ทิม ลีฬหะพันธุ์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 06 Jun 2024 12:29:42 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ต่างชาติ ‘จับตา’ ปมรัฐบาลพยายามคุมแบงก์ชาติ หวั่นกดดันเงินบาททรุด https://thestandard.co/government-trying-to-control-bot/ Thu, 06 Jun 2024 12:29:42 +0000 https://thestandard.co/?p=942223

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ หลังมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลไทยพยายามคุมแ […]

The post ต่างชาติ ‘จับตา’ ปมรัฐบาลพยายามคุมแบงก์ชาติ หวั่นกดดันเงินบาททรุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

นักเศรษฐศาสตร์ชี้ หลังมีกระแสข่าวว่ารัฐบาลไทยพยายามคุมแบงก์ชาติผ่านการส่งคนนั่งตำแหน่งบอร์ด ธปท. เงินบาทก็อ่อนค่าอย่างรวดเร็ว เหตุหวั่นรัฐบาลแทรกแซงดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมองว่า นักลงทุนต่างชาติยังให้น้ำหนักกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไทยมากกว่าความขัดแย้งดังกล่าว

 

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวกับ THE STANDARD WEALTH ว่า กรณีกระแสข่าวที่สื่อต่างประเทศรายงานข่าวว่ารัฐบาลไทยพยายามหาทางควบคุมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มากขึ้น ได้ส่งผลกดดันให้ค่าเงินบาทในวันเดียวกัน ช่วงเวลาประมาณ 12.00 น. อ่อนค่าลงทันทีจากระดับ 36.50 บาท อ่อนค่าไปสู่ระดับ 36.70 บาท เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติประเทศมีความกังวลและตกใจจากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น ว่าอาจเป็นปัจจัยที่จะเข้าสร้างแรงกดดันต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการลดดอกเบี้ยนโยบาย

 

อย่างไรก็ดีความเห็นจากตัวแทนของรัฐบาลไทยที่ออกมายังไม่ได้ออกมายืนยันข้อมูลว่าเป็นจริงหรือไม่ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มคลายกังวลลง ทำให้ค่าเงินบาทเริ่มทรงตัวได้ 

 

ทั้งนี้ยังต้องติดตามต่อว่า ปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธปท. คนปัจจุบัน กำลังจะสิ้นสุดวาระดำรงตำแหน่งในเดือนกันยายนนี้ จะมีการแต่งตั้งบุคคลใดเข้ามารับตำแหน่งแทน

 

“เรื่องความเห็นของนโยบายการเงินที่ไม่ตรงกันระหว่างแบงก์ชาติกับรัฐบาลก็มี Noise มาเรื่อยๆ เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวว่ารัฐบาลต้องการขยายกรอบเป้าหมายของเงินเฟ้อ ล่าสุดก็เรื่องการตั้งประธานกรรมการ ธปท.คนใหม่ รวมถึงนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ส่วนใหญ่ไทม์ไลน์น่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปีนี้” ดร.ทิม กล่าว

 

ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (YTD) เงินบาทอ่อนค่าไปแล้วกว่า 6.7% เคลื่อนไหวอยู่ที่ราว 36.4236.60 บาทต่อดอลลาร์ในวันนี้ (6 มิถุนายน)

 

ตลท. เชื่อ ต่างชาติเทน้ำหนักไปที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

 

ส่วน ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) มองว่า ความเห็นที่ไม่ตรงกันในประเด็นการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของภาครัฐบาลกับ ธปท. สถานการณ์ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอยู่ที่ระดับ 2.5% ถือว่าต่ำมาก ดังนั้นทั้งการปรับขึ้นหรือลงจากปัจจุบัน มองว่าจะไม่มีผลกระทบต่อตลาดหุ้นที่มากนัก หากเปรียบกับในช่วงที่มีภาวะดอกเบี้ยที่สูง 

 

ดังนั้นความขัดแย้งหรือความเห็นที่ไม่ตรงของรัฐบาลกับ ธปท. ที่จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติจะมีน้ำหนักที่น้อยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับประเด็นการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่กำลังอยู่ในช่วงแนวโน้มฟื้นตัวที่ดีขึ้น

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า ฝ่ายบริหารของ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กำลังหารือถึงแนวทางที่จะใช้อำนาจควบคุมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มากขึ้น หลังก่อนหน้านี้มีความเห็นไม่ตรงกันต่อนโยบายเศรษฐกิจหลายนโยบาย ตัวอย่างเช่น การกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และโครงการดิจิทัลวอลเล็ต

 

โดยหนึ่งในแผนการคือ การนำคนที่มีสายสัมพันธ์กับพรรคเพื่อไทยเข้าไปนั่งเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งแม้ตำแหน่งนี้จะไม่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายทางการเงิน แต่ก็สามารถประเมินการทำงานของผู้ว่าการ ธปท. รวมถึงสามารถเสนอชื่อผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการนโยบายการเงินได้

 

เนื่องจาก ปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย กำลังจะหมดวาระในเดือนกันยายนนี้ หลังได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งเป็นรัฐบาลเดียวกันที่แต่งตั้ง เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ เป็นผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบัน ที่จะดำรงตำแหน่งครบวาระในเดือนกันยายนปี 2568

 

Bloomberg รายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่ไม่ประสงค์เปิดเผยตัวตนว่า กิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง และปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และ ศุภวุฒิ สายเชื้อ อดีตที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ล้วนเป็นผู้ที่อยู่ในการพิจารณารับตำแหน่งประธานบอร์ด ธปท.

