท
  • กิจการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) และวัตถุดิบสำหรับ PCB จำนวน 55 โครงการ เงินลงทุนรวม 61,302 ล้านบาท
  • กิจการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ จำนวน 13 โครงการ เงินลงทุนรวม 38,973 ล้านบาท
  • กิจการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ระบบอัตโนมัติ และเครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง จำนวน 117 โครงการ เงินลงทุนรวม 30,515 ล้านบาท
  • กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำนวน 351 โครงการ เงินลงทุนรวม 85,369 ล้านบาท

 

สำหรับการลงทุนจากต่างประเทศยังคงขยายตัวต่อเนื่อง มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมจำนวน 1,449 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 66 เงินลงทุนรวม 546,617 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38%

 

ทั้งนี้ 5 ประเทศ / เขตเศรษฐกิจที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ 180,838 ล้านบาท, จีน 114,067 ล้านบาท, ฮ่องกง 68,203 ล้านบาท, ไต้หวัน 44,586 ล้านบาท และญี่ปุ่น 35,469 ล้านบาท 

 

“มูลค่าการลงทุนของสิงคโปร์ที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนที่บริษัทแม่สัญชาติจีนและสหรัฐอเมริกาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และ Data Center นำบริษัทลูกที่จดจัดตั้งในสิงคโปร์เข้ามาลงทุนในประเทศไทย”

 

ทำเลพื้นที่ไหนมาแรงที่สุด

 

ในแง่พื้นที่ เงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก 408,737 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง 220,708 ล้านบาท, ภาคเหนือ 35,452 ล้านบาท, ภาคใต้ 25,039 ล้านบาท, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23,777 ล้านบาท และภาคตะวันตก 8,812 ล้านบาท 

 

นอกจากนี้การขอรับการส่งเสริมตามมาตรการยกระดับอุตสาหกรรม (Smart and Sustainable Industry) ซึ่งเป็นมาตรการสำคัญที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการรายเดิมให้สามารถปรับตัวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีคำขอรับการส่งเสริมจำนวน 287 โครงการ เงินลงทุนรวม 27,318 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานทดแทน รองลงมาคือด้านการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในสายการผลิต 

 

สำหรับการออกบัตรส่งเสริม ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวน 2,072 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินลงทุน 672,165 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 101 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการออกบัตรส่งเสริมเป็นขั้นตอนที่ใกล้เคียงการลงทุนจริงมากที่สุด โดยปกติบริษัทต่างๆ จะเริ่มทยอยลงทุนภายใน 1-3 ปี หลังจากออกบัตรส่งเสริม 

 

“ทิศทางการลงทุนในช่วงปลายปีนี้ต่อเนื่องถึงปีหน้า ยังคงมีแนวโน้มเติบโต แต่สิ่งที่ BOI ให้ความสำคัญมากกว่าตัวเลขเม็ดเงินลงทุนคือคุณภาพของโครงการและประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับ ซึ่งตอนนี้เป็นจังหวะเวลาสำคัญของประเทศไทยที่จะสามารถสร้างฐานอุตสาหกรรมใหม่ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ช่วยต่อยอดฐานอุตสาหกรรมเดิมให้มั่นคง สร้างมูลค่าจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ สร้างงาน สร้างโอกาสทางธุรกิจให้ผู้ประกอบการไทย โดยโครงการที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2567 จะมีการจ้างงานบุคลากรไทยเพิ่มกว่า 170,000 คน จะใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนในประเทศประมาณ 800,000 ล้านบาทต่อปี และจะเพิ่มมูลค่าส่งออกของประเทศอีกกว่า 2 ล้านล้านบาทต่อปี” นฤตม์กล่าว

The post ส่อง 5 อุตสาหกรรมมาแรงและทำเลทองที่ต่างชาติย้ายฐานผลิตมาไทยมากสุด BOI เผย คำขอลงทุน 9 เดือน พุ่ง 7.2 แสนล้านบาท ทุบสถิติรอบ 10 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘คอนติเนนทอล’ ผู้ผลิตยางล้ออันดับ 4 ของโลก จากเยอรมนี ทุ่ม 1.3 หมื่นล้านบาท ขยายโรงงาน จ.ระยอง ผลิตเพิ่มปีละ 3 ล้านเส้น รับคลื่น EV จ้างงานคนไทยเพิ่ม 600 คน https://thestandard.co/continental-tire-thailand-expansion/ Wed, 09 Oct 2024 06:05:40 +0000 https://thestandard.co/?p=993604 คอนติเนนทอล

BOI ไฟเขียว ‘คอนติเนนทอล’ ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่อันดับ […]

The post ‘คอนติเนนทอล’ ผู้ผลิตยางล้ออันดับ 4 ของโลก จากเยอรมนี ทุ่ม 1.3 หมื่นล้านบาท ขยายโรงงาน จ.ระยอง ผลิตเพิ่มปีละ 3 ล้านเส้น รับคลื่น EV จ้างงานคนไทยเพิ่ม 600 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
คอนติเนนทอล

BOI ไฟเขียว ‘คอนติเนนทอล’ ผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก จากประเทศเยอรมนี ขยายการลงทุนครั้งใหญ่ที่โรงงานในระยอง มูลค่ากว่า 13,000 ล้านบาท ผลิตยางเรเดียลสมรรถนะสูงเพิ่มอีกปีละ 3 ล้านเส้น รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยและเอเชีย-แปซิฟิก ย้ำศักยภาพไทยเป็นฐานการผลิตยางรถยนต์อันดับ 2 ของโลก เพิ่มมูลค่าเพิ่มให้ชาวสวนยางพารา

 

วันนี้ (9 ตุลาคม) นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการ ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากบอร์ด BOI ได้อนุมัติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนโครงการผลิตยางล้อสำหรับรถยนต์และยานพาหนะอื่นๆ (Radial Tires) ของบริษัท คอนติเนนทอล ไทร์ส (ประเทศไทย) จำกัด มูลค่าลงทุนเพิ่มเติม 13,411 ล้านบาท โดยจะก่อสร้างอาคารโรงงานใหม่และส่วนต่อขยายของโรงงานเดิมที่นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 จังหวัดระยอง เพื่อขยายกำลังการผลิตยางล้อสำหรับยานพาหนะจากเดิม 4.8 ล้านเส้น เพิ่มอีกปีละ 3 ล้านเส้น รวมทั้งหมดเป็น 7.8 ล้านเส้นต่อปี

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

“บริษัทจะจ้างงานในพื้นที่เพิ่มเติมกว่า 600 คน เมื่อรวมกับการจ้างงานเดิม 900 คน จะเป็นทั้งหมดกว่า 1,500 คน โดยจะใช้วัตถุดิบหลักจากในประเทศทั้งสิ้น ได้แก่ ยางธรรมชาติ และยางสังเคราะห์ ปีละกว่า 1,700 ตัน”

 

สำหรับคอนติเนนทอลกรุ๊ป ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ก่อตั้งมานานกว่า 150 ปี ในปี 2023 กลุ่มธุรกิจยางรถยนต์ของบริษัทสามารถสร้างรายได้กว่า 14,000 ล้านยูโร หรือกว่า 500,000 ล้านบาท มีโรงงานผลิตยางรถยนต์ 20 แห่งใน 16 ประเทศทั่วโลก

 

โดยได้เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นเวลา 15 ปี และจัดตั้งโรงงานที่จังหวัดระยองเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานขนาดใหญ่ในเครือคอนติเนนทอล และเป็นโรงงานที่ใช้พลังงานในระดับสูงที่สุด โดยใช้เครื่องจักรสมัยใหม่ที่ประหยัดพลังงาน มีการใช้ระบบอัตโนมัติในการขนย้ายวัตถุดิบและสินค้า อีกทั้งได้ติดตั้งแผงโซลาร์ขนาด 6.7 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนถึงร้อยละ 13 ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในโรงงาน

 

“คอนติเนนทอล ไทร์ส ตัดสินใจขยายการลงทุนครั้งนี้ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยโรงงานในจังหวัดระยองจะเป็นฐานการผลิตสำคัญ เพื่อจำหน่ายยางล้อให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์และผู้ใช้งานทั่วไป ทั้งในกลุ่มรถยนต์นั่ง, รถบรรทุกขนาดเล็ก, รถจักรยานยนต์ รวมถึงกลุ่มยางรถยนต์เกรดพรีเมียม เช่น รุ่น MaxContact MC7 และยางสมรรถนะสูงสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า”

 

โดยรถยนต์ไฟฟ้าจะมีความต้องการยางล้อสมรรถนะสูงและมีความทนทานเป็นพิเศษ เพื่อรองรับระบบส่งกำลังและอัตราเร่งที่แตกต่างจากรถยนต์สันดาปภายใน ซึ่งราคายางรถยนต์ไฟฟ้าจะสูงกว่ายางรถยนต์ทั่วไปถึง 2-3 เท่า

 

“การขยายลงทุนครั้งใหญ่ของคอนติเนนทอลตอกย้ำถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นฐานการผลิตยางรถยนต์ที่มีคุณภาพและมาตรฐานสูงระดับโลก ทั้งในเรื่องความปลอดภัย และการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ซึ่งตามกติกาใหม่ของโลก เช่น EUDR จะต้องตรวจสอบย้อนกลับไปถึงการทำสวนยางที่ไม่ทำลายป่า เพื่อก้าวสู่วิถีเกษตรยั่งยืน ซึ่งไทยมีความพร้อมในเรื่องนี้ การขยายฐานผลิตยางรถยนต์ในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบยางธรรมชาติ และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยแล้ว ยังจะช่วยเสริมซัพพลายเชนอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยให้มั่นคงและแข็งแกร่งมากขึ้นด้วย” นฤตม์กล่าว

 

ทั้งนี้อุตสาหกรรมยางรถยนต์เป็นองค์ประกอบสำคัญในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกยางรถยนต์อันดับ 2 ของโลก รองจากจีน

 

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2020-2024) มีผู้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนผลิตยางรถยนต์ จำนวน 41 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 112,000 ล้านบาท โดยมีผู้ผลิตระดับโลกที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยแล้ว เช่น มิชลิน (ฝรั่งเศส), บริดจสโตน (ญี่ปุ่น), กู๊ดเยียร์ (สหรัฐอเมริกา), คอนติเนนทอล (เยอรมนี), ซูมิโตโม รับเบอร์ (ญี่ปุ่น), โยโกฮามา ไทร์ (ญี่ปุ่น), จงเช่อ รับเบอร์ (จีน), ปริงซ์ เฉิงซาน ไทร์ (จีน), หลิงหลง (จีน), เซนจูรี่ ไทร์ (จีน) และแม็กซิส (ไต้หวัน)

The post ‘คอนติเนนทอล’ ผู้ผลิตยางล้ออันดับ 4 ของโลก จากเยอรมนี ทุ่ม 1.3 หมื่นล้านบาท ขยายโรงงาน จ.ระยอง ผลิตเพิ่มปีละ 3 ล้านเส้น รับคลื่น EV จ้างงานคนไทยเพิ่ม 600 คน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ฮานา-ปตท.’ ทุ่มหมื่นล้านบาท แจ้งเกิดโรงงาน ‘ชิป’ แห่งแรกในไทย พื้นที่ จ.ลำพูน ดันไทยสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำรับฐานผลิตโลก https://thestandard.co/hana-ptt-semiconductor-investment/ Mon, 23 Sep 2024 08:16:59 +0000 https://thestandard.co/?p=986891 ฮานา-ปตท.

BOI หนุนบริษัทร่วมทุน ฮานา-ปตท. เดินหน้าแผนลงทุนสร้างโร […]

The post ‘ฮานา-ปตท.’ ทุ่มหมื่นล้านบาท แจ้งเกิดโรงงาน ‘ชิป’ แห่งแรกในไทย พื้นที่ จ.ลำพูน ดันไทยสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำรับฐานผลิตโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฮานา-ปตท.

BOI หนุนบริษัทร่วมทุน ฮานา-ปตท. เดินหน้าแผนลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิปชนิดซิลิคอนคาร์ไบด์แห่งแรกของไทย ภายในสิ้นปีนี้ หลังได้รับอนุมัติจาก BOI และออกบัตรส่งเสริมเมื่อเดือนสิงหาคม 2567 ทุ่มเฟสแรก 11,500 ล้านบาท เริ่มผลิตภายใน 2 ปี รองรับการเติบโตของกลุ่ม Power Electronics ทั้ง EV, Data Center และระบบกักเก็บพลังงาน ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำของไทย

 

นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ได้นำคณะลงพื้นที่จังหวัดลำพูน เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการลงทุนผลิตชิป (Wafer Fabrication) แห่งแรกของประเทศไทย ของบริษัท เอฟทีวัน คอร์เปอเรชั่น จำกัด (FT1) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ และกลุ่ม ปตท. หลังจากที่ BOI อนุมัติให้การส่งเสริมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 จากนั้นบริษัทได้ดำเนินการออกบัตรส่งเสริมเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา BOI ได้ทำงานร่วมกับบริษัทอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ

 

 

โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกแบบโรงงาน และเตรียมเริ่มก่อสร้างโรงงานในพื้นที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ จังหวัดลำพูน ภายในเดือนธันวาคมของปีนี้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรประมาณ 2 ปี ก่อนจะเริ่มผลิตในช่วงไตรมาสแรกของปี 2570

 

