ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 30 Jun 2024 06:16:32 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: Jitta ช่วยหาหุ้นพื้นฐานดีได้อย่างไร? | NEW GEN INVESTOR (HL) https://thestandard.co/new-gen-investor-ep-6-2/ Sun, 30 Jun 2024 06:15:35 +0000 https://thestandard.co/?p=951908

ใครๆ ก็อยากได้ ‘หุ้นดี ราคาถูก’ แต่การจะหาเจอนั้นบางครั […]

The post ชมคลิป: Jitta ช่วยหาหุ้นพื้นฐานดีได้อย่างไร? | NEW GEN INVESTOR (HL) appeared first on THE STANDARD.

]]>

ใครๆ ก็อยากได้ ‘หุ้นดี ราคาถูก’ แต่การจะหาเจอนั้นบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องเช็กทั้งงบการเงิน กำไร ขาดทุน และข้อมูลพื้นฐานอีกมาก วันนี้ Jitta มีเครื่องมือที่ใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์หุ้นกันแบบฟรีๆ ชาว NEW GEN สามารถใช้เช็กพื้นฐานหุ้นแต่ละตัวได้อย่างรวดเร็วขึ้น ทำให้เจอหุ้นดี ราคาถูกก่อนใคร

 

รับชมคลิปเต็มๆ ได้ที่: ทางลัดนักลงทุนสาย VI ใช้ AI ช่วยลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.6

 

ติดตามรายการ NEW GEN INVESTOR ทุกวันเสาร์ เวลา 10.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

The post ชมคลิป: Jitta ช่วยหาหุ้นพื้นฐานดีได้อย่างไร? | NEW GEN INVESTOR (HL) appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: ทางลัดนักลงทุนสาย VI ใช้ AI ช่วยลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.6 https://thestandard.co/new-gen-investor-ep-6/ Sat, 01 Jun 2024 03:00:43 +0000 https://thestandard.co/?p=939607 AI ช่วยลงทุน

อยากซื้อหุ้นดีดีสักตัว จะต้องเลือกแบบไหน?   แล้วถ้ […]

The post ชมคลิป: ทางลัดนักลงทุนสาย VI ใช้ AI ช่วยลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.6 appeared first on THE STANDARD.

]]>
AI ช่วยลงทุน

อยากซื้อหุ้นดีดีสักตัว จะต้องเลือกแบบไหน?

 

แล้วถ้ายังไม่ชำนาญการอ่านงบ วิเคราะห์กิจการยังไม่แม่น จะเริ่มต้นอย่างไร?

 

เฟิร์น – ศิรัถยา อิศรภักดี ชวน เผ่า – ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ แห่ง Jitta มาแชร์แนวทางการใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เพื่อช่วยคัดเลือกหุ้นเพื่อลงทุนในแนวทางของ Value Investor (VI)

 

เอพิโสดนี้มาหาคำตอบไปพร้อมกันว่า AI กับ VI จะช่วยให้การลงทุนของเราง่ายขึ้นได้อย่างไร?

The post ชมคลิป: ทางลัดนักลงทุนสาย VI ใช้ AI ช่วยลงทุน l NEW GEN INVESTOR EP.6 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: หุ้นไทย vs. หุ้นนอก ตลาดไหนน่าสนใจกว่ากัน | WEALTH IN DEPTH #99 https://thestandard.co/wealth-in-depth-04102023/ Thu, 05 Oct 2023 00:30:04 +0000 https://thestandard.co/?p=850815 WEALTH IN DEPTH วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566

ไลฟ์ WEALTH IN DEPTH รายการเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุนเ […]

The post ชมคลิป: หุ้นไทย vs. หุ้นนอก ตลาดไหนน่าสนใจกว่ากัน | WEALTH IN DEPTH #99 appeared first on THE STANDARD.

]]>
WEALTH IN DEPTH วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566

ไลฟ์ WEALTH IN DEPTH รายการเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุนเชิงลึก ในหัวข้อ หุ้นไทย vs. หุ้นนอก ตลาดไหนน่าสนใจกว่ากัน

 

ร่วมพูดคุยกับ ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด

 

ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

 

ชมไลฟ์ WEALTH IN DEPTH วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566 เวลา 19.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: หุ้นไทย vs. หุ้นนอก ตลาดไหนน่าสนใจกว่ากัน | WEALTH IN DEPTH #99 appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘จิตตะ’ เสนอแนวทางจัดเก็บภาษีเงินได้ต่างประเทศเป็นธรรม รายย่อยรับการยกเว้น หากกำไรไม่ถึง 1 ล้าน https://thestandard.co/jitta-income-tax-from-abroad/ Tue, 03 Oct 2023 12:30:55 +0000 https://thestandard.co/?p=850169

ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ซีอีโอ จิตตะ หรือ Jitta แพลตฟอร […]

The post ‘จิตตะ’ เสนอแนวทางจัดเก็บภาษีเงินได้ต่างประเทศเป็นธรรม รายย่อยรับการยกเว้น หากกำไรไม่ถึง 1 ล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ซีอีโอ จิตตะ หรือ Jitta แพลตฟอร์มการวิเคราะห์หุ้นทั่วโลก เสนอแนวทางจัดเก็บภาษีเงินได้จากต่างประเทศตามหลักสากล ขอให้พิจารณายกเว้น Capital Gains Tax การลงทุนต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนนักลงทุนรายย่อยให้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนเติบโตและหมุนเวียนเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่หากจัดเก็บควรกำหนดอัตราภาษีและวิธีการจัดเก็บที่เป็นธรรมและง่ายต่อการปฏิบัติ เพื่อให้นักลงทุนวางแผนได้เหมาะสม มองรัฐควรสนับสนุนชนชั้นกลางให้เข้าถึงการออม การลงทุน เพื่อลดภาระงบประมาณในอนาคต พร้อมแนะนักลงทุนรอดูความชัดเจนของเกณฑ์การจัดเก็บก่อน

 

ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ นักลงทุนในหุ้นต่างประเทศ และผู้ก่อตั้ง Jitta (จิตตะ) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีการวิเคราะห์หุ้นทั่วโลก ที่นักลงทุนไทยนิยมใช้เพื่อตัดสินใจลงทุนต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้มีการศึกษาลงลึก รับฟังความคิดเห็นจากนักลงทุน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายภาษี รวมถึงได้เข้าร่วมหารือกับสมาชิกอื่นๆ ของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) เพื่อหาแนวทางที่ชัดเจนและเป็นธรรม ยื่นเสนอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกรมสรรพากรต่อไป 

 

ทั้งนี้ ทุกคนเข้าใจดีว่าภาษีเป็นเรื่องสำคัญและเป็นภาระหน้าที่ของประชาชนคนไทยทุกคนที่มีเงินได้ แต่สิ่งที่ต้องการเห็นคือความเป็นธรรมและเท่าเทียมในการจัดเก็บภาษีเงินได้ต่างประเทศ รวมถึงอยากเห็นความชัดเจนในการจัดเก็บ เพื่อให้นักลงทุนสามารถวางแผนการลงทุนได้ง่ายขึ้น 

 

โดยข้อเสนอแนะของ Jitta เพื่อนักลงทุนรายย่อยมีดังนี้

 

ยกเว้นการเก็บภาษีจากการลงทุนหุ้นต่างประเทศ เช่นเดียวกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทยที่มีการยกเว้น Capital Gains Tax หรือสิงคโปร์ และฮ่องกง ที่มีการยกเว้นภาษีส่วนนี้เช่นเดียวกัน เพื่อสนับสนุนให้นักลงทุนได้มีโอกาสกระจายความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนจากหุ้นบริษัทดีๆ ทั่วโลกได้ เพราะปัจจุบันโลกแห่งการลงทุนนั้นไร้พรมแดนแล้ว เทคโนโลยีได้อำนวยความสะดวกมากขึ้น นักลงทุนไทยสามารถกระจายความเสี่ยง เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าจากตลาดหุ้นทั่วโลกได้ การจัดเก็บภาษีส่วนนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นทางเศรษฐกิจมากนัก แต่กลับลดโอกาสในการแสวงหาการเติบโตของเม็ดเงิน และสกัดกั้นการนำเงินจากนอกประเทศกลับมาหมุนเวียนในเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า  

 

แต่หากต้องมีการจัดเก็บภาษีส่วนนี้จริงๆ ขอให้พิจารณาจัดเก็บตามหลักสากล โดยอย่างแรกสุดคือ ให้คำนวณรายได้จากหลัก Net Capital Gain โดยนำกำไรมาหักลบกับขาดทุนที่เกิดขึ้นก่อนที่จะนับเป็นรายได้ เพราะการลงทุนในหุ้นนั้นมีความเสี่ยงมากกว่ารายได้ประเภทอื่น มีโอกาสทั้งกำไรและขาดทุน ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรม ควรคำนวณภาษีแบบองค์รวม โดยคิดทั้งพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) เพราะสะท้อนถึงรายได้ที่แท้จริงจากการลงทุน เช่น ในสหรัฐอเมริกา ที่สามารถนำผลขาดทุนมาหักออกจากกำไรได้ และหากปีไหนมีการขาดทุนมากกว่ากำไร ก็สามารถใช้ขาดทุนที่เหลือในปีต่อๆ ไปได้จนกว่าจะหมด หรือในสหราชอาณาจักร ที่สามารถนำขาดทุนมาหักออกได้สูงสุด 4 ปี นับจากปีที่ขาดทุน 

 

อย่างที่สองคือ การแยกอัตราภาษี Capital Gain ออกมาจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยกำหนดให้มีอัตราภาษีโดยเฉพาะ เช่น ที่สหรัฐฯ ถ้าลงทุนมานานกว่า 1 ปี จะถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาว จะเสียภาษีในอัตราพิเศษสูงสุดที่ 20% และหากกำไรไม่ถึง 44,000 ดอลลาร์สหรัฐ จะได้รับยกเว้นภาษี หรือกำหนดให้มีการหักลดหย่อนเพื่อความเป็นธรรม สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการลงทุน เช่น ในสหราชอาณาจักร สามารถนำกำไรจากการลงทุนมาหักลดหย่อนได้ 6,000 ปอนด์ กำไรส่วนที่เกินค่อยนำไปรวมกับรายได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้ปกติ 

 

จะเห็นได้ว่าหลักการจัดเก็บภาษีดังกล่าวมีความชัดเจนและเป็นธรรมสำหรับนักลงทุนทุกราย หากมีการจัดเก็บภาษีจากการลงทุนในต่างประเทศของไทย Jitta จึงขอเสนอให้ทางภาครัฐพิจารณาจัดเก็บในอัตราภาษีดังนี้ 

 

กำไรจากเงินลงทุนสุทธิแล้วไม่ถึง 1 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี, ตั้งแต่ 1-20 ล้านบาท คิดอัตราภาษี 10% และหากมากกว่า 20 ล้านบาทขึ้นไป คิดอัตราภาษี 20% โดยสามารถนำขาดทุนมาหักออกได้ตามจำนวนที่ขาดทุน และใช้ในปีต่อๆ ไปได้จนกว่าจะหมด หรือครบ 5 ปี 

 

“ชนชั้นกลางเป็นฐานใหญ่ของประเทศ เราควรพยายามกระตุ้นเหมือนที่ทุกรัฐบาลพยายามกระตุ้นให้คนเก็บออมและลงทุน เพราะมันเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างการเติบโตในด้านการเงินส่วนบุคคล และต้องกระตุ้นให้คนอยากลงทุน เพราะถ้าคนไม่ลงทุนเลย ก็จะเป็นภาระด้านงบประมาณสำหรับรัฐบาลในอนาคตที่จะต้องเข้ามาดูแลเช่นกัน” 

 

ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นนักลงทุนต่างประเทศ ตราวุทธิ์ให้คำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนต่างประเทศอยู่ในเวลานี้ว่า ไม่ควรรีบร้อนที่จะถอนการลงทุนเพราะความกังวลเรื่องภาษีจนลืมมองผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง เพราะระยะเวลาเพียง 3 เดือน ค่อนข้างที่จะจัดการยาก และเท่าที่คุยกับนักลงทุนหลายท่านก็พบปัญหาว่า เมื่อนำเงินกลับมาในประเทศ ก็ไม่รู้ว่าจะนำไปลงทุนอะไรต่อ เพราะบางท่านก็มีพอร์ตส่วนหนึ่งที่ตั้งใจจะลงทุนในประเทศอยู่แล้ว ดังนั้นก็ควรรอความชัดเจนในเรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีก่อน เพื่อที่จะได้ทำเรื่องจัดการหรือวางแผนภาษีได้ถูกต้อง

The post ‘จิตตะ’ เสนอแนวทางจัดเก็บภาษีเงินได้ต่างประเทศเป็นธรรม รายย่อยรับการยกเว้น หากกำไรไม่ถึง 1 ล้าน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หุ้นอินเดียคือ ‘อนาคต’ แต่อาจไม่ใช่คำตอบของการลงทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้า https://thestandard.co/india-stocks-are-future/ Mon, 13 Feb 2023 11:01:54 +0000 https://thestandard.co/?p=749823

อินเดียคือประเทศที่ถูกคาดหมายว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ร้อน […]

The post หุ้นอินเดียคือ ‘อนาคต’ แต่อาจไม่ใช่คำตอบของการลงทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>

อินเดียคือประเทศที่ถูกคาดหมายว่าเศรษฐกิจจะเติบโตได้ร้อนแรงมากที่สุดในปีนี้ โดย IMF คาดการณ์ว่าจะเห็นการเติบโตในระดับ 6.1% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่เติบโต 6.8% 

 

การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจอินเดียในระยะหลังส่งผ่านอานิสงส์มายังตลาดหุ้นอินเดียด้วยเช่นกัน โดย 3 ปีที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นที่สำคัญของอินเดียทั้ง 2 ตลาด คือ Nifty50 และ BSE Sensex ปรับตัวขึ้นประมาณ 46% 

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นที่วิ่งขึ้นติดต่อกันมาหลายปีทำให้หุ้นอินเดียเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในปีนี้อาจจะไม่ได้น่าสนใจมากนัก และในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้ตลาดหุ้นอินเดียก็อ่อนแอกว่าตลาดหุ้นโลกพอสมควร 

 

อรุณ ปาวา ผู้ช่วยรองประธานกรรมการกลยุทธ์การลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า ปีที่แล้วดัชนีหลักของอินเดีย ทั้ง Sensex 30 และ Nifty50 เพิ่มขึ้นประมาณ 5.7% และถ้าดูย้อนหลังไป 5 ปี ดัชนี Sensex 30 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 13.6% ต่อปี ส่วน Nifty50 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 12.9% ต่อปี 

 

“ปีก่อนหุ้นโลกติดลบเกือบทั้งหมด แต่อินเดียบวกได้ ที่ผ่านมารีเทิร์นของหุ้นอินเดียอาจจะดี แต่คำถามที่สำคัญคือตอนนี้แพงไปหรือยัง”

 

อรุณกล่าวต่อว่า มูลค่า (Valuation) ของหุ้นอินเดียหากพิจารณาจากค่า P/E ของทั้ง 2 ดัชนีจะเห็นว่าอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง ส่วน Sensex 30 มี P/E 22.8 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 23.1 เท่า ส่วนดัชนี Nifty50 มี P/E 21.6 เท่า เทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 22.5 เท่า ขณะที่ค่า P/BV เองก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในอดีตเช่นกัน 

 

ในมุมของ Valuation หุ้นอินเดียอาจไม่ได้แพง แต่ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่ถูกแล้ว ส่วนมุมของการเติบโตของกำไรต่อหุ้น ทั้ง Nifty50 และ Sensex 30 มีแนวโน้มว่าจะเห็นการเติบโตของกำไรปีนี้ในระดับ 10.1% และ 9.6% ตามลำดับ และปี 2024 ก็มีแนวโน้มว่าจะเติบโตได้ถึง 16.3% และ 18% ตามลำดับ 

 

“จะเห็นว่าการเติบโตของอินเดียทั้งในแง่กำไรและเศรษฐกิจตรงข้ามกับตลาดฝั่งตะวันตกอย่างชัดเจน แต่ด้วย Valuation ทำให้หุ้นอินเดียตอนนี้อาจไม่เหมาะกับการลงทุนเพื่อคาดหวังผลตอบแทนในอีก 12 เดือนข้างหน้า” 

 

นอกจากเรื่องของ Valuation หุ้นอินเดียยังมีประเด็นความเสี่ยงจากกรณีของ Adani Group ซึ่งอาจจะไม่กระทบต่อพื้นฐานของเศรษฐกิจอินเดียหรือกำไรของตลาดอย่างมีนัยสำคัญ แต่สิ่งที่กระทบคือความมั่นใจของนักลงทุนที่หายไป เนื่องจาก Adani เป็นบริษัทขนาดใหญ่ และเจ้าของอย่าง โกตัม อดานี ก็ค่อนข้างใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี 

 

ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยเฉพาะต่างชาติ คือความล่าช้าของหน่วยงานกำกับในการเข้ามาสอบสวนประเด็นที่ถูกตั้งข้อสงสัย รวมทั้งข้อกล่าวหาบางอย่างที่ดูเหมือนจะมีมูลความจริง เช่น การทำธุรกรรมกับบุคคลในครอบครัวโดยไม่เปิดเผย หรือการถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าเกณฑ์ที่ ก.ล.ต. ของอินเดียกำหนด

 

“ในมุมของเรา หุ้นจีนน่าสนใจกว่าอินเดีย แต่หากเป็นการลงทุนระยะยาว 5-10 ปี โดยอาจใช้กลยุทธ์ทยอยซื้อ (DCA) คงไม่มีปัญหา” 

 

อุตสาหกรรมของอินเดียที่น่าจะเติบโตดีในระยะยาวน่าจะเป็นธุรกิจที่อิงกับกำลังซื้อในประเทศ อินเดียยังเป็นประเทศที่ประชากรเติบโต แต่ตัวเลข GDP per capita ยังค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศจีนที่มีประชากรใกล้เคียงกัน นอกจากนี้อินเดียยังได้อานิสงส์จากการที่บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Apple เริ่มกระจายฐานการผลิตเข้าไปในอินเดีย 

 

ด้านความเสี่ยงที่นักลงทุนต้องจับตาหลังจากนี้ นอกจากกรณีของ Adani ที่อาจลุกลาม ยังมีเรื่องของอัตราการว่างงานที่ยังสูง เนื่องจากตำแหน่งงานในอินเดียเพิ่มขึ้นไม่ทันกับจำนวนแรงงานในอินเดีย

 

ทั้งนี้ มีรายงานออกมาว่าธุรกิจในเครือของ Adani ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของรายได้ในปีนี้ลงจาก 40% มาเหลือ 15-20% พร้อมปรับลดเงินลงทุนที่จะใช้ในปีนี้ เนื่องจากบริษัทต้องการสำรองเงินสดและชำระคืนหนี้

 

ด้าน The New York Times ระบุว่าการสูญเสียมูลค่ากิจการของเครือ Adani ไปมากถึง 1 แสนล้านดอลลาร์ อาจไม่ได้กระทบต่อเศรษฐกิจอินเดีย แม้ว่า Adani Group จะถูกเรียกโดย Hindenburg Research ว่าเป็น ‘การหลอกลวงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเงิน’ แต่ขณะเดียวกัน Hindenburg ก็มองว่าอินเดียเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีอนาคตที่น่าตื่นเต้นอย่างมาก

 

‘จิตตะ เวลธ์’ เชื่อปัญหา Adani ไม่ลุกลาม

 

ด้าน ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.จิตตะ เวลธ์ มองว่าโอกาสการลงทุนในอินเดียยังเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนไทย เนื่องจากอินเดียเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง มีประชากรมากที่สุดในโลกตามประมาณการขององค์การสหประชาชาติ และได้อานิสงส์อย่างมีนัยสำคัญจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์โลก 

 

การย่อตัวของตลาดหุ้นอินเดียในเวลานี้เป็นผลมาจากกลุ่มบริษัท Adani อย่างไรก็ตาม Adani พยายามลบข้อคำกล่าวหาในความไม่โปร่งใสของงบการเงินด้วยการเตรียมว่าจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีระดับ Big 4 เข้ามาตรวจบัญชีทั้งหมดของกลุ่มบริษัท เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน สะท้อนว่าบริษัทต้องมั่นใจในงบการเงินและบัญชีของบริษัท

 

เรามองว่าปัญหาดังกล่าวจะไม่ขยายวงกว้างกลายเป็นวิกฤต และหากมีปัญหาจริง รัฐบาลอินเดียอาจจะต้องเข้ามาเพื่อพยุงไม่ให้บริษัทล้ม ป้องกันการเกิดปัญหาลุกลามในวงกว้าง 

 

“การลงทุนในประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสทำกำไรจากการเติบโตในระดับสูง แต่ก็มักจะเผชิญกับปัญหาความไม่โปร่งใสในด้านต่างๆ ซึ่งวิธีการลงทุนที่ดีในประเทศกำลังพัฒนาคือการกระจายความเสี่ยง เมื่อมีการกระจายความเสี่ยงที่เหมาะสม การปรับร่วงแรงของหุ้นตัวใดตัวหนึ่งจะไม่กระทบต่อการลงทุนโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ”

 

อ้างอิง:

The post หุ้นอินเดียคือ ‘อนาคต’ แต่อาจไม่ใช่คำตอบของการลงทุนในอีก 12 เดือนข้างหน้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เฟ้นหาสินทรัพย์ดาวรุ่ง ท่ามกลางวิกฤตท่วมโลก ด้วย Wealth Tech | WEALTH IN DEPTH https://thestandard.co/wealth-in-depth-27122022/ Tue, 27 Dec 2022 11:55:10 +0000 https://thestandard.co/?p=728998

พบกับ WEALTH IN DEPTH รายการเศรษฐกิจและการลงทุนเชิงลึก […]

The post ชมคลิป: เฟ้นหาสินทรัพย์ดาวรุ่ง ท่ามกลางวิกฤตท่วมโลก ด้วย Wealth Tech | WEALTH IN DEPTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

พบกับ WEALTH IN DEPTH รายการเศรษฐกิจและการลงทุนเชิงลึก ในหัวข้อ ‘เฟ้นหาสินทรัพย์ดาวรุ่ง ท่ามกลางวิกฤตท่วมโลก ด้วย Wealth Tech’

 

ร่วมพูดคุยกับ ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด

 

ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน

 

ติดตาม WEALTH IN DEPTH วันอังคารที่ 27 ธันวาคม 2565 เวลา 19.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

The post ชมคลิป: เฟ้นหาสินทรัพย์ดาวรุ่ง ท่ามกลางวิกฤตท่วมโลก ด้วย Wealth Tech | WEALTH IN DEPTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘จิตตะ เวลธ์’ ฟันธงหุ้นกลุ่มสุขภาพ-จีโนมิกส์มาแรง หลังสถานการณ์โควิดโลกยังคงยืดเยื้อ https://thestandard.co/health-stocks-genomics-next-trend/ Fri, 23 Jul 2021 09:02:32 +0000 https://thestandard.co/?p=516438 Health stocks and genomics stocks

ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทห […]

The post ‘จิตตะ เวลธ์’ ฟันธงหุ้นกลุ่มสุขภาพ-จีโนมิกส์มาแรง หลังสถานการณ์โควิดโลกยังคงยืดเยื้อ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Health stocks and genomics stocks

ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน จิตตะ เวลธ์ จำกัด (บลจ.) ผู้ให้บริการกองทุนส่วนบุคคล Jitta Wealth กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิดที่ยืดเยื้อ และยังพบการกลายพันธุ์ ทำให้หลายประเทศทั่วโลกต่างเร่งแสวงหาวัคซีนที่จะมาช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัสที่กลายพันธ์ุจำนวนมากขึ้น 

 

ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นแรงส่งให้บรรดาบริษัทที่ทำวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีน รวมถึงพัฒนาระบบพันธุกรรมของมนุษย์และสัตว์ที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อโรคภัยไข้เจ็บ การรักษาและการคิดค้นตัวยาและวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะวัคซีนโควิด รวมถึงอนาคตที่ต้องรับมือการผลิตวัคซีนที่เกิดโรคอุบัติใหม่ขึ้น และเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆ ที่จะมาปฏิวัติการแพทย์ทั่วโลกนั้น ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ธุรกิจแข็งแกร่งยาวอย่างต่อเนื่อง ดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกแห่เข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้เป็นอย่างมาก เช่น หุ้นของบริษัท Moderna, Pfizer, Merck และ BioNTech

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงด้วยต้นทุนที่ต่ำ บลจ.จิตตะ เวลธ์ จำกัด จึงแนะนำการลงทุนในหุ้นกลุ่มธุรกิจวัคซีนและสุขภาพที่จะมาปฏิวัติแวดวงการแพทย์ทั่วโลก ผ่าน ETF (Exchange Traded Fund) ที่บริษัทได้คัดเลือกมาคือ iShares Genomics Immunology and Healthcare ETF (IDNA) และ iShares Global Healthcare ETF (IXJ) 

 

โดย IDNA จดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์ก (NYSE) เป็น Passive Fund ที่อิงไปกับ 2 ดัชนี คือ NYSE FactSet Global Genomics และ Immuno Biopharma Index ลงทุนใน 58 บริษัทชั้นนำทั่วโลกที่ต่อยอดด้านจีโนมิกส์และภูมิคุ้มกันวิทยา มาพัฒนายา วัคซีน เครื่องมือทางการแพทย์ หรือนวัตกรรมการรักษาโรคร้ายแรงต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ เช่น บริษัท Moderna, Merck และ BioNTech ที่เป็นกลุ่มบริษัทที่มาแรงมากในยุคโควิด ซึ่งการลงทุนกระจายในหุ้นกลุ่มจีโนมิกส์จะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะตลาดผันผวนระยะสั้น และทนทานเหมาะสำหรับลงทุนในระยะยาวได้ดี 

 

ด้านผลตอบแทนของ IDNA นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 103.13% ผลตอบแทนในรอบ 1  ปีรวมปันผลอยู่ที่ 38.08% ในขณะที่ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปี จนถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 (YTD) อยู่ที่ 6.23%

 

ส่วน IXJ นั้น อ้างอิงดัชนี S&P Global 1200 Health Care Index ที่เป็นตัวแทนของ 129 บริษัททั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ที่มีรากฐานธุรกิจแข็งแกร่งและน่าเชื่อถือในธุรกิจเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ และเครื่องมือการแพทย์ที่กระจายอยู่ทั่วโลก เช่น บริษัท Johnson & Johnson, Pfizer, Roche, Novartis, Abbott และ UnitedHealth Group ที่เป็นบริษัทจัดการเกี่ยวกับระบบดูแลสุขภาพให้กับลูกค้าทั่วโลก มีผลตอบแทนนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 354.68% ผลตอบแทนในรอบ 1  ปี รวมปันผลอยู่ที่ 21.69% ในขณะที่ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 (YTD) อยู่ที่ 9.85%

The post ‘จิตตะ เวลธ์’ ฟันธงหุ้นกลุ่มสุขภาพ-จีโนมิกส์มาแรง หลังสถานการณ์โควิดโลกยังคงยืดเยื้อ appeared first on THE STANDARD.

]]>