ดีแทค – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 15 May 2023 06:24:33 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 TRUE เผยงบไตรมาส 1 รายได้ 3.9 หมื่นล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 492 ล้านบาท คงเป้าหมายรายได้ – EBITDA ปีนี้ โตหลักเดียวในระดับต่ำ https://thestandard.co/true-quarter-1-2023/ Thu, 11 May 2023 04:44:42 +0000 https://thestandard.co/?p=788308

TRUE รายงานงบไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีรายได้รวม 3.9 หมื่นล […]

The post TRUE เผยงบไตรมาส 1 รายได้ 3.9 หมื่นล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 492 ล้านบาท คงเป้าหมายรายได้ – EBITDA ปีนี้ โตหลักเดียวในระดับต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>

TRUE รายงานงบไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีรายได้รวม 3.9 หมื่นล้านบาท แต่ยังขาดทุนสุทธิจำนวน 492 ล้านบาท ระบุยอดผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจากการยกระดับประสบการณ์เครือข่ายและนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย แต่ยังเผชิญกับการแข่งขันรุนแรง 

 

นกุล เซห์กัล หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการเงิน (ร่วม) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE กล่าวว่า รายได้จากการให้บริการของบริษัทยังอยู่ภายใต้ภาวะ ARPU ที่ลดลงจากผลกระทบการแข่งขันที่รุนแรงต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรกรายได้รวมลดลง 2.0% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) เนื่องจากการลดลงในส่วนของการให้บริการมือถือและออนไลน์ 

 

ทั้งนี้ รายได้จากการให้บริการมือถือลดลง 2.5% (YoY) เนื่องจาก ARPU ลดลง แม้ว่าจำนวนผู้ใช้บริการจะเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้จากบริการออนไลน์ลดลง 2.3% (YoY) จากยอดขายบรอดแบนด์ของลูกค้าที่ลดลงท่ามกลางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งชดเชยด้วยการเติบโตของยอดขายองค์กรภาคธุรกิจ ขณะที่รายได้จากการขายสินค้าลดลง 28.9% (YoY) เนื่องจากปริมาณการขายเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ลดลง และการเปิดตัว iPhone ที่เร็วขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2565

 

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ผู้ใช้บริการมือถือเพิ่มขึ้น 676,000 เลขหมาย ไปอยู่ที่ระดับ 50.5 ล้านเลขหมาย หรือเพิ่มขึ้น 1.4% จากไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ผู้ใช้บริการ 5G มีจำนวนถึง 6.3 ล้านเลขหมาย เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (QoQ) โดยมีปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น และ 5G มีรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมายต่อเดือน (ARPU) ที่เพิ่มขึ้น 10-15% ผู้ใช้งานดิจิทัลรายเดือน (MAU) สูงถึง 35.8 ล้านราย เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งได้แรงหนุนอย่างต่อเนื่องจากแคมเปญ ‘ชีวิตดีกว่าเมื่อมีกันและกัน’ หรือ Better Together หลังจากการควบรวมกิจการเสร็จสิ้น ทั้งนี้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ยอดผู้ใช้งานดิจิทัล (MAU) ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 46.0 ล้านราย จากการถ่ายทอดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย (FIFA World Cup Final 2022)

 

สำหรับทรู ดิจิทัล โซลูชัน มีรายได้เพิ่มขึ้น 92% (YoY) จากธุรกิจนวัตกรรมอัจฉริยะ (Smart Solutions) และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่สามารถขยายไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจดิจิทัลเฮลท์ ยังสร้างรายได้เติบโต 62% (YoY) นำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็ว และเสริมความแข็งแกร่งด้วยการสร้างระบบนิเวศร่วมเป็นพันธมิตรกับกลุ่มผู้ประกอบการประกันภัยและผู้ให้บริการด้านสุขภาพ รวมถึงความร่วมมือกับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อให้การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ง่ายและสะดวกขึ้น

 

จากงบการเงินเสมือนสำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ทั้งหมด ไม่รวมค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (D&A) ลดลง 5.2% (YoY) จากมาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อและต้นทุนค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับ EBITDA ในไตรมาสนี้ดีขึ้น 10.1% (QoQ) จากผลกระทบที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว (One-time Effect) จากการเจรจาสัญญาในไตรมาส 4 ปี 2565 การยุติข้อพิพาทที่กำลังดำเนินอยู่ที่เป็นผลในเชิงบวกในไตรมาส 1 ปี 2566 และการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพ 

 

ผลขาดทุนสุทธิหลังหักภาษีอยู่ที่ 492 ล้านบาท โดยได้รับผลกระทบเชิงบวกจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและการชำระค่าสินไหมทดแทนบางส่วน ขาดทุนสุทธิในไตรมาส 4 ปี 2565 ได้รับผลกระทบเชิงลบจากค่าใช้จ่ายรายการพิเศษ (Non-recurring Expenses) ประมาณ 8.5 พันล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากการตัดจำหน่ายสินทรัพย์ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการ และการด้อยค่าสินทรัพย์ประจำปี 

 

ค่าใช้จ่ายลงทุน (CAPEX) ในไตรมาส 1 ปี 2566 มีจำนวน 17,565 ล้านบาท โดยมุ่งเน้นในการยกระดับประสบการณ์ และการขยายความจุของเครือข่ายก่อนการควบรวมกิจการ 

 

ทั้งนี้ จากการที่ทรู คอร์ปอเรชั่น ได้รับการเพิ่มเรตติ้งใหม่เป็น A+ จากทริสเรทติ้ง คาดว่าจะทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยลดลงจากการที่หนี้เก่าครบกำหนดและรีไฟแนนซ์ภายใต้อันดับเครดิตองค์กรใหม่

 

ตัวเลขสำคัญทางการเงินในไตรมาส 1 ปี 2566 (ตามงบการเงินเสมือน) มีดังนี้ 

  • รายได้จากบริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) จำนวน 38,985 ล้านบาท ลดลง 2.0% (YoY)
  • EBITDA อยู่ที่ 19,452 ล้านบาท ลดลง 8.7% (YoY)
  • อัตรากำไร EBITDA (เมื่อเทียบกับรายได้รวม) อยู่ที่ 37.5%
  • ขาดทุนสุทธิ จำนวน 492 ล้านบาท

 

คงประมาณการรายได้และ EBITDA

 

ด้าน มนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE กล่าวว่า สำหรับปี 2566 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คาดการณ์การเติบโตคงที่สำหรับรายได้จากการให้บริการไม่รวมรายได้ค่าเชื่อมต่อโครงข่าย (IC) และการเติบโตคงที่ถึงการลดลงในอัตราร้อยละที่เป็นตัวเลขหลักเดียวในระดับต่ำ (Low Single-digit) สำหรับ EBITDA 

 

ทั้งนี้ เงินลงทุนหรือ CAPEX ประมาณการไว้ที่ 25,000-30,000 ล้านบาท สำหรับแนวโน้มปี 2566 จะนับจาก 10 เดือนหลังจากที่ควบรวมเสร็จ ทั้งนี้ การคาดการณ์ของปีดังกล่าวยังอาจต้องพิจารณาเพิ่มเติมในภายหลัง เนื่องมาจากการเปลี่ยนผ่านธุรกิจของบริษัท และการดำเนินงานของบริษัทหลังการควบรวม ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบูรณาการ

 

“ปี 2566 นับเป็นหมุดหมายของความสำเร็จครั้งสำคัญของบริษัท จากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยบริษัทที่ควบรวมใหม่ในนาม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มุ่งสู่การเป็นผู้นำของบริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี และยึดมั่นในมาตรฐานสูงสุดของบรรษัทภิบาล ในการขับเคลื่อนระบบนิเวศดิจิทัลครอบคลุมสำหรับทุกคน การรวมกันทำให้ลูกค้าทั้ง DTAC และ TRUE ได้รับประโยชน์จากคุณภาพเครือข่ายที่ดีขึ้น และเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยบริการ 5G บนคลื่น 2600 MHz และความครอบคลุมของเครือข่าย 4G/5G ที่ดีขึ้นบนคลื่น 700 MHz ใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ 

 

นอกจากนี้ ลูกค้าของเรายังสามารถเพลิดเพลินกับผลิตภัณฑ์และบริการที่หลากหลายยิ่งขึ้น ตลอดจนสิทธิพิเศษต่างๆ ของทั้งสองแบรนด์ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวเนื่อง (Cross-selling) และการเพิ่มยอดขาย (Upselling) ทั้งนี้ นับตั้งแต่การควบรวมเสร็จสมบูรณ์ ทรู คอร์ปอเรชั่นประสบความสำเร็จในการกำหนดโครงสร้างองค์กรและการทำงานที่รวมเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งจะช่วยให้เราดำเนินการตามแผนบูรณาการ และบรรลุผลตามแผนระยะสั้นในการทำงานร่วมกัน” มนัสส์กล่าว 

 

ทรู คอร์ปอเรชั่น ยังมุ่งหน้าเร่งสร้างการผนึกกำลังด้ายรายได้ โดยใช้โอกาสการเสนอขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของลูกค้าทั้งแบบ Cross-selling และ Upselling พร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพในเชิงโครงสร้าง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post TRUE เผยงบไตรมาส 1 รายได้ 3.9 หมื่นล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 492 ล้านบาท คงเป้าหมายรายได้ – EBITDA ปีนี้ โตหลักเดียวในระดับต่ำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สิ้นสุดทางเพื่อนของนายและใบเฟิร์น สู่การเป็นพรีเซนเตอร์ร่วมกันภายใต้ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ที่หวังสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าหลังควบรวมกิจการ https://thestandard.co/nine-baifern-true-presenter/ Tue, 09 May 2023 03:22:39 +0000 https://thestandard.co/?p=787261 นาย ใบเฟิร์น

‘สิ้นสุดทางเพื่อน’ ของ นาย ณภัทร และ ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก […]

The post สิ้นสุดทางเพื่อนของนายและใบเฟิร์น สู่การเป็นพรีเซนเตอร์ร่วมกันภายใต้ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ที่หวังสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าหลังควบรวมกิจการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นาย ใบเฟิร์น

‘สิ้นสุดทางเพื่อน’ ของ นาย ณภัทร และ ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก ถูกยกเป็นคำเปรียบเปรยเหมือน ‘ทรู-ดีแทค’ ที่ในที่สุดได้มาควบรวมกิจการกันอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

 

“ในวงการบันเทิงนายและใบเฟิร์นได้สิ้นสุดทางเพื่อนกัน ส่วนการควบรวมกิจการของทรู-ดีแทค ก็เป็นเหมือนการสิ้นสุดทางเพื่อนเช่นเดียวกัน” ฐานพล มานะวุฒิเวช หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าว

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ฐานพลย้ำว่าหนึ่งในภารกิจที่สำคัญของทีมการตลาดคือการเร่งสร้างการรับรู้ถึงคุณภาพภายหลังการรวมธุรกิจ แม้ว่าหลังการรวมทรู-ดีแทคกว่า 2 เดือนที่ผ่านมา ผลตอบรับของลูกค้าดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะลูกค้าที่รับสิทธิพิเศษทั้งทรูและดีแทครวมเพิ่มอีกมากกว่า 33 ล้านรายการ มียอดผู้ใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มเพิ่มใหม่อีกมากกว่า 8 แสนราย

 

เพื่อย้ำถึงผลตอบรับ ทรูยังได้ร่วมกับ Market Buzz สำรวจกลุ่มลูกค้ามือถือทั่วประเทศช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ครอบคลุมทุกช่วงวัยตั้งแต่อายุ 15-55 ปี พบว่าหลังจากรวมกันลูกค้ารู้สึกดีกับแบรนด์ทรูในด้านบวก มีความมั่นใจมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม Young Gen รู้สึกดีมาก มั่นใจว่าอนาคตจะมีสินค้าที่ดีและโปรโมชันที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน อีกทั้งเชื่อว่าจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

 

โดยผลจากการสำรวจ ภาพรวมการชื่นชอบ (Overall Liking) อยู่ในเกณฑ์ดีมากสูงถึง 85% ขณะที่รู้สึกเชื่อมั่นและไว้ใจหลังการควบรวมเพิ่มสูงขึ้น 69% (เหมือนเดิม 28% น้อยลง 3%) และความรู้สึกที่อยากสนับสนุน ซื้อสินค้าทั้งสองแบรนด์ (Purchasing Intention) เป็น 79% โดยมีเหตุผลที่จะซื้อเนื่องจากสัญญาณที่จะดีขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น และภาพลักษณ์ของการรวมสองธุรกิจชั้นนำยิ่งจะสร้างสิ่งที่ดียิ่งกว่า

 

แต่นั่นยังไม่เพียงพอ ท่ามกลางการตั้งคำถามของหลายฝ่ายถึงการควบรวมกิจการที่ถูกมองว่าจะทำให้ผู้บริโภคเสียผลประโยชน์หรือไม่ บริษัทใหม่ (ในชื่อเก่า) อย่างทรู คอร์ปอเรชั่น จึงไม่อาจรอช้าในการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ในขณะที่การแข่งขันยังไม่มีทีท่าจะลดลง กลายเป็นที่มาของการดึงนายและใบเฟิร์น ซึ่งทั้งคู่ต่างเป็นพรีเซนเตอร์ของทรูและดีแทคในตอนที่ยังไม่ได้ควบรวมกิจการ มาเป็นพรีเซนเตอร์คู่กันภายใต้บริษัทใหม่ด้วย

 

“การสื่อสารด้วยการเลือกพรีเซนเตอร์ นายและใบเฟิร์น ซึ่งเป็นคู่ที่น่ารัก ลงตัว จะสามารถสร้างพลังงานเชิงบวก มีเสน่ห์ เข้าถึงได้ และมีความเป็นตัวตนที่แท้จริง ตรงกับบุคลิกภาพของแบรนด์ทรูได้” แม่ทัพการตลาดของทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าว

 

ในแง่ของราคาที่ถูกถามว่าจะทำให้ถูกลงได้หรือไม่ เพราะเพียงวันที่ 1 หลังการควบรวมกิจการ ราคาแพ็กเกจรายเดือนของทุกค่ายได้ปรับขึ้นมาเท่ากันหมดแบบที่ไม่ได้นัดหมาย ในขณะที่ก่อนหน้านี้มีการประเมินว่าอัตราค่าบริการที่จะเพิ่มขึ้นและเป็นไปได้มากที่สุดจะอยู่ที่ 20-30% จากค่าบริการเฉลี่ยในปัจจุบัน 220 บาทต่อเดือน และจะทำให้ผู้บริโภคที่มีการใช้งานโทรศัพท์จริงประมาณ 80 ล้านเลขหมายต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3,520-5,280 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 42,240-63,260 ล้านบาทต่อปี

 

เรื่องนี้ฐานพลตอบว่า การรวมกันได้ทำให้ราคาถูกสุดๆ แล้ว เทียบได้จากบริการอื่นๆ ที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่ขอตอบว่าในแง่ของค่าโทรและอินเทอร์เน็ตจะสามารถลดลงได้อีกหรือไม่

 

อ้างอิง:

The post สิ้นสุดทางเพื่อนของนายและใบเฟิร์น สู่การเป็นพรีเซนเตอร์ร่วมกันภายใต้ ‘ทรู คอร์ปอเรชั่น’ ที่หวังสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าหลังควบรวมกิจการ appeared first on THE STANDARD.

]]>
TRUE คิกออฟธุรกิจไลฟ์สไตล์หลังการควบรวม DTAC เปิดตัวแบรนด์ใหม่ ‘TrueX’ พร้อมดึง ‘ลิซ่า BLACKPINK’ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ https://thestandard.co/true-dtac-launch-truex/ Wed, 19 Apr 2023 08:59:50 +0000 https://thestandard.co/?p=778559 TrueX

ในวันที่ TRUE และ DTAC ประกาศควบรวมอย่างเป็นทางการ หนึ่ […]

The post TRUE คิกออฟธุรกิจไลฟ์สไตล์หลังการควบรวม DTAC เปิดตัวแบรนด์ใหม่ ‘TrueX’ พร้อมดึง ‘ลิซ่า BLACKPINK’ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
TrueX

ในวันที่ TRUE และ DTAC ประกาศควบรวมอย่างเป็นทางการ หนึ่งในทิศทางที่บริษัทใหม่ (ภายใต้ชื่อเดิม) ต้องการคือการบุกไลฟ์สไตล์มากขึ้น และกลายเป็นที่มาของการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ที่ชื่อ TrueX ซึ่งถูกเรียกว่าเป็น ‘ซูเปอร์แอปด้านการใช้ชีวิต’

 

TrueX จะเป็นแอปพลิเคชันที่มาพร้อมกับ 6 โซลูชันและแพ็กเกจ ประกอบด้วย X Home – การดูแลบ้าน, X Health – การดูแลสุขภาพ, X Learning – การเรียนรู้, Utility & Energy – ประหยัดพลังงาน, Shopping – การช้อปปิ้ง และ X Entertainment – ความบันเทิง

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 


 

เอกราช ปัญจวีณิน หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านดิจิทัล บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ภายหลังการรวมธุรกิจ TRUE และ DTAC ที่ผ่านมา ทรู คอร์ปอเรชั่น ยิ่งมีความชัดเจนในฐานะ Tech Company ที่จะผสานพลังกันนำประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลของ TRUE 

 

โดยการควบรวมนั้นถูกมองว่าจะเข้ามาช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดำเนินงานและงบลงทุน รวมถึงการปิดจุดอ่อนของ DTAC เดิมที่มีข้อจำกัดบริการ 5G และเน็ตบ้านเชิงพาณิชย์

 

“แบรนด์ใหม่ครั้งนี้ นอกเหนือจากยกระดับภาพ TRUE สู่การเป็น Tech Company เต็มรูปแบบแล้ว สิ่งสำคัญคือการนำเสนอเทคโนโลยีแห่งการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในยุคปัจจุบันที่มีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนไปมาก เน้นความสะดวกสบาย รวดเร็ว เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทุกดีไวซ์ ในราคาที่ทุกคนสัมผัสได้ สามารถตอบโจทย์วิถีเฉพาะบุคคล (Personalization) ได้อย่างชัดเจน”

 

อย่างไรก็ตาม ทรู คอร์ปอเรชั่น ขอไม่ตอบว่า TrueX จะเข้ามาช่วยในเรื่องของรายได้เท่าไร แต่คาดหวังแค่ว่าจะสามารถมียอดดาวน์โหลด 1 ล้านครั้งภายใน 1 ปีหลังการเปิดตัว

 

พร้อมกันนี้ยังได้ดึง ‘ลิซ่า BLACKPINK’ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ ซึ่งนี่ถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ 2 ต่อจาก TrueID ที่ได้เปิดตัวไปก่อนหน้านี้

 

การรวมตัวของผู้เล่นเบอร์ 2 และ 3 ในตลาดถูกระบุว่า เป็นการควบรวมกิจการโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากมูลค่าของกิจการ โดยมูลค่าตลาดของทั้งสองบริษัทรวมกัน (Market Capitalization) ประมาณ 2.94 แสนล้านบาท

 

ท่ามกลางความกังวลทั้งการผูกขาดหรือผลประโยชน์ของลูกค้าอันเกิดจากการแข่งขันที่ลดลงเนื่องจากมีผู้เล่นน้อยราย แต่ TRUE ได้ยืนยันว่า ลูกค้าของทั้ง 2 บริษัทจะได้รับประโยชน์จากการควบรวมทันที

