ทศพร ศิริสัมพันธ์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 19 Oct 2022 08:26:57 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ทศพร ลาออกประธานบอร์ด ปตท. และประธานที่ปรึกษานายกฯ จับตาเกี่ยวข้องกับการปรับ ครม. หรือไม่ https://thestandard.co/thosaporn_sirisumphand-resign/ Wed, 19 Oct 2022 08:26:57 +0000 https://thestandard.co/?p=697299 ทศพร ศิริสัมพันธ์

วันนี้ (19 ตุลาคม) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล. […]

The post ทศพร ลาออกประธานบอร์ด ปตท. และประธานที่ปรึกษานายกฯ จับตาเกี่ยวข้องกับการปรับ ครม. หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทศพร ศิริสัมพันธ์

วันนี้ (19 ตุลาคม) ที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) ครั้งที่ 1/2565 ถึงกรณีที่ ทศพร ศิริสัมพันธ์ ประธานคณะกรรมการอิสระและประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการ (บอร์ด) ปตท. และลาออกจากการเป็นประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี โดยนายกฯ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า “ลาออกก็คือลาออก”

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า ไม่เกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช่หรือไม่ พล.อ. ประยุทธ์ไม่ได้ตอบคำถามดังกล่าว และเดินขึ้นตึกไทยคู่ฟ้าไปทันที

The post ทศพร ลาออกประธานบอร์ด ปตท. และประธานที่ปรึกษานายกฯ จับตาเกี่ยวข้องกับการปรับ ครม. หรือไม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ปตท.’ ตั้ง ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธานบอร์ด มีผล 18 พ.ย. นี้ https://thestandard.co/ptt-set-tossaporn-sirisamphan-to-chairman-board/ Wed, 18 Nov 2020 06:42:07 +0000 https://thestandard.co/?p=422438 ‘ปตท.’ ตั้ง ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธานบอร์ด มีผล 18 พ.ย. นี้

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้ […]

The post ‘ปตท.’ ตั้ง ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธานบอร์ด มีผล 18 พ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ปตท.’ ตั้ง ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธานบอร์ด มีผล 18 พ.ย. นี้

อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. (PTT) รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 มีมติแต่งตั้ง ทศพร ศิริสัมพันธ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)​ นั่งเป็นประธานคณะกรรมการของบริษัทแทน ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายนเป็นต้นไป ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจแล้ว

 

ประวัติการทำงานของ ทศพร ศิริสัมพันธ์

  • 2531-2536 อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2536-2539 หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2539-2543 ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2543-2545 รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
  • 2545-2556 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
  • 2556-2557 เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.)
  • 2557-30 ก.ย. 2559 ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • 1 ต.ค. 2559-29 มิ.ย. 2561 เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)
  • 29 มิ.ย. 2561-30 ก.ย. 2563 เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

 

 

The post ‘ปตท.’ ตั้ง ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธานบอร์ด มีผล 18 พ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ ตั้งทีมที่ปรึกษา ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธาน https://thestandard.co/prayut-appoint-an-advisory-committee-to-the-prime-minister/ Fri, 16 Oct 2020 10:20:26 +0000 https://thestandard.co/?p=408473

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำน […]

The post นายกฯ ตั้งทีมที่ปรึกษา ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธาน appeared first on THE STANDARD.

]]>

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โดยเนื้อหาของคำสั่งระบุว่า เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินและการขับเคลื่อนงานของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 

 

นายกรัฐมนตรีจึงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิดังต่อไปนี้ให้เป็นคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและพิจารณาเสนอความเห็นหรือข้อเสนอแนะต่างๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย ประกอบด้วย

 

  • ทศพร ศิริสัมพันธ์ (ประธานที่ปรึกษา)
  • ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย (ที่ปรึกษา)
  • ประสัณห์ เชื้อพานิช (ที่ปรึกษา)
  • ปิติ ตัณฑเกษม (ที่ปรึกษา)
  • ไพรินทร์ ชูโชติถาวร (ที่ปรึกษา)
  • รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส (ที่ปรึกษา)
  • วิรไท สันติประภพ (ที่ปรึกษา)
  • สมคิด จิรานันตรัตน์ (ที่ปรึกษา)
  • ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย (เลขานุการ)

