ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 07 Jul 2022 13:37:46 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ผู้บริหาร IMD เตือนโลกกำลังเข้าสู่ยุคแห่งความไม่แน่นอน ชี้โจทย์ท้าทายของไทยคือ การเพิ่มผลผลิต และยกระดับการศึกษา https://thestandard.co/imd-executive-warned-world-is-entering-unstable-era/ Thu, 07 Jul 2022 13:37:46 +0000 https://thestandard.co/?p=651414 IMD

Arturo Bris ผู้อำนวยการของศูนย์ IMD World Competitivene […]

The post ผู้บริหาร IMD เตือนโลกกำลังเข้าสู่ยุคแห่งความไม่แน่นอน ชี้โจทย์ท้าทายของไทยคือ การเพิ่มผลผลิต และยกระดับการศึกษา appeared first on THE STANDARD.

]]>
IMD

Arturo Bris ผู้อำนวยการของศูนย์ IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวในงานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2022 หัวข้อ ‘The World is Changing: What about Competitiveness’ โดยระบุว่า โลกในปัจจุบันกำลังอยู่ในยุคแห่งความไม่แน่นอน หรือ Era of Uncertainty ซึ่งต่างจากในอดีตที่ความเสี่ยงต่างๆ จะถูกพูดถึงในระยะ 3-5 ปี แต่ปัจจุบันอาจต้องดูกันเป็นหลักเดือน โดยการสำรวจล่าสุดของ IMD พบว่า ปัญหาในระยะข้างหน้าที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความกังวลในขณะนี้คือ เงินเฟ้อ ภาวะสงคราม และภูมิรัฐศาสตร์

 

“มันเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาความเสี่ยงล่วงหน้าได้ในยุคปัจจุบัน มีปัญหาใหม่ที่พร้อมจะเกิดขึ้นเสมอ หากย้อนกลับไปดูผลสำรวจในช่วงปี 2019 จะพบว่าปัญหาที่คนส่วนใหญ่กังวลคือภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ ไม่มีใครพูดถึงโรคระบาดและภูมิรัฐศาสตร์ที่กำลังเป็นเรื่องใหญ่ในปัจจุบันเลย” Bris กล่าว

 

Bris ระบุว่า ภายใต้ภาวะปัจจุบันสิ่งที่ผู้บริหารควรทำไม่ใช่การวางกลยุทธ์หรือกำหนดวิสัยทัศน์ล่วงหน้าหลายปี แต่ควรหันไปโฟกัสที่แท็กติกสำหรับรับมือกับปัญหาต่างๆ ในระยะสั้น มีการตอบสนองต่อวิกฤตที่รวดเร็ว อ่านสัญญาณเตือนต่างๆ ให้ออก และเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต 

 

นอกจากนี้ Bris ยังพูดถึงผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ ทั่วโลกในปีนี้ของ IMD ซึ่งประเทศไทยมีอันดับลดลงถึง 5 อันดับ มาอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 63 เขตเศรษฐกิจ 

 

โดยในการจัดอันดับดังกล่าว ไทยมีอันดับลดลงในทั้ง 4 ปัจจัยชี้วัด ได้แก่ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับลดลงถึง 13 อันดับ อันเนื่องมาจากประเด็นการค้าระหว่างประเทศและเศรษฐกิจภายในประเทศ ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) มีอันดับลดลง 11 อันดับจากอันดับที่ 20 ในปี 2021 เป็นอันดับที่ 31 ในปี 2022 เนื่องจากประเด็นด้านการคลังและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจ ซึ่งลดลง 15 และ 8 อันดับตามลำดับ ส่วนด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) ก็มีอันดับที่ลดลงเช่นกัน จากอันดับที่ 21 มาอยู่ที่อันดับ 30 โดยประเด็นด้านผลิตภาพและประสิทธิภาพยังคงเป็นปัญหาหลัก และมีอันดับลดลงถึง 7 อันดับ มาอยู่ที่อันดับ 47 ในปีนี้ ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีอันดับลดลง 1 อันดับ จากอันดับที่ 43 มาอยู่ที่อันดับ 44

 

Bris กล่าวว่า อันดับที่ลดลงของไทยเป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศอื่นในภูมิภาค เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เนื่องจากในภาพรวมประเทศในเอเชียยังมีการฟื้นตัวที่ล่าช้ากว่าประเทศในยุโรป และสหรัฐฯ ที่เปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดก่อน 

