ดาวพุธ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sat, 11 Jan 2025 05:44:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ESA เผยภาพขั้วเหนือดาวพุธ ที่อาจมีน้ำแข็งอยู่ในหลุม จากยาน BepiColombo https://thestandard.co/esa-north-pole-mercury-bepicolombo/ Sat, 11 Jan 2025 05:43:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1029312

องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA เผยภาพถ่ายชุดล่าสุดของดาวพุธ […]

The post ESA เผยภาพขั้วเหนือดาวพุธ ที่อาจมีน้ำแข็งอยู่ในหลุม จากยาน BepiColombo appeared first on THE STANDARD.

]]>

องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA เผยภาพถ่ายชุดล่าสุดของดาวพุธ จากกล้องบนยาน BepiColombo ระหว่างบินเฉียดใกล้เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2025 เวลา 12.59 น. ตามเวลาไทย ที่ระยะห่างเพียง 295 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว

 

การบินผ่าน (Flyby) ดาวพุธครั้งที่ 6 ของภารกิจ จะเป็นการบินผ่านครั้งสุดท้ายของยาน BepiColombo ก่อนเดินทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธในปลายปี 2026 ทำให้เป็นโอกาสสุดท้ายในการสำรวจบางส่วนของดาวเคราะห์ดวงนี้ รวมถึงการบินเฉียดพื้นผิวขั้วเหนือเพื่อบันทึกภาพเหนือหลุมอุกกาบาตในระยะใกล้

 

หลังจากโฉบผ่านเหนือเส้น Terminator ที่แบ่งแยกระหว่างช่วงกลางวันและกลางคืน กล้อง M-CAM 1 ได้โอกาสบันทึกภาพเหนือบริเวณขั้วเหนือดาวพุธ ซึ่งมีหลุมอุกกาบาตบางส่วนที่ขอบหลุมมีความสูงเพียงพอ จนทำให้พื้นที่เบื้องล่างอยู่ในเงามืดตลอดเวลา

 

บริเวณเบื้องล่างของหลุมอุกกาบาต Prokofiev, Kandinsky, Tolkien, และ Gordimer ณ ขั้วเหนือดาวพุธ อาจเป็นหนึ่งในจุดที่หนาวเหน็บที่สุดในระบบสุริยะ แม้จะอยู่บนดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ที่สุดก็ตาม โดยนักดาราศาสตร์เรียกบริเวณดังกล่าวว่า ‘Permanently Shadowed Crater’ หรือหลุมอุกกาบาตที่อยู่ในเงามืดตลอดกาล

 

ปัจจุบันนักดาราศาสตร์มีหลักฐานว่าอาจมีน้ำแข็งอยู่ใต้หลุมเหล่านี้ ซึ่งยาน BepiColombo มีภารกิจในการตามหาน้ำในหลุมอุกกาบาตบนดาวพุธ เมื่อครั้งที่ยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรรอบดาว และเริ่มภารกิจสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในช่วงต้นปี 2027

 

Geraint Jones นักวิทยาศาสตร์ประจำภารกิจของยาน ระบุว่า “แม้ภารกิจหลักของ BepiColombo จะเริ่มขึ้นในอีก 2 ปีจากนี้ แต่ข้อมูลที่ได้จากการบินผ่าน 6 ครั้งก่อนหน้า ช่วยให้เราได้พบสิ่งใหม่ๆ ของดาวเคราะห์ที่ไม่ค่อยได้รับการสำรวจดวงนี้ โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่จะมาถึง ทีมภารกิจบนโลกจะศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากการบินผ่านรอบนี้ เพื่อไขปริศนาดาวพุธให้ได้มากที่สุด”

 

อ้างอิง:

The post ESA เผยภาพขั้วเหนือดาวพุธ ที่อาจมีน้ำแข็งอยู่ในหลุม จากยาน BepiColombo appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยานอวกาศ BepiColombo เตรียมบินผ่านดาวพุธ 8 มกราคมนี้ ก่อนเข้าสู่วงโคจรในปี 2026 https://thestandard.co/bepicolombo-mercury-8-jan/ Wed, 08 Jan 2025 02:07:56 +0000 https://thestandard.co/?p=1028044 ยาน BepiColombo ในความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป-ญี่ปุ่น มีกำหนดบินเฉียดผ่านดาวพุธวันที่ 8 มกราคมนี้ เพื่อเตรียมเข้าสู่วงโคจรรอบดาวในช่วงปลายปี 2026

ยาน BepiColombo ในความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป-ญี่ปุ […]

The post ยานอวกาศ BepiColombo เตรียมบินผ่านดาวพุธ 8 มกราคมนี้ ก่อนเข้าสู่วงโคจรในปี 2026 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยาน BepiColombo ในความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป-ญี่ปุ่น มีกำหนดบินเฉียดผ่านดาวพุธวันที่ 8 มกราคมนี้ เพื่อเตรียมเข้าสู่วงโคจรรอบดาวในช่วงปลายปี 2026

ยาน BepiColombo ในความร่วมมือขององค์การอวกาศยุโรป-ญี่ปุ่น มีกำหนดบินเฉียดผ่านดาวพุธวันที่ 8 มกราคมนี้ เพื่อเตรียมเข้าสู่วงโคจรรอบดาวในช่วงปลายปี 2026

 

วันที่ 8 มกราคม เวลา 12.59 น. ตามเวลาประเทศไทย ยานอวกาศ BepiColombo จะบินผ่านดาวพุธที่ความสูงเพียง 295 กิโลเมตรเหนือพื้นผิว โดยเป็นการบินผ่านดาวพุธครั้งที่ 6 และเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเดินเครื่องยนต์เพื่อเข้าสู่วงโคจรรอบดาวในเดือนพฤศจิกายน 2026

