ซอสพริกศรีราชา – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 13 May 2024 05:45:29 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: ‘ซอสพริกศรีราชา’ ในสหรัฐฯ ขาดตลาด ภัยแล้งกระทบสวนพริก | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-13052024-4/ Mon, 13 May 2024 08:00:22 +0000 https://thestandard.co/?p=932739 ‘ซอสพริกศรีราชา’ ในสหรัฐฯ ขาดตลาด ภัยแล้งกระทบสวนพริก | THE STANDARD WEALTH

Huy Fong Foods ผู้ผลิต ‘ซอสพริกศรีราชา’ ในสหรัฐฯ แจ้งหย […]

The post ชมคลิป: ‘ซอสพริกศรีราชา’ ในสหรัฐฯ ขาดตลาด ภัยแล้งกระทบสวนพริก | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ซอสพริกศรีราชา’ ในสหรัฐฯ ขาดตลาด ภัยแล้งกระทบสวนพริก | THE STANDARD WEALTH

Huy Fong Foods ผู้ผลิต ‘ซอสพริกศรีราชา’ ในสหรัฐฯ แจ้งหยุดผลิตชั่วคราวจากปัญหาภัยแล้งที่กระทบการปลูกพริก จนสินค้าขาดตลาดมานานกว่าสัปดาห์

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: ‘ซอสพริกศรีราชา’ ในสหรัฐฯ ขาดตลาด ภัยแล้งกระทบสวนพริก | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
คนอเมริกันอดกิน ‘ซอสพริกศรีราชา’ เพราะขาดตลาด หลัง Huy Fong Foods หยุดผลิตชั่วคราว หลังภัยแล้งกระทบสวนพริกแดง https://thestandard.co/sriracha-chili-sauce-is-in-short-supply/ Fri, 10 May 2024 10:00:40 +0000 https://thestandard.co/?p=932075

ถึงวันนี้ ‘ซอสพริกศรีราชา’ ก็ยังขาดตลาดอยู่ แถมลากยาวมา […]

The post คนอเมริกันอดกิน ‘ซอสพริกศรีราชา’ เพราะขาดตลาด หลัง Huy Fong Foods หยุดผลิตชั่วคราว หลังภัยแล้งกระทบสวนพริกแดง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ถึงวันนี้ ‘ซอสพริกศรีราชา’ ก็ยังขาดตลาดอยู่ แถมลากยาวมากว่า 1 สัปดาห์แล้ว Huy Fong Foods ผู้ผลิตในสหรัฐอเมริกาต้องหยุดผลิตชั่วคราวจากปัญหาภัยแล้ง ทำให้วัตถุดิบพริกไม่เพียงพอ จนสินค้าขนาด 500 ml ที่ขายในออนไลน์ราคาสูงถึง 1,000 บาท

 

Huy Fong Foods ผู้ผลิตซอสพริกในสหรัฐฯ ระบุว่า ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาบริษัทได้ส่งจดหมายหาร้านค้าว่าบริษัทได้หยุดกระบวนการผลิตซอสพริกศรีราชาชั่วคราว เนื่องจากเม็กซิโกเริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตของพริกซึ่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากลดลงไปด้วย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

แน่นอนว่าส่งผลกระทบต่อการผลิตซอสพริก และเราได้พิจารณาแล้วว่าหากนำพริกหยวกมาใช้ผลิตแทนจะส่งผลต่อภาพลักษณ์และสีของผลิตภัณฑ์

 

ทั้งนี้ในทวีปอเมริกาจะมีพริกที่สามารถนำไปทำซอสพริกศรีราชาได้ทั้งหมด 5 สายพันธุ์ กระจายตัวอยู่ในประเทศต่างๆ ตั้งแต่เม็กซิโกไปจนถึงโบลิเวีย ซึ่งพริกเหล่านี้ถูกนำไปใช้ผลิตซอสรสเผ็ดชนิดอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

 

โดยหลังจากซอสพริกศรีราชาขาดตลาด ทำให้ร้านค้าบางรายที่ได้กักตุนสินค้าไว้จำนวนมากนำสินค้ามาขายในราคาสูงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น eBay และ Amazon

 

จากเดิมซอสพริกศรีราชา ขนาด 500 ml จะจำหน่ายในราคาประมาณ 16.75 ดอลลาร์ (614 บาท) แต่เมื่อมาดูที่ราคาขายขวด 500 ml ในปัจจุบันซื้อ 2 ขวดจะอยู่ในราคา 54.49 ดอลลาร์ (2,000 บาท) เฉลี่ยแล้วราคาอยู่ที่ 27 ดอลลาร์ต่อขวด (1,000 บาท) เรียกได้ว่ามีราคาแพงขึ้น 2 เท่า

 

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตซอสพริกในสหรัฐฯ รายดังกล่าวย้ำว่าจะกลับมาเดินสายการผลิตทันทีที่บริหารจัดการวัตถุดิบได้แล้ว ขณะที่ซัพพลายเออร์ก็ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะสามารถจัดส่งสินค้าได้มากน้อยแค่ไหน

 

เรียกได้ว่าสร้างผลกระทบให้ร้านอาหารและผู้บริโภค แม้ในสหรัฐฯ จะมีแบรนด์ซอสพริกหลากหลายแบรนด์

 

แต่แบรนด์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือซอสพริกศรีราชาของ Huy Fong Foods ที่ปกติแล้วจะขายได้ประมาณ 10 ล้านขวดต่อปี

 

อ้างอิง:

The post คนอเมริกันอดกิน ‘ซอสพริกศรีราชา’ เพราะขาดตลาด หลัง Huy Fong Foods หยุดผลิตชั่วคราว หลังภัยแล้งกระทบสวนพริกแดง appeared first on THE STANDARD.

]]>
การขาดแคลน ‘ซอสศรีราชา’ ในอเมริกา ทำให้ราคาขายต่อพุ่งขึ้นจาก 175 บาท เป็น 2,500 บาท จนถูกมองว่ากำเงินไปซื้อหุ้น Coca-Cola, PayPal หรือ Pfizer น่าจะคุ้มกว่า https://thestandard.co/sriracha-shortage-resell-prices/ Wed, 05 Jul 2023 08:40:10 +0000 https://thestandard.co/?p=812689 ซอสศรีราชา

ในขณะที่โลกต้องต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนที่หลากหลายเนื่อ […]

The post การขาดแคลน ‘ซอสศรีราชา’ ในอเมริกา ทำให้ราคาขายต่อพุ่งขึ้นจาก 175 บาท เป็น 2,500 บาท จนถูกมองว่ากำเงินไปซื้อหุ้น Coca-Cola, PayPal หรือ Pfizer น่าจะคุ้มกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซอสศรีราชา

ในขณะที่โลกต้องต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนที่หลากหลายเนื่องจากสถานการณ์โลกที่คาดเดาไม่ได้ การขาดแคลนครั้งใหม่ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น นั่นก็คือ ‘ซอสศรีราชา’ (ในที่นี้คือยี่ห้อ Huy Fong) อันเป็นที่รักของชาวอเมริกันหลายคน

 

Huy Fong Foods ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตได้ต่อสู้กับปัญหาการขาดแคลนพริกอันเป็นวัตถุดิบหลักในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากสภาพอากาศที่รุนแรงซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิต

  


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

เมื่อผลิตได้น้อยลง แต่ความต้องการซื้อกลับพุ่งสูงขึ้น ผลลัพธ์คือการขาดแคลนซอสได้ผลักดันราคาในการขายต่อให้สูงขึ้นในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน

 

บนแพลตฟอร์มออนไลน์ ขวดขนาด 17 ออนซ์ถูกขายในราคา 70 ดอลลาร์ หรือราว 2,500 บาท บน eBay ทั้งที่ปกติมีราคาอยู่ที่ 5 ดอลลาร์ หรือราว 175 บาทเท่านั้น และราคาก็สูงขึ้นไปอีกใน Amazon โดยแพ็กคู่มีราคาสูงถึง 124 ดอลลาร์

 

ราคาที่พุ่งขึ้นเหมือนจรวดที่กำลังบินไปสู่ดวงจันทร์ทำให้เกิดการเปรียบเทียบว่า หากกำเงินไปซื้อหุ้นของบริษัทที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น Coca-Cola, Bank of America หรือ Pfizer จะมีราคาถูกกว่าการซื้อซอสพริกศรีราชาเพียงขวดเดียว

 

ตัวอย่างเช่น ณ ตอนนี้ หุ้นของ Coca-Cola ซื้อขายกันที่ 60.58 ดอลลาร์, Pfizer อยู่ที่ 68.10 ดอลลาร์ และ Bank of America อยู่ที่ 29.2 ดอลลาร์เท่านั้น เหล่านี้ล้วนเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงและมีผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งในตลาดหุ้น

 

แม้นี่จะเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่น่าเป็นไปได้ แต่เป็นการขยายภาพประเด็นที่ว่าราคาของศรีราชาสูงเกินจริงในช่วงที่ขาดแคลนนี้

 

แถมยังสะท้อนหลักการทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ความขาดแคลนของส่วนผสมทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์พุ่งสูงขึ้น จนถึงจุดที่ต้นทุนสูงเกินกว่าราคาหุ้นของบริษัทที่มั่นคงและทำกำไรได้ด้วยซ้ำ 

 

ความผิดปกติของตลาดดังกล่าวเตือนให้เราต้องคำนึงถึงความผันผวนของราคา ทำความเข้าใจปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และตัดสินใจอย่างแม่นยำเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว

 

ภาพ: Justin Sullivan / Getty Images

อ้างอิง:

The post การขาดแคลน ‘ซอสศรีราชา’ ในอเมริกา ทำให้ราคาขายต่อพุ่งขึ้นจาก 175 บาท เป็น 2,500 บาท จนถูกมองว่ากำเงินไปซื้อหุ้น Coca-Cola, PayPal หรือ Pfizer น่าจะคุ้มกว่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลกรวนทำซอสศรีราชาขาดตลาด หลังเม็กซิโกแล้งจัดจนปลูกพริกได้น้อยลง https://thestandard.co/sriracha-hot-sauce-shortage-mexico-drought/ Wed, 05 Jul 2023 00:39:05 +0000 https://thestandard.co/?p=812363 ซอสพริกศรีราชา

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าผลกระทบจากภาวะโลกรวนได้ส่งผลกระทบ […]

The post โลกรวนทำซอสศรีราชาขาดตลาด หลังเม็กซิโกแล้งจัดจนปลูกพริกได้น้อยลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซอสพริกศรีราชา

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าผลกระทบจากภาวะโลกรวนได้ส่งผลกระทบไปถึงซอสพริกศรีราชาขวัญใจคนไทยและคนทั่วโลก เพราะซอสดังกล่าวขาดตลาดมาเข้าสู่ปีที่ 2 แล้ว หลังจากที่เม็กซิโกเผชิญภัยแล้งหนักจนปลูกพริกได้น้อยลงกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพริกฮาลาเปโญ (Jalapeno) สีแดง ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของศรีราชา ส่งผลให้บริษัทเจ้าของแบรนด์อย่าง Huy Fong Foods ต้องปรับลดปริมาณการผลิตลง

 

สเตฟานี วอล์กเกอร์ นักวิทยาศาสตร์ด้านพืชแห่งมหาวิทยาลัยรัฐนิวเม็กซิโก กล่าวว่า การเพาะปลูกพริกฮาลาเปโญต้องพึ่งพาแรงงานคนมาก เพราะต้องใช้คนในการเก็บพริกด้วยมือก่อนที่จะนำไปแปรรูป อีกทั้งมันยังเป็นพืชที่เปราะบางต่อสภาพอากาศรุนแรงด้วย อย่างเช่นภัยแล้งทางตอนเหนือของเม็กซิโกที่กินเวลายาวนาน อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดแคลนซัพพลายน้ำจากแม่น้ำโคโลราโด

 

พอล เกปส์ (Paul Gepts) นักวิจัยพืชผลแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า โดยปกติแล้วการปลูกพริกชนิดดังกล่าวจะต้องพึ่งพาการให้น้ำ แต่เมื่อปริมาณน้ำลดลง และเม็กซิโกไม่มีปริมาณน้ำขั้นต่ำที่แน่นอนเพื่อนำมาใช้เพาะปลูกได้ จึงทำให้ผลผลิตลดลง เว้นแต่จะโชคดีมีฝนตกลงมาเท่านั้น

 

ทั้งนี้ ในทวีปอเมริกาจะมีพริกหลักๆ ทั้งหมด 5 สายพันธุ์ที่สามารถนำไปทำซอสพริกศรีราชาได้ โดยกระจายตัวอยู่ในประเทศต่างๆ ตั้งแต่เม็กซิโกไปจนถึงโบลิเวีย ซึ่งพริกเหล่านี้ถูกนำไปใช้ผลิตซอสรสเผ็ดชนิดอื่นๆ รวมถึงซอสที่ทำเลียนแบบศรีราชาด้วย แต่ถึงเช่นนั้นแฟนพันธุ์แท้ของซอสศรีราชาบอกว่า ‘ของปลอมยังไงก็ไม่เหมือน’ เพราะพวกเขาสามารถจับกลิ่นและรสที่ต่างออกไปได้ และหวังว่าศรีราชาจะกลับมาผลิตล็อตใหญ่ได้เช่นเดิมในเร็ววัน

 

ฟานส์ 55 ร้านอาหารเวียดนามในรัฐแคลิฟอร์เนียเผยว่า ทางร้านมีจำนวนซอสศรีราชาจำกัดมากในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ทางร้านแทบจะหาไม่ได้เลย ซึ่งซอสศรีราชาถือเป็นเครื่องปรุงที่สำคัญมากสำหรับอาหารเวียดนามหลายประเภท ตั้งแต่เฝอไปจนถึงเมนูข้าว “รสชาติของซอสศรีราชามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงยากที่จะเลียนแบบ” เหงียนกล่าว “ใครๆ ก็อยากได้ซอสศรีราชามากกว่าจะไปใช้แบรนด์อื่นที่พยายามจะลอกเลียนแบบ”

 

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ราคาซอสศรีราชาในแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Amazon, eBay และ Craigslist พุ่งขึ้นอย่างมาก ผู้ขายบางคนตั้งราคาสูงถึงแพ็กละ 120 ดอลลาร์ หรือราว 4,200 บาท ขณะที่ตัวแทนของ Huy Fong Foods กล่าวว่า ขณะนี้ทางบริษัทเพิ่งกลับมาผลิตในจำนวนจำกัด แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าซัพพลายจะเพิ่มขึ้นเมื่อใด หรือจะสามารถวางขายในซูเปอร์มาเก็ตได้ตามปกติเมื่อใด

 

แฟ้มภาพ: calimedia Via Shutterstock

อ้างอิง:

