ตัดต้นไม้ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 26 Jan 2024 01:20:39 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 อบจ.เชียงใหม่ตัดแต่งต้นยางนาอายุกว่า 140 ปี เตรียมรับลมฤดูร้อน สร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถใช้ถนน https://thestandard.co/chiang-mai-trimming-rubber-trees/ Fri, 26 Jan 2024 01:20:39 +0000 https://thestandard.co/?p=892317

วานนี้ (25 มกราคม) ที่ทางหลวงหมายเลข 106 ถนนสายเชียงใหม […]

The post อบจ.เชียงใหม่ตัดแต่งต้นยางนาอายุกว่า 140 ปี เตรียมรับลมฤดูร้อน สร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถใช้ถนน appeared first on THE STANDARD.

]]>

วานนี้ (25 มกราคม) ที่ทางหลวงหมายเลข 106 ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน สายเก่า (ถนนต้นยาง) ตำบลสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ช่างภาพข่าว THE STANDARD เก็บภาพการดำเนินการตัดแต่งต้นยางนาในระยะทางกว่า 11 กิโลเมตร โดยเริ่มจากอำเภอสารภี เขตติดต่อจังหวัดลำพูน มาจนถึงบริเวณสี่แยกด้านหน้าสถานีตำรวจภูธรแม่ปิง อำเภอเมืองเชียงใหม่ ซึ่งดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ (อบจ.)

 

สำหรับต้นยางนาที่ถูกตัดแต่งวันนี้ เป็นต้นที่มีอายุมากกว่า 140 ปี โดยต้นยางนามีจำนวนทั้งหมด 1,043 ต้น ทั้งนี้ จากการสำรวจก่อนการตัดแต่งพบว่า มีต้นยางนาที่มีความเสี่ยงสูงจำนวน 36 ต้น, ความเสี่ยงปานกลางจำนวน 763 ต้น และความเสี่ยงต่ำจำนวน 244 ต้น 

 

ทั้งนี้ การพิจารณาความเสี่ยงของต้นยางนาจะมีการกำหนดเกณฑ์ไว้หลายด้าน เช่น สภาพการยืนต้นของต้นยางนาที่มีลำต้นผุ โน้มเอียง เป็นโพรง หรือกิ่งแห้งกรอบ จะถือว่าเป็นต้นที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจจะหักโค่นหรือล้มลงมาสร้างอันตรายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนได้ 

 

โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อนของทุกปี มักจะเป็นช่วงที่เกิดลมพายุฤดูร้อนขึ้นเป็นประจำ การดำเนินการตัดแต่งในครั้งนี้จึงเป็นการเตรียมความพร้อมในฤดูร้อนที่จะมาถึง ซึ่งตามกำหนดระยะเวลาจะดำเนินการไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2567 แต่จะพยายามดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเทศกาลสงกรานต์ 

 

สำหรับการตัดแต่งต้นยางนา จะครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่ ในเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง, เทศบาลตำบลสารภี, เทศบาลตำบลหนองผึ้ง และเทศบาลตำบลหนองหอย เนื่องจากต้นยางนามีขนาดใหญ่และสูง

 

ต้นยางนาที่ปลูกอยู่บริเวณ 2 ข้างทาง ตลอดแนวถนนเชียงใหม่-ลำพูน ในอดีตเป็นสัญลักษณ์แสดงเขตแนวจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน เริ่มปลูกครั้งแรกในปี 2425 ตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ อำเภอเมืองเชียงใหม่ ถึงตำบลอุโมงค์ เขตติดต่อจังหวัดลำพูน

 

The post อบจ.เชียงใหม่ตัดแต่งต้นยางนาอายุกว่า 140 ปี เตรียมรับลมฤดูร้อน สร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถใช้ถนน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ECO TIP: Saving Tissue ช่วยลดการตัดต้นไม้ https://thestandard.co/life/eco-tip-18032023 Sat, 18 Mar 2023 03:44:30 +0000 https://thestandard.co/?p=764877 Saving Tissue

“ช่วยเก็บผ้าเช็ดหน้าของฉันหน่อยได้ไหม” ร้องเพลงนี้วนไปไ […]

The post ECO TIP: Saving Tissue ช่วยลดการตัดต้นไม้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Saving Tissue

