ธนาคารรัฐ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 02 May 2024 13:21:37 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 แบงก์รัฐ-เอกชนทยอยลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคำขอนายกฯ นักวิเคราะห์เชื่อ ไร้ผลกระทบต่อกำไร https://thestandard.co/thai-banks-cut-rates-0-25-pct-after-pm-request/ Thu, 02 May 2024 13:21:00 +0000 https://thestandard.co/?p=929342

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายก […]

The post แบงก์รัฐ-เอกชนทยอยลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคำขอนายกฯ นักวิเคราะห์เชื่อ ไร้ผลกระทบต่อกำไร appeared first on THE STANDARD.

]]>

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เชิญผู้บริหาร 4 ธนาคารใหญ่เข้าหารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง 

 

ภายหลังการหารือดังกล่าว นำมาซึ่งการประชุมของ ‘สมาคมธนาคารไทย’ ที่มีมติลดดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% เพื่อช่วยลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคลและ SMEs เป็นเวลา 6 เดือน แม้ว่าการประชุมครั้งล่าสุด (10 เมษายน) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.50% ต่อปี 

 

นับจากวันที่สมาคมธนาคารไทยมีมติว่าจะลดดอกเบี้ยต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (2 พฤษภาคม) ปรากฏว่า มีธนาคารทั้งที่เป็นของรัฐบาลและธนาคารพาณิชย์เอกชนทั้งหมด 12 แห่งที่ประกาศลดดอกเบี้ยแล้ว  

 

ตฤณ สิทธิสวัสดิ์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) กล่าวว่า ผลกระทบต่อกำไรของแต่ละแบงก์น่าจะค่อนข้างจำกัด แม้ว่าการให้ความช่วยเหลือของบางแบงก์จะมากกว่าที่ตลาดเคยคาดการณ์ไว้ 

 

“เดิมทีตลาดคาดว่าจะเห็นการลดดอกเบี้ยเฉพาะ MRR แต่บางแบงก์ตัดสินใจลดดอกเบี้ยในส่วนอื่นด้วย รวมทั้งการที่บางแบงก์ลดดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกกลุ่มนอกเหนือจากกลุ่มเปราะบาง” 

 

อย่างเช่น กรณีของธนาคารกรุงเทพ แม้จะลดดอกเบี้ยทั้งพอร์ตของลูกค้ารายย่อย แต่ลูกค้ารายย่อยคิดเป็นเพียง 10% ของยอดปล่อยสินเชื่อทั้งหมด จึงกระทบต่อกำไรไม่ถึง 1% 

 

ส่วนธนาคารกรุงไทยที่ลดดอกเบี้ยทั้งในส่วนของ MRR, MLR และ MOR แต่จำกัดแค่ลูกหนี้รายย่อยที่อยู่ในมาตรการช่วยเหลือ คิดเป็นวงเงินสินเชื่อราว 2 แสนล้านบาท ทำให้ผลกระทบต่อกำไรคิดเป็นเพียงประมาณ 250 ล้านบาท หรือราว 0.7% ของประมาณการกำไรปีนี้ 

 

ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์และกสิกรไทยที่เน้นช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง วงเงินสินเชื่อราว 80,000-100,000 ล้านบาท ทำให้ผลกระทบต่อกำไรจะน้อยกว่า 250 ล้านบาท 

 

“ในแง่พื้นฐานของแต่ละแบงก์ไม่ได้กระทบมากนัก และในมุมกลับกันยังช่วยให้การตั้งสำรองของแต่ละแบงก์ลดลง ช่วยชดเชยรายได้ดอกเบี้ยที่หายไป” 

 

ส่วนแนวโน้มกำไรของกลุ่มแบงก์ในปีนี้ หลังจากที่ไตรมาส 1 ทำได้ราว 6.39 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.5% จากปีก่อน ตฤณกล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มกำไรในไตรมาส 2 น่าจะเติบโตทั้งจากไตรมาสแรกและจากปีก่อน หลังจากที่บางแบงก์ตั้งสำรองไปค่อนข้างสูงในไตรมาสแรก ขณะเดียวกันเงินปันผลจากเงินลงทุนของแบงก์ส่วนมากจะเข้ามาในช่วงไตรมาส 2 

 

ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ KKP Research บล.เกียรตินาคินภัทร เปิดเผยว่า การตัดสินใจลดดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารต่างๆ สะท้อนว่าธนาคารน่าจะเล็งเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในเวลานี้คือ การลดภาระระยะสั้นให้กับลูกหนี้ 

 

“ส่วนผลกระทบต่อธนาคารต่างๆ อาจจะมีบ้างแต่ไม่มากนัก เพราะไม่ใช่การลดดอกเบี้ยสำหรับพอร์ตสินเชื่อทั้งหมด” 

 

 

แบงก์รัฐ-เอกชนขานรับนายกฯ แห่ลดดอกเบี้ย 0.25% ช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าเปราะบางเป็นเวลา 6 เดือน นักวิเคราะห์ประเมินผลกระทบน้อยมากเมื่อเทียบกับประมาณการกำไรของหุ้นกลุ่มธนาคารในปีนี้ 

The post แบงก์รัฐ-เอกชนทยอยลดดอกเบี้ย 0.25% ตามคำขอนายกฯ นักวิเคราะห์เชื่อ ไร้ผลกระทบต่อกำไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ พร้อมอัปเกรดระบบความปลอดภัยตามเกณฑ์ใหม่แบงก์ชาติ เล็งตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัยและบัญชีม้า https://thestandard.co/tba-gfa-security-upgrade/ Fri, 10 Mar 2023 06:02:39 +0000 https://thestandard.co/?p=760966 แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ

สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมอัปเกรด […]

The post แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ พร้อมอัปเกรดระบบความปลอดภัยตามเกณฑ์ใหม่แบงก์ชาติ เล็งตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัยและบัญชีม้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ

สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ พร้อมอัปเกรดมาตรฐานความปลอดภัยด้านไซเบอร์ตามเกณฑ์ใหม่แบงก์ชาติ มั่นใจระบบยืนยันตัวตนแบบ Biometrics พร้อมใช้งานตามไทม์ไลน์ เล็งพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทุจริตในภาคธนาคารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชี ธุรกรรมต้องสงสัย และบัญชีม้า

 

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกันในการดูแลการทำธุรกรรมทางการเงินตลอดเส้นทาง ทั้งการป้องกัน การตรวจจับ และการตอบสนองและรับมือ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาให้ประชาชนทำได้รวดเร็วและครอบคลุมมากขึ้น 

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับระบบการชำระเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า ธปท. ในฐานะผู้กำกับดูแล ให้ความสำคัญและไม่นิ่งนอนใจกับปัญหาภัยทางการเงินที่ประชาชนถูกหลอกลวง จึงได้ยกระดับให้เรื่องนี้เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ทุกสถาบันการเงินจะต้องดูแลและบริหารจัดการอย่างจริงจัง โดย ธปท. ได้ออกชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน เพื่อช่วยให้ระบบการเงินมีความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการทางการเงิน และเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว 

 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา ธปท. ได้เชิญผู้บริหารของสถาบันการเงินเข้าร่วมประชุมหารือและกำชับให้สถาบันการเงินทุกแห่งเร่งดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว และเตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานตาม พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสถาบันการเงินทุกแห่ง

 

ผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ตระหนักถึงผลกระทบของภัยคุกคามทางการเงินที่ทวีความรุนแรง พร้อมยกระดับความปลอดภัยของภาคธนาคาร เพื่อรับมือและจัดการภัยทางการเงินออนไลน์ ตามแนวทางการจัดการภัยทุจริตทางการเงินที่ได้มีการหารือร่วมกับทาง ธปท. ให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ 

 

1. การป้องกัน ภาคธนาคารได้ร่วมมือกันงดการส่งข้อความ SMS ที่แนบลิงก์ในการติดต่อกับลูกค้าในระยะนี้ และเร่งพัฒนาระบบป้องกันการทำธุรกรรมทุจริตอย่างต่อเนื่อง 

 

2. การตรวจจับ ธนาคารสมาชิกอยู่ระหว่างนำเทคโนโลยีมาช่วยตรวจจับธุรกรรมต้องสงสัยให้ได้โดยเร็ว โดยร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทุจริตในภาคธนาคาร (Central Fraud Registry) เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลบัญชี ธุรกรรมต้องสงสัย และบัญชีม้า ระหว่างธนาคารเพื่อดำเนินการติดตามป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น 

 

3. การตอบสนองและรับมือ ได้จัดให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotline) 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน ลูกค้าที่ตกเป็นเหยื่อสามารถแจ้งเหตุได้โดยตรง ปัจจุบันมีธนาคารสมาชิกหลายแห่งเริ่มดำเนินการแล้ว

 

สำหรับมาตรการอื่นที่ระบบมีความซับซ้อนต้องใช้เวลาพัฒนา สมาคมฯ และธนาคารสมาชิก จะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จทันตามกรอบเวลา นอกจากนี้ยังพร้อมร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ให้บริการ E-Wallet ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทุจริตภัยการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมทั้งระบบนิเวศแบบ End to End ที่มิจฉาชีพชอบใช้หลอกลวง

 

“ความปลอดภัยและความมั่นใจเป็นหัวใจของธุรกิจธนาคาร การลงทุนเพื่อพัฒนาเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับธนาคาร แม้จะต้องใช้เม็ดเงินเพิ่มขึ้นแต่ก็คุ้มค่ากับความเสียหายที่ลดลง ปัจจุบันทุกธนาคารได้เร่งลงทุนเรื่องนี้อยู่เพื่อให้ทันตามกรอบเวลาของ ธปท.” ผยงกล่าว

 

เข้มแนวทางปกป้องลูกค้ารายย่อย

ฉัตรชัย ศิริไล ประธานสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ กล่าวว่า เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของสถาบันการเงินของรัฐส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายย่อย ซึ่งมีความเสี่ยงถูกหลอกลวง การดูแลความปลอดภัยในการใช้บริการทางการเงินให้กับลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ สมาคมฯ และสถาบันการเงินสมาชิกพร้อมให้ความร่วมมือกับ ธปท. และสมาคมธนาคารไทยในการจัดการเรื่องดังกล่าว

 

ที่ผ่านมาสถาบันการเงินสมาชิกหลายแห่งได้มีแนวทางการป้องกันภัยทุจริตทางการเงินต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะการออกประกาศเตือนการไม่ส่งลิงก์ต่างๆ ให้กับลูกค้าและประชาชน และการเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุภัยทางการเงิน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกหลอกลวงแล้ว ยังสามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากการร้องเรียนมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางและพัฒนาระบบการป้องกันภัยทุจริตทางการเงินที่จะเกิดในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

ในครั้งนี้ สมาคมฯ และสถาบันการเงินสมาชิกจะร่วมมือเร่งยกระดับการดำเนินการตามมาตรการของ ธปท. ให้ได้ตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน เพราะภัยทุจริตมีความหลากหลายและเปลี่ยนแปลงเร็ว ขณะเดียวกันยังคงเดินหน้าให้ความรู้ความเข้าใจ และเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชน ให้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ และยังพร้อมร่วมมือกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

 

ทั้งนี้ ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ มุ่งหวังว่ามาตรการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการร่วมกัน ทั้งที่มีผลแล้วและที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จะช่วยยกระดับการจัดการภัยทางการเงินของสถาบันการเงินได้อย่างเท่าทัน มีประสิทธิภาพ และครบวงจร เพื่อป้องกันความเสียหายและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน นอกจากนี้ ภาคธนาคารและสถาบันการเงินของรัฐยังอยู่ระหว่างการเร่งเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาได้ครอบคลุมขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยบทบาทของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างบูรณาการ 

The post แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ พร้อมอัปเกรดระบบความปลอดภัยตามเกณฑ์ใหม่แบงก์ชาติ เล็งตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลธุรกรรมต้องสงสัยและบัญชีม้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่องแบงก์รัฐ-พาณิชย์ ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ เท่าไรกันบ้าง? หลัง กนง. ประชุมนัดแรกของปี 2566 https://thestandard.co/bank-loan-interest-info/ Mon, 30 Jan 2023 06:39:08 +0000 https://thestandard.co/?p=743600

แบงก์รัฐและแบงก์พาณิชย์แห่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ […]

The post ส่องแบงก์รัฐ-พาณิชย์ ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ เท่าไรกันบ้าง? หลัง กนง. ประชุมนัดแรกของปี 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>

แบงก์รัฐและแบงก์พาณิชย์แห่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 1.50% ต่อปี ในการประชุมนัดแรกของปีนี้ เพื่อให้สอดคล้องการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสถานการณ์การระบาดที่คลี่คลายลง

 

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ แบงก์รัฐหลายแห่งต่างประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยตามเป็นครั้งแรกในรอบการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ แม้ว่าเมื่อปีก่อนได้ให้คำมั่นว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้เพื่อให้ลูกค้ามีเวลาปรับตัวและรักษากำลังซื้อเอาไว้

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 


 

โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ถือเป็นแบงก์รัฐรายแรกๆ ที่ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท 0.25% ต่อปี และนับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เป็นครั้งแรกของ ธอส. ในรอบ 2 ปี 9 เดือนด้วย ตามมาด้วยธนาคารรายอื่นๆ ทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

 

ด้านแบงก์พาณิชย์ก็ยืนยันว่า การขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ได้ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อย ‘น้อยกว่า’ ลูกค้ารายใหญ่ สะท้อนความกังวลคุณภาพหนี้กลุ่มลูกค้ารายย่อยและผู้ประกอบการรายเล็ก

 

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

The post ส่องแบงก์รัฐ-พาณิชย์ ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ เท่าไรกันบ้าง? หลัง กนง. ประชุมนัดแรกของปี 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์รัฐเตรียม ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ เงินกู้ ภายในไตรมาสแรกปีนี้ https://thestandard.co/bank-raise-interest/ Fri, 20 Jan 2023 07:23:12 +0000 https://thestandard.co/?p=739768

แบงก์รัฐเตรียมทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายในไตรม […]

The post แบงก์รัฐเตรียม ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ เงินกู้ ภายในไตรมาสแรกปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

แบงก์รัฐเตรียมทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ หลังจากปีก่อนพยายามตรึงไว้ให้นานที่สุด แม้ กนง. ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา

 

วันนี้ (20 มกราคม) ฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ระบุว่า ธนาคารภายใต้การกำกับดูแลของรัฐเตรียมทยอยขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายในไตรมาสแรกของปี 2566 แต่จะปรับขึ้นในอัตราที่ไม่สูงมาก โดยเต็มที่อาจจะปรับขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่ปรับขึ้นไปแล้ว เพื่อไม่ให้ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยของแบงก์รัฐและแบงก์พาณิชย์สูงจนเกินไป

 

ก่อนหน้านี้ธนาคารของรัฐต่างๆ ได้ให้คำมั่นว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ให้นานที่สุด เพื่อช่วยประชาชนปรับตัว และรักษาระดับกำลังซื้อไว้

 

หลังจากในปี 2565 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปถึง 3 ครั้ง จากระดับ 0.50% ในช่วงต้นปี ไปสู่ระดับ 1.25% ในการประชุมเดือนพฤศจิกายน 2565

 

ทั้งนี้ กนง. มีกำหนดแถลงผลประชุม กนง. ครั้งถัดไป ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

The post แบงก์รัฐเตรียม ‘ขึ้นดอกเบี้ย’ เงินกู้ ภายในไตรมาสแรกปีนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ’ แห่ออกแคมเปญพิเศษ ‘ล่าเงินฝาก’ ปรับดอกเบี้ยขึ้นตั้งแต่ 0.36-1.00% รองรับสินเชื่อขยายตัว https://thestandard.co/bank-special-campaign/ Mon, 21 Nov 2022 09:37:05 +0000 https://thestandard.co/?p=713014

หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอ […]

The post ‘แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ’ แห่ออกแคมเปญพิเศษ ‘ล่าเงินฝาก’ ปรับดอกเบี้ยขึ้นตั้งแต่ 0.36-1.00% รองรับสินเชื่อขยายตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่รอบการประชุมเดือนสิงหาคมและกันยายน 2565 ครั้งละ 0.25% รวมเป็น 0.50% ทำให้ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยืนอยู่ที่ 1.00% นั้น ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยตามทันทีในระยะแรกๆ อย่างไรก็ดี ในเดือนตุลาคม 2565 การปรับอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์เริ่มหนาตามากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ทั้งธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 

 

ล่าสุด ผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า จำนวนแคมเปญเงินฝากพิเศษในตลาดเริ่มหนาตาขึ้นตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยแคมเปญเงินฝากพิเศษออกใหม่ของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวมกันแล้วมีจำนวนสูงกว่า 20 แคมเปญ ส่วนใหญ่เป็นการออกแคมเปญของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นหลัก แม้ว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นการออกเพื่อชดเชยโครงการ/แคมเปญเงินฝากที่ครบกำหนดหรือเตรียมจะครบกำหนด แต่เมื่อหักปัจจัยดังกล่าวแล้วก็ยังพบว่ามีสัญญาณการออกแคมเปญเงินฝากที่เร่งตัวขึ้น

 

ศูนย์วิจัยฯ ระบุว่า ภาพการเร่งขึ้นของจำนวนแคมเปญเงินฝากออกใหม่สุทธิทยอยปรากฏขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 สอดคล้องกับการเร่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ ขณะที่จำนวนแคมเปญเงินฝากออกใหม่สุทธิขยับขึ้นจากประมาณ 6-7 แคมเปญในเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2565 มาที่ประมาณ 18 แคมเปญในเดือนตุลาคม 2565 นอกจากนี้แคมเปญที่ออกใหม่ในเดือนตุลาคม 2565 ยังนำเสนออัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าเดิมประมาณ 0.36-1.00% เมื่อเทียบกับแคมเปญที่ออกในช่วงเดือนมิถุนายน 2565

 

โดยสำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่จะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์สำหรับบุคคลธรรมดาประมาณ 0.20% จากธนาคารพาณิชย์เพียงหนึ่งแห่ง ขณะเดียวกันก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 3-36 เดือนในกรอบประมาณ 0.10-0.75% นอกจากนี้ยังมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของฝั่งลูกค้านิติบุคคลในเดือนตุลาคมเช่นกัน โดยมีการปรับขึ้นประมาณ 0.05-0.18% สำหรับเงินฝากออมทรัพย์ และประมาณ 0.10-0.83% สำหรับเงินฝากประจำประเภท 3-36 เดือน

 

ทั้งนี้ การแข่งขันด้านราคาเงินฝากที่เริ่มปรากฏชัดเจนขึ้นมาจากหลายสาเหตุ เช่น

 

  1. การส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องของ กนง.

 

  1. ทิศทางสินเชื่อที่ยังรักษาโมเมนตัมการขยายตัว โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 สินเชื่อขยายตัว 5.0%YoY แม้จะชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัว 6.0% ณ สิ้นปี 2564 แต่ก็เป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าอัตราการเติบโตของเงินฝาก    

 

  1. ปริมาณสภาพคล่องส่วนเกินที่ทยอยลดลง ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่ปรับขึ้นจาก 93.0% ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 มาที่ 95.0% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 นอกจากนี้สัดส่วนสินทรัพย์สภาพคล่อง (% LCR) และปริมาณสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนเกิน (จากประมาณการกระแสเงินสดไหลออกในระยะ 30 วัน) ได้ทยอยปรับตัวลดลงตั้งแต่ช่วงประมาณกลางปี 2565 โดยสาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการปรับพอร์ตการลงทุนในตราสารหนี้และการปรับลดลงของมูลค่าตราสารหนี้ที่ถือครองตามราคาตลาด (Mark to Market) ในช่วงที่อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยปรับสูงขึ้น ประกอบกับผู้ฝากเงินอาจมีการปรับเปลี่ยนการออมเงินในรูปเงินฝากบางส่วนไปลงทุนในหุ้นกู้ 

 

  1. การออกแคมเปญเพื่อรักษาฐานลูกค้าเงินฝากกลุ่มต่างๆ ตามนโยบายของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง โดยมีการออกแคมเปญเงินฝากระยะยาวที่อัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นในลักษณะขั้นบันไดสำหรับรองรับวัยเกษียณ หรือรับดอกเบี้ยเงินฝากคืนในลักษณะรายเดือน แคมเปญเงินฝากปลอดภาษี รวมถึงโครงการเงินฝากพิเศษสำหรับกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง และแคมเปญเงินฝากประจำพิเศษที่ฝากสม่ำเสมอเป็นรายเดือน เพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมการออมที่สม่ำเสมอ เป็นต้น

 

ศูนย์วิจัยฯ ระบุอีกว่า หากมองไปข้างหน้า แม้เงินฝากจะไม่ได้เติบโตในอัตราเร่ง แต่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากน่าจะปรับสูงขึ้นในลักษณะที่ชันขึ้นอีก โดยมาจากแรงส่งทั้งการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายและอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ (ก่อนกำหนดการปรับเพิ่มอัตรานำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ อีก 0.23% ในช่วงต้นปี 2566) ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับขึ้นมากกว่า 0.50% ภายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566

  

ส่วนประมาณการเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ ณ สิ้นปี 2565 นี้ คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.5-3.7% (เทียบกับ 4.0% ณ สิ้นปี 2564 และ 3.6% ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565) ก่อนที่จะขยับขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ในกรอบประมาณ 4.0-5.5% ในปี 2566 ตามทิศทางเศรษฐกิจที่น่าจะทยอยฟื้นตัวและการเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเติบโตของสินเชื่อ 

 

สำหรับผู้มีเงินออม ราคาหรืออัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่เพิ่มขึ้น รวมถึงแคมเปญเงินฝากที่ทยอยออกมามากขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงปลายปี คงทำให้ผู้มีเงินออมที่รับความเสี่ยงได้น้อยมีทางเลือกในการออมเงินที่ให้ผลตอบแทนดีขึ้น หรือมีผลิตภัณฑ์ที่ให้ผลตอบแทนถี่ขึ้นกว่ารายครึ่งปี อันอาจช่วยตอบโจทย์การนำดอกผลไปใช้จ่าย เพื่อดำรงชีวิตประจำวันได้ดีขึ้นกว่าเดิม 

 

อย่างไรก็ดี ด้วยเงินเฟ้อที่คาดว่าจะมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า 2.5% ในปีหน้า ก็ยังทำให้การออมในรูปของเงินฝาก โดยเฉพาะเงินฝากระยะสั้น ยังให้ผลตอบแทนที่ติดลบ ดังนั้นผู้มีเงินออมที่สามารถรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงอาจพิจารณากระจายการลงทุนไปสินทรัพย์อื่นๆ เช่น กองทุนรวม ตราสารหนี้ หรือแม้กระทั่งตราสารทุน เพื่อให้ได้ส่วนผสมของพอร์ตการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนโดยรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งย้ำอีกครั้งว่า การที่จะได้ผลตอบแทนและความเสี่ยงจากการลงทุนตามที่คาดหวังได้ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อนักลงทุนได้ศึกษาและเข้าใจความเสี่ยงและบริบทเฉพาะของสินทรัพย์นั้นๆ อย่างรอบคอบแล้ว

 

สำหรับธนาคารพาณิชย์นั้นคงต้องบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินที่ปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่การส่งผ่านต้นทุนดังกล่าวนี้ไปยังการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้มากน้อยเพียงใดนั้นคงขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจ ความพร้อมของลูกค้า และการเติบโตของธุรกิจหลัก อย่างเช่น เงินให้สินเชื่อ เป็นสำคัญ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

 

The post ‘แบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ’ แห่ออกแคมเปญพิเศษ ‘ล่าเงินฝาก’ ปรับดอกเบี้ยขึ้นตั้งแต่ 0.36-1.00% รองรับสินเชื่อขยายตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>