ซีรีส์ญี่ปุ่น – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 25 Sep 2024 10:24:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 Queen of Villains นางมารก็มีหัวใจ เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของมวยปล้ำหญิงยุค 80 https://thestandard.co/opinion-queen-of-villains/ Wed, 25 Sep 2024 10:24:07 +0000 https://thestandard.co/?p=987960

Queen of Villains เป็นงานซีรีส์ญี่ปุ่นที่น่าตื่นตาตื่นใ […]

The post Queen of Villains นางมารก็มีหัวใจ เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของมวยปล้ำหญิงยุค 80 appeared first on THE STANDARD.

]]>

Queen of Villains เป็นงานซีรีส์ญี่ปุ่นที่น่าตื่นตาตื่นใจ โดยเฉพาะในหมู่เด็กที่เติบโตมาจากยุค 80 เพราะนี่คือเรื่องเล่าของ ดัมป์ มัตสึโมโตะ นางมารในวงการมวยปล้ำหญิงญี่ปุ่นในยุค 80 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองถึงขีดสุด ชื่อเสียงของเธอโด่งดังทั่วเอเชียและในวงการมวยปล้ำโลกเคียงคู่กับสองสาว Crush Gals คือ ไลออนเนส อาสึกะ และ ชิกุสะ นากาโยะ คู่ปรับตลอดกาลที่อยู่ในฝ่ายธรรมะ

 

 

แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นมวยปล้ำหญิง แต่ความดุเดือดของมวยปล้ำหญิงญี่ปุ่นก็ไม่แพ้มวยปล้ำผู้ชายเลย โดยจะเน้นที่ความรวดเร็ว รุนแรง และกระตุ้นอารมณ์คนดูจนถึงขีดสุด ซึ่งนักกีฬาที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งยุคคือ ไลออนเนส อาสึกะ และ ชิกุสะ นากาโยะ ที่มีเสน่ห์แบบสาววัยรุ่น และทักษะบนเวทีอันยอดเยี่ยมเหมือนหลุดมาจากอนิเมะยอดมนุษย์ ทำให้มีผลงานในวงการบันเทิงและแฟนคลับมากมาย

 

ขณะที่ฝ่ายอธรรมนำโดย ดัมป์ มัตสึโมโตะ ผู้เป็นเหมือนฝันร้ายของวงการ ด้วยการแต่งหน้าแนวพังก์ มาพร้อมอาวุธครบมือและไม่เคารพกฎใดๆ ทั้งบนเวทีหรือแม้แต่ในสนาม การต่อสู้ของสองฝ่ายก้าวขึ้นถึงขีดสุดในแมตช์ดวลกล้อนผมเมื่อปี 1985 ทำเรตติ้งให้กับ Fuji TV สูงถึง 12.0 นั่นหมายความว่ามีชาวญี่ปุ่นถึง 14 ล้านคนชมแมตช์นองเลือดนี้จากทางบ้าน การแข่งขันครั้งนั้น Fuji TV ถูกร้องเรียนเรื่องการนำเสนอความรุนแรงผ่านหน้าจอ โดยชิกุสะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ถูกกล้อนผม ทำเอาแฟนคลับใจสลาย ส่วน ดัมป์ มัตสึโมโตะ กลายเป็นผู้หญิงที่คนญี่ปุ่นเกลียดที่สุดจนกระทั่งอำลาวงการในปี 1988

 

 

Queen of Villains เล่าเรื่องที่คนไม่เคยรู้นั่นคือ กว่าจะเป็น ดัมป์ มัตสึโมโตะ เธอต้องผ่านอะไรมาบ้าง โดยย้อนไปทำความรู้จักกับ คาโอรุ มัตสึโมโตะ (Yuriyan Retriever) เด็กสาวจิตใจดีที่มีครอบครัวไม่สมประกอบ พ่อของเธอมักรีดไถแม่และหนีไปมีครอบครัวใหม่ สิ่งที่เยียวยาจิตใจคาโอรุคือมวยปล้ำ เธอใฝ่ฝันอยากจะเป็นดาวเด่น แต่ทั้งรูปร่างและรูปลักษณ์ก็ไม่เอื้ออำนวยให้เป็นไอดอลของวงการได้เลย

 

ในช่วงเป็นนักมวยปล้ำฝึกหัด คาโอรุเป็นนักมวยปล้ำฝีมือห่วย และได้รู้จักกับ ชิกุสะ นากาโยะ (เอริกะ คาราตะ) เด็กสาวกำพร้าที่ฝีมือห่วยพอๆ กัน จึงเหมือนมีพลังบางอย่างทำให้ทั้งคู่กลายเป็นเพื่อนสนิทที่คอยช่วยเหลือกันจากการกดขี่ของรุ่นพี่และหาโอกาสที่จะเดบิวต์เป็นนักมวยปล้ำมืออาชีพจริงๆ จนกระทั่งชิกุสะมีโอกาสได้จับคู่กับ ไลออนเนส อาสึกะ (อายาเมะ โกริกิ) กลายเป็นคู่ดูโอในนาม Crush Gals และกลายเป็นไอดอลที่คนทั้งประเทศหลงรัก ขณะที่คาโอรุยังเป็นนักมวยปล้ำต๊อกต๋อยโดนลดชั้นให้ไปขับรถกับโปรโมเตอร์มวย

 

แต่แล้ววันหนึ่งคาโอรุก็ถูกหักหลังทั้งจากครอบครัวและเพื่อนสนิท ความกดดันที่ต้องการจะเป็นที่รักก็แปรเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม เธอทำทุกวิถีทางเพื่อจะเป็นดาวเด่นในวงการ จนกลายเป็น ดัมป์ มัตสึโมโตะ ที่เกรี้ยวกราด ชั่วร้าย จนกลายเป็นศัตรูกับคนทั้งชาติ ซึ่งมีราคาที่ต้องจ่าย 

 

 

Queen of Villains จะทำให้คุณรู้สึกอินเป็นพิเศษหากอยู่ในยุครุ่งเรืองของมวยปล้ำหญิงญี่ปุ่น เพราะผ่านมาหลายสิบปี ชื่อของ ดัมป์ มัตสึโมโตะ ก็ยังมีสัญลักษณ์ของหญิงอ้วนอันธพาล เป็นสรรพนามที่ใช้บูลลี่กันในหลายยุค และต้องเซอร์ไพรส์เมื่อคนที่คุณเคยเกลียดกลับมีที่มาที่ไปน่าสงสาร แตกต่างจากภาพที่เห็นอย่างสิ้นเชิง

 

ด้วยความที่ซีรีส์ตั้งใจตีแผ่อีกด้านของนางมารร้าย จึงใช้เวลาเกินกว่าครึ่งพูดถึงความกดดันที่คาโอรุได้รับ เริ่มตั้งแต่ครอบครัวที่พ่อมักบั่นทอนความมั่นใจเรื่องน้ำหนักตัว จนกระทั่งเข้าไปอยู่ในวงการมวยปล้ำก็ถูกรุ่นพี่กระทำซ้ำอีก ที่สำคัญเธอมักถูกเอาเปรียบจากความจิตใจดีของเธอเสมอ แต่ภายใต้แรงกดดันก็มีตัวตนบางอย่างที่รอวันปะทุซ่อนอยู่

 

 

เมื่ออยู่ฝ่ายธรรมะแล้วไม่รุ่ง คาโอรุย้ายไปอยู่ฝ่ายอธรรม ถึงอย่างนั้นก็ยังยึดติดกับความอยากเป็นที่รักและความอ่อนโยนในใจ เธอเลือกใช้อาวุธปลอมเพราะกลัวคู่ต่อสู้เจ็บ แต่ความดีก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเลย คาโอรุถูกทิ้งให้อยู่หางแถว ขณะที่เพื่อนร่วมรุ่นแซงหน้าเธอไปเรื่อยๆ ฉากวิ่งกับชิกุสะสะท้อนความเจ็บปวด ความกดดันของคาโอรุได้เป็นอย่างดี 

 

เมื่อความกดดันกำลังได้ที่และมีเรื่องถอดสลักระเบิดถึง 2 ประเด็น คือ ครอบครัวและเพื่อนรัก จึงไม่แปลกใจว่าทำไมความโหดร้ายทารุณที่ซ่อนอยู่ในตัวถึงได้พลุ่งพล่านกลายเป็น ดัมป์ มัตสึโมโตะ ผู้กลืนกินความโกรธเกลียดของแฟนในวงการมวยปล้ำ ซึ่งมันกลับทำให้เธอกลายเป็นดาวเด่นและเป็นตำนานที่ต้องจดจำแม้จะในทางที่ไม่ดีก็ตาม 

 

อย่างไรก็ตาม แม้คุณจะเกิดไม่ทัน Queen of Villains ก็ว่าด้วยการตามฝันในวงการกีฬาที่ผสมดราม่าครอบครัวได้อย่างกลมกล่อม พาผู้ชมเข้าไปดูวงการมวยปล้ำในยุค 80 ที่ผลิตนักกีฬาด้วยระบบที่เข้มงวดและกดดันแทบไม่ต่างจากคัดเลือกสมาชิก BNK48 ซึ่งถ้าหากจะมีใครเป็นตัวร้ายในเรื่อง ก็คงต้องยกให้ระบบที่ว่านี้

 

 

ซีรีส์พยายามฉายซ้ำวังวนของคนในวงการว่ามีวันที่รุ่งโรจน์ และพร้อมจะถูกเขี่ยทิ้งเมื่อหมดประโยชน์ ทำให้คนในระบบต้องดิ้นรนทำให้ตัวเองโดดเด่นและเล่นไปตามสคริปต์ โดยมีผู้กำกับคือเหล่าผู้บริหาร ที่นานวันเข้าจะเริ่มออกนอกกรอบ ใส่ความบู๊เลือดสาดจนนักมวยปล้ำไม่ต่างจากร่างทรงเทศกาลกินเจ

 

“รู้สึกแข็งแกร่งขึ้นไหม” 

 

นี่คือคำถามที่ตัวละครในเรื่องถามกันและกัน เพราะนานวันภายใต้ภาพลักษณ์อันแข็งแกร่ง ทุกคนกลับรู้สึกไม่มั่นคงและตัวตนเริ่มหายไป ทั้ง ไลออนเนส อาสึกะ ที่อยากกลับไปเล่นมวยปล้ำแบบจริงๆ สักที ส่วน ชิกุสะ นากาโยะ ก็ติดอยู่ในวังวนของชื่อเสียง จนหาสารพัดวิธีให้ตัวเองอยู่ในจุดสูงสุดไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม ขณะที่ ดัมป์ มัตสึโมโตะ ค้นพบสมการที่ทำให้ตัวเองโดดเด่น ในเมื่อไม่ได้เป็นที่รัก ก็เป็นที่เกลียดมันเสียเลย แต่มันก็ส่งผลกระทบกับชีวิตส่วนตัวและคนที่เธอรัก 