“ช่วยเก็บผ้าเช็ดหน้าของฉันหน่อยได้ไหม” ร้องเพลงนี้วนไปได้เลย เพราะการใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชูช่วยลดการตัดต้นไม้ได้ 

 

ทิชชูเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเรา มีข้อมูลเชิงสถิติระบุว่าคนไทยใช้กระดาษทิชชูประมาณ 4 กิโลกรัมต่อคนต่อปี นั่นแปลว่าถ้าตัวเลขประชากรไทยคิดแบบกลมๆ อยู่ที่ 70 ล้านคน เท่ากับคนทั้งประเทศใช้กระดาษทิชชูรวมกันราวๆ 280 ล้านกิโลกรัมต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ ขณะที่การผลิตกระดาษทิชชูแต่ละม้วนที่สร้างจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์นั้นพบว่า ต้นไม้ 1 ต้นผลิตทิชชูได้ 50 กิโลกรัม การสูญเสียต้นไม้ในแต่ละปีจึงอยู่ราวๆ 5.6 ล้านต้นต่อปี พอรู้แบบนี้แล้วมาช่วยกันประหยัดการใช้กระดาษทิชชูเพื่อช่วยลดการตัดต้นไม้ทางอ้อมกันดีกว่า ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน 

 

ใช้ผ้าเช็ดหน้าแบบซักได้แทนทิชชู

เป็นหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการลดการใช้ทิชชู ด้วยการเปลี่ยนมาใช้ผ้าเช็ดหน้าที่ซักได้ สามารถใช้ซ้ำได้ เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ดีและประหยัด 

 

เลือกใช้ผ้าเช็ดปากที่ใช้ซ้ำได้

การใช้ผ้าเช็ดปากแทนกระดาษทิชชูแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นทางเลือกที่ช่วยเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นเช่นเดียวกับผ้าเช็ดหน้า ยิ่งใช้ซ้ำและนำมาซักใช้ใหม่ก็ยิ่งมีส่วนช่วยลดการตัดต้นไม้ได้มากเท่านั้น 

 

เลือกทิชชูที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล

หากคุณต้องการใช้กระดาษทิชชูแบบใช้แล้วทิ้ง ให้เลือกกระดาษที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล ซึ่งช่วยลดปริมาณของเสียที่เกิดจากการผลิตเนื้อเยื่อ และลดความต้องการต้นไม้ใหม่ มองหากระดาษทิชชูที่มีป้ายกำกับว่า ‘รีไซเคิล 100%’ หรือผ่านการรีไซเคิลในกระบวนการผลิต เพื่อให้แน่ใจว่าเรากำลังเลือกทางเลือกที่ยั่งยืน

 

ใช้ทิชชูเมื่อจำเป็นเท่านั้น

พวกเราหลายคนมีแนวโน้มที่จะใช้กระดาษทิชชูมากกว่าที่เราต้องการ การใช้กระดาษทิชชูเมื่อจำเป็นเท่านั้นจะช่วยลดการใช้กระดาษทิชชู และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ 

 

เลือกแบรนด์เนื้อเยื่อที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน

เมื่อจะซื้อทิชชูให้เลือกแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน มองหาบริษัทที่ใช้วิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดของเสียให้เหลือน้อยที่สุด และใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ควรมองหาใบรับรองต่างๆ ให้เป็นนิสัย เช่น Forest Stewardship Council (FSC) หรือ Programme for the Endorsement of Forest Certification (PEFC) ซึ่งรับรองว่าผลิตภัณฑ์เนื้อเยื่อมาจากป่าที่มีการจัดการอย่างมีความรับผิดชอบนั่นเอง 

 

อ้างอิง:

  • กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

The post ECO TIP: Saving Tissue ช่วยลดการตัดต้นไม้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สำรวจต้นไม้ใหญ่บนถนนวิทยุ การตัดต้นไม้แบบผิดๆ อาจนำมาสู่การทำลายสมบัติสาธารณะครั้งใหญ่ https://thestandard.co/discovering-wireless-road-on-cut-wood-wrongly/ Thu, 23 Apr 2020 13:10:21 +0000 https://thestandard.co/?p=357124

ภายหลังจากมีกระแสจากเพจเฟซบุ๊ก ‘BIG Trees’ ที่ได้ออกมาเ […]