The post โลกรวนทำซอสศรีราชาขาดตลาด หลังเม็กซิโกแล้งจัดจนปลูกพริกได้น้อยลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ลอดลายมังกรฉบับเวียดนาม ‘เดวิด ทราน’ สร้างตำนาน ‘ซอสพริกศรีราชา’ ที่อเมริกาจนกลายเป็นเจ้าสัวพันล้านได้อย่างไร? https://thestandard.co/david-tran-and-sriracha/ Wed, 17 May 2023 11:47:06 +0000 https://thestandard.co/?p=791728

เพราะที่นี่ไม่มีอนาคตเหลืออยู่แล้ว ชายหนุ่มวัย 33 ปีจึง […]

The post ลอดลายมังกรฉบับเวียดนาม ‘เดวิด ทราน’ สร้างตำนาน ‘ซอสพริกศรีราชา’ ที่อเมริกาจนกลายเป็นเจ้าสัวพันล้านได้อย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>

เพราะที่นี่ไม่มีอนาคตเหลืออยู่แล้ว ชายหนุ่มวัย 33 ปีจึงตัดสินใจที่จะทิ้งแผ่นดินเกิดไปโดยไม่คิดที่จะหันหลังกลับมาอีกเลย

           

จวบจนเวลาผ่านไป 45 ปี สายเลือดของชาวเมืองซ็อกจัง (Soc Trang) ได้กลายเป็นหนึ่งในบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลก ในฐานะผู้สร้างตำนานซอสพริก ‘ศรีราชา’ ที่กลายเป็นของคู่ครัวของคนอเมริกันและคนทั่วโลก และกลายเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้านคนแรกในอุตสาหกรรมที่เรียกว่า ‘Hot Sauce’ อันเผ็ดร้อน

           

เรื่องราวของ เดวิด ทราน จึงเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจและหยิบมาเล่าเมื่อไรก็สนุก เพราะมีรายละเอียดและแง่มุมมากมายที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนได้ทุกยุคสมัย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

และต่อให้นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่คุณเคยได้ยินเรื่องราวของเขา เราก็พร้อมที่จะนั่งล้อมวงและฟังกันอีกครั้งใช่ไหม?

 

กำเนิดซอสพริก…เพราะพริกแพง

 

ของขึ้นชื่อของเมืองซ็อกจังคือหอมแดงและข้าว แต่ของดีที่ไม่มีใครคิดว่าจะกลายเป็นของคู่ครัวของคนค่อนโลกคือซอสพริก

           

เดวิด ทราน เกิดในปี 1945 ในยุคสมัยที่เวียดนามยังตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสอยู่ ครอบครัวของเขาถือว่าเป็นครอบครัวใหญ่ มีคุณพ่อเป็นพ่อค้า ส่วนแม่เป็นแม่บ้านธรรมดาคนหนึ่งที่คอยเลี้ยงดูลูกๆ ทั้ง 8 คนอย่างดี

 

ภาพ: Irfan Khan / Los Angeles Times via Getty Images

       

ในวัย 16 ปีหลังจบการศึกษาระดับมัธยมต้น ทรานถูกส่งไปอยู่กับพี่ชายที่เมืองไซ่ง่อน หรือปัจจุบันคือโฮจิมินห์ซิตี้เพื่อทำงานในร้านขายอุปกรณ์เคมีภัณฑ์ แต่หลังจากนั้นก็กลับมายังซ็อกจังอีกครั้ง เพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมปลาย

           

แต่พอเรียนจบในระดับมัธยมศึกษา ทรานถูกเกณฑ์เข้าไปเป็นทหารในกองทัพของเวียดนาม

           

“ผมไม่มีทางเลือก” เขาเล่า “ในช่วงกลางดึกตำรวจจะมาเคาะประตูห้องของผมทุกคืน”

           

โชคดีสำหรับเขาที่ไม่ต้องไปอยู่ในหน่วยต่อสู้ แต่หน้าที่ของทรานก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง เรียกว่าเขาเก็บเกี่ยววิชาการทำอาหารมาจากช่วงเวลาที่อยู่ในกองทัพเวียดนามนี่เอง ก่อนที่จะปลดประจำการในปี 1975 และแต่งงานกับอาดา (Ada) ภรรยาผู้เป็นที่รักของเขา

           

ปีดังกล่าวเป็นปีเดียวกับที่กองทัพเวียดนามเหนือบุกยึดไซ่ง่อนได้และเป็นฝ่ายชนะในสงครามเวียดนาม ซึ่งระหว่างนั้นทรานไปทำงานกับพี่ชายช่วยกันปลูกพริกขายอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไซ่ง่อน และเป็นช่วงที่เขาเริ่มหัดทำซอสพริกขึ้นมาขาย

           

ซอสพริกของทรานมาจากวิชาที่เขาร่ำเรียนตอนเป็นพ่อครัวอยู่ในกองทัพ ซึ่งเขาสังเกตเห็นว่าซอสพริกในเวียดนามขณะนั้นมันไม่ค่อยเผ็ดถึงใจ รวมถึงขาดกลิ่นและรสสัมผัสที่ร้อนแรง

           

มันทำให้เขาพยายามที่จะพยายามคิดค้นซอสในแบบของตัวเองขึ้นมาจากความทรงจำที่เคยได้ลิ้มรสชาติซอสพริกที่ล้ำเลิศอย่างซอสพริกศรีราชา

           

ทรานใช้วิชาความรู้ด้านเคมีที่เขาได้จากการทำงานในร้านเคมีภัณฑ์เพื่อให้พริกที่เขาซื้อมาเพื่อทำซอสนั้นยังคงความสดและมีรสชาติเผ็ดร้อนเหมือนเดิม และที่สำคัญคือถ้าเขาทำได้มันมีโอกาสที่เขาจะกลายเป็นผู้ชนะในตลาด เพราะราคาของพริกสดในเวียดนามขณะนั้นมีความผันผวนสูง บางครั้งราคากระโดดสูงขึ้นเทียมฟ้า บางครั้งดิ่งพสุธาจนตกเหว

           

“ผมคิดจะทำมันขึ้นมาก็เพราะราคาของพริกสดมันมีทั้งขึ้นและลงผันผวนมาก” ทรานกล่าว “ถ้าผมยังทำได้และคงความสด รวมถึงกดราคาให้ต่ำได้เมื่อราคาของพริกขึ้นอีกรอบ เราก็จะยังคงราคาเดิมได้ และเราก็มีโอกาสจะชนะในตลาดของเรา”

 

ภาพ: Anne Cusack / Los Angeles Times via Getty Images

           

การเดินทางของซอสพริก

 

กิจการซอสพริกของทรานที่ทำร่วมกับพี่ชายและพ่อตาถือว่าไปได้ดีทีเดียว

           

พวกเขาไม่ได้มีโรงงานอะไรใหญ่ สถานที่ผลิตก็คือที่บ้านนี่แหละ ส่วนบรรจุภัณฑ์ก็ใช้ขวดโหลอาหารเด็กยี่ห้อ Gerber ที่พวกทหารอเมริกันทิ้งไว้จากสงครามเวียดนาม ทำเสร็จก็บรรจุใส่ขวดออกขาย

           

แต่ชีวิตในรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเวียดนามไม่มีอะไรที่แน่นอน

           

แรงกดดันจากรัฐบาลทหารคอมมิวนิสต์ผลักดันให้ชาวเวียดนามเสื้อชายจีนต้องเดินทางออกนอกประเทศ ทรานและครอบครัวซึ่งมีเชื้อสายชาวกวางตุ้งไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องทิ้งทุกอย่างบนแผ่นดินเกิด ออกเดินทางเพื่อไปตามหาแผ่นดินใหม่ที่ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะเป็นอย่างไรบ้าง