 

การใช้ชีวิตในแบบที่ปรารถนา คือการประสบความสำเร็จสูงสุด”

 

ประโยคนี้ถูกใช้ในตอนต้นเรื่อง เมื่อคาโอรุตัดสินใจลาออกจากงานพนักงานขายขนมปังมาเป็นนักมวยปล้ำ และอีกครั้งตอนท้ายเรื่อง เมื่อเธอกลายเป็น ดัมป์ มัตสึโมโตะ นักมวยปล้ำชื่อดังสมใจ แต่กลับไม่ได้ใช้ชีวิตในแบบที่เธอต้องการ ซึ่งมันไม่ได้สะท้อนชีวิตของเธอเพียงคนเดียว แต่หมายถึงนักมวยปล้ำทุกคนที่เหมือนต้องเล่นไปตามบท ที่กว่าคนดูจะรู้ว่านี่คือการแสดงก็ปาเข้าไปช่วงที่รายการใกล้เสื่อมความนิยมไปแล้ว 

 

 

Queen of Villains เป็นซีรีส์ที่ดูสนุกแม้จะเกิดไม่ทันยุคนั้นก็ตาม ส่วนคนที่เกิดทันก็อาจจะรู้สึกไม่อิ่ม เพราะรายละเอียดชีวิตของดัมป์ในช่วงท้ายถูกเล่าแบบรวบรัดตัดความ ทั้งๆ ที่เธอโด่งดังถึงขนาดลูกเด็กเล็กแดงนั่งเฝ้าหน้าจอทุกบ่ายวันหยุด…ใช่แล้ว ในยุคนั้นความรุนแรงแบบนี้คือของสามัญประจำบ้านที่มีทาร์เก็ตทั้งเด็ก (แอบฝึกท่ามวยปล้ำ Figure 4 Leg Lock, Bodyslam, Giant Swing กันให้ควั่ก), ผู้หญิง (ความไอดอล ความแซฟฟิกใดๆ) และผู้ชาย (การต่อสู้ของผู้หญิงในชุดว่ายน้ำ) อย่างไรก็ตาม ซีรีส์เรื่องนี้ก็น่าจะปลุกความทรงจำในวัยเยาว์ของหลายๆ คนให้กลับมามีชีวิตชีวาได้อยู่ดี

 

 


 

Travia 

 

  • Crush Gals ต้องเกษียณตามกฎของ All Japan Women’s Pro-Wrestling (AJW) เมื่ออายุครบ 26 ปี ทั้งที่ยังได้รับความนิยมล้นหลาม ชิกุสะกลับมาเล่นมวยปล้ำอีกครั้งช่วงสั้นๆ ในยุค 90 และก่อตั้งรายการ GAEA Japan ของตัวเองในปี 2000 ส่วนอาสึกะกลับมาเล่นอีกครั้งในปี 1994 ทั้งสองกลับมารวมตัวกันในรายการนี้ก่อนจะปิดตัวลงในปี 2005 ชิกุสะยังปรากฏตัวในวงการมวยปล้ำอยู่บ้าง ส่วนอาสึกะต้องเลิกเล่นไปในปี 2004 เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่คอ 
  • หลังเกษียณ ดัมป์ มัตสึโมโตะ เข้าสู่วงการบันเทิงทั้งงานพิธีกร การแสดง และผลงานเพลง เผยด้านความเป็นคาโอรุจังให้คนญี่ปุ่นกลับมารักเธออีกครั้ง 

 

อ้างอิง: 

The post Queen of Villains นางมารก็มีหัวใจ เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของมวยปล้ำหญิงยุค 80 appeared first on THE STANDARD.

]]>
Tokyo Swindlers แผนหลอกลวงครั้งประวัติศาสตร์และด้านมืดของนักต้มตุ๋น https://thestandard.co/tokyo-swindlers-series/ Mon, 29 Jul 2024 05:29:39 +0000 https://thestandard.co/?p=964425

  Tokyo Swindlers คือซีรีส์ญี่ปุ่นเรื่องใหม่ของ Ne […]

The post Tokyo Swindlers แผนหลอกลวงครั้งประวัติศาสตร์และด้านมืดของนักต้มตุ๋น appeared first on THE STANDARD.

]]>

 

Tokyo Swindlers คือซีรีส์ญี่ปุ่นเรื่องใหม่ของ Netflix ผลงานการกำกับและเขียนบทโดย ฮิโตชิ โอเนะ (ภาพยนตร์ Scoop! ปี 2016) สร้างจากนิยายขายดีของ โค ชินโจ ในปี 2019 โดยได้แรงบันดาลใจจากกลุ่มนักต้มตุ๋นซื้อ-ขายที่ดินที่เรียกกันว่า ‘จินเมงฉิ’ ซึ่งระบาดอย่างหนักในช่วงก่อนโอลิมปิกเกมส์ 2020 ในโตเกียว จนออกมาเป็นซีรีส์สืบสวนสอบสวนที่มีจังหวะให้คนดูได้ตื่นเต้นตลอดทั้งเรื่อง แต่ถ้าคาดหวังการหักมุมแบบพลิกไปพลิกมา เรื่องนี้อาจจะยังไม่ตอบโจทย์ 

 

ช่วงก่อนโอลิมปิกเกมส์ 2020 ราคาที่ดินในโตเกียวพุ่งสูงขึ้นมาก ทำให้กลุ่มนักต้มตุ๋นหลอกขายที่ดินกลับมาระบาดอีกครั้ง หลังจากที่เคยอาละวาดในช่วงปลายยุค 80 ที่ราคาที่ดินในญี่ปุ่นพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ทาคุมิ สึจิโมโตะ (โก อายาโนะ) ชายหนุ่มผู้มีอดีต ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดจินเมงฉิของ แฮร์ริสัน ยามานากะ (เอตสึชิ โทโยคาวะ) พวกเขาจะใช้เอกสารปลอมและสร้างเจ้าของที่ดินปลอมๆ เพื่อหลอกบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ นอกจากนี้ยังมีเพื่อนร่วมทีมอีก 3 คน ได้แก่ ทาเคชิตะ (คาซึกิ คิตามูระ) ฝ่ายหาข้อมูล, เรโกะ (เอโกะ โคอิเกะ) ฝ่ายจัดหาเจ้าของที่ดินปลอม และ โกโตะ (ปิแอร์ ทากิ) ที่ปรึกษาด้านกฎหมายปลอม ส่วนทาคุมิรับหน้าที่เป็นนักเจรจา โดยมีแฮร์ริสันคุมเกมอยู่เบื้องหลัง

 

 

จินเมงฉิทีมนี้ทำงานระดับ 1 พันล้านเยนมาหลายโครงการ จนกระทั่งแฮร์ริสันอยากเพิ่มความตื่นเต้นด้วยการเดิมพันหลอกขายที่ดินมูลค่า 1 หมื่นล้านเยนข้างๆ วัดพุทธในย่านธุรกิจ ความยากก็คือ แม่ชีประจำวัดแห่งนี้ไม่เคยคิดที่จะขายที่ดินมรดกและเป็นคนเก็บตัวจนแทบไม่มีช่องทางให้เจาะเข้าไปได้เลย แต่ในที่สุดก็มีคนตกหลุมพรางคือ อาโอยากิ (โคจิ ยามาโมโตะ) แห่งเซกิโย บริษัทอสังหายักษ์ใหญ่ของวงการ จังหวะเดียวกันทางทีมก็เริ่มเห็นช่องทางเข้าถึงตัวแม่ชีเจ้าของที่ดินได้แล้ว 

 

ส่วนอีกด้าน นักสืบชิโมมูระ (ลิลลี แฟรงกี) และนักสืบหน้าใหม่คุราโมจิ (เอไลซา อิเคดะ) เริ่มเห็นความไม่ชอบมาพากลจากคดีหลอกลวงที่ดินก่อนหน้านี้ว่าน่าจะมีความเชื่อมโยงไปถึงกลุ่มของแฮร์ริสัน ซึ่งเป็นศัตรูเก่าของชิโมมูระ กลายเป็นเกมชิงไหวชิงพริบของ 3 ฝ่าย คือ เหล่านักต้มตุ๋น เหยื่อ และนักสืบ พร้อมๆ กับรอยร้าวภายในกลุ่มจินเมงฉิ จนเผยให้เห็นความบ้าคลั่งและความโลภ รวมทั้งยังเปิดเผยอดีตของทาคุมิที่อาจเชื่อมโยงไปถึงแฮร์ริสันอีกด้วย

 

 

บอกไว้ก่อนว่า Tokyo Swindlers ไม่ใช่แนวเดียวกับภาพยนตร์ชิงไหวชิงพริบที่ทำให้คนดูเดาทางไม่ถูก หักมุมหัวทิ่มแบบ Ocean’s Eleven แต่เน้นไปที่การเจาะเข้าไปสู่ด้านมืดของแวดวงนักต้มตุ๋นและความเป็นมนุษย์ โดยเรื่องนี้แทบไม่มีตัวละครใดเป็นคนดีเลย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งนักต้มตุ๋นที่เต็มไปด้วยความโลภ เอาแน่เอานอนไม่ได้ จะมีก็แต่แฮร์ริสันและทาคุมิที่เข้ามาสู่อาชีพนี้ไม่ใช่เพราะเรื่องเงิน

 

ส่วนทางฝั่งเหยื่อก็วางคาแรกเตอร์ให้เห็นแก่ตัว กระหายความสำเร็จ หรือมีสิ่งผิดบาปเข้าขั้นสมควรโดน หรือแม้แต่ตัวแม่ชีก็มีจุดด่างพร้อยบางอย่าง การกระทำต่างๆ ในเรื่องจึงทั้งสร้างความสะใจให้คนดูและเผยให้เห็นความฉ้อฉลในแวดวงอสังหาริมทรัพย์หรือแม้กระทั่งศาสนา

 

 

นอกจากโครงเรื่องจะว่าด้วยเรื่องการชิงไหวชิงพริบและเหตุการณ์น่าลุ้นแบบแมวจับหนูแล้ว Tokyo Swindlers ใส่โครงเรื่องย่อยให้ทำความรู้จักตัวละครหลักในมุมลึกๆ ทั้งทาคุมิที่ก้าวเข้าสู่วงการเพราะต้องการสะสางปมในอดีตของตัวเอง ส่วนแฮร์ริสันก็เข้าขั้นตัวร้ายที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ ในซีรีส์แนวนี้ เพียงแต่เพิ่มดีกรีความวิปริตด้วยเหตุจูงใจผิดมนุษย์มนา และบอกที่มาที่ไปของเขาน้อยมาก เหมือนอยากจะให้เป็นตัวแทนของปีศาจที่มาลงโทษคนโลภ และนักสืบชิโมมูระ ตำรวจใกล้เกษียณที่ทุ่มเวลาทั้งชีวิตให้กับงาน จนกลายเป็นคนแปลกหน้าของครอบครัว

