วันนี้ (15 พฤษภาคม) ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ธนาธร จึงร […]
The post ธนาธรและคณะบินฝรั่งเศส รับมอบบ้านเดิมปรีดี หลังซื้อไว้ด้วยเงินตัวเอง หวังรักษาประวัติศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (15 พฤษภาคม) ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า, พรรณิการ์ วานิช, ชำนาญ จันทร์เรือง กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส. ศิวรักษ์ นักคิด นักปรัชญา และสุดา พนมยงค์ บุตรสาวของ ปรีดี พนมยงค์ ที่ปัจจุบันมีอายุ 90 ปี พร้อมด้วยบุคคลอื่นๆ รวม 9 คน ออกเดินทางจากประเทศไทยไปยังบ้านอองโตนี กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นบ้านเดิมของอดีตนายกรัฐมนตรี, รัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ และท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ อาศัยระหว่างลี้ภัยจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต
สำหรับการเดินทางในครั้งนี้เพื่อรับมอบบ้านอองโตนี โดยมีนักวิชาการและทายาทของปรีดีได้รับเชิญให้ไปเป็นสักขีพยาน คาดว่าจะได้นำมาทำนุบำรุงรักษาไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ และที่ตั้งของสมาคมชาวไทยในยุโรป
สำหรับบบ้านอองโตนี ธนาธรซื้อมาจากเจ้าของชาวเวียดนามที่ซื้อต่อจากครอบครัวพนมยงค์ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยในราคาราว 63,788,000 บาท
ธนาธรกล่าวผ่านรายการ NEWSROOM ทางยูทูบ THAIRATH Online Originals เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 ถึงเหตุผลที่ซื้อบ้านของปรีดีที่ใช้อยู่อาศัยช่วงลี้ภัยในฝรั่งเศสช่วงหลังปี 2475 ไว้ว่า “เมื่อปีที่แล้วชาวเวียดนามเจ้าของบ้านมีความประสงค์อยากจะขาย เพราะคุณยายที่อาศัยอยู่บ้านหลังนี้มานานเสียชีวิต เราเลยคิดว่าเป็นโอกาสดีที่จะเก็บบ้านนี้ไว้เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อจะให้มีการพูดถึงอาจารย์ปรีดีที่ต่อสู้ทางการเมืองจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายที่ประเทศฝรั่งเศส แล้วก็เสียชีวิตในบ้านหลังนี้”
ภาพ: Charnvit Kasetsiri / Facebook
The post ธนาธรและคณะบินฝรั่งเศส รับมอบบ้านเดิมปรีดี หลังซื้อไว้ด้วยเงินตัวเอง หวังรักษาประวัติศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.
]]>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดี มห […]
The post ชาญวิทย์เผย หากสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่อยุธยา เมืองมรดกโลก อยู่ด้วยกันได้ แต่ได้ไม่คุ้มเสีย appeared first on THE STANDARD.
]]>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับอยุธยาที่กำลังเจอความท้าทาย คือ รถไฟความเร็วสูงกำลังจะเข้ามา ซึ่งเป็นความเจริญที่เข้ามาท่ามกลางสิ่งที่เรียกว่ามรดกโลก จะไปด้วยกันได้หรือไม่ ควรจะถูกจัดสรรแบบไหน โดยชาญวิทย์กล่าวว่า ความเจริญกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ-ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นน่าจะไปด้วยกันได้ ตนเชื่อว่าพวกเราจำนวนมากที่มีข้อท้วงติงเกี่ยวกับการที่เอาสถานีรถไฟความเร็วสูงมาครอบทับสถานีเก่า ซึ่งสร้างขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องที่ได้ไม่เท่าเสีย มันไม่คุ้ม
ซึ่งในอยุธยาเมืองใหม่นั้นถูกสร้างไว้ข้างนอกแล้ว ทั้งในเกาะ ในกรุงเก่า แล้วก็บริเวณรอบๆ โดยเฉพาะบริเวณที่เราเรียกว่าอโยธยา คือทางด้านทิศตะวันออกของตัวเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่สำคัญมากๆ มีอายุมาก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในช่วงปี 1893 ด้วยซ้ำไป มีอายุก่อนหน้านั้นประมาณ 200 ปี แล้วเป็นบริเวณที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก ก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี 2310 ทั้งวัดเก่าและวัดใหม่ในยุคนั้นมารวมอยู่ที่นี่
ชาญวิทย์กล่าวอีกว่า ตนคิดว่ายังไม่มีการศึกษาอย่างลึกซึ้ง ไม่มีการสำรวจขุดแต่งอย่างเพียงพอ โดยการที่จะเอารถไฟฟ้าความเร็วสูงมาครอบทับบริเวณนี้ ตนเชื่อว่าสร้างความเสียหายให้มากกว่า เพราะฉะนั้นการที่เราจะทำให้อยุธยาซึ่งเป็นเมืองที่น่าอยู่ คิดว่าคนไทยควรจะมาดูสักครั้งหนึ่งในชีวิต เหมือนกับคนญี่ปุ่นที่ไปดูเมืองเกียวโต หรือนาระ ก็จะทำให้เราสูญเสียซอฟต์พาวเวอร์ไป จะทำให้ได้ไม่คุ้ม ได้ไม่เท่ากับที่จะเสียไป
“เราไม่ได้บอกว่าเราไม่เอาความเจริญ ผมว่ารถไฟความเร็วสูงกับเมืองเก่ามันอยู่ด้วยกันได้ ถ้าไม่มีรถไฟความเร็วสูง คนญี่ปุ่นจะไปเมืองเกียวโตได้เหรอ แต่จะทำอย่างไรให้ได้มากกว่าเสีย ผมคิดว่าเราจะเอาสถานีรถไฟมาทับอันเก่าของสมัยรัชกาลที่ 5 มันสมควรเหรอ เราไม่ได้บอกว่าไม่เอารถไฟใหม่ แต่ว่ามันไม่ควรจะมาอยู่ตรงนี้ จะสร้างเลยไปหน่อยก็ได้ หรือบริเวณที่เป็นเมืองใหม่ก็ได้” ชาญวิทย์กล่าว
The post ชาญวิทย์เผย หากสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่อยุธยา เมืองมรดกโลก อยู่ด้วยกันได้ แต่ได้ไม่คุ้มเสีย appeared first on THE STANDARD.
]]>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหา […]
The post ชาญวิทย์เปรียบเหตุการณ์ ‘เดือนตุลาคม’ เหมือนประวัติศาสตร์บาดแผล เป็นอาชญากรรมที่ผู้ปกครองรัฐกระทำกับเยาวชนและประชาชน appeared first on THE STANDARD.