 

นอกจากนี้ยังกำหนดให้ส่วนราชการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการร้องขอ และให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีและสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี 

 

 

 

The post นายกฯ ตั้งทีมที่ปรึกษา ‘ทศพร ศิริสัมพันธ์’ นั่งประธาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์ชี้ GDP ไทยไตรมาส 2/63 หดตัว 12.2% รับผลเครื่องยนต์เศรษฐกิจทรุด https://thestandard.co/nesdc-point-out-thai-gdp-second-quarter-decrease-by-12-percents/ Mon, 17 Aug 2020 10:30:01 +0000 https://thestandard.co/?p=389316

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแ […]

The post สภาพัฒน์ชี้ GDP ไทยไตรมาส 2/63 หดตัว 12.2% รับผลเครื่องยนต์เศรษฐกิจทรุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ปรับตัวลดลง 12.2% ต่อเนื่องจากการลดลง 2.0% ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ลดลงจากไตรมาสแรกของปี 2563 (%QoQ_SA) 9.7% รวมครึ่งแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลง 6.9%

 

ด้านการใช้จ่าย การระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐขยายตัวสนับสนุนเศรษฐกิจ

 

การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลง 6.6% เทียบกับการขยายตัว 2.7% ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 และการดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของภาครัฐ ซึ่งทำให้การบริโภคภาคเอกชนลดลงทั้งในหมวดสินค้าคงทน กึ่งคงทน และหมวดบริการ สอดคล้องกับการลดลงของการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าและบริการสำคัญๆ เช่น

 

  • การซื้อยานยนต์ (ลดลง 43.0%) 
  • การใช้จ่ายเกี่ยวกับเสื้อผ้าและรองเท้า (ลดลง 21.4%) 
  • การใช้จ่ายในร้านอาหารและโรงแรม (ลดลง 45.8%) 
  • การใช้จ่ายซื้อสินค้าเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (ลดลง 17.1%) 
  • ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อค่าน้ำและค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 3.8%

 

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 1.4% เทียบกับการปรับตัวลดลง 2.8% ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายรวมในไตรมาสนี้อยู่ที่ 22.3% (สูงกว่าอัตราเบิกจ่าย 19.7% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี 2563 การบริโภคภาคเอกชนลดลง 2.1% และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลง 0.7%

 

การลงทุนรวมปรับตัวลดลง 8.0% เทียบกับการลดลง 6.5% ในไตรมาสก่อนหน้า แบ่งเป็น 

  • การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง 15.0% ต่อเนื่องจากการลดลง 5.4% ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลดลงของการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรและการลงทุนในสิ่งก่อสร้าง 18.4% และ 2.1% ตามลำดับ
  • การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 12.5% เทียบกับการปรับตัวลดลง 9.3% ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นผลจากการลงทุนรัฐบาลเพิ่มขึ้น 21.0% ในขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลง 0.8% สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ 17.9% เทียบกับอัตราเบิกจ่าย 10.8% ในไตรมาสก่อนหน้า และ 16.8% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

 

รวมครึ่งแรกของปี 2563 การลงทุนรวมลดลง 7.2% โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง 10.2% ขณะที่การลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้น 1.2%

 

ในด้านภาคต่างประเทศ การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 49,787 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 17.8% เทียบกับการขยายตัว 1.4% ในไตรมาสก่อนหน้าตามภาวะถดถอยรุนแรงของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยปริมาณการส่งออกลดลง 16.1% และราคาส่งออกลดลง 2.0%

 

กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลง เช่น ข้าว (ลดลง 0.9%) ยางพารา (ลดลง 41.0%) น้ำตาล (ลดลง 28.4%) รถยนต์นั่ง (ลดลง 45.2%) รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลง 67.7%) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลง 45.0%) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ลดลง 23.4%) เคมีภัณฑ์ (ลดลง 20.4%) ปิโตรเคมี (ลดลง 18.9%) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลง 42.7%) เป็นต้น

 

กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น ผลไม้ (47.4%) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (17.9%) ผลิตภัณฑ์ยาง (23.4%) อาหารสัตว์ (24.0%) และคอมพิวเตอร์ (5.8%) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหรัฐฯ จีน กลับมาขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น อาเซียน (9) สหภาพยุโรป (15) ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง (15) ปรับตัวลดลงเมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลง 21.4% และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปของเงินบาทลดลงร้อยละ 16.8 รวมครึ่งแรกของปี 2563 การส่งออกสินค้าคิดเป็นมูลค่า 110,654 ล้านดอลลาร์สหรัฐลดลง 8.2%

 

การนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 41,746 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 23.4% (ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6) เทียบกับการลดลง 1.0% ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออก อุปสงค์ในประเทศ และราคานำเข้าสินค้า โดยปริมาณการนำเข้าลดลง 19.3% ส่วนราคานำเข้าลดลง 5.1% รวมครึ่งแรกของปี 2563 การนำเข้าสินค้าคิดเป็นมูลค่า 94,562 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 12.3%

 

สถานการณ์การว่างงาน ผู้ว่างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 0.75 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.95% เพิ่มขึ้น 1 เท่าจากอัตราการว่างงานในช่วงปกติ และเป็นอัตราการว่างงานที่สูงสุดตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2552 ผู้ว่างงาน 64.2% เคยทำงานมาก่อน โดย 58.7% สาเหตุที่ว่างงานเกิดจากสถานที่ทำงานเลิก/หยุด/ปิดกิจการ หรือหมดสัญญาจ้าง 

 

ทั้งนี้ผู้ประกันตนรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (รายใหม่) ในช่วงไตรมาส 2 เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน จำนวน 0.12 ล้านราย โดยสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ 0.17 ล้านราย และปรับตัวลดลงในเดือนมิถุนายน เหลือ 0.13 ล้านราย ทั้งนี้รัฐบาลมีมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฯ วงเงิน 4 แสนล้านบาท ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2563 ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปแล้วจำนวน 11 โครงการ รวมวงเงิน 42,964 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างงานได้ 86,103 ตำแหน่ง โดยมีระยะเวลาการจ้างงาน 3-12 เดือน ที่จะช่วยให้ผู้ว่างงานสามารถมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

ขณะที่ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตลาดแรงงานจะยังได้รับผลกระทบที่ต่อเนื่องจากช่วงครึ่งแรกของปี โดยมีประเด็นที่ต้องติดตามคือ 

 

  1. แนวโน้มเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี ที่ยังไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน จะส่งผลให้ธุรกิจซึ่งส่วนใหญ่ที่มีสภาพคล่องสำรองเพียงพอสำหรับรองรับวิกฤตได้ไม่เกิน 6 เดือน อาจเลิกจ้างงานและปิดกิจการ โดยเฉพาะสถานประกอบการที่ขอใช้มาตรา 75 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ขอหยุดชั่วคราว แต่ยังต้องรับภาระในการจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างอยู่ และผู้จบการศึกษาใหม่ในปี 2563 ที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน 0.52 ล้านคน มีแนวโน้มจะหางานทำได้ยากขึ้น หรืออาจต้องใช้ระยะเวลาในการหางานนานกว่าปกติ

 

  1. ปัญหาภัยแล้งที่ต่อเนื่อง และสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก จะส่งผลต่อการจ้างงานในภาคเกษตร และกระทบต่อรายได้แรงงาน อีกทั้งภาคเกษตรอาจจะสูญเสียความสามารถในการดูดซับแรงงานจากนอกภาคเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 

 

  1. ผลของมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อการจ้างงาน ซึ่งต้องติดตามผลของการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดว่าสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ โดยปัจจุบันแม้ว่าจะได้รับการอนุมัติโครงการไปแล้วบางส่วน แต่โครงการส่วนใหญ่จะเริ่มการจ้างงานภายในเดือนตุลาคม 2563 ซึ่งหากมีความล่าช้าอาจทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานได้อย่างเต็มที่

 

ส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว ขณะที่คุณภาพสินเชื่อด้อยลงทุกประเภทสถานการณ์หนี้สินครัวเรือนในไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่า 13.48 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% ชะลอลงจาก 5.1% ในไตรมาสก่อน โดยเป็นผลจากความเชื่อมั่นที่ลดลงตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีความไม่แน่นอนสูง ส่งผลให้ความต้องการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนปรับตัวลดลง รวมถึงความต้องการสินเชื่อของครัวเรือนในเกือบทุกประเภท สัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 80.1% สูงสุดในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2559 ขณะที่ภาพรวมคุณภาพสินเชื่อด้อยลง โดย ณ สิ้นสุดไตรมาส 1 ปี 2563 ยอดคงค้างหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 156,226 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.6% และมีสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 3.23% เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 2.90% ในไตรมาสก่อน

