ดนุชา พิชยนันท์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 05 Jan 2025 06:54:10 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สภาพัฒน์คาด ปีนี้ไทยมีนักท่องเที่ยวเพิ่ม มองเป้าดัน GDP โต 3% ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงภายนอก https://thestandard.co/thailand-tourism-gdp-growth-forecast-2025/ Sun, 05 Jan 2025 06:54:10 +0000 https://thestandard.co/?p=1027136 สภาพัฒน์

วันนี้ (5 มกราคม) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพ […]

The post สภาพัฒน์คาด ปีนี้ไทยมีนักท่องเที่ยวเพิ่ม มองเป้าดัน GDP โต 3% ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงภายนอก appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์

วันนี้ (5 มกราคม) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยข้อมูลภาคการท่องเที่ยวในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 ว่าตัวเลขล่าสุดวันที่ 29 ธันวาคม 2567 นักท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศไทยประมาณ 35 ล้านคน ใกล้เคียงกับเป้าที่ตั้งไว้ ส่วนรายได้ต่อคนต้องขอเวลาดูข้อมูลอีกครั้งว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง แต่ที่ผ่านมาตัวเลขสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย

 

ทั้งนี้ รัฐบาลจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี 2568 เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว สำหรับมาตรการเรื่องการอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวที่จะเข้าสู่ประเทศไทย การตรวจคัดกรองที่ท่าอากาศยานก็มีการปรับปรุงให้มีศักยภาพมากขึ้น ในปีนี้เองนักท่องเที่ยวน่าจะเข้าสู่ประเทศไทยมากกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย น่าจะใกล้เคียงกับช่วงก่อนโควิด ซึ่งจะมีการแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่จะถึงนี้

 

“ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นภาคหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้จะมีเรื่องของการส่งออกที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อน รวมทั้งการลงทุนของรัฐ” ดนุชาระบุ

 

ส่วนเป้าหมายให้ GDP โตขึ้นถึง 3% ในปี 2568 นั้น ดนุชากล่าวว่าเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลอยากให้เศรษฐกิจโต 3% เป็นไปตามศักยภาพของประเทศตอนนี้ ช่วงปี 2568 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศ ดังนั้นการตั้งเป้าที่ทุกคนคาดหวัง จะต้องทำงานร่วมกันในการช่วยขับเคลื่อนกระตุ้นเศรษฐกิจไทย และต้องดูด้วยว่าปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะมาตรการการค้าจะกระทบกับประเทศไทยมากน้อยเพียงใด

 

สำหรับโครงการแจกเงิน 10,000 บาท ระยะที่ 3 นั้น ดนุชาระบุว่า ขอให้ไปถามเรื่องนี้กับปลัดกระทรวงการคลัง ส่วนตัวคิดว่ายังอยู่ในขั้นตอนการพูดคุย ตอบอะไรไม่ได้มาก และจะเริ่มดำเนินการได้เมื่อไร ความชัดเจนต่างๆ ขอให้ถามกับกระทรวงการคลัง

 

ดนุชาเปิดเผยด้วยว่า การจัดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 มีความราบรื่นดี ขณะนี้เป็นการตั้งกรอบงบประมาณปี 2569 เหลือเพียงเรื่องงบบริหารซึ่งต้องทำตามที่ขอเข้ามา และเรื่องดังกล่าวจะเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารที่ 7 มกราคมที่จะถึงนี้

The post สภาพัฒน์คาด ปีนี้ไทยมีนักท่องเที่ยวเพิ่ม มองเป้าดัน GDP โต 3% ยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงภายนอก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยอดสะสมอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ จังหวัดตรังบ่อยสุด สาเหตุหลักคาด ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด ดื่มแล้วขับ https://thestandard.co/thailand-new-year-accident-statistics-2025/ Sun, 05 Jan 2025 05:34:54 +0000 https://thestandard.co/?p=1027110 อุบัติเหตุช่วงปีใหม่

วันนี้ (5 มกราคม) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) […]

The post ยอดสะสมอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ จังหวัดตรังบ่อยสุด สาเหตุหลักคาด ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด ดื่มแล้วขับ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุบัติเหตุช่วงปีใหม่

วันนี้ (5 มกราคม) ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงผลการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน (ศปถ.) ช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2568 ในช่วง 10 วันอันตรายต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 

 

ดนุชากล่าวว่า ตามที่รัฐบาลรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ในปีนี้ ถือเป็นช่วงคุมเข้มตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2567 ถึง 5 มกราคม 2568 ภายใต้การขับขี่ปลอดภัยเมืองไทยไร้อุบัติเหตุ ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะสร้างวัฒนธรรมการขับขี่ที่ปลอดภัย ต้องขอขอบคุณทางเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ดำเนินการอย่างเต็มที่ในช่วงที่ผ่านมา

 

โดยสถิติสะสม รวม 9 วัน ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2567 – 4 มกราคม 2568 เกิดอุบัติเหตุ 2,322 ครั้ง บาดเจ็บ 2,251 คน ผู้เสียชีวิต 393 คน

 

ซึ่งข้อมูลอุบัติเหตุในวันที่ 4 มกราคม 2568 มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นทั้งหมด 169 ครั้ง ผู้บาดเจ็บ 164 คน เสียชีวิต 23 คน จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือจังหวัดตรัง จำนวน 11 ครั้ง, รองลงมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 8 ครั้ง ตามด้วยจังหวัดน่าน, ปราจีนบุรี, เชียงราย และแพร่ จังหวัดละ 7 ครั้ง

 

จำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดอยู่ที่จังหวัดตรัง, นราธิวาส, อุตรดิตถ์ และนครปฐม จังหวัดละ 2 คน ส่วนจำนวนผู้บาดเจ็บที่แอดมิตเข้ารักษาในโรงพยาบาล สูงสุดที่จังหวัดตรัง จำนวน 11 คน รองลงมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 9 คน จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 8 คน จังหวัดเชียงรายและน่าน จังหวัดละ 7 คน 

 

“จากข้อมูลเราสันนิษฐานว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมาจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด 63 ครั้ง มีการตัดหน้ากระชั้นชิด 40 ครั้ง ทัศนวิสัยไม่ดีประมาณ 30 ครั้ง ดื่มแล้วขับ 26 ครั้ง”

 

สำหรับประเภทรถที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดเป็นรถจักรยานยนต์ จำนวน 145 คัน รองมาเป็นรถเก๋ง 6 คัน รถปิกอัพ รถกระบะ รถจักรยาน อย่างละ 5 คัน

 

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตทั้ง 23 คน แบ่งเป็นการเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ จำนวน 14 คน เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาล 1 คน เสียชีวิตที่โรงพยาบาล 8 คน โดยมีมูลเหตุสันนิษฐานว่าขับรถเร็วกว่ากฎหมายกำหนดจำนวน 11 คน มีพฤติกรรมเสี่ยงคือไม่สวมหมวกนิรภัย 7 คน โดยผู้เสียชีวิตจากยานพาหนะสูงสุดเป็นรถจักรยานยนต์ 17 คน และรถเก๋ง 3 คน เราพบพฤติกรรมเสี่ยง ดื่มแล้วขับ 547 คน มีผู้ขับขี่ที่ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 3,687 คน และมีการขับขี่โดยไม่สวมหมวกนิรภัย 10,469 คน 