บริษัท เอฟทีวัน คอร์เปอเรชั่น จำกัด จะจัดตั้งโรงงานผลิตชิปต้นน้ำแห่งแรกในประเทศไทย เงินลงทุนเฟสแรกกว่า 11,500 ล้านบาท โดยรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตชิปชั้นนำของเกาหลีใต้ เพื่อผลิตชิป (Wafer) ชนิดซิลิคอนคาร์ไบด์ (SiC) ขนาด 6 นิ้ว และ 8 นิ้ว โดยมีคุณสมบัติสำคัญที่แตกต่างจากชิปทั่วไปที่ผลิตจากซิลิคอน คือสามารถทนกระแสไฟฟ้าและความร้อนสูงได้ จึงเหมาะสมสำหรับการใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ควบคุมการแปลงพลังงานไฟฟ้า (Power Electronics) เช่น เครื่อง Server ใน Data Center อุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า Inverter ในยานยนต์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุปกรณ์แปลงพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มเติบโตสูงในอนาคต

 

เหตุผลสำคัญของการเลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้งของโครงการนี้ เนื่องจากข้อกำหนดหลักของลูกค้า คือ

 

  1. ต้องตั้งในประเทศที่มีความเป็นกลางเพื่อลดความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์
  2. มีต้นทุนที่แข่งขันได้
  3. มีขีดความสามารถในการขยายกำลังการผลิตในอนาคต ซึ่งประเทศไทยสามารถตอบโจทย์เหล่านี้

 

ยกระดับประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำ

 

นอกจากนี้ ไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสูง ไฟฟ้ามีความเสถียร มีศักยภาพด้านพลังงานสะอาด บุคลากรมีคุณภาพสูง มาตรการสนับสนุนที่ดีจากภาครัฐ อุตสาหกรรมรถยนต์ EV ระบบกักเก็บพลังงาน และ Data Center ที่กำลังเติบโตสูง อีกทั้งโรงงานของฮานาฯ ในไทย มีการประกอบกิจการที่ต่อเนื่องจากการผลิตชิปอยู่แล้ว โดยเฉพาะขั้นตอนการประกอบและทดสอบวงจรรวม (IC Assembly and Testing)

 

“อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล โทรคมนาคม ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์การแพทย์ ที่ผ่านมาบทบาทของไทยอยู่ในขั้นกลางน้ำ คือ การรับจ้างประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์ หรือที่เรียกว่า OSAT โครงการลงทุนผลิตชิปครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่ส่งผลต่อการยกระดับประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำ

 

นอกจากจะช่วยสร้างงานและการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผ่านความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรกับมหาวิทยาลัยในไทยและการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเซมิคอนดักเตอร์จากเกาหลีใต้แล้ว ยังจะส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้เข้าสู่ซัพพลายเชนของเซมิคอนดักเตอร์ และนำไปสู่การพัฒนาระบบนิเวศของอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ซึ่งจะช่วยให้สามารถดึงดูดผู้ผลิตอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำรายอื่นๆ ให้เข้ามาลงทุนในไทยอีกด้วย” นฤตม์กล่าว

The post ‘ฮานา-ปตท.’ ทุ่มหมื่นล้านบาท แจ้งเกิดโรงงาน ‘ชิป’ แห่งแรกในไทย พื้นที่ จ.ลำพูน ดันไทยสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำรับฐานผลิตโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้ผลิตเหล็กยักษ์ใหญ่ ‘จี สตีล – จี เจ สตีล’ บริษัทลูกเครือนิปปอน สตีล ขยายลงทุนครั้งใหญ่ในไทย 4,500 ล้านบาท ในรอบ 20 ปี ที่โรงงานจังหวัดชลบุรีและระยอง https://thestandard.co/gsteel-gjs-nsc-4500m-baht-thailand/ Thu, 29 Aug 2024 05:43:18 +0000 https://thestandard.co/?p=976892

จี สตีล และ จี เจ สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ บริษัทลูกเคร […]

The post ผู้ผลิตเหล็กยักษ์ใหญ่ ‘จี สตีล – จี เจ สตีล’ บริษัทลูกเครือนิปปอน สตีล ขยายลงทุนครั้งใหญ่ในไทย 4,500 ล้านบาท ในรอบ 20 ปี ที่โรงงานจังหวัดชลบุรีและระยอง appeared first on THE STANDARD.

]]>

จี สตีล และ จี เจ สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ บริษัทลูกเครือนิปปอน สตีล หารือ BOI เตรียมขอส่งเสริมลงทุนปรับปรุงสายการผลิตครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี มูลค่ากว่า 4,500 ล้านบาท มุ่งยกระดับศักยภาพการผลิตเหล็กในไทย ก้าวสู่อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ พร้อมผลักดันไทยสู่ศูนย์กลางการผลิตเหล็กเพื่อส่งออกตลาดอาเซียนและยุโรป หวังช่วยฟื้นสถานการณ์หลังเหล็กจีน Oversupply ถล่มอุตสาหกรรมเหล็กไทย

 

วันนี้ (29 สิงหาคม) นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า ผู้บริหารของ บมจ.จี สตีล และ บมจ.จี เจ สตีล ผู้ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนครบวงจรรายใหญ่ในประเทศไทย ที่ถือหุ้นหลักโดยบริษัท นิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่น จากประเทศญี่ปุ่น เข้าหารือกับ BOI เพื่อลงทุนปรับปรุงสายการผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนครั้งใหญ่ในรอบ 20 ปี ด้วยมูลค่าลงทุนกว่า 4,500 ล้านบาท ภายในระยะ 3 ปีข้างหน้า 

 

ประกอบด้วยการลงทุนของ บมจ.จี สตีล ที่จังหวัดระยอง 3,000 ล้านบาท และ บมจ.จี เจ สตีล ที่จังหวัดชลบุรี 1,500 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัย พัฒนาคุณภาพและขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายยิ่งขึ้น ยกระดับสายการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตเหล็กที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ รวมถึงการพัฒนาระบบจัดการวัตถุดิบเหล็กรีไซเคิลเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มความคล่องตัวในกระบวนการผลิต ซึ่งจะช่วยสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศ

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


 

ทั้งนี้ กลุ่มนิปปอน สตีล คอร์ปอเรชั่น (NSC) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของจี สตีล และจี เจ สตีล เป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ได้ก่อตั้งสายการผลิตแรกในประเทศไทยมากว่า 60 ปี เริ่มจากการผลิตท่อเหล็กก่อนขยายสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมีบริษัทในเครือกว่า 30 แห่ง มีพนักงานในไทยรวมกันกว่า 8,000 คน และเมื่อปี 2565 ได้เข้าร่วมลงทุนใน บมจ.จี สตีล และ บมจ.จี เจ สตีล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของไทย

 

