ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 23 Aug 2018 02:39:18 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 คุยสดเรื่องชีวิตและเทคโนโลยีกับ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ผู้สื่อข่าว พิธีกร บล็อกเกอร์สาวเจ้าของฉายานางฟ้าไอทีแห่งวงการโทรทัศน์ไทย – THE STANDARD Daily 22 สิงหาคม 2561 https://thestandard.co/%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84/ https://thestandard.co/%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84/#respond Thu, 23 Aug 2018 02:39:18 +0000 https://thestandard.co/?p=115620

THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 22 สิงหาคม&nbs […]

The post คุยสดเรื่องชีวิตและเทคโนโลยีกับ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ผู้สื่อข่าว พิธีกร บล็อกเกอร์สาวเจ้าของฉายานางฟ้าไอทีแห่งวงการโทรทัศน์ไทย – THE STANDARD Daily 22 สิงหาคม 2561 appeared first on THE STANDARD.

]]>

THE STANDARD Daily ประจำวันที่ 22 สิงหาคม 2561 เวลา 20.00 

 

  • คุยสดเรื่องชีวิตและเทคโนโลยีกับ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ผู้สื่อข่าว พิธีกร บล็อกเกอร์สาวเจ้าของฉายานางฟ้าไอทีแห่งวงการโทรทัศน์ไทย
  • พร้อมประเด็นข่าวน่าสนใจ เทียบค่าปรับเก่า-ใหม่ของคนไม่มีใบขับขี่ สถิติชี้คนกว่า 10 ล้านไม่พก
  • สรุปความเสียหายพายุเบบินคา-เซินติญ ปภ. เตือนฝนถล่มอีก

 

สามารถติดตาม THE STANDARD Daily ได้เป็นประจำทุกวันจันทร์ศุกร์ เวลา 20.00 เป็นต้นไป ที่ Facebook Live และ Youtube Live ของ thestandardth

The post คุยสดเรื่องชีวิตและเทคโนโลยีกับ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ผู้สื่อข่าว พิธีกร บล็อกเกอร์สาวเจ้าของฉายานางฟ้าไอทีแห่งวงการโทรทัศน์ไทย – THE STANDARD Daily 22 สิงหาคม 2561 appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%95%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%97%e0%b8%84/feed/ 0
ทำอย่างไรไม่ให้โดนล้วงข้อมูลส่วนตัวบน Facebook https://thestandard.co/prevent-facebook-sharing-personal-data/ https://thestandard.co/prevent-facebook-sharing-personal-data/#respond Fri, 23 Mar 2018 09:39:47 +0000 https://thestandard.co/?p=79384

ตอนนี้กระแส #DeleteFacebook กำลังมาแรงมากๆ จนทำให้ผู้ใช […]

The post ทำอย่างไรไม่ให้โดนล้วงข้อมูลส่วนตัวบน Facebook appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตอนนี้กระแส #DeleteFacebook กำลังมาแรงมากๆ จนทำให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊กหลายรายเริ่มชั่งใจว่าควรจะลบบัญชีผู้ใช้และแอปพลิเคชันโชเชียลมีเดียนี้หรือไม่ เพราะกังวลว่าตนจะถูกล้วงข้อมูลบนเฟซบุ๊กเหมือนกรณีที่ Cambridge Analytica ถูกกล่าวหาว่านำข้อมูลส่วนตัวของคนใช้เฟซบุ๊ก 50 ล้านรายออกไปใช้หาผลประโยชน์เข้าบริษัท  

 

เอาเข้าจริงการลบแอปฯ เฟซบุ๊กและบัญชีผู้ใช้งานออกไปอาจจะเป็นการหักดิบเกินไป โดยเฉพาะถ้าคุณยังจำเป็นต้องใช้โซเชียลมีเดียในการทำงานหรือติดต่องานอยู่ มีวิธีที่ง่ายกว่านั้นที่จะช่วยป้องกันไม่ให้ถูกผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเจ้าอื่นสามารถล้วงข้อมูลส่วนตัวของเราออกไปได้

 

อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการที่คุณเลือกเล่นควิซทายใจ แอปพลิเคชันและเกมต่างๆ รวมถึงการสร้างบัญชีผู้ใช้งานของแอปฯ ผ่านเฟซบุ๊กคือ การสมัครใจแชร์ข้อมูลส่วนตัวกับบริษัทหรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านั้นด้วยตัวเองตั้งแต่แรก กรณีนี้จึงอาจจะไม่ใช่ความผิดของเฟซบุ๊ก 100% อย่างที่หลายคนเข้าใจ

 

แต่ก็มีวิธีที่จะเลือกปิด-เปิดข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง หรือเลือกที่จะปิดการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันอื่นบนเฟซบุ๊กได้ง่ายๆ เช่นกัน โดยเราได้สาธิตขั้นตอนง่ายๆ ไว้ดังนี้

 

กรณีดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใหม่ และต้องการเชื่อมต่อเฟซบุ๊กเพื่อสร้างแอ็กเคานต์ผู้ใช้งาน

 

 

1. กรณีนี้เราเชื่อว่าหลายคนต้องเคยเจอมาก่อน เมื่อดาวน์โหลดแอปฯ มาใหม่ (ยกตัวอย่าง Airbnb) แล้วต้องการผูกกับบัญชีเฟซบุ๊กเพราะไม่ต้องการเสียเวลากรอกข้อมูลลงทะเบียน วิธีตั้งค่าการแชร์ข้อมูลง่ายๆ ทำได้โดยคลิกเลือกไอคอนปากกาพร้อมตัวอักษรสีน้ำเงินที่เขียนว่า ‘Edit This’

 

 

2. หลังจากนั้นให้เลือกข้อมูลที่เราต้องการจะแชร์หรือไม่แชร์กับแอปพลิเคชันหรือผู้พัฒนาแอปฯ Airbnb มีให้เลือกตั้งแต่รายชื่อเพื่อน, วันเดือนปีเกิด, ประวัติการศึกษา, เมืองเกิดและที่อยู่อาศัย ณ ปัจจุบัน, เพจที่กดไลก์ ไปจนถึงอีเมล

 

ยกเว้นภาพโปรไฟล์ ชื่อ-สกุล และอายุที่ไม่สามารถปิดการแชร์ได้ (Public Profile) เพราะข้อมูลส่วนนี้จะถูกนำไปใช้ลงทะเบียนสร้างแอ็กเคานต์ Airbnb

 

กรณีที่เล่นควิซและแอปพลิเคชันเยอะมาก จนไม่รู้ว่าจะจัดการอย่างไรดี

 

 

1. เพื่อเรียกดูข้อมูลควิซเกมและแอปพลิเคชันที่ผูกกับบัญชีเฟซบุ๊กของเราทั้งหมด ให้คลิกเลือกไอคอน ? ในหน้าโฮมเฟซบุ๊ก บนหัวมุมขวาบนใกล้ๆ กับแถบ Notifications จากนั้นคลิกเลือก Privacy Shortcuts > คลิก See More Settings > และกดเลือกไปที่ Apps บนแถบเมนูฝั่งซ้ายของหน้าจอ

 

 

2. เมื่อคลิกเลือก Apps ก็จะแสดงผลแอปพลิเคชันทั้งหมดที่เราได้ผูกไว้กับบัญชีเฟซบุ๊ก กรณีที่ต้องการตั้งค่าการแชร์ข้อมูลกับแอปพลิเคชันใดๆ ก็ตาม ให้คลิกที่ไอคอนรูปปากกาหรือ Edit Settings ที่ด้านหลังโลโก้แอปฯ นั้นๆ แต่ถ้าต้องการลบแอปฯ ดังกล่าวถาวรให้คลิกเลือกไอคอนกากบาทหรือ Remove และทำตามคำสั่ง

 

 

3. เมื่อคลิกเลือก Edit Settings ของตัวแอปฯ (ยกตัวอย่าง Dropbox) จะเจอว่าข้อมูลใดบ้างที่เราได้แชร์ให้กับ Dropbox และนักพัฒนาแอปฯ โดยเราสามารถเลือกตั้งค่าการแชร์ข้อมูลได้ มีให้เลือกตั้งแต่รายชื่อเพื่อนทั้งหมด กรุ๊ปที่เราอยู่ อีเมล รวมถึงการตั้งค่าไม่ให้ Dropbox สามารถโพสต์บนหน้าวอลล์ ไปจนการเข้าถึงกรุ๊ปที่คุณอยู่หรือส่งการแจ้งเตือนได้

 

 

4. กรณีที่ต้องการปรับการตั้งค่าการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันบนเฟซบุ๊คแบบรวดเดียวไม่อยากเสียเวลามานั่งปรับทีละแอปฯ ให้เลื่อนมาที่ด้านล่างสุดของหน้าจอจะพบกับ 4 หมวดใหญ่ๆ

 

 

5. กรณีต้องการปิดการเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชันหรือเกมทั้งหมด ให้คลิกเลือก Apps, Websites and Plugins แล้วกด Disable Platform ซึ่งจะเทียบเท่าได้กับการปิดตายช่องทางเชื่อมต่อกับทุกแอปพลิเคชัน แต่จะส่งผลให้เกมหรือซอฟต์แวร์ที่เราล็อกอินผ่านบัญชีเฟซบุ๊กไว้ใช้งานไม่ได้ด้วย

 

ส่วน Apps Others Use จะเป็นการตั้งค่าว่าข้อมูลใดบ้างของเราที่แอปพลิเคชันและเกมของเพื่อนบนเฟซบุ๊กสามารถล่วงรู้ กรณีที่ต้องการความเป็นส่วนตัวให้ติ๊กเอาเครื่องหมายถูกออกให้หมด หรือเลือกตามหัวข้อที่ปรากฏตามความต้องการ

 

 

6. และสุดท้ายถ้าต้องการปิดการแจ้งเตือนจากแอปพลิเคชันที่ผูกไว้บนเฟซบุ๊ก ให้เลือก Game and App Notifications แล้วเลือก Turn Off

 

 

ส่วนที่แชร์กันว่าพิมพ์ ‘BFF’ แล้วถ้าปรากฏตัวอักษรเป็นสีเขียวแสดงว่าบัญชีเฟซบุ๊กของเราปลอดภัยจากการถูกขโมยข้อมูล คือการแชร์ข่าวลวงที่ผิด เนื่องจากคำว่า BFF หรือ Best Friend Forever เป็นฟีเจอร์คำสั่งพิเศษแสดงผลแอนิเมชันน่ารักๆ ที่เฟซบุ๊กเพิ่มลงไปเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

 

มาตราการจัดการความเป็นส่วนตัวด้านข้อมูลผู้ใช้งาน 6 ข้อของเฟซบุ๊ก

ทั้ง 2 กรณีและ 8 ขั้นตอนการตั้งค่าการแชร์ข้อมูลส่วนตัวกับแอปพลิเคชันอื่นๆ บนเฟซบุ๊กนี้คือวิธีที่ผู้ใช้อย่างเราสามารถทำได้ด้วยตัวเอง ส่วนมาตรการที่ทางเฟซบุ๊กจะดำเนินการจัดการกับแอปฯ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมดเพื่อป้องกันการนำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานไปใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ของตัวเองโดยไม่ได้รับอนุญาตประกอบไปด้วย 6 ข้อสำคัญดังนี้

 

1. ตรวจสอบแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊กจะทำการตรวจสอบแอปพลิเคชันทั้งหมดที่เข้าถึงข้อมูลจำนวนมากก่อนเปลี่ยนแปลงแพลตฟอร์มในปี 2557 (2014) เพื่อลดการเข้าถึงข้อมูล และจะทำการตรวจสอบแอปพลิเคชันที่น่าสงสัยอย่างเข้มงวด หากพบว่านักพัฒนาแอปพลิเคชันใดใช้งานข้อมูลส่วนบุคคลในทางที่ผิด ก็จะกันแอปพลิเคชันนั้นออกจากแพลตฟอร์มของเฟซบุ๊กทันที

 

2. แจ้งเตือนเจ้าของข้อมูลที่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด เฟซบุ๊กจะแจ้งเตือนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้งานแอปพลิเคชันที่ถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิด รวมถึงการแจ้งเตือนให้เจ้าของข้อมูลรับทราบในกรณีที่ข้อมูลของพวกเขาถูกนำไปใช้งานโดยแอปพลิเคชัน ‘thisisyourdigitallife’ และเมื่อเฟซบุ๊กลบแอปพลิเคชันที่นำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิดก็จะแจ้งให้ผู้ใช้แอปพลิเคชันนั้นๆ ทราบด้วย

 

3. หยุดการเข้าถึงของแอปพลิเคชันที่ไม่ได้ใช้งาน หากแอปพลิเคชันใดไม่มีการใช้งานเกิน 3 เดือน เฟซบุ๊กจะหยุดการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานจากแอปพลิเคชันนั้นทันที

 

4. จำกัดข้อมูล Facebook Login เฟซบุ๊กกำลังเปลี่ยนแปลง Login เวอร์ชันใหม่ที่จะลดปริมาณ ‘ข้อมูล’ ที่แอปพลิเคชันสามารถขอจากผู้ใช้งาน ให้เหลือเพียง ชื่อ  รูปโปรไฟล์ และอีเมล หากแอปพลิเคชันต้องการขอข้อมูลใดๆ เพิ่มเติม จะต้องขออนุญาตจากเฟซบุ๊กก่อน (คล้ายๆ กรณีสาธิตดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใหม่ และต้องการเชื่อมต่อเฟซบุ๊กเพื่อสร้างแอ็กเคานต์ผู้ใช้งานที่เราต้องเลือกเอง แต่ต่อไปเฟซบุ๊กจะบังคับให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลแค่ 3 ส่วนเท่านั้น)

 

5. สนับสนุนให้ผู้ใช้จัดการกับแอปพลิเคชันต่างๆ ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กได้แสดงข้อมูลแอปพลิเคชันที่ผู้ใช้เชื่อมต่อ รวมถึงข้อมูลที่พวกเขาได้อนุญาตให้แอปพลิเคชันเหล่านั้นนำไปใช้งาน จากนี้ไปเฟซบุ๊กจะทำให้ทางเลือกเหล่านี้เห็นชัดและจัดการได้ง่ายยิ่งขึ้น (มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก บอกในแถลงการณ์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่าจะเพิ่มไอคอน App Setting ขึ้นมาใกล้ๆ ตำแหน่งแถบบนหน้านิวส์ฟีด เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานและปรับตั้งค่า)

 

6. ให้รางวัลกับผู้ที่ค้นพบข้อบกพร่อง เฟซบุ๊กจะขยายการดำเนินงานของ bug bounty program เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถรายงานมาที่ระบบ กรณีพบการนำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิดโดยนักพัฒนาแอปพลิเคชันต่างๆ

 

ด้านความเห็นเพิ่มเติมต่อกรณีข้อพิพาทที่เฟซบุ๊กถูกกล่าวหาว่าปล่อยให้ข้อมูลผู้ใช้งานกว่า 50 ล้านคนหลุดออกไปนั้น พิธีกรหญิงผู้ครำ่หวอดในวงการไอทีและเทคโนโลยีอย่าง ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ THE STANDARD Daily วันที่ 22 มีนาคม 2561 (ช่วงนาทีที่ 26.00 เป็นต้นไป) ไว้ว่าเหตุการณ์นี้คล้ายกับเป็นการตอกย้ำว่าข้อมูลของเราที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตไม่ได้ปลอดภัย 100% แม้ข้อมูลนั้นๆ จะอยู่บนแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการที่มีนโยบายจะปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของเราก็ตาม

 

“นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าข้อมูลของเราสามารถหลุดออกไปได้ตลอดเวลา แม้หลายคนจะมองว่าเฟซบุ๊กเป็นพื้นที่ส่วนตัวที่เราสามารถทำอะไรก็ได้ แต่ในความเป็นจริงมันยังมีการเก็บข้อมูลเราอยู่เรื่อยๆ ไม่มีอะไรจะรับประกันได้เลยว่าข้อมูลของเราจะไม่หลุดออกไปเหมือนกรณีดราม่า Cambridge Analytica

 

“การรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ บนโซเชียลมีเดียถือเป็นเรื่องจำเป็นมากๆ ในระดับโลก เหตุการณ์นี้ได้สร้างความตระหนักที่ผู้ให้บริการจะต้องเห็นความสำคัญกับการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานให้มากขึ้น เราอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะในไทย สหรัฐอเมริกา หรือพื้นที่ใดบนโลกนี้ ความสามารถในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวก็ควรจะเท่าๆ กัน”

 

เมื่อถามว่าเฟซบุ๊กยังเป็นแพลตฟอร์มที่น่าใช้งานอยู่หรือไม่ จิตต์สุภามองว่าขึ้นอยู่กับมุมมองความเห็นของผู้ใช้งานแต่ละคน เพราะผู้ใช้แต่ละรายอาจจะให้ความสำคัญกับประเด็นความเป็นส่วนตัวของข้อมูลไม่เท่ากัน

The post ทำอย่างไรไม่ให้โดนล้วงข้อมูลส่วนตัวบน Facebook appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/prevent-facebook-sharing-personal-data/feed/ 0
คู่มือตัดสินใจ iPhone X น่าซื้อหรือไม่? ผ่านหลากความเห็นผู้รู้วงการไอที https://thestandard.co/guidetoiphonex/ https://thestandard.co/guidetoiphonex/#respond Wed, 13 Sep 2017 16:03:50 +0000 https://thestandard.co/?p=26946

     หลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันท […]

The post คู่มือตัดสินใจ iPhone X น่าซื้อหรือไม่? ผ่านหลากความเห็นผู้รู้วงการไอที appeared first on THE STANDARD.

]]>

     หลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 กันยายนที่ผ่านมา (ตามเวลาประเทศสหรัฐอเมริกา) ใครหลายคนคงมีโอกาสได้ยลโฉม iPhone X และ iPhone 8 & 8 Plus ผ่านคลิปโฆษณา ข้อมูลบนเว็บไซต์ และคลิปรีวิวการใช้เบื้องต้นจากภายในงานกันไปบ้างแล้ว

     อย่างไรก็ดี ประเด็นที่น่าสนใจในทุกๆ ครั้งที่มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากฝั่ง Apple ออกมาคือ มันคุ้มค่าแก่การจ่ายเงินแค่ไหน? หรือควรอัพเกรดรุ่นมือถือของตัวเองในตอนนี้หรือไม่?

 

 

     ยิ่งครั้งนี้โจทย์ยิ่งยากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว เมื่อ Apple เปิดตัว iPhone X สมาร์ทโฟนระดับไฮเอนด์ฉลองครบรอบ 10 ปี iPhone ที่จัดเต็มด้วยหน้าจอแบบไร้ขอบ ไร้ปุ่มโฮม 5.8 นิ้ว พร้อมความคมชัดของหน้าจอแบบ Super Retina Display ทั้งยังรองรับการใช้งาน Face ID หรือ Animoji (คลิกอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ เพียงแต่ปัญหาดันติดอยู่ที่ว่า Apple เคาะราคาขายสูงเสียเหลือเกิน โดยเริ่มต้นที่ 999 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 33,092 บาท) ซึ่งแน่นอนว่าราคาจำหน่ายในประเทศไทยคงแพงกว่านี้อีกพอสมควร

     เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจขั้นเบื้องต้น THE STANDARD ได้ติดต่อไปยังผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในวงการเทคโนโลยีและไอทีอย่าง ‘Khajochi’ หรือ เอ็ม-ขจร เจียรนัยพานิชย์ แฟนพันธุ์แท้สตีฟ จ็อบส์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ macthai.com และ mangozero.com, ศุภเดช สุทธิพงศ์คณาสัย ผู้ดำเนินรายการ ล้ำหน้าโชว์ และ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ Cool Tech ทางสถานีโทรทัศน์ Voice TV เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพวกเขาที่มีต่อ iPhone X หรือ ไอโฟนเทน

 

ความว้าวของ Apple คือนวัตกรรมที่ตั้ง ‘มาตรฐาน’ ให้กับอุตสาหกรรมโทรศัพท์มือถือ

     ถ้าใครได้ดูงานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ครั้งนี้ของ Apple ก็น่าจะพอได้ยินประโยคที่ ทิม คุก (Tim Cook) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนปัจจุบันของบริษัท กล่าวเอาไว้ว่า “การที่ iPhone ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อโลกใบนี้ในทุกๆ วัน ถือเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์มากๆ

     “iPhone รุ่นแรกได้เปลี่ยนวิธีการที่พวกเรามีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีไปตลอดกาลด้วยการสามารถสัมผัสบนหน้าจอได้หลายนิ้ว (Multi-touch) และตลอดหลาย 10 ปีที่ผ่านมา เรายังคงขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยนวัตกรรม”

 

 

     Apple ยังคงบรรลุเป้าหมายเหมือนที่ทิมกล่าวไว้ได้ชัดเจน เช่นเดียวกับในครั้งนี้ ถึงแม้หลายคนอาจจะรู้สึกว่า iPhone X ที่เปิดตัวออกมาแทบจะไม่มีความว้าวใดๆ ทั้งสิ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 กลับมองว่าเทคโนโลยีการปลดล็อกด้วยใบหน้า (Face ID) จะเป็นบรรทัดฐานให้อุตสาหกรรมมือถือต่อไปในอนาคต

     ขจรบอกว่า “ถึงแม้ว่ามันจะมีอะไรหลายๆ อย่างเหมือนอย่างที่ข่าวหรือหลุดออกมาก็จริง แต่พอเราได้เห็นสิ่งที่มันทำได้จริงๆ ก็พบว่า Apple เขานำเสนอออกมาได้ดีและค่อนข้างน่าประทับใจ อย่างฟีดแบ็กจากคนรอบตัวผมเขาก็ไม่ได้ตื่นเต้นกับการที่หน้าจอไม่มีปุ่มโฮม แต่ทุกคนจะไปตื่นเต้นกับความสามารถที่ Apple นำเสนอออกมามากกว่า ทั้งการจดจำใบหน้า (Face ID) ว่ามีความแม่นยำแค่ไหน หรือการที่ Apple ทุ่มเทพัฒนาเซนเซอร์ในการใช้งานตรวจจับใบหน้า ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ใหม่มากๆ ในวงการสมาร์ทโฟน
     “จริงอยู่ที่ค่ายอื่นๆ อาจจะทำเหมือนกัน แต่เขาอาจจะไม่ได้ทำออกมาละเอียดเป็น 3 มิติเหมือนที่ Apple ทำ ผมเชื่อว่าพอ Apple ทำระบบนี้ออกมา ต่อไปมันก็จะกลายเป็นมาตรฐานให้กับอุตสาหกรรมนี้เหมือนกับตอนที่ Apple พัฒนาระบบสแกนลายนิ้วมือ (Touch ID) ออกมา ที่ทุกคนก็ทำตามกันหมด เช่นเดียวกับผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ Siri มันเหมือนกับว่าพอ Apple ปล่อยฟีเจอร์อะไรออกมา ก็เป็นการเซตมาตรฐานให้ทุกคนต้องทำให้ได้ ซึ่งในรอบนี้ก็ถือว่าเป็นการเซตมาตรฐานตัวเองที่สูงมากสำหรับฟีเจอร์ Face ID”

     ซู่ชิงมองไม่ต่างกับขจร โดยเธอบอกว่าเทคโนโลยีการสแกนใบหน้าเป็นสิ่งที่ค่ายผู้พัฒนาเทคโนโลยีเจ้าอื่นๆ ก็พัฒนากันมาก่อนอยู่แล้ว แต่ความแตกต่างที่ทำให้เทคโนโลยีของ Apple ไม่เหมือนเจ้าอื่นๆ คือความสามารถในการกำหนดมาตรฐานของวงการ

     “Apple เป็นอีกหนึ่งค่ายที่เอาเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้ามาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม เหมือนที่ผ่านๆ มา เทคโนโลยีหลายอย่างก็เกิดขึ้นแล้ว แต่พอ Apple หยิบมาพัฒนาก็ยิ่งทำให้คนรู้สึกคุ้นเคยมากขึ้นกว่าเดิม อีกอย่างเทคโนโลยีการสแกนลายนิ้วมือ Apple ก็ไม่ใช่เจ้าแรกที่ทำ แต่พอเขาทำออกมาแล้ว ทุกคนก็รู้สึกว่านี่คือพื้นฐานและมาตรฐานของสิ่งที่สมาร์ทโฟนดีๆ สักเครื่องหนึ่งควรจะมี

     “ส่วนเรื่องความ ‘ว้าว’ จาก Apple เราเชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยอาจจะรู้สึกว่าไม่สามารถคาดหวังความเป็นผลิตภัณฑ์ในหมวดหมู่ใหม่ ดังนั้น การจะบอกว่ามันไม่มี Wow Factor เลย บางทีมันอาจจะเป็นประเด็นที่เริ่มเก่าไปแล้ว มันต้องมาดูกันที่ตัวผลิตภัณฑ์มากกว่า เพราะอย่างไรก็ตาม คนที่ยังติดตาม Apple อย่างใกล้ชิดก็ยังเป็นแฟนของเขาอยู่ดี ส่วนคนที่บอกว่าไม่มีอะไร ‘ว้าว’ เลย คนกลุ่มนี้เขาอาจจะไม่ใช่ลูกค้าหลักของ Apple อยู่แล้ว
     “ดังนั้นความรู้สึกของเราจากงานเมื่อวาน สิ่งที่เด่นที่สุดของ Apple คือความสามารถในการนำเทคโนโลยีบางอย่างมาให้ผู้บริโภคทั่วๆ ไปเข้าถึงได้ไม่ยาก เช่น Facial Tracking ในการทำ Animoji ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตเทคโนโลยีไม่เคยเอามาให้ผู้ใช้งานทั่วไปอย่างเราได้เล่นมาก่อน ในความรู้สึกของเราจึงมอง iPhone X เป็นเหมือน iPhone Experience ใหม่ของผู้ใช้งานมากกว่า เราคงไม่พูดถึงสิ่งที่พวกเขาทำว่ามันว้าวแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนอีกแล้ว เพราะเราก็เริ่มรู้แล้วว่าทิศทางของ Apple มันเปลี่ยนไปตั้งแต่วันที่ สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ไม่อยู่”

     ด้านศุภเดชเชื่อว่าความ ‘ว้าว’ ของ Apple จะไม่บังเกิดผลทันทีในวันแรกที่เปิดตัวผลิตภัณฑ์ แต่จะเริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมทีละเล็กทีละน้อย เมื่อนักพัฒนาต่อยอดผลิตแอปพลิเคชันต่างๆ ที่รองรับการใช้งานเทคโนโลยี AR (Augmented Reality คล้ายๆ เกม Pokémon GO) ออกมามากขึ้น

     “ตอนดูงานเปิดตัวผมไม่ค่อยว้าวเท่าไร อาจจะเป็นเพราะว่าง่วง แต่หลังจากที่งานจบลงแล้วมานั่งนึกๆ ดู ก็พบว่ามันก็มีสิ่งที่ทำให้เราว้าวอยู่เหมือนกัน แต่จะเป็นความว้าวที่เริ่มต้นหลังจากนี้ ด้วยฮาร์ดแวร์ที่ Apple ให้มาใน iPhone X มันยังไม่ได้เป็นสิ่งที่ทำให้คนฮือฮาได้ตั้งแต่วันแรก แต่เป็นฮาร์ดแวร์เพื่อที่จะไปต่อยอดพัฒนาต่อในอนาคต เช่น ชิปประมวลผล A11 Bionic ที่แรงแบบโคตรๆ ผลการ Benchmark (ทดสอบ) ที่ได้ออกมาคือแรงทะลุจักรวาล ถึงขนาดที่ประมวลผลการใช้งานเทคโนโลยี AR แบบเรียลไทม์ได้ ซึ่งแปลว่ามันกินพลังสูงมาก ผมคิดว่าเราคงต้องรอว่าเหล่านักพัฒนาจะชงอะไรออกมาต่อจากนี้”

 

via GIPHY

via GIPHY

via GIPHY

via GIPHY

 

Animoji ฟีเจอร์หลอกเด็กหรือประสบการณ์ใหม่ๆ

     หนึ่งในฟีเจอร์ที่ Apple ภูมิใจนำเสนอในครั้งนี้นอกเหนือจาก Face ID หนีไม่พ้น Animoji (Animation + Emoji) ที่เป็นการประยุกต์กล้องแบบ TrueDepth และเซนเซอร์ต่างๆ บริเวณหน้าจอเครื่องมาใช้ในการสร้างอิโมจิที่เคลื่อนไหวตามใบหน้าและเสียงของผู้ใช้งานได้ทุกประการ

     อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยและสื่อบางสำนักในต่างประเทศกลับมองว่าฟีเจอร์นี้ไม่ได้ยิ่งใหญ่ควรค่าแก่การรอคอยเท่าที่ควร

     ศุภเดชคือหนึ่งในผู้ใช้งานที่ไม่ได้เชื่อเช่นนั้น โดยเขามองว่าการที่ Apple ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี AR หรือ Animoji จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวงการการสร้างคอนเทนต์และการดึงคาแรกเตอร์การ์ตูนต่างๆ มาใช้ในอนาคต

 

 

 

     “ผมว่าสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดคือเมื่อ Apple มีการพัฒนาเทคโนโลยี AR และ VR ลงบนโทรศัพท์มือถือมากขึ้นเช่นนี้ ในอนาคตเราจะกลับเข้าสู่โลกของคาแรกเตอร์สมมติกันอีกครั้งหนึ่ง ในอนาคตคนทำคอนเทนต์ ผู้พากย์บรรยาย E-Sport ก็อาจจะใช้ตัวคาแรกเตอร์มาประยุกค์ใช้กับงานที่ตัวเองทำด้วยเทคโนโลยีเหล่านั้นได้เลย”

     ซู่ชิงก็มีความคิดเห็นในประเด็นนี้คล้ายๆ กันว่า “ฟีเจอร์ Animoji ที่หลายๆ คนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไร้สาระ เราเห็นหลายคนเลยที่มีความเห็นว่าทำไมถึงทำได้แค่นี้? เอาเงินมากมายไปลงทุนกับ Animoji เหรอ? แต่ซู่ชิงกลับรู้สึกว่า โอเคมันอาจจะไม่ใช่การสร้างยานอวกาศขึ้นมาใหม่ แต่มันคือประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่สุดท้ายแล้วเดี๋ยวคนก็จะชอบมันเอง

     “มันเป็นการทำให้เทคโนโลยีที่เราอาจจะเคยให้ผู้สร้างหนังแอนิเมชันฮอลลีวูดใช้กัน แต่ตอนนี้เราเข้าถึงมันได้แล้ว มันอยู่บนโทรศัพท์ที่เราสามารถใช้งานมันอย่างไรก็ได้ มันเป็นจุดเด่นที่ไม่สมควรจะได้รับความเกลียดชังขนาดนั้น (หัวเราะ) ถึงแม้เราจะไม่ใช้ Apple’s fan girl ที่เชียร์ Apple แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็รู้สึกว่ามันไม่ได้แย่ขนาดนั้นเสียหน่อย มันโอเคและน่ารักด้วยซ้ำไป ทำให้เราได้ทดลองใช้โทรศัพท์ด้วยประสบการณ์อีกรูปแบบหนึ่ง”
     นอกจากนี้เธอยังกล่าวเสริมอีกด้วยว่า ฟีเจอร์ใน iPhone X ที่เธอชื่นชอบไม่แพ้ Animoji ก็คือการถ่ายภาพบุคคลที่สามารถปรับแสงสว่างได้ตามความต้องการ “ฟีเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจคือความสามารถในการถ่ายภาพแบบ Portrait Lighting ที่ทำให้หน้าของเราสว่างขึ้นเหมือนถ่ายในสตูดิโอ ถ่ายภาพเซลฟีแบบหน้าชัดหลังเบลอได้ โอเคแหละ ทั้งหมดนี้มันอาจจะไม่ใช่ของที่ใหม่เอี่ยมไปซะทีเดียว แต่ความน่าสนใจคือเวลาที่ Apple ทำเทคโนโลยีพวกนี้ออกมา เขาทำได้ดีและทำให้ผู้บริโภคสามารถใช้งานได้ง่ายและเป็นธรรมชาติ”

 

 

iPhone X คุ้มค่าแค่ไหน กับราคาขายที่แพงเช่นนี้?

     อย่างที่ได้กล่าวไปว่าถึงแม้ราคาวางจำหน่ายเริ่มต้นของ iPhone X จะอยู่ที่ประมาณ 33,000 กว่าบาทในประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ราคาวางจำหน่ายเมื่อนำเข้ามาในประเทศไทยย่อมสูงกว่านี้แน่นอน

     เช่นนั้นแล้วผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านมองว่าคุ้มค่าหรือไม่อย่างไรกับการต้องจ่ายเงินที่แพงขนาดนี้เพื่อแลกกับสมาร์ทโฟนเครื่องหนึ่ง?

     ซู่ชิงยอมรับว่า iPhone X มีราคาแพงจริง แต่ความคุ้มค่าด้านราคาที่แต่ละคนมองอาจจะมีมากน้อยไม่เท่ากัน ส่วนตัวเธอเองหากมีโอกาสก็คงจะตัดสินใจซื้อมาลองใช้

     “มันก็แพงแหละ เพราะเข้าไทยจริงๆ ราคาก็คงไปอยู่ที่ประมาณ 40,000 กว่าบาท แต่เรื่องความคุ้มค่า เราก็รู้กันอยู่แล้วว่าผลิตภัณฑ์ของ Apple ไม่สามารถหารเฉลี่ยออกมาเป็นความคุ้มค่าด้านราคาได้ เพราะทั้งหมดคือความเต็มใจในการที่จะจ่ายเพื่อแลกกับประสบการณ์ในการใช้งานและภาพลักษณ์ของการเป็น Apple’s User ดังนั้นมันคงไม่สามารถตีเป็นตัวเลขออกมาว่าคุ้มค่าแค่ไหน เช่นถ้าเขารู้สึกว่า 40,000 บาทกับสมาร์ทโฟนมันแพง แต่ก็คุ้มที่จะแลกมาซึ่งความเอ็กซ์คลูซีฟนั้นๆ ดังนั้นคำว่าคุ้มค่ามันคงอยู่ที่ตัวผู้ใช้งานแต่ละคนมากกว่า

     “สำหรับตัวเราถ้ามีเงินก็คงจะซื้อแหละ (หัวเราะ) ซู่ชิงเห็นหลายคนก็พูดอย่างนี้เช่นกันว่า ‘เฮ้ย! มันแพงมากเลย แต่ถ้ามีเงินก็ซื้อ’ เพราะก็อยากจะลองเหมือนกันว่าฟีเจอร์ต่างๆ ที่เขานำเสนอออกมามันใช้งานจริงแล้วเป็นอย่างไรบ้าง แต่มันก็อยู่ในเงื่อนไขที่ว่าต้องไม่ทำให้เรากระเป๋าฉีกด้วย
     “ส่วนถ้าให้แนะนำผู้ใช้งานคนอื่นๆ ซู่ชิงมองว่าใครที่ใช้งาน iPhone 7 หรือ 7 Plus อยู่แล้วไม่ต้องเปลี่ยนเป็น iPhone 8 หรือ 8 Plus เพราะความแตกต่างของราคาที่แลกมากับสเปกบางส่วนอัพเกรดมันยังไม่คุ้ม เพราะถ้าถามผู้ใช้งาน iPhone 7 หรือ 7 Plus จริงๆ ว่า ทุกวันนี้รู้สึกหรือเปล่าว่าโทรศัพท์ที่เขาใช้ทำงานช้า มันก็คงไม่นะคะ แต่ถ้ามีงบประมาณแล้วอยากจะอัพเกรด เราแนะนำว่าให้กระโดดไป iPhone X หรือรอ iPhone รุ่นใหม่ปีหน้าไปเลย ไม่ต้องเสียเงิน ฟันธงให้ (หัวเราะ)”