 

ดนุชาระบุว่า ในช่วงวันนี้จะมีการดำเนินการอย่างเข้มข้น โดยตนมอบหมาย 4-5 เรื่อง ได้แก่ 

 

1. ขอให้ทางจังหวัดเน้นย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรการอย่างเข้มข้น จริงจัง และต่อเนื่อง ให้ความสำคัญในการบริหารจุดบริการประชาชน จุดพักรถ เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ขับรถติดต่อกันเป็นเวลานาน

2. ขอให้อำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยและดูแลนักท่องเที่ยวที่ยังตกค้างในสถานีตามจังหวัดต่างๆ ให้สามารถเดินทางสู่จุดหมายอย่างปลอดภัย

3. ขอให้ทางจังหวัดบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อติดตามและตรวจสอบข้อมูล 

4. ขอให้จังหวัดสร้างการรับรู้ถึงพฤติกรรมเสี่ยงหลักที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บและเสียชีวิต

5. ขอให้ประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้เกี่ยวกับการขับขี่สาธารณะในพื้นที่ที่มีทัศนวิสัยต่ำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

The post ยอดสะสมอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ จังหวัดตรังบ่อยสุด สาเหตุหลักคาด ขับรถเร็ว ตัดหน้ากระชั้นชิด ดื่มแล้วขับ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์เผยจำนวนผู้ว่างงานยาวเกิน 1 ปีขึ้นไปพุ่งถึง 16.2% ด้านแรงงานจบมหาวิทยาลัยตกงานมากสุด https://thestandard.co/thai-unemployment-rate-hits-16-percent/ Mon, 25 Nov 2024 09:32:30 +0000 https://thestandard.co/?p=1012570 ว่างงาน

สภาพัฒน์เผยในไตรมาส 3 ของปีนี้จำนวนผู้ว่างงานระยะยาวตั้ […]

The post สภาพัฒน์เผยจำนวนผู้ว่างงานยาวเกิน 1 ปีขึ้นไปพุ่งถึง 16.2% ด้านแรงงานจบมหาวิทยาลัยตกงานมากสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ว่างงาน

สภาพัฒน์เผยในไตรมาส 3 ของปีนี้จำนวนผู้ว่างงานระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึง 16.2%YoY จำนวนนี้ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี ขณะที่อัตราว่างงานแรงงานที่จบอุดมศึกษาอยู่ที่ 2.14% สูงกว่าอัตรา ว่างงาน โดยรวมลดลงอยู่ที่ 1.02% สะท้อนว่าแรงงานที่จบมหาวิทยาลัยว่างงานมากที่สุด สูงกว่าแรงงานที่จบการศึกษาต่ำกว่า

 

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เผยว่า อัตราว่างงาน (Unemployment Rate) ณ ไตรมาส 3 ของปีนี้อยู่ที่ 1.02% หรือมีผู้ว่างงาน 410,000 คน ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 1.07% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ 1.82% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ที่ 1.93% โดยมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งสิ้น 74,000 คน ซึ่งกว่า 95% เป็นแรงงานในภาคการผลิต

 

โดยจำแนกตามระดับการศึกษาสูงสุดพบว่าแรงงานที่จบระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษามีอัตราว่างงานอยู่ที่ 2.14% สูงที่สุดเมื่อเทียบกับแรงงานที่จบการศึกษาต่ำกว่า ดังนี้

 

  • แรงงานระดับอุดมศึกษาว่างงาน 150,600 คน (อัตราว่างงาน 2.14%)
  • แรงงานระดับการศึกษามัธยมต้น 67,200 คน (อัตราว่างงาน 0.91%)
  • แรงงานระดับการศึกษามัธยมปลาย (สายสามัญ) 65,000 คน (อัตราว่างงาน 1.00%)
  • แรงงานระดับการศึกษาประถมและต่ำกว่า 59,200 คน (อัตราว่างงาน 0.38%)
  • แรงงานระดับการศึกษาวิชาชีพชั้นสูง 51,400 คน (อัตราว่างงาน 2.01%)
  • แรงงานระดับการศึกษาอาชีวศึกษา 20,500 คน (อัตราว่างงาน 1.32%)

 

1 ปีก็ยังหางานไม่ได้! ผู้ว่างงานระยะยาวพุ่ง 16.2%

 

นอกจากนี้ ดนุชายังชี้ให้เห็นว่าในไตรมาส 3 ของปีนี้ จำนวนผู้ว่างงานระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นถึง 16.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) อยู่ที่ 81,000 คน

 

โดยสาเหตุสำคัญผู้ตอบแบบสอบถามกว่า 65% ระบุว่าหางานไม่ได้ นอกจากนี้ 71.3% ระบุว่าไม่เคยทำงานมาก่อน โดยเกือบ 3 ใน 4 ของผู้ว่างงานระยะยาวยังอยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี

 

สำหรับประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป

 

1. การส่งเสริมการปรับตัวของแรงงานในอุตสาหกรรมรูปแบบเดิมให้เป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้โครงสร้างการผลิตแบบเดิมไม่ตอบสนองความต้องการของตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงาน ทั้งการเลิกจ้าง การลด OT การใช้มาตรา 75 สมัครใจลาออก และการเกษียณก่อนกำหนด

 

2. การเตรียมความพร้อมด้านทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่ง BOI เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนเพิ่มส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมใหม่ และอาจจ้างแรงงานไทยประมาณ 170,000 คน ซึ่งจะต้องเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน เพื่อให้แรงงานไทยได้รับประโยชน์จากการลงทุนดังกล่าว

 

3. ผลกระทบต่อค่าครองชีพจากสถานการณ์อุทกภัยที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น โดยสถานการณ์อุทกภัยตั้งแต่ช่วงกลางปี 2567 ทำให้พื้นที่เกษตรกรรมได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะพืชระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ควรตรวจสอบและควบคุมราคาไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนโดยเฉพาะผู้ประสบภัยน้ำท่วม

The post สภาพัฒน์เผยจำนวนผู้ว่างงานยาวเกิน 1 ปีขึ้นไปพุ่งถึง 16.2% ด้านแรงงานจบมหาวิทยาลัยตกงานมากสุด appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์หวั่น แบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อ อาจดันลูกหนี้หันกู้นอกระบบ https://thestandard.co/nesdc-banks-tight-loans-risk/ Mon, 25 Nov 2024 07:18:14 +0000 https://thestandard.co/?p=1012507

สภาพัฒน์เผย จากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินท […]

The post สภาพัฒน์หวั่น แบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อ อาจดันลูกหนี้หันกู้นอกระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

สภาพัฒน์เผย จากมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง ทำให้มีความเสี่ยงที่ครัวเรือนต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบมากขึ้น โดยเฉพาะลูกหนี้ที่กู้ในระบบเต็มวงเงินแล้ว ท่ามกลางภาวะที่ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนยังลดลงต่อเนื่อง เห็นจาก NPL ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์คุณภาพสินเชื่อที่ด้อยลง รวมถึงมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้มงวดต่อเนื่อง และมีแนวโน้มเข้มงวดขึ้น เริ่มส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อของลูกหนี้ โดยเฉพาะลูกหนี้ที่กู้ในระบบเต็มวงเงินแล้ว ทำให้ไม่เหลือทางเลือกจนอาจต้องหันไปพึ่งพาหนี้นอกระบบ

 

ทั้งนี้ ตามข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนยังลดลงต่อเนื่อง เห็นจากยอดคงค้างสินเชื่อบุคคลที่ค้างชำระเกิน 90 วันขึ้นไป (NPL) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 มีมูลค่าเกือบ 1.2 ล้านล้านบาท จากมูลค่ากว่า 1.16 ล้านล้านบาทในไตรมาสที่ 2

 

คนก่อหนี้นอกระบบเพื่ออุปโภคบริโภค สะท้อนขาดสภาพคล่องรุนแรง!

 

จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ครัวเรือนไทยก่อหนี้นอกระบบคิดเป็นมูลค่า 6.7 หมื่นล้านบาท โดยจำนวนนี้เกือบครึ่ง (47.5%) เป็นการก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภค สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องของครัวเรือน

 

โดยการก่อหนี้นอกระบบจะทำให้ลูกหนี้เสี่ยงตกอยู่ใน ‘วังวนหนี้สินไม่รู้จบ’ ทั้งอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกฎหมายกำหนด ซึ่งบางครั้งสูงถึง 20% ต่อเดือน หรือ 240% ต่อปี นอกจากนี้ยังอาจถูกโกงจากสัญญาที่ไม่ชัดเจน การใช้วิธีการทวงหนี้ที่ผิดกฎหมายและรุนแรง เป็นต้น

 

แนวโน้มการก่อหนี้สินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภค ‘ในระบบ’ ก็ ‘เพิ่มขึ้น’

 

ไม่ใช่แค่ลูกหนี้นอกระบบที่ก่อหนี้เพื่อใช้จ่ายอุปโภคบริโภค แต่ลูกหนี้ในระบบก็มีแนวโน้มก่อหนี้ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น สินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) และสินเชื่อบัตรเครดิต

 

โดยตามการประมวลผลของสภาพัฒน์ จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลยังคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด และมีสัดส่วนของมูลค่าหนี้เสีย (NPLs) สูงที่สุดเมื่อเทียบกับหนี้ครัวเรือนประเภทอื่น

 

โดยสัดส่วนสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลในไตรมาส 2 ของปี 2567 คิดเป็น 27.9% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากสัดส่วน 25% จากไตรมาสแรกของปี 2555

 

สภาพัฒน์ยังเตือนว่าสินเชื่อส่วนบุคคล (Personal Loan) และสินเชื่อบัตรเครดิต เป็นสินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (Unsecured Loan) ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูง ดังนั้นหากครัวเรือนไม่มีความระมัดระวังในการก่อหนี้หรือไม่มีวินัยการเงิน ก็จะนำไปสู่การติดกับดักหนี้ได้

 

ทั้งนี้ ตามข้อมูลล่าสุด (ไตรมาส 2 ปี 2567) หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 16.32 ล้านล้านบาท ขยายตัว 1.3% ชะลอลงจาก 2.3% ในไตรมาสที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP ปรับลดลงจาก 90.7% ของไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ 89.6% โดยหนี้สินครัวเรือนเกือบทุกประเภทมีการปรับตัวชะลอลงหรือหดตัวยกเว้นสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนหนึ่งมาจากการมีภาระหนี้ที่สูง

The post สภาพัฒน์หวั่น แบงก์เข้มปล่อยสินเชื่อ อาจดันลูกหนี้หันกู้นอกระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุป! ทำไมเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ขยายตัว 3% สูงกว่าคาด ‘สภาพัฒน์’ คาด GDP ทั้งปี 2567 โต 2.6% https://thestandard.co/thailand-q3-economic-performance/ Mon, 18 Nov 2024 06:16:31 +0000 https://thestandard.co/?p=1009946 เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3 ขยายตัว 3% สูงกว่าคาด เหตุน้ำท่วมก […]

The post สรุป! ทำไมเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ขยายตัว 3% สูงกว่าคาด ‘สภาพัฒน์’ คาด GDP ทั้งปี 2567 โต 2.6% appeared first on THE STANDARD.

]]>
เศรษฐกิจไทย

เศรษฐกิจไทย ไตรมาส 3 ขยายตัว 3% สูงกว่าคาด เหตุน้ำท่วมกระทบเศรษฐกิจน้อยกว่าคาด รวมทั้งการลงทุนและภาคส่งออกขยายตัวดี สภาพัฒน์ประเมิน GDP ทั้งปี 2567 โต 2.6% (รวมมาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว)

 

วันนี้ (18 พฤศจิกายน) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทย ในไตรมาส 3/67 ขยายตัว 3%YoY เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2.2% ในไตรมาส 2/67 ทำให้ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.3% และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/67 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า 1.2%QoQ

 

โดยการขยายตัวของ GDP ไทยในไตรมาส 3/67 ยังสูงกว่าที่ผู้เชี่ยวชาญและตลาดประเมินไว้ที่ราว 2.6% ซึ่งดนุชาระบุว่าปัจจัยหลักมาจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น 5.2% จากปีก่อน (โดยเฉพาะการลงทุนจากภาครัฐที่ขยายตัวถึง 25.9%) ขณะเดียวกันการผลิตในภาคต่างๆ ก็ขยายตัวได้อยู่ ปริมาณการส่งออกขยายตัวได้ดีมากถึง 8.3% และผลจากฐาน (Base Effect)

 

เศรษฐกิจไทย

 

น้ำท่วมปี 2567 กระทบเศรษฐกิจไตรมาส 3/67 น้อยกว่าคาด

 

สำหรับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมต่อ GDP ไตรมาส 3/67 สภาพัฒน์คาดว่าจะอยู่ที่ 0.3% ของ GDP หรือคิดเป็นมูลค่าราว 6 หมื่นล้านบาท

 

ดนุชากล่าวว่า “น้ำท่วมรอบนี้ไม่ได้กระทบพื้นที่เกษตรและภาคอุตสาหกรรมมากเท่ากับปี 2554 ที่นิคมอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบหนัก แต่รอบนี้ผลกระทบอยู่ในภาคครัวเรือนและการค้าชายแดนเป็นหลัก นอกจากนี้ เงินจากภาครัฐที่ใช้จ่ายไปเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบก็สะท้อนกลับมาใน GDP อีกทีในแง่ของภาคก่อสร้าง การลงทุน และการซ่อมแซม จึงไม่ได้เห็นผลกระทบมากเท่าที่คาด”

 

พร้อมระบุอีกว่าผลกระทบจริงๆ จากเหตุน้ำท่วมอยู่ที่ภาครัฐมากกว่าที่ต้องจัดสรรงบประมาณมาจัดการเหตุเหล่านี้ไปเรื่อยๆ หากไม่มีการบริหารหรือป้องกันให้ดีขึ้น โดยภาระดังกล่าวคิดเป็นมูลค่าราว 4-5 หมื่นล้านบาทต่อปี

 

คาดแจกเงินหมื่นกลุ่มเปราะบางเห็นผลไตรมาส 4/67

 

สำหรับผลของโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ (หรือที่หลายคนเรียกว่าเงินหมื่นเฟสแรก) ดนุชาประเมินว่าโครงการดังกล่าวน่าจะมีผลในไตรมาส 4/67 เนื่องจากเริ่มโอนช่วงท้ายเดือนกันยายน และจะต้องสำรวจเพื่อประเมินผลลัพธ์ของโครงการดังกล่าวอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น ใช้จ่ายในสินค้าประเภทใดและส่วนใดบ้าง

 

“โดยปัจจุบันกระทรวงการคลัง สำนักงานสถิติแห่งชาติ และ สศช. กำลังร่วมมือกันสำรวจโครงการดังกล่าว เนื่องจากการแจกเงินครั้งนี้เป็นการแจกเงินสดจึงต้องอาศัยการสำรวจในกลุ่มตัวอย่างจำนวนมาก เพื่อทำให้แบบสำรวจสามารถสะท้อน (Represent) ได้ว่ากลุ่มเป้าหมายใช้จ่ายไปกับอะไรและส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง” ดนุชากล่าว

 

เปิดแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567

 

สภาพัฒน์คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2567 จะขยายตัว 2.6% (รวมมาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว) ปรับตัวดีขึ้นจาก 1.9% ในปีก่อนหน้า อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 2.5% ของ GDP

 

เปิดปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยปี 2568

 

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2568 สภาพัฒน์คาดว่าจะขยายตัว 2.3-3.3% (ค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ 2.8%) ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.3-1.3% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.6% ของ GDP โดยมีปัจจัยดังนี้

 

  1. การเพิ่มขึ้นของแรงสนับสนุนจากรายจ่ายภาครัฐ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีและงบประมาณรายจ่ายเหลื่อมปีประจำปีงบประมาณ 2568
  2. การขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ แนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชนและการขยายตัวต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
  3. การฟื้นตัวต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนและรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ระดับปกติมากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มการขยายตัวต่อเนื่องของนักท่องเที่ยวไทย
  4. การขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า สอดคล้องกับทิศทางการค้าโลกและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

 

ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงปี 2568

 

  1. ความเสี่ยงจากแนวโน้มการขยายตัวต่ำกว่าที่คาดของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกท่ามกลางความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก โดยความไม่แน่นอนจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาชุดใหม่ ความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสำคัญ และแนวโน้มการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจจีน
  2. ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูงภายใต้มาตรฐานสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่คุณภาพสินเชื่อปรับตัวลดลง ส่งผลให้สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้นและมูลค่าสินเชื่อชะลอลง
  3. ความเสี่ยงจากความผันผวนในภาคการเกษตรทั้งผลผลิตและราคาสินค้าเกษตรที่สำคัญๆ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผลผลิตภายใต้สภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมากขึ้นจะสร้างแรงกดดันให้ราคาสินค้าเกษตรลดลง ท่ามกลางสถานการณ์ผลผลิตข้าวจากผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกที่เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น

 

สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยหลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดนุชาระบุว่าต้องติดตามรายละเอียดของนโยบายต่างๆ อีกครั้ง ตัวอย่างเช่น กลุ่มสินค้าที่ได้รับผลกระทบจากอัตราภาษีนำเข้าที่เรียกเก็บ อย่างไรก็ตาม ดนุชายังคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีนี้และช่วงต้นปี 2568 การส่งออกไทยน่าจะยังขยายตัวไปได้

 

ภาพ: Rafa Elias / Getty Images

The post สรุป! ทำไมเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 ขยายตัว 3% สูงกว่าคาด ‘สภาพัฒน์’ คาด GDP ทั้งปี 2567 โต 2.6% appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์ชี้ สังคมสูงวัยคือความท้าทายใหญ่สุดของประกันสังคม จับตาแผนปฏิรูปกองทุนหลังระดมข้อเสนอแนะ https://thestandard.co/aging-society-is-the-biggest-challenge-for-social-security/ Sat, 26 Oct 2024 02:58:05 +0000 https://thestandard.co/?p=1000387

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์​ สภาพัฒน์คาด ปี 2 […]

The post สภาพัฒน์ชี้ สังคมสูงวัยคือความท้าทายใหญ่สุดของประกันสังคม จับตาแผนปฏิรูปกองทุนหลังระดมข้อเสนอแนะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์​ สภาพัฒน์คาด ปี 2583 สัดส่วนผู้สูงวัยคิดเป็น 1 ใน 3 ของประชากร เพิ่มปัญหาระบบสวัสดิการและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 

 

จากปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘ระบบประกันสังคมกับสังคมสูงวัย’ ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ ปัจจุบันคนสูงวัยมีสัดส่วน 20% ของประชากร และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของประชากรในปี 2583 

 

เมื่อปีก่อนจำนวนผู้เสียชีวิตในไทยมากกว่าจำนวนเด็กเกิดใหม่ ขณะที่ความต้องการแต่งงานและมีลูกกำลังลดลง ทำให้อัตราการเกิดลดลง ซึ่งไม่ใช่แค่ในไทย แต่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก 

 

“สังคมสูงวัยจะเป็นปัญหาในระบบสวัสดิการและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ จำนวนแรงงานจะลดลงเรื่อยๆ หากเราไม่เพิ่มผลิตภาพ ระบบเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวต่อเนื่อง” 

 

คำถามสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ชีวิตของผู้ประกันตนในช่วงที่เกษียณไปแล้วสามารถดำรงอยู่ได้ และถ้าเศรษฐกิจโตต่ำ ภาครัฐจะจัดสรรงบประมาณจากส่วนไหนเพื่อเป็นสวัสดิการของประชาชน  

 

ปัจจุบันงบประมาณสวัสดิการอยู่ที่ราว 7-8 แสนล้านบาทต่อปี ในจำนวนนี้เป็นค่ารักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียวประมาณ 4 แสนล้านบาท 

 

“หากเราไม่ปรับระบบ ปรับการทำงาน อาจทำให้รายจ่ายงบประมาณด้านสังคมสูงถึง 50% ของงบประมาณด้านสังคมในปี 2583” 

 

อีกประเด็นที่น่ากังวลสำหรับกองทุนประกันสังคมคือส่วนต่างระหว่างรายรับรวมและรายจ่ายรวมของกองทุนที่แคบลงในช่วงปี 2560-2566 โดยเมื่อปี 2560 รายรับรวมอยู่ที่ 253,965 ล้านบาท รายจ่ายรวมอยู่ที่ 83,612 ล้านบาท ส่วนปี 2566 รายรับรวมอยู่ที่ 293,215 ล้านบาท รายจ่ายรวมอยู่ที่ 156,779 ล้านบาท 

 

ทั้งนี้ อัตราการขยายตัวเฉลี่ยต่อปีในช่วงปี 2561-2566 ของรายรับและรายจ่ายอยู่ที่ 3.4% และ 11.8% ตามลำดับ 

 

นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2575 จำนวนผู้ประกันตนที่ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพอาจมีมากถึง 2.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเพียง 7.6 แสนคน 

 

“หากไม่ปรับระบบใดๆ กองทุนจะต้องมีปัญหา ต้องปรับทั้งรูปแบบการลงทุน เกณฑ์การส่งเงิน เพื่อให้กองทุนยั่งยืน”  

 

ข้อเสนอแนะจากสภาพัฒน์

 

สภาพัฒน์เสนอแนวนโยบายในระยะถัดไปที่มีผลต่อความยืดหยุ่นของกองทุนประกันสังคม ได้แก่ 

 

  1. เพิ่มรายได้ 
  • กำหนดผลตอบแทนจากการลงทุนเพิ่มขึ้น จาก 3% เป็น 5% 
  • ปรับแผนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูง จาก 25% ทยอยเพิ่มสัดส่วนจนใกล้เคียงเพดานที่ 40% 

 

  1. ปรับเพิ่มเพดานค่าจ้างผู้ประกันตน ม.33 ทุก 3 ปี จากปัจจุบันที่ 15,000 บาท เริ่มปรับเป็น 17,500 บาท 

 

  1. เพิ่มอัตราสมทบของภาครัฐ จาก 2.75% เป็น 5% 

 

  1. ขยายฐานอายุแรกเข้า ม.33 จาก 15-60 ปี เป็น 15-65 ปี 

 

  1. แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ ม.39/1 
  • ผู้ทุพพลภาพได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เพิ่ม จาก 50% เป็น 70%
  • ผู้ประกันตนหญิงที่คลอดบุตรได้รับเงินสงเคราะห์กรณีคลอดบุตรเพิ่ม จาก 90 วัน เป็น 98 วัน 
  • ผู้ประกันตนที่ต้องออกจากงานจะได้รับความคุ้มครองเพิ่ม กรณีสงเคราะห์บุตรในช่วง 6 เดือน 

 

  1. ปรับปรุงสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพของ ม.33 หรือ ม.39 (มาตรการ 3 ขอ) 
  • ขอเลือก: กรณีให้ผู้ประกันตนเลือกได้ระหว่างรับเงินบำนาญหรือเงินบำเหน็จ
  • ขอคืน: กรณีให้ผู้ประกันตนนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนมาใช้ก่อนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ขอกู้: กรณีให้ผู้ประกันตนนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักค้ำประกันการกู้เงินได้

 

  1. แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์ ม.40
  • ปรับเพิ่มสูงสุด 3,000 บาท คุ้มครองตลอดชีวิต (กรณีทุพพลภาพ)
  • ปรับเพิ่มเป็น 300 บาทต่อบุตร 1 คน สูงสุดไม่เกินคราวละ 2 คน อายุไม่เกิน 7 ปีบริบูรณ์ (กรณีสงเคราะห์บุตร)

 

คนไทยเป็นหนี้จนแก่

 

ดนุชากล่าวถึงสถานการณ์ความรุนแรงของสังคมสูงวัยในไทยว่า จำนวนผู้สูงวัยปัจจุบัน 14 ล้านคน มีเพียง 8% ที่มีคนดูแล ขณะที่ประมาณ 1 ใน 4 ของคนจนอยู่ในกลุ่มผู้สูงวัยในไทย คิดเป็นจำนวนกว่า 6 แสนคน 

 

อีกหนึ่งปัญหาสำคัญคือผู้สูงวัย 41.4% มีเงินออมต่ำกว่า 5 หมื่นบาท และ 45.7% ไม่มีเงินออมเลย ทำให้คนสูงวัยเหล่านี้อยู่ได้ด้วยการเป็นหนี้ โดยมีหนี้เฉลี่ย 404,483 บาทต่อคน 

 

จากสถิติหนี้ครัวเรือนพบว่าสัดส่วนของลูกหนี้ผู้สูงวัยในระบบคิดเป็น 16.6% และสัดส่วนหนี้เสียที่เป็นผู้สูงวัยคิดเป็น 9.1% ของหนี้เสียทั้งหมด

 

ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงวัยอยู่ที่เดือนละประมาณ 13,000 บาท โดยไม่มีภาระค่าเช่าบ้านหรือการผ่อนบ้าน เป็นเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันขั้นต่ำ เท่ากับว่าผู้สูงวัย 1 คน ต้องใช้เงินกว่า 3.2 ล้านบาท เพื่อดำรงชีวิตระหว่างอายุ 60-80 ปี 

 

จับตาแผนปฏิรูปประกันสังคมก่อนล่มสลาย

 

พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า หนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของกองทุนประกันสังคมคือการเข้าสู่สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ โดยมีอัตราการเกิดที่ลดลงอย่างมีนัย ทำให้จำนวนผู้ประกันตนลดลง 

 

ทำให้ภาระค่าใช้จ่ายกองทุนประกันสังคมสูงขึ้น และอาจส่งผลให้กองทุนประกันสังคมไม่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายในอนาคตได้อย่างเพียงพอในอีก 30 ปีข้างหน้า หรือปี 2597 หากไม่ดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุงแผนการดำเนินงาน 

 

“การที่พวกเราทุกคนทุกภาคส่วนตระหนักถึงปัญหาในช่วงเวลานี้ ทำให้เรามีเวลาเพียงพอในการหาแนวทางเพื่อป้องกันการล่มสลายของกองทุนประกันสังคม” 

 

การประชุมในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะที่ดีมากมาย ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะนำข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนไปใช้เพื่อศึกษาและจัดทำแผนปฏิรูปเพื่อพัฒนางานด้านประกันสังคมของไทย โดยมุ่งเน้นประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกันตนและความยั่งยืนของกองทุนประกันสังคม

The post สภาพัฒน์ชี้ สังคมสูงวัยคือความท้าทายใหญ่สุดของประกันสังคม จับตาแผนปฏิรูปกองทุนหลังระดมข้อเสนอแนะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตั้งหมอชัย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนการค้า คลังเปลี่ยน 9 ตำแหน่ง ต่ออายุเลขาธิการสภาพัฒน์อีก 1 ปี https://thestandard.co/appoint-chai-as-trade-representative/ Tue, 24 Sep 2024 08:07:25 +0000 https://thestandard.co/?p=987412

วันนี้ (24 กันยายน) จิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกร […]

The post ตั้งหมอชัย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนการค้า คลังเปลี่ยน 9 ตำแหน่ง ต่ออายุเลขาธิการสภาพัฒน์อีก 1 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (24 กันยายน) จิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง และเพื่อทดแทนตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการของกระทรวงการคลัง 9 ราย ได้แก่

 

  1. เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต โยกย้ายไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์
  2. กุลยา ตันติเตมิท อธิบดีกรมสรรพากร โยกย้ายให้ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพสามิต
  3. ปิ่นสาย สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสรรพากร
  4. วินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาฐานภาษี กรมสรรพากร เป็นดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลัง
  5. ศุกร์ศิริ อภิญญานุวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็นดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการคลัง
  6. พิมพ์เพ็ญ ลัดพลี ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
  7. ธีรลักษ์ แสงสนิท ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
  8. อรรถพล อรรถวรเดช ที่ปรึกษาการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง เป็นดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง
  9. ชุติมา ศรีปราชญ์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารเหรียญกษาปณ์และทรัพย์สินมีค่า กรมธนารักษ์ เป็นดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง

 

นอกจากนี้ ครม. มีมติแต่งตั้ง นลินี ทวีสิน และ ชัย วัชรงค์ เป็นผู้แทนการค้าไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2567

 

ขณะเดียวกันได้อนุมัติต่ออายุการดำรงตำแหน่งของ ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายนนี้ ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1)

The post ตั้งหมอชัย อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนการค้า คลังเปลี่ยน 9 ตำแหน่ง ต่ออายุเลขาธิการสภาพัฒน์อีก 1 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
สภาพัฒน์ชี้ รัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-ช่วยเหลือคนรายได้น้อย หากไม่มีดิจิทัลวอลเล็ต หลัง GDP โตเพียง 2.3% https://thestandard.co/nesdc-gov-stimulate-economy/ Mon, 19 Aug 2024 04:32:37 +0000 https://thestandard.co/?p=972615

สภาพัฒน์แนะ รัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเ […]

The post สภาพัฒน์ชี้ รัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-ช่วยเหลือคนรายได้น้อย หากไม่มีดิจิทัลวอลเล็ต หลัง GDP โตเพียง 2.3% appeared first on THE STANDARD.

]]>

สภาพัฒน์แนะ รัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือคนรายได้น้อย หากไม่ดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตต่อ ย้ำ รัฐบาลควรรักษาบรรยากาศและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

 

วันนี้ (19 สิงหาคม) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลเห็นว่าจะไม่ดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ตต่อ ก็ควรต้องพิจารณามาตรการอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติม เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจในช่วงนี้ โดยเฉพาะมาตรการช่วยพี่น้องประชาชนที่มีรายได้น้อย

 

อย่างไรก็ดี ดนุชาระบุว่า ต้องจับตาดูการประกาศนโยบายของแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนใหม่ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่อีกที ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ต่างไปจากรัฐบาลของเศรษฐา ทวีสินหรือไม่

 

โดยดนุชากล่าวว่า ต้องรอดูว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใดหรือไม่ เนื่องจากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเดิมของเศรษฐา อดีตนายกฯ มีเงื่อนไขสำคัญอยู่ 2 เรื่อง ได้แก่ 1. แหล่งเงินที่มา ตัวอย่างเช่นงบประมาณเพิ่มเติมปี 2567 ซึ่งมีเงื่อนไขด้านช่วงเวลาในการใช้ และ 2. ระบบการชำระเงิน ซึ่งต้องมีการพูดคุยและฟังความเห็นของภาคส่วนต่างๆ อีกที

 

“ผมคิดว่าอย่างไรก็ต้องมีการออกมาตรการชุดใหม่เพื่อช่วยพี่น้องประชาชนในช่วงนี้ โดยต้องพิจารณาจากทรัพยากรที่มี เครื่องมือที่มี โครงสร้างพื้นฐานที่มีว่าจะใช้มาตรการในลักษณะไหน เพื่อให้เกิดการทำงานได้เร็วขึ้น” ดนุชากล่าว

 

ความคิดเห็นดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2567 ขยายตัวเพียง 2.3% นับว่าต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ

 

โดยจากการรวบรวมข้อมูลพบว่า เวียดนามนับเป็นประเทศที่เศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในไตรมาส 2 ของปีนี้ โดยขยายตัวถึง 6.9% รองลงมาคือ ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และสิงคโปร์

 

ในรายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 2567 สภาพัฒน์กล่าวอีกว่า ในช่วงที่เหลือของปีนี้ รัฐบาลควรรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะการสร้างความต่อเนื่องของกระบวนการงบประมาณ เพื่อให้การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ไม่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

The post สภาพัฒน์ชี้ รัฐบาลควรออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ-ช่วยเหลือคนรายได้น้อย หากไม่มีดิจิทัลวอลเล็ต หลัง GDP โตเพียง 2.3% appeared first on THE STANDARD.

]]>
GDP ไทยไตรมาส 2 เร่งตัวขึ้น 2.3% เหตุการบริโภคประชาชน การอุปโภคภาครัฐ และส่งออกดีขึ้น สภาพัฒน์คาดทั้งปีโต 2.5% https://thestandard.co/gdp-q2-2024-2-3-percent/ Mon, 19 Aug 2024 04:26:11 +0000 https://thestandard.co/?p=972609

สภาพัฒน์เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ขยายตัว 2.3% เร่งตัวขึ้ […]

The post GDP ไทยไตรมาส 2 เร่งตัวขึ้น 2.3% เหตุการบริโภคประชาชน การอุปโภคภาครัฐ และส่งออกดีขึ้น สภาพัฒน์คาดทั้งปีโต 2.5% appeared first on THE STANDARD.

]]>

สภาพัฒน์เผย เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ขยายตัว 2.3% เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสก่อน เหตุการบริโภค การอุปโภครัฐบาล และส่งออกดีขึ้น คาด GDP ทั้งปีโต 2.5% (ค่ากลาง)

 

วันนี้ (19 สิงหาคม) ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/67 ขยายตัว 2.3% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 1.6% ในไตรมาส 1/67 เมื่อรวมครึ่งแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 1.9%

 

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายนปรับตัวดีขึ้นมาจากการอุปโภคภาครัฐบาล, การส่งออกสินค้าและบริการปรับตัวดีขึ้น, การอุปโภคภาคเอกชนขยายตัว, การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว, สาขาที่พักแรมและการบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งและการขายปลีก สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐปรับตัวลดลง, สาขาการก่อสร้างและเกษตรกรรมปรับตัวลดลง

 

เมื่อเทียบแบบไตรมาสต่อไตรมาส หรือเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/67 ขยายตัวจากไตรมาส 1/67 0.8% (QoQ_SA)

 

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567

 

สภาพัฒน์ปรับเปลี่ยนคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 โดยคาดว่าจะขยายตัว 2.3-2.8% (ค่ากลางการประมาณการ 2.5%) จากก่อนหน้านี้ ช่วงคาดการณ์อยู่ระหว่าง 2.0-3.0% เนื่องจากปัจจัยสำคัญ ดังนี้ การลงทุนภาคเอกชนทั้งปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวเพียง 0.3% เท่านั้น จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 3.2% และการลงทุนภาครัฐทั้งปี 2567 คาดว่าดีขึ้น เหลือติดลบ 0.7% เท่านั้น จากติดลบ 1.8% ในประมาณการครั้งก่อน

 

สำหรับปัจจัยสนับสนุนปี 2567 ได้แก่

 

  • การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว
  • การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ
  • การเพิ่มขึ้นของแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐในช่วงครึ่งปีหลัง
  • การกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ ของภาคการส่งออกตามการฟื้นตัวของการค้าโลก

 

ข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงปี 2567

 

  • ภาระหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง และมาตรฐานสินเชื่อที่มีความเข้มงวดมากขึ้น

หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง เช่นเดียวกับระดับสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และสินเชื่อที่กล่าวถึงเป็นพิเศษ (SML) ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าสินเชื่อชะลอลง

 

  • ผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างต่อเนื่อง

ประเทศไทยมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะลานีญา ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะเผชิญภาวะฝนตกหนักผิดปกติ จนนำไปสู่ปัญหาอุทกภัย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมและทำให้ผลผลิตทางการเกษตรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง

 

  • ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก

จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ การปรับทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลัก การชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจจีน และทิศทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของหลายประเทศสำคัญที่ยังคงไม่แน่นอน โดยเฉพาะในช่วงก่อนและหลังการเลือกตั้งสหรัฐอเมริกา

 

  • การฟื้นตัวที่ล่าช้าของภาคการผลิตและการปรับโครงสร้างภาคการผลิต

ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทยยังคงขยายตัวในระดับต่ำ การลงทุนภาคเอกชนมีแรงในการฟื้นตัวได้ช้า สอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ยังปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มค้าส่งออกสำคัญ

 

แนะแนวทางบริหารจัดการช่วงที่เหลือของปี

 

สภาพัฒน์ยังแนะว่า การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2567 ควรให้ความสำคัญกับ 8 ประการดังนี้

 

  1. การรักษาบรรยากาศทางเศรษฐกิจและการเมืองภายในประเทศ
  2. การขับเคลื่อนการลงทุนภาคเอกชน
  3. การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม
  4. การดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs
  5. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
  6. การเตรียมการรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  7. การเร่งรัดแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (PM2.5) และการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญ
  8. การเตรียมมาตรการเพื่อรองรับผลกระทบและใช้ประโยชน์จากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการค้าโลก

 

อ้างอิง:

The post GDP ไทยไตรมาส 2 เร่งตัวขึ้น 2.3% เหตุการบริโภคประชาชน การอุปโภคภาครัฐ และส่งออกดีขึ้น สภาพัฒน์คาดทั้งปีโต 2.5% appeared first on THE STANDARD.

]]>
ส่องปรากฏการณ์ ‘รับจ่ายบิลแลกเงิน’ ถึง ‘จำนำ iCloud’ ภาพสะท้อนเศรษฐกิจ สภาพคล่อง และภาระหนี้อันหนักอึ้งของคนไทย https://thestandard.co/receiving-bills-in-exchange-for-money/ Tue, 28 May 2024 09:21:44 +0000 https://thestandard.co/?p=938442

ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่ทั่วถึง (Uneven Reco […]

The post ส่องปรากฏการณ์ ‘รับจ่ายบิลแลกเงิน’ ถึง ‘จำนำ iCloud’ ภาพสะท้อนเศรษฐกิจ สภาพคล่อง และภาระหนี้อันหนักอึ้งของคนไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>

ท่ามกลางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ไม่ทั่วถึง (Uneven Recovery) ธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรัง ทำให้สังคมไทยเกิดธุรกรรม ‘การหมุนเงิน’ ใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ตัวอย่างเช่น ‘การรับจ่ายบิลแลกเงิน’ ไปจนถึง ‘จำนำ iCloud’

 

ผู้เชี่ยวชาญมองว่าปรากฏการณ์หมุนเงินเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนถึง ‘การขาดเงินสดและสภาพคล่องที่เหือดแห้ง’ ของคนไทย และอาจเป็นต้นตอทำให้ปัญหา ‘หนี้เน่า’ ทั้งในและนอกระบบใหญ่ขึ้น

 

รู้จักปรากฏการณ์หมุนเงินใหม่: จำนำ iCloud คืออะไร?

 

นอกจากนี้ ในเวลาที่ไล่เลี่ยกันนี้ สังคมไทยยังเกิดการจำนำรูปแบบใหม่ ที่เรียกกันว่า ‘การจำนำ iCloud’ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นการจำนำโทรศัพท์เวอร์ชันใหม่ ที่เจ้าของ iPhone ไม่จำเป็นต้องฝากโทรศัพท์ไว้กับ ‘ผู้รับจำนำ’ ทำให้เจ้าของ iPhone ยังสามารถใช้โทรศัพท์ต่อไปได้ แม้จำนำไปแล้ว

 

โดยการจำนำมาในรูปแบบที่เจ้าของ iPhone ต้องลงชื่อออก (Log Out) จากบัญชี iCloud ของตัวเอง และหันไปใช้บัญชี iCloud ของผู้รับจำนำ เพื่อที่ผู้รับจำนำจะได้กด ‘ล็อก’ โทรศัพท์ของผู้ขอจำนำได้ หากเกิดการผิดนัดชำระ

 

ซึ่งความน่ากังวลอีกประการหนึ่งจากการจำนำลักษณะนี้คือ ‘ความเป็นส่วนตัว’ ของเจ้าของโทรศัพท์จะอาจสูญเสียไป

 

ทั้งนี้ iCloud คือบริการช่วยจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญของ Apple Inc. สำหรับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท เช่น iPhone, iPad และ MacBook 

 

โดยข้อมูลดังกล่าวรวมไปถึง รูปภาพ ไฟล์ โน้ต อีเมล ปฏิทิน รายชื่อสมุดโทรศัพท์ และพวงกุญแจ iCloud ที่ใช้จัดเก็บรหัสผ่าน บัตรเครดิต และอื่นๆ

 

สะท้อนว่าการจำนำ iCloud นี้อาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่ข้อมูลส่วนตัวหลายๆ ด้าน รวมถึงข้อมูลทางการเงิน ‘รั่วไหล’ ไปสู่ผู้ใช้ iCloud เดียวกันร่วมกับคนอื่นๆ ได้ หากมีการเปิดให้ Sync ข้อมูลด้วยกัน

 

นอกจากนี้การใช้ iCloud ของผู้รับจำนำยังเป็นการเปิดทางให้ผู้รับจำนำติดตามได้ว่า ผู้ขอจำนำอยู่ที่ใด ผ่านแอปพลิเคชัน Find My อีกด้วย

 

จากการสำรวจข้อมูลของ THE STANDARD WEALTH พบว่า ดอกเบี้ยของการจำนำ iCloud ‘สูงกว่า’ อัตราดอกเบี้ยที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 วางหลักไว้ว่า ‘ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกิน 15% ต่อปี’

 

ตัวอย่างเช่น ตั้งยอดรับ iPhone รุ่น 15 Pro Max ไว้ที่ 5,000 บาท โดยเก็บดอกลอย 1,400 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 28% ต่อเดือน

 

หรือตั้งยอดรับ iPhone 11 ไว้ที่ 2,000 บาท โดยเก็บดอกลอย 500 บาทต่อเดือน หรือคิดเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงถึง 25% ต่อเดือน

 

‘การรับจ่ายบิลแลกเงิน’ คืออะไร? วิธีการแลกเงินทำอย่างไร?

 

สำหรับลูกค้า Shopee อาจเข้าใจเรื่องนี้ได้ไม่ยาก เนื่องจากแพลตฟอร์มดังกล่าวเสนอสินเชื่อให้ลูกค้าที่มีชื่อว่า ‘SPayLater’ โดยผู้ใช้สามารถนำวงเงินสินเชื่อดังกล่าวชำระเงินต่างๆ บนแพลตฟอร์มได้ รวมถึงการจ่ายบิลต่างๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ และค่าอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดี สินเชื่อดังกล่าว ‘ไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้’ และด้วยเหตุผลนี้ ธุรกรรม ‘รับจ่ายบิลแลกเงิน’ จึงถือกำเนิดขึ้น

 

จะเห็นได้ว่า ธุรกรรม ‘การรับจ่ายบิลแลกเงิน’ ยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยสมาชิกกลุ่มบนเฟซบุ๊กที่มีเพื่อทำธุรกรรมดังกล่าวกลุ่มหนึ่งได้ทะลุ 2 แสนคนไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่คล้ายคลึงกันอีกมาก

 