 

การบินผ่านครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีในการบันทึกภาพถ่ายดาวพุธจากกล้องบนยาน โดยเฉพาะหลุมอุกกาบาตบริเวณขั้วเหนือของดาว เช่นเดียวกับการเก็บบันทึกข้อมูลโดยอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ และทดสอบความพร้อมของยานอวกาศเมื่อต้องอยู่ในเงาของดาวพุธเป็นเวลา 23 นาที ว่าสามารถปฏิบัติงานและรอดพ้นจากความแปรผันของอุณหภูมิสุดขั้วได้หรือไม่

 

ด้วยวิถีโคจรที่บินผ่านเส้นศูนย์สูตรของดาวพุธในช่วงกลางคืน ก่อนโฉบขึ้นเหนือขั้วเหนือของดาว จึงเป็นโอกาสดีที่ยาน BepiColombo ได้ตรวจวัดอนุภาคมีประจุที่ไหลผ่านสนามแม่เหล็กของดาว จากตำแหน่งที่ไม่เคยมียานอวกาศลำใดเคยสำรวจมาก่อน และเป็นตำแหน่งที่ยานอวกาศลำนี้ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธเป็นที่เรียบร้อย

 

BepiColombo เป็นภารกิจความร่วมมือระหว่างองค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA และองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ออกเดินทางจากโลกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2018 และใช้การบินผ่านใกล้โลก ดาวศุกร์ และดาวพุธ รวม 9 ครั้ง เพื่อเร่งความเร็วให้ตามไปถึงดาวพุธได้สำเร็จ ก่อนชะลอความเร็วเพื่อเข้าสู่อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของดาว ‘เตาไฟแช่แข็ง’ ดวงนี้ในอีกประมาณ 20 เดือนจากนี้

 

เมื่อเข้าสู่วงโคจรแล้วจะแบ่งยานออกเป็น 2 ลำ ได้แก่ Mercury Planetary Orbiter ของยุโรป และ Mercury Magnetospheric Orbiter ของญี่ปุ่น ซึ่งมีกำหนดเริ่มปฏิบัติการสำรวจเชิงวิทยาศาสตร์ในต้นปี 2027 เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีบนโลก พร้อมโอกาสในการต่ออายุภารกิจเพิ่มเติมได้ในอนาคต

 

อ้างอิง:

The post ยานอวกาศ BepiColombo เตรียมบินผ่านดาวพุธ 8 มกราคมนี้ ก่อนเข้าสู่วงโคจรในปี 2026 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ESA เผยภาพถ่ายล่าสุดของดาวพุธจากยานสำรวจ BepiColombo https://thestandard.co/esa-mercury-shots-from-bepicolombo/ Sat, 07 Sep 2024 03:38:05 +0000 https://thestandard.co/?p=980605 ดาวพุธ

ยานอวกาศ BepiColombo ขององค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA ประส […]

The post ESA เผยภาพถ่ายล่าสุดของดาวพุธจากยานสำรวจ BepiColombo appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดาวพุธ

ยานอวกาศ BepiColombo ขององค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA ประสบความสำเร็จในการบินผ่าน ดาวพุธ เป็นครั้งที่ 4 พร้อมเผยภาพถ่ายสุดคมชัดของดาวเคราะห์ที่โคจรใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด

 

วันที่ 5 กันยายน เวลา 04.48 น. ตามเวลาประเทศไทย ยาน BepiColombo ได้บินเฉียดผ่านดาวพุธที่ความสูง 165 กิโลเมตรจากพื้นผิว เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของดาวช่วยปรับทิศให้ยานอวกาศเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธในเดือนพฤศจิกายน 2026

 

Frank Budnik ผู้จัดการด้านวิเคราะห์วงโคจรของภารกิจ ระบุว่า “เป้าหมายหลักในการบินผ่านดาวพุธรอบนี้คือการชะลอความเร็วสัมพัทธ์กับดวงอาทิตย์ของ BepiColombo เพื่อให้ยานมีคาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 88 วัน หรือใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ดาวพุธใช้หมุนรอบดวงอาทิตย์”

 

นอกจากนี้ทีมภารกิจยังใช้โอกาสดังกล่าวสำรวจหลุมอุกกาบาตต่างๆ ผ่านกล้องถ่ายภาพ Monitoring Camera ทั้ง 3 ตัว ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสภาพของยานอวกาศเป็นหลักเท่านั้น ส่วนกล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์สำรวจทางวิทยาศาสตร์ยังถูกห่อหุ้มป้องกันไว้ในระหว่างที่ยานเดินทางเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธ

 

ESA ระบุว่า ยาน BepiColombo จะเริ่มภารกิจสำรวจทางวิทยาศาสตร์ในปี 2027 โดยแบ่งเป็นยาน Mercury Planetary Orbiter และ Mercury Magnetospheric Orbiter ขององค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ JAXA ที่จะแยกออกจากกันเมื่อเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธเป็นที่เรียบร้อย

 

BepiColombo เป็นยานอวกาศลำที่ 3 ที่เดินทางไปถึงดาวพุธ ต่อจากภารกิจ Mariner 10 และ MESSENGER ของ NASA โดยจะใช้การบินผ่านดาวพุธอีก 2 ครั้ง เพื่อปรับวงโคจรให้ยานเข้าสู่วงโคจรรอบดาวพุธในเดือนพฤศจิกายน 2026 ได้อย่างปลอดภัย

 

ภาพ: ESA / BepiColombo / MTM

อ้างอิง:

The post ESA เผยภาพถ่ายล่าสุดของดาวพุธจากยานสำรวจ BepiColombo appeared first on THE STANDARD.

]]>