 

ขณะที่ ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวกับ Bloomberg ว่าไม่สามารถให้ความเห็นเรื่องนี้ได้ เนื่องจากไม่ทราบถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าว ส่วนกิตติรัตน์และศุภวุฒิก็ไม่ได้ตอบรับการขอความเห็นในช่วงเวลาที่รายงานข่าวนี้

 

แบงก์ชาติปัดตอบปมสรรหาประธานบอร์ด

 

ขณะที่วันนี้ (6 มิถุนายน) รณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตอบคำถามผู้สื่อข่าวในงาน UNLOCK ESG VALUE FOR BUSINESS SUCCESS ซึ่งจัดโดยสำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติ   

 

โดยระบุว่า ตนไม่สามารถตอบเรื่องนี้ได้ เนื่องจากเป็นขั้นตอนของกระทรวงการคลังที่ต้องเริ่มกระบวนการสรรหา ซึ่งขั้นตอนนี้ ธปท. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

อ้างอิง:

The post ต่างชาติ ‘จับตา’ ปมรัฐบาลพยายามคุมแบงก์ชาติ หวั่นกดดันเงินบาททรุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
Fitch จับตาความชัดเจนดิจิทัลวอลเล็ต-แผนกู้ยืมเงินเพิ่ม ชี้อาจเป็นแรงกดดัน ‘เครดิตเรตติ้ง’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ https://thestandard.co/fitch-digital-wallet-watching/ Thu, 26 Oct 2023 04:16:55 +0000 https://thestandard.co/?p=858778 George Xu

Fitch Ratings เผยกำลังจับตาความชัดเจนโครงการดิจิทัลวอลเ […]

The post Fitch จับตาความชัดเจนดิจิทัลวอลเล็ต-แผนกู้ยืมเงินเพิ่ม ชี้อาจเป็นแรงกดดัน ‘เครดิตเรตติ้ง’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
George Xu

Fitch Ratings เผยกำลังจับตาความชัดเจนโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และแผนกู้ยืมเงินเพิ่มของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2567 อย่างใกล้ชิด เตือนอาจเป็นแรงกดดัน ‘เครดิตเรตติ้งไทย’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้านผู้เชี่ยวชาญแนะรัฐบาลไทยให้ผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืน โดยควรกลับมาเน้นที่ฝั่งอุปทานไม่ใช่อุปสงค์ พร้อมเตือน Higer for Longer คือโจทย์ท้าทายใหญ่

 

George Xu Director, Sovereign Ratings จาก Fitch Ratings สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลก ให้สัมภาษณ์ในรายการ WEALTH IN DEPTH เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม โดยอธิบายถึงปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยง ซึ่งมีส่วนทำให้ Fitch Ratings คงอันดับเครดิตไทย (Sovereign Ratings) ไว้ที่ BBB+ และมีมุมมอง (Outlook) เสถียรภาพ (Stable) 

 

โดยปัจจัยสนับสนุนมาจาก

 

  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่ง ซึ่งครอบคลุมหนี้ต่างประเทศได้หลายเท่า
  • การดำรงฐานะผู้ลงทุนระหว่างประเทศสุทธิ (Net Creditor) มายาวนาน ซึ่งตรงข้ามกับฐานะเป็นหนี้สุทธิ (Net Debtor)
  • มีกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคที่แข็งแกร่ง

 

อย่างไรก็ตาม Fitch มองว่าไทยยังมีความอ่อนแออยู่ ซึ่งเชื่อว่าจะจำกัดอันดับเครดิตของไทยในอนาคต ได้แก่

 

  • ไทยมีคุณลักษณะเชิงโครงสร้างต่างๆ (Structural Features) ที่อ่อนแอกว่าประเทศในกลุ่ม BBB ด้วยกัน ได้แก่ รายได้ต่อหัว (GDP per capita) และตัวชี้วัดด้านธรรมาภิบาล ที่ต่ำกว่าประเทศในกลุ่มเดียวกัน
  • ตัวชี้วัดด้านการคลังหรือการเงินสาธารณะต่างๆ ของไทยที่เคยเป็นจุดแข็ง ก็ไม่ใช่อีกต่อไป 
  • ไทยมีประชากรสูงวัยที่เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาค โดยพัฒนาการดังกล่าวอาจเพิ่มความท้าทายต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะกลาง

 

Xu ยืนยันว่า แนวโน้มทางการคลัง (Fiscal Outlook) ก็ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ Fitch ใช้ในการประเมินอันดับเครดิตของประเทศ พร้อมแสดงความกังวลว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ต และแผนการกู้ยืมเงินเพิ่มเติมของรัฐบาล จะสร้างแรงกดดันต่อเชิงลบต่ออันดับเครดิตของไทยเช่นกัน

 

“แน่นอนว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะทำให้เกิดความตึงเครียดอย่างมาก และเรายังติดตามความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับแผนการระดมทุนของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความชัดเจนนี้จะส่งผลต่อการประเมินอันดับเครดิต” Xu กล่าว

 

Xu อธิบายต่อว่า แผนการคลังระยะปานกลางในมุมมองของเราเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการประเมินระดับหนี้ในระยะกลางของรัฐบาล โดยเรายังคงสันนิษฐานว่า อัตราส่วนหนี้สินของรัฐบาลต่อ GDP จะ Stable ในระยะกลาง อย่างไรก็ตาม หากมีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย (Policy Shift) ซึ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อฐานะการคลัง ขณะที่แผนการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลล้มเหลวในการรักษาการเติบโตของ GDP สิ่งนี้อาจสร้างแรงกดดันต่ออันดับเครดิตของไทยได้มากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

บัณฑิต นิจถาวร ประธานมูลนิธินโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล และอดีตรองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่า เป้าการสร้างการเติบโต GDP ที่ 5% ของนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากสะท้อนถึงศักยภาพของเศรษฐกิจที่สามารถไปถึงได้ แต่เป็นโจทย์ที่ยาก เนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมา GDP ไทยโตเฉลี่ยเพียง 1.9% ส่วนในรอบ 20 ปีโตเพียง 3.8% ไม่เคยถึง 5%

 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการโตต่ำดังกล่าว บัณฑิตมองว่าไม่ควรแก้ด้วยการเน้นการใช้จ่ายของภาครัฐและการบริโภค แต่ควรเน้นไปที่ฝั่งอุปทาน หรือความสามารถในการผลิตของประเทศ เนื่องจากไทยยังขาดการลงทุนของภาคธุรกิจ เมื่อการลงทุนน้อย การเติบโตในอนาคตจึงไม่มีพลัง ไม่มีการจ้างงานเท่าที่ควร และแรงงานมีผลิตภาพต่ำ

 

ดังนั้นหากรัฐบาลให้ความสำคัญกับสิ่งเหล่านี้ เศรษฐกิจก็จะเติบโต รายได้ของประเทศและความสามารถในการชำระหนี้ก็จะเพิ่มขึ้น อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ก็จะลดลง

 

ดังนั้นที่เราติดหล่มอันดับเครดิตมา 10 ปี จึงอาจสะท้อนว่าเราไม่ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนฝั่งอุปทานมากพอ

 

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า ในฐานะสถาบันการเงินอยากเห็นกระแสเงินกลับมาลงทุนที่ไทย ทั้งตลาดหุ้น ตลาดบอนด์ หรือการลงทุนโดยตรง ดังนั้นประเด็นเรื่องอันดับเครดิตจึงเป็นเรื่องสำคัญในการดึงดูดต่างชาติให้มาลงทุน

 

ขณะเดียวกันเรากำลังเข้าสู่ยุคดอกเบี้ยสูงและนาน (Higher for Longer) จึงอาจทำให้เศรษฐกิจในบางส่วนของโลกชะลอตัว เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป GDP โลกอาจโตไม่ถึง 3% จึงไม่ได้เอื้อต่อการค้าของไทย ดังนั้นตอนนี้เราจึงรอดูความชัดเจนของรัฐบาลในการหาสมดุลระหว่างการรักษาเสถียรภาพทางการคลังและการกระตุ้นเศรษฐกิจในยุค Higher for Longer ซึ่งจะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และเศรษฐกิจโลกที่อาจจะชะลอตัวไม่ได้เอื้อต่อการค้าเท่าเมื่อก่อน

 

รับชมต่อได้ที่: 

 

The post Fitch จับตาความชัดเจนดิจิทัลวอลเล็ต-แผนกู้ยืมเงินเพิ่ม ชี้อาจเป็นแรงกดดัน ‘เครดิตเรตติ้ง’ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: หั่น GDP ไทยลง เวิลด์แบงก์เตือน ปัญหา ‘หนี้’ เสี่ยงพุ่ง | Morning Wealth 3 ต.ค. 2566 https://thestandard.co/morning-wealth-03102023/ Tue, 03 Oct 2023 01:16:03 +0000 https://thestandard.co/?p=849724 Morning Wealth 3 ตุลาคม 2566

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดการคาดการณ์ GDP ไทยปี 2566 […]

The post ชมคลิป: หั่น GDP ไทยลง เวิลด์แบงก์เตือน ปัญหา ‘หนี้’ เสี่ยงพุ่ง | Morning Wealth 3 ต.ค. 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Morning Wealth 3 ตุลาคม 2566

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดการคาดการณ์ GDP ไทยปี 2566 และปี 2567 คาดโตเพียง 3.4-3.5% เท่านั้น ต่ำกว่าเป้าหมายของนายกฯ ‘เศรษฐา’ ที่อยากเห็นเศรษฐกิจไทยโตปีละ 5% รายละเอียดเป็นอย่างไร

 

อ่านเกมนายกฯ เรียกผู้ว่าฯ แบงก์ชาติคุย สะเทือนนโยบายการเงินหรือไม่ พูดคุยกับ ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: หั่น GDP ไทยลง เวิลด์แบงก์เตือน ปัญหา ‘หนี้’ เสี่ยงพุ่ง | Morning Wealth 3 ต.ค. 2566 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดหั่นคาดการณ์ GDP ไทย ปีนี้เหลือ 3.3% คาด ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงสิ้นปี 68 https://thestandard.co/standard-chartered-thai-gdp-decreased/ Mon, 18 Sep 2023 05:59:58 +0000 https://thestandard.co/?p=842844 ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศร […]

The post สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดหั่นคาดการณ์ GDP ไทย ปีนี้เหลือ 3.3% คาด ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงสิ้นปี 68 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปี 2566 ลงจาก 4.2% มาอยู่ที่ 3.3% และในปี 2567 ลดลงจาก 4.5% เหลือ 4.2% พร้อมคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอย่างน้อยถึงสิ้นปี 2568 โดยอาจมีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเป็นตัวแปร 

 

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว แม้ว่าในระยะที่ผ่านมาการฟื้นตัวจะล่าช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ได้รัฐบาลใหม่แล้ว ทำให้คาดว่าการบริโภคภายในประเทศจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตามมาด้วยการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยวที่เร่งตัวขึ้น 

 

ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยแล้วกว่า 17.5 ล้านคน หรือเฉลี่ยเดือนละ 2.2 ล้านคน และคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นเดือนละ 3 ล้านคนตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนนี้ ทำให้ทั้งปีน่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาประเทศไทยประมาณ 30 ล้านคน จากที่ในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิดจำนวนนักท่องเที่ยวเคยอยู่ในระดับเกือบ 40 ล้านคน

 

ทิมระบุว่า จากภาพรวมของเศรษฐกิจโลกยังคงมีความไม่แน่นอนอยู่หลายประการ ธนาคารจึงปรับลดคาดการณ์ดุลบัญชีเดินสะพัดจาก 3.6% มาอยู่ที่ 1.5% ของ GDP การขาดดุลปีงบประมาณคาดว่าจะอยู่ที่ 4.0% ต่อ GDP ในปี 2567 จาก 3.8% ต่อ GDP ในปี 2566

 

“การเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 น่าจะล่าช้า ในขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้จะมีทิศทางอย่างไร ยังคงเป็นสิ่งที่ต้องมีการติดตามดูกัน” ทิมกล่าว

 

ล่าสุดธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดได้ปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 ลงจาก 4.2% มาอยู่ที่ 3.3% และคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตที่ 4.2% ในปี 2567 จากเดิมที่คาดไว้ที่ 4.5% ด้วยเหตุนี้จึงมีการปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานในปีนี้ลงมาอยู่ที่ 1.3% จากเดิมที่คาดไว้ 1.7% โดยคาดว่าเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 1.5% ในปี 2567 จากเดิมที่คาดไว้ที่ 1.3% ในขณะที่คงคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ที่ 1.4% อย่างไรก็ตาม ธนาคารคาดว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้นในปีหน้า

 

“การค่อยๆ ฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการคลังและเงินเฟ้อทั่วไปที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงที่ผ่านมา น่าจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ยังไม่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ดังนั้นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะยังไม่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า” ทิมกล่าว 

 

อย่างไรก็ดี อาจมีการกลับมาพูดถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้นโยบายการคลังและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ชัดเจนกว่านี้ น่าจะทำให้เห็นความชัดเจนในทิศทางดอกเบี้ยนโยบายยิ่งขึ้น

The post สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดหั่นคาดการณ์ GDP ไทย ปีนี้เหลือ 3.3% คาด ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายถึงสิ้นปี 68 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด’ หั่นคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เหลือ 4.2% คาดเลือกตั้งและการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวช่วยหนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง https://thestandard.co/standard-chartered-cuts-gdp/ Thu, 20 Apr 2023 06:39:38 +0000 https://thestandard.co/?p=778930 สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด GDP

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีน […]

The post ‘สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด’ หั่นคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เหลือ 4.2% คาดเลือกตั้งและการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวช่วยหนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง appeared first on THE STANDARD.

]]>
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด GDP

ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้เหลือ 4.3% หลังภาวะเศรษฐกิจโลกฉุดส่งออก คาดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวช่วยหนุน GDP ครึ่งปีหลังขยายตัวสูงขึ้น 

 

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับลดประมาณการ GDP ไทยในปีนี้ลงมาเหลือ 4.3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 4.5% จากตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ออกมาต่ำกว่าคาด ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงไม่สดใส และโอกาสที่จะมีความล่าช้าในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากมีการเลือกตั้ง ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้เพียง 2.9%

 

อย่างไรก็ดี หากมองไปในช่วงครึ่งปีหลังเชื่อว่าบรรยากาศการเมืองที่คาดว่ารัฐบาลใหม่จะเริ่มทำงานได้อย่างเต็มที่ และออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคได้อย่างเร็วที่สุดในเดือนกรกฎาคม ประกอบกับการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นของภาคการท่องเที่ยวจากอานิสงส์ของการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน จะเป็นปัจจัยหนุนให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีขึ้น 

 

“เราคาดว่าเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังจะเติบโต 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และปรับตัวดีขึ้นกว่าการเติบโตที่ 2.9% ในครึ่งปีแรก นอกจากนี้ เรายังปรับคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2566 ขึ้นเป็น 25 ล้านคน จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ 15-20 ล้านคน โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนประมาณ 5 ล้านคนในปีนี้ และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่น่าจะหนาแน่นขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป” ทิมกล่าว  

 

ทิมกล่าวอีกว่า ธนาคารยังคงมีมุมมองที่เฝ้าระวังต่อดุลบัญชีการค้าไทยในปีนี้ สาเหตุมาจากการส่งออกที่ชะลอตัวลงและการนำเข้าที่ยังคงมีมูลค่าสูง โดยความเคลื่อนไหวเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การค้าโลกในช่วงครึ่งปีหลังและการนำเข้าของไทย เนื่องจากเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งขึ้น การส่งออกและนำเข้าที่สอดคล้องกันอาจช่วยลดการขาดดุลการค้า  

 

ในส่วนของภาวะเงินเฟ้อ คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้จะอยู่ที่ 2.1% ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 1.7% โดยอัตราเงินเฟ้อจะยังคงเพิ่มขึ้นในช่วงที่เหลือของปี สอดคล้องกับคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะอยู่ในระดับต่ำที่สุดที่ 1.2% ในไตรมาสที่ 3 และปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.6% ในไตรมาสที่ 4 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป เนื่องจากประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว 

 

“เงินเฟ้อและการบริโภคจะเพิ่มขึ้นจากนโยบายทางเศรษฐกิจและนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายจากรัฐบาลใหม่ ในส่วนของปัจจัยด้านอุปทาน ราคาพลังงานและราคาอาหารที่ยังคงอยู่ในระดับสูงอาจสร้างแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ ซึ่งสนับสนุนมุมมองว่าเงินเฟ้อจะกลับมาเพิ่มขึ้น” ทิมกล่าว

 

สำหรับมุมมองต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดคาดว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอีก 0.25% ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 31 พฤษภาคมนี้ โดยดอกเบี้ยนโยบายน่าจะอยู่ที่ 2% ในสิ้นปีนี้ แม้ว่ายังมีความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลก แต่ดัชนีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งของไทยประกอบกับมุมมองภาพรวมเศรษฐกิจเชิงบวกของ ธปท. น่าจะทำให้ ธปท. ยังดำเนินนโยบายการเงินเพื่อกลับสู่ภาวะปกติเพื่อเพิ่มพื้นที่นโยบาย 

 

ด้านมุมมองต่อค่าเงินบาท คาดว่าภาพรวมในระยะกลางสำหรับค่าเงินบาทยังคงดี แม้ว่าจะมีความผันผวนในระยะสั้น การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลง และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว น่าจะเป็นผลดีต่อบัญชีทุนและดุลบัญชีเดินสะพัดของไทย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยคาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดปีนี้จะอยู่ที่ 3.6% ของ GDP

 


บทความที่เกี่ยวข้อง


 

The post ‘สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด’ หั่นคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้เหลือ 4.2% คาดเลือกตั้งและการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวช่วยหนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักวิเคราะห์เร่งออกมาตรการคลัง หวังดันเพดานหนี้สาธารณะรองรับเสี่ยง ชี้ ธปท. คงดอกเบี้ย 3 ปี https://thestandard.co/analyst-launched-treasury-measure/ Thu, 08 Apr 2021 11:52:11 +0000 https://thestandard.co/?p=474087 นักวิเคราะห์เร่งออกมาตรการคลัง หวังดันเพดานหนี้สาธารณะรองรับเสี่ยง ชี้ ธปท. คงดอกเบี้ย 3 ปี

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ […]

The post นักวิเคราะห์เร่งออกมาตรการคลัง หวังดันเพดานหนี้สาธารณะรองรับเสี่ยง ชี้ ธปท. คงดอกเบี้ย 3 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
นักวิเคราะห์เร่งออกมาตรการคลัง หวังดันเพดานหนี้สาธารณะรองรับเสี่ยง ชี้ ธปท. คงดอกเบี้ย 3 ปี

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โควิด-19 รอบสาม ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน สะท้อนจากตลาดหุ้นที่ปรับลดลง ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงสู่ระดับ 31.45 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่มั่นใจ และความไม่แน่นอนในสถานการณ์ต่างๆ แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่

 

ความมั่นใจผู้บริโภคที่ลดลง ขณะที่เซกเตอร์การบริโภคที่คิดเป็น 50% ของ GDP แม้รัฐมีนโยบายกระตุ้นต่อเนื่องแต่ยังไม่เห็นการฟื้นตัวที่ชัดเจน โดยต้องติดตามหนี้ครัวเรือนที่ยังเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 80% 

 

อีกส่วนสำคัญคือการท่องเที่ยวที่คิดเป็นเกือบ 20% ของ GDP แม้ว่าทางธนาคารจะมองในทิศทางฟื้นตัวโดยเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่ควบคุมได้ และการกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ คาดว่า GDP ไตรมาส 1/64 แม้ว่าจะติดลบ แต่มองว่าไตรมาส 2/64 ยังเป็นบวกได้จากฐานต่ำที่ติดลบในปีก่อนหน้า

 

อย่างไรก็ตาม มองว่าครึ่งปีหลัง ส่วนสำคัญของเศรษฐกิจไทยต้องการแรงเร่งจากมาตรการทางการคลังที่มีประสิทธิภาพ มากกว่านโยบานการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกมาจำนวนมากแล้ว

 

“เราต้องติดตามการกระตุ้นของรัฐ เช่น มาตรการคลังในช่วงครึ่งปีหลัง ที่จะมากระตุ้นการบริโภค และไม่ว่าเป็นนโยบายไหน ต้องทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ ว่าเม็ดเงินที่ไปถึงธุรกิจและประชาชนทำให้ฟื้นตัวไหม มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นไหม โดยไซส์ของมาตรการยังมีความสำคัญน้อยกว่าว่า เม็ดเงินนั้นส่งผลเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจแค่ไหน”

 

ทั้งนี้ จากเม็ดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท แม้รัฐจะมีการตั้งเป้าใช้จ่ายที่ 70% และเหลือวงเงินอีกราว 20% ซึ่งต้องใช้อย่างเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจมากที่สุด ขณะเดียวกันยังไม่เห็นสัญญาณว่าฝั่งคลังจะมีการกู้เงินเพิ่มเติม อาจเพราะหนี้สาธารณะใกล้จะแตะระดับ 60% ซึ่งเป็นระดับที่จำกัดไว้ตามกฎหมาย

 

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ภาพรวมยังไม่ดีขึ้น GDP ไม่โต แต่สถานการณ์หนี้ยังเพิ่มขึ้น และคลังไม่ปรับยกเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น อาจทำให้ไทยมีกำลังในการรองรับความเสี่ยงด้านต่างๆ ในประเทศและจากสถานการณ์โลกได้น้อยลง ดังนั้นมองว่านโยบายการคลังยังต้องออกมามากขึ้น เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้

 

ปี 2564 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ 2.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการคงกรอบตั้งแต่ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่อาจมีความเสี่ยงการระบาดระลอกใหม่ และมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีความไม่แน่นอนในหลายด้าน ได้แก่ 

  • ประสิทธิผลของวัคซีนต่อการกลายพันธุ์เชื้อโควิด-19
  • ความเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
  • อุปทานหลายด้านยังมีอุปสรรค เช่น การส่งออกเจอผลกระทบตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน ขาดชิปที่ประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือการท่องเที่ยว ต้องติดตามความพร้อมของโรงแรม และสายการบิน ฯลฯ 
  • ด้านการเมืองที่ยังเปราะบางและต้องติดตามอย่างใกล้ชิดหลังโควิด-19 

 

ทั้งนี้ คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้ (2564-2566) หากการขยายตัว GDP ยังไม่มาก และเงินเฟ้อยังติดลบ


อย่างไรก็ตาม ทิศทางค่าเงินบาทปีนี้มองว่าช่วงกลางปีจะอยู่ในทิศทางอ่อนค่าถึง 31.5 บาทต่อดอลลาร์ และมองว่าเงินบาทจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงครั้งปีหลังถึงสิ้นปี 2564 สู่ระดับ 31.00 บาทต่อดอลลาร์ โดยคาดว่าการไหลเวียนของเม็ดเงินทั่วโลกยังจะให้ความสนใจไปที่สหรัฐฯ ที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จนกว่าช่วงครึ่งปีหลังจะเห็นเม็ดเงินไหลเข้าสู่ตลาดในเอเชีย ซึ่งทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น รวมถึงหากไตรมาส 4/64 สถานการณ์ท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นดีขึ้น จะส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นด้วย

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post นักวิเคราะห์เร่งออกมาตรการคลัง หวังดันเพดานหนี้สาธารณะรองรับเสี่ยง ชี้ ธปท. คงดอกเบี้ย 3 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
3 นักวิเคราะห์ฟันธง กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ตลอดปี 2564 จับตา ธปท. ลดฟี FIDF https://thestandard.co/maintain-the-policy-annual-rate-at-zero-point-five-percent/ Sun, 31 Jan 2021 09:30:46 +0000 https://thestandard.co/?p=448844 3 นักวิเคราะห์ฟันธง กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ตลอดปี 2564 จับตา ธปท. ลดฟี FIDF

นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจท […]

The post 3 นักวิเคราะห์ฟันธง กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ตลอดปี 2564 จับตา ธปท. ลดฟี FIDF appeared first on THE STANDARD.

]]>
3 นักวิเคราะห์ฟันธง กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ตลอดปี 2564 จับตา ธปท. ลดฟี FIDF

นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหารศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2464 คาดว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปี และตลอดปี 2564 แต่คาดว่าอาจจะเห็น ธปท. ลดอัตราเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) 

 

“ช่วงที่ผ่านมาเงินฝากโต 12% ขณะที่สินเชื่อโต 4% ซึ่งเงินฝากที่เพิ่มสูงขึ้นส่วนใหญ่อยู่ใน Casa หากมีการลดดอกเบี้ยเงินฝากอาจจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำอยู่แล้วลดต่ำลงอีก และทำให้เกิดพฤติกรรม Search for Yield ที่สูงขึ้นจากผลตอบแทนต่างๆ รวมถึงตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นอยู่ในระดับต่ำ”

 

จากปริมาณเงินฝากที่ค่อนข้างล้น ธนาคารจะเข้าซื้อพันธบัตรระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งเป็นปัจจัยการกดดันอัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้อยู่ในทิศทางขาลง 

 

ทั้งนี้มองว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจส่งผลกระทบต่อการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราเงินฝากลดลง ซึ่งอาจทำให้เกิดพฤติการณ์แสวงหาผลตอบแทน (Search for Yield) ที่สูงขึ้น ขณะที่การปรับลด FIDF จะส่งผ่านโดยตรงไปที่ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง แต่ไม่กระทบกับดอกเบี้ยเงินฝาก เหมือนปี 2563 ที่ผ่านมา ที่ ธปท. เลือกลดเงินนำส่ง FIDF แล้ว  

 

อย่างไรก็ตาม ปีนี้สถานการณ์ต่างๆ ยังไม่ปรับตัวดีขึ้น และ ธปท. มีความจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะเห็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงไตรมาส 1/2563 คือการประชุมครั้งนี้ (3 กุมภาพันธ์) และครั้งหน้าในปลายเดือนมีนาคม 2564 

 

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า เชื่อว่า ธปท. จะติดตามสถานการณ์ทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หากสถานการณ์ยังทรงตัวและเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น ธปท. น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปี แต่ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงในช่วงในไตรมาสนี้ โอกาสที่ ธปท. จะลดดอกเบี้ยไปที่ 0.25% ก่อนสิ้นปี 2564 ก็เป็นไปได้

 

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC SCB) กล่าวว่า EIC SCB คาดว่าปี 2564 กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปีต่อเนื่องจากปี 2563 ที่ผ่านมา เพราะเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากการฟื้นตัวที่ไม่ทั่วถึงและมีความไม่แน่นอนสูง 

ทั้งนี้มองว่าการที่อัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำถือว่าจำเป็นในการลดภาระดอกเบี้ยจ่ายและช่วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์แพร่ระบาดยังยืดเยื้อและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจหดตัวอาจจะเห็น กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพิ่มเติม

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post 3 นักวิเคราะห์ฟันธง กนง. คงดอกเบี้ย 0.50% ตลอดปี 2564 จับตา ธปท. ลดฟี FIDF appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สแตนชาร์ด’ เผย ท่องเที่ยวไทยจะฟื้นใน 3-5 ปี คาดปีนี้เศรษฐกิจโต 3% จากฐานติดลบ https://thestandard.co/standard-chartered-unveil-thai-tourism-will-rise-in-3-5-years/ Thu, 28 Jan 2021 05:43:05 +0000 https://thestandard.co/?p=448348 ‘สแตนชาร์ด’ เผย ท่องเที่ยวไทยจะฟื้นใน 3-5 ปี คาดปีนี้เศรษฐกิจโต 3% จากฐานติดลบ

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ […]

The post ‘สแตนชาร์ด’ เผย ท่องเที่ยวไทยจะฟื้นใน 3-5 ปี คาดปีนี้เศรษฐกิจโต 3% จากฐานติดลบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘สแตนชาร์ด’ เผย ท่องเที่ยวไทยจะฟื้นใน 3-5 ปี คาดปีนี้เศรษฐกิจโต 3% จากฐานติดลบ