 

ความเชื่อมโยงของทั้ง 3 ตัวละครทำให้โครงเรื่องหลักค่อยๆ ลื่นไหล และเร้าอารมณ์ให้คนดูทั้งซึ้งไปจนถึงตื่นเต้นระทึกใจ ชวนติดตามได้ตลอดระยะเวลาเกือบ 7 ชั่วโมง ส่วนองค์ประกอบก็ช่วยสร้างบรรยากาศหนักหน่วงจนรู้สึกหายใจไม่ทั่วท้องในบางฉากทั้งเรื่องแสงและงานด้านภาพ ที่สำคัญเรื่องนี้เต็มไปด้วยฉากความรุนแรงแบบไม่บันยะบันยัง และมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามจำนวนตอนที่เพิ่มขึ้นไป

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายจุดที่ยังไม่กลมกล่อม อย่างเช่น การปูพื้นตัวละครอื่นในเรื่องยังมีน้อยมาก จนบางตัวเหมือนหล่นหายจนเกือบลืมไปเลย หรือในหลายๆ จังหวะที่เหมือนจะมีอะไรลึกๆ เกี่ยวกับตัวละครนั้นๆ แต่ก็หยุดอยู่แค่ตรงนั้น ไม่ได้คลี่คลายให้กับคนดู รวมทั้งการดำดิ่งไปที่เบื้องลึกในใจของทาคุมิที่เหมือนน่าจะแสดงออกมาได้มากกว่านี้ แต่จนถึงตอนจบคนดูก็ยังไม่รู้สึกว่าเขาเอ็นจอยกับชีวิตจินเมงฉิสักเท่าไร

 

 

ด้านการแสดงก็เรียกว่าทำหน้าที่ได้ดีทุกคน ทั้งตัวละครหลักอย่าง โก อายาโนะ กับบทบาททาคุมิ สามารถวางคาแรกเตอร์ความขัดแย้งภายในของเขาออกมาได้ดีผ่านท่าทีสุภาพที่ใช้ในการต้มตุ๋น แต่ก็มีความฉงนสงสัยในใจตลอดเวลา เอตสึชิ โทโยคาวะ กับบทบาทแฮร์ริสัน แม้บางครั้งจะเหมือนนายแบบโฆษณาวิสกี้ไปหน่อย แต่ก็ดูน่าขนลุกจากความเย็นชา เดาใจยาก และความโหดเกินพิกัด ส่วน ปิแอร์ ทากิ ก็มีส่วนผสมของนักเลงรุ่นพ่อที่มีความปากร้ายใจดีอยู่เบาๆ คาซึกิ คิตามูระ กับบทบาททาเคชิตะก็คือกุ๊ยหางแถว กักขฬะ จนคนดูแอบสะใจเมื่อได้เห็นจุดจบของเขา และ โคจิ ยามาโมโตะ กับการถ่ายทอดพลังความน่ารำคาญของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ในบทบาทอาโอยากิ ที่ทั้งน่าสงสารและน่าหมั่นไส้ในเวลาเดียวกัน ส่วนด้านอ่อนนุ่มแทบจะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวของเรื่องก็คือเอไลซา อิเคดะ กับความสวยสดใส ขณะเดียวกันก็มีความแอ็กชันนิดๆ เข้าคู่ไปกับ คุณลุงลิลลี แฟรงกี กับเส้นเรื่องที่หยอดความคอเมดี้เข้ามาหน่อยๆ ในช่วงแรก ทำให้เนื้อหาโดยรวมไม่เครียดจนเกินไป 

 

โดยรวม Tokyo Swindlers เป็นซีรีส์ชวนติดตามที่มีเรื่องให้ได้ลุ้นแบบถี่ๆ แต่ก็ค่อนข้างเป็นสูตรสำเร็จจนคาดเดาได้ในบางช่วง อย่างไรก็ดี ระยะเวลา 7 ชั่วโมงที่เสียไปก็ไม่เสียเปล่า รับรองว่าได้ความบันเทิงกลับมาแน่นอน

The post Tokyo Swindlers แผนหลอกลวงครั้งประวัติศาสตร์และด้านมืดของนักต้มตุ๋น appeared first on THE STANDARD.

]]>
Yu Yu Hakusho ซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันจากมังงะเรื่องเยี่ยม พร้อมเข้าฉาย 14 ธ.ค. นี้ ทาง Netflix https://thestandard.co/yu-yu-hakusho-live-action-netflix/ Sat, 11 Nov 2023 03:37:34 +0000 https://thestandard.co/?p=864619 คนเก่งฟ้าประทาน Live Action

Yu Yu Hakusho คนเก่งฟ้าประทาน ซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันเรื่องให […]

The post Yu Yu Hakusho ซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันจากมังงะเรื่องเยี่ยม พร้อมเข้าฉาย 14 ธ.ค. นี้ ทาง Netflix appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนเก่งฟ้าประทาน Live Action

Yu Yu Hakusho คนเก่งฟ้าประทาน ซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันเรื่องใหม่จาก Netflix ที่ดัดแปลงมาจากมังงะเรื่องเยี่ยมในชื่อเดียวกันของ โยชิฮิโระ โทงาชิ ได้มีการเผยตัวอย่างแรกที่โชว์ฉากแอ็กชันเท่ๆ ของเหล่าตัวละครที่ผู้ชมหลงรักแบบสั้นๆ รวมถึงฉากการใช้ ‘กระสุนพลังวิญญาณ’ ของยูสึเกะ และโฉมแรกของตัวร้ายหลักอย่างพี่น้องโทคุโร่ โดยซีรีส์มีกำหนดฉายวันที่ 14 ธันวาคมนี้  

 

คนเก่งฟ้าประทาน Live Action

 

สำหรับ Yu Yu Hakusho คือมังงะเรื่องเยี่ยมจากปลายปากกาของ โยชิฮิโระ โทงาชิ เจ้าของผลงานอย่าง Hunter X Hunter ที่ออกตีพิมพ์ในปี 1990-1994 บนนิตยสาร Weekly Shōnen Jump และได้ออกตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่มทั้งหมด 19 เล่มจบ ก่อนที่จะได้รับการดัดแปลงเป็นฉบับอนิเมะซีรีส์ในปี 1992 

 

Yu Yu Hakusho ว่าด้วยเรื่องราวของ ยูสึเกะ เด็กหนุ่มจอมเกเรที่เข้าไปช่วยเหลือเด็กคนหนึ่งจนถูกรถชนเสียชีวิต กระทั่ง โคเอ็นมะ ลูกของผู้ปกครองยมโลก ได้ยื่นข้อเสนอว่าจะชุบชีวิตให้กับยูสึเกะ โดยแลกกับการที่เขาต้องเป็นนักสืบโลกวิญญาณเพื่อปราบเหล่าปีศาจบนโลกมนุษย์ 

 

คนเก่งฟ้าประทาน Live Action

 

ซีรีส์จะได้ โช สึคิคาวะ จาก Let Me Eat Your Pancreas (2017) และ The 100th Love with You (2017) มานั่งแท่นผู้กำกับ และ อากิระ โมริอิ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของซีรีส์ไลฟ์แอ็กชัน Alice in Borderland (2020) มาดูแลในตำแหน่งโปรดิวเซอร์

 

เสริมทัพด้วยนักแสดงมากฝีมือที่จะมาสวมบทบาทเป็นตัวละครที่แฟนๆ หลงรัก นำโดย ทาคุมิ คิตามุระ จาก Let Me Eat Your Pancreas มารับบทเป็น ยูสึเกะ พระเอกของเรื่อง พร้อมด้วย จุน ชิซง จาก High & Low The Worst (2019) มาสวมบทเป็น คุราม่า, ทานากะ ฮอนโก จาก The Prince of Tennis (2006) รับบทเป็น ฮิเอ และ ชูเฮย์ อุเอสึกิ จาก Our 30 Minute Sessions (2020) มารับบทเป็น คุวาบาระ

 

รับชมตัวอย่างได้ที่: www.youtube.com/watch?v=lSShaOmUflQ 

 

 

อ้างอิง:

The post Yu Yu Hakusho ซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันจากมังงะเรื่องเยี่ยม พร้อมเข้าฉาย 14 ธ.ค. นี้ ทาง Netflix appeared first on THE STANDARD.

]]>
Burn the House Down ซีรีส์ล้างแค้นรสวาซาบิ เผ็ดอยู่หรอกนะแต่ไม่อูมามิ https://thestandard.co/opinion-burn-the-house-down/ Thu, 20 Jul 2023 11:09:51 +0000 https://thestandard.co/?p=819879

หมายเหตุ: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ Burn […]

The post Burn the House Down ซีรีส์ล้างแค้นรสวาซาบิ เผ็ดอยู่หรอกนะแต่ไม่อูมามิ appeared first on THE STANDARD.

]]>

หมายเหตุ: บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์ Burn the House Down

 

 

 

อาจเป็นเพราะบรรยากาศหรือสภาพของสังคมในปัจจุบัน ทำให้ช่วงนี้มีซีรีส์และละครแนวล้างแค้นออกมาให้ดูกันอยู่เรื่อยๆ ไล่มาตั้งแต่ The Glory มาจนถึง Celebrity ซึ่งก็เข้าข่ายการเอาคืนด้วยเหมือนกัน ส่วนฝั่งไทยก็มีละครเรื่อง แค้น ที่กำลังออกอากาศอยู่ และเมื่อเร็วๆ นี้ Netflix ก็แนะนำซีรีส์ล้างแค้นรสชาติใหม่สัญชาติญี่ปุ่นเรื่อง Burn the House Down ที่ตอนนี้ไต่ระดับความนิยมมาอยู่ระดับต้นๆ ซีรีส์ที่มีคนดูมากที่สุดในไทย 

 

 

Burn the House Down สร้างจากมังงะชื่อเดียวกัน ว่าด้วยเรื่องราวของ อันซึ มุราตะ เด็กสาวที่เกิดในครอบครัวร่ำรวย มีคุณพ่อเป็นหมอและผู้บริหารโรงพยาบาลชื่อดัง แต่แล้ววันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ทุกคนเชื่อว่าเป็นเพราะความประมาทของคุณแม่ของเธอ ต่อจากนั้นไม่นานพ่อแม่ของอันซึก็แยกทางกัน แม่ของเธอต้องทุกข์ทรมานจากความรู้สึกผิด และมีอาการความจำเสื่อม ส่วนพ่อไปแต่งงานใหม่กับ มากิโกะ มิตาราอิ แม่ม่ายลูกติดที่เป็นเพื่อนสนิทของแม่ ทำให้อันซึ น้องสาว และแม่ต้องระเห็จออกจากบ้านไป โดยที่อันซึเชื่อเสมอว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ไฟไหม้ครั้งนั้นคือมากิโกะ

 

เวลาผ่านไป 13 ปี อันซึกลับไปที่บ้านมิตาราอิอีกครั้ง พร้อมตัวตนใหม่ในฐานะพนักงานทำความสะอาด ในวันนี้มากิโกะกลายเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์และนางแบบชื่อดังด้วยการก๊อบปี้ภาพลักษณ์และไลฟ์สไตล์ของแม่เธอ โดยต้องให้อันซึคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ในขณะเดียวกันอันซึก็ปฏิบัติการสืบความลับในบ้านหลังนั้น จนได้พบกับอดีตคนรักคือ คิอิจิ ลูกติดของมากิโกะ ทว่าปัจจุบันเขากลายเป็นคนเก็บตัวอยู่ในห้องมาร่วม 10 ปี ความซับซ้อนเรื่องความสัมพันธ์ยังไม่จบอยู่แค่นั้น เมื่อยูซึน้องสาวของอันซึก็กำลังสานสัมพันธ์กับชินจิน้องชายของคิอิจิอยู่ด้วยเหมือนกัน ซึ่งความสัมพันธ์ของทุกคนจะจบลงอย่างไร และใครเป็นมือวางเพลิงตัวจริง ต้องไปติดตามในซีรีส์

 

 

อ่านจากเรื่องย่อก็ต้องบอกว่า Burn the House Down ครบถ้วนองค์ประกอบความแซ่บสำหรับคอซีรีส์แนวนี้ และดึงดูดความอยากรู้อยากเห็นของคนดูด้วยบุคลิกตัวละครอันแปลกประหลาด รวมทั้งความร้ายกาจของนางร้าย ในขณะเดียวกันเนื้อเรื่องก็เต็มไปด้วยคำถามและจุดบกพร่องหลายอย่าง จนขาดความกลมกล่อมอูมามิอย่างที่ซีรีส์แนวล้างแค้นควรจะมี 

 

อย่างแรกเลยคือเหตุการณ์ไฟไหม้ที่ชวนให้ตั้งคำถามว่า ครอบครัวของอันซึมีความสัมพันธ์อย่างไร จริงอยู่ที่เหตุการณ์นี้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ต้องลงท้ายถึงขั้นเลิกรากันเชียวหรือ แม้ในตอนท้ายๆ ของซีรีส์จะพยายามหาเหตุผลว่าแม่ของอันซึก็ไม่ได้มีความสุขกับครอบครัวฝั่งสามีสักเท่าไร แต่ก็ไม่มีเหตุผลมากพอที่จะต้องยอมหอบลูกไปลำบากข้างนอก ความเอ๋….(สำเนียงรายการญี่ปุ่น) ยังไม่จบอยู่แค่นั้น เพราะแม้แต่พ่อก็ยังจำอันซึไม่ได้ และถึงจะเลวร้ายแค่ไหนตลอดระยะเวลา 13 ปีจะไม่ได้ติดต่อกับลูกๆ เชียวหรือ ยังไม่นับรวมการก้าวเข้าไปเป็นเมียใหม่ของพ่อ และสมาชิกตระกูลมิตาราอิของมากิโกะ ก็ไม่ได้มีการปูเรื่องราวอย่างที่ควรจะเป็น 

 

 

ส่วนต่อมาคือการวางบุคลิกตัวละครขาดมิติ โดยเฉพาะมากิโกะ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเดินเรื่องที่ออกจะเป็นนางร้ายแบบดาดๆ คือผู้หญิงทะเยอทะยาน ฐานะยากจน และขาดคุณสมบัติที่ดีของผู้หญิงญี่ปุ่นคือความเป็นแม่บ้านรักสะอาด ทำอาหารอร่อย แต่ขยันสร้างภาพเพื่อชื่อเสียง จนแทบหาข้อดีไม่ได้เลย ทั้งที่ซีรีส์สามารถขยี้ได้มากกว่านี้ เพราะการที่ใครสักคนจะขโมยชีวิตของผู้หญิงอีกคนคงต้องอาศัยความซับซ้อนของบุคลิกมากพอสมควร ส่วนตัวละครพ่อของอันซึก็ดูเป็นคนหัวอ่อนจนไร้เหตุผล จริงอยู่ที่ซีรีส์พยายามปูพื้นฐานว่าเป็นผู้ชายที่อยู่ภายใต้เงาผู้หญิงซึ่งก็คือบรรดาพี่สาว รวมทั้งเมียใหม่ แต่ถึงขั้นไม่รู้จักผิดชอบชั่วดีจุดนี้ก็ทำให้รู้สึกไม่อินได้เหมือนกัน

 

ในส่วนของความสัมพันธ์ตัวละครก็ออกมาค่อนข้างงง ทั้งคิอิจิกับแม่ที่ตอนเริ่มต้นเรื่องนำเสนอออกมาน่าติดตาม ในประเด็นความขัดแย้งจนทำให้คิอิจิเกลียดแม่และเก็บตัวอยู่ในห้อง ซึ่งทางฝั่งแม่ก็ดูพออกพอใจกับความสัมพันธ์รูปแบบนี้ และมีบางฉากที่ดูสะใจในความผิดปกติของลูกชาย ก่อนมาเฉลยในตอนท้ายว่าเป็นไปเพราะความรัก จนอาจทำให้คนดูอดสงสัยไม่ได้ว่า ‘ความสะใจ’ ตอนต้นเรื่องมันคืออะไร และมาได้อย่างไร 

 

 

ความจริงแล้วมีหลายๆ ส่วนที่บทสามารถทำให้มีความซับซ้อนมากกว่านี้ แต่ก็เหมือนจะพอใจพูดถึงเพียงผิวๆ ทั้งซีนการแก้แค้นจากบุคคลที่คาดไม่ถึง รวมทั้งการเฉลยมือวางเพลิงตัวจริงก็ดูขาดเหตุผลสนับสนุนว่าเพราะอะไรถึงยอมเก็บเรื่องนี้เป็นความลับทั้งที่ทำลายชีวิตคนที่รักไปต่อหน้าต่อตาได้ถึง 13 ปี อาจเพราะซีรีส์ตั้งใจขมวดจบทุกอย่างในสองตอนสุดท้าย และกลัวคนดูไม่เซอร์ไพรส์จนมองข้ามรายละเอียดระหว่างทางอย่างน่าเสียดาย

 

นอกจากการเขียนบทและบุคลิกตัวละคร ปัญหาอีกอย่างคือลักษณะการแสดงโอเวอร์แอ็กติ้งแบบญี่ปุ่นโดยเฉพาะเมื่อมาอยู่ในซีรีส์ล้างแค้นแล้ว บางซีนกลายเป็นดูตลกมากกว่าสะใจ ซึ่งไม่ได้หมายถึงฉากตบตี แต่คือความเหนือชั้นทั้งการวางแผนและจิตวิทยาต่างๆ จนคิดว่าซีรีส์แนวนี้อาจไม่ใช่ทางของญี่ปุ่น (อย่างน้อยๆ ก็ในซีรีส์เรื่องนี้) เท่ากับประเทศกินรสจัดอย่างเกาหลีและไทย

 

โดยภาพรวม Burn the House Down คือซีรีส์ล้างแค้นรสชาติกลางๆ ที่ถ้าหากคุณผ่าน The Glory, Celebrity และ แค้น มาแล้ว ก็อาจแค่รู้สึกแสบๆ คันๆ แต่ถ้าหวังความมัน สะใจ แบบเกาะติดหน้าจอ Burn the House Down คงไม่เหมาะกับคุณ 

The post Burn the House Down ซีรีส์ล้างแค้นรสวาซาบิ เผ็ดอยู่หรอกนะแต่ไม่อูมามิ appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Makanai: Cooking for the Maiko House ชวนมองไมโกะและเกอิชาในฐานะมนุษย์มากกว่ามรดกทางวัฒนธรรม https://thestandard.co/the-makanai-cooking-for-the-maiko-house-2/ Tue, 17 Jan 2023 11:09:15 +0000 https://thestandard.co/?p=738476

The Makanai: Cooking for the Maiko House คือซีรีส์จำนวน […]

The post The Makanai: Cooking for the Maiko House ชวนมองไมโกะและเกอิชาในฐานะมนุษย์มากกว่ามรดกทางวัฒนธรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>

The Makanai: Cooking for the Maiko House คือซีรีส์จำนวน 9 ตอน ที่เพิ่งสตรีมทาง Netflix ไปเมื่อวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา ความน่าสนใจคือเรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับและเขียนบทของ ฮิโรคาสุ โคเรเอดะ ผู้กำกับเจ้าของรางวัลจากเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ทั้ง Like Father, Like Son (Jury Prize 2013) และ Shoplifters (Palme d’Or 2018) คราวนี้เขาหันมาสนใจเรื่องราวในโลกที่เหมือนอยู่ในไทม์แคปซูลของไมโกะและเกอิโกะหรือเกอิชา (สำเนียงคันไซเรียกกว่าเกอิโกะ ส่วนคันโตเรียกว่าเกอิชา) ในขณะเดียวกันก็แก้ไขความเข้าใจผิดๆ ที่คนทั้งโลกได้รับผ่านสื่อเกี่ยวกับอาชีพนี้ด้วย

 

 

เกอิชาและไมโกะ เป็นอาชีพที่มีมาตั้งแต่ปี 1600 โดยในปี 1920 เคยมีผู้ประกอบอาชีพนี้มากถึง 80,000 คน และค่อยๆ ลดจำนวนลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันในญี่ปุ่นมีเกอิชาน้อยกว่า 1,000 คน มีความเข้าใจผิดๆ ว่าเกอิชาคืออาชีพขายบริการ แต่ความจริงแล้วเกอิชาคือผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ ทำหน้าที่มอบความบันเทิงผ่านการร่ายรำ ขับร้อง เล่นดนตรี หรือชวนคุยสร้างความครึกครื้นให้กับแขก

 

ในปี 1997 Sayuri: Memoirs of a Geisha นวนิยายของ Arthur Golden ได้รับการตีพิมพ์ และถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 2005 ด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเพศและเรื่องราวดราม่าความยากจนของเด็กสาวที่ถูกขายมาเป็นเกอิชา ยิ่งตอกย้ำความเข้าใจผิดๆ จนมีการรายงานกรณีการล่วงละเมิดจากนักท่องเที่ยวที่ต้องการถ่ายรูป กระตุ้นให้เขตบังคับใช้คำสั่งห้ามถ่ายภาพในปี 2019