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post สภาพัฒน์ชี้ GDP ไทยไตรมาส 2/63 หดตัว 12.2% รับผลเครื่องยนต์เศรษฐกิจทรุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์เปิดภาพเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/63 หดตัว 12.2% คาดทั้งปี 63 หดตัว 7.5% https://thestandard.co/nesdc-unveil-thai-economy-drop-12-percents/ Mon, 17 Aug 2020 03:01:19 +0000 https://thestandard.co/?p=389062

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแ […]

The post สภาพัฒน์เปิดภาพเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/63 หดตัว 12.2% คาดทั้งปี 63 หดตัว 7.5% appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวว่า ไตรมาส 2/63 การขยายตัวเศรษฐกิจไทย (GDP) หดตัว 12.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือว่าหดตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาส 1/63 ที่หดตัวราว 2.2%

ทั้งนี้ครึ่งปีแรก 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัว 6.9% และประมาณการว่าจะทำให้ GDP ไทยปี 2563 นี้จะหดตัว 7.5% จากก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะติดลบ 5-6% โดยต้องจับตามองการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแนวโน้มคลี่คลายลงและควบคุมได้

The post สภาพัฒน์เปิดภาพเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/63 หดตัว 12.2% คาดทั้งปี 63 หดตัว 7.5% appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์ชี้แจงข่าวตัดเงินเพิ่มพิเศษ อสม. ช่วงโควิด-19 ยันคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เสนอตามมติ ครม. 15 เม.ย. 63 https://thestandard.co/nesdc-announced-cutting-extra-funding/ Mon, 27 Jul 2020 10:58:41 +0000 https://thestandard.co/?p=383705

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ […]

The post สภาพัฒน์ชี้แจงข่าวตัดเงินเพิ่มพิเศษ อสม. ช่วงโควิด-19 ยันคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เสนอตามมติ ครม. 15 เม.ย. 63 appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ตามที่ได้มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ กรณีสภาพัฒน์ พิจารณาตัดเงินช่วยเหลืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จาก 19 เดือน เหลือ 7 เดือน ทางสภาพัฒน์ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ขอเรียนข้อเท็จจริง ดังนี้ 

 

  1. จากโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (แผนงานหรือโครงการที่ 1) ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ มีกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ 45,000 ล้านบาท โดยกระทรวงสาธารณสุขเสนอโครงการใต้แผนนี้รวมประมาณ 51,985 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมถึงโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงินไม่เกิน 10,019.9255 ล้านบาท ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษคนละ 500 บาทต่อเดือน ให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 1,054,729 คน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 – กันยายน 2564

 

  1. ทั้งนี้ การกลั่นกรองความเหมาะสมของโครงการที่เสนอขอเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ นั้นจะมีกลไกคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ มีทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกร่วมกันพิจารณาฯ โครงการ เช่น ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กรมบัญชีกลาง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) ผู้แทนจากสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก สำหรับกรณีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของ อสม. ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโควิด-19 ในชุมชน กรอบวงเงินไม่เกิน 10,019.9255 ล้านบาทนั้น

 

คณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า อสม. เป็นผู้ที่ปฏิบัติงานด้วยความเสียสละมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการระบาดโควิด-19 ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ขณะนี้ อสม. ได้ค่าตอบแทน 1,000 บาทต่อเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับภาระงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้ข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุขที่ขอให้มีเงินเพิ่มพิเศษอีก


500 บาทต่อเดือน สำหรับ อสม. จึงมีความเหมาะสมที่ควรปรับเพิ่มให้ได้

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาระยะเวลาในการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้จ่ายตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 – กันยายน 2564 (19 เดือน) ทางคณะกรรมการฯ ได้พิจารณา

 

มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 เรื่องการเพิ่มอัตราข้าราชการตั้งใหม่ และมาตรการเพิ่มสิทธิประโยชน์อื่นสำหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขรองรับภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ระบาดโควิด-19 เห็นชอบให้บุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ได้รับเงินเพิ่มเติมพิเศษรายเดือน และหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5/ว102 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2563 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับบุคลากรสาธารณสุขผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19

 

ซึ่งกำหนดอัตราการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ และระยะเวลาสิ้นสุดการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษระยะแรกดังกล่าวไว้ที่เดือนกันยายน 2563

 

คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้จึงมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 ในชุมชน ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับค่าใช้จ่าย ค่าเยียวยา ค่าชดเชย และค่าเสี่ยงภัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข รวมถึงผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการจัดหาผู้ชำนาญการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (แผนงานหรือโครงการที่ 1) เพื่อเป็นค่าตอบแทนการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษคนละ 500 บาทต่อเดือน ให้แก่ อสม. และ อสส. รวมจำนวนไม่เกิน 1,054,729 คนต่อเดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 – กันยายน 2563 กรอบวงเงินไม่เกิน 3,622.3195 ล้านบาท เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 และหนังสือเวียนของกระทรวงการคลังที่กำหนดให้จ่ายเงินเพิ่มพิเศษถึงเดือนกันยายน 2563

 

ทั้งนี้ หากกระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าสถานการณ์การระบาดมีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยงของการระบาดมากขึ้น ก็ให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งนำเสนอเหตุผลความจำเป็น เพื่อขยายเวลาการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในภาพรวมต่อไป

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post สภาพัฒน์ชี้แจงข่าวตัดเงินเพิ่มพิเศษ อสม. ช่วงโควิด-19 ยันคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เสนอตามมติ ครม. 15 เม.ย. 63 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาฯ สศช. ปฏิเสธข่าวร่วม ครม. ชุดใหม่ หลังสี่กุมารลาออก https://thestandard.co/tosapol-sirisampan-rejected-news-about-joining-new-cabinet/ Fri, 17 Jul 2020 09:43:54 +0000 https://thestandard.co/?p=380897

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม […]

The post ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาฯ สศช. ปฏิเสธข่าวร่วม ครม. ชุดใหม่ หลังสี่กุมารลาออก appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่ว่าตนตอบรับเข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่แล้วนั้น ไม่เป็นความจริง

 

“ขณะนี้ผมยังคงปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขาธิการ สศช. ตามปกติ และยังมีภารกิจสาคัญที่จะต้องดูแลและกลั่นกรองโครงการและแผนงานเงินกู้ 4 แสนล้านบาทให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย อย่างไรก็ดี เมื่อเกษียณอายุราชการแล้ว ผมยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยและสนับสนุนงานอยู่เบื้องหลังของท่านนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมาย”

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาฯ สศช. ปฏิเสธข่าวร่วม ครม. ชุดใหม่ หลังสี่กุมารลาออก appeared first on THE STANDARD.

]]>
เงินกู้ 4 แสนล้านอาจไม่พอ! หน่วยงานรัฐเสนอโครงการรวม 1.36 ล้านล้านบาท สภาพัฒน์เร่งวิเคราะห์ก่อน 26 มิ.ย. นี้ https://thestandard.co/loan-400000-million-may-not-be-enough/ Tue, 23 Jun 2020 06:12:59 +0000 https://thestandard.co/?p=374184

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแ […]

The post เงินกู้ 4 แสนล้านอาจไม่พอ! หน่วยงานรัฐเสนอโครงการรวม 1.36 ล้านล้านบาท สภาพัฒน์เร่งวิเคราะห์ก่อน 26 มิ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า จากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 วงเงิน 400,000 ล้านบาท (จาก พ.ร.ก. เงินกู้ 1 ล้านล้านบาท) ล่าสุด (ณ วันที่ 22 มิถุนายน) มีข้อเสนอโครงการในรอบที่ 1 รวมทุกแผนงาน จำนวน 43,851 ข้อเสนอ วงเงินกว่า 1.36 ล้านล้านบาท โดยแผนงาน 3.2 มีข้อเสนอโครงการมากที่สุดกว่า 42,405 โครงการ ตามมาด้วย แผนงาน 3.1 จำนวน 1,259 โครงการ  

 

ทั้งนี้ ข้อเสนอโครงการมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ทำให้การวิเคราะห์โครงการของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ล่าช้ากว่าที่กำหนด แต่เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถวิเคราะห์เสร็จใน 26 มิถุนายนนี้ เพื่อส่งให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาได้ทันในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ และจะส่งโครงการที่ผ่านการพิจารณาให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามกำหนดไว้ในวันที่ 8 กรกฎาคมต่อไป

 

ในช่วงก่อนที่จะให้คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้พิจารณานั้น สภาพัฒน์จะเปิดให้ประชาชนได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอโครงการที่ผ่านการวิเคราะห์ของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ ผ่านทางระบบ ThaiME เพื่อใช้ประกอบการกลั่นกรองโครงการต่อไป เพื่อให้เกิดความรอบคอบและโปร่งใส

 

วันนี้ผู้สื่อข่าวเข้าไปยังเว็บไซต์ ThaiME พบว่ามีเพียงการรายงานข้อมูลล่าสุด คือวันที่ 12 มิถุนายน 2563 โดยมีข้อมูลบนเว็บไซต์ระบุว่า สรุปข้อเสนอโครงการเบื้องต้นวงเงินอยู่ที่ 841,269 ล้านบาท จาก 34,263 โครงการ แบ่งเป็น

  • แผนงานที่ 3.1 มีข้อเสนอ 164 โครงการ วงเงินรวม 284,301 ล้านบาท 
    ยกตัวอย่างโครงการ เช่น 

โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม: ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ วงเงิน 1,900 ล้านบาท โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมโครงการผลิตพันธุ์ดีและปัจจัยการผลิต (เมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์ เนื้อเยื่อ พันธุ์ปศุสัตว์ พันธุ์สัตว์น้ำ ไข่ไหมพันธุ์ดี) วงเงิน 12,045 ล้านบาท โดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

  • แผนงานที่ 3.2 มีข้อเสนอ 33,798 โครงการ วงเงินรวม 465,023 ล้านบาท
    ยกตัวอย่างโครงการ เช่น 

ก่อสร้างถนน คสล. สายซอย 2 หมู่ที่ 5 ตำบลคีรีวง อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่ วงเงิน 4.3 ล้านบาท โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

จัดซื้อเตาเผาขยะลดมลพิษประหยัดพลังงานแบบเคลื่อนที่ วงเงิน 10 ล้านบาท (บนหน้าเว็บมี 2 โครงการที่ชื่อเดียวกันวงเงินเท่ากันและนำเสนอจากหน่วยงานเดียวกัน) โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

 

  • แผนงานที่ 3.3 มีข้อเสนอ 0 โครงการ วงเงินรวม 0 บาท

  • แผนงานที่ 3.4 มีข้อเสนอ 301 โครงการ วงเงินรวม 91,942 ล้านบาท
    ยกตัวอย่างโครงการ เช่น 

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน วงเงิน 42,235 ล้านบาท โดยกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดมากกว่า 2 ล้านลูกบาศก์เมตร วงเงิน 13423 ล้านบาท โดยกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post เงินกู้ 4 แสนล้านอาจไม่พอ! หน่วยงานรัฐเสนอโครงการรวม 1.36 ล้านล้านบาท สภาพัฒน์เร่งวิเคราะห์ก่อน 26 มิ.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์หวัง Q4/63 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ชูเม็ดเงิน 2 แสนล้าน กระตุ้นงานฐานราก-ท้องถิ่น https://thestandard.co/nesdc-hope-q4-2020-thai-economy-will-rise/ Mon, 18 May 2020 11:30:43 +0000 https://thestandard.co/?p=364653

วันนี้ (18 พฤษภาคม)​ ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงา […]

The post สภาพัฒน์หวัง Q4/63 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ชูเม็ดเงิน 2 แสนล้าน กระตุ้นงานฐานราก-ท้องถิ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (18 พฤษภาคม)​ ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ กล่าวว่า แม้ไตรมาส 1/63 การขยายตัวเศรษฐกิจไทยจะติดลบ 1.8% และในไตรมาส 2 คาดว่าผลกระทบจะรุนแรงขึ้นเพราะเป็นช่วงที่มีมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั่วโลกรวมถึงไทย แต่มองว่าไตรมาส 3 และ 4 จะทยอยปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ

 

ทั้งนี้จากผลกระทบเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเกิดจากยุทธศาสตร์เดิมที่รายได้มาจากการส่งออกและท่องเที่ยว ซึ่งทำให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนการผลิตในไทย (เช่น OEM) แต่ขณะนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปทำให้ต่างชาติเปลี่ยนไปลงทุนที่อื่น ดังนั้นไทยควรหันมาเน้นการส่งออกที่มีศักยภาพ และเน้นอุตสาหกรรมบางสาขาเพื่อเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศให้มากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม จากเม็ดเงินจากพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงินฉุกเฉินหลักล้านล้านบาท ส่วนหนึ่งมีแผนการเพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ โดยจะเน้นการสร้างงานในเศรษฐกิจฐานราก เพราะช่วงโควิด-19 มีแรงงานบางส่วนกลับไปยังบ้านเกิด ดังนั้น สศช. ร่วมกับคณะกรรมการกลั่นกรอง ตาม พ.ร.ก. กู้เงินฉุกเฉิน 1 ล้านล้านบาท จะเริ่มพิจารณาโครงการฯ นี้ภายใต้วงเงินเกือบ 2 แสนล้านบาทให้เสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อให้เริ่มในเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน 2563  

 

“เราต้องใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการสร้างอุตสาหกรรมที่เติบโตยั่งยืน อย่างเกษตร น่าจะส่งออกอาหารและต่อยอดอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Economy) เพื่อสร้างฐานยั่งยืน ซึ่งเรื่องเกษตรต่างประเทศต้องพึ่งพิงประเทศไทย นอกจากนี้มีการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยจะเน้นไปที่เศรษฐกิจฐานราก ทั้งชุมชน หมู่บ้าน เพื่อรองรับแรงงานที่กลับบ้านในต่างจังหวัด เราต้องสร้างจุดเมืองสำคัญในประเทศไทย เช่น Southern Economic Corridor เหนือ อีสาน”

 

ทั้งนี้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน วงเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ในส่วนวงเงิน 5 แสนล้านบาท มีเงินเหลืออยู่ 1.9 แสนล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐได้นำวงเงินส่วนหนึ่งไปใช้ในการเยียวยา เช่น วงเงินเยียวยา 5,000 บาท คิดเป็น 1.7 แสนล้านบาท และวงเงินเยียวยาเกษตรราว 1.5 แสนล้านบาท (ทั้งนี้หากคำนวณตัวเลขจะพบว่ามีวงเงินที่ไม่มีการใช้งานอีกราว 1.3 ล้านบาท แต่เลขาธิการ สศช. มิได้ให้คำตอบเพิ่มเติม)

 

“เงินกู้ พ.ร.ก. ฉุกเกิน เราไม่ได้หวังมาสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เราหวังว่าจะมาเยียวยา และประคองสถานการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 นี้” ทศพรกล่าว

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

 


 

ห้ามพลาด! ฟอรัมที่เจาะลึก New Normal ที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย จากวิทยากรระดับประเทศ 40 คน ซื้อบัตรงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM ที่ https://www.eventpop.me/e/8705-economic-forum

 

The post สภาพัฒน์หวัง Q4/63 เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว ชูเม็ดเงิน 2 แสนล้าน กระตุ้นงานฐานราก-ท้องถิ่น appeared first on THE STANDARD.

]]>
บอร์ดธุรกิจเอกชนชงรัฐช่วยจ่ายเงินเดือน 50% หวั่นตกงานแตะ 10 ล้านคน https://thestandard.co/private-business-board-say-government-help-50-percents-of-salary-payment/ Mon, 13 Apr 2020 11:10:00 +0000 https://thestandard.co/?p=353566

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแ […]

The post บอร์ดธุรกิจเอกชนชงรัฐช่วยจ่ายเงินเดือน 50% หวั่นตกงานแตะ 10 ล้านคน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (13 เมษายน) คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีมติแบ่งกลุ่มคณะทำงาน 5 ด้าน เพื่อหาข้อสรุป รวมถึงมาตรการเพิ่มเติม เพื่อช่วยภาคเอกชน ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

 