 

“ในการจัดอันดับล่าสุด ฝรั่งเศสและสเปนมีอันดับที่ดีขึ้น แต่เมื่อมองไปข้างหน้าเชื่อว่าประเทศในยุโรปจะได้รับผลกระทบจากสงครามในยุโรป ทำให้มีโอกาสที่อันดับจะลดลงในการวัดผลครั้งต่อไป ตรงข้ามกับประเทศในเอเชียที่จะฟื้นตัวดีขึ้น โดยในส่วนของไทยเศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงกับจีนอยู่พอสมควร หากจีนฟื้นตัวได้เร็วก็จะเป็นผลบวกต่อไทยไปด้วย” Bris ระบุ

 

Bris กล่าวอีกว่า ความท้าทายสำคัญของประเทศไทยในเวลานี้คือ การเพิ่มผลผลิต (Productivity) และการยกระดับการศึกษาให้สามารถผลิตคนที่มีทักษะตรงกับความต้องการของตลาด โดยการเพิ่มผลผลิตสามารถทำได้ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล การนำระบบออโตเมชันมาใช้งาน ขณะที่การศึกษาก็จำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรที่สอนทักษะซึ่งตอบโจทย์ของโลกสมัยใหม่

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post ผู้บริหาร IMD เตือนโลกกำลังเข้าสู่ยุคแห่งความไม่แน่นอน ชี้โจทย์ท้าทายของไทยคือ การเพิ่มผลผลิต และยกระดับการศึกษา appeared first on THE STANDARD.

]]>
พิษสงครามการค้าทำดัชนีอุตสาหกรรม 5 เดือนแรกติดลบ 1.26% ศูนย์วิจัยกสิกรไทยหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโตเหลือ 3.1% https://thestandard.co/mpi-index/ Wed, 26 Jun 2019 10:13:36 +0000 https://thestandard.co/?p=265664 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (ส […]

The post พิษสงครามการค้าทำดัชนีอุตสาหกรรม 5 เดือนแรกติดลบ 1.26% ศูนย์วิจัยกสิกรไทยหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโตเหลือ 3.1% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งอยู่ที่ 103.68 ปรับตัวลดลง 3.99% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่ผ่านมา แต่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.63% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (เม.ย.) เมื่อพิจารณาช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-พ.ค. 2562) พบว่าดัชนี MPI ติดลบ 1.26% ขณะที่เป้าหมาย MPI ทั้งปี 2562 น่าจะโตที่ 2% และเป้าหมายจีดีพีอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโต 1.5-2.5% ลดลงจากเป้าเดิมที่คาดว่าจะโต 2-3%

 

ปัจจัยที่สำคัญคือความต้องการบริโภคภายในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัว เป็นผลจากแนวโน้มการส่งออกโลกที่ชะลอลงต่อเนื่องจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน อุตสาหกรรมหลักที่ได้รับผลกระทบและส่งผลต่อดัชนี MPI ได้แก่ ยอดขายที่ตกลงของปุ๋ยเคมีจากปัญหาภัยแล้ง การลดการปลูกข้าวนาปรัง การเสียส่วนแบ่งตลาดส่งออกปุ๋ยในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม นอกจากนี้การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ลดลง โดยมียอดผลิตรวมกว่า 1.81 แสนคัน ปรับตัวลง 6.11% ขณะที่ยอดขายภายในประเทศยังขยายตัวที่ 3.7% สศอ. ชี้ว่าต้องจับตาการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลกจากสงครามการค้า รวมทั้งมูลค่าการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบหลักของเดือนพฤษภาคม 2562 ติดลบ 2.3% ซึ่งอาจส่งผลต่อ MPI ซึ่งมีแนวโน้มที่ MPI เดือนมิถุนายน 2562 จะติดลบ

 

ขณะที่มุมมองของ ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวในงาน ‘มองเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง’ ว่า ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงมาที่ 3.1% จากเดิมที่ 3.7% เนื่องจากภาคการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการค้าโลกที่มีแนวโน้มยืดเยื้อต่อไป

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post พิษสงครามการค้าทำดัชนีอุตสาหกรรม 5 เดือนแรกติดลบ 1.26% ศูนย์วิจัยกสิกรไทยหั่นคาดการณ์เศรษฐกิจโตเหลือ 3.1% appeared first on THE STANDARD.

]]>