           

มี 3 สิ่งที่ทรานนำติดตัวไปด้วย

           

อย่างแรกคือความเป็นนักสู้ที่พร้อมจะเริ่มต้นใหม่เสมอ

           

อย่างที่สองคือวิชาในการทำซอสพริก

           

และอย่างสุดท้ายคือทองคำหนัก 100 ออนซ์ ซึ่งมีมูลค่าถึง 20,000 ดอลลาร์ในขณะนั้น หรือ 90,000 ดอลลาร์ (ราว 3 ล้านบาท) เมื่อคิดเป็นเงินในปัจจุบัน โดยทองคำเหล่านั้นถูกบรรจุไว้ในกระป๋องนมข้นหวานเพื่อหลบเลี่ยงสายตาของทางการเวียดนาม

           

ทราน ภรรยา ลูก และครอบครัวของเขาออกเดินทางจากเวียดนามด้วยเรือบรรทุกสินค้าที่ชื่อ ‘Huy Fong’

           

เรือที่กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นอีกครั้งของทรานในปี 1978

 

ศรีราชาตราไก่

 

จากซ็อกจัง ทรานและสมาชิกครอบครัวเดินทางมาพักพิงอยู่ในค่ายผู้อพยพที่ฮ่องกง

           

เขาอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 8 เดือนด้วยกัน ก่อนจะออกเดินทางอีกครั้ง คราวนี้เป็นการเดินทางไกลข้ามโลกจากฮ่องกงมาสู่บอสตัน บนดินแดนแห่งเสรีภาพอย่างสหรัฐอเมริกา แต่ทรานก็ไม่ได้อยู่บอสตันตลอดไป เขาอยู่ที่นี่แค่เพียงครึ่งปีเท่านั้นก่อนจะออกเดินทางอีกครั้ง

           

การเดินทางครั้งนี้ในช่วงต้นปี 1980 พาเขามาถึงฝั่งตะวันตกของอเมริกา และที่ลอสแอนเจลิสมีชีวิตใหม่ให้เขาและครอบครัวได้แน่ เพราะเขาได้รับคำตอบที่ต้องการได้ยินจากพี่สะใภ้ของเขาที่เดินทางไปใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นแล้ว

           

“ที่นั่นเขามีพริกไหม” ทรานถามขึ้นในสายโทรศัพท์จากบอสตันถึงแอลเอ

           

“มีสิ ที่แคลิฟอร์เนียมีพริก”

           

พริกคือสิ่งที่พลิกชีวิตของทรานได้ เพราะเขามีวิชาติดตัวในการทำซอสพริกติดตัวมา สิ่งที่ต้องทำคือการพยายามหาวัตถุดิบที่จำเป็นสำหรับการทำซอสให้ได้ ซึ่งนอกจากพริกสดๆ จากแคลิฟอร์เนียแล้วเขาค่อยๆ ค้นหาส่วนผสมอีกหลายอย่างที่นำมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน โดยมีรสชาติในความทรงจำและจินตนาการของซอสพริกศรีราชาจากประเทศไทยเป็นตัวนำทาง

           

จากนั้นคือการหาสถานที่สร้างโรงงานเล็กๆ ในแบบของเขาเอง ซึ่งทรานค้นพบพื้นที่ขนาด 2,500 ตารางฟุตที่อยู่ในย่านไชน่าทาวน์ของแอลเอ เขาตัดสินใจเด็ดเดี่ยวว่าเขาจะเดิมพันทุกอย่างที่นี่ และถึงเวลาที่ทองที่เขาเก็บไว้ในกระป๋องนมข้นหวานจะถูกนำออกมาใช้แล้ว

           

ทองที่ติดตัวมาจากเวียดนามมีมูลค่ามากพอที่จะทำให้ทรานซื้อที่และวัตถุดิบในการเริ่มต้นกิจการใหม่อีกครั้ง

           

เขาใช้ชื่อแบรนด์ว่าฮุยฟง (Huy Fong) ซึ่งมีความหมายว่า ‘เพื่อความเจริญรุ่งเรือง’ ตามชื่อเรือสินค้าที่พาเขาออกเดินทางมาค้นพบชีวิตใหม่ โดยตราสินค้าเป็นรูปไก่ (Rooster) ซึ่งก็ไม่ได้มีความหมายอะไรพิเศษนอกจากเป็นปีนักษัตรของเขา

           

ส่วนชื่อของซอสชนิดนี้? ก็เรียกว่า ‘Sriracha’ ไปเลย

 

ภาพ: David McNew via Getty Images    

 

ตำนานการตลาด 0 เหรียญ

 

ที่ผลิตมีแล้ว แหล่งหาวัตถุดิบมีแล้ว ยี่ห้อก็มีแล้ว สิ่งที่เหลือที่ เดวิด ทราน ต้องทำคือ ‘ลุย’ เท่านั้น!

           

และเขาก็ลุยจริงแบบดุ่ยๆ ตามประสา โดยกลุ่มลูกค้าแรกสำหรับทรานไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นชาวเวียดนามอพยพด้วยกันที่ย้ายมาค้นหาชีวิตใหม่ที่แอลเอ แต่ยังขาด ‘รสชาติของชีวิต’ ที่หาที่อเมริกาไม่ได้ ซึ่งสิ่งนั้นก็คือซอสพริกที่เอาไว้ใส่กับก๋วยเตี๋ยวแบบญวนหรือที่เรียกว่า ‘เฝอ’ นั่นเอง

           

“ผมรู้ว่าคนเวียดนามที่ย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่นี่เขาอยากได้ซอสพริกเอาไว้กินกับเฝอของพวกเขา” ทรานเคยบอกเล่าถึงเรื่องราวในตอนเริ่มต้นของเขาไว้

           

ทรานทำซอสของเขาซึ่งมีความแตกต่างเล็กน้อยจากสูตรเดิมคือการใส่พริกฮาลาเปนโญ (Jalapeño) พริกจากเม็กซิโกที่มีความเผ็ดร้อนสูงและมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งซอสพริกศรีราชาของเขากลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว

           

ในแต่ละวันทรานจะขับรถตู้ Chevy สีฟ้าที่เขาซื้อมาในราคาถูกเพื่อนำซอสไปส่งให้ตามบ้านเรือนครอบครัวชาวเวียดนาม ไปจนถึงชาวเอเชียที่ย้ายมาอยู่แอลเอ

           

ความอร่อยเด็ดดวงของซอสศรีราชาทำให้เกิดการทำการตลาดที่ดีที่สุด เมื่อผู้ใช้บอกกันปากต่อปาก จากบ้านสู่บ้าน ลามไปถึงร้านค้าของชาวเอเชียที่นำซอสพริกนี้มาใช้ประกอบอาหารและให้ลูกค้าได้เพิ่มรสชาติเผ็ดร้อนตามใจชอบ

           

ซอสพริกศรีราชาของทรานกลายเป็น ‘The Secret Sauce’ หรือ ‘ซอสลับ’ ของจริง ที่คนรู้เหมือนจะไม่อยากบอกใครต่อ แต่ก็อดจะบอกต่อไม่ได้ว่ามีซอสรสชาติเผ็ดร้อนจัดจ้านที่ใส่กับอะไรก็อร่อย ซึ่งก็ตรงกับที่ทรานต้องการ เพราะเขาไม่ได้อยากให้ซอสนี้ใส่ได้เฉพาะเฝอเท่านั้น เขาอยากให้ซอสพริกของเขาไปได้ไกลกว่านั้น