สำหรับคณะทำงาน 5 ด้าน ประกอบด้วย กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ประกอบด้วย

 

  1. สมาคมธนาคารไทย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
  2. กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ประกอบด้วย หอการค้าไทย
  3. กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์
  4. กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ 
  5. กลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล (Digital Solution) ประกอบด้วย ศุภชัย เจียรวนนท์ ซึ่งจะได้พิจารณาคู่ขนานกันไป เพื่อประกอบการพิจารณาในครั้งต่อไปด้วย

 

สำหรับข้อสรุปเบื้องต้นในวันนี้ สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม เช่น การปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศ และลดค่า FT ตามราคาน้ำมัน เสนอให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม สามารถค้ำประกันได้เพิ่มเติมถึง 80% ให้กับผู้ประกอบการ SMEs

 

ลดเงินสมทบประกันสังคมขานายจ้างเหลือ 1% เท่ากับลูกจ้าง รวมถึงให้สามารถนำค่าใช้จ่ายสำหรับป้องกันโควิด-19 มาหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 3 เท่า

 

ด้านแรงงาน เสนอให้รัฐช่วยจ่ายเงินเดือนสำหรับภาคอุตสาหกรรม ภาคอื่นที่ได้รับผลกระทบ หรือกลุ่มที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้รัฐช่วยจ่ายเงินเดือนในสัดส่วน 50% หรือประมาณ 7,500 บาท ขณะที่นายจ้างจ่าย 23% และลูกจ้างยอมลดค่าจ้าง 25% รวมถึงให้สามารถนำค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างแรงงานในช่วงโควิด-19 มาหักภาษีได้ 3 เท่า

 

รวมทั้งด้านการจัดซื้อจัดจ้าง การส่งมอบงาน ที่ไม่สามารถส่งมอบงานได้ทัน หรือก่อสร้างได้ทัน ให้สามารถเลื่อนสัญญาได้ 4 เดือน รวมทั้งยกเว้นภาษีนิติบุคคล 2 ปี ให้กับ SMEs ทั้งระบบ ขณะเดียวกัน เสนอให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมงได้ หรือลดเวลาการจ้างงานไม่ต้องถึง 8 ชั่วโมงได้

 

กลินท์ สารสิน ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีหลายโครงการผู้รับเหมาที่ก่อสร้างอยากให้รัฐเร่งเบิกจ่าย จะช่วยเสริมสภาพคล่องได้ เรื่องลดหย่อนภาษี ลดค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการจำนอง โอน เปลี่ยนมือ บ้านมือสอง ฯลฯ

 

ขณะที่แรงงานต่างชาติ หรือกลุ่ม Work Permit ที่วีซ่าจะหมดอายุ อยากให้ขยายไปจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 จากเดิมภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้ รวมถึงขอขยายเพดานลดหย่อนภาษีการกุศลจากปัจจุบัน 2% จากกำไรสุทธิ โดยปีนี้เสนอให้ไม่มีเพดานได้หรือไม่ เพื่อเปิดทางให้บริจาคเพิ่มขึ้นได้

 

กลินท์กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์แรงงาน หากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ยืดเยื้อ จะส่งผลให้แรงงานทั้งระบบตกงานถึง 10 ล้านคน จากปัจจุบันที่คาดว่ามีแรงงานตกลงทั้งหมด 7 ล้านคน

 

สำหรับข้อเสนอทั้งหมดนั้น คณะทำงานจะร่วมกันประเมินอีกครั้งในวันที่ 20 เมษายนนี้ ซึ่งบางข้อเสนอจะสามารถเสนอให้ที่ประชุม ครม. พิจารณาอนุมัติได้ทันที

 

ทั้งนี้ สศช. ได้เปิดพื้นที่สาธารณะในการรับฟังความเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ร่วมด้วยช่วยคิด ซึ่งจะรวบรวมข้อเสนอและนำเสนอให้ ครม. พิจารณาต่อไปด้วย

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

รายงาน: ภัทราภรณ์ เกียรตินันท์ 

ติดตามข่าวสารการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่: www.efinancethai.com  

The post บอร์ดธุรกิจเอกชนชงรัฐช่วยจ่ายเงินเดือน 50% หวั่นตกงานแตะ 10 ล้านคน appeared first on THE STANDARD.

]]>