 

แม้จะบอกว่าการแข่งขันจะมีอยู่เหมือนเดิม แต่บทวิเคราะห์จาก บล.เมย์แบงก์ กลับชี้ว่า การแข่งขันลดลงทันทีหลังควบรวมกิจการเสร็จสิ้น โดยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม DTAC  ได้ปรับขึ้นราคาแพ็กเกจรายเดือน (สำหรับซิมการ์ดใหม่) เพื่อให้เท่ากับระดับราคาของ TrueMove H และ AIS 

 

ซึ่งในบรรดาแพ็กเกจที่จำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตโดย DTAC จาก 5 แพ็กเกจ มี 3 แพ็กเกจที่ราคาต่อ GB เพิ่มขึ้น 15-38 บาท ในขณะที่อีก 2 แพ็กเกจไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคา

 

ขณะที่ผลจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ดีขึ้นและการแข่งขันด้านราคาที่เบาลง บล.เมย์แบงก์ คาดการณ์ว่ารายได้จากบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ TRUE (77.4% ของรายได้จากบริการหลักในปี 2566) จะเติบโต 3.4% ในปี 2566 ฟื้นตัวจากที่รายได้ลดลง 2.8% ในปี 2565

The post TRUE คิกออฟธุรกิจไลฟ์สไตล์หลังการควบรวม DTAC เปิดตัวแบรนด์ใหม่ ‘TrueX’ พร้อมดึง ‘ลิซ่า BLACKPINK’ มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เจาะลึก TRUE รวม DTAC เกิด Synergy แค่ไหน? https://thestandard.co/morning-wealth-16022023-2/ Thu, 16 Feb 2023 05:38:48 +0000 https://thestandard.co/?p=751298

เจาะลึก TRUE รวม DTAC เกิด Synergy แค่ไหน พูดคุยกับ พิส […]

The post ชมคลิป: เจาะลึก TRUE รวม DTAC เกิด Synergy แค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>

เจาะลึก TRUE รวม DTAC เกิด Synergy แค่ไหน พูดคุยกับ พิสุทธิ์ งามวิจิตวงศ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: เจาะลึก TRUE รวม DTAC เกิด Synergy แค่ไหน? appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ดีแทค’ ยันเดินหน้าควบรวม ‘ทรู’ ให้เสร็จภายในไตรมาส 1 ปีหน้า พร้อมใช้สิทธิยกเลิกทำ ‘เทนเดอร์’ https://thestandard.co/dtac-merges-true/ Tue, 22 Nov 2022 08:23:13 +0000 https://thestandard.co/?p=713747

‘ดีแทค’ ปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใ […]

The post ‘ดีแทค’ ยันเดินหน้าควบรวม ‘ทรู’ ให้เสร็จภายในไตรมาส 1 ปีหน้า พร้อมใช้สิทธิยกเลิกทำ ‘เทนเดอร์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

‘ดีแทค’ ปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจ โดยทุกฝ่ายยังคงดำเนินการควบรวมกิจการ

 

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเช็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า บริษัทที่กลุ่มเทเลนอร์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกันเป็นเจ้าของ คือ บริษัท ซิทริน โกลบอล จำกัด และ Citrine Venture SG Pte Ltd ได้ปฏิเสธการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจ (Voluntary Tender Offer: VTO) ต่อผู้ถือหุ้นดีแทคและทรูตามกฎหมาย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ก่อนหน้านี้กลุ่มเทเลนอร์ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ประกาศเจตนาการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจเพื่อรับซื้อหลักทรัพย์ของดีแทคและทรู ตามหลักเกณฑ์การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจดังกล่าวเป็นการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดโดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขบังคับก่อน ซึ่งเงื่อนไขบังคับก่อนดังกล่าวไม่สำเร็จครบถ้วนภายใน 1 ปี นับจากวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564

 

ทั้งสองฝ่ายจึงประกาศปฏิเสธการแสดงเจตนาการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 

 

ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนของดีแทคและทรูสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป หรือถือหลักทรัพย์ต่อเพื่อเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทใหม่ในฐานะบริษัทเทเลคอม-เทคโนโลยี ที่จะดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป

 

ทั้งนี้ ทั้งสองบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการพิจารณาสรุปกระบวนการที่จำเป็นต่อการดำเนินการควบรวมกิจการ และยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1/66 

 

ด้าน บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE  แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ตามที่ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2565 ของบริษัทได้มีมติอนุมัติการควบบริษัทระหว่าง TRUE และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC ซึ่งได้เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 นั้น

 

TRUE ขอแจ้งให้ทราบว่า บริษัท ซิทริน โกลบอล จำกัด และ Citrine Venture SG Pte Ltd (‘ผู้ประกาศเจตนา’) ได้ประกาศยกเลิกการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของ TRUE และ DTAC โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขบังคับก่อน (‘การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจ’) เนื่องจากเงื่อนไขบังคับก่อนการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จภายในกรอบเวลา 1 ปี นับจากวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่ผู้ประกาศเจตนาได้ประกาศเจตนาในการทำคำเสนอหลักทรัพย์โดยสมัครใจ

 

อย่างไรก็ดี บริษัทจะยังคงดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการควบบริษัทร่วมกับ DTAC ต่อไป ทั้งนี้ หากมีความคืบหน้าเพิ่มเติมที่สำคัญเกี่ยวกับการพิจารณาของบริษัทฯ เกี่ยวกับการควบบริษัททั้งสอง ทาง TRUE จะแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป

The post ‘ดีแทค’ ยันเดินหน้าควบรวม ‘ทรู’ ให้เสร็จภายในไตรมาส 1 ปีหน้า พร้อมใช้สิทธิยกเลิกทำ ‘เทนเดอร์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
หัวหน้าพรรคเพื่อไทยแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยควบรวม TRUE-DTAC อาจนำไปสู่การผูกขาดธุรกิจ จ่อตั้งกระทู้ถามในสภา https://thestandard.co/pheu-thai-true-dtac/ Fri, 28 Oct 2022 04:23:08 +0000 https://thestandard.co/?p=701231

วันนี้ (28 ตุลาคม) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไท […]

