ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 06 Dec 2023 04:50:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 มะเร็งไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป! ล้วงเคล็ดลับและแนวทางเสริมเกราะป้องกันมะเร็ง โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากเป็นอันดับหนึ่ง [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/ways-to-strengthen-your-defense-against-cancer/ Wed, 06 Dec 2023 04:00:36 +0000 https://thestandard.co/?p=873246

THE STANDARD พาไปพูดคุยกับ ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ […]

The post มะเร็งไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป! ล้วงเคล็ดลับและแนวทางเสริมเกราะป้องกันมะเร็ง โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากเป็นอันดับหนึ่ง [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

THE STANDARD พาไปพูดคุยกับ ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ แพทย์ผู้ชำนาญการที่อยู่ในแวดวงของการรักษาโรคมะเร็งมานานหลายปี

 

นพ.ธีรวุฒิเริ่มต้นสนทนาว่า ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งใน 48 ประเทศ

 

นับวันยิ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2030 คาดการณ์ว่าจะมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นถึง 27 ล้านคน ถือว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากถ้าเทียบจากปี 2020 ที่มีผู้ป่วยใหม่ 19 ล้านคน ขณะที่ผู้ป่วยที่เสียชีวิตในปี 2030 จะอยู่ที่ 17 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2020 ที่มีผู้ป่วยเสียชีวิตประมาณ 10 ล้านคน

 

 

‘มะเร็ง’ โรคร้ายทำคนเสียชีวิตอันดับหนึ่งใน 48 ประเทศ

 

สิ่งที่น่าสนใจคือ โรคมะเร็งเกิดในเอเชียสูงถึง 50% โดยผู้ป่วยรายใหม่มีประมาณ 9.5 ล้านคน ส่วนอัตราการเสียชีวิตมีปีละประมาณ 6 ล้านคนทั่วโลก มะเร็งส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากมีประชากรและผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้น โดย 5 ประเทศในเอเชียที่พบมะเร็งมากที่สุดคือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ซึ่ง 50% ของมะเร็งในเอเชียมาจากประเทศจีนที่มีประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

 

ดูแล้วถือเป็นตัวเลขที่น่ากลัวไม่ใช่น้อย เมื่อเจาะลึกลงถึงสาเหตุที่มะเร็งเกิดในประเทศที่กำลังพัฒนา เนื่องจากมีประชากรและผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการพยาบาล ตลอดจนปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรมีจำกัด ตลอดจนการพบสารปนเปื้อนในอาหาร และผู้คนไม่ให้ความสำคัญกับการป้องกันมะเร็ง โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น

 

คนไทยเสี่ยงเป็นมะเร็งถึง 75%

 

เช่นเดียวกับประเทศไทย จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2020 ไทยมีจำนวนผู้ป่วยเป็นมะเร็งแล้วในรอบ 5 ปี รวม 426,366 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 190,636 คน และมีอัตราผู้ป่วยเสียชีวิต 124,866 คน หรือคิดเป็น 14 คนต่อชั่วโมง

 

WHO คาดการณ์ว่าในปี 2030 จำนวนผู้ป่วยมะเร็งของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 242,623 คน ถึงกระนั้นไทยจัดว่ามีผู้ป่วยมะเร็งมากเป็นอันดับที่ 13 ในเอเชีย และพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งตับที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV และไวรัสตับอักเสบ B ยังมีมากอยู่ และมีผู้เสียชีวิตจากมะเร็งด้วยสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังคือมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้และทวารหนัก เป็นลำดับต้นๆ

 

เรียกได้ว่าตอนนี้คนไทยมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งถึง 16.4% ยกตัวอย่างในจำนวนคนทั้งหมด 6 คนจะเป็นมะเร็ง 1 คน คาดว่าในปี 2030 ในจำนวนคนทั้งหมด 4 คนจะป่วยด้วยโรคมะเร็ง 1 คน และที่น่าตกใจมากกว่านั้นคือ ใน 1 ชั่วโมง จะมีคนเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง 14 คน และมีคนเป็นโรคมะเร็งถึงชั่วโมงละ 22 คน

 

เปิดสาเหตุทำไมผู้ป่วยมะเร็งถึงเพิ่มมากขึ้น

 

หากเจาะลึกลงมาถึงสาเหตุของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบด้วย 5 ปัจจัย เริ่มตั้งแต่

 

1. จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น ในปี 2023 ประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 20% เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจนถึงวัยชรา เซลล์ของเราจะหยุดการเจริญเติบโต กลายเป็นเซลล์ที่เรียกว่าเซลล์ชรา ซึ่งจะถูกกำจัดโดยภูมิคุ้มกันของเรา แต่ถ้าเซลล์ชรานี้ไม่ถูกกำจัดออกไป มันก็จะปล่อยสารที่ก่อให้เกิดโรคต่างในโรคคนชรา รวมถึงโรคมะเร็งด้วย