           

จากเฝอจึงไปสู่การใส่ในซุป พิซซ่า ฮอตด็อก แฮมเบอร์เกอร์ และอีกมากมาย จากครอบครัวชาวเวียดนาม สู่ชาวเอเชีย บุกสู่ครัวบ้านของชาวอเมริกัน และจากนั้นก็ไม่มีอะไรจะหยุดได้แล้ว

           

ความนิยมของซอสศรีราชาตราไก่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เร็วเสียจนภายในระยะเวลา 7 ปีทรานต้องขยายกิจการครั้งใหญ่ด้วยการไปซื้อที่ทำโรงงานทางตะวันออกของแอลเอ โดยเนื้อที่เพิ่มเป็น 240,000 ตารางฟุต (ก่อนที่จะขยายโรงงานในอีก 10 ปีต่อมา)

           

และความนิยมก็ไม่เคยหยุดหย่อน มันขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ จนซอสศรีราชาตราไก่ยี่ห้อ Huy Fong ของเขากลายเป็นสินค้าตัวแทนทางวัฒนธรรม และทำให้เกิดวัฒนธรรมอาหารที่ใช้ซอสศรีราชาเป็นส่วนประกอบ

           

โดยทั้งหมดนี้ทรานไม่เคยให้ Huy Fong ใช้งบเพื่อทำการตลาด ประชาสัมพันธ์ หรือทำแคมเปญอะไรเลย

           

ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุผลเดียว

           

ซอสพริกของเขาดีพอที่จะทำให้ทุกคนรักและอยากบอกต่อให้ทุกคนที่รักได้ลิ้มลองบ้าง

 

เจ้าสัวซอสพริกพันล้าน

 

จากจุดเริ่มต้นผ่านเวลามากว่า 4 ทศวรรษ มังกรลอดลายฉบับเวียดนามอย่างทรานผ่านอะไรมาเยอะแยะมากมาย

           

โรงงานของเขาย้ายอีกครั้งในปี 2010 คราวนี้อยู่ที่เออร์วินเดล (Irwindale) มาอยู่บนพื้นที่ขนาดใหญ่ถึง 650,000 ตารางฟุต เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งของซอสศรีราชาในแบบของเขาเอง

           

แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะราบรื่นไปหมด Huy Fong เคยถูกฟ้องว่าโรงงานใหม่ของพวกเขาสร้างมลพิษในอากาศจากพริกที่ใช้ในการผลิต และมีการเรียกร้องให้ย้ายโรงงานไปเสีย

           

ทรานซึ่งปกติเป็นคนเก็บเนื้อเก็บตัวตัดสินใจที่จะเปิดโรงงานให้ทุกคนได้ชมเป็นครั้งแรกว่าโรงงานซอสพริกของเขามีการควบคุมทุกอย่างเป็นอย่างดี ซึ่งสุดท้ายทางเมืองเท็กซัสที่ดำเนินการฟ้องร้องก็ขอถอนคำร้องไป

           

วัฒนธรรม Hot Sauce ที่เกิดจากซอสศรีราชาของเขายังนำไปสู่การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากคู่แข่งอื่นในตลาดที่พยายามเดินตามแล้ว ยังมีผู้แข่งขันบางรายที่ใช้ทางลัดด้วยการทำเลียนแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นทั้งรูปร่างของขวด ฝา ไปจนถึงตราฉลาก

           

เรื่องนี้ก็ทำให้ Huy Fong ต้องขึ้นโรงขึ้นศาลอีกรอบ เพียงแต่สุดท้ายแล้วซอสพริกของพวกเขาก็เป็นเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเลียนแบบได้ ซึ่งเป็นการปกป้องตัวผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด และทำให้ซอสพริกนี้ขึ้นหิ้งระดับตำนาน

           

ปัจจุบัน Huy Fong มีมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 3.2 หมื่นล้านบาท และทำให้ เดวิด ทราน กลายเป็น ‘เจ้าสัวซอสพริกพันล้าน’ (Hot Sauce Billionaire) คนแรกและคนเดียวในสหรัฐอเมริกาเวลานี้

           

ขณะที่แบรนด์คู่แข่งอย่าง ‘Cholula’ เพิ่งจะถูกยักษ์ใหญ่อย่าง McCormick ซื้อไปในราคา 800 ล้านดอลลาร์ แต่ทรานในวัย 77 ปียังไม่มีความคิดที่จะขายธุรกิจของเขาออกไปแต่อย่างใด

           

ทรานตั้งใจว่าจะยกธุรกิจของเขาให้ลูกๆ อย่าง วิลเลียม (William) และ แยสซี (Yassie) ในวัย 47 และ 41 ปีตามลำดับ ซึ่งทั้งสองก็ทำงานอยู่กับ Huy Fong นี่แหละ

 

แต่สำหรับเวลานี้ทรานไม่ได้คิดอะไรไปไกลกว่าการทำวันนี้ให้ดีที่สุด

 

“ผมอยากจะทำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี เหมือนกับที่ทำซอสพริกให้มันเผ็ดขึ้น….โดยไม่มาคิดวิธีหากำไรมากกว่านี้” ทรานบอกกับ Forbes ไว้

 

ดังนั้นหากจะถามว่าความลับที่ทำให้ เดวิด ทราน ประสบความสำเร็จกับ Huy Fong ซอสพริกศรีราชาตราไก่ของเขาได้อย่างไร?

 

บางทีคำตอบอาจจะเป็นความรักที่มีให้กับการทำซอสพริกของเขานั่นเอง

 

อ้างอิง:

The post ลอดลายมังกรฉบับเวียดนาม ‘เดวิด ทราน’ สร้างตำนาน ‘ซอสพริกศรีราชา’ ที่อเมริกาจนกลายเป็นเจ้าสัวพันล้านได้อย่างไร? appeared first on THE STANDARD.

]]>
The Secret of Sauce ความลับของ ซอสพริกศรีราชา ยี่ห้อชื่อไทยแท้ๆ แต่ไปดังที่อเมริกาเพราะ ‘คนเวียดนาม’? https://thestandard.co/the-secret-of-sriracha-chili-sauce/ Sat, 02 Jul 2022 09:46:10 +0000 https://thestandard.co/?p=649333 ซอสพริกศรีราชา

เพราะของบางอย่างนั้นเราอาจไม่รู้สึกถึงคุณค่าและความสำคั […]

The post The Secret of Sauce ความลับของ ซอสพริกศรีราชา ยี่ห้อชื่อไทยแท้ๆ แต่ไปดังที่อเมริกาเพราะ ‘คนเวียดนาม’? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซอสพริกศรีราชา

เพราะของบางอย่างนั้นเราอาจไม่รู้สึกถึงคุณค่าและความสำคัญจนกระทั่งสิ่งนั้นหายไป และด้วยเหตุผลนี้เองที่ทำให้ข่าวการขาดแคลนของ ซอสพริกศรีราชา ที่ประกาศออกมาเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมากำลังเขย่าหัวใจของชาวอเมริกันที่เป็นแฟนคลับของ Hot Sauce แบรนด์นี้อย่างรุนแรง

 

โดยสาเหตุนั้นเกิดจากการที่วัตถุดิบสำคัญอย่าง ‘พริก’ กำลังขาดแคลนอย่างหนัก จนทำให้ Huy Fong Foods, Inc. ผู้ผลิตเครื่องปรุงรสยอดนิยมของสหรัฐฯ ได้ออกจดหมายถึงผู้ซื้อฉบับหนึ่งว่า 

 

“ปัจจุบันเนื่องจากสภาพอากาศที่ส่งผลต่อคุณภาพของพริก ตอนนี้เราต้องเผชิญกับการขาดแคลนพริกที่รุนแรงมากขึ้น โชคไม่ดีที่สิ่งนี้อยู่เหนือการควบคุมของเรา และหากไม่มีส่วนประกอบสำคัญนี้ เราก็ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ใดๆ ของเราได้”

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 


 

ข่าวนี้ทำให้แฟนคลับซอสเผ็ดแบรนด์นี้ถึงกับโอดครวญว่า ‘นี่คือข่าวร้ายแห่งปี’ ขณะที่บางคนอาการหนักถึงขั้นเปรียบเปรยข่าวนี้ว่า ‘เป็นวันสิ้นโลก’ ขนาดนั้นเลย

 

ซอสพริกศรีราชา

ภาพ: Ted Soqui / Corbis via Getty Images

 

อะไรที่ทำให้พวกเขาติดอกติดใจอะไรนักหนากับซอสพริกศรีราชา? รวมถึงเรื่องราวที่น่าสนใจของซอสพริกแบรนด์ที่มีชื่อเป็นไทย แต่เจ้าของที่ทำให้ซอสเผ็ดชนิดนี้อยู่ในใจผู้คนชาวอเมริกันและชาวโลกดันเป็นคนเวียดนาม แล้วมันต่างจากซอสพริกศรีราชาของคนไทยอย่างไร

 

มาไขความลับของซอสลับไปด้วยกัน

 

‘ศรีราชา’ จากน้ำพริกตำรับลับสู่ซอสพริกในตำนาน

ก่อนที่จะไปคุยกันเรื่องอื่น สิ่งแรกที่เราควรทำความรู้จักกับซอสพริกศรีราชาคือต้นกำเนิดของซอสระดับตำนานก่อน

 

ซอสระดับตำนานนั้นก็เกิดจากการตำพริกเป็นเวลานานจริงๆ โดยอ้างอิงจาก ‘ชมรมรักคนรักศรีราชา’ ซอสพริกศรีราชาเกิดจากคุณทวดกิมซัว ทิมกระจ่าง ที่คิดค้นสูตรเครื่องจิ้มที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ โดยครั้งนั้นเรียกว่า ‘น้ำพริกศรีราชา’

 

เครื่องจิ้มสีแดงชาดที่มีครบรสทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ดนี้ถูกถ่ายทอดมาถึงรุ่นต่อมาอย่างคุณย่าถนอม จักกะพาก ซึ่งทำไว้รับประทานกันเองในครอบครัว แต่เมื่อมีโอกาสนำไปแจกจ่ายให้เพื่อนบ้านได้ชิมบ้าง เสียงเล่าเสียงลือก็ทำให้ทุกคนอยากชิม และเมื่อได้ลิ้มรสแล้วก็อยากเชียร์ให้มีการทำขายกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

 

โดยสิ่งที่ทำให้น้ำพริกศรีราชาแตกต่างคือเรื่องของรสชาติที่ให้รส ‘เผ็ดหวาน’ ซึ่งเป็นรสที่ได้มาจากวัตถุดิบหลักอย่างพริกชี้ฟ้า (พันธุ์มันดำ สีแดงสด ผิวเกลี้ยง และมีขนาดเท่าๆ กัน) กระเทียมไทย (ผ่านกรรมวิธีการดอง 7 วัน) น้ำตาลทรายขาว น้ำส้มสายชู และเกลือทะเล 

 

นี่คือต้นกำเนิดของ ‘ซอสพริกศรีราชาพานิช’ อันโด่งดัง ที่มีการตั้งโรงงานใน พ.ศ. 2505 โดยเริ่มจำหน่ายทั่วไปและโด่งดังอย่างมาก ชนิดเป็นที่ร่ำลือกันว่าหากใครได้แวะเวียนมาเที่ยวศรีราชาแล้วก็ต้องแวะซื้อซอสพริกศรีราชาพานิชนี้กลับไปด้วยร่ำไป

 

ซอสพริกศรีราชา

 

ก่อนที่จะถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของธุรกิจในครัวเรือนนี้ บริษัท ไทยเทพรส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของซอสตราภูเขาทองได้เข้าซื้อกิจการใน พ.ศ. 2527 และผลิตซอสพริกศรีราชาออกจำหน่ายในวงกว้าง ให้คนไทยได้มีโอกาสลิ้มรสความอร่อยอันเป็นเอกลักษณ์ของซอสนี้ โดยหัวใจสำคัญคือ ‘รสชาติ’ นั้นยังได้รับการรักษาให้ถูกต้องตรงตามต้นตำรับด้วย

 

แต่แน่นอนว่าอะไรที่ดีย่อมมีคนที่ได้รับแรงบันดาลใจ และนำไปสู่การคิดค้นซอสพริกศรีราชาในสูตรที่มีความแตกต่างกันออกไป เช่น ซอสพริกศรีราชา ตราเกาะลอย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งยี่ห้อระดับตำนานเช่นเดียวกัน

 

สิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดคือแรงบันดาลใจนี้ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงแผ่นดินที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ค้นพบ

 

กับการกำเนิดของซอสพริกศรีราชาจากการ Re-create ของชาวเวียดนามที่เดินทางไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดินแดนแห่งเสรีภาพ

 

‘Sriracha’ ซอสตราไก่ที่พิชิตหัวใจชาวอเมริกัน

เดวิด ทราน ชายชาวเวียดนาม กำลังเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองบนชีวิตที่เรียบง่ายในการผลิตซอสเผ็ดที่เอาไว้รับประทานกับเฝอ และกรอกใส่ขวดเร่ขายไปตามถนนในบ้านเกิด

 

แต่เพราะชีวิตในประเทศคอมมิวนิสต์อย่างเวียดนามนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และนั่นทำให้เขาตัดสินใจที่จะหนีไปตายเอาดาบหน้าด้วยการเดินทางหลบหนีไปกับเรือสัญชาติไต้หวันที่ชื่อ ‘ฮุยฟง’ (Huy Fong) ซึ่งชื่อนั้นมีความหมายว่า ‘เพื่อความเจริญรุ่งเรือง’ โดยหลังการเดินทางอันยาวนานและแสนยากลำบาก ที่สุดแล้วทรานและครอบครัวก็ได้มาถึงแผ่นดินอเมริกาจนได้

 

ซอสพริกศรีราชา

เดวิด ทราน – ภาพ: Gina Ferazzi / Los Angeles Times via Getty Images

 

และเพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่บนแผ่นดินที่เขาไม่เคยรู้จัก ทรานตัดสินใจที่จะเริ่มต้นทำในสิ่งที่เขาถนัดอีกครั้ง และมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจด้วยการขายซอสเผ็ดที่ไม่มีขายในอเมริกา ให้แก่ชุมชนของชาวเอเชียอาคเนย์ที่เดินทางไปตั้งรกรากอยู่ที่แคลิฟอร์เนียเป็นจำนวนมาก

 

อาศัยแรงบันดาลใจจากรสชาติของซอสพริกศรีราชาเป็นสารตั้งต้น ทรานเติมความเป็นตัวของตัวเองในการเพิ่มความเผ็ดร้อนขึ้นไปอีก โดยมีส่วนประกอบสำคัญที่แตกต่างจากซอสพริกศรีราชาตำรับดั้งเดิมคือพริกจาลาปิโน

 

ปรากฏว่าซอสเผ็ดของเขาถูกอกถูกใจคนเป็นจำนวนมาก ไม่เฉพาะแค่ในครัวเรือนของชาวเอเชียอาคเนย์ แต่ยังรวมถึงตามร้านอาหารเอเชียที่สั่งซื้อซอสของเขาเป็นจำนวนมาก และทำให้จากเดิมที่ผลิตกันในครัวเรือน กรอกใส่ขวดกันทีละขวด ทรานเริ่มตั้งโรงงานผลิตอย่างจริงจัง และนับจากนั้นก็ไม่มีอะไรหยุดเขาได้อีก

 

ซอสพริกที่ผลิตจากโรงงาน ‘ฮุยฟง’ ซึ่งทรานตั้งชื่อตามเรือที่นำพาเขามาสู่ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า ในขวดใสมีฝาสีเขียว แปะโลโก้แบรนด์เป็นรูปไก่ (โต้ง) ซึ่งก็ไม่ได้มีที่มาซับซ้อนอะไร แค่เป็นปีนักษัตรของเขา (และทรานก็ลืมไปแล้วว่าใครเป็นคนออกแบบ แต่ก็ใช้โลโก้นี้ไม่เคยเปลี่ยนจนถึงวันนี้) กลายเป็นขวัญใจของอเมริกันชน

 

โดยที่คนรักนั้นแทบไม่ได้ลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกเวลานาที

 

‘Secret Sauce’ พิชิตอเมริกาด้วยการตลาด 0 ดอลลาร์

เรื่องที่ทำให้ซอสพริกศรีราชาตราไก่ของเดวิด ทราน กลายเป็นตำราการตลาดระดับสุดยอดคือ การที่เขาทำให้ซอสชนิดนี้กลายเป็นซอสที่ขายดีลำดับต้นๆ และเป็นที่รู้จักไม่เฉพาะแค่ในหมู่คนเอเชีย แต่เป็นชาวอเมริกัน และลามไปถึงตลาดโลก

 

ที่เจ๋งคือความสำเร็จนี้เกิดขึ้นโดยไม่ได้ใช้งบการตลาดเลยแม้แต่ดอลลาร์เดียว!

 

ปรากฏการณ์ ‘Sriracha’ นั้นเกิดขึ้นจากการพูดกันแบบปากต่อปาก โดยเริ่มจากในหมู่ชาวเอเชียด้วยกันที่เป็นลูกค้าประจำของซอสพริกศรีราชาตราไก่ในยุค 80 ที่นำไปสู่การเริ่มพูดถึงวงในแคบๆ ในกลุ่มพ่อครัวแม่ครัวด้วยกันเกี่ยวกับซอสเผ็ดของดียี่ห้อหนึ่ง ซึ่งในยุค 90 นั้นไม่ได้มีการเรียกชื่อว่าเป็นซอส Sriracha อะไร

 

สิ่งที่เรียกกันในช่วงนั้นคือ ‘Secret Sauce’ หรือ ‘ซอสลับ’ 

 

และเพราะความลับไม่มีในโลก ซอสลับที่เกิดในแคลิฟอร์เนียได้เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงกลางปี 2000 ซอสพริกศรีราชาตราไก่มีการเติบโตสูงถึงกว่า 150% โตเร็วยิ่งกว่าใครในตลาด ตามร้านอาหารในอเมริกาต้องมีซอสนี้สำหรับลูกค้า และซูเปอร์มาร์เก็ตต้องสั่งซื้อเอาไว้ เพราะความต้องการของซอสเผ็ดแบรนด์นี้สูงจนน่าเหลือเชื่อ

 

ในช่วงปี 2010 แบรนด์คู่แข่งเริ่มต้นคิดค้นซอสศรีราชาของตัวเองขึ้นมา แต่ก็ถูกแฟนคลับหยามหยันว่าซอสชนิดนี้ไม่มีทางผลิตเลียนแบบได้ (คนไทยอาจจะเลิกคิ้วนิดหนึ่งเมื่อได้ยิน) และบรรดาเชฟชั้นนำก็เริ่มคิดค้นสูตรอาหารที่ใช้ซอสศรีราชามาประกอบอาหาร (เช่น ปีกไก่ทอดศรีราชา)

 

ซอสพริกศรีราชา

 

ก่อนที่จะเกิดกระแสที่รุนแรงในช่วงปี 2013 ที่ชาวอเมริกันเริ่มเอาซอสศรีราชามาเหยาะใส่ของกินทุกอย่าง

 

Sriracha กลายเป็นราชาแห่งซอสไปโดยที่บริษัทแม่อย่าง Huy Fong Foods, Inc. กอบโกยรายได้ถึง 150 ล้านดอลลาร์ หรือ 5,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9.9% ของตลาดซอสเผ็ดในอเมริกา โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าการตลาดเลย

 

ตัวเลขดังกล่าวทำให้ศรีราชาพานิช ต้นตำรับตัวจริงได้แต่มองตาปริบๆ แต่ไม่ใช่พวกเขาไม่คิดที่จะลุกขึ้นสู้

 

เมื่อ ‘ของแท้’ แต่ดันกลายเป็นผู้ท้าชิง

เอาละ มาถึงตรงนี้แล้วคงพอจะเข้าใจแล้วว่าซอสพริกศรีราชานั้นมีต้นกำเนิดที่อำเภอศรีราชา ประเทศไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอาหารของคนไทยจริงๆ

 

แต่ในมุมของเดวิด ทราน เจ้าของ ‘Sriracha’ ซอสตำรับของเขาที่เป็น ‘ที่รัก’ ของชาวอเมริกันนั้นเป็นผลงานการคิดค้นปรับปรุงรสชาติของตัวเอง เพียงแค่ได้รับแรงบันดาลใจจากซอสที่ถูกปากถูกใจอย่างซอสพริกศรีราชาพานิชเท่านั้น และซอสทั้งสองก็ไม่ได้มีรสชาติที่เหมือนกันด้วย

 

อย่างไรก็ดีเมื่อมูลค่าตลาดซอสเผ็ดในอเมริกานั้นสูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์ หรือกว่า 50,000 ล้านบาท ก็ไม่แปลกที่บริษัทไทยเทพรสจะอยากนำซอสศรีราชาพานิช ต้นตำรับของซอสลับไปให้อเมริกันชนชิมบ้าง ซึ่งดันสวนทางกับซอสพริกศรีราชาตราไก่ของทราน ที่ส่งออกสู่ตลาดโลกและมาถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในไทยด้วยราคาที่สูงกว่าซอสพริกศรีราชาตำรับบ้านเรา

 

เรื่องนี้ก็เลยกลายเป็นดราม่าอยู่ประมาณหนึ่ง และกลายเป็นกรณีศึกษาที่ทำให้หลายคนได้รู้เกี่ยวกับเรื่องของการจดทะเบียนทางการค้า โดยเฉพาะในเรื่องประเด็นที่ว่า ‘ศรีราชา’ (Sriracha) เป็นชื่ออำเภอในประเทศไทย แต่ทำไมถูกชาวเวียดนามนำไปจดทะเบียนการค้าในสหรัฐอเมริกาได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อน

 