]]>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า กรณีเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา 2519 หรือแม้แต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 และเหตุการณ์เมษายน-พฤษภาคม 2553 ก็เหมือนกับประวัติศาสตร์บาดแผล
เหตุการณ์เหล่านี้ทั้งหมดตนคิดว่าเป็นประวัติศาสตร์บาดแผล มันเป็นอาชญากรรมที่ผู้ปกครองรัฐกระทำกับเยาวชนคนหนุ่มสาว กระทำต่อประชาชน และตนคิดว่ามันยังไม่มีการรักษาบาดแผลทางประวัติศาสตร์นี้อย่างแท้จริง เราก็อยู่ๆ กันไปแบบแทบไม่ได้รับรู้อะไร เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก
“ถามว่าเหตุการณ์เหล่านี้มันจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ เราคงไม่สามารถฟันธงได้ว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีก ผมคิดว่ามันต้องพยายามใช้สติปัญญาและใช้ความสามารถในการเรียนรู้จากอดีตที่ผ่านมา แล้วหาทางที่จะทำอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นอีก ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากและสำคัญมากสำหรับคนไทยทั่วๆ ไป และสำคัญอย่างมากสำหรับคนที่มีอำนาจ มีบารมี อยู่ในวงการปกครอง” ชาญวิทย์กล่าว
สำหรับการออกมาชุมนุมเรียกร้องของคนหนุ่มสาวในช่วงปี 2563-2564 นั้น ชาญวิทย์มองว่า ในแง่ของคนหนุ่มสาวรุ่นปัจจุบัน ตนไม่กล้าจะพูดว่ามีอะไรจะฝากหรือสั่งสอนตักเตือนอะไร ตนอายุขนาดนี้ เมื่อประมาณ 60-70 ปีมาแล้ว ตนนึกไม่ถึงว่าเรามีความเขลามากๆ แต่คนปัจจุบันไม่ใช่ การเรียนรู้ในแง่ของการตื่นตัว ความใฝ่หาประสบการณ์ มันเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมมาก ตนนึกไม่ถึงว่าจะได้เห็นสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น ตนดีใจและเอาใจช่วย
The post ชาญวิทย์เปรียบเหตุการณ์ ‘เดือนตุลาคม’ เหมือนประวัติศาสตร์บาดแผล เป็นอาชญากรรมที่ผู้ปกครองรัฐกระทำกับเยาวชนและประชาชน appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (29 กรกฎาคม) เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักกิจกรรม […]
The post เพนกวิน พริษฐ์ บวชเรียบง่ายที่เชียงใหม่ รับฉายา ‘พระเขมปัญโญ’ ณัฐวุฒิอนุโมทนาสาธุ ขอให้สว่างในธรรม สงบในใจ สง่าในชีวิต appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (29 กรกฎาคม) เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ นักกิจกรรมทางการเมืองและนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ เข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีครอบครัวและญาติมิตรร่วมพิธีอย่างเรียบง่าย โดยเพนกวินได้รับฉายาทางธรรมว่า ‘พระเขมปัญโญ’ แปลว่าผู้มีความเกษมในปัญญา โดยทราบเบื้องต้นว่ามีกำหนดบวชเป็นระยะเวลา 1 พรรษา
ทั้งนี้ มีบุคคลสำคัญเข้าร่วมงานอุปสมบท เช่น สุรีย์รัตน์ ชิวารักษ์ มารดา, ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ, ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศ.เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมทั้ง เบนจา อะปัญ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้น
ขณะที่ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผู้อำนวยการครอบครัวเพื่อไทย ได้โพสต์ภาพพร้อมแสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า อนุโมทนาสาธุพระเขมปัญโญ ‘เพนกวิน’ ขอสว่างในธรรม สงบในใจ สง่าในชีวิต ตลอดกาล
ภาพ: Facebook ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
The post เพนกวิน พริษฐ์ บวชเรียบง่ายที่เชียงใหม่ รับฉายา ‘พระเขมปัญโญ’ ณัฐวุฒิอนุโมทนาสาธุ ขอให้สว่างในธรรม สงบในใจ สง่าในชีวิต appeared first on THE STANDARD.
]]>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหา […]
The post การแสดงประวัติศาสตร์การเมืองผ่านประวัติชีวิต ‘ชาญวิทย์และถ้วยสาเก’ โยงใยเส้นทางชีวิตและผู้คน appeared first on THE STANDARD.
]]>ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายประกอบการแสดง เรื่อง An Imperial Sake Cup and I: A Lecture Performance by Charnvit Kasetsiri เล่าประวัติชีวิตผ่านถ้วยเหล้าสาเกที่ได้รับนับตั้งแต่ปี 2507/1964 โดยได้รับมอบในโอกาสการเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการของอากิฮิโตะ มกุฎราชกุมารญี่ปุ่น และมิชิโกะ พระชายา
การแสดงนี้ไม่ได้เล่าถึงถ้วยสาเกกับตัวชาญวิทย์เท่านั้น แต่มีฉากหลังเป็นเหตุการณ์ใหญ่ๆ ทั้งระดับโลก อาทิ สงครามโลกครั้งที่ 2 และการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางการเมืองในระดับประเทศของไทย เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516, เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 และช่วงที่ชาญวิทย์ลี้ภัยไปทำงานวิชาการที่ญี่ปุ่นหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา
ผ่านวันเวลาอันยาวนาน ชาญวิทย์ได้กลับไปญี่ปุ่นอีกครั้งพร้อมถ้วยสาเกใบเดิม และการสะสมถ้วยสาเกในญี่ปุ่นใบใหม่แต่อายุเก่าแก่กว่าใบเดิม ที่มาเพิ่มเติมเป็นเพื่อนกับถ้วยใบแรก
การบรรยายผสมผสานกับงานวิดีโอสารคดีและกลวิธีแบบละครเวที ภายใต้การกำกับร่วมของ ธีระวัฒน์ มุลวิไล กลุ่มละครบีฟลอร์ (B-Floor) และ นนทวัฒน์ นําเบญจพล ผู้กำกับภาพยนตร์
มีการแสดงรอบแรกเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้ชมการแสดงประกอบด้วย สื่อมวลชน, นักวิชาการ, ครอบครัวบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์คณะราษฎร ไม่ว่าจะเป็น สุดา-ดุษฎี พนมยงค์ บุตรสาวของ ปรีดี พนมยงค์, ประดาป พิบูลสงคราม หลานปู่ของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม, พนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว. จากการเลือกตั้ง, ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่, ปานบัว บุนปาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน), วิโรจน์ ตั้งวาณิชย์ ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์จีน และกรรมการประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ (PBIC) และ กฤษฎางค์ นุตจรัส แกนนำนักศึกษายุค 6 ตุลา 2519 มาชมการแสดงพร้อมครอบครัว
ธนาธรให้สัมภาษณ์กับ THE STANDARD หลังชม A Lecture Performance การแสดงเรื่องถ้วยสาเกของชาญวิทย์ ครั้งนี้ว่า ดูแล้วประทับใจมาก
“จริงๆ แล้วผมเรียนในสายวิทยาศาสตร์ คือเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดังนั้นจะไม่ได้เป็นลูกศิษย์โดยตรงของอาจารย์ชาญวิทย์ แต่ความคิดและประสบการณ์ของอาจารย์ชาญวิทย์ที่ถ่ายทอดออกมาในการบรรยายต่างๆ ในรูปแบบหนังสือก็เป็นผู้ประศาสน์วิชาให้ผม ดังนั้นความเข้าใจทางการเมืองและความเข้าใจประวัติศาสตร์ประเทศไทยก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าได้รับอิทธิพลจากงานของอาจารย์ชาญวิทย์เป็นอย่างมาก
“พออาจารย์จัดงานนี้จึงตั้งใจมาดู เพื่อให้เข้าใจประสบการณ์ของอาจารย์ ซึ่งวันนี้อาจารย์อายุ 80 กว่าปี ผมอยากจะเข้าใจว่าคนที่ผ่านโลกมาขนาดนี้แล้วได้เห็นอะไรบ้าง ผมคิดว่าสิ่งที่เราได้เห็นจากการแสดงในครั้งนี้คือ ความกลมกล่อมทางความคิด คือความหวังของคนที่ผ่านเหตุการณ์ ‘สองพฤษภา’ และ ‘สองตุลา’ มา คนที่เห็นประเทศมาตั้งแต่ยุคหลังจบสงครามโลกครั้งที่ 2 ใหม่ๆ จนถึงปัจจุบัน ผมคิดว่าตกผลึกออกมาเป็นความกลมกล่อม ที่อาจารย์ชี้ให้เห็นถึงความหวังในอนาคตของประเทศไทย จึงขอเชิญชวนทุกคนมาชมการแสดงของอาจารย์ชาญวิทย์กัน” ธนาธรกล่าว
ชาญวิทย์กล่าวหลังจบการแสดงว่า การศึกษาประวัติชีวิตตัวเอง ชีวิตของคนธรรมดา เป็นการฝึกฝนที่ดีมากๆ จะทำให้เรารู้ว่าเราเป็นใคร มาจากไหน ถ้าเรารู้ว่าเรามาจากจังหวัดอะไร เดิมแซ่อะไร ก็จะทำให้เรามองเห็นอะไรในอดีตมากขึ้น มันทำให้เรากลับไปไกลมากเลย Long History กลับไปสัก 100 ปี คนที่สามารถกลับไปสัก 100 ปี แล้วมองมาที่ปัจจุบันจะสามารถมองเห็นอนาคตลางๆ ได้
“ผมว่าหลายคนในที่นี้ใช้วิธีการนี้กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นสีส้มหรือสีแดง” ชาญวิทย์กล่าว (ผู้ชมส่งเสียงหัวเราะ)
ชาญวิทย์ยังกล่าวด้วยว่า การเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566/2023 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากของประเทศไทย ผมคิดว่าคำที่ใช้กันบ่อยๆ คำว่า ‘ความเปลี่ยนแปลง’ มันมาแล้ว ผมเข้าใจว่ามีทั้ง Long History และการเปรียบเทียบที่ฝรั่งเรียกว่า Comparative Study มั้งสองอย่างทำให้เราพอจะเดาออกว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น แล้วผมอยากจะมองว่ามีความหวัง นักประวัติศาสตร์ที่ผมนับถือและได้ไปพบกันมาคือ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า ถึงแม้ผมอาจจะไม่ได้อยู่เห็นความเปลี่ยนแปลง แต่ผมดีใจว่ามันต้องเปลี่ยน มันเปลี่ยนแน่ๆ
ชาญวิทย์กล่าวว่า “ผมมีความหวังว่าจะมีความเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกันผมก็วิตกว่าความเปลี่ยนแปลงมันอาจจะไม่สามารถดำเนินไปได้ด้วยสันติวิธี เราได้ยินคำว่าปฏิรูปมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่ยังไม่มีการปฏิรูปอย่างแท้จริง
“ดังนั้นผมมักจะนึกถึง ‘เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา’ ซึ่งบางท่านในที่นี้เคยโดนคดีมาแล้ว
“ถ้าอ่านทีละบรรทัดตั้งแต่ต้นจนจบ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยาบอกว่ามีสิทธิพบกับความรุนแรงและความสูญเสียอย่างมาก เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากๆ แปลว่าผมมีความหวัง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความวิตกว่าเราจะเปลี่ยนผ่านไปด้วยสันติวิธีได้หรือไม่ เพราะผมว่าสิ่งที่ผมใช้คำนี้อยู่บ่อยๆ หลายคนก็ใช้คำนี้เหมือนกัน อำนาจเดิม บารมีเดิม เงินทุนเดิม มันฝังรากลึกมากๆ แล้วก็ผลประโยชน์มันมหาศาล อาจจะไม่ยอมให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงได้อย่างที่เราเจอกันอยู่ทุกวันนี้ บางครั้งมีบางคนบอกผมว่าเขาทำให้เราเบื่อแล้วก็ปกครอง ทำให้เบื่อแล้วปกครองเราได้ ดังนั้นก็อย่าเบื่อนะครับ ทนเอาหน่อยแล้วกัน และแนะนำให้อ่านเพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา อ่านทีละบรรทัด”
สำหรับการบรรยายประกอบการแสดง เรื่อง An Imperial Sake Cup and I เปิดแสดงครั้งแรกเมื่อปี 2020 ที่พิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ ในโครงการ The Breathing of Maps และเพิ่งบินไปแสดงที่ Tokyo Festival เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ผู้สนใจสามารถร่วมเดินทางไปกับเรื่องราวจากถ้วยเหล้าสาเกของชาญวิทย์ได้ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เพียง 3 รอบการแสดง ระหว่างวันที่ 16-18 มิถุนายนนี้
An Imperial Sake Cup and I: A Lecture Performance by Charnvit Kasetsiri กำกับการแสดงโดย ธีระวัฒน์ มุลวิไล และ นนทวัฒน์ นําเบญจพล
สตูดิโอชั้น 4, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)
ความยาว 50 นาที