The post หัวหน้าพรรคเพื่อไทยแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยควบรวม TRUE-DTAC อาจนำไปสู่การผูกขาดธุรกิจ จ่อตั้งกระทู้ถามในสภา appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (28 ตุลาคม) นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้าน ออกแถลงการณ์ระบุว่า ตามที่มีการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE-DTAC นั้นมีความกังวลและไม่เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการที่อาจนำไปสู่การผูกขาดในธุรกิจใดๆ โดยมีความเห็นดังนี้

 

  1. ไม่เห็นด้วยกับการควบรวมที่เป็นการผูกขาดการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะกระทบการแข่งขันของผู้ประกอบการ รวมทั้งสภาวะการทำธุรกิจและระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และจะกระทบผู้บริโภคในท้ายที่สุด

 

  1. เห็นว่าการควบรวมกิจการระหว่าง TRUE-DTAC น่าจะมิชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นกิจการประเภทเดียวกันและมีส่วนแบ่งการตลาดสูงมาก

 

  1. มีหลายฝ่ายตั้งคำถามว่า มติคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในการรับทราบการควบรวมนั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และ กสทช. ได้ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งตนเห็นว่า กสทช. ต้องตอบคำถามนี้

 

  1. กังวลและเห็นว่าการผูกขาดการประกอบธุรกิจจะมีผลกระทบต่อสิทธิและประโยชน์ของผู้บริโภคอย่างแน่นอน ซึ่งภาครัฐมีหน้าที่ต้องดูแลและปกป้องคุ้มครองอย่างมากที่สุด

 

  1. พรรคเพื่อไทยยึดมั่นในหลักนิติธรรมและระบบกฎหมาย และคัดค้านการผูกขาดไม่ว่าในธุรกิจใด

 

ดังนั้นพรรคเพื่อไทยเห็นด้วยกับการที่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะดำเนินการตามกฎหมาย และยื่นเรื่องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการควบรวมกิจการดังกล่าว และในเบื้องต้น พรรคเพื่อไทยจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การตรวจสอบในสภาผู้แทนราษฎร โดยการตั้งกระทู้ถามสดในสัปดาห์แรกของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร และเสนอพิจารณาญัตติด่วนเพื่อให้สภามีมติในเรื่องนี้ต่อไป

The post หัวหน้าพรรคเพื่อไทยแถลงการณ์ ไม่เห็นด้วยควบรวม TRUE-DTAC อาจนำไปสู่การผูกขาดธุรกิจ จ่อตั้งกระทู้ถามในสภา appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘เทเลนอร์’ บริษัทแม่ของดีแทคในนอร์เวย์ เรียกร้อง กสทช. ชี้แจงเงื่อนไขการรวมกิจการ ‘TRUE-DTAC’ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพิจารณาผลกระทบที่จะตามมา https://thestandard.co/telenor-calls-clarity-thai-telecom-merger/ Thu, 27 Oct 2022 00:56:06 +0000 https://thestandard.co/?p=700657 TRUE-DTAC

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า บริษัท เทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งเ […]

The post ‘เทเลนอร์’ บริษัทแม่ของดีแทคในนอร์เวย์ เรียกร้อง กสทช. ชี้แจงเงื่อนไขการรวมกิจการ ‘TRUE-DTAC’ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพิจารณาผลกระทบที่จะตามมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
TRUE-DTAC

สำนักข่าว Reuters รายงานว่า บริษัท เทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (DTAC) เรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ชี้แจงเงื่อนไขที่ กสทช. ระบุไว้ในมติรับทราบการควบรวมกิจการระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) และ DTAC เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา 

 

โดย ซิกเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเทเลนอร์ กล่าวกับ Reuters ว่า บริษัทต้องการได้รับข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาผลกระทบที่จะตามมา


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


เราจำเป็นต้องเข้าใจว่าเงื่อนไขเหล่านี้หมายความว่าอะไร เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำความเข้าใจ โดยเรื่องหนึ่งคือโครงสร้างอัตราค่าบริการที่ กสทช. ต้องการจากเรา รวมทั้งในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการ กสทช. จะเข้าใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของเราอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยังคงไม่มีความชัดเจน

 

แผนการขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศไทย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% นั้น จัดทำขึ้นและประกาศในเดือนพฤศจิกายน เงื่อนไขที่กำหนดเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) รวมถึงเพดานราคาและการควบคุมราคา ตลอดจนการตรวจสอบโครงสร้างต้นทุนและค่าบริการอย่างอิสระเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี

 

ต่อข้อถามที่ว่า ข้อตกลงดังกล่าวถือว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ เบรกเก้กล่าวว่า เทเลนอร์กำลังทำการหารือกับ กสทช. เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับเงื่อนไขและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น 

 

ในขณะที่ กสทช. ไม่สามารถปฏิเสธหรืออนุมัติข้อตกลงเรื่องการควบรวมได้อย่างสมบูรณ์ แต่ กสทช. ก็สามารถกำหนดข้อเรียกร้องที่เทเลนอร์จำเป็นต้องปฏิบัติตามหากเทเลนอร์เลือกที่จะดำเนินการควบรวมกิจการให้เสร็จสิ้น

 

“ตอนนี้เราต้องเข้าใจว่าเงื่อนไขเหล่านี้หมายถึงอะไรจริงๆ มันยากที่จะเข้าใจ” เขากล่าว

 

เบรกเก้กล่าวเสริมอีกว่า เรื่องหนึ่งคือโครงสร้างอัตราค่าบริการที่ กสทช. ต้องการจากเรา รวมทั้งในฐานะที่เราเป็นผู้ให้บริการ กสทช. จะเข้าใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของเราอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยังคงไม่มีความชัดเจน

 

ทั้งนี้ เทเลนอร์ซึ่งมีลูกค้าประมาณ 175 ล้านคนใน 8 ประเทศทั่วภูมิภาคนอร์ดิกและในเอเชีย และซีพี กรุ๊ป (CP Group) มีกำหนดจะถือหุ้น 1 ใน 3 ในบริษัทใหม่ที่กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้ง ซึ่งหากรวมกิจการกันแล้วเสร็จก็จะขึ้นเป็นผู้นำตลาดในประเทศแถบเอเชียใต้

 

โดยส่วนแบ่งทางการตลาดด้านโทรคมนาคมในประเทศไทย ประกอบด้วย TRUE และ DTAC มีสมาชิก 34% และ 21% ตามลำดับ ขณะที่ AIS ครองส่วนแบ่งทางการตลาด 44% 

 

อ้างอิง:

The post ‘เทเลนอร์’ บริษัทแม่ของดีแทคในนอร์เวย์ เรียกร้อง กสทช. ชี้แจงเงื่อนไขการรวมกิจการ ‘TRUE-DTAC’ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพิจารณาผลกระทบที่จะตามมา appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดมุมมองนักวิเคราะห์ ใครได้ใครเสีย? จากดีลควบรวมระหว่าง ‘TRUE-DTAC’ แบบมีเงื่อนไข https://thestandard.co/true-dtac-6/ Fri, 21 Oct 2022 11:27:57 +0000 https://thestandard.co/?p=698458 TRUE-DTAC

ดีลการควบรวมกันระหว่าง TRUE และ DTAC เป็นมหากาพย์ดีลยัก […]

The post เปิดมุมมองนักวิเคราะห์ ใครได้ใครเสีย? จากดีลควบรวมระหว่าง ‘TRUE-DTAC’ แบบมีเงื่อนไข appeared first on THE STANDARD.

]]>
TRUE-DTAC

ดีลการควบรวมกันระหว่าง TRUE และ DTAC เป็นมหากาพย์ดีลยักษ์ใหญ่ของวงการโทรคมนาคมของไทยใกล้จะเสร็จสมบูรณ์เต็มทีแล้ว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ต้องใช้เวลาร่วมเกือบ 1 ปีเต็มกว่าจะหาข้อสรุปกันได้ โดยล่าสุดบอร์ดของ กสทช. ก็เคาะผลการประชุมที่ยืดเยื้อมากว่า 11 ชั่วโมงของวันที่ 20 ตุลาคม 2565 ว่ารับทราบผลการควบรวมกันระหว่าง TRUE และ DTAC และได้ออกมาตรการเงื่อนไขกำกับดูแล

 

โดยมีมาตรการเฉพาะที่สำคัญ เช่น เงื่อนไขเกี่ยวกับอัตราค่าบริการและสัญญาการให้บริการ, เงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าสู่ตลาด การขาดประสิทธิภาพการแข่งขัน และการสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย, เงื่อนไขเกี่ยวกับการรักษาคุณภาพบริการ, เงื่อนไขการถือครองความถี่ และการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน, เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจประเทศ นวัตกรรมและความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เป็นต้น


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


THE STANDARD WEALTH ได้ทำการสำรวจความเห็นจากเหล่านักวิเคราะห์ชั้นนำของวงการตลาดหุ้นไทย โดยนักวิเคราะห์ บล.หยวนต้า (ประเทศไทย) มองว่าเงื่อนไขที่ทาง กสทช. ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการนั้น ออกมาดีกว่าเนื้อข่าวก่อนหน้านี้ที่อาจบังคับให้คืนคลื่น มองเป็นบวกต่อทั้ง TRUE และ DTAC อีกทั้งจะไม่กระทบกับ Synergy ของการลดต้นทุนราว 1-2 หมื่นล้านบาทต่อปี

 

ขณะที่ บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า มาตรการต่างๆ ที่ กสทช. ออกมา มองว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นเงื่อนไขที่ TRUE และ DTAC ยอมรับได้ แต่อาจจะต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ตรงกันกับ กสทช. ก่อน โดยประเด็นสำคัญคือการที่จะต้องลดราคาค่าบริการเฉลี่ย 12% และการห้ามลด Cell Site ซึ่งเรื่องค่าบริการที่จะลดลง มองว่าน่าจะชดเชยได้ด้วยการประหยัดต่อขนาดที่จะเกิดขึ้นหลังการควบรวม ขณะที่เรื่อง Cell Site ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางที่จะลดต้นทุนได้

 

ส่วน บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ยังคงกังวลใน 3 มาตรการ ซึ่งคงมีความไม่แน่นอนอยู่ มาตรการแรกคือ คณะกรรมการ กสทช. กำหนดให้ลดค่าธรรมเนียมบริการเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักโดยผู้ใช้บริการลง 12% ซึ่งเราไม่ทราบแน่ชัดว่า หมายถึง 1. ลดลง 12% จาก ARPU มือถือปัจจุบัน (เชิงลบ) หรือ 2. เพดานราคาปัจจุบันลดลง 12% (ไม่มีผลกระทบต่อตัวดำเนินการ)

 

ประการที่สองคือ กสทช. ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการรวมคลื่นความถี่ภายใต้นิติบุคคลเดียว หรือการโรมมิ่งเครือข่ายในบริษัทย่อยของบริษัทใหม่ หากอนุญาตให้รวมคลื่นความถี่หรือการโรมมิ่งเครือข่าย การคาดการณ์การประหยัดต้นทุนจากการใช้โครงข่ายร่วมกัน (1.77 หมื่นล้านบาทต่อปี จากปี 2570 เป็นต้นไป) จะไม่เปลี่ยนแปลง และประเด็นสุดท้าย กสทช. ออกคำสั่งห้ามไม่ให้ลดจำนวนสถานีฐาน (Cell Site) ของทั้งสองบริษัทลงจากเดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อกำไรของบริษัทใหม่ใน 3 ปีแรก

 

TRUE-DTAC

 

ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

The post เปิดมุมมองนักวิเคราะห์ ใครได้ใครเสีย? จากดีลควบรวมระหว่าง ‘TRUE-DTAC’ แบบมีเงื่อนไข appeared first on THE STANDARD.

]]>
สิ่งที่ต้องจับตาหลังจากบอร์ด กสทช. เห็นชอบแบบมีเงื่อนไขให้ ‘TRUE-DTAC’ รวมธุรกิจกัน https://thestandard.co/true-dtac-5/ Fri, 21 Oct 2022 10:16:38 +0000 https://thestandard.co/?p=698361 TRUE-DTAC

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 เป็นอีกวันหนึ่งที่ประเทศไทยต […]

The post สิ่งที่ต้องจับตาหลังจากบอร์ด กสทช. เห็นชอบแบบมีเงื่อนไขให้ ‘TRUE-DTAC’ รวมธุรกิจกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
TRUE-DTAC

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 เป็นอีกวันหนึ่งที่ประเทศไทยต้องจารึกไว้บนหน้าประวัติศาสตร์ เพราะเป็นวันที่บอร์ด กสทช. ประชุมกันร่วม 11 ชั่วโมง เพื่อหารือมติเรื่องการรวมธุรกิจระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC ซึ่งผลการประชุมสรุปออกมาว่า บอร์ด กสทช. มีมติรับทราบ ‘TRUE-DTAC’ ควบรวมกิจการภายใต้เงื่อนไขและมาตรการเฉพาะเพื่อลดผลกระทบต่อผู้บริโภค การแข่งขัน และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม

 

จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จํากัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ TRUE กับบริษัท เทเลนอร์ เอเซีย (Telenor Asia Pte Ltd.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC ได้ร่วมกันตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาคือ บริษัท ซิทริน โกลบอล จํากัด แล้วจะให้บริษัทที่ตั้งร่วมกันนี้ซื้อหุ้นทั้งหมดของ TRUE และ DTAC


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ประเด็นการรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ทำให้สังคมเกิดคำถามขึ้นอย่างมากมาย และสร้างประเด็นถกถามกันในวงกว้างเกี่ยวกับการผูกขาดในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศไทย ความเที่ยงธรรมเชิงกฎหมาย การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจ รวมถึงความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค

 

ในด้านการให้บริการทางธุรกิจ TRUE และ DTAC สื่อสารกับสังคมอยู่บ่อยครั้งว่าการรวมธุรกิจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากขึ้น ทั้งจะช่วยให้ผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี 5G ที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมด้วยคุณภาพ ความเสถียร และความเร็วโครงข่ายที่ดีกว่าเดิม อีกทั้งการรวมโครงสร้างพื้นฐานของ 2 บริษัทเข้าด้วยกัน จะลดต้นทุนการดำเนินกิจการของบริษัทลง แล้วจะทำให้ผู้ใช้บริการได้รับค่าบริการที่ถูกลง

 

อย่างไรก็ตาม การรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC ทำให้ผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมของไทยหายไป 1 ราย จากเดิมที่มี 3 ราย เหลือเพียง 2 รายเท่านั้น ซึ่งการที่มีผู้เล่นเพียง 2 รายในอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตาม ล้วนแต่ทำให้การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบลดลง ในทางตรงกันข้าม ความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคกลับเพิ่มขึ้น

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2565 หลังจากที่ประชุมหารือกันมากว่า 11 ชั่วโมง ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ บอร์ด กสทช. มีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 รับทราบการควบรวมกันระหว่าง TRUE และ DTAC ตามประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจฯ ปี 2561

 

โดยทาง กสทช. ได้กำหนดมาตรการเฉพาะที่จะใช้กำกับ เช่น ต้องลดค่าบริการเฉลี่ยลง 12% ใน 90 วัน, ต้องแยกแบรนด์กัน 3 ปี และต้องมีโครงข่าย 5G ที่ต้องครอบคลุม 85% ของประชากรใน 3 ปี

 

ผู้ประกอบการ ‘ได้ประโยชน์’ ทุกราย

ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ประเมินกรณีการรวมธุรกิจระหว่าง TRUE และ DTAC จะเป็นบวกต่ออุตสาหกรรมการให้บริการมือถือ เพราะหลังการควบรวม จำนวนผู้เล่นหลักในตลาดผู้ให้บริการมือถือจะลดลงจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย ซึ่งจะทำให้การแข่งขันมีแนวโน้มลดความรุนแรงลงจากปัจจุบันได้

 

โดยมองเป็นบวกต่อ TRUE และ DTAC ในด้านของศักยภาพในการแข่งขันจากฐานลูกค้าที่จะเพิ่มจากสิ้นไตรมาส 2/65 ที่มีลูกค้าอยู่ 33.3 ล้านราย และ 20.3 ล้านราย ตามลำดับ เป็น 53.6 ล้านราย หรือมีส่วนแบ่งการตลาดฐานลูกค้าประมาณ 50% นอกจากนี้ยังคาดหวังผลประกอบการที่ดีขึ้นจากต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่จะลดลง

 

สำหรับมาตรการต่างๆ ที่ กสทช. ออกมา มองว่าส่วนใหญ่น่าจะเป็นเงื่อนไขที่ TRUE และ DTAC ยอมรับได้ แต่อาจจะต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ตรงกันกับ กสทช. ก่อน โดยประเด็นสำคัญคือการที่จะต้องลดราคาค่าบริการเฉลี่ย 12% และการห้ามลด Cell Site ซึ่งเรื่องค่าบริการที่จะลดลงมองว่าน่าจะชดเชยได้ด้วยการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scales) ที่จะเกิดขึ้นหลังการควบรวม ขณะที่เรื่อง Cell Site ก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางที่จะลดต้นทุนได้

 

ทั้งนี้ ตัวอย่างมาตรการที่จะนำมากำกับหลังการควบรวมมีดังนี้

  • โครงข่าย 5G ต้องครอบคลุม 85% ของจำนวนประชากรใน 3 ปี และ 90% ใน 5 ปี
  • ลดค่าบริการเฉลี่ยลง 12% ภายใน 90 วัน
  • ต้องแยกแบรนด์จากกัน 3 ปี
  • หนุนรายย่อยผ่าน MVNO
  • ห้ามลด Cell Sites
  • TRUE และ DTAC ต้องคงไว้ซึ่งเงื่อนไขของสัญญา
  • ส่งเสริมการแข่งขันเพื่อเพิ่มผู้บริการรายใหม่
  • จัดแพ็กเกจสำหรับผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาส
  • รายงานผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน เป็นเวลา 5 ปี
  • กสทช. มีอำนาจระงับ ยกเลิก ปรับปรุงเงื่อนไขหากมีพฤติกรรมผูกขาด
  • นำส่งข้อมูลต้นทุนที่จำเป็นให้หน่วยงานตรวจสอบ

 

3 มาตรการเสี่ยงกดดัน ‘กำไรบริษัทใหม่’

ฝ่ายวิจัย บล.เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) ระบุว่า ในส่วนของมาตรการเฉพาะที่บอร์ด กสทช. กำหนดไว้นั้น ส่วนใหญ่แล้วสอดคล้องกับที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ แต่มี 3 มาตรการที่มีความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรบริษัทใหม่ ได้แก่

 

  1. การควบคุมราคา คณะกรรมการ กสทช. กำหนดให้ลดค่าธรรมเนียมบริการเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักโดยผู้ใช้บริการลง 12% ซึ่งไม่ทราบแน่ชัดว่าหมายถึง 1. ลดลง 12% จาก ARPU มือถือปัจจุบัน หรือ 2. เพดานราคาปัจจุบันลดลง 12%

 

  1. การใช้คลื่นความถี่ กสทช. ไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการรวมคลื่นความถี่ภายใต้นิติบุคคลเดียวหรือการโรมมิ่งเครือข่ายในบริษัทย่อยของบริษัทใหม่ หากอนุญาตให้รวมคลื่นความถี่หรือการโรมมิ่งเครือข่าย การคาดการณ์การประหยัดต้นทุนจากการใช้โครงข่ายร่วมกัน (1.77 หมื่นล้านบาทต่อปี จากปี 2570 เป็นต้นไป) จะไม่เปลี่ยนแปลง

 

  1. จำนวนสถานีฐาน (Cell Sites) กสทช. ออกคำสั่งห้ามไม่ให้ลดจำนวนสถานีฐาน (Cell Sites) ของทั้ง 2 บริษัทลงจากเดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อกำไรของบริษัทใหม่ใน 3 ปีแรก

 

“เนื่องจากความไม่แน่นอนของมาตรการสำคัญ 3 ประการ TRUE และ DTAC มีแนวโน้มที่จะต้องหารือและสรุปมาตรการเฉพาะกับ กสทช. เราคาดว่าจะเห็นข้อสรุปด้านมาตรการต่างๆ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 และนำไปสู่ VTO ในเดือนธันวาคม 2565 หรือมกราคม 2566 ดังนั้นการควบรวมกิจการน่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ปี 2566”

 

เกาะติดการจัดทำ ‘คำเสนอซื้อ’ จากผู้ถือหุ้นเดิม

ขั้นตอนต่อไปคือ TRUE และ DTAC จะมีการจัดทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมในการประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง TRUE และ DTAC เพื่อให้อนุมัติเกี่ยวกับบริษัทใหม่ที่จะเกิดจากการควบรวม จึงจะดำเนินการตั้งบริษัทใหม่ ซึ่งคาดจะเกิดได้ในปลายปีนี้หรือต้นเดือนมกราคม 2566

 

ด้าน บล.กสิกรไทย ระบุในบทวิเคราะห์ว่า เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม บอร์ด กสทช. ให้ TRUE-DTAC ควบรวมพร้อมกำหนดเงื่อนไขปฏิบัติตามเพื่อเยียวยาและรักษาผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการ ซึ่งฝ่ายวิจัยมองว่าทั้ง 2 บริษัทจะเดินหน้าควบรวมบริษัท โดยกระบวนการทำคำเสนอซื้อคาดว่าจะเกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนนี้ และกระบวนการแลกเปลี่ยนหุ้นน่าจะเกิดในเดือนธันวาคม และหุ้นใหม่ของ MergeCo น่าจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ภายในสิ้นปีนี้ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต้องติดตามเงื่อนไขของ กสทช.

 

โดยฝ่ายวิจัยคาดว่า ราคาเสนอซื้อ (VTO) ของ DTAC ที่ 47.76 บาท และของ TRUE ที่ 5.09 บาท จะเปลี่ยนจากแนวต้านเป็นแนวรับ โดยคงมุมมองเชิงบวกต่อการควบรวมของทั้งสองบริษัทจากการสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านการลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ นอกจากนี้คาดว่าการควบรวมระหว่าง TRUE-DTAC จะเป็นบวกกับหุ้น ADD เพราะจะได้แชร์ฐานลูกค้าของ DTAC จากเดิมที่เข้าถึงเพียง AIS และ TRUE

The post สิ่งที่ต้องจับตาหลังจากบอร์ด กสทช. เห็นชอบแบบมีเงื่อนไขให้ ‘TRUE-DTAC’ รวมธุรกิจกัน appeared first on THE STANDARD.

]]>
หวั่นราคาหุ้น ‘TRUE-DTAC’ ผันผวน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้ ทั้ง 2 บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบ https://thestandard.co/true-dtac-3/ Fri, 21 Oct 2022 06:08:50 +0000 https://thestandard.co/?p=698261 TRUE-DTAC

วงการตลาดทุนหวั่นราคาหุ้น ‘TRUE-DTAC’ ผันผวน แม้ กสทช. […]

The post หวั่นราคาหุ้น ‘TRUE-DTAC’ ผันผวน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้ ทั้ง 2 บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
TRUE-DTAC

วงการตลาดทุนหวั่นราคาหุ้น ‘TRUE-DTAC’ ผันผวน แม้ กสทช. อนุมัติแล้ว แต่ยังไม่จบแค่นี้ หลังมีเสียงค้านจ่อยื่นศาลฯ ขอคุ้มครองชั่วคราว ด้านตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุชัด ทั้งทรูและดีแทคต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน 

 

จากกรณีที่วานนี้ (20 ตุลาคม) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้มีมติ 3 ต่อ 2 เสียง พิจารณาการรวมธุรกิจระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE และ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC แบบมีเงื่อนไข และมาตรการเฉพาะเพื่อกำกับดูแล


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อย่างไรก็ตาม แม้ประเด็นดังกล่าวจะมีเสียงสนับสนุนให้เกิดการควบรวม แต่ก็มีหลายเสียงที่คัดค้านต่อการควบรวม ตัวอย่างเช่น สภาองค์กรของผู้บริโภค เตรียมขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉิน และมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา กรณี กสทช. อนุญาตการควบรวม TRUE-DTAC พร้อมร้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เหตุกรรมการ กสทช. ‘ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ’ ในการพิจารณาการควบรวมกิจการประเภทเดียวกันในครั้งนี้

 

ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ กสทช. ได้มีมติให้ควบรวมเกิดขึ้นแล้วนั้น กระบวนการดังกล่าวถือว่ายังไม่เสร็จสิ้น และอยู่ในระหว่างกระบวนการควบรวม โดยหลายฝ่ายมีความกังวลว่า ประเด็นดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นของ TRUE และ DTAC ในระหว่างที่กระบวนการต่างๆ ยังไม่แล้วเสร็จ รวมถึงจะมีปัจจัยที่เข้ามากระทบจากฝ่ายที่ออกมาคัดค้าน ซึ่งอาจจะทำให้ราคาหุ้นของทั้ง 2 บริษัทมีความผันผวนมากกว่าปกติ

 

ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า สิ่งที่ทาง TRUE กับ DTAC จะต้องทำคือการเปิดเผยข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ขณะนี้ดีลการควบรวมดังกล่าวมีผลความคืบหน้าเป็นอย่างไร เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลที่เท็จจริง

 

สำหรับมุมมองของการควบรวมกันระหว่าง TRUE กับ DTAC นั้น มองว่าขึ้นอยู่กับกฎหมายกำหนด ถ้าผู้กำกับดูแลไม่ได้ขัดข้องก็สามารถรวมกันได้และเป็นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ เบื้องต้นตนยังไม่ทราบถึงรายละเอียดมากนัก ซึ่งทุกอย่างจะต้องขึ้นอยู่กับผู้ที่มีส่วนกำกับดูแล

The post หวั่นราคาหุ้น ‘TRUE-DTAC’ ผันผวน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ชี้ ทั้ง 2 บริษัทต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบ appeared first on THE STANDARD.

]]>