ติดล้อ โฮลดิ้งส์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 12 Jun 2024 10:43:48 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เปิดเหตุผล ‘เงินติดล้อ’ ตัดสินใจปรับโครงสร้างเป็น ‘ติดล้อ โฮลดิ้งส์’ https://thestandard.co/tid-lor-shareholding-structure/ Wed, 12 Jun 2024 10:38:08 +0000 https://thestandard.co/?p=944430 เงินติดล้อ

เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา บริษัท เงินติดล้อ จำกัด […]

The post เปิดเหตุผล ‘เงินติดล้อ’ ตัดสินใจปรับโครงสร้างเป็น ‘ติดล้อ โฮลดิ้งส์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เงินติดล้อ

เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR แจ้งมติคณะกรรมการบริษัทในการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ โดยประเด็นหลักคือการจัดตั้งบริษัทใหม่ที่ชื่อ ‘ติดล้อ โฮลดิ้งส์’ เพื่อประกอบธุรกิจบริษัทลงทุน (Holding Company) และจะเสนอให้ผู้ถือหุ้นเดิมเปลี่ยนมาถือหุ้นติดล้อ โฮลดิ้งส์ แทนที่หุ้นเงินติดล้อ

 

นอกจากนี้บริษัทจะโอนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัย ในรูปแบบ InsurTech ได้แก่ AREEGATOR และ heygoody รวมทั้งทรัพย์สินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปอยู่ภายใต้ติดล้อ โฮลดิ้งส์

 

บริษัท แคปปิตอล แอ๊ดแวนเทจ จำกัด ที่ปรึกษาการเงินอิสระ ให้ความเห็นว่า ปัจจุบัน TIDLOR มีสถานะเป็นนิติบุคคลต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นเป็นบุคคล และ/หรือนิติบุคคลต่างประเทศ รวมกันเกินกว่า 50% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งหมด ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่ของเงินติดล้อคือ MUFG ซึ่งถือหุ้นผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา

 

ส่งผลให้บริษัทต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business License: FBL) และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ต้องดำรงสัดส่วนเงินกู้ต่อทุนชำระแล้วของบริษัทไม่เกิน 7 เท่า

 

ซึ่งข้อกำหนดนี้เองเป็นหนึ่งในสาเหตุของการตัดสินใจปรับโครงสร้างในครั้งนี้

 

จากการเติบโตของธุรกิจที่ผ่านมา ทำให้บริษัทต้องจัดหาเงินทุนบางส่วนจากการกู้ยืม และด้วยข้อกำหนดดังกล่าว ทำให้บริษัทต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนและจ่ายเงินปันผลบางส่วนเป็นหุ้น เพื่อให้บริษัทสามารถกู้ยืมเงินเพื่อรองรับการเติบโต และดำรงสัดส่วนหนี้ต่อทุนไม่ให้เกิน 7 เท่า

 

สิ่งที่เกิดขึ้นคือนักลงทุนบางส่วนสับสนในผลประกอบการของบริษัท โดยเฉพาะผลกระทบต่อราคาหุ้น และผลกระทบต่อกำไรต่อหุ้น เพราะระหว่างปี 2564-2566 กำไรสุทธิของบริษัทเติบโตจากประมาณ 12,000 ล้านบาท มาเป็น 18,900 ล้านบาท แต่กำไรต่อหุ้นกลับอยู่เดิมที่ประมาณ 1.4 บาทต่อหุ้น

 

เงินปันผลอาจยังไม่สูง หลังปรับเป็นโฮลดิ้งส์

 

ตฤณ สิทธิสวัสดิ์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การจ่ายปันผลเป็นหุ้นแทนที่จะเป็นเงินสด ทำให้หุ้น TIDLOR ได้รับผลกระทบตลอด แต่การปรับไปเป็นโฮลดิ้งส์ และให้ผู้ถือหุ้นเดิมของ TIDLOR ไปถือ ติดล้อ โฮลดิ้งส์ แทน จะทำให้ข้อจำกัดนี้หมดไป โดยจะสามารถจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดได้ตามนโยบายที่กำหนดไว้

 

อย่างไรก็ตามตฤณมองว่า แม้ติดล้อ โฮลดิ้งส์ ตั้งใจจะจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด แต่ช่วงแรกจะยังไม่สูงนัก เพราะเงินติดล้อยังคงจำเป็นจะต้องจ่ายปันผลเป็นหุ้นให้กับโฮลดิ้งส์ เพื่อดำรงหนี้ต่อทุนให้ไม่เกิน 7 เท่าเช่นเดิม

 

“ช่วงแรกเงินปันผลของโฮลดิ้งส์จะมาจากธุรกิจ InsurTech เป็นหลัก ที่เดิมทีอยู่ภายใต้เงินติดล้อ แต่หลังจากนี้จะมาอยู่ภายใต้โฮลดิ้งส์แทน”

 

นอกจากแก้ข้อจำกัดให้กับผู้ถือหุ้น การปรับโครงสร้างครั้งนี้จะช่วยให้ข้อจำกัดในการขยายธุรกิจใหม่ลดลง แต่การเติบโตอาจยังไม่ได้เด่นชัดมากนัก

 

ทั้งนี้หลังการปรับโครงสร้างครั้งนี้ หุ้น TIDLOR ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะยังเป็นชื่อเดิมคือ TIDLOR เพียงแต่ติดล้อเวอร์ชันใหม่จะกลายเป็น Holding Company ที่มีเงินติดล้อเดิมเป็นหนึ่งในบริษัทในเครือ

The post เปิดเหตุผล ‘เงินติดล้อ’ ตัดสินใจปรับโครงสร้างเป็น ‘ติดล้อ โฮลดิ้งส์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>