 

เพราะฉะนั้นถ้าไม่ชราภาพก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งน้อย แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแนวโน้มของมะเร็งในคนอายุน้อยกว่า 50 ปีเพิ่มมากขึ้น จากสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว

 

2. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและมีพฤติกรรมเสี่ยง เริ่มตั้งแต่การใช้ชีวิต การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 22-25% และพบว่าคนไทยอายุมากกว่า 15 ปี สูบบุหรี่มากถึง 20% ซึ่งบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งถึง 14 ชนิด

 

รวมไปถึงรับประทานอาหารกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะอาหารตะวันตก ของหวาน นม อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์ ล้วนเป็นสารก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ ต้องยอมรับว่าปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากการกินเนื้อสัตว์แปรรูป สัตว์เนื้อแดง ทั้งหมู เนื้อ และแกะ ดังนั้นต้องไปกินเนื้อปลาแทน

 

แม้กระทั่งโรคอ้วนก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน เพราะว่า 13 ชนิดของมะเร็งเกิดจากโรคอ้วน วันนี้คนไทยโดยเฉพาะผู้หญิงเป็นโรคอ้วน 44.9% และอีกหนึ่งปัจจัยคือชีวิตครอบครัวที่เปลี่ยนไป เริ่มตั้งแต่คลอดลูกคนแรกเมื่ออายุมาก ตามด้วยการมีลูกน้อยลง ปัจจุบันประชากรโลกกว่า 46% มีลูกต่ำกว่าเกณฑ์ จริงๆ แล้วการคลอดลูก 1 คนนั้นสามารถลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมลงได้ถึง 7%

 

รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็ทำให้ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมลงเช่นเดียวกัน การให้นมลูก 1 ปี จะลดการเป็นมะเร็งเต้านมได้ 4% และอีกหนึ่งปัจจัยคือประจำเดือนครั้งแรกมาเร็วขึ้นอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมในที่สุด

 

3. ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและมลภาวะ โดยเฉพาะ PM2.5 ในสังคมเมือง เป็นสาเหตุของมะเร็งปอดของคนไม่สูบบุหรี่มากขึ้น โรงงานที่ไม่เข้มงวดเรื่องกฎระเบียบ ปล่อยมลภาวะออกมาสู่สังคม และมีการใช้สารปนเปื้อนในอาหารมากขึ้น เป็นต้น

 

4. ความก้าวหน้าทางการแพทย์

 

5. มีการจัดเก็บทะเบียนมะเร็งที่ดีขึ้นกว่าในอดีต

 

แนะเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เสริมเกราะป้องกันมะเร็ง

 

ดังที่กล่าวมาแล้ว ผลการวิจัยพบว่าคนอายุน้อยกว่า 50 ปี มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากขึ้น โดยเฉพาะมะเร็งทางเดินอาหาร ซึ่งมาจากโรคอ้วน ทั้งนี้ มะเร็งในคนอายุน้อยอาจจะเกิดจากพันธุกรรมคือยีนที่ได้รับจากพ่อแม่ และการใช้ชีวิตแบบวัยรุ่น ทั้งการกินอาหารแบบตะวันตก นอนหลับไม่เพียงพอจนทำให้ภูมิตก ทำให้ไมโครไบโอมของร่างกายเปลี่ยนไป

 

“ทั้งหมดล้วนเป็นไมโครไบโอมของมนุษย์ ซึ่งคือชุมชนจุลชีพปกติที่อยู่ในร่างกายคนเกิดความผิดปกติ ทำให้คนอายุน้อยเป็นมะเร็งมากขึ้น เพราะพฤติกรรมชีวิตเปลี่ยน”

 

ดังนั้นเราต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เริ่มจากการวางแผนป้องกันและตรวจคัดกรองอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเป็นและตรวจเจอตั้งแต่ระยะต้นๆ จะได้หาแนวทางรักษา พร้อมกับหันมาให้ความสำคัญเรื่อง Wellness ที่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีและองค์ความรู้เข้ามาช่วยวางแผนการป้องกันได้

 

โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ซึ่งชำนาญการดูแลเรื่องโรคมะเร็ง จึงได้ร่วมมือกับ BDMS Wellness Clinic ซึ่งมีความชำนาญการด้าน Wellness ร่วมจัดทำ Cancer Prevention and Early Detection Program ขึ้น เพื่อช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ภัยร้ายใกล้ตัว

 

หัวใจ Wellness ต้องทำให้ตัวเราเองแข็งแรงที่สุด

 

ด้าน นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร BDMS Wellness Clinic แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกัน และเวชศาสตร์วิถีชีวิต เปิดเผยว่า สิ่งที่สำคัญในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันคือต้องทำตัวเราเองนั้นให้แข็งแรงที่สุด เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็ง

 

 

จริงๆ บางคนอาจคิดว่าโรคมะเร็งเป็นเรื่องไกลตัวหรือเป็นโรคของคนสูงวัย แต่ปัจจุบันมะเร็งไม่เกี่ยวกับสูงวัยหรืออายุน้อย เพราะหากสังเกตดูข้อมูลงานวิจัยในปัจจุบันจะเห็นว่าคนอายุน้อยเริ่มเป็นมะเร็งกันมากขึ้น

 

ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันในวงการแพทย์เราล่วงรู้ความลับในร่างกายมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงทางพันธุกรรม ถ้าเราตรวจและรู้ก่อนก็จะเป็นผลดีในการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่อไป ซึ่งแนวทางป้องกันมะเร็งมี 3 ระดับด้วยกัน เริ่มจาก

 

  1. การป้องกันระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention) เริ่มจากกลุ่มคนที่ยังไม่ได้เป็น ต้องเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หรือเรียกง่ายๆ ว่าเสริมเกราะป้องกันเพื่อต่อสู้โรคมะเร็ง รวมถึงการตรวจคัดกรองสุขภาพ เพิ่มโอกาสในการป้องกันมะเร็ง หรือ Early Detection Cancer

 

  1. ระดับทุติยภูมิ (Secondary Prevention) คือถ้าป้องกันแล้วยังมีโอกาสเป็นมะเร็งอยู่ ก็ต้องไปสู่กระบวนการรักษาให้อาการดีขึ้น ทั้งการให้ยา ตามด้วยทำเคมีบำบัด  ผ่าตัด ฉายแสงให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไประยะสุดท้าย

 

  1. ระดับตติยภูมิ (Tertiary Prevention) เป็นการดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็งเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

และทั้ง 3 ระดับกำลังจะกลายเป็นโครงการที่ทำร่วมกันระหว่าง BDMS Wellness Clinic กับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งจากโรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ

 

พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และไลฟ์สไตล์ ตัวแปรสำคัญของโรคร้าย

 

สรุปได้ว่าในยามที่คนเราแก่ชรา เจ็บป่วย หรือเป็นโรคต่างๆ จนกระทั่งเสียชีวิต มักจะเกิดขึ้นจากปัจจัยหลักๆ 3 อย่าง คือ รหัสพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ซึ่งไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่เราสามารถกำหนดเองได้

 

“แน่นอนว่าเราอาจจะเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมไม่ได้ แต่ถ้าเรารู้ได้ก่อน เราก็จะวางแผนการใช้ชีวิตได้ดีขึ้น เช่น ทุกคนรู้ว่าการสูบบุหรี่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย แต่บางคนเลือกที่จะสูบ เพราะคิดว่าความอันตรายน่าจะยังไม่มาถึงตัว แต่เมื่อไปตรวจรหัสพันธุกรรม และพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงด้านมะเร็งปอด เราก็อาจจะปรับมุมมองใหม่ และไม่อยากสูบบุหรี่ในที่สุด”

 

ดังนั้นการที่เรามาจับมือกันกับทีมของ ศ.พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ เป็นการช่วยกันรณรงค์ให้ประชาชนทุกคนไม่ควรรอให้ครอบครัวหรือตัวเราเป็นมะเร็งก่อนแล้วค่อยมาพบแพทย์ ควรเริ่มต้นดูแลสุขภาพก่อน เพราะการป้องกันย่อมดีกว่าการป่วยแล้วค่อยมารักษาอยู่แล้ว

 

 

และอีกหนึ่งปัจจัยที่น่าเป็นห่วงก็คือ โลกเราได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society เมื่อคนอายุเกิน 60 ปีเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2566 ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี จำนวนเกิน 20%) และอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้าจะเข้าสู่ขั้นสูงสุด (ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี จำนวนเกิน 28%) เมื่อคนสูงอายุมีมากขึ้น นั่นแปลว่าจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเป็นมะเร็งมากขึ้นนั่นเอง

 

เปิด 5 เคล็ดลับป้องกันมะเร็ง

 

สำหรับ 5 เคล็ดลับที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง รวมถึงโรคอื่นๆ เริ่มจาก

 

  1. อย่าอดนอน จากงานวิจัยจาก The China Health and Retirement Longitudinal Study พบว่า คนที่นอนในช่วงกลางคืนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง เสี่ยงเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 41% ซึ่งมากกว่าคนที่นอน 6-8 ชั่วโมง

 

หากมีเวลาช่วงระหว่างวันให้นอนงีบ (Power Nap) เพราะผลจากการสำรวจพบว่า คนที่ไม่งีบหลับระหว่างวันก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าเมื่อเทียบกับคนที่งีบหลับประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน

 

ทั้งนี้ การนอนมีส่วนช่วยให้ระดับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น แต่การนอน ต้องเป็นการนอนหลับสนิทด้วย เพราะจากการศึกษาใน English Longitudinal Study of Ageing พบว่า คนที่มีคุณภาพการนอนที่ไม่ดี นอนหลับไม่ลึก มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับคนที่นอนหลับสนิท

 

  1. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและอย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วน องค์การระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยมะเร็ง (IARC) ระบุว่า เนื้อสัตว์แปรรูป (Processed Meat) เช่น ไส้กรอก ซาลามี แฮม เบคอน เป็นสารก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่ง นพ.ตนุพล แนะนำให้ปรับมารับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของไฟเบอร์ เช่น ผัก ธัญพืช และผลไม้ หรือ Plant-based Diet ให้มากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคเหล่านี้

 

ไม่เว้นแม้แต่โรคอ้วน ปัจจุบันคนไทยมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนสูงถึง 47% และจัดอยู่ในอันดับต้นๆ ในอาเซียน แสดงว่าคนไทยเกือบครึ่งอยู่ในภาวะน้ำหนักเกิน ร่างกายสะสมไขมันส่วนเกินเอาไว้ ทำให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายเสื่อมลง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งหลายชนิด ทั้งมะเร็งเต้านม มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับ และมีโอกาสเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นจึงต้องปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การรับประทานอาหาร

 

  1. ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ผสมกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้ เนื่องจากช่วยป้องกันโรคอ้วน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น ลดการสัมผัสสารพิษในทางเดินอาหาร เพราะอาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ดี

 

  1. ให้เลี่ยงสารอันตราย ทั้งการสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ และมลภาวะฝุ่น PM2.5 เพราะแอลกอฮอล์สร้างความเสียหายต่อทางเดินอาหาร และหยุดไม่ให้เซลล์ซ่อมแซมตัวเอง อีกทั้งการสูบบุหรี่ที่เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปอด อีกด้านหนึ่งเรายังพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดบางคนไม่ได้สูบบุหรี่ แต่เกิดขึ้นจากการสัมผัสกับมลภาวะของสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น ฝุ่น PM2.5 รวมถึงการเผาไหม้ มลภาวะทางอากาศ ควันจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม และการสูดดมควันบุหรี่จากคนอื่น ก็กลายเป็นสารก่อมะเร็งปอดได้เช่นกัน แม้การหลีกเลี่ยงมลภาวะต่างๆ จะทำได้ค่อนข้างยาก แต่การลองหาเวลาว่างไปสูดอากาศบริสุทธิ์บ้างก็มีส่วนช่วยเช่นกัน

 

  1. พยายามอย่าเครียด เพราะโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลต่างเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ไม่เพียงแต่มะเร็งเท่านั้น แต่รวมไปถึงหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม

 

สอดคล้องกับการศึกษาในประเทศเยอรมนีที่ตีพิมพ์ในวารสาร Brain Sciences พบว่าคนที่มีอาการซึมเศร้ามีความเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 18% ความเสี่ยงเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับการหดสั้นลงของเทโลเมียร์ ที่ทำหน้าที่เหมือนปลอกหุ้มปลายสายดีเอ็นเอ ปกป้องดีเอ็นเอไม่ให้ถูกทำลาย มีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America ปี พ.ศ. 2547 ชี้ให้เห็นว่าคนที่เครียดมีอายุเซลล์แก่กว่าคนที่ไม่เครียดถึง 11 ปี เพราะเซลล์ที่แก่ลงก็หมายถึงโอกาสการเกิดโรคที่สูงขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้หลายชนิด

 

“สุดท้ายแม้ว่าเรายังไม่ชนะศึกในการต่อสู้กับโรคมะเร็งในวันนี้ แต่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้เรามีความหวังที่จะช่วยเสริมเกราะป้องกันต่อสู้โรคมะเร็งให้กับประชาชน และจะช่วยลดอัตราการตายให้น้อยลงได้ในอนาคต ทั้งหมดล้วนเป็นเป้าหมายที่โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ ผู้เชี่ยวชาญการรักษาโรคมะเร็ง และ BDMS Wellness Clinic ที่มีความชำนาญการด้านเวชศาสตร์ป้องกันและดูแลสุขภาพ ได้จับมือกันเพื่อต่อสู้กับสงครามมะเร็งที่ลุกลามไปทั่วโลก”

The post มะเร็งไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป! ล้วงเคล็ดลับและแนวทางเสริมเกราะป้องกันมะเร็ง โรคร้ายที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากเป็นอันดับหนึ่ง [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>