ปัจจุบันกลุ่มบริษัทจี สตีล และจี เจ สตีล เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเหล็กแผ่นรีดร้อนครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทย และเป็นกลุ่มบริษัทเดียวที่ผลิตเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนด้วยเตาอาร์คไฟฟ้า (Electric Arc Furnace) ซึ่งมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ และยังเป็นผู้รีไซเคิลเศษเหล็กรายใหญ่ในประเทศไทย ที่ได้รับใบรับรองคาร์บอนฟุตพรินต์จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการก้าวสู่อุตสาหกรรมสีเขียวของไทย และสอดรับกับทิศทางความต้องการผลิตภัณฑ์เหล็กที่ปลดปล่อยคาร์บอนต่ำในตลาดโลก 

 

หวังฟื้นสถานการณ์หลังเหล็กจีน Oversupply ถล่มอุตสาหกรรมเหล็กไทย

 

สำหรับประเทศไทยมีการใช้เหล็กต่อคน (Steel Consumption per Capita) มากที่สุดในอาเซียน คือประมาณ 234 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กในประเทศไทยประมาณ 180 ราย แบ่งเป็นเหล็กทรงยาวประมาณ 100 ราย และเหล็กทรงแบนประมาณ 80 ราย 

 

โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเหล็กเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 60% รองลงมา ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 20% เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 7% เครื่องจักรและอุปกรณ์อุตสาหกรรม 5% และบรรจุภัณฑ์ 5% และอื่นๆ  

 

“ที่ผ่านมาตลาดเหล็กในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการแข่งขันอย่างรุนแรงจากภาวะ Oversupply และการเร่งระบายเหล็กจากประเทศจีนออกสู่ตลาดโลก การที่กลุ่มจี สตีล และจี เจ สตีล ตัดสินใจขยายการลงทุนในครั้งนี้จะเป็นการยกระดับขีดความสามารถและประสิทธิภาพการผลิตของบริษัทเหล็กในประเทศไทย รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อลดการปลดปล่อยคาร์บอน ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญของกติกาการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะตลาดกลุ่มยุโรปในอนาคต” นฤตม์กล่าว

The post ผู้ผลิตเหล็กยักษ์ใหญ่ ‘จี สตีล – จี เจ สตีล’ บริษัทลูกเครือนิปปอน สตีล ขยายลงทุนครั้งใหญ่ในไทย 4,500 ล้านบาท ในรอบ 20 ปี ที่โรงงานจังหวัดชลบุรีและระยอง appeared first on THE STANDARD.

]]>
Western Digital ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับโลกสัญชาติอเมริกัน ทุ่ม 2.3 หมื่นล้านบาท ขยายฐานผลิตในไทยที่อยุธยาและปราจีนบุรี รองรับ Cloud-Data Center https://thestandard.co/western-digital-ayutthaya-prachin/ Mon, 26 Aug 2024 11:24:36 +0000 https://thestandard.co/?p=975651

แนวโน้มอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ทั่วโลกยังเติบโตต่อเนื่อง โด […]

The post Western Digital ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับโลกสัญชาติอเมริกัน ทุ่ม 2.3 หมื่นล้านบาท ขยายฐานผลิตในไทยที่อยุธยาและปราจีนบุรี รองรับ Cloud-Data Center appeared first on THE STANDARD.

]]>

แนวโน้มอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ทั่วโลกยังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะเพื่อรองรับการขยายตัวของเทคโนโลยี Cloud และ Data Center ประเทศไทยยังคงเป็นหนึ่งในจุดหมายในฐานะผู้นำฐานผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับโลก ซึ่งล่าสุด BOI ไฟเขียวส่งเสริมการลงทุนโครงการใหญ่ของบริษัท Western Digital (WD) มูลค่ากว่า 2.3 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายฐานผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่อยุธยาและปราจีนบุรี

 

วันที่ 26 สิงหาคม นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการซึ่งรับมอบอำนาจจากบอร์ด BOI อนุมัติคำขอรับส่งเสริมการลงทุนของบริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด ในการขยายกิจการผลิตฮาร์ดดิสก์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มูลค่าลงทุน 23,516 ล้านบาท ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเขตอุตสาหกรรม 304 อินดัสเตรียล ปาร์ค จังหวัดปราจีนบุรี

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

WD เป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่ระดับโลกสัญชาติอเมริกัน เข้าซื้อกิจการในธุรกิจจัดเก็บข้อมูลของบริษัทชั้นนำหลายแห่ง เช่น Fujitsu, Hitachi, SanDisk และ KOMAG ทำให้ปัจจุบัน WD มีส่วนแบ่งตลาดโลกอยู่กว่า 40%

 

โดย WD เข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตหลักในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2540 และขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง มีการจ้างงานกว่า 28,000 คน ซึ่งไทยเป็นโรงงานผลิตฮาร์ดดิสก์เพียงแห่งเดียวที่มีการประกอบขั้นสุดท้ายและการทดสอบ

 

นอกจากผลิตฮาร์ดดิสก์แล้ว WD ยังทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอีกหลายอย่าง เช่น การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับฮาร์ดดิสก์ การพัฒนาบุคลากรในหลายรูปแบบ ทั้งโครงการสหกิจศึกษาในสาขา STEM และโครงการ Talent Mobility การใช้พลังงานหมุนเวียนในโรงงาน การพัฒนาโรงงานอัจฉริยะจนได้รับรางวัล Global Lighthouse Network และการพัฒนา SMEs ไทยในด้าน Smart Factory เป็นต้น

 

จ้างงานคนไทยเพิ่มอีกกว่า 10,000 คน

 

สำหรับการขยายการลงทุนครั้งใหญ่ของ WD ในครั้งนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกอีกกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี จะจ้างงานบุคลากรไทยเพิ่มอีกกว่า 10,000 คน และจะสร้างประโยชน์ต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น ชุดแผงวงจรพิมพ์ (PCBA), ชิ้นส่วนโลหะและพลาสติก รวมทั้งชุด Power Supply มูลค่ากว่า 8.1 หมื่นล้านบาทต่อปี คิดเป็นสัดส่วนกว่า 45% ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งสิ้น

 

“แนวโน้มอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของโลกยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการขยายตัวของระบบ Cloud และ Data Center รวมทั้งเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้ง Generative AI และ 5G ที่จะทำให้เกิดความต้องการใช้ระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยประเทศไทยเป็นฐานการผลิตหลักของอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ของโลก” นฤตม์กล่าว

 

ปัจจุบัน 80% ของฮาร์ดดิสก์ทั้งโลกผลิตจากประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์รายใหญ่อย่าง WD และ Seagate ซึ่ง Seagate ก็เพิ่งจะขยายการลงทุนครั้งใหญ่เมื่อปี 2566 ด้วยมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท

 

ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (ปี 2558 – เดือนมิถุนายน 2567) มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์และชิ้นส่วนจำนวน 42 โครงการ มูลค่าลงทุนรวมกว่า 8.26 หมื่นล้านบาท

The post Western Digital ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับโลกสัญชาติอเมริกัน ทุ่ม 2.3 หมื่นล้านบาท ขยายฐานผลิตในไทยที่อยุธยาและปราจีนบุรี รองรับ Cloud-Data Center appeared first on THE STANDARD.