ภาษาไทย พร้อมบทบรรยายภาษาอังกฤษ
ทั่วไป 700 บาท, *นักเรียน-นักศึกษา 400 บาท
*นักเรียน-นักศึกษาจำกัดไม่เกินระดับปริญญาตรี กรุณาแสดงบัตรก่อนชมการแสดง
Google Forms: https://bit.ly/ticketsakecup
โทร: 08 9667 9539
ติดต่อและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: B-Floor: Facebook, Instagram, Twitter
อีเมล: [email protected]
มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ B-Floor Theatre, Mobile Lab
ภาพ: B-Floor
The post การแสดงประวัติศาสตร์การเมืองผ่านประวัติชีวิต ‘ชาญวิทย์และถ้วยสาเก’ โยงใยเส้นทางชีวิตและผู้คน appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (4 เมษายน) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิ […]
The post ชาญวิทย์ ยื่น ผบ.ตร. ตรวจสอบชาย 4 คนบุกคอนโด ห่วงเยาวชนเจอเหตุการณ์คล้ายกัน เชื่อถ้านายกฯ นิ่งเฉยจะเสียคะแนนนิยม appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (4 เมษายน) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัย 81 ปี พร้อมด้วย พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ เดินทางไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เพื่อยื่นหนังสือถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) กรณีมีชาย 4 คนไปคุกคามถึงที่พักของชาญวิทย์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ปิ่นเกล้าคอนโดมิเนียม กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พรรคก้าวไกล และลูกศิษย์ นักวิชาการ ร่วมให้กำลังใจ
ชาญวิทย์กล่าวว่า มาแจ้งความต่อ ผบ.ตร. เรื่องที่เกิดขึ้น วันที่ 22 มีนาคม มีชาย 4 คนเดินทางด้วยรถกระบะปกปิดป้ายทะเบียน มี 2 คน ลงจากรถไปพบเจ้าหน้าที่คอนโด แจ้งว่าตัวเองเป็นตำรวจ ถามหาแต่ไม่พบ เพราะไปทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ชายที่อ้างว่าเป็นตำรวจให้เจ้าหน้าที่คอนโดพาขึ้นไปหน้าห้องพัก เมื่อทราบว่าไม่อยู่ก็ถ่ายรูปหน้าห้องไว้
“ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่คอนโดว่าเขามาพร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผม เขามาติดตามคนจำนวนหนึ่งที่ไปเกี่ยวข้องกับม็อบ ไปเกี่ยวข้องกับเยาวชนคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ซึ่งผมเห็นใจและเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของเยาวชนคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่”
ชาญวิทย์กล่าวด้วยว่า ข้อเรียกร้องของเยาวชนเป็นสิ่งที่ตรงประเด็นปัญหาบ้านเมือง เป็นประเด็นที่คนรุ่นตนเอง และพนัส ทัศนียานนท์ ไม่คิดว่าจะได้ยินได้ฟังจากคนรุ่นใหม่ อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ของสังคม เป็นปรากฏการณ์ที่ถ้าผู้ใหญ่รับฟังเยาวชนคนหนุ่มสาวแล้วสามารถปฏิรูปประเทศของเราได้ ก็เชื่อว่าสังคมจะผ่านไปสู่อนาคตด้วยการประนีประนอม ด้วยการบอกว่าประเทศเราเป็น Land of Compromise ประเด็นนี้เป็นประเด็นหลักที่เราเผชิญหน้าอยู่ ทั้งปัญหาการเมืองภายใน โรคระบาดโควิด สิ่งที่กำลังเกิดในยูเครนซึ่งมีผลต่อผู้คนทุกเจเนอเรชัน สิ่งที่หลายพรรคกำลังทำเป็นสิ่งซึ่งเราน่าจะช่วยกันผลักดัน จึงมายื่นหนังสือต่อ ผบ.ตร. เพราะการมีคนไปถึงที่พักตนเองซึ่งอายุ 81 ปี รวมถึงคนหนุ่มสาว เป็นสิ่งซึ่งทนายนักกฎหมายมองว่าผิดกฎหมายอาญา
ผู้สื่อข่าวถามว่าเคยถูกคุกคามมาก่อนหรือไม่ ชาญวิทย์กล่าวว่า อยู่ในกลุ่มที่รณรงค์ ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตั้งแต่ก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แล้ว ทำงานกับอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในสมัยที่ท่านเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ถูกคุกคาม แต่ตอนนั้นตนเองยังหนุ่ม ไม่มีชื่อเสียง จึงไม่สาหัสเท่าคนเจเนอเรชัน Baby Boomer ไม่สาหัสเท่าอาจารย์ป๋วย เจ้านายในขณะนั้น ไม่สาหัสเท่าอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ที่เคารพรัก นอกจากนั้นส่วนตัวเจอเหตุการณ์ซึ่งไม่ใหญ่โตนัก ถูกแจ้งความดำเนินคดีกรณีแชร์โพสต์จากเฟซบุ๊ก เรื่องการใช้กระเป๋าถือของ นราพร จันทร์โอชา ภริยา พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ข้อหามาตรา 116 แต่อัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ทำให้หลุดรอดจนมาถึงกรณีนี้ หวังว่าจะหลุดรอดอีก ขึ้นอยู่กับ ผบ.ตร. จึงมาแจ้งความที่นี่
ชาญวิทย์กล่าวหลังยื่นหนังสือว่า ตอนแรกว่าจะปล่อยไป แต่เมื่อมาคิดทบทวนดูแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวเอง แต่คิดถึงคนจำนวนมากที่กำลังเผชิญกับปัญหาแบบนี้ การถูกคุกคามแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนคนหนุ่มสาวเจเนอเรชัน Z ทั้งหลาย หลายคนก็เป็นลูกศิษย์ลูกหาของตัวเองที่มหาวิทยาลัย
“ผมคิดว่าความเป็นอาจารย์ เมื่อลูกศิษย์ลูกหาเผชิญปัญหาความไม่ยุติธรรมแบบนี้ เราอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลยก็ไม่ได้ ผมก็เลยคิดว่าต้องมาแจ้งความ เพราะไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัว แต่เกี่ยวกับคนจำนวนมากในขณะนี้ เกี่ยวกับปัญหาของชาติบ้านเมืองและปัญหากฎหมายด้วย ควรจะทำให้บ้านเมืองปกครองด้วยกฎหมาย ต้องดูว่าทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะดำเนินการอย่างไร วันนี้ขอบคุณตำรวจที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีและดำเนินการตามกระบวนการแจ้งความ”
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความกังวลอย่างไร ชาญวิทย์กล่าวว่า มีความกังวล อย่างที่เรารู้กัน ไม่ควรไปไหนมาไหนคนเดียว ไม่ควรไปไหนมาไหนในยามค่ำคืน หลายคนในที่นี้คงรู้จัก ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน ซึ่งถูกลอบยิงก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ดร.บุญสนอง นักสังคมนิยม ขับรถเองไปไหนมาไหนตอนกลางคืน นี่เป็นสิ่งที่ต้องระวังตัวตอนนี้ ประกอบกับโควิดระบาดก็อยู่บ้าน
ผู้สื่อข่าวถามว่าอยากสะท้อนอะไรถึงนายกฯ ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตำรวจ ชาญวิทย์กล่าวว่า “ผมเข้าใจว่าเมื่อเป็นข่าวขึ้นมาแล้วมีผู้คนจำนวนมากให้ความสนใจ ผมว่าระดับบน บรรดาผู้ใหญ่ทั้งหลายก็คงต้องคุยกันว่าจะเอาอย่างไร จะเฉยๆ ปล่อยไป หรือจะแสดงตนให้ประชาชนทั่วๆ ไปเห็นว่ามีความวิตกกังวัลต่อปัญหาแบบนี้ ผมว่าในจังหวะของบ้านเมืองปัจจุบัน กำลังมีการเลือกตั้ง กำลังจะใกล้หมดเทอมวาระของท่านนายกฯ ก็คิดแบบมีตรรกะ เขาไม่น่าจะปล่อยไว้เฉยๆ มันไม่ได้คะแนน”
กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ กล่าวว่า เรื่องนี้นายกฯ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการตํารวจ (ก.ตร.) มีหน้าที่รับผิดชอบเต็มที่ เพียงแต่ท่านจะสนใจหรือเข้าใจหรือไม่ ต้องให้ ผบ.ตร. รายงานไป
กฤษฎางค์กล่าวว่า คดีชาญวิทย์ไม่ใช่คดีเดียว แต่เกิดขึ้นทั่วประเทศ คือมีผู้ถูกตำรวจไปที่บ้านข่มขู่คุกคาม ความจริงถ้าเขาผิดก็แจ้งความไป แต่การใช้อำนาจแบบนี้ เกินยุคสมัย น่าผิดหวัง ไม่เชื่อว่า ผบ.ตร. และนายกฯ จะไม่รู้ เกรงว่าทั้ง 2 ท่านจะรู้แล้ว เราตอบคำถามไม่ได้ว่าเอาคนแบบนี้มาปกครองประเทศได้อย่างไร
เมื่อถามว่าเหตุที่มายื่น ผบ.ตร. ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ยื่นเรื่องให้สถานีตำรวจนครบาล (สน.) ที่ดูแลพื้นที่ กฤษฎางค์กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าหากไปแจ้งความโรงพักท้องที่ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เชื่อว่าปัจจุบันอำนาจในการตัดสินใจไม่ได้อยู่ในโรงพักท้องที่ และอาจารย์ทิ้งเวลาไว้สัปดาห์กว่าหลังโพสต์ในโซเชียลมีเดีย ถ้าเห็นแก่ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหลังมีการกระทำอุกอาจแบบนี้ ตำรวจท้องที่คงต้องเชิญอาจารย์ไปให้ข้อมูลเหมือนคดีอาญา ส่วนตัวจึงเรียนอาจารย์ว่า ถือว่าเราเป็นราษฎร มาพบ ผบ.ตร. ซึ่งเป็นต้นทางกระบวนการยุติธรรม ให้สังคมพิสูจน์ว่าเรื่องนี้จะเอาใจใส่แค่ไหน เรามีภาพคนที่กระทำความผิดทั้ง 4 คนอย่างชัดเจน หลังอาจารย์ถูกคุกคาม 3-4 วัน น้องๆ ที่เคลื่อนไหวทางการเมืองก็ถูกตำรวจตลิ่งชันไปนั่งเฝ้าหน้าบ้าน ตอนนี้กำลังเช็กว่าเป็นคนเดียวกันหรือเปล่า
“ผมไม่มั่นใจการทำงานของตำรวจ สน.ตลิ่งชัน อาจารย์ชาญวิทย์ก็ไม่มั่นใจ ซึ่งเป็นสิทธิของเรา เราเป็นประชาชน มีสิทธิที่จะไม่มั่นใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งกินเงินเดือนของเรา จึงมาที่นี่ เพราะผลเกิดจากเหตุ จะให้เราเชื่อได้อย่างไร ไม่มีใครไปถามอาจารย์ชาญวิทย์หลังเผยแพร่เรื่องราวในโซเชียลมีเดีย”
กฤษฎางค์กล่าวว่า ผบ.ตร. ส่งตัวแทนมารับหนังสือ เหตุเกิดที่ปิ่นเกล้าคอนโดมิเนียม ที่บ้านพักอาจารย์ เวลากลางวัน มีพยานบุคคลเป็นเจ้าหน้าที่คอนโด มีภาพถ่ายกล้องวงจรปิดของคอนโด คดีนี้ชาย 4 คนที่อ้างว่าเป็นตำรวจ เป็นจริงหรือเปล่าไม่รู้ ใช้อำนาจบาตรใหญ่ไปตามตัวคน บุกไปถึงหน้าห้องพัก อ้างตัวกับเจ้าหน้าที่คอนโดมิเนียมว่าเป็นตำรวจ เข้าใจว่าอยู่ในพื้นที่ สน.ตลิ่งชัน
หลังยื่นหนังสือแล้ว ทนายกฤษฎางค์ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ได้ยื่นหนังสือขอให้ ผบ.ตร. ตรวจสอบกรณีที่ชาญวิทย์ถูกชายฉกรรจ์อ้างเป็นตำรวจไปคุกคาม ทางสำนักงานเลขานุการสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับเอกสารไว้แล้ว มีรายละเอียดเลขรับ ซึ่งท่านได้บอกกับเราว่ามีระยะเวลาในการทำงานตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งเราได้ขอให้พิจารณาโดยเร็ว เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน มีการละเมิดกฎหมายบ้านเมืองอย่างชัดเจน ทางสำนักงานเลขานุการแจ้งว่าจะเสนอให้ ผบ.ตร. โดยเร็ว
ขอให้สื่อมวลชนสอบถาม ผบ.ตร. ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะเมื่อวันก่อนรองโฆษกตำรวจให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่าอาจารย์ชาญวิทย์อย่ามัวแต่บ่น ให้มาแจ้งความ
สำหรับรายละเอียดเหตุการณ์ วันที่ 22 มีนาคม เวลา 13.00 น. ที่อาคารปิ่นเกล้าคอนโดมิเนียมที่อาจารย์พักอยู่ มีชายฉกรรจ์ขับรถกระบะลักษณะคล้ายรถที่ใช้ในราชการตำรวจ แต่ปกปิดหมายเลขทะเบียน เข้าไปถามเจ้าหน้าที่คอนโดว่าอาจารย์ชาญวิทย์อยู่หรือเปล่า เจ้าหน้าที่บอกว่าอาจารย์ไม่อยู่ ไปทำงาน เขาก็ให้เจ้าหน้าที่พาไปขึ้นลิฟต์ไปหน้าห้องพักอาจารย์ เมื่อพบว่าอาจารย์ไม่อยู่จริงจึงถ่ายภาพไว้แล้วเดินทางกลับ โดยระหว่างนั้นบอกกับเจ้าหน้าที่คอนโดมิเนียมว่าเป็นตำรวจ ไม่ได้บอกสังกัด แต่มาติดตามความเคลื่อนไหวของอาจารย์ชาญวิทย์ เนื่องจากเป็นผู้สนับสนุนม็อบหรือการชุมนุมของเยาวชน จากการสังเกตของเจ้าหน้าที่คอนโดมิเนียม ชายฉกรรจ์กลุ่มนี้ถือภาพถ่ายบัตรประชาชนของอาจารย์ชาญวิทย์ ทนายเห็นว่าเป็นภาพถ่ายบัตรประชาชนจากระบบของตำรวจ ฉะนั้นจึงปรึกษากันว่าจะดำเนินการ
อาจารย์ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเยอะ ทั้งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่มีการไล่ล่าฆ่าผู้ชุมนุม ส่วนเหตุการณ์ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) แจ้งความกรณีกระเป๋าถือภริยานายกฯ อาจารย์ก็พ้นคดี
คราวนี้อาจารย์ว่าจะไม่ถือสาหาความ เพียงแต่เห็นว่าพฤติกรรมเหล่านี้กระทบกระเทือนต่อสวัสดิภาพและละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน การบุกที่พัก ไม่แสดงหมายค้น-หมายจับ เป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ และถ้าเป็นตำรวจจริงก็มีความผิดตามมาตรา 157 อีกส่วนหนึ่งนอกจากเป็นความผิดต่อเสรีภาพ การข่มขู่คุกคามกรรโชกแล้ว เพราะฉะนั้นหลังรอการติดต่อสัปดาห์กว่าก็ไม่ปรากฏว่ามีตำรวจ สน.ตลิ่งชัน ซึ่งอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบเข้าไปติดต่อสอบถามแต่ประการใด ไม่มีตำรวจติดต่อไป แต่หลังจากนั้นในท้องที่ สน.ตลิ่งชัน มีตำรวจนอกเครื่องแบบไปเฝ้าคุกคามเยาวชนที่เคลื่อนไหวทางการเมืองด้วย จึงคิดว่าถ้าไป สน.ตลิ่งชันก็ไม่มีความหมาย จึงได้มาที่นี่ อาจารย์หวังว่าสิ่งที่ทำจะช่วยให้มีการพิทักษ์รักษาไม่ให้เกิดการละเมิดกฎหมายคุกคามเยาวชนอีกต่อไป
เราร้องขอให้ตรวจสอบ หากพบกระทำความผิดให้ดำเนินคดี เนื่องจากคดีข่มขู่คุกคามประชาชน บุกรุกเคหะสถานในเวลากลางวัน อ้างตัวเป็นตำรวจ ถึงเป็นตำรวจจริงก็เป็นการละเมิด เป็นความผิดมาตรา 157 ซึ่งเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อเรื่องถึง ผบ.ตร. เราไม่จำเป็นต้องไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยซ้ำไป ขอให้ตรวจสอบ ถ้าพบว่าเป็นผู้ใดกระทำก็ขอให้ดำเนินคดีแล้วให้รายงานเราโดยเร็ว และหากพบว่าเป็นตำรวจจริงก็ให้ดำเนินคดีตั้งแต่ชั้นผู้บังคับบัญชา เพราะตำรวจเหล่านั้น ไม่ได้กระทำเองแน่นอน ผู้บังคับบัญชาระดับ ผบช.น. ก็ดี ตำรวจสอบสวนกลางก็ดี ต้องรับผิดชอบ จะชดใช้การกระทำผิดอย่างไร อาจารย์ชาญวิทย์บอกผมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่การแก้แค้น แต่เป็นการทำกฎหมายให้เป็นกฎหมาย เราจะรักษากฎหมายเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้กับเยาวชนคนหนุ่มสาว
The post ชาญวิทย์ ยื่น ผบ.ตร. ตรวจสอบชาย 4 คนบุกคอนโด ห่วงเยาวชนเจอเหตุการณ์คล้ายกัน เชื่อถ้านายกฯ นิ่งเฉยจะเสียคะแนนนิยม appeared first on THE STANDARD.
]]>ชมคลิปอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://thestandard.co/vid […]
The post ชมคลิป: ดร.ชาญวิทย์ อดีตอธิการบดี มธ. ยื่นหนังสือหลังถูกชายฉกรรจ์คุกคาม appeared first on THE STANDARD.
]]>ชมคลิปอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่ https://thestandard.co/video/
The post ชมคลิป: ดร.ชาญวิทย์ อดีตอธิการบดี มธ. ยื่นหนังสือหลังถูกชายฉกรรจ์คุกคาม appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (27 มีนาคม) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ […]
The post วงจรปิดเผย 4 ชายฉกรรจ์ตามชาญวิทย์ถึงคอนโด เหตุเกี่ยวข้องม็อบเยาวชน เจ้าตัวเล็งดำเนินคดีความผิดต่อเสรีภาพ appeared first on THE STANDARD.
]]>วันนี้ (27 มีนาคม) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วัย 80 ปี ถูกคุกคามถึงคอนโดมิเนียมในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยชาญวิทย์เปิดเผยกับ THE STANDARD ว่า เจ้าหน้าที่คอนโดมาแจ้งว่าพบพิรุธ จึงได้ดูกล้องวงจรปิด พบชาย 4 คน ตัดผมสั้น ใส่เสื้อยืดคอกลม แต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ เดินทางมาด้วยรถปิ๊กอัพที่ปกปิดเลขทะเบียน
มี 2 คนขึ้นลิฟต์ไปถึงหน้าห้อง เคาะประตู มีความชัดเจนว่ามาหา แต่ไม่อยู่ เมื่อชาย 2 คนทราบว่าไม่อยู่ก็ถ่ายรูปหน้าห้องแล้วกลับออกไป ทราบว่าคนเหล่านี้ติดตามคนที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมของเยาวชน
ชาญวิทย์กล่าวด้วยว่า แม้ความปลอดภัยในคอนโดจะหละหลวม แต่ก็ยังดีที่เจ้าหน้าที่มาแจ้ง ไม่อยากให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับใคร และส่วนตัวได้ทำหน้าที่นักวิชาการ มีจุดยืนทางการเมือง อายุจนป่านนี้ไม่เคยเจอมาก่อน และอยู่ระหว่างปรึกษากับนักกฎหมายถึงการแจ้งความดำเนินคดี เนื่องจากอาจเข้าข่ายพยายามกระทำความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลอาญา มาตรา 309 และ 80
ทั้งนี้ชาญวิทย์ได้โพสต์ภาพการถูกคุมคามพร้อมข้อความทางเฟซบุ๊ก ‘Charnvit Kasetsiri’ วันนี้ (27 มีนาคม) ว่า
“ผมถูก Harassment-Stalking…เมื่อวันอังคารที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา มีชาย 4 คน แต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ ตัดผมสั้น ใส่เสื้อยืดคอกลมขับรถปิ๊กอัพ ที่ป้ายถูกปกปิด ‘เบลอ’ เป็นสีขาว มองไม่เห็นเลขทะเบียน เข้ามาที่คอนโดบ้านพักของผม สองคนลงจากรถ เข้ามาถามหาผม แล้วขึ้นลิฟต์ไปจนถึงหน้าห้อง เคาะประตู เมื่อรู้ว่าผมไม่อยู่ก็จัดการถ่ายรูปหน้าห้องแล้วกลับออกไป ผมได้รับบอกเล่าในภายหลังว่าพวกเขาติดตามหาคนหลายคนที่ ‘ไปเกี่ยวข้องกับม็อบเด็กๆ’ ครับ ผมได้ปรึกษากับนักกฎหมายบางท่าน และได้รับการชี้แจงว่าการกระทำนี้คือรูปแบบหนึ่งของการคุกคาม หรือ Harassment-Stalking อาจเข้าข่ายความผิดฐานพยายามกระทำผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลอาญา มาตรา 309 และ 80”
อ้างอิง:
The post วงจรปิดเผย 4 ชายฉกรรจ์ตามชาญวิทย์ถึงคอนโด เหตุเกี่ยวข้องม็อบเยาวชน เจ้าตัวเล็งดำเนินคดีความผิดต่อเสรีภาพ appeared first on THE STANDARD.
]]>วานนี้ (1 กุมภาพันธ์) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจั […]
The post ไทย-พม่า ความเหมือนที่แตกต่าง ‘ชาญวิทย์’ ชี้ วิธีคิดแบบรัฐข้าราชการไม่น่าพิศมัย ต้องการจินตนาการใหม่แก้ปัญหาสงครามกลางเมือง appeared first on THE STANDARD.
]]>วานนี้ (1 กุมภาพันธ์) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการเสวนาวิชาการ ‘1 ปีหลังรัฐประหารพม่า’ ณ ห้องพูนศุข วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถ่ายทอดสดผ่านแฟนเพจ PBIC Thammasat จัดโดยวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นและการพัฒนา (ARCM-CE) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (TACDB)
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ศาสตราจารย์รับเชิญแห่งวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ กล่าวปัจฉิมกถา เรื่อง พม่า ความหวังบนก้าวย่างที่ถอยหลัง โดยชาญวิทย์ กล่าวว่า 1 ปีหลังการรัฐประหารในพม่าโดย พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย เป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ จึงอยากจะตั้งข้อสังเกต 3 ประเด็น 1. สถานการณ์พม่าระดับโลก 2. สถานการณ์ในพม่า 3. ผลกระทบของสถานการณ์ในพม่าต่อไทย
ครบรอบ 1 ปีรัฐประหารในพม่า วันที่ 1 กุมภาพันธ์ วงการระหว่างประเทศ วงการสื่อ วงการวิชาการทั่วโลกจ้องดูเรื่องของพม่าเป็นกรณีพิเศษ เพราะนับแต่กรณี ‘เขมร 4 ฝ่าย’ ในทศวรรษ 1970-1980 เรื่องราวของเขมรจบลงโดยคนจำนวนหนึ่งในกรณีนั้นถูกดำเนินคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
นับแต่นั้นเป็นต้นมา กรณีของพม่าเป็นกรณีใหญ่ที่สุด ได้รับความสนใจมากที่สุด ดังนั้นเรื่องพม่าจึงไม่ใช่เรื่องของพม่าเท่านั้น
1 ปีหลังการรัฐประหารของกองทัพตั๊ดมาดอว์, พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ก็ยังไม่สามารถชนะศึกนี้ได้ ผมใช้คำพูดที่เป็นเนกาทีฟ 1 ปีผ่านไปแล้วยังไม่ชนะ ในขณะที่ประชาราษฎรชาวบ้านทั่วประเทศทั้งที่เป็นพม่าแท้ๆ ในเมืองใหญ่ๆ ในดิวิชัน หรือมณฑล และกลุ่มที่เป็นชนชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในรัฐต่างๆ ซึ่งเป็นสเตท ได้ลุกขึ้นมาต่อต้าน โดยคนจำนวนมากเป็นคนรุ่นใหม่
คนเจเนอเรชัน X-Y-Z เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างไม่น่าเชื่อ คนเหล่านี้ไม่ยอมแพ้ ไม่ยอมสงบ มีปฏิบัติการแบบสงครามจรยุทธ์ สร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายทหารเป็นจำนวนมาก
เรื่องการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น NUG (The National Unity Government of the Republic of the Union of Myanmar) ขณะที่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ เป็นวัน Union Day สนธิสัญญาปางโหลง แต่รัฐบาลปัจจุบันเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Republic of the Union ซึ่งแปลว่าอะไร
กรณีนี้มีการจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่น บางคนเรียกรัฐบาลออนไลน์ ของผู้นำพรรค NLD ที่ได้รับการยอมรับจากบรรดามหาอำนาจโลกตะวันตก มีคนตั้งข้อสังเกตว่า NUG เป็นคนรุ่นที่สอง ต่อจากรุ่นของ ออง ซาน ซูจี แล้ว ซูจีเกิดปี 1945 เป็นเจเนอเรชันที่กำลังจะล้มหายตายจากไปแล้ว
ซูจีถูกกล่าวหาโกงการเลือกตั้ง ถูกตัดสินโดยกระบวนการตุลาการภิวัฒน์ ฟังแล้วคุ้นๆ ถูกตัดสินจำคุกไปแล้ว 8 ปี ยังมีคดีเหลืออีกเกือบ 10 คดี รวมความแล้วถ้าเขาทำได้ เธอคงถูกจำคุกจนตายเพราะเวลาเหลือน้อยมาก
ในประเด็นใกล้เคียงกันสิ่งที่เรียกว่า PDF หรือ The People’s Defence Force มีเป็นจำนวนร้อยๆ กองกำลังทั่วประเทศ ทำการฝึกอาวุธกับกองทัพของชนกลุ่มน้อยติดชายแดนไทยทางด้านจังหวัดตาก มียุทธวิธีการต่อสู้แบบสงครามกองโจรใช้ความรุนแรง เขาบอกว่าเขาไม่อหิงสาอโหสิแบบผู้นำพรรค NLD รุ่นเก่าอีกต่อไปแล้ว
ประเด็นนี้จะเป็นประเด็นที่ซับซ้อนมากๆ ว่าจะเอาอย่างไร
ขอตั้งคำถามว่า ตอนนี้พม่ามีสงครามกลางเมืองอย่างเต็มรูปแบบแล้วหรือไม่ หรือกำลังไปสู่จุดนั้น แล้วพม่ากำลังจะกลายเป็นรัฐล้มเหลว (Failed State) หรือไม่ ตรงนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญมากในการติดตามเรื่องพม่า
ในเวลาเดียวกัน ถ้าเราติดตามอย่างละเอียดก็จะเห็นได้ว่า ผลของสงครามที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ได้เกิดกาลียุคใช่ไหม
ประชาราษฎร ชาวบ้านธรรมดา ต้องหนีตาย เกิดความอดอยาก พลัดที่นาคาที่อยู่ ตลอดแนวพรมแดนไทยสองพันกว่ากิโลเมตร มีผู้ลี้ภัยจำนวนเป็นแสนๆ โดยเฉพาะตามแนวรัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยงตรงข้ามจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก แม่สอด เมียวดี ไล่ลงมาถึงกาญจนบุรี
ประชากรพม่ามีประมาณ 54 ล้านคน คนที่ถูกผลกระทบของสงครามเล็ก-ใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นมีประมาณ 20 ล้านคน คนที่พลัดที่นาคาที่อยู่ประมาณ 1-2 ล้านคน เพราะฉะนั้นมีคนจำนวนมากเลยที่กำลังเกิดความทุกข์ยาก คนที่ต้องการความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมจำนวนถึง 14 ล้านคน ตัวเลขเหล่านี้เมื่อเราดูแล้วคิดว่าน่ากลัวมากๆ เพราะกระทบเมืองไทยแน่ๆ ผู้คนจำนวนมากเหล่านี้อยู่ตามชายแดนทั้ง 2 ด้านของพม่า ทิศตะวันออกคือประเทศไทยสองพันกว่ากิโลเมตร อย่างไรเราก็ปิดไม่ได้แน่ๆ และทางด้านตะวันตก คือที่ติดกับรัฐยะไข่ กลุ่มโรฮีนจา ติดบังกลาเทศ
พม่ากับไทย Same same but different กล่าวคือในขณะที่พม่ากำลัง Exploding แตกกระจัดกระจาย, ส่วนประเทศไทยกำลัง Imploding ล้มลุกคลุกคลาน แล้วไทยจะทำอย่างไร ทั้งเรื่องของพม่าและเรื่องของไทยเองที่มีปัญหาเหมือนกันมากอย่างแทบไม่น่าเชื่อ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเป็นประชาธิปไตย เรื่องการเลือกตั้ง เรื่องของคนรุ่นใหม่ๆ เรื่องของการรัฐประหาร เรื่องของกระบวนการใช้อำนาจตุลาการ
ยกเว้นที่ไม่เหมือนคือ พม่าไม่มีสถาบันกษัตริย์แบบของไทย
นโยบายต่างประเทศของไทยเคยได้รับการยกย่องในโลกสากล ไม่ว่าจะเป็นสมัยสงครามของลัทธิอาณานิคมตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นสมัยสงครามเย็น ไม่ว่าจะเป็นสมัยโลกาภิวัฒน์ที่ไทยสามารถจะปรับตัวเป็นไผ่ลู่ตามลม ทำตนเป็นชาติอารยะน่านับถือในโลกสากล อย่างสมัยการเปิดทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่ สมัยอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช สมัยสร้างความสัมพันธ์อันดีใหม่กับเวียดนามในสมัยเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ สมัยสงครามกลางเมืองเขมร ในสมัยรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ ไทยมีเกียรติประวัติในฐานะเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก เหล่านี้น่าเชื่อได้ว่าผู้นำไทยในยุคปัจจุบันจะต้องคิดหนักว่า จะทำอย่างไรกับปัญหาของพม่าที่อยู่ใกล้แสนใกล้กับคนไทยเรา อยากจะเชื่อว่าวิธีคิด จินตนาการแบบเก่าๆ ของรัฐข้าราชการไทยไม่ใช่สิ่งที่น่าพิศมัยอีกต่อไป
“ผมอยากจะเชื่อว่าไทยต้องการนโยบายต่อพม่าที่นำโดยผู้นำที่มีจินตนาการใหม่ต่อปัญหาสงครามกลางเมืองในพม่า สรุป ดูพม่าแล้วย้อนดูตัวเองและต้องคิดอะไรใหม่ๆ” ชาญวิทย์กล่าว
สำหรับการเสวนาวิชาการ ‘1 ปีหลังรัฐประหารพม่า’ วิทยากรประกอบด้วย นฤมล ทับจุมพล ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการย้ายถิ่นและการพัฒนา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี ผู้เชี่ยวชาญพม่า-อาเซียน, ดุลยภาค ปรีชารัชช รองผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เกียรติ สิทธีอมร รองประธานกรรมาธิการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร, ถวิล เปลี่ยนศรี ประธานอนุกรรมาธิการพิจารณาและติดตามสถานการณ์ระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยในคณะกรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา, ปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ดำเนินรายการโดย อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ติดตามได้ใน THE STANDARD
The post ไทย-พม่า ความเหมือนที่แตกต่าง ‘ชาญวิทย์’ ชี้ วิธีคิดแบบรัฐข้าราชการไม่น่าพิศมัย ต้องการจินตนาการใหม่แก้ปัญหาสงครามกลางเมือง appeared first on THE STANDARD.
]]>THE STANDARD ได้รับเชิญให้ร่วมเดินทางไปในการออกภาคสนามข […]
The post เที่ยวปราสาทสด๊กก๊อกธม ชมจารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ ฟังการเมืองชิงอำนาจยุคเขมรโบราณ appeared first on THE STANDARD.
]]>THE STANDARD ได้รับเชิญให้ร่วมเดินทางไปในการออกภาคสนามของนักศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุ่นที่ 22 (SEAS-TU22) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อทัศนศึกษาในวิชา อศ. 210 สุวรรณภูมิและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณ ชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี และปราสาทสด๊กก๊อกธม (ชื่อเดิม ภัทรนิเกตนะ) ที่จังหวัดสระแก้ว ฟังคำบรรยายจาก ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์, ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ นักโบราณคดี, วัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม, สฏฐภูมิ บุญมา ศิษย์เก่า SEAS รุ่น 14 (รุ่นศาลโลก) ซึ่งเพิ่งจบปริญญาโทประวัติศาสตร์ศิลปะจาก SOAS University of London
ในการเดินทางช่วงเช้าได้เข้าชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี เป็นจุดแรก ก่อนเดินทางต่อในช่วงบ่ายไปยังปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ซึ่งห่างจากชายแดนไทย-กัมพูชา เพียง 1 กิโลเมตร
สำหรับพิพิธภัณฑ์มีการแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุจำนวนมาก แต่สิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเดินทางครั้งนี้จะมี 2 ส่วน คือ ศิลาจารึกจำนวน 2 หลัก ที่มีการพบในปราสาทสด๊กก๊อกธม และอีกส่วนคือ หลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันทั้งจารึกและหลักเขตแดน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ บรรยายว่า จารึกจากปราสาทสด๊กก๊อกธมทั้ง 2 หลัก มีความสำคัญสำหรับคนเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยโบราณ เพราะมีการเล่าเรื่องการย้ายเมืองในยุคต่างๆ และสิ่งที่ได้รับความสนใจจากนักศึกษาชาวต่างชาติหลายคนคือการย้ายศิวลึงค์ไปกับการย้ายเมืองด้วย
สำหรับจารึก 2 หลักนี้ เมื่อเทียบกับยุคสุโขทัย (ในคริสต์ศตวรรษที่ 13) จะพบว่าจารึก 2 หลักมีมาก่อนสุโขทัยประมาณ 200-300 ปี เมื่อพบว่าจารึกจากเขมรเก่ากว่าสุโขทัย เราจึงพบปัญหาประวัติศาสตร์ไทยที่จะต้องโยงไปถึงเขาอัลไตกับอาณาจักรน่านเจ้า เพื่อบอกว่าเราก็เก่าเช่นกัน จารึกจากปราสาทสด๊กก๊อกธมหลักแรกสร้างประมาณปี ค.ศ. 900 ส่วนหลักที่ 2 สร้างปี ค.ศ. 1057 ทั้ง 2 หลักห่างกัน 100 กว่าปี
วัชรี ชมภู ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี กล่าวถึงจารึกหลักที่ 2 จากปราสาทสด๊กก๊อกธมว่า แตกต่างจากจารึกในศาสนสถานโดยทั่วไป ซึ่งจะเล่าถึงเฉพาะตัวศาสนสถานนั้นