ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 21 Nov 2022 08:12:15 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 IAEA เตือน เกาหลีเหนืออาจกำลังเตรียมพร้อม ‘ทดสอบนิวเคลียร์’ https://thestandard.co/north-korean-building-nuclear-advancing/ Tue, 07 Jun 2022 00:32:23 +0000 https://thestandard.co/?p=638659 ทดสอบนิวเคลียร์

ราฟาเอล มาริอาโน กรอสซี (Rafael Mariano Grossi) ผู้อำนว […]

The post IAEA เตือน เกาหลีเหนืออาจกำลังเตรียมพร้อม ‘ทดสอบนิวเคลียร์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทดสอบนิวเคลียร์

ราฟาเอล มาริอาโน กรอสซี (Rafael Mariano Grossi) ผู้อำนวยการใหญ่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency: IAEA) แสดงความกังวลอย่างจริงจังว่า เกาหลีเหนืออาจกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อทำการ ‘ทดสอบนิวเคลียร์’

 

ท่าทีของกรอสซีมีขึ้นในระหว่างการกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย (Board of Governors) ของ IAEA ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวานนี้ (6 มิถุนายน) 

 

โดยเขาเปิดเผยว่า เกาหลีเหนือกำลังมีความคืบหน้าในการก่อสร้างเพื่อขยายพื้นที่โรงงานนิวเคลียร์ยองบยอน (Yongbyon) ซึ่งเป็นโรงงานนิวเคลียร์หลักของประเทศ จากการสังเกตุการณ์พบว่า อาคารใหม่ที่ดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2021 นั้นเสร็จสิ้นแล้ว และยังมีการก่อสร้างเกิดขึ้นในอาคาร 2 หลังที่อยู่ติดกัน

 

กรอสซีเปิดเผยว่า หนึ่งในอุโมงค์ทางเข้าโรงงานนิวเคลียร์ปุงกเยรีของเกาหลีเหนือนั้นได้เปิดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีการเตรียมความพร้อมเพื่อทดสอบนิวเคลียร์ 

 

“ที่โรงงานนิวเคลียร์ที่ปุงกเยรี เราสังเกตเห็นสิ่งบ่งชี้ว่าหนึ่งในทางเข้านั้นถูกเปิดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งอาจเป็นไปเพื่อเตรียมทดสอบนิวเคลียร์” เขากล่าว พร้อมทั้งชี้ว่า “การทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือถือเป็นการขัดต่อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและจะก่อให้เกิดความกังวลอย่างร้ายแรง”

 

ขณะที่กรอสซีเปิดเผยต่อคณะกรรมการนโยบาย IAEA ว่า จนถึงตอนนี้ โรงงานนิวเคลียร์ยองบยอนยังคงมีการดำเนินการและมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง 

 

ภาพ: Photo by Askin Kiyagan/Anadolu Agency via Getty Images

อ้างอิง:

The post IAEA เตือน เกาหลีเหนืออาจกำลังเตรียมพร้อม ‘ทดสอบนิวเคลียร์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
IAEA บรรลุข้อตกลงกับอิหร่าน ขยายเวลาให้ผู้ตรวจสอบด้านนิวเคลียร์ทำงานในอิหร่านได้อีก 3 เดือน ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดลง https://thestandard.co/iaea-achieve-agreement-with-iran-time-extend-for-nuclear-inspectors/ Tue, 23 Feb 2021 00:58:06 +0000 https://thestandard.co/?p=458310 IAEA บรรลุข้อตกลงกับอิหร่าน ขยายเวลาให้ผู้ตรวจสอบด้านนิวเคลียร์ทำงานในอิหร่านได้อีก 3 เดือน ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดลง

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) บรรลุข้อตกลงกั […]

The post IAEA บรรลุข้อตกลงกับอิหร่าน ขยายเวลาให้ผู้ตรวจสอบด้านนิวเคลียร์ทำงานในอิหร่านได้อีก 3 เดือน ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
IAEA บรรลุข้อตกลงกับอิหร่าน ขยายเวลาให้ผู้ตรวจสอบด้านนิวเคลียร์ทำงานในอิหร่านได้อีก 3 เดือน ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดลง

ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) บรรลุข้อตกลงกับอิหร่านที่จะขยายเวลาให้ผู้ตรวจสอบของ IAEA ตรวจสอบและติดตามกิจกรรมนิวเคลียร์ในประเทศได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ซึ่งอาจเป็นการปูทางสู่การให้สหรัฐฯ และอิหร่าน เริ่มการเจรจานิวเคลียร์ได้ โดย ราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการใหญ่ของ IAEA ระบุเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุ ‘ข้อตกลงทางเทคนิค’ ชั่วคราวหลังจากการเยือนอิหร่านของเขา

 

ก่อนหน้านี้อิหร่านเพิ่งจะส่งสัญญาณถึงแผนการที่จะลดความร่วมมือกับ IAEA โดยประกาศออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าอิหร่านจะหยุดปฏิบัติตามพิธีสารเพิ่มเติมของ IAEA ซึ่งจะทำให้เกิดการจำกัดสถานที่และเวลาที่ผู้ตรวจสอบนิวเคลียร์สามารถตรวจสอบได้ ส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบได้ยากขึ้นว่าอิหร่านพยายามพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่

 

กรอสซีชี้ว่า ข้อตกลงชั่วคราวดังกล่าวที่ผ่านการบรรลุจากทั้งสองฝ่ายเมื่อวันอาทิตย์ จะบรรเทาผลกระทบจากการหยุดปฏิบัติตามพิธีสารเพิ่มเติมของฝั่งอิหร่านได้ “สิ่งที่เราได้ตกลงกันคือบางสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้ มันมีประโยชน์ในการลดช่องว่างที่เรากำลังมีอยู่ในตอนนี้ และกอบกู้สถานการณ์ในตอนนี้” เขากล่าว

 

กรอสซียังระบุว่า แม้ผู้ตรวจสอบจากนานาชาติจำนวนเท่าเดิมจะยังคงอยู่ในอิหร่านต่อไป แต่การเข้าถึงโรงงานนิวเคลียร์ของพวกเขาจะถูกจำกัดมากขึ้น และผู้ตรวจสอบเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสอบแบบแจ้งล่วงหน้าแค่เพียงช่วงสั้นๆ ในสถานที่ที่เปิดเผยหรือไม่เปิดเผยอีกต่อไป

 

“นี่ไม่ใช่การทดแทนสำหรับสิ่งที่เราเคยมี นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวที่ช่วยให้เราสามารถยืนยันสิ่งที่เกิดขึ้นที่นั่นให้กับโลกได้ต่อไป ในความหวังว่าเราจะหวนกลับไปสู่ภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น” กรอสซีกล่าว

 

การเฝ้าระวังของ IAEA ที่ครอบคลุมสิทธิ์ในการตรวจสอบต่างๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ข้อตกลงร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการครอบคลุม (Joint Comprehensive Plan of Action – JCPOA)’ ฉบับปี 2015 ซึ่งเป็นข้อตกลงสำคัญที่มีเป้าหมายจำกัดโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน และป้องกันไม่ให้อิหร่านพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อแลกกับการผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตร ซึ่งอิหร่านยืนยันมานานแล้วว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนมีจุดประสงค์เพื่อสันติ ท่ามกลางความสงสัยของประชาคมนานาชาติ

 

โดย โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ มองว่า ข้อตกลงนี้เอื้อเฟื้อต่อฝ่ายอิหร่านมากเกินไป และถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวเมื่อปี 2018 ซึ่งก็ทำให้อิหร่านค่อยๆ ปรับลดความผูกพันที่มีต่อข้อตกลงดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งรวมถึงการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมในระดับที่สูงกว่าที่ได้มีการตกลงกันไว้ ซึ่งยูเรเนียมนี้ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิตระเบิดนิวเคลียร์

 

ขณะที่รัฐบาลของ โจ ไบเดน ระบุเมื่อสัปดาห์ก่อนว่า สหรัฐฯ ยินดีที่จะจัดการเจรจากับอิหร่าน และผู้ลงนามฝ่ายอื่นๆ ในข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการใดๆ ที่เป็นรูปธรรมเพื่อกอบกู้ข้อตกลง หรือกลับไปปฏิบัติตามข้อตกลงนี้ โดยก่อนหน้านี้ทั้งสองฝ่ายต่างยืนยันว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นผู้กลับมาปฏิบัติตามข้อตกลงก่อน

 

จาวาด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่าน บอกกับสำนักข่าว CNN ว่า ความรับผิดชอบยังคงอยู่ที่สหรัฐฯ เหตุเพราะเป็นฝ่ายเลือกที่จะถอนตัวจากข้อตกลงนี้ไปก่อน และย้ำว่าสหรัฐฯ ต้องสร้างความจริงใจเพื่อกลับมาสู่ข้อตกลงนิวเคลียร์อีกครั้ง 

 

ส่วนฝั่งเจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ ก็เน้นย้ำอย่างระมัดระวังว่า ความปรารถนาของฝั่งสหรัฐฯ ที่จะนั่งลงพูดคุยกับพันธมิตรและอิหร่าน ไม่ใช่การยอมอ่อนข้อหรือแม้แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการเจรจานิวเคลียร์ แต่เป็นขั้นตอนทางการทูตขั้นตอนแรกเพื่อค้นหาว่าจะทำอย่างไรที่จะเริ่มการอภิปรายในประเด็นนี้

 

ด้าน เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของไบเดน ระบุกับ CNN ว่า เจ้าหน้าที่ทางการสหรัฐฯ ต่างกังวลเป็นพิเศษกับการตัดสินใจของอิหร่านในการปฏิเสธที่จะร่วมมือกับ IAEA และระบุว่า “เรื่องที่จะต้องรับมือก่อนสิ่งอื่นก็คือการตัดสินใจของชาวอิหร่านที่จะถอยออกจากการปฏิบัติตามข้อตกลง และผมก็เชื่อว่ามีวิถีทางการทูตอยู่” เขายังเชื่อว่านี่เป็นเพียงขั้นตอนแรก ซึ่งยังต้องอาศัยการทำงาน ตลอดจนการทูตที่ปฏิบัติได้จริงและไม่ใช่เพียงภาพลวงตา และยังต้องอาศัยการตัดสินใจโดยอิหร่านเองว่าพร้อมที่จะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็น เพื่อสร้างความมั่นใจและพิสูจน์ให้โลกเห็นว่าโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านมีจุดประสงค์เพื่อสันติเท่านั้น

 

ภาพ: IIPA via Getty Images

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

The post IAEA บรรลุข้อตกลงกับอิหร่าน ขยายเวลาให้ผู้ตรวจสอบด้านนิวเคลียร์ทำงานในอิหร่านได้อีก 3 เดือน ภายใต้ขอบเขตที่จำกัดลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทรัมป์ถามที่ปรึกษาความมั่นคงถึงความเป็นไปได้ในการโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่าน https://thestandard.co/trump-asked-about-the-possibility-of-an-attack-on-irans-nuclear-place/ Tue, 17 Nov 2020 12:33:01 +0000 https://thestandard.co/?p=422126 ทรัมป์ถามที่ปรึกษาความมั่นคงถึงความเป็นไปได้ในการโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่าน

The New York Times รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธาน […]

The post ทรัมป์ถามที่ปรึกษาความมั่นคงถึงความเป็นไปได้ในการโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทรัมป์ถามที่ปรึกษาความมั่นคงถึงความเป็นไปได้ในการโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่าน

The New York Times รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้สอบถามไปยังผู้ช่วยระดับสูงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการโจมตีสถานที่พัฒนานิวเคลียร์ของอิหร่าน

 

หนังสือพิมพ์ดังกล่าวรายงานอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่อาวุโสและอดีตเจ้าหน้าที่รวม 4 คน โดยระบุว่า การประชุมเกิดขึ้นที่ห้องทำงานรูปไข่ในทำเนียบขาวเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว (12 พฤศจิกายน) ซึ่ง 1 วันก่อนหน้านั้น ทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ออกรายงานว่า อิหร่านเก็บสะสมแร่ยูเรเนียมแตะระดับ 12 เท่าของขีดจำกัด 300 กิโลกรัมตามที่กำหนดในข้อตกลงแผนปฏิบัติการร่วมฉบับครอบคลุม ซึ่งสหรัฐฯ และอีก 5 ชาติลงนามเมื่อปี 2015 แต่ทรัมป์นำสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงดังกล่าวในปี 2018

 

แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่เปิดเผยกับ The New York Times ว่า ทรัมป์ได้สอบถามที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติระดับสูงสุดว่ามีทางเลือกอะไรที่เขาทำได้ รวมถึงวิธีการใดที่ดีที่สุดในการตอบโต้อิหร่าน

 

สื่อระบุต่อว่า ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดี, ไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, คริสโตเฟอร์ มิลเลอร์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พลเอก มาร์ก มิลลีย์ ประธานคณะเสนาธิการทหารร่วม เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ปรึกษาระดับสูงที่โน้มน้าวให้ทรัมป์อย่าใช้ปฏิบัติการทางทหารกับอิหร่าน โดยพวกเขาเตือนด้วยว่า การโจมตีอิหร่านอาจบานปลายกลายเป็นการเผชิญหน้าเต็มรูปแบบในช่วงวันท้ายๆ ก่อนที่ทรัมป์จะหมดวาระการดำรงตำแหน่ง

 

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า หลังจากที่ปอมเปโอและพลเอก มิลลีย์เตือนว่าการโจมตีเช่นว่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้ความขัดแย้งขยายวงกว้างแล้ว บรรดาเจ้าหน้าที่ก็เดินออกจากห้องประชุม โดยต่างก็คิดว่าการโจมตีเป้าหมายบนแผ่นดินอิหร่านด้วยขีปนาวุธคงไม่ใช่ทางเลือกอีกต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่เปิดเผยกับ The New York Times ว่า ทรัมป์ยังคงพิจารณาแผนโจมตีพันธมิตรหรือสินทรัพย์ของอิหร่าน เช่น กลุ่มติดอาวุธในอิรัก 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

https://edition.cnn.com/2020/11/16/politics/trump-possible-offensive-iran-nuclear-site/index.html?utm_source=fbCNNi&utm_medium=social&utm_term=link&utm_content=2020-11-17T10%3A00%3A18&fbclid=IwAR3Q9dOtBwj_EGhpg_-kstXOqXzm9lRyJcJ6dCZzG5ukRH9cqbPzBrzmjx0  

The post ทรัมป์ถามที่ปรึกษาความมั่นคงถึงความเป็นไปได้ในการโจมตีสถานที่นิวเคลียร์ของอิหร่าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
IAEA เผย อิหร่านหวนเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมในโรงนิวเคลียร์ใต้ดิน https://thestandard.co/iran-nuclear-deal-iaea-finds-uranium-undeclared-site/ Tue, 12 Nov 2019 05:39:01 +0000 https://thestandard.co/?p=302894 โรงงานนิวเคลียร์

วานนี้ (11 พฤศจิกายน) ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ […]

The post IAEA เผย อิหร่านหวนเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมในโรงนิวเคลียร์ใต้ดิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
โรงงานนิวเคลียร์

วานนี้ (11 พฤศจิกายน) ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เปิดเผยรายงานยืนยันว่าอิหร่านได้กลับมาเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมสำหรับใช้ในการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์อีกครั้งภายในโรงงานนิวเคลียร์ใต้ดินฟอร์โด เมืองกอม ทางภาคกลางของอิหร่าน โดยเริ่มเดินเครื่องตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา (9 พฤศจิกายน) ซึ่งถือเป็นการละเมิดข้อตกลงนิวเคลียร์ 2015 ระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจที่ห้ามอิหร่านเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมที่โรงงานดังกล่าว ซึ่งสร้างขึ้นใต้ดินเพื่อป้องกันการโจมตีจากต่างชาติ 

 

รายงานยังระบุว่า IAEA ตรวจพบอนุภาคยูเรเนียมในสถานที่ลับ ซึ่งอิหร่านไม่เคยแจ้งต่อ IAEA มาก่อน ขณะที่สำนักข่าว BBC รายงานข้อมูลจากเอกสารลับ ที่แม้จะไม่ระบุพิกัดชัดเจนของสถานที่ดังกล่าว แต่เชื่อว่ามาจากเขตเทอร์กุซาบัด ซึ่งเป็นจุดที่ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เปิดเผยเมื่อปีที่ผ่านมาว่าเป็นคลังนิวเคลียร์ลับของอิหร่าน ซึ่งที่ผ่านมาทางการอิหร่านยืนยันว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นโรงงานทำความสะอาดพรมและไม่มีความลับใดๆ

 

อย่างไรก็ตาม อิหร่านยังไม่แสดงท่าทีต่อรายงานที่ออกมา ขณะที่ IAEA ยืนยันว่าการติดต่อพูดคุยระหว่างอิหร่านและ IAEA นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 

 

รายงานดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีฮัสซัน โรฮานี ของอิหร่านประกาศจะทยอยยุติการปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงนิวเคลียร์ด้วยการกลับมาเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมอีกครั้งในโรงงานดังกล่าว เพื่อเพิ่มแรงกดดันต่อสหรัฐฯ และชาติมหาอำนาจ หลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัดสินใจนำสหรัฐฯ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ไปเมื่อปีที่ผ่านมา และรื้อฟื้นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน 

 

ขณะที่ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนี 3 มหาอำนาจที่ยังอยู่ร่วมในข้อตกลงแสดงความกังวลอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของอิหร่าน และเตือนว่าอาจส่งผลให้ความพยายามคลี่คลายความตึงเครียดในภูมิภาคนั้นยากขึ้น

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

The post IAEA เผย อิหร่านหวนเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมในโรงนิวเคลียร์ใต้ดิน appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘บ้านปู เพาเวอร์’ รุกญี่ปุ่น เตรียมสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 13 แห่ง หวังครองตลาดพลังงานทดแทน https://thestandard.co/banpupower-japan-solar-farms/ https://thestandard.co/banpupower-japan-solar-farms/#respond Wed, 22 Nov 2017 09:56:31 +0000 https://thestandard.co/?p=49013

     คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ‘ญี่ปุ่น’ ค […]

The post ‘บ้านปู เพาเวอร์’ รุกญี่ปุ่น เตรียมสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 13 แห่ง หวังครองตลาดพลังงานทดแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>

     คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ‘ญี่ปุ่น’ คือหนึ่งในประเทศเจ้านวัตกรรมสุดสร้างสรรค์ของโลกยุคปัจจุบัน เพราะไม่ว่าจะเผชิญปัญหาการดำรงชีวิตกี่ครั้งต่อกี่ครั้งในระดับความรุนแรงที่มากน้อยแตกต่างกันออกไป แต่ที่สุดแล้วพลเมืองญี่ปุ่นก็มักจะคิดหาหนทางถอดสลักอุปสรรคเหล่านั้นได้ด้วยนวัตกรรมไอเดียบรรเจิดอยู่ดี

     โดยเฉพาะกรณีที่ญี่ปุ่นหันมาให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันกำลังกลายเป็นกระแสนิยมทั่วโลก เพราะสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจในการร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและการลดปริมาณการปล่อยมลพิษ ทั้งยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าได้มากกว่าการพึ่งพาเชื้อเพลิงแบบเก่าๆ ได้อีกหลายเท่าตัว

     ที่สำคัญยังเปิดโอกาสให้ฝั่งเอกชนเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและพัฒนาพลังงานภายในประเทศอีกด้วย จนมีบริษัทที่สนใจหลายแห่งๆ รวมถึง ‘บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)’ จากประเทศไทยที่ก้าวเข้ามาเป็นหนึ่งผู้เล่นในตลาดพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์เป็นที่เรียบร้อย

     แต่กว่าจะผ่านมาถึงจุดที่ญี่ปุ่นมีรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ใช้งานอย่างทุกวันนี้ และเป็นฟันเฟืองสำคัญผลักดันหลายๆ ประเทศให้หันมาใช้พลังงานทางเลือกได้นั้น พวกเขาก็เคยผ่านจุดวิกฤตครั้งสำคัญของประเทศมาก่อนเช่นกัน

 

Photo: Flickr

 

จากหายนะสู่พลังงานทางเลือก เมื่อญี่ปุ่นเปลี่ยนภัยพิบัติให้เป็นโอกาสพัฒนาประเทศ

     ย้อนกลับไปในเดือนมีนาคม ปี 2011 หรือเมื่อประมาณ 6 ปีที่แล้ว ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับเหตุการณ์ความสูญเสียครั้งสำคัญ เมื่อฟุกุชิมะ (Fukushima) เมืองทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรง จนนำไปสู่การก่อตัวของคลื่นสึนามิที่สร้างความเสียหายชนิดที่ไม่มีใครคาดคิด คร่าชีวิตผู้คนมากกว่า 18,500 คน มีประชาชนมากกว่า 2 แสนคนต้องอพยพหนีเอาชีวิตรอด

     ไม่เพียงเท่านั้น เหตุการณ์ครั้งดังกล่าวยังสร้างความเสียหายให้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิอีกด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ความเสียหายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิโดยตรง แต่ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ก็ได้ออกมาประกาศภายหลังว่า อุบัติเหตุนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นนี้คิดเป็นมาตรความเสียหายในระดับที่ 7 (ระดับสูงสุด) เป็นรองเพียงแค่ภัยพิบัติเชอร์โนบิลที่เคยเกิดขึ้นในสหภาพโซเวียต เมื่อปี 1986 เท่านั้น!

     ยิ่งไปกว่านั้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังบั่นทอนความไว้เนื้อเชื่อใจที่ชาวญี่ปุ่นมีต่อโรงพลังงานผลิตไฟฟ้าแบบเดิมๆ และนำไปสู่การตั้งคำถามถึงความปลอดภัยของแหล่งพลังงานชนิดนี้อีกด้วย

     โทชิฮิเดะ คุโบะ (Toshihide Kubo) ประธานบริหารบ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ประเทศญี่ปุ่น เล่าถึงจุดเริ่มต้นการหันมาใส่ใจพลังงานทางเลือกของประเทศญี่ปุ่นว่า “การที่ญี่ปุ่นเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศไปสู่แหล่งพลังงานไฟฟ้าทดแทนได้อย่างรวดเร็วมากๆ ในเชิงอุตสาหกรรมนั้น สืบเนื่องมาจากผลของเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิเมื่อปี 2011

     “เดิมทีนั้นคนญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในตัวโรงงานผลิตพลังงานแบบเดิมมากๆ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น โรงพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ถูก disrupt ทันที ความน่าเชื่อถือในตัวองค์กรผลิตพลังงานไฟฟ้าก็ลดลงต่อเนื่อง และทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเริ่มเกิดความคิดที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตพลังงานไฟฟ้าใหม่”

     จากหายนะครั้งดังกล่าวนี่เองที่ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นหันไปมองตัวเลือกอื่นๆ อย่างเช่นพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และไม่สร้างผลกระทบหรือความเสียหายให้กับธรรมชาติเหมือนที่โรงพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก่อไว้

     นอกจากนี้ยังมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในเชิงธุรกิจของพลังงานในประเทศ (restructure energy power) เพื่อเปิดทางให้บริษัทเอกชนต่างๆ ก้าวเข้ามาลงทุนเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าขายได้ (energy provider) รวมถึงบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ ‘BPP’ หนึ่งในผู้ประกอบการด้านพลังงานไฟฟ้าจากไทยเจ้าแรกๆ ที่ประสบความสำเร็จในการกลายเป็นผู้เล่นด้านพลังงานทางเลือกที่น่าจับตาในตลาดแดนอาทิตย์อุทัย

 

 

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทจากประเทศไทยที่รุกหนักเดินหน้าขยายฐานธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น

     ผลจากการปรับโครงสร้างธุรกิจด้านพลังงานครั้งใหญ่ในประเทศญี่ปุ่น บ้านปู เพาเวอร์ จึงเล็งเห็นโอกาสสำคัญในการขยายธุรกิจฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์หรือ ‘โซลาร์ เซลล์’ ไปยังต่างแดน และเริ่มเข้าไปลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศญี่ปุ่นเป็นรายแรกๆ ตั้งแต่ช่วงปี 2014 ผ่านการสนับสนุนและความเชื่อมั่นจากพันธมิตรในญี่ปุ่น

     ปัจจุบันบ้านปูมีฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ที่เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในเชิงพาณิชย์ที่ญี่ปุ่นมากถึง 3 แห่งแล้ว ได้แก่ โครงการโอลิมเปีย (Olympia), โครงการฮิโนะ (Hino) และโครงการอวาจิ (Awaji) ซึ่งทั้ง 3 แห่งนี้มีกำลังการผลิตตามสัดส่วนการลงทุนรวม 12.6 เมกะวัตต์ และยังมีอีก 10 แห่งที่จ่อคิวเตรียมทยอยเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเร็วๆ นี้ รวมถึงโครงการยามางาตะ ไออีเดะ (Yamagata Iide) ที่จะมีขนาดกำลังการผลิตสูงถึง 200 เมกะวัตต์! (คาดว่าจะเสร็จสิ้นทุกแห่งในช่วงปี 2020)

     หากแล้วเสร็จทั้ง 13 โครงการฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ในญี่ปุ่น บ้านปู เพาเวอร์จะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์คิดรวมเป็น 233.3 เมกะวัตต์เลยทีเดียว

 

 

     วรวุฒิ ลีนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “ตอนนี้เรามีทีมงานที่แข็งแกร่งมาก ขณะที่บ้านปูก็ยังได้รับการยอมรับจากบริษัทพันธมิตรมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจที่ดี

     “ส่วนในเชิงของผลงานบ้านปู เพาเวอร์นั้น อาจจะต้องแยกตามลักษณะธุรกิจ แต่พอร์ตโฟลิโอของเราก็เริ่มชัดเจนและขยายไปยังต่างประเทศมากขึ้น ไม่ได้กระจุกตัว เรามีกำลังผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ชนิดของพลังงานที่เราผลิตได้ก็เป็นพลังงานทดแทน (renewable energy) ด้วย และเชื่อว่าผลประกอบการโดยรวมของเราจะดีขึ้นกว่าเดิมแน่นอน”

     ในฐานะที่เป็นพลเมืองญี่ปุ่น โทชิฮิเดะ คุโบะ ให้ความเห็นเช่นกันว่าการเข้ามาลงทุนที่ญี่ปุ่นในครั้งนี้ของบ้านปู เพาเวอร์นับเป็นโอกาสที่ดีมากๆ เพราะเข้ามาเป็นผู้เล่นตลาดพลังงานทดแทนในช่วงที่ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าไปไกลแล้ว และยังทันการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (FIT) เป็นระยะเวลา 20 ปีกับทาง KEPCO หรือการไฟฟ้าโอซาก้า (จากโรงไฟฟ้าอวาจิ) ในเรตราคาที่ยัง ‘สูง’ อยู่ คิดเป็น 40 เยนต่อกิโลวัตต์ เพราะยิ่งปล่อยให้เวลาผ่านไปก็จะมีผู้เล่นในตลาดนี้มากขึ้นและจะเป็นผลให้เรตราคาในการขายต่อไฟฟ้าลดลงนั่นเอง

 

 

โครงการอวาจิ หนึ่งในแลนด์มาร์กฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ชุดบุกเบิกของบ้านปู

     สำหรับโครงการพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในอวาจิที่ THE STANDARD มีโอกาสได้แวะเวียนไปเยี่ยมชมนั้นตั้งอยู่บนเกาะอวาจิ ในจังหวัดเฮียวโงะ (Hyogo) บนพื้นที่โล่งขนาดกว่า 160,000 ตารางเมตรหรือราว 100 ไร่

     ฟาร์มผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้สร้างขึ้นด้วยงบลงทุนกว่า 4 พันล้านเยน และสามารถให้กำลังการผลิตไฟฟ้าได้รวมกว่า 7.92 เมกะวัตต์ โดยเพิ่งจะเปิดใช้งานเชิงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมานี่เอง