นอกจากนี้ไม่ใช่แค่ Shopee เท่านั้นที่เสนอบริการดังกล่าว แต่ยังมี Pay Next ผ่าน TrueMoney ของบริษัท แอสเซนด์ นาโน จำกัด และ K PAY LATER ผ่านแอปพลิเคชัน K PLUS ของธนาคารกสิกรไทย

 

เพื่อเข้าใจวิธีการแลกเงินมากขึ้น ตามคำอธิบายในกลุ่มเฟซบุ๊กกลุ่มหนึ่งระบุว่า ‘ผู้หาจ่าย’ คือ ผู้ที่มีบิลค้างชำระ ซึ่งต้องการจ่ายบิลในราคาที่ถูกลงจากยอดในบิล ‘ตามราคาที่ตกลงกัน 2 ฝ่าย’ และ ‘ผู้รับจ่าย’ หมายถึง ผู้ที่มีวงเงินสินเชื่อ

 

โดยจากการสำรวจคร่าวๆ THE STANDARD WEALTH พบว่า ผู้ที่มีบิลค้างชำระมักจะเสนอราคาที่ต่ำกว่าราว 10-30% ตัวอย่างเช่น

  • ยอดค่าไฟ 1,991.42 บาท โอนให้หลังยอดตัด 1,600 บาท (ได้ส่วนลด 19.65%)
  • ยอดค่าน้ำ 276.65 บาท โอนให้หลังยอดตัด 200 บาท (ได้ส่วนลด 27.70%)
  • ยอดค่าอินเทอร์เน็ต 631.30 บาท โอนให้หลังยอดตัด 500 บาท (ได้ส่วนลด 20.79%)
  • ยอดค่าโทรศัพท์ 705.56 บาท โอนให้หลังยอดตัด 600 บาท (ได้ส่วนลด 14.96%)

 

หน่วยงานกำกับการชำระเงินอย่าง ‘แบงก์ชาติ’ มองเรื่องนี้อย่างไร?

 

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนเมษายน ในงาน BOT Monthly Briefing ภาวะเศรษฐกิจและการเงิน เดือนมีนาคม 2567 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า การทำธุรกรรม ‘รับจ่ายบิลแลกเงินสด’ ไม่ได้ผิดหลักเกณฑ์การให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล (Digital Personal Loan) เนื่องจากเป็นการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภค ไม่ได้ผิดวัตถุประสงค์ ตามการตกลงและความยินยอมของทั้งเจ้าของบิลและผู้ใช้สินเชื่อ

 

อย่างไรก็ตาม ทาง ธปท. ได้มีกำชับกับผู้ให้บริการสินเชื่อ ‘เป็นการทั่วไป’ ว่า ต้องดูแลความเสี่ยงของตัวเอง โดยในกรณี หากลูกหนี้มีการทำธุรกรรมลักษณะดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ ตัวผู้ประกอบการเองก็จะมีความเสี่ยง

 

นอกจากนี้ ธปท. ยังเตือนทั้งเจ้าของบิลและผู้ใช้สินเชื่อว่า ‘ให้ระวัง’ โดยมองว่า ทั้ง 2 ฝ่ายมีความเสี่ยงที่จะเจอมิจฉาชีพ และอาจเป็นภัยการเงินอย่างหนึ่ง

 

‘เร่งหมุนเงิน’ สะท้อน ‘สภาพคล่องคนไทย’ ทรุดหนัก? หวั่นดัน NPL พุ่งต่อ

 

สุรพล โอภาสเสถียร ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) ให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD WEALTH เกี่ยวกับกรณีการรับจ่ายบิลแลกเงินสดว่า ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า คนต้องการเงินสด และขาดสภาพคล่อง โดยการไปรับจ่ายหนี้แทน ทำเพื่อประวิงเวลาจ่ายเงินสดออกไป ไม่ต่างจากการนำสินเชื่อบัตรเครดิตมาใช้จ่าย

 

“ปรากฏการณ์แบบนี้สะท้อนชัดเจนว่า คนกำลังวิ่งหาเงินสดกันหูดับตับไหม้ จึงไปประกาศขอเป็นหนี้แทนคนอื่น อยู่ดีๆ มีคนเอาเงินมาจ่ายแทนในอัตราที่มีส่วนลด เหตุการณ์นี้ไม่ค่อยสมเหตุสมผล”

 

นอกจากนี้ สุรพลยังเตือนว่า ปรากฏการณ์นี้อาจทำให้สัดส่วนหนี้เสีย (NPL) ในระบบเพิ่มขึ้นอีกได้ หลังจากยอดหนี้เสีย (NPL) หรือหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน จากฐานข้อมูลของเครดิตบูโรในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 อยู่ที่ 1.09 ล้านล้านบาทแล้ว เพิ่มขึ้นถึง 14.9%YoY หรือ 4.4%QoQ 

 

หนี้เสียไทยเพิ่มขึ้น 4 ไตรมาสติดแล้ว จ่อเพิ่มขึ้นต่อ?

 

ตามข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) แสดงให้เห็นว่า หนี้สินครัวเรือน ณ ไตรมาส 4 ปี 2566 (ตัวเลขล่าสุด) เพิ่มขึ้น 3% มีมูลค่า 16.4 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP อยู่ที่ 91.3%

 

จำนวนนี้เป็นหนี้เสีย 1.58 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 1.52 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4 ไตรมาสติดต่อกันแล้ว และคิดเป็นสัดส่วน 2.88% ต่อสินเชื่อรวม

 

โดยเมื่อแยกเป็นสินเชื่อรายวัตถุประสงค์พบว่า สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นในสินเชื่อทุกประเภท ทั้งที่อยู่อาศัย ยานยนต์ บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล สะท้อนว่า ‘ความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนด้อยลงทุกประเภท’

 

 

สภาพัฒน์แนะ แก้ปัญหาทั้ง Ecosystem รวมเจ้าหนี้-ลูกหนี้-ร้านค้า

 

ขณะที่ ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล นอกเหนือจากการดูแลการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน และผู้ออกบัตรเครดิตแล้ว (Issuer) ทางการควรดูแลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ในระบบนิเวศ (Ecosystem) ด้วย เช่น ฝั่งผู้ขาย เอกชน ห้างสรรพสินค้า

 

รวมไปถึงทัศนคติของผู้ใช้สินเชื่อ เช่น ทัศนคติที่ว่า ‘ของมันต้องมี’ พร้อมแนะว่า ผู้ใช้สินเชื่อควรพิจารณาเรื่องรายได้สุทธิของตนเองมากขึ้นว่า เพียงพอต่อรายจ่ายต่อเดือนหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดเป็น ‘วงจรอุบาทว์’

 

“ต้องช่วยกันแก้ระบบนิเวศ (Ecosystem) ของตลาด เนื่องจากทุกวันนี้สินค้าสามารถผ่อนบัตรเครดิตได้แทบทุกอย่าง ผ่อนแล้วยังได้ส่วนลดอีก นับเป็นส่วนที่ทำให้หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มสูงขึ้น”

The post ส่องปรากฏการณ์ ‘รับจ่ายบิลแลกเงิน’ ถึง ‘จำนำ iCloud’ ภาพสะท้อนเศรษฐกิจ สภาพคล่อง และภาระหนี้อันหนักอึ้งของคนไทย appeared first on THE STANDARD.

]]>