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัว 3% จากปี 2563 ที่ติดลบ สาเหตุหลักมาจากภาคการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน และมองว่าการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับสู่ระดับ 40 ล้านคนเหมือนก่อนโควิด-19 อาจต้องใช้เวลาราว 3-5 ปี 

 

ทั้งนี้ สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คาดว่า GDP ปี 2564 จะขยายตัว 3.1% โดยกรณีที่ไม่สามารถคุมการแพร่ระบาดได้และต้องล็อกดาวน์ทั่วประเทศนาน 2-3 เดือนอาจจะทำให้ GDP ปีนี้อยู่ที่ 0% หรือติดลบ 

 

ขณะที่ปี 2565 จะโต 2.5% ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่กลับมาโตบนฐานจริง ซึ่งตามปกติเศรษฐกิจจะโตแค่ 3-4% ที่เป็นระดับศักยภาพของไทย ซึ่งปีนี้อยากเห็นการกระตุ้นในประเทศผ่านนโยบายการคลังมากกว่า เพราะการพึ่งพานอกประเทศ (เฉพาะการส่งออก) ยังมีความเสี่ยงสูง 

 

ปีนี้เม็ดเงินมาตรการเยียวยารอบใหม่ของรัฐที่ราว 2 แสนล้านบาท คิดเป็นมูลค่าครึ่งหนึ่งของมาตรการในการระบาดรอบก่อนที่มีการล็อกดาวน์ทั้งประเทศ แม้ปีนี้มีการควบคุมเฉพาะพื้นที่ซึ่งส่งผลดีต่อภาคธุรกิจ แต่คนยังกระทบหนักมาจากการระบาดรอบก่อน จึงมองว่าการใช้เงินครึ่งหนึ่งของการล็อกดาวน์ในปีก่อนยังไม่เพียงพอ 

 

แต่ต้องใช้เม็ดเงินเท่าไรยังไม่สามารถระบุได้ จึงอยากเห็นความชัดเจนของกระทรวงการคลังว่าจะมีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ตรงจุด ตรงเซกเตอร์ที่ได้รับผลกระทบอย่างไร ทั้งนี้ ขนาดของเม็ดเงินที่ออกมายังมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและมุมมองของนักลงทุนต่างชาติ

 

“ถ้าอยากให้การใช้จ่าย การบริโภคที่อ่อนแอและติดลบกลับเป็นบวก 3-4% จำเป็นต้องมีมาตรการออกมาเพิ่มเติมเพื่อเป็นแรงช่วยในปีนี้”

 

ขณะที่การส่งออกของไทยต้องติดตามการส่งออกในภูมิภาคเอเชียที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และการทำงานที่บ้าน แต่ยังมีเซกเตอร์รถยนต์ที่ตัวเลขยังบวกไม่ชัดเจน การนำเข้าเพื่อประกอบส่งออกของไทยยังน้อยและไม่เห็นสัญญาณบวกที่ชัดเจน ทางกระทรวงพาณิชย์มองว่าการส่งออกปี 2564 จะกลับมาขยายตัวที่ 4%

 

ดังนั้นปี 2564 มี 4 ปัจจัยที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยและต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ 

 

1. ข้อจำกัดทางการคลังจากหนี้สาธารณะของไทยที่ขยับเข้าใกล้กรอบในระดับ 60% โดยปี 2563 ที่ผ่านมา การออกมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐทำให้หนี้สาธารณะขยับสู่ 50% จากช่วงก่อนโควิด-19 ที่อยู่ระดับ 40% อย่างไรก็ตาม การออกมาตรการเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจยังมีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจไทย

 

2. การท่องเที่ยวไทยคาดว่าต้องใช้ระยะเวลาราว 3-5 ปีจึงจะฟื้นตัวเท่ากับก่อนโควิด-19 เพราะสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกในปีนี้ยังต้องระมัดระวังอยู่ และนโยบายของไทยที่จะเน้นการท่องเที่ยวมูลค่าสูงไม่ใช่เชิงปริมาณ

 

3. การลงทุนภาครัฐจะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ จึงหวังว่าการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐอย่าง EEC จะมีความชัดเจนและต่อเนื่อง เพื่อให้ภาคเอกชนยังลงทุนต่อเนื่อง

 

4. พัฒนาการทางการเมืองปีนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยเช่นกัน 

 

ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย มองว่าธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดมา 0.75% ในปี 2563 คาดการณ์การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันพุธหน้า (3 กุมภาพันธ์) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% และคงไว้ตลอดทั้งปี 2564 โดยยังมีโอกาสจะลดดอกเบี้ยหากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยแย่ลง (ต้องล็อกดาวน์ทั้งประเทศ) ขณะเดียวกันมองว่าประสิทธิผลของนโยบายการเงินน้อยลงแล้ว จึงเป็นบทบาทของนโยบายการคลังที่ต้องออกมาเพิ่มเติมในปีนี้ 

 

ด้านค่าเงินบาทมีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นจากกรณีดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากการอัดฉีดเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่ากลางปี 2564 จะอยู่ที่ 29.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และสิ้นปีนี้จะอยู่ที่ 29.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งค่าเงินบาทที่แข็งค่าไม่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานของประเทศ และเกิดขึ้นต่อเนื่องนับจากจุดที่อ่อนค่าสูงสุดในปี 2558

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ‘สแตนชาร์ด’ เผย ท่องเที่ยวไทยจะฟื้นใน 3-5 ปี คาดปีนี้เศรษฐกิจโต 3% จากฐานติดลบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้ ท่องเที่ยวไทยใช้เวลา 3-5 ปีถึงฟื้น จับตาการเมือง-ทีมเศรษฐกิจใหม่ https://thestandard.co/standard-chartered-tourist-3-5-regain/ Thu, 15 Oct 2020 08:27:17 +0000 https://thestandard.co/?p=407942 ท่องเที่ยวไทย ฟื้นตัว 3-5 ปี สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด Standard Chartered

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ […]

The post สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้ ท่องเที่ยวไทยใช้เวลา 3-5 ปีถึงฟื้น จับตาการเมือง-ทีมเศรษฐกิจใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ท่องเที่ยวไทย ฟื้นตัว 3-5 ปี สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด Standard Chartered

ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยพึ่งพาต่างประเทศค่อนข้างมาก ทั้งการส่งออกที่ยังติดลบ รวมถึงการท่องเที่ยวที่คิดเป็น 15% ของ GDP แต่สถานการณ์โควิด-19 ยิ่งทำให้การเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวยากขึ้น 

 

ทั้งนี้ คำถามหลักที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจคือ ประเทศไทยจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับสู่ระดับ 40 ล้านคนช่วงไหน โดยทางธนาคารมองว่าต้องใช้เวลาอีก 3-5 ปี เพื่อที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวกลับสู่ช่วงก่อนโควิด-19 ส่วนหนึ่งเพราะต้องรอดูสถานการณ์ทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย และนโยบายของไทยที่อาจเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพมากขึ้น จากเดิมที่เน้นตลาดจีนเป็นหลัก

 

“แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมจะยังไม่มั่นคง ถ้าการท่องเที่ยวยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับมาได้” ทิมกล่าว

 

ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองยังต้องเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยการเมืองเมื่อวานนี้ (14 ตุลาคม) สถานการณ์ยังอยู่ในจุดที่ควบคุมได้ แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร ดังนั้น บนพื้นฐานว่าเศรษฐกิจไทยยังติดลบอยู่ ประเด็นนี้อาจกระทบการฟื้นตัวในระยะต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม เช้าตรู่ของวันนี้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าไปสู่ระดับ 31.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และกลับสู่ระดับ 31.10 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองว่าปีนี้ค่าเงินบาท ณ สิ้นปีจะอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์ โดยมองว่าบาทอาจแข็งค่า

 

ด้านปัจจัยในประเทศ เห็นการเว้นระยะราว 3 เดือนในช่วงที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลาออก 2  คน ส่งผลให้ขาดความต่อเนื่องด้านนโยบายเศรษฐกิจหลังจากไตรมาส 2/63 มีการออกมาตรการอย่างเข้มข้น จึงหวังว่าไตรมาส 4/63 มาตรการรัฐจะเข้าสู่เศรษฐกิจมากขึ้นอย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

แต่ส่วนสำคัญคือ SME ที่มีส่วน 40% ของ GDP เมื่อได้รับผลกระทบจากรายได้ที่อาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ การหารายได้ ดังนั้นภาครัฐควรให้ความสำคัญและมีมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ต้องติดตามได้แก่ การท่องเที่ยว สถานการณ์การเมือง และการส่งออก ขณะที่นักลงทุนต่างชาติจับตามองเรื่องการท่องเที่ยวและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นหลัก ทั้งนี้ตัวเลขส่งออกของประเทศเกิดใหม่ ภูมิภาคเอเชีย และไทย ส่งสัญญาณดีขึ้นจากการติดลบน้อยลง โดยทางธนาคารประมาณการว่าการส่งออกเดือนกันยายน 2563 จะติดลบราว 5% จากทั้งปี 2563 ที่ติดลบ 8%

 

ทางธนาคารคาดการณ์ว่า GDP ไทยปี 2563 จะติดลบ 8% จากก่อนหน้านี้ที่ประเมินว่าจะติดลบ 5% ในขณะที่ปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2% จากตอนแรกที่ประเมินไว้ที่ 1.8% แต่เศรษฐกิจไทยประเมินว่าใช้เวลาราว 1-2 ปีที่จะกลับไปสู่ระดับ 3-4% 

 

“เราเพิ่งได้ทีมเศรษฐกิจใหม่หลังจากขาดช่วงไปหลายเดือน การเบิกจ่ายจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังอยู่ในระดับไม่สูงนัก ตอนนี้ตลาดการเงินอยู่ในภาวะ ‘ติดตามดูสถานการณ์’ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทิศทางจากกระทรวงการคลัง, การเบิกจ่าย, การลงทุนของรัฐบาลที่ควรจะนำร่องภาคเอกชนให้มีการลงทุนภายในประเทศ, การเมือง, การเปิดประเทศ, การพัฒนาวัคซีนสำหรับต้านโควิด-19” ทิมกล่าว

ทิมยังเชื่อว่า ธปท. ก็อยู่ในภาวะติดตามสถานการณ์เช่นเดียวกัน ถ้าสถานการณ์ยังทรงตัวและเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น ธปท. น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% แต่ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงในช่วงในไตรมาสนี้ โอกาสที่ ธปท. จะลดดอกเบี้ยไปที่ 0.25% ก่อนสิ้นปีก็เป็นไปได้ 

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าตลาดการเงินยังให้ความสนใจว่านอกเหนือจากการลดดอกเบี้ย ธปท. มีนโยบายการเงินทางเลือกอะไรที่อาจนำมาใช้ในปี 2564 จะเป็น QE หรือ Yield Curve Control หรือ นโยบายช่วยเหลือ SMEs เพิ่มรูปแบบ ประสิทธิภาพ ความเหมาะสมของนโยบายเหล่านั้นสำหรับเศรษฐกิจไทย ผลลัพธ์คาดการณ์น่าจะเป็นประเด็นที่ตลาดการเงินและนักลงทุนให้ความสนใจต่อเนื่องไปถึงปีหน้า จับตาไทยใช้ QE หรือไม่

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

The post สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชี้ ท่องเที่ยวไทยใช้เวลา 3-5 ปีถึงฟื้น จับตาการเมือง-ทีมเศรษฐกิจใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>