     เจ้าหน้าที่ประจำบริษัทบ้านปู เพาเวอร์ ประเทศญี่ปุ่นรายหนึ่งบอกกับเราว่า เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นพื้นที่ปล่อยทิ้งร้าง ไม่ได้ถูกนำไปทำประโยชน์มาก่อน รัฐบาลญี่ปุ่นจึงเล็งเห็นว่าน่าจะนำมาทำประโยชน์ต่อได้มหาศาล ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการนำมาพัฒนาเป็นแหล่งผลิตพลังงานทดแทน จึงได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจากผู้สูงอายุเจ้าของที่ในขณะนั้นเพื่อนำมาขายต่ออีกทอดหนึ่งให้เหล่าผู้ประกอบการพลังงานทดแทนในที่สุด

     และเมื่อได้ลงพื้นที่จริงก็พบว่าฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ที่อวาจิของบ้านปูแห่งนี้มีอาณาบริเวณที่กว้างขวาง แผงพลังงานแสงอาทิตย์ทุกแผงตั้งตระหง่านเรียงรายประจันหน้ากับแสงแดดที่สาดส่องลงมาพร้อมสะสมประจุพลังงานไฟฟ้าอย่างไม่หยุดหย่อน

     กระนั้นก็ตาม เราก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ดีว่าในกรณีที่อาจจะเกิดภัยพิบัติหรือภัยธรรมชาติกับฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ขึ้น บ้านปูจะมีวิธีรับมือกับมันอย่างไร

     เจ้าหน้าที่ประจำบริษัทบ้านปู เพาเวอร์ ประเทศญี่ปุ่นคนเดิมบอกกับเราว่าสบายใจได้เลย เพราะก่อนที่จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ ทางธนาคารผู้อนุมัติเงินทุนในการก่อสร้างได้ประเมินความคุ้มทุนในการก่อสร้างก่อนที่จะเริ่มอนุมัติเงินอยู่แล้ว นอกจากนี้ก็ยังมีการทำประกันกรณีเกิดอุบัติเหตุล่วงหน้าไว้อีกด้วย

     ทั้งนี้ เป้าหมายที่ใหญ่ที่สุดของบ้านปู ณ เวลานี้ คือการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยปัจจุบันพวกเขามีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมอยู่ที่ 2,068 เมกะวัตต์ โดยใน 8% ของพลังงานในสัดส่วนดังกล่าวคือพลังงานทดแทน แต่ภายในปี 2025 ที่จะถึงนี้ บ้านปู เพาเวอร์ตั้งเป้าว่าจะต้องผลิตพลังงานไฟฟ้าให้ได้มากกว่า 4,300 เมกะวัตต์จากโรงไฟฟ้าในหลายๆ ประเทศเช่น ไทย, จีน, ญี่ปุ่น, เวียดนาม, อินโดนีเซีย และลาว โดยสัดส่วนกว่า 20% ของพลังงานไฟฟ้าจำนวนดังกล่าวจะต้องเป็นพลังงานทดแทน

     วรวุฒิ กล่าวว่า “ในฐานะ regional player บ้านปู เพาเวอร์ ยังคงมองหาโอกาสทางธุรกิจที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป และพลังงานหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีศักยภาพทางการเติบโตด้านการใช้ไฟฟ้าและมีนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแผนกลยุทธ์ที่วางไว้

     “ที่สำคัญบ้านปู เพาเวอร์ ไม่เพียงมุ่งขยายการลงทุนในประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเติบโตทางธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียว เพราะมีปณิธานที่จะเป็นพลเมืองที่ดีที่มีส่วนช่วยสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนที่เข้าไปดำเนินธุรกิจด้วยเช่นกัน อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นกรอบแนวทางที่เรายึดปฏิบัติเสมอมา”

     ถือเป็นความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจและพลังงานทดแทนที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับการบุกตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ที่ญี่ปุ่นในคราวนี้ของบ้านปู เพาเวอร์ ส่วนพวกเขาจะบรรลุเป้าหมายในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จได้หรือไม่นั้นก็คงต้องติดตามกันต่อไป

 

อ้างอิง:

The post ‘บ้านปู เพาเวอร์’ รุกญี่ปุ่น เตรียมสร้างโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 13 แห่ง หวังครองตลาดพลังงานทดแทน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/banpupower-japan-solar-farms/feed/ 0