The post สำรวจต้นไม้ใหญ่บนถนนวิทยุ การตัดต้นไม้แบบผิดๆ อาจนำมาสู่การทำลายสมบัติสาธารณะครั้งใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ภายหลังจากมีกระแสจากเพจเฟซบุ๊ก ‘BIG Trees’ ที่ได้ออกมาเผยภาพการตัดต้นไม้ที่ถนนวิทยุ ด้านข้างสวนลุมพินี ตั้งแต่แยกพระรามสี่ไปจนถึงแยกสารสิน พร้อมแนบข้อความระบุว่า “วันก่อนได้เห็นคนเอารูปลงไป 2-3 รูปยังรู้สึกสะกิดใจ วันนี้มีโอกาสตามไปดูให้เห็นกับตา ปรากฏว่ากุดหมดถ้วนหน้าไม่ว่าต้นเล็กต้นใหญ่ ใครรับผิดชอบการทำลายสาธารณสมบัติครั้งใหญ่ครั้งนี้?”

 

ล่าสุดวันนี้ (23 เมษายน) ช่างภาพของ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจต้นไม้ใหญ่บริเวณถนนวิทยุ ช่วงสามแยกตัดกับสารสิน-พระราม 4 พร้อมสัมภาษณ์ อรยา สูตะบุตร ผู้ประสานงานกลุ่ม Big Trees ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับต้นไม้ใหญ่ในเขตดังกล่าว

 

โดยอรยาระบุว่า “อย่างที่เห็นตามภาพที่ BIG Trees นำเสนอ เลวร้ายสุดคือการตัดแทบจะครึ่งต้น ถ้าตัดแบบนี้คิดว่าไม่นานต้นไม้อาจจะตายได้เลย และต้นไม้ที่ยืนตายแบบนี้มันจะล้มเมื่อไรก็ได้ หรือพูดง่ายๆ เวลาเราตัดแต่งกิ่งไม้มากๆ หรือตัดแบบนี้ทุกปี สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือรากของต้นไม้ที่อยู่ใต้ดินมันจะหดลงตามธรรมชาติ เพราะก่อนหน้านี้มักมีตัวอย่างให้เห็นว่าต้นไม้ที่ล้มลง รากแทบจะไม่เหลือเลย เพราะมันถูกเทปูนบ้าง ถูกกุดไปครึ่งต้นบ้าง ซึ่งต้นไม้ใหญ่แบบนี้ ถ้าตัดผิดตำแหน่งหรือมีแผลฉีกที่ต้น ถือเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ต้นไม้ป่วยและล้มลง

 

“ตอนนี้ประเทศไทยยังขาดเรื่องของกฎหมายและข้อบังคับในเชิงปฏิบัติที่เป็นทางการ เพราะสิ่งที่เป็นอยู่ในตอนนี้คือลักษณะให้ความรู้ผ่านการอบรม แต่ถ้ามีกฎหมายพร้อมข้อบังคับออกมากำหนดเลยว่า ถ้าผู้ใดไม่ทำตามกฎก็จะมีบทลงโทษต่างๆ นานา ซึ่งเรื่องแบบนี้ในประเทศไทยยังไม่มี”

 

นอกจากนี้ผู้ประสานงานกลุ่ม Big Trees ยังให้ข้อมูลถึงวิธีการสังเกตต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ตามชุมชนเมืองว่า จะสังเกตได้อย่างไรว่าต้นไหนคือต้นที่ดีและต้นที่กำลังแย่อยู่ “ถ้าเป็นบุคคลทั่วไปที่มองต้นไม้ใหญ่แบบเผินๆ ก็จะสังเกตได้ว่า การที่ต้นไม้จะแตกกิ่งก้านออกมานั้นใช้เวลาไม่นาน และทำให้หลายคนคิดว่าแบบนั้นคือสิ่งที่โอเคแล้ว แต่จริงๆ แล้วกิ่งไม้ที่ออกมาเป็นกระจุกนั้นเป็นกิ่งที่เล็กมาก มันพร้อมที่จะหักได้ทุกเมื่อ อีกทั้งยังทำให้กิ่งใหม่ๆ ที่แตกตามออกมากลายเป็นกิ่งที่อ่อนแอ แทนที่เราจะเก็บกิ่งที่แข็งแรงเอาไว้ให้ค่อยๆ เพิ่มขนาดตามธรรมชาติไปเรื่อยๆ 

 