     เมื่อถามถึงความเห็นจากแฟน Apple อีกคนอย่างศุภเดช เขาเชื่อว่าราคาเช่นนี้คงไม่เป็นอุปสรรคใดๆ ต่อคนที่รักและชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ของ Apple แต่ถ้าผู้ใช้งานทั่วๆ ไปที่กำลังใช้งาน iPhone 7 หรือ 7 Plus อยู่ก็อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนมือถือในตอนนี้แต่อย่างใด

     “ถ้าคุยกันในระดับสาวกของ Apple เรื่องราคาคงไม่ใช่ประเด็น ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเลือกขายไตข้างไหนออกมาซื้อมากกว่า แต่ถ้าระดับคนธรรมดาที่เป็นผู้ใช้งานทั่วๆ ไป iPhone 8 หรือ iPhone 8 plus ก็เพียงพอแล้วแหละ เพราะว่าในเชิงประสิทธิภาพก็ใช้ชิปประมวลผลตัวเดียวกัน รองรับระบบชาร์จไร้สายเหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าวัดแค่ในเรื่องความคุ้มค่า iPhone 8 หรือ 8 Plus ก็โอเคอยู่แล้ว

     “ส่วนตัวผมคงเลือกที่จะซื้อ iPhone X แต่ถ้าให้แนะนำผู้ใช้ทั่วไป สมมติว่าคุณใช้งาน iPhone 6s แล้วอยากจะเปลี่ยนมือถือก็ซื้อ iPhone 8 ไปก็ได้ หรือถ้างบไหวก็ iPhone X ไปเลย ผมมองว่าในแง่ของประสบการณ์ผู้ใช้งานระหว่าง iPhone 8 และ iPhone X มันไม่ได้ต่างกันมากนัก แล้วถ้าในชีวิตประจำวันการใช้งาน iPhone 7 Plus เคยเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นท็อปของโลกมาก่อน ฉะนั้น iPhone 8 มันก็ได้แหละ”

     ฝั่งขจรที่ถึงแม้เราจะทราบกันเป็นอย่างดีว่าเขาคือหนึ่งในสาวกเดนตายของ Apple แต่เขากลับให้ความเห็นต่อการตัดสินใจซื้อ iPhone X ที่ต่างออกไปและน่าสนใจไม่น้อย โดยบอกว่าในความเป็นจริงแล้ว iPhone X อาจจะไม่มีฟีเจอร์ใดๆ เลยที่จำเป็นต่อการใช้งาน แต่หากคุณอยากได้สมาร์ทโฟนที่บ่งบอกความเป็นตัวเอง หรือได้ลองเทคโนโลยีใหม่ๆ มันก็เป็นตัวเลือกที่ไม่เลว

 

 

     “ถ้าว่ากันตามตรง iPhone X ก็ไม่มีฟีเจอร์ไหนเลยที่เราจำเป็นต้องใช้ วัดตามความจำเป็นในการใช้งานจริงๆ มันก็ไม่ได้ช่วยให้เราใช้งานเฟซบุ๊กหรือไลน์ได้ดีขึ้น มันก็เป็นแค่มือถือที่มันเซ็กซี่มากๆ รุ่นหนึ่ง ถามว่าจำเป็นไหมก็ไม่จำเป็นหรอกครับ แต่ว่าถ้าคุณต้องการบ่งบอกความเป็นตัวตนอะไรบางอย่างหรือต้องการลองใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ การยอมจ่ายเงินเพิ่มอีกประมาณ 5-6 พันบาท (เทียบกับ iPhone 7 หรือ 7 Plus) เพื่อให้ได้มือถือที่ล้ำมากๆ ก็อาจจะเหมาะกับคุณ

     “แต่เอาตรงๆ ผมไม่คิดว่า Apple จะออก iPhone X รุ่นแรกแล้วมันจะเพอร์เฟกต์ทันทีนะ มันน่าจะมีปัญหาอะไรบางอย่างที่ทาง Apple ต้องเผชิญอยู่บ่อยๆ เหมือนตอนที่เปลี่ยนวัสดุตัวเครื่องจากพลาสติกมาเป็นกระจกก็มีปัญหาเรื่องความเปราะบาง หรือเมื่อเปลี่ยนมาใช้อลูมิเนียมก็มีปัญหาเรื่องสีลอก ซึ่งครั้งนี้ Apple ก็เปลี่ยนวัสดุใหม่อีกแล้วเช่นกัน ผมว่ามันก็น่าจะต้องรอดูก่อนว่าคนใช้สินค้าล็อตแรกๆ แล้วผลตอบรับเป็นอย่างไรบ้าง เพราะตามความเห็น ทุกครั้งที่ iPhone มีการเปลี่ยนวัสดุ มันก็มักจะมีปัญหาในช่วงแรกๆ ทุกครั้ง

     “ฉะนั้นอย่าพึ่งรีบตัดสินใจ ให้ลองดูก่อน สุดท้ายสมาร์ทโฟนจะดีหรือไม่ดีอย่างไร คุณก็ควรจะไปลองจับของจริง อย่าไปซื้อตามภาพในโฆษณา ซึ่งกว่าจะเข้ามาขายในเมืองไทยมันก็คงจะนานมากๆ เลย”

The post คู่มือตัดสินใจ iPhone X น่าซื้อหรือไม่? ผ่านหลากความเห็นผู้รู้วงการไอที appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/guidetoiphonex/feed/ 0