ทวิภพ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 16 Mar 2019 08:24:28 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 15 ปี ทวิภพ The Siam Renaissance ภาพยนตร์ที่ล้มเหลวด้านรายได้ แต่กินใจอย่างที่สุด https://thestandard.co/14-yaers-the-siam-renaissance/ https://thestandard.co/14-yaers-the-siam-renaissance/#respond Mon, 19 Mar 2018 03:07:30 +0000 https://thestandard.co/?p=78171

กระแส บุพเพสันนิวาส ละครโรแมนติกที่ออเจ้าการะเกดพาย้อนย […]

The post 15 ปี ทวิภพ The Siam Renaissance ภาพยนตร์ที่ล้มเหลวด้านรายได้ แต่กินใจอย่างที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>

กระแส บุพเพสันนิวาส ละครโรแมนติกที่ออเจ้าการะเกดพาย้อนยุคกลับไปอิ่มเอมกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยากำลังโด่งดังไปทั่วทุกมุมเมือง

 

แต่เมื่อนึกถึงพล็อตประเภทตัวละครยุคปัจจุบันพาย้อนสู่อดีต ทวิภพ จากบทประพันธ์ขึ้นหิ้งของ คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือทมยันตี คืออีกหนึ่งงานที่อยู่ในความทรงจำและน่าสนใจไม่แพ้กัน

 

บทประพันธ์ ทวิภพ ถูกนำมาสร้างทั้งในรูปแบบภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายครั้ง ซึ่งแทบทุกครั้งก็ล้วนแต่ประสบความสำเร็จ มีเพียงครั้งเดียวเท่านั้นที่ถือว่า ‘ล้มเหลว’ ในด้านรายได้และกระแสความนิยม นั่นคือเวอร์ชันภาพยนตร์ที่เข้าฉายในปี 2547 กำกับโดย สุรพงษ์ พินิจค้า ด้านตัวละครเอกอย่าง มณีจันทร์ รับบทโดย ฟลอเรนซ์ วนิดา เฟเวอร์ ส่วนบทบาท หลวงอัครเทพวรากร รับบทโดย รังสิโรจน์ พันธุ์เพ็ง

 

ทวิภพ The Siam Renaissance สร้างโดย บริษัท ฟิล์ม บางกอก จำกัด ด้วยทุนถึง 100 ล้านบาท ซึ่งถือว่าสูงมากในยุคนั้น ยิ่งไปกว่านั้น สุรพงษ์ พินิจค้า ในฐานะผู้กำกับ เลือกจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างของเรื่องให้แตกต่างจากบทประพันธ์ในฉบับดั้งเดิมที่เคยเน้นเรื่องราวความรักโรแมกติกข้ามภพ โดยมีฉากหลังเป็นบรรยากาศสังคมและการเมืองของประเทศสยามในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ยุคแห่งการล่าอาณานิคมจากตะวันตก ที่สุดท้ายสยามต้องสูญเสียดินแดนไปในช่วงวิกฤต ร.ศ. 112 ให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่เข้มข้นขึ้นในแง่ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ด้วยงานสร้างที่เนรมิตขึ้นอย่างประณีต ละเอียด งดงาม

 

 

สำคัญที่สุดนอกจากเนื้อหา สิ่งที่ทำให้ ทวิภพ เวอร์ชัน 2547 ถูกจดจำคือความคมคายของบทภาพยนตร์ที่สามารถสะท้อนสภาพสังคมไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันได้อย่างหนักแน่น มีชั้นเชิง หนึ่งในฉากคลาสสิกที่ถูกจดจำคือบทสนทนาระหว่างสองตัวละครคู่พระ-นางของเรื่อง

 

หลวงอัครเทพวรากร: สยามต้องขึ้นกับใครไหมในเวลานั้น

มณีจันทร์: เราเป็นเอกราชมาตลอด แต่ก็เสียดินแดนบ้าง เราเปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นประเทศไทย

หลวงอัครเทพวรากร: ไหนแม่มณีลองเล่าซิ บ้านเมืองตอนนั้นเป็นอย่างไร
มณีจันทร์: บ้านเมืองเจริญมาก มีตึกสูงมากมาย ทุกอย่างเปลี่ยนไปหมด มีรถยนต์ ไฟฟ้า โรงหนัง เราแต่งตัวแบบตะวันตก นับถือฝรั่งมากกว่าพวกเดียวกัน เรามีทุกอย่างที่ตะวันตกมี เราเป็นทุกอย่างที่ตะวันตกเป็น เรากินทุกอย่างที่ตะวันตกกิน เราชอบทุกอย่างที่ตะวันตกบอกให้ชอบ เราอยากเป็นเขา และปฏิเสธที่จะเป็นเรา

หลวงอัครเทพวรากร: ไหนว่าเราไม่ได้เป็นเมืองขึ้น แล้วเรายังมีพระเจ้าแผ่นดินไหม

มณีจันทร์: นี่คือสิ่งเดียวที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรายังเป็นเราอยู่

 

ถึงแม้ว่าภาพยนตร์ ทวิภพ The Siam Renaissance ซึ่งเข้าฉายในปี 2547 จะล้มเหลวด้านรายได้ แต่ในแง่ของคุณภาพ ตัวหนังกลับได้รับเสียงชื่นชมและเป็นที่จดจำ แม้จะผ่านกาลเวลามานานถึงขวบปีที่ 15 แล้วก็ตาม

The post 15 ปี ทวิภพ The Siam Renaissance ภาพยนตร์ที่ล้มเหลวด้านรายได้ แต่กินใจอย่างที่สุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/14-yaers-the-siam-renaissance/feed/ 0