]]>
คำต่อคำ! BOI ตอบปม ทำไมยอดขายรถยนต์ไทยลดลงอย่างน่าใจหาย และเหตุผลอะไรที่รัฐบาลต้องทุ่มเม็ดเงินอุดหนุน EV มหาศาล https://thestandard.co/why-are-thai-car-sales-declining/ Tue, 13 Aug 2024 13:48:03 +0000 https://thestandard.co/?p=970648

จากประเด็นที่ชวนวิเคราะห์ถึงความท้าทายของอุตสาหกรรมยานย […]

The post คำต่อคำ! BOI ตอบปม ทำไมยอดขายรถยนต์ไทยลดลงอย่างน่าใจหาย และเหตุผลอะไรที่รัฐบาลต้องทุ่มเม็ดเงินอุดหนุน EV มหาศาล appeared first on THE STANDARD.

]]>

จากประเด็นที่ชวนวิเคราะห์ถึงความท้าทายของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยปีนี้ว่ากำลังเข้าสู่ช่วงขาลงหรือไม่ ไทยในฐานะดีทรอยต์แห่งเอเชียจะรักษาตำแหน่งนี้อย่างไรต่อไป

 

แต่เหรียญมักมีสองด้านเสมอ แม้ภาคการผลิตรถยนต์ได้เปลี่ยนจากดั้งเดิมไปสู่เทคโนโลยีใหม่ที่ต้องเร่งทำก็จริง แต่หากพิจารณาทั้งห่วงโซ่อุปทานของการผลิตรถยนต์ในไทยแล้ว กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน Local Content อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนครั้งนี้ และยังมีความท้าทายจากการบุกตลาดของผู้ผลิตจากจีนที่โหมรุกเข้าไทยอย่างหลัก

 

ภาคการผลิตรถยนต์ของไทยจึงยังคงเผชิญคำถามที่ทับซ้อนกันในหลายมิติ ทำไมยอดขายรถยนต์ไทยลดลงมากในปีนี้ หรือเหตุผลอะไรที่รัฐบาลให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า EV 3.0 – EV 3.5 มากถึงเพียงนี้

 

THE STANDARD WEALTH เปิดข้อมูลจากเลขาธิการ BOI คำต่อคำ 

 

 

ย้อนจุดเริ่มต้นเหตุผลในการส่งเสริมอุตสาหกรรม EV

 

วันที่ 13 สิงหาคม 2567 นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ระบุว่า ตามที่มีการตั้งคำถามต่อมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ว่าส่งผลกระทบต่อการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ของประเทศไทย BOI ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) นั้น

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

เหตุผลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทิศทางโลกจึงมุ่งสู่การใช้ยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ต่ำ หลายประเทศเตรียมออกมาตรการห้ามนำเข้ารถยนต์สันดาปภายใน (ICE) หรือขึ้นภาษีเพื่อควบคุมการนำเข้ารถยนต์ที่ปล่อย CO2 สูง ขณะที่อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังคงผลิตรถยนต์ ICE เป็นหลัก  

 

“และภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีในปัจจุบัน การนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากบางประเทศมาจำหน่ายในไทยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าอยู่แล้ว หากไม่มีมาตรการใดๆ ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้ามาจำหน่ายในประเทศเป็นจำนวนมากโดยที่ไม่เกิดการตั้งฐานการผลิต และประเทศไทยก็จะไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ อีกทั้งอาจสูญเสียโอกาสในการดึงการลงทุนอุตสาหกรรม EV ให้แก่ประเทศคู่แข่ง และสูญเสียโอกาสที่จะเติบโตจากเทคโนโลยีใหม่ๆ”

 

เช่น แบตเตอรี่ มอเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ และระบบเชื่อมต่อยานยนต์ ฯลฯ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันระยะยาว และประเทศไทยก็จะขาดฐานการผลิต EV ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในอนาคต

 

นฤตม์ระบุอีกว่า เพื่อให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยแข่งขันได้และสอดคล้องกับทิศทางโลก เป็นฐานการผลิตยานยนต์อันดับหนึ่งในอาเซียน จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เพื่อศึกษาและกำหนดทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรม EV โดยได้กำหนดเป้าหมาย 30@30 

 

มุ่งเปลี่ยนผ่านฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่ครบวงจร จาก ICE สู่ HEV, PHEV และ BEV?

 

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรม EV เพื่อต่อยอดจุดแข็งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีอยู่ ไปสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนที่ครบวงจรไม่ว่าจะเป็น ICE, HEV, PHEV หรือ BEV เพื่อรักษาและต่อยอดการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกประเภทในระยะยาว 

 

รวมถึงโอกาสในการเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก EV ไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าจากบางประเทศ โดยมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรม EV ของไทยเปิดกว้างสำหรับผู้ลงทุนทั้งรายเดิมและรายใหม่ ทั้งไทยและต่างชาติทุกประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ผลิต EV ทั้งประเภทรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถบรรทุก และรถบัส จากหลายประเทศเข้าร่วมมาตรการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตจากไทย จีน ญี่ปุ่น ยุโรป และล่าสุดคือเกาหลีใต้

 

ตอบปม ทำไมให้เงินอุดหนุนมาตรการ EV 3.0 และ EV 3.5 จำนวนมาก?

 

เนื่องด้วยกรมสรรพสามิต ซึ่งมาตรการนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่ EV ตามเป้าหมาย 30@30 และมุ่งผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตหลักของภูมิภาค โดยการสร้างตลาดรถยนต์ EV ในประเทศให้มีขนาดเหมาะสมกับการลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ผลิตรถยนต์ใช้ในการตัดสินใจเลือกแหล่งลงทุน

 

ดังนั้นมาตรการ EV 3.0 และ EV 3.5 จะอนุญาตให้มีการนำเข้าในช่วง 2 ปีแรก และกำหนดเงื่อนไขผูกโยงกับการลงทุนตั้งฐานการผลิต โดยผู้ที่เข้าร่วมมาตรการจะต้องผลิตรถยนต์ EV ในประเทศไทย เพื่อชดเชยการนำเข้าในสัดส่วนอย่างน้อย 1-3 เท่าแล้วแต่ระยะเวลา อีกทั้งยังกำหนดเงื่อนไขให้มีการใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตในประเทศ ซึ่งจะส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนแบบครบวงจรด้วย

 

ทำไมยอดขายรถยนต์ลดลงมากในปีนี้?