“ส่วนกิ่งที่มีปัญหา เช่น เอียงมากไป หรือมีรอยฉีก รอยหัก แห้ง ก็ค่อยตัดออก ในกรณีแบบนี้จะต้องทำการตัดแต่งเพื่อให้ต้นไม้มีความปลอดภัยและสวยงามมากยิ่งขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องอาศัยประสบการณ์ด้านการจัดการต้นไม้ หรือที่เรียกว่า ‘รุกขกร’ ที่ทำอาชีพเฉพาะด้านเกี่ยวกับการดูแลต้นไม้ใหญ่ จึงจะรู้ว่าต้นไม้ใหญ่ที่พบเห็นทั่วไปควรจัดการอย่างไร 

 

“ดังนั้นหลักง่ายๆ สำหรับประชาชนทั่วไปที่อยากรู้ว่าต้นไม้ที่เห็นเป็นอย่างไรก็คือว่า ถ้าต้นไหนถูกตัดจนไม่เหลือกิ่งเลย ไม่เหลือใบเลย และแผลการตัดดูฉีกๆ วิ่นๆ เป็นแผลทางยาว ก็ให้เหมาได้เลยว่านี่คือการตัดแต่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะต้นไม้ที่ดีต้องมีกิ่งและใบเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง และอยู่ในรูปแบบที่สมดุล มีรูปร่างที่เป็นไปตามธรรมชาติ ส่วนที่เห็นบนถนนวิทยุคือเป็นการตัดทิ้งแน่นอน” อรยากล่าว

 

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากคู่มือการบำรุงรักษาและตัดแต่งต้นไม้ของสำนักงานเขตจตุจักร ได้ให้ข้อมูลถึงประโยชน์ของการปลูกป่าไม้ในเขตเมืองว่ามีผลดีที่ตามมาหลากหลายประการ เช่น ทำให้สภาพภูมิอากาศในพื้นที่นั้นๆ ดีขึ้น, ช่วยกรองฝุ่นและมลพิษทางอากาศ, ช่วยเพิ่มออกซิเจนและความชื้นสัมพัทธ์ให้กับอากาศ, ลดความเร็วลมลงได้ 75-85%, ลดเสียงรบกวน และช่วยลดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ฯลฯ

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post สำรวจต้นไม้ใหญ่บนถนนวิทยุ การตัดต้นไม้แบบผิดๆ อาจนำมาสู่การทำลายสมบัติสาธารณะครั้งใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บทเรียนอิตาเลียนไทย ตัดต้นไม้หน้า ม.เกษตร เมื่อประเทศไทยไร้ซึ่งระบบจัดการต้นไม้ในเมือง https://thestandard.co/italian-thai-development-cut-down-trees-learned/ https://thestandard.co/italian-thai-development-cut-down-trees-learned/#respond Tue, 13 Mar 2018 12:18:38 +0000 https://thestandard.co/?p=76885

เหตุตัดต้นนนทรีหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 14 ต้น […]

The post บทเรียนอิตาเลียนไทย ตัดต้นไม้หน้า ม.เกษตร เมื่อประเทศไทยไร้ซึ่งระบบจัดการต้นไม้ในเมือง appeared first on THE STANDARD.

]]>

เหตุตัดต้นนนทรีหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 14 ต้น ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า ‘อิตาเลียนไทย’ บริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ที่ได้รับสัมปทานการสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นผู้ลงมือตัด กลายเป็นเหตุลุกลามจากโซเชียลมีเดีย นำไปสู่การเรียกร้อง และตั้งคำถามต่อการจัดการ ‘ต้นไม้ใหญ่ในเมือง’

 

โดยเฉพาะ ‘ต้นไม้ใหญ่’ ที่อยู่ในแนวเขตก่อสร้าง ซึ่งหากนับแล้วมีโครงการสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครรวม 11 สาย ความเป็นห่วงและกังวลใจดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะความไม่เข้าใจในการตัดและล้อมย้ายต้นไม้อย่างถูกวิธี แม้จะมีการลงโทษโดยการสั่งปรับและเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายแล้วก็ตาม

 

แต่นั่นอาจเป็นแค่การจัดการที่ปลายเหตุ เพราะต้นตอที่สำคัญก็คือความเข้าใจและการหาทางที่จะร่วมมือในการจัดการต้นไม้ใหญ่ในเมือง ซึ่งมีความสำคัญในฐานะ ‘ปอด’ ของคนเมือง

 

 

ประเทศไทยไร้ซึ่งระบบบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง

ต่อประเด็นการตัดต้นไม้ของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด มีการออกมาเคลื่อนไหวของ 5 เครือข่ายภาคประชาชนที่รักต้นไม้ ประกอบด้วย กลุ่มบิ๊กทรี, กลุ่มจตุจักรโมเดล, ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสมาคมต่อต้านโลกร้อน โดยวันนี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้มีการเปิดวงเสวนาขึ้นอีกครั้ง เพื่อหาทางออกและสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการ ‘ต้นไม้ใหญ่ในเมืองกรุง’

 

วงเสวนาที่นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต ได้อธิบายผ่านเอกสารถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า

 

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เครือข่ายต้นไม้ในเมืองได้เคยมีการร้องเรียนเรื่องการตัดต้นไม้ผิดวิธีในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าไปยังกรุงเทพมหานคร ซึ่งในเวลาต่อมาได้เชิญนักวิชาการด้านการล้อมย้ายต้นไม้มาบรรยายให้ความรู้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัทรับเหมาก่อสร้างทุกรายในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

 

ขณะที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า หนึ่งเดือนถัดมา บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ได้ดำเนินการตัดต้นไม้ที่หน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อย่างผิดวิธี แสดงให้เห็นว่าทั้งบริษัทรับเหมาก่อสร้าง และ รฟม. เจ้าของสัมปทานยังไม่มีแนวทางการปฏิบัติต่อต้นไม้ในเมืองที่ดีพอ อีกทั้งยังมีการพบต้นไม้จำนวนมากที่ล้อมย้ายไปจากบริเวณก่อสร้างรถไฟฟ้าถูกกุดหัวและยืนตายอยู่เป็นจำนวนมาก

 

(ภาพ: Facebook เฮ้ย นี่มันฟุตบาทไทยแลนด์)

 

ช่อผกา วิริยานนท์ ผู้แทนเครือข่ายต้นไม้ในเมือง อธิบายถึงความสำคัญของการจัดการต้นไม้ใหญ่ในเมืองว่า

 

“ประเทศไทยไร้ซึ่งระบบบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนเรื่องนโยบายที่ไม่มีระบบบริหารจัดการเรื่อง ส่วนความจำเป็นที่ต้องมีระบบเหล่านี้เนื่องจากต้นไม้ในเมืองเป็นการเติบโตแบบผิดธรรมชาติ เกิดที่ฟุตปาธ หน้าคอนโดฯ หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดีอาจมีผลกระทบตามมา เช่น ล้มลงมาฟาดโดนคนหรือรถยนต์ ถามว่าเหตุใดต้องเอาต้นไม้มาไว้ในเมือง ก็เพราะเมืองหลวงมีมลพิษที่เกิดจากความระอุของซีเมนต์ มีคาร์บอนไดออกไซด์ มีฝุ่น มีมลพิษทางอากาศเต็มไปหมด ซึ่งต้นไม้ใหญ่ในเมืองคือคำตอบของการแก้ปัญหาเหล่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้นไม้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องก๊าซพิษ”

 

ซึ่งหากปล่อยให้มีการจัดการที่ผิดวิธีและไม่มีแผนดูแลที่เป็นระบบจะส่งผลต่อปัญหาความเป็นอยู่ของคนเมืองอย่างแน่นอน โดยองค์การสหประชาชาติให้ความสำคัญถึงขนาดจัดให้มีการประชุมการจัดการต้นไม้ในเมืองโลก เฉพาะเพื่อนบ้านอาเซียนของไทย หลายประเทศมีระบบการจัดการต้นไม้ในเมืองที่ดีกว่า เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม ที่การพัฒนาประเทศยังตามหลังเราในหลายด้าน

 

 

สำหรับต้นไม้ใหญ่อย่าง ‘ต้นนนทรี’ ดร.คงศักดิ์ มีแก้ว รุกขกร กรมป่าไม้ เคยให้ความเห็นว่า ต้นนนทรีที่ถูกตัดไปจำนวน 14 ต้น มีอายุประมาณ 30-40 ปี ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมที่ช่วยดูดก๊าซพิษ ให้ความร่มเย็นแล้ว ยังมีคุณค่าทางจิตใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพราะเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย

อีกทั้งยังเป็นไม้ในเมืองชนิดหนึ่งที่มีอายุยืน เหมาะที่จะปลูกในเมือง เนื่องจากมีขนาดใบเล็กและมีจำนวนมาก ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซออกซิเจนได้มากขึ้นไปด้วย รูปทรงก็ไม่ใหญ่โตมาก เหมาะที่จะปลูกริมทาง

 

 

อนาคต ‘ปอด’ คนกรุงอาจไม่เหลือ หากจัดการต้นไม้ในเมืองผิดวิธี

ปัญหาการจัดการต้นไม้ในเมืองเป็นปัญหาในเชิง ‘ระบบ’ ที่สำคัญ ต้นนนทรีที่ถูกตัดไปโดยไม่ได้คำนึงถึงหลักวิชาการที่ถูกต้อง อาจส่งผลต่อการจัดการต้นไม้ที่ผิดพลาดในอนาคตตลอดเส้นแนวสร้างรถไฟฟ้าอีก 11 สาย ที่มีต้นไม้นับหมื่นต้น

 

สถานการณ์ดังกล่าวสามารถทำให้คนกรุงเทพฯ ต้องสูญเสีย ‘ปอด’ ของคนเมืองครั้งใหญ่ เพราะต้นไม้เป็นทั้งเครื่องฟอกอากาศและปรับอากาศให้เมือง ต้นไม้ใหญ่ที่หายไปจำนวนมากน่าจะส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างมาก

 

ในรายงานและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการลดปัญหาภาวะโลกร้อนของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550-2555 หน้า 22 ระบุว่า ในปี 2549 ต้นไม้ทั้งหมดประมาณ 3 ล้านต้นใน กทม. สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 1 แสนตันต่อปี แต่ใน กทม. มีการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 42 ล้านตันต่อปี ขณะที่ความเจริญจากรถไฟฟ้าไม่ควรเป็นอุปสรรคที่จะเข้ามาทำลาย ‘เครื่องฟอกอากาศตามธรรมชาติจากต้นไม้ใหญ่ในเมือง’ ของคนกรุง เพราะหากมีระบบการจัดการที่ดี ประชาชนก็ไม่ต้องเลือกหรือแลกอีกต่อไป

 

ภาพ: Facebook เครือข่ายต้นไม้ในเมือง

 

ขณะที่ภาคประชาชนได้มีการยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอให้มีคำสั่งให้ รฟม. และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด รวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้องหยุดการตัด ย้าย หรือการกระทำใดๆ ต่อต้นไม้ที่อยู่ในแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้า 11 สาย

 

และยังมีการยื่นหนังสือต่อ ประธานกรรมการ ก.ล.ต. โดยเรียกร้องให้ตรวจสอบธรรมาภิบาลของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ที่ไม่เคารพในกฎกติกาของสังคม ไม่รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และไม่เคารพในทรัพย์สมบัติที่เป็นของสาธารณะหรือไม่

 

 

ด้านการใช้กฎหมายในการดำเนินการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เสนอให้กรุงเทพมหานคร แจ้งความเอาผิดกับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด เพิ่มเติมอีก ในข้อหาทำลายทรัพย์สินสาธารณะตามกฎหมายอาญา มาตรา 360 ที่ระบุว่าผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณะ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ และคดีทางแพ่ง

 

“เพราะต้นไม้เป็นสิ่งที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ข้อนี้ไม่ต้องสงสัย เป็นร่มเงา เป็นสิ่งที่ให้ออกซิเจนแก่เรา ต้นไม้คือแอร์คอนดิชันโดยธรรมชาติของเมือง การที่ผู้ใดผู้หนึ่งมาทำให้เสียไป ก็มีความผิดตามกฎหมาย คำถามผมก็คือ กทม. ได้มีการดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษหรือยังครับ”

 

ประเด็นนี้ นายสุรเชษฐ์ โพธิ์เจริญ หัวหน้าสวนธนบุรีรมย์ ในฐานะผู้แทน กทม. ได้แจ้งว่า “มีการดำเนินการแล้ว” ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา ได้ขอให้สื่อมวลชนได้ไปติดตามต่อจากพนักงานสอบสวน

 

“การบังคับใช้กฎหมายเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะยังมีต้นไม้อีกหลายร้อยหลายพันในอนาคตที่อาจจะต้องถูกดำเนินการแบบไม่ถูกต้องแบบนี้ ซึ่งเป็นเรื่องอันตราย”

 

 

3 ทางออก ไม่ให้เกิดปัญหาตัดต้นไม้ผิดวิธีซ้ำซาก

ขณะที่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด ได้โพสต์ชี้แจงกรณีดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊ก Italian-Thai Development Public Company Limited “ITD” โดยยืนยันว่าเป็นเพียงการรื้อถอนย้ายต้นไม้ทางเท้า เพื่อความปลอดภัยในขณะขนย้ายไม่ให้เกี่ยวกับสายไฟริมทาง และได้ปฏิบัติตามมาตรฐานของกองสวนสาธารณะ กทม. โดยระบุตอนหนึ่งว่า

 

“ในการรื้อย้ายต้นไม้ด้วยวิธีขุดล้อมแล้วยกต้นไม้ออกไปอนุบาลในพื้นที่ที่จัดไว้ ตามมาตรฐานการรื้อย้ายของกองสวนสาธารณะ กทม. นั้น จะเริ่มต้นด้วยการลิดกิ่ง ตัดกิ่งออกก่อน เพื่อเป็นการเตือนต้นไม้ให้ปรับตัว ลดการคายน้ำของใบ จากนั้นจึงจะเริ่มขุดล้อม แล้วยกต้นไม้ออกไปไว้ที่ที่สำหรับอนุบาลต้นไม้”

 

 

อย่างไรก็ตาม นายสุรเชษฐ์ได้ชี้แจงว่า บริษัทดังกล่าวมีการตัดต้นไม้โดยที่ กทม. ยังไม่ได้มีการอนุญาต ขณะเดียวกันวิธีการตัดก็มีปัญหา เพราะไม่ได้ทำตามหลักวิชาการ ซึ่งหากไปดูการตัดจะพบว่า ตัดแทบจะเหลือแต่ตอ เป็นการกุดหัวต้นไม้ที่ทำให้มีโอกาสจะยืนต้นตายได้

 

สำหรับข้อเรียกร้องและทางออกว่าจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหานี้อย่างซ้ำซากอีก วงเสวนาได้มีข้อเสนอ จำนวน 3 ข้อคือ

 

 

  1. ให้ กทม. และ รฟม. เปิดเผยต่อสาธารณะถึงข้อมูลจำนวนต้นไม้ที่ถูกผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าทุกสายและแผนการดำเนินงานโดยละเอียด
  2. ให้กำหนดมาตรการดูแลต้นไม้ที่ถูกผลกระทบในสัญญาการก่อสร้าง โดยมีการจัดตั้งตัวแทน 4 ฝ่าย เพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติต่อต้นไม้คือ 1) ตัวแทนจาก กทม. 2) ตัวแทนจาก รฟม. และบริษัทรับเหมา 3) ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน และ 4) ตัวแทนภาควิชาการ เช่น นักวิชาการด้านการล้อมย้ายและดูแลต้นไม้ ฯลฯ มาหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการกำกับดูแลการจัดการต้นไม้และทางเท้าสาธารณะที่มีผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า รวมทั้งกำหนดการออกแบบทางเท้าและต้นไม้สาธารณะตามเส้นทางรถไฟฟ้าและการก่อสร้างอื่นที่มีผลกระทบเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการก่อสร้าง โดยให้การออกแบบและการควบคุมงานโดยภูมิสถาปนิกที่ได้รับความเห็นชอบจากสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย
  3. ต้นไม้ที่ล้อมย้ายต้องได้รับการดูแลอย่างดี ถูกหลักวิชาการ รวมทั้งในบริเวณการก่อสร้างรถไฟฟ้า จะต้องมีการปลูกทดแทนต้นไม้ที่ถูกล้อมย้ายออกไป และหากไม่เป็นไปตาม 3 ประเด็นข้างต้น จะต้องมีบทลงโทษหน่วยงานที่ทำความเสียหายให้กับต้นไม้จากการก่อสร้างรถไฟฟ้า

 

Cover Photo: สำนักข่าวไทย

The post บทเรียนอิตาเลียนไทย ตัดต้นไม้หน้า ม.เกษตร เมื่อประเทศไทยไร้ซึ่งระบบจัดการต้นไม้ในเมือง appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/italian-thai-development-cut-down-trees-learned/feed/ 0