 

 

สำหรับ The Makanai: Cooking for the Maiko House สร้างจากมังงะขายดีของ ไอโกะ โคยามะ (Aiko Koyama) ในชื่อ Maiko-san chi no Makanai-san ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2016 ได้รับรางวัล Shogakukan Manga Award ในปี 2020 และถูกยกย่องว่าเป็นหนึ่งในมังงะที่ดีที่สุดตลอดกาลของญี่ปุ่น มียอดขายมากกว่า 2.7 ล้านเล่ม และดัดแปลงเป็นซีรีส์อนิเมะ ออกอากาศทาง NHK World ในปี 2021 ว่าด้วยเรื่องราวของสองเพื่อนซี้ คิโยะ และ สุมิเระ วัยรุ่นอายุ 16 ปี จากอาโอโมริทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ตัดสินใจลงใต้มาที่เกียวโตเพื่อตามความฝันเป็นการไมโกะ (เกอิชาฝึกหัด) แต่ด้วยบุคลิกและความสามารถของคิโยะไม่มีแววที่จะเป็นไมโกะได้ แตกต่างจากสุมิเระที่ฉายแววโดดเด่นในอาชีพนี้ คิโยะตัดสินผันตัวเองเป็นคนทำอาหารในบ้านไมโกะหรือ มาคาไน (Makanai) กลายเป็นเรื่องราวในซีรีส์ที่ทำให้เราเห็นชีวิตของไมโกะและเกอิชาแบบร่วมสมัย

 

 

แม้จะอยู่กับศิลปวัฒนธรรมแบบเก่า แต่เรื่องราวในซีรีส์ก็ทำให้เห็นว่าโลกของไมโกะและเกอิชาไม่ได้ถูกตัดขาดจากโลกปัจจุบันเสียทีเดียว อย่างที่ได้เห็น ‘คุณแม่ประจำบ้าน’ ผู้เป็นแฟนคลับตัวยงของ ฮยอนบิน นักแสดงเกาหลีใต้ ก็ทำให้รู้ได้ว่าวัฒนธรรมป๊อปสอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำของพวกเธอไม่ต่างกัน นอกจากนี้ซีรีส์ในแต่ละตอนยังค่อยๆ ไขข้อสงสัยต่างๆ ของคนนอกเกี่ยวกับอาชีพนี้ ทั้งในเรื่องการก้าวเข้าสู่อาชีพไมโกะและเกอิชาที่ไม่จำเป็นต้องมีฐานะยากจน แต่ก็อาจจะเป็นความฝันของเด็กสาวได้เหมือนกัน

 

อย่างไรก็ตาม ชีวิตของไมโกะฝึกหัดก็เต็มไปด้วยกฎระเบียบและข้อจำกัดที่ไม่สอดรับกับการใช้ชีวิตสมัยใหม่ อย่างเช่นเรื่องการใช้โทรศัพท์มือถือ การวางตัว แค่การเดินเข้าร้านสะดวกซื้อก็อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนที่คิดจะเดินสายนี้ รวมทั้งเรื่องของทรงผมที่ต้องเป็นอยู่อย่างนั้น 6 วันต่อสัปดาห์ นำมาซึ่งความยากลำบากในการใช้ชีวิตเช่นการนอน (ไมโกะต้องเกล้าผมจริงเมื่อเลื่อนขั้นเป็นเกอิชาจึงจะสามารถใส่วิกผมได้) จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัจจุบันเด็กสาวน้อยคนที่อยากจะก้าวเข้าสู่การเป็นไมโกะและเกอิชา

 

 

ว่าไปแล้วอีกหนึ่งความสำเร็จของ The Makanai: Cooking for the Maiko House คือการพูดถึงความสัมพันธ์อันอบอุ่นหัวใจระหว่างเพื่อนสาว ผ่านตัวละครคิโยะและสุมิเระ โดยเฉพาะตัวละครคิโยะที่สะท้อนความเป็นรองต่อเพื่อนแทบจะทุกกรณี แต่ถึงอย่างนั้นชีวิตของเธอก็ใช่ว่าจะไม่มีความสุข เพราะบางทีความฝันของคนเราคือแค่ได้ทำเรื่องเล็กๆ แต่มีความหมายก็ได้เหมือนกัน ซึ่งทั้งหมดปิดท้ายด้วยประโยคสุดประทับใจจากคุณยายของคิโยะที่บอกว่า “ทุกคนต้องเลือกว่าจะมีชีวิตแบบไหน… จะเป็นคนเดินทางหรือคนไปส่ง มันไม่ได้แปลว่าแบบไหนดีหรือไม่ดีสักหน่อย”

 

 

โดยภาพรวม The Makanai: Cooking for the Maiko House เหมาะกับคนที่ชอบซีรีส์แนวเรียบๆ เรื่อยๆ สไตล์ญี่ปุ่น ยิ่งเมื่อผนวกเข้ากับสไตล์ของผู้กำกับแล้วก็อาจจะไม่ค่อยมีอะไรหวือหวามากนัก และแม้ว่าชื่อไทยคือ แม่ครัวบ้านแห่งไมโกะ แต่เนื้อหาก็ไม่ได้ให้ความสำคัญถึงวิธีการทำและศาสตร์อาหารสักเท่าไร อย่างไรก็ดี เรื่องนี้มีความน่าสนใจในแง่ของการให้ข้อมูลเกี่ยวกับไมโกะและเกอิชา เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่น่าสนใจจาก Netflix ในเดือนนี้

 

อ้างอิง:

The post The Makanai: Cooking for the Maiko House ชวนมองไมโกะและเกอิชาในฐานะมนุษย์มากกว่ามรดกทางวัฒนธรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
Alice in Borderland 2 เกมท้าตายค้นหาคำตอบ ‘เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกัน?’ https://thestandard.co/alice-in-borderland-2-3/ Wed, 21 Dec 2022 23:00:32 +0000 https://thestandard.co/?p=722483

Alice in Borderland 2 ออริจินัลซีรีส์ญี่ปุ่นจาก Netflix […]

The post Alice in Borderland 2 เกมท้าตายค้นหาคำตอบ ‘เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกัน?’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

Alice in Borderland 2 ออริจินัลซีรีส์ญี่ปุ่นจาก Netflix เตรียมเข้าฉายวันที่ 22 ธันวาคมนี้ สานต่อเกมชีวิตที่ต้องลุ้นว่า อะริสุและอุซางิ สองตัวละครหลักจะเก็บไอเท็ม คว่ำด่านบอส เอาชนะเกมสุดท้าย เพื่อไขปริศนาดินแดนมรณะแห่งนี้ได้สำเร็จหรือไม่ เมื่อโตเกียวทั้งเมืองกลายเป็นป่า และผู้คนทั้งเมืองหายตัวไปอย่างลึกลับ เหลือเพียงพวกเขาที่ต้องเอาชีวิตรอด!

 

ปลายปี 2020 เราเคยหลงไปในดินแดนสุดแฟนตาซีเพื่อเล่นเกมเอาชีวิตรอดกับ Alice in Borderland 1 พร้อมกับฉากจบที่สุดแสนจะค้างคาใจ จนต้องมาต่อกันใน Alice in Borderland 2 ที่จะออกอากาศในวันที่ 22 ธันวาคมที่จะถึงนี้ และอย่างที่ใครหลายคนได้รับชมกันแล้ว ซีรีส์เรื่องนี้มาพร้อมคำถามที่ตัวละครพยายามหาคำตอบ ขณะเดียวกันก็เหมือนโยนให้คนดูร่วมด้วยช่วยตอบ ‘ถ้าเลือกได้ จะหนีไปจากโลกใบนี้ไหม และถ้าต้องอยู่ในโลกเสมือนที่เหมือนได้เริ่มต้นใหม่ เราจะเลือกอยู่ในนั้นตลอดไปหรือไม่’ ไปจนถึงคำถามที่สำคัญมากๆ นั่นคือ ‘เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกัน’

 

ในซีรีส์ Alice in Borderland 2 อะริสุและอุซางิออกเดินทางไปยังสถานที่แห่งหนึ่งที่ทั้งคู่เชื่อว่าจะได้เจอกุญแจที่จะไขปริศนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่มาที่ไปของดินแดนมรณะหรือตัวจริงของผู้ที่อยู่เบื้องหลังเกม พร้อมกับการเอาชนะเกมไพ่แจ็ค แหม่ม คิง ที่เป็นด่านท้ายๆ ในลูปเกมมรณะ เพื่อหาคำตอบว่า “ถ้าเราเอาชนะได้ทุกเกม เราจะกลับไปยังโลกที่แท้จริงได้ไหม” 

 

**บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์**

 

 

อะไรคือโลกใบเก่า-โลกใบใหม่ อะไรคือความจริงที่จริงแท้?

Alice in Borderland เลือกใช้ความหมายของเรียลิตี้มาสับขาหลอกคนดูรวมถึงคนในเกม ด้วยการสร้างโลกเสมือนที่เหมือนทุกอย่างให้กลายเป็นสถานที่แข่งขันเกมที่มีชีวิตเป็นเดิมพัน นอกจากนี้ยังแฟนตาซีด้วยการมีผู้ควบคุมเกมที่ชัดเจน พร้อมทั้งเทคโนโลยีในการจัดการอย่างล้ำสมัย จนคล้ายกับว่ากำลังหลงอยู่ในความจริงเสมือน หรือ Virtual Reality ในรูปแบบหนึ่ง

 

นั่นทำให้เหล่าผู้เข้าแข่งขันพบกับความสงสัยว่า โลกใบเก่าหรือโลกแห่งความเป็นจริงของพวกเขานั้นใช่ความจริงแท้หรือไม่ และถ้ามีจริง มันคือช่วงเวลาในอดีตแสนไกลหรืออยู่ในอนาคตอันไกลโพ้น 

 

ซีรีส์ทำให้เราคาดเดาว่าชุดความจริงที่เกิดขึ้นใน Alice in Borderland รวมถึงเบื้องหลังของเกมต่างๆ นั้นคืออะไรกันแน่ เพราะถ้าวิเคราะห์จากซีรีส์ละแวกใกล้เคียงที่ออกอากาศไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Squid Game, 1899, Manifest, Westworld, Severance ต่างก็มีคำตอบของความจริง การเกิดขึ้น และการมีอยู่ของมันไปในรูปแบบต่างๆ กัน นั่นยิ่งท้าทายว่าในท้ายที่สุดแล้ว Alice in Borderland จะนำมาเรื่องราวไปที่จุดสิ้นสุดแบบไหน โลกของเกมมรณะคืออะไร และใครอยู่เบื้องหลังกันแน่

 

แต่ถึงอย่างนั้นเมสเสจสำคัญที่ Alice in Borderland ต้องการบอกผ่านตัวละคร เพื่อส่งต่อไปยังหนุ่ม-สาวที่กำลังดู ‘ชุดความจริง’ นี้อยู่ ก็คือโลกใบไหนๆ ก็ตามต่างมีปัญหาและความทุกข์ร้อนในรูปแบบของมัน เราหลีกหนีความจริงข้อนี้ไม่ได้ ตัวละครอะริสุเองก็น่าจะเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่แห่งยุคสมัยที่ใช้ชีวิตโดยไม่รู้จุดมุ่งหมาย จนกระทั่งเขาต้องกลายเป็นผู้เข้าแข่งขันเพื่อเอาชีวิตรอด เหตุการณ์มากมายหล่อหลอมเขาจนเข้าใจและอยากมีชีวิตรอดกลับไปยังโลกใบเดิมให้ได้ แม้ว่าเขาจะไม่เคยรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับมันเท่าใดก็ตาม

 

 

*บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์*

 

เกมที่ตั้งคำถามถึงการมีชีวิตอยู่ ทำไม? เพื่ออะไร?

เกมในดินแดนมรณะใช้กฎและกติกาการแข่งขันที่เด็ดขาด เพื่อผู้รอดชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุดในทุกๆ ทาง เกมที่ใช้ใน Alice in Borderland มีทั้งเกมเน้นด้านพละกำลัง ทักษะการต่อสู้, เกมด้านจิตใจที่ต้องใช้จิตวิทยา และทักษะการทำความเข้าใจผู้คน รวมถึงเกมการแข่งขันเป็นทีม ที่ทั้งหมดทั้งมวลก็คือรูปแบบสังคมจำลองของผู้คนบนโลกใบนี้ที่อ่อนแอก็ต้องแพ้ไป

 

การจำลองรูปแบบการใช้ชีวิตสะท้อนผ่านเกมต่างๆ ยิ่งเป็นการคัดกรองผู้เข้าแข่งขันให้เหลือคนที่แข็งแกร่งและฉลาดเฉลียวที่สุดขึ้นกลายเป็นผู้ชนะการแข่งขัน ขึ้นเป็นพลเมืองที่มีอำนาจในการสร้างเกมเอง เปรียบเทียบได้เท่ากับชนชั้นบริหารของเมืองหนึ่ง แต่ถึงอย่างนั้นแม้จะเป็นคนที่เก่งที่สุด รอบด้านที่สุด ก็ใช่ว่าจะคว้าชัยชนะได้ตลอดกาล 

 

อย่างที่เราได้เห็นในอีพีที่อะริสุและอุซางิได้กลับมาพบกันอีกครั้ง การแข่งขันแบบทีม ที่มีการแบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายมีสายคล้องไหล่สีแดงและสีฟ้า สามารถแตะปุ่มเพื่อสลับสีได้ เมื่อเวลาหมด ฝ่ายใดที่มีสมาชิกน้อยกว่าจะเป็นผู้แพ้ ซึ่งเกมนี้ก็เป็นเกมที่ต้องใช้จิตวิทยา เพราะยิ่งเหลือเวลาน้อยและสีใดสีหนึ่งมีจำนวนมากกว่า ก็เป็นไปได้สูงที่สัญชาตญาณจะบอกให้เราเอาตัวรอด ด้วยการอยู่ในสีที่มีจำนวนเยอะกว่าให้ได้

 

การเอาตัวรอดและใช้ชีวิตในดินแดนมรณะเปิดโอกาสให้เราเลือกตัดสินใจได้ตามต้องการ โดยไม่ต้องอิงกับขนบสังคมดั้งเดิม เกมแต่ละเกมจึงเป็นเหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาให้เห็นตัวตนแท้จริงของมนุษย์ที่ทำทุกทางเพื่อเอาตัวรอด หรือในทางกลับกัน เป็นโอกาสแก้ตัวใหม่สำหรับใครที่เคยทำผิดพลาด

 

 

เราทุกคนต่างมีความทรงจำที่อยากลืม 

อย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงเหล่าตัวละครใน Alice in Borderland เข้าไว้ด้วยกันคือปูมหลังของชีวิตที่แสนเจ็บปวด พวกเขาล้วนมีบาดแผลในชีวิตที่ไม่แน่ว่าการได้เข้ามาแข่งขันในเกมท้าตายนี้คือสิ่งที่ลึกๆ แล้วพวกเขารอคอยมาตลอด

 

  • อะริสุ อยู่ในครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ แม้ว่าเขาจะเป็นอัจฉริยะในการเล่นเกม แต่ก็ไม่ได้ทำให้ครอบครัวภูมิใจ เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเป้าหมายในชีวิตคืออะไร จึงทำให้เขาปฏิเสธการไปสัมภาษณ์งาน หรือเพียงแค่จะลุกขึ้นมาแต่งตัวดีๆ ได้อย่างคนทั่วไปในวัยเดียวกัน
  • อุซางิ ลูกสาวของนักปีนเขาที่มีชื่อเสียง ตัวเธอเองรักในการปีนเขา จนวันหนึ่งพ่อของเธอตกเป็นข่าวและกลายเป็นที่พิพากษาของผู้คน ความทุกข์ทำให้พ่อของเธอหายสาบสูญไป และถึงแม้ว่าอุซางิจะแข็งแกร่งขนาดเอาตัวรอดในดินแดนมรณะได้เพียงลำพัง แต่แท้จริงแล้วเธอยังหวังจะได้พบกับพ่ออีกสักครั้ง
  • ชิซิยะ หนุ่มผมสีบลอนด์ที่ดูลึกลับและเจ้าแห่ง Mind Game แท้จริงแล้วเขาคือศัลยแพทย์ที่ต้องชี้เป็นชี้ตายให้กับผู้คน ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต ความรู้สึกชินชาจากการมองความตายของผู้คนที่ผ่านมา ทำให้ชิซิยะเป็นหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันที่ยังคงอยู่รอด
  • คุอินะ ตัดสินใจแยกจากกลุ่มเพื่อนเพื่อไปตามหาเบาะแสบางอย่าง และในฉากที่เธอเดินทางไปถึงโรงพยาบาลที่รกร้างไร้ผู้คน เราก็ได้รู้ว่าสิ่งที่ทำให้เธออยากรอดชีวิตคือความรักของแม่ที่กำลังป่วย และแม้ว่าพ่อจะไม่เคยยอมรับในการเป็นทรานส์เจนเดอร์ของเธอ แต่คุอินะก็ตั้งมั่นว่าจะกลับไปยังโลกใบเก่านั้นให้ได้

 

 

สุดท้ายแล้ว Alice in Borderland ถ้าดูในเชิงความสนุกสนานก็เต็มไปด้วยฉากแอ็กชันสุดระทึกในฉากหลังที่ยากจะจินตนาการ เมื่อโตเกียวทั้งเมืองรกร้างในช่วงพริบตา, ฉากต่อสู้ในท่าเรือที่เต็มไปด้วยคอนเทนเนอร์, ฉากไล่ล่าบนถนนเมืองโตเกียวที่ลุ้นสุดๆ, ฉากการตายอันสุดสยองกับเกมที่ต้องใช้ทั้งสมองและหัวใจ รวมถึงหลายๆ ฉากที่เรียกว่าเต็มที่คุ้มค่าการรอคอย

 

แต่ถึงอย่างนั้นซีรีส์ก็แบ่งสัดส่วนให้กับประเด็นความหมายชีวิตของแต่ละตัวละคร ผ่านการเล่าย้อนอดีตและการบอกเล่าความรู้สึกแก่กัน ทำให้โดยภาพรวม Alice in Borderland กลายเป็นซีรีส์ดูสนุกช่วงปลายปี ที่ขณะเดียวกันก็ได้ทิ้งคำถามและความสงสัยบางอย่างให้เราย้อนกลับมามองถึงชีวิตของตัวเอง

 


บทความที่เกี่ยวข้อง: 


 

ภาพ: Netflix

The post Alice in Borderland 2 เกมท้าตายค้นหาคำตอบ ‘เรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไรกัน?’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Kamen Rider Black Sun มีซับไทยแล้ว! พร้อมให้ชมทาง Prime Video https://thestandard.co/kamen-rider-black-sun-th-sub/ Wed, 30 Nov 2022 05:02:30 +0000 https://thestandard.co/?p=717720

หลังจากปล่อยให้คอโทคุซัทสึรอคอยกันเสียนาน ในที่สุด Prim […]

The post Kamen Rider Black Sun มีซับไทยแล้ว! พร้อมให้ชมทาง Prime Video appeared first on THE STANDARD.

]]>

หลังจากปล่อยให้คอโทคุซัทสึรอคอยกันเสียนาน ในที่สุด Prime Video TH ก็ได้ประกาศว่า Kamen Rider Black Sun ซีรีส์ฉลองครบรอบ 50 ปีของ Kamen Rider มีซับไทยเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่ตัวซีรีส์เริ่มเข้าฉายอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา

 

สำหรับ Kamen Rider Black Sun คือซีรีส์ฉลองครบรอบ 50 ปีของ Kamen Rider ที่หยิบนำซีรีส์สุดคลาสสิกอย่าง Kamen Rider Black (1987) มารีบูทใหม่ โดยบอกเล่าเรื่องราวในยุคสมัยแห่งความโกลาหล เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศให้มนุษย์และมนุษย์ดัดแปลงสามารถอยู่ร่วมกันได้

 

วันหนึ่ง อาโออิ อิซึมิ (โคโคโระ ฮิราซาวะ) หญิงสาวที่ออกมาเรียกร้องความเท่าเทียมให้กับเหล่ามนุษย์ดัดแปลง ได้โคจรมาพบกับ โคทาโร่ มินามิ (ฮิเดโตชิ นิชิจิมะ) หรือ Black Sun ผู้ถูกวางตัวให้เป็นราชาคนต่อไป เรื่องราวความลับของประวัติศาสตร์ 50 ปี และการเผชิญหน้ากันระหว่าง Black Sun และ Shadow Moon (โทโมยะ นากามูระ) จึงเริ่มต้นขึ้น

 

ซีรีส์จะได้ คาซูยะ ชิราอิชิ จาก The Devil’s Path (2013) มานั่งแท่นผู้กำกับ และ อิซูมิ ทากาฮาชิ จาก True Mothers (2020) มารับหน้าที่เขียนบท รวมถึง ชินจิ ฮิงุจิ จาก Shin Godzilla (2016) มาดูแลในส่วนของการออกแบบคอนเซปต์

 

เสริมทัพด้วยทีมนักแสดงมากฝีมือ นำโดย ฮิเดโตชิ นิชิจิมะ จาก Shin Ultraman (2022) มารับบทเป็น โคทาโร่ มินามิ หรือ Black Sun, โทโมยะ นากามูระ จาก The Blood of Wolves (2018) มารับบทเป็น โนบุฮิโกะ อากิซูกิ หรือ Shadow Moon และ โคโคโระ ฮิราซาวะ จาก ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส (2012) มารับบทเป็น อาโออิ อิซึมิ

 

รับชมตัวอย่างฉบับภาษาญี่ปุ่นได้ที่นี่

 

 

 

ภาพ: KR_BLACKSUN / Twitter 

 

อ้างอิง:

The post Kamen Rider Black Sun มีซับไทยแล้ว! พร้อมให้ชมทาง Prime Video appeared first on THE STANDARD.

]]>
First Love ซีรีส์ที่พาเราย้อนกลับไปพบกับรักครั้งแรก และความสุขที่เจ็บปวดชวนแตกสลาย https://thestandard.co/first-love-netflix-2/ Mon, 28 Nov 2022 11:10:44 +0000 https://thestandard.co/?p=716777

เหตุผลที่ซีรีส์ First Love คู่ควรกับการเป็นซีรีส์แห่งยุ […]

The post First Love ซีรีส์ที่พาเราย้อนกลับไปพบกับรักครั้งแรก และความสุขที่เจ็บปวดชวนแตกสลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>

เหตุผลที่ซีรีส์ First Love คู่ควรกับการเป็นซีรีส์แห่งยุคสมัย 90 ไปจนถึงเจนใหม่ยุค 2020 นั่นก็เพราะการพุ่งประเด็นไปที่ ‘ความรักครั้งแรก’ ซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใด เราต่างต้องเคยตื่นเต้น สับสน เจ็บปวด และอบอุ่นในหัวใจ ไม่ต่างกัน

 

 

First Love เป็นเรื่องราวความรักที่ได้แรงบันดาลใจมาจากอัลบั้ม First Love ในปี 1999 ของ อูทาดะ ฮิคารุ เล่าถึงความรักครั้งแรกของชาย-หญิงคู่หนึ่งในช่วงระหว่างปี 1996-2020 จนมาถึงอัลบั้ม Hatsukoi ในปี 2018

 

ยาเอะ โนกูชิ (รับบทโดย ฮิคาริ มิตสึชิมะ) มีความฝันที่จะเป็นแอร์โฮสเตส แต่เธอเกิดอุบัติเหตุขณะที่เข้าใกล้ความฝันนั้น จนทำให้อนาคตเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล นามิกิ ฮารุมิชิ (รับบทโดย ทาเครุ ซาโต้) ที่สนุกสนานกับชีวิต ก็เพิ่งรู้ตัวว่าความฝันของเขาคือการปกป้องคนที่รัก นั่นทำให้เขาไปเรียนต่อเป็นนักบินของกองทัพอากาศญี่ปุ่น แต่สุดท้ายเขาก็บอกลาความฝันนั้นและเริ่มต้นชีวิตใหม่ของตัวเอง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพวกเขาเติบโต ทำให้ความรักครั้งแรกยุติลงในแบบที่ไม่มีใครคาดคิด ทั้งคู่ต่างต้องแยกย้ายกันไปบนเส้นทางเดินของตัวเอง เพื่อกลับมาพบกันอีกครั้ง

 

ความสุขหรือความเจ็บปวด

นามิกิในวัย 30 กว่าปี รับฟังเรื่องราวของ สึซูระ เด็กหนุ่มที่เพิ่งรู้จักความรักครั้งแรก เขาได้แต่ยิ้มแล้วบอกว่า รักครั้งแรกมันเป็นความสุขหรืออาจจะเป็นความสุขจนเจ็บปวดแบบนั่นแหละ 

 

สำหรับความรักแล้วก็เป็นเหมือนคำจำกัดความของทุกความรู้สึกของใจทั้งด้านบวกและด้านลบ ในเวลาที่แสนสุขก็อาจเต็มไปด้วยความสุข ในเวลาที่ทุกข์ก็อดไม่ได้ที่จะเจ็บปวด 

 

เมื่อกล้าที่จะรักก็ต้องยอมรับทุกความเจ็บปวดที่จะตามมา แม้กระทั่งแตกสลาย ดังเช่น ความรู้สึกของนามิกิเมื่อได้รู้ถึงอุบัติเหตุของยาเอะ หรือยาเอะเองที่เพิ่งรู้ความจริงบางอย่างเมื่อเวลาผ่านไปกว่า 20 ปี

 

 

ซีรีส์ที่พาเราย้อนเวลากลับไปจดจำความรักครั้งแรก

First Love เล่าถึงเหตุการณ์ของคู่รักในช่วงเวลาต่างๆ ระหว่างปี 1996-2020 โดยเล่าผ่านนักแสดงสองคู่ที่รับบทนามิกิและยาเอะในช่วงวัยรุ่นและช่วงอายุ 30 ไม่นับรวมเรื่องการตัดสลับระหว่างช่วงเวลาที่ทำได้ดีมาก ก็ต้องยอมรับว่ามีการเลือกนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลานั้นมาประกอบเรื่องราวได้อย่างน่าประทับใจ และไม่ว่าแฟนซีรีส์จะมีความรักครั้งแรกในช่วงเวลาไหน First Love ก็เหมือนไทม์แมชชีนพาเราย้อนกลับไปยังวันเวลาเก่าๆ เหล่านั้น

 

  • ไม่ว่าจะเป็นตอนที่ภาพยนตร์ Titanic เข้าฉาย และกลายเป็นปรากฏการณ์ไปทั่วโลก ใครที่มีความรักในช่วงเวลานั้นไม่น่าพลาดเข้าโรงภาพยนตร์พร้อมกับแฟน จับมือกัน ร้องไห้ด้วยกัน
  • เดตแรกที่ต่างวุ่นวายกับการแต่งตัวให้ดูดีที่สุดกับหัวใจที่เต้นแรงที่สุด
  • จูบแรกที่คงไม่มีใครลืมมันได้ หรืออย่างที่ในซีรีส์ First Love อธิบายว่า “มันเหมือนรสบุหรี่”
  • อาหารที่คนคนนั้นชื่นชอบ ขนมที่เรามักจะกินด้วยกัน 
  • ฟังเพลงโดยใส่หูฟังคนละข้าง
  • การคุยโทรศัพท์บ้านในแบบที่ต้องคอยระวังว่าจะมีคนในบ้านยกหูอีกเครื่องขึ้นมาพอดี
  • หรือกระทั่งการเขียนจดหมายหากันในวันที่อินเทอร์เน็ตยังเดินทางมาไม่ถึง

 

 

ซัปโปโรที่หิมะไม่ละลาย

การเลือกฉากหลังเป็นเมืองซัปโปโร เมืองที่ฤดูหนาวยาวนานซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น ก็นับเป็นความฉลาดเลือก และทำให้ซีรีส์มีความรู้สึกของสีฟ้าที่หม่นเศร้ามากกว่า สะท้อนผ่านการแต่งตัวและของประกอบฉากของยาเอะที่มักเป็นสีฟ้า-น้ำเงิน เช่นเดียวกับสึซูระ ลูกชายของเธอ

 

ฉากสำคัญที่สะท้อนสัญลักษณ์ของการหมุนวน การพบเจอ และการจากพราก คือฉากการขับรถสวนกันไปมาบริเวณวงเวียนกลางเมือง ซึ่งใช้เป็นซีนตัดสลับกับเหตุการณ์ต่างๆ ระหว่างชีวิตของพวกเขา

 

เช่นเดียวกัน ด้วยความที่อยู่ด้านบนของประเทศญี่ปุ่น ซัปโปโรในฤดูหนาวจึงเย็นเยียบที่สุด ฉากที่คู่รักวัยรุ่นสารภาพความในใจกลางหิมะที่ตกอย่างหนักก็ไม่ต่างอะไรกับความรู้สึกที่พวกเขามีให้ต่อกัน โดยไม่สนใจกับอะไรอย่างอื่นที่อยู่รอบตัวอีกแล้ว 

 

ขณะเดียวกันน่าสังเกตว่าในช่วงเวลาความสัมพันธ์วัยรุ่นระหว่างนามิกิและยาเอะมักจะยืนอยู่ในแบ็กกราวด์ฤดูหนาว ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างนามิกิและยาเอะวัยผู้ใหญ่กลับยืนอยู่ในแบ็กกราวด์ฤดูร้อนที่อาจเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง และแม้ฤดูหนาวจะยาวนานเพียงใด ในวันหนึ่งหิมะก็ย่อมละลาย เมื่อฤดูร้อนเดินทางมาถึง

 

 

ถ้าจะมีคำถามว่าซีรีส์ First Love น่าดูไหม คำตอบอย่างสั้นก็ต้องบอกว่ามันดีมาก ส่วนคำตอบขนาดยาวก็คือ ถ้าคุณเคยมีความรักครั้งแรกที่ไม่อาจลืม ซีรีส์เรื่องนี้จะพาเราย้อนกลับไปในความทรงจำเหล่านั้น ไม่ได้เพื่อไปแก้ไขข้อผิดพลาดอะไร แต่ทำให้เรายิ้มกับช่วงเวลาเก่าๆ เหล่านั้นได้อีกครั้ง หรือถ้าคุณเป็นแฟนภาพยนตร์ The Classic, Comrades: Almost a Love Story ก็ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง

 

First Love เป็นออริจินัลซีรีส์ของ Netflix ผลงานการเขียนบทและกำกับโดย ยูริ คันชิคุ ผู้กำกับที่อยู่ในแวดวงภาพยนตร์ สารคดี ซีรีส์ และมิวสิกวิดีโอ มายาวนาน เจ้าของผลงาน Documentary of AKB48: To Be Continued (2011) นำแสดงโดย ฮิคาริ มิตสึชิมะ และ ทาเครุ ซาโต้ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักแสดงที่สวมบทบาทตัวละครได้สมจริงและโดดเด่น

 

ตัวอย่างซีรีส์ First Love

 

 

ภาพ: Netflix

The post First Love ซีรีส์ที่พาเราย้อนกลับไปพบกับรักครั้งแรก และความสุขที่เจ็บปวดชวนแตกสลาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
Yakuza Lover ซีรีส์โรแมนติกแฟนตาซีเกินต้าน เมื่อนักศึกษาสาวเกิดเป็นแฟนกับนายน้อยแก๊งยากูซ่า https://thestandard.co/yakuza-lover/ Sun, 06 Nov 2022 11:53:30 +0000 https://thestandard.co/?p=705009

ดุเด็ดเผ็ดร้อนมากๆ กับซีรีส์ Yakuza Lover (เกิดเป็นแฟนย […]

The post Yakuza Lover ซีรีส์โรแมนติกแฟนตาซีเกินต้าน เมื่อนักศึกษาสาวเกิดเป็นแฟนกับนายน้อยแก๊งยากูซ่า appeared first on THE STANDARD.