เว็บไซต์กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ไขปริศนาของคำถามที่ว่า ใครเป็นเจ้าของสิทธิชื่อ ‘ซอสพริกศรีราชา’ โดยอธิบายว่า คำว่า ‘ศรีราชา’ เป็นชื่อในอำเภอหนึ่งของจังหวัดชลบุรี และถือเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ ‘ไม่สามารถจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวได้’ แต่ผู้ประกอบการสามารถใช้คำว่า ‘ซอสพริกศรีราชา’ บรรยายสินค้า โดยจะต้องมีโลโก้หรือเครื่องหมายการค้าของตนกำกับด้วยเสมอ

 

สรุปง่ายๆ คือใครก็ใช้คำว่า ‘ซอสพริกศรีราชา’ ได้ แต่ต้องมีโลโก้หรือเครื่องหมายการค้าของตนเองกำกับด้วยเสมอ แต่ถ้าวันหนึ่งผู้ผลิตพิสูจน์ได้ว่า พริกที่ปลูกมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ หรือมีลักษณะพิเศษต่างจากพริกแหล่งอื่น และได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) ในประเทศไทยคำว่า ‘ซอสพริกศรีราชา’ ก็จะใช้ได้เฉพาะบริษัทที่ยื่นขอขึ้นทะเบียน GI เพียงผู้เดียว

 

สำหรับเป้าหมายของซอสพริกศรีราชาพานิชที่เคยให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ไว้เมื่อปี 2019 บัญชา วิญญรัตน์ รองประธานบริษัทไทยเทพรสบอกว่า “ถ้าหากเราสามารถชิงส่วนแบ่งตลาด 1% ที่สหรัฐฯ ได้ ก็นับว่าเราประสบความสำเร็จมากแล้ว”

 

และจริงอยู่ที่อเมริกันชนผูกพันกับรสชาติของ ‘ซอสตราไก่’ มานาน แต่อย่างน้อยคนไทยก็แอบหวังว่าขอให้พวกเขาได้ลองเปิดใจชิมซอสพริกศรีราชาพานิช (Sriraja Panich) ดูสักหน่อยเถิด

 

ไม่แน่อาจจะเปลี่ยนใจก็ได้!

 

แต่นั่นก็หมายถึงการที่ศรีราชาพานิชต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพราะการจะสร้างปรากฏการณ์เหมือนที่เดวิด ทราน ทำในช่วง 30 กว่าปีมานี้นั้นไม่ง่าย และที่ยากที่สุดคือการเปลี่ยนใจของคน

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

The post The Secret of Sauce ความลับของ ซอสพริกศรีราชา ยี่ห้อชื่อไทยแท้ๆ แต่ไปดังที่อเมริกาเพราะ ‘คนเวียดนาม’? appeared first on THE STANDARD.

]]>
ข่าวร้ายแห่งปี! ชาวอเมริกันโอดครวญ ‘ซอสพริกศรีราชา’ กำลังขาดแคลน เพราะไม่มี ‘พริก’ มาผลิตสินค้า https://thestandard.co/huy-fong-sriracha-shortage-production-halted-after-weather-ruins-chili-crop/ Fri, 10 Jun 2022 03:14:56 +0000 https://thestandard.co/?p=640283 ซอสพริกศรีราชา

ชาวอเมริกันต่างออกมาโอดครวญ เมื่อ ‘ซอสพริกศรีราชา’ หรือ […]

The post ข่าวร้ายแห่งปี! ชาวอเมริกันโอดครวญ ‘ซอสพริกศรีราชา’ กำลังขาดแคลน เพราะไม่มี ‘พริก’ มาผลิตสินค้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซอสพริกศรีราชา

ชาวอเมริกันต่างออกมาโอดครวญ เมื่อ ‘ซอสพริกศรีราชา’ หรือที่รู้จักในชื่อ ‘ศรีราชาตราไก่’ กำลังจะหาซื้อไม่ได้ หลัง Huy Fong Foods Inc. ผู้ผลิตเครื่องปรุงรสยอดนิยมของสหรัฐฯ ออกมาระบุว่า วัตถุดิบสำคัญอย่าง ‘พริก’ กำลังขาดแคลนอย่างหนัก 

 

Bloomberg รายงานว่า สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นจดหมายฉบับเดือนเมษายนจากบริษัทถึงผู้ซื้อได้ระบุว่า “ปัจจุบันเนื่องจากสภาพอากาศที่ส่งผลต่อคุณภาพของพริก ตอนนี้เราต้องเผชิญกับการขาดแคลนพริกที่รุนแรงมากขึ้น โชคไม่ดีที่สิ่งนี้อยู่เหนือการควบคุมของเรา และหากไม่มีส่วนประกอบสำคัญนี้ เราก็ไม่สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ใดๆ ของเราได้”

 

แฟนคลับซอสพริกศรีราชาถึงกับออกมาคร่ำครวญเมื่อซอสโปรดกำลังจะหาซื้อไม่ได้ บ้างก็ว่า ‘นี่คือข่าวร้ายแห่งปี’ และ ‘วันสิ้นโลก’ ขณะที่หลายคนกำลังจะออกไปตุนก่อนที่สินค้าจะหมด

 

สภาพอากาศสุดขั้ว ซัพพลายเชนที่ได้รับผลกระทบหนักจากการระบาด และการรุกรานยูเครนของรัสเซีย ล้วนส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารในปีนี้ โดยพริกเป็นเพียงรายการล่าสุดในรายการอาหารที่ขาดแคลนทั่วโลก ซึ่งรวมถึงไก่ ป๊อปคอร์น ซาลามี และมันฝรั่งทอด

 

สำหรับ ‘ซอสพริกศรีราชา’ แม้ชื่อจะมีความเป็นไทยจากการเป็นอำเภอหนึ่งในชลบุรี แต่ในความเป็นจริงแล้วซอสยอดฮิตในสหรัฐฯ ถูกผลิตโดยชาวเวียดนาม ซึ่งทำยอดขายได้มากถึง 150 ล้านดอลลาร์ หรือราว 5 พันล้านบาทต่อปี โดยไม่ต้องมีทีมการตลาดหรือการโฆษณา 

 

รายได้ดังกล่าวคิดเป็น 10% ของตลาดซอสเผ็ดทั้งหมดในสหรัฐฯ สำหรับปี 2019 โดยซอสเผ็ดเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เติบโตเร็วที่สุดในสหรัฐฯ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่จะมีแบรนด์อื่นๆ ผลิตตามออกมา

 

“ฉันไม่เคยกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ (แบรนด์อื่น) เพราะเรากำลังยุ่งอยู่กับการผลิต ฉันไม่สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้เพียงพอกับความต้องการได้ ดังนั้นให้พวกเขาได้ผลิตและทำงานร่วมกันเพื่อผู้บริโภค” เดวิด ทราน กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg และถือว่า ‘โฆษณาฟรี’ เมื่อแบรนด์อื่นใช้ชื่อศรีราชา 

 

สำหรับทราน ศรีราชาคือ ‘น้ำจิ้มของคนรวยในราคาคนจน’ นั่นเป็นเหตุผลที่เขาจำกัดราคาขายของผู้ค้าปลีกไว้ที่น้อยกว่า 10 ดอลลาร์ ในขณะเดียวกันคู่แข่งของเขาเรียกเก็บเงินมากกว่า 3 เท่า 

 

ภาพ: David McNew / Getty Images

อ้างอิง:

The post ข่าวร้ายแห่งปี! ชาวอเมริกันโอดครวญ ‘ซอสพริกศรีราชา’ กำลังขาดแคลน เพราะไม่มี ‘พริก’ มาผลิตสินค้า appeared first on THE STANDARD.

]]>