 

เหตุผลที่ยอดขายรถยนต์ลดลงมากในปีนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง 24% โดยในส่วนของรถกระบะลดลงถึงกว่า 40% ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้า BEV ที่เข้ามาจำหน่ายในไทยมีสัดส่วนเพียงประมาณ 10% ของยอดขายรถทั้งหมด 

 

“จะเห็นว่าสาเหตุหลักไม่ได้เกิดจากการเข้ามาแทนที่ของรถยนต์ไฟฟ้า แต่ปัจจัยหลักที่ส่งผลทำให้ยอดขายรถยนต์ในไทยลดลงมากและส่งผลกระทบถึงกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์คือ ปัญหาภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน การชะลอตัวของการบริโภค หนี้ครัวเรือนที่สูง และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อซื้อรถยนต์”

 

เข้มผู้ผลิตรถยนต์ ใช้ชิ้นส่วนในประเทศ

 

อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้หารือร่วมกับผู้ประกอบการ และออกมาตรการหลายด้าน เพื่อช่วยกลุ่มผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในระยะเปลี่ยนผ่าน สู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตและการส่งออกรถยนต์ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น ICE, HEV, PHEV หรือ BEV เป้าหมาย 30@30 ซึ่งจะเห็นได้ว่า 70% ที่เหลือยังคงเป็นการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน ที่สำคัญนายกรัฐมนตรียังได้เน้นย้ำถึงผู้ผลิตรถยนต์สันดาปภายในที่มีต่อเศรษฐกิจไทย และพร้อมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตยานยนต์สมัยใหม่ 

 

โดยได้ออก 5 มาตรการเพื่อช่วยผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วน ดังนี้

 

  1. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ สนับสนุนให้ผู้ผลิตรถยนต์ลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้เพื่อการผลิตรถยนต์ ทั้งแบบ ICE, HEV และ PHEV โดยขณะนี้มีค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกายื่นขอรับการส่งเสริมแล้ว 4 โครงการ
  2. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ส่งเสริมให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศมีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ฝึกอบรมบุคลากร หรือนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ยกระดับมาตรฐาน เพื่อให้แข่งขันได้และขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น ชิ้นส่วน EV อิเล็กทรอนิกส์ อากาศยาน เครื่องมือแพทย์ รวมทั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ 
  3. มาตรการส่งเสริมการร่วมทุนระหว่างบริษัทไทยและต่างชาติในกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สนับสนุนให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยมีโอกาสร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุน โดยนิติบุคคลไทยต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 30% ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจและตอบโจทย์ยานยนต์สมัยใหม่ได้
  4. มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์แบบไฮบริด (HEV) สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ ICE ไปสู่รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และ HEV เป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ที่ไทยมีโอกาสเป็นฐานการผลิตระดับโลกได้ 
  5. มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ กรมสรรพสามิตได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตรถยนต์ที่ได้รับสิทธิ์ตามมาตรการ EV 3.0 และ EV 3.5 ต้องมีการใช้แบตเตอรี่หรือชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตในประเทศ ต้องใช้ชิ้นส่วนและวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศไทยและอาเซียนไม่น้อยกว่า 40% ของราคาหน้าโรงงาน 

 

ในส่วนของ BOI ได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตรถยนต์ EV ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องมีการผลิตหรือจัดหาแบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำคัญจากผู้ผลิตในประเทศ รวมถึงแผนพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศที่มีหุ้นไทยข้างมาก (Local Supplier) เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับอุตสาหกรรม EV 

 

อีกทั้งเน้นจัดกิจกรรมจัดหาชิ้นส่วนในประเทศ (Sourcing Event) และงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมสนับสนุน (Subcon Thailand) เพื่อสร้างเวทีจับคู่เจรจาธุรกิจกับไทยเข้าไปมีบทบาทใน Supply Chain ของอุตสาหกรรม EV ให้มากที่สุด

 

สศอ. ยืนยัน ไม่ปิดกั้นค่ายรถ คาดปี 2567-2568 ความต้องการแรงงานกว่า 5,000 คนต่อปี 

 

 

ด้าน วรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า รัฐบาลเปิดกว้างส่งเสริมการลงทุนและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ ตั้งแต่รถยนต์ไฮบริด (HEV), รถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ล้วน (BEV) ​

 

“ตลอด 25 ปี เปิดรับผู้ผลิตรถยนต์ทุกสัญชาติ มีสิทธิประโยชน์ภาษีและมิใช่ภาษี โครงสร้างพื้นฐาน มาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หรือ EV 3.0 และ EV 3.5”

 

โดยที่ผ่านมามีค่ายรถยนต์สัญชาติยุโรป ญี่ปุ่น จีน และไทย เข้าร่วมกว่า 14 ราย ซึ่งได้ให้การอุดหนุนเงินรวม 6,700 ล้านบาท และมีผู้ที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนสำหรับ BEV รวม 18 โครงการ 39,000 ล้านบาท 

 

กำลังการผลิตตามแผนรวม 4 แสนคันต่อปี ขณะเดียวกันยังมีในส่วนของการเชื่อมโยง Supply Chain ในประเทศเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เช่น การเพิ่มเติมกระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญในเขต Free Zone เพื่อให้เกิดการใช้ชิ้นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่ม และการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจผู้ผลิตรถยนต์กับผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ

 

เคลียร์ปมปิดตัวโรงงานผลิตรถยนต์ ICE

 

​สำหรับสาเหตุของการปิดตัวของโรงงานผลิตรถยนต์ ICE และการลดกำลังการผลิต ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เศรษฐกิจของไทยที่ลดลงต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2566 GDP โต 2% โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการชะลอตัวมาตั้งแต่ต้นปี 2566 สืบเนื่องจากผลกระทบของปัญหาหนี้เสียในกลุ่มเช่าซื้อรถยนต์ ส่งผลต่อการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ที่เข้มงวด 

 

โดยเฉพาะรถกระบะ ICE (ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการผลิตหรือใช้รถกระบะ BEV) เพราะผู้ซื้อไม่สามารถผ่อนชำระงวดได้จากสภาพคล่องทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวยและหนี้ครัวเรือนยังอยู่ระดับสูง 

 

ทั้งนี้ สภาพตลาดในประเทศที่ชะลอตัวจากเหตุผลข้างต้น ทำให้ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องลดกำลังการผลิต และผู้ผลิตรถยนต์ 2 รายมีแผนที่จะปิดโรงงานคือ โรงงานซูบารุประกาศยุติการผลิตรถยนต์ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 

 

หลังจากยุติการผลิตในประเทศมาเลเซียเมื่อช่วงก่อนหน้า เนื่องจากปัญหาสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและธุรกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้รถยนต์ที่ผลิตออกไปไม่สามารถขายได้ในราคาที่เหมาะสม และบริษัทไม่สามารถควบคุมราคาจำหน่ายได้ 

 

โดยในปี 2566 มีจำนวนพนักงาน 400 คน มีการผลิต / จำหน่ายรถยนต์ รวม 1,600 คัน และนำเข้าชิ้นส่วนจากอินโดนีเซียและมาเลเซียเป็นส่วนใหญ่ ขณะที่โรงงานซูซูกิจำนวนพนักงาน 800 คน ประกาศเตรียมยุติการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยภายในช่วงสิ้นปี 2568 

 

เนื่องจากการทบทวนโครงสร้างการผลิตของซูซูกิทั่วโลก ถึงแม้จะยุติการผลิตในประเทศ แต่ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ส่งให้กับบริษัทซูซูกิไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมีการผลิตส่งให้ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นด้วย โดยในปี 2566 มีการผลิตประมาณ 11,000 คัน วรวรรณกล่าว

The post คำต่อคำ! BOI ตอบปม ทำไมยอดขายรถยนต์ไทยลดลงอย่างน่าใจหาย และเหตุผลอะไรที่รัฐบาลต้องทุ่มเม็ดเงินอุดหนุน EV มหาศาล appeared first on THE STANDARD.