]]>

ดุเด็ดเผ็ดร้อนมากๆ กับซีรีส์ Yakuza Lover (เกิดเป็นแฟนยากูซ่า) ที่เปิดตัวตอนแรกก็เต็มไปด้วยฉากวาบหวาม 18+ เมื่อนายน้อยของแก๊งยากูซ่าตกหลุมรักนักศึกษาสาว และเปิดฉากรุกกันแบบไม่ต้องตั้งตัว งานซีรีส์ญี่ปุ่นที่เป็นแฟนมังงะมาก่อนหรือไม่ก็ปลื้มได้ไม่ยาก

 

Yakuza Lover เป็นซีรีส์ที่ดัดแปลงจากมังงะสำหรับผู้ใหญ่ในชื่อเดียวกัน ฉบับการ์ตูนมีชื่อภาษาไทยว่า รักอันตรายกับนายยากูซ่า เขียนเรื่องและวาดโดย อ.โนโซมิ มิโนะ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารรายเดือน Cheese! ของทาง Shogakukan ช่วงปี 2019-2022 และมีฉบับรวมเล่มทั้งหมด 11 เล่มจบ สร้างสถิติยอดขายมากกว่า 4.5 ล้านเล่ม 

 

ซึ่งแม้ Yakuza Lover จะมีความเป็นการ์ตูนตาหวาน 18+ มีพล็อตทวิสต์ที่ว่าด้วยความรักต้องห้ามระหว่างนักศึกษาหญิงกับยากูซ่า แต่เนื้อเรื่องก็ชวนให้ติดตามและพาฝันไปกับความแฟนตาซีในโลกความรักที่ยากจะเกิดขึ้นได้จริง ความนิยมของตัวการ์ตูนทำให้ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีส์ Yakuza Lover เวอร์ชันคนแสดงที่เพิ่งออกอากาศทาง MBS TV เมื่อปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา และเพียงอีพีแรกที่ออกอากาศก็นับว่าเป็นการเปิดตัวที่ดี เรียกกระแสร้อนแรงได้ไม่น้อย

 

 

Yakuza Lover เปิดเรื่องมาด้วยคาแรกเตอร์สุดห้าวหาญของ ยูริ นักศึกษาสาวสวยที่ไม่ยอมอ่อนข้อให้ความไม่ถูกต้อง เธอสู้กลับผู้ชายที่พยายามล่วงเกินโดยไม่ได้คิดว่าเหตุการณ์จะบานปลายใหญ่โต แต่แล้วก็มีนายน้อยแก๊งยากูซ่ามาปรากฏตัวช่วยเหลือเธอและเพื่อนไว้อีกทีหนึ่ง จะเรียกว่ารักแรกพบหรือเปล่าไม่รู้ แต่ยูริก็ไม่อาจลืมนายน้อย โอยะ โทชิโอมิ ได้เลย

 

ความชอบที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและปฏิกิริยาของนายน้อยโอยะ ก็เป็นไปในคอนเซปต์ชาวยากูซ่าที่ว่าความตายอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เมื่อยังมีชีวิตรอดอยู่ก็จงทำทุกอย่างให้ราวกับเป็นครั้งสุดท้าย โอยะจึงโหยหาความรักอย่างมาก สถานการณ์การพบกันระหว่างพวกเขาจึงอยู่เหนือความปกติธรรมดาของชายหนุ่ม-หญิงสาว ถึงอย่างนั้นยูริเองรู้ตัวดีว่าต้องหักห้ามความรู้สึก และก้าวกลับไปยังโลกนักศึกษาตามปกติของเธอ 

 

แต่เมื่อไม่ได้รับข่าวคราวของเขานานนับเดือน ยูริก็รู้แล้วว่าจะเป็นตายร้ายดีอย่างไร คนรอบข้างจะมองว่าอย่างไร เธอก็พร้อมจะเป็นผู้หญิงที่อยู่เคียงข้างเขา ไม่ว่าจะมีเวลาอยู่ด้วยกันมากน้อยเท่าไรก็ตาม

 

“ทั้งที่รู้ว่าไม่ควรยุ่งเกี่ยว แต่ฉันก็คว้ามือเขาไปแล้ว” – ยูริ

 

Yakuza Lover มีทั้งฉากชวนฝันเชิง 18+ และฉากชีวิตของตัวละครทั้งสองที่เหมือนอยู่กันคนละโลก เท่าที่เปิดอีพี 1 มาเป็นเพียงการปูทางไปสู่ความวุ่นวายระหว่างยูริและนายน้อยโอยะที่กำลังจะตามมา ทั้งครอบครัวยากูซ่า คู่อริ และคนรอบตัวยูริเองที่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของเธอ

 

 

นักแสดงที่รับบทนำของ Yakuza Lover เป็นหน้าที่ของ ยูได ฟุรุกาวะ และ ฟูมิกะ บาบา

 

ยูได ฟุรุกาวะ รับบทเป็น โอยะ โทชิโอมิ 

นายน้อยหัวหน้าแก๊งโอยะ สุภาพ นุ่มนวล แต่ในโลกยากูซ่าเป็นคนยิ่งใหญ่ขนาดว่าไม่มีใครกล้าหือ เขาหลงเสน่ห์ความเด็ดเดี่ยวของยูริ และหลงรักเธอหัวปักหัวปำ

 

ฟูมิกะ บาบา รับบทเป็น ยูริ 

นักศึกษาสาวที่ชอบเอาชนะ รักความยุติธรรม รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร รู้สึกอย่างไร ตอนที่เกิดเหตุโอยะถูกลอบยิง และเธอตัดสินใจแล้วว่าจะเป็น ‘คนรักของยากูซ่า’

 

Yakuza Loverเกิดเป็นแฟนยากูซ่า กำกับโดย สมิธ, เคนจิโร สึบาคิโมโตะ และ ฮิโรโตะ ทัตซูกะ เขียนบทซีรีส์โดย โซรามิ ดาเตะ นำแสดงโดย ยูได ฟุรุกาวะ และ ฟูมิกะ บาบา ออกอากาศทาง MBS TV สำหรับซับไตเติลภาษาไทยติดตามตอนใหม่ได้ทุกสัปดาห์ทาง Disney+

ตัวอย่างซีรีส์ Yakuza Lover:

 

 

ภาพ: Disney+


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

The post Yakuza Lover ซีรีส์โรแมนติกแฟนตาซีเกินต้าน เมื่อนักศึกษาสาวเกิดเป็นแฟนกับนายน้อยแก๊งยากูซ่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
Alice in Borderland ซีซัน 2 ปล่อยภาพโปรโมตชุดใหม่ เข้าฉาย 22 ธ.ค. นี้ ทาง Netflix https://thestandard.co/alice-in-borderland-ss2-new-photo/ Fri, 04 Nov 2022 08:30:54 +0000 https://thestandard.co/?p=704362

Alice in Borderland อลิสในแดนมรณะ ซีซัน 2 ซีรีส์ไลฟ์แอ็ […]

The post Alice in Borderland ซีซัน 2 ปล่อยภาพโปรโมตชุดใหม่ เข้าฉาย 22 ธ.ค. นี้ ทาง Netflix appeared first on THE STANDARD.

]]>

Alice in Borderland อลิสในแดนมรณะ ซีซัน 2 ซีรีส์ไลฟ์แอ็กชันยอดฮิตจาก Netflix ได้ปล่อยภาพโปรโมตชุดใหม่ พร้อมประกาศวันฉายอย่างเป็นทางการให้ผู้ชมได้ปักหมุดรอ ในวันที่ 22 ธันวาคมนี้ 

 

 

Alice in Borderland ซีซัน 2 จะยังคงได้ทีมนักแสดงชุดเดิมกลับมาร่วมเอาชีวิตรอดอีกครั้ง นำโดย เคนโตะ ยามาซากิ, ทาโอะ ซึชิยะ, นิจิโระ มุราคามิ, อายากะ มิโยชิ, โดริ ซากุราดะ, อายะ อาซาฮินะ, ยูทาโระ วาตานาเบะ, ทสึโยชิ อาเบะ, โช อาโอยากิ และ ริอิสะ นากะ เสริมทัพความเดือดด้วยทีมนักแสดงชุดใหม่ ได้แก่ ยูริ ซึเนมัตสึ, อิโซมูระ ฮายาโตะ, ยามาชิตะ โทโมฮิสะ, โฮนามิ ซาโตะ, ไค อิโนคาวะ และ คัตสึยะ มาอิกูมะ

 

 

สำหรับ Alice in Borderland คือมังงะแนวเอาชีวิตรอดจากปลายปากกาของ ฮาโระ อาโสะ เริ่มออกตีพิมพ์ในปี 2010-2015 บนนิตยสาร Shonen Sunday S ก่อนจะย้ายไปตีพิมพ์ในนิตยสาร Weekly Shonen Sunday ในปี 2015-2016 และตีพิมพ์เป็นฉบับรวมเล่มจำนวน 18 เล่มจบ นอกจากนี้ในปี 2016 อาจารย์ฮาโระยังได้เขียนภาคแยกของมังงะออกมาอีก 2 เรื่อง ได้แก่ Alice on Border Road ในปี 2015-2018 และ Alice in Borderland: Retry ในปี 2020-2021

 

 

ซีรีส์จะบอกเล่าเรื่องราวของ อะริสุ (เคนโตะ ยามาซากิ) ชายหนุ่มตกงานที่จู่ๆ ก็หลงเข้าไปอยู่ใน ‘แดนมรณะ’ ดินแดนปริศนาที่เขาจะต้องเล่นเกมสุดอันตรายเพื่อเอาชีวิตรอดจากสถานที่แห่งนี้ และกลับไปยังโลกความจริง กระทั่งวันหนึ่งอะริสุได้มาพบกับ อุซางิ (ทาโอะ ซึชิยะ) สาวแกร่งที่พยายามไขปริศนาของเกมเพียงลำพัง ทั้งคู่จึงต้องร่วมมือกันเพื่อหาทางออกจากแดนมรณะให้สำเร็จ

 

ภาพ: Netflix

The post Alice in Borderland ซีซัน 2 ปล่อยภาพโปรโมตชุดใหม่ เข้าฉาย 22 ธ.ค. นี้ ทาง Netflix appeared first on THE STANDARD.

]]>