]]>
มาอีกราย! ‘ฮุนได’ แบรนด์รถยนต์ยักษ์ใหญ่สัญชาติเกาหลีใต้ ประกาศทุ่มพันล้าน ตั้งฐานผลิต EV – แบตเตอรี่ในไทย เริ่มเดินสายพานผลิตปี 2569 https://thestandard.co/hyundai-ev-battery-plant-thailand/ Wed, 07 Aug 2024 05:33:23 +0000 https://thestandard.co/?p=968294

ปีนี้ 2024 ตลาด EV ไทยยังคงคึกคักต่อเนื่อง นาทีนี้คงไม่ […]

The post มาอีกราย! ‘ฮุนได’ แบรนด์รถยนต์ยักษ์ใหญ่สัญชาติเกาหลีใต้ ประกาศทุ่มพันล้าน ตั้งฐานผลิต EV – แบตเตอรี่ในไทย เริ่มเดินสายพานผลิตปี 2569 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปีนี้ 2024 ตลาด EV ไทยยังคงคึกคักต่อเนื่อง นาทีนี้คงไม่ใช่แค่แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่เข้ามาทำตลาดและตั้งฐานผลิตในไทยแล้ว ล่าสุดแบรนด์ยักษ์ใหญ่เบอร์ 1 จากเกาหลีใต้นั่นคือฮุนได ประกาศทุ่มงบ 1,000 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้า BEV และแบตเตอรี่ครบวงจร พร้อมเดินเครื่องผลิตต้นปี 2569 BOI ย้ำดึงผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยในการเข้าสู่ Supply Chain ของอุตสาหกรรมระดับโลก

 

วันที่ 7 สิงหาคม นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ (BOI) เปิดเผยว่า บีโอไออนุมัติส่งเสริมการลงทุนโครงการของบริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตรถยนต์อันดับหนึ่งจากประเทศเกาหลีใต้ เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) และผลิตแบตเตอรี่โดยเริ่มจากขั้นตอนการประกอบโมดูล เพื่อป้อนให้กับสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1,000 ล้านบาท

 

โดยมีบริษัท ธนบุรีประกอบรถยนต์ จำกัด และบริษัท ธนบุรี เอ็นเนอร์ยี่ สตอเรจ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เป็นพันธมิตรสำคัญในการลงทุนครั้งนี้ ซึ่งบริษัทพร้อมจะเริ่มลงทุนทันที และตั้งเป้าจะเริ่มผลิตในช่วงต้นปี 2569 นอกจากนี้ บริษัทยังอยู่ระหว่างการพิจารณาแผนจัดหาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศไทย ซึ่งบีโอไอจะทำงานร่วมกับบริษัทอย่างใกล้ชิด เพื่อเชื่อมโยง Supply Chain ในประเทศให้ได้มากที่สุด

 

“เกาหลีใต้เป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก และค่ายรถยนต์รายใหญ่อย่างฮุนได ก็ถือเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล การลงทุนสร้างฐานการผลิตรถยนต์ EV ของค่ายเกาหลีในครั้งนี้ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในศักยภาพของไทย และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาลไทย”

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

นอกจากนี้ การลงทุนของฮุนไดในครั้งนี้จะช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้กับไทย เพื่อมุ่งสู่ศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทในระดับโลก และจะช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยในการเข้าสู่ Supply Chain ของอุตสาหกรรมระดับโลกด้วย” นฤตม์กล่าว

 

ทั้งนี้ แนวโน้มตลาด EV ทั่วโลกยังเติบโตต่อเนื่อง จากข้อมูล Global EV Outlook 2024 โดย IEA พบว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดขายรถยนต์ EV ทั่วโลกมีอัตราเติบโตร้อยละ 25 และคาดว่าสิ้นปี 2567 จะมียอดขายรถยนต์ EV รวมกันกว่า 17 ล้านคัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 ของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก

 

โดยปัจจุบันบีโอไออนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในโครงการอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งการผลิตยานยนต์ BEV ประเภทต่างๆ แบตเตอรี่ และชิ้นส่วนสำคัญ รวมทั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 80,000 ล้านบาท

The post มาอีกราย! ‘ฮุนได’ แบรนด์รถยนต์ยักษ์ใหญ่สัญชาติเกาหลีใต้ ประกาศทุ่มพันล้าน ตั้งฐานผลิต EV – แบตเตอรี่ในไทย เริ่มเดินสายพานผลิตปี 2569 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิด 4 เงื่อนไขมาตรการหนุนผลิต ‘รถยนต์ไฮบริด’ หลังบอร์ด EV ไฟเขียวลดภาษี 5 ปี คาดดึงค่ายรถลงทุนไทยไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท https://thestandard.co/support-production-of-hybrid-cars/ Fri, 26 Jul 2024 14:16:54 +0000 https://thestandard.co/?p=963612

บอร์ด EV เคาะมาตรการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ไฟเ […]

The post เปิด 4 เงื่อนไขมาตรการหนุนผลิต ‘รถยนต์ไฮบริด’ หลังบอร์ด EV ไฟเขียวลดภาษี 5 ปี คาดดึงค่ายรถลงทุนไทยไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>

บอร์ด EV เคาะมาตรการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ไฟเขียวปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ไฮบริด (HEV) ตั้งแต่ปี 2571-2575 หรือช่วง 5 ปี ภายใต้ 4 เงื่อนไข โดยบีโอไอมั่นใจว่าจะมีค่ายรถสนใจเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 5 ราย เงินลงทุน 4 ปีไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท

 

นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะกรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด EV) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด EV ที่มี พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เห็นชอบ ‘มาตรการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า’

 

 

โดยการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารขนาดที่นั่งไม่เกิน 10 คนแบบไฮบริด (HEV) ซึ่งเป็นเทคโนโลยียานยนต์ที่ผสมผสานทั้งระบบเครื่องยนต์สันดาปภายในและระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดรับกับทิศทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในขณะที่ยังคงรักษาความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในระยะยาว ผ่านการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์อย่างครบวงจรมากยิ่งขึ้น 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

โดยมีเงื่อนไขสำคัญ 4 ด้าน คือ

 

  1. การลดการปล่อยคาร์บอน 
  2. การลงทุนเพิ่มเติม 
  3. การใช้ชิ้นส่วนสำคัญในประเทศ 
  4. การติดตั้งระบบความปลอดภัยของรถยนต์ 

 

เพื่อตอบโจทย์การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศ การเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น ‘ศูนย์กลางการผลิตและการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทในระดับโลก’

 

ทั้งนี้ มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ HEV จะปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตให้อยู่ในระดับคงที่ในช่วงปี 2571-2575 จากเดิมอัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 2% ทุก 2 ปี (ซึ่งปัจจุบันจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 จะเก็บภาษีสรรพสามิตอยู่ที่ 8% สำหรับรถที่ปล่อยคาร์บอน เท่ากับหรือน้อยกว่า 100 g/km หากถ้าปล่อย 101-120 g/km จะเก็บอยู่ที่ 16%)

 

โดยหลังจากนี้จะกำหนดให้บริษัทผลิตรถยนต์ไฮบริด (HEV) ที่จะขอรับสิทธิ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข 4 ด้าน ดังนี้ 

 

  1. ต้องมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไม่เกิน 120 g/km
  • การปล่อย CO2 ไม่เกิน 100 g/km อัตราภาษีสรรพสามิต 6%
  • การปล่อย CO2 101-120 g/km อัตราภาษีสรรพสามิต 9%

 

  1. ต้องมีการลงทุนจริงเพิ่มเติม โดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และ/หรือ บริษัทในเครือในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2567-2570 ไม่น้อยกว่า 3 พันล้านบาท

 

  1. ต้องมีการใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่ผลิตหรือประกอบในประเทศ โดยรถยนต์ HEV รุ่นที่ขอรับสิทธิ์ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ผลิตในประเทศตั้งแต่ปี 2569 และต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2571 เป็นต้นไป 

 

โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูง

 

  • กรณีลงทุนเพิ่มเติมตั้งแต่ 5 พันล้านบาทขึ้นไป สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ชิ้นส่วนสำคัญ 3 ชิ้นในกลุ่มที่มีมูลค่าสูง หรือเลือก 2 ชิ้นในกลุ่มมูลค่าสูง และอีก 2 ชิ้นในกลุ่มมูลค่าปานกลาง หรือหากเลือก 1 ชิ้นในกลุ่มที่มีมูลค่าสูง จะต้องเลือก 4 ชิ้นในกลุ่มมูลค่าปานกลาง

 

  • กรณีลงทุนเพิ่มเติม 3 พันล้านบาทขึ้นไปแต่ไม่ถึง 5 พันล้านบาท จะต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญที่มีมูลค่าสูงทั้ง 3 ชิ้นเท่านั้น 

 

  1. ต้องมีการติดตั้งระบบความปลอดภัยอัจฉริยะ (Advanced Driver Assistance System: ADAS) ในรถยนต์ HEV รุ่นที่ขอรับสิทธิ์อย่างน้อย 4 จาก 6 ระบบ ดังนี้
  • ระบบเบรกฉุกเฉินขั้นสูง (AEB)
  • ระบบเตือนการชนด้านหน้าของรถ (FCW)
  • ระบบการดูแลภายในช่องจราจร (LKAS) 
  • ระบบเตือนการออกหรือเปลี่ยนช่องจราจร (LDW) 
  • ระบบการตรวจจับจุดบอด (BSD)
  • ระบบการควบคุมความเร็วของยานยนต์ (ACC)

 

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ที่ประชุมบอร์ด EV ได้มอบหมายให้บีโอไอร่วมกับกระทรวงการคลัง นำมาตรการนี้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนออกประกาศต่อไป 

 

“รถยนต์ HEV เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ทั้งการผลิตเพื่อการส่งออกและจำหน่ายในประเทศ เพราะสามารถตอบโจทย์ทั้งเรื่องการประหยัดพลังงาน ช่วยลดปัญหาฝุ่นควัน และก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า รัฐบาลเล็งเห็นถึงความสำคัญของกลุ่มรถยนต์ HEV จึงได้ออกมาตรการนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีค่ายรถยนต์สนใจเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 5 ราย”

 

นฤตม์กล่าวอีกว่า มั่นใจว่ามาตรการนี้จะสร้างเม็ดเงินลงทุนต่อเนื่องในช่วง 4 ปีข้างหน้าไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท อีกทั้งจะช่วยเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ รักษาและต่อยอดฐานผู้ผลิตชิ้นส่วนไทย และเพิ่มความเข้มแข็งของไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ครบวงจรระดับโลกด้วย 

 

ปีนี้ 24 แบรนด์ลงทุน EV ในไทยแล้ว 8 หมื่นล้าน

 

นฤตม์ระบุอีกว่า บอร์ด EV ได้สรุปผลของมาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของรัฐบาล ซึ่งบีโอไออนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนโครงการในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งการผลิตยานยนต์ BEV ประเภทต่างๆ แบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำคัญ รวมทั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมมูลค่าเงินลงทุนกว่า 8 หมื่นล้านบาท 

 

ผ่านมาตรการ EV 3.0 และ EV 3.5 โดยกรมสรรพสามิตระบุว่า มีผู้เข้าร่วมมาตรการจำนวน 24 แบรนด์ คิดเป็นจำนวนยานยนต์ทุกประเภทรวมกันกว่า 118,000 คัน สำหรับยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้าแบบ BEV ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 มีจำนวน 37,679 คัน เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียน 13,634 คัน เพิ่มขึ้น 38% โดยขณะนี้มียานยนต์ BEV ทุกประเภทจดทะเบียนสะสมในประเทศไทยรวมทั้งสิ้น 183,236 คัน

 

ด้าน ภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า กรมฯ เร่งผลักดันอุตสาหกรรมไทย – ญี่ปุ่นผ่านนโยบาย ‘RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต’ โดยได้หารือผู้ว่าราชการจังหวัดโทคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น ถึงความร่วมมือส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยจะเน้นผลักดันอุตสาหกรรมศักยภาพสูง เช่น อุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ อุตสาหกรรมยา และการแพทย์

 

โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ไฮบริดอีวี (Hybrid EV: HEV) เพื่อเดินหน้าต่อยอดขยายความร่วมมือ (DIPROM CONNECTION) กับรัฐบาลญี่ปุ่นระดับท้องถิ่น (Local to Local) เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจระหว่างกัน

The post เปิด 4 เงื่อนไขมาตรการหนุนผลิต ‘รถยนต์ไฮบริด’ หลังบอร์ด EV ไฟเขียวลดภาษี 5 ปี คาดดึงค่ายรถลงทุนไทยไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท appeared first on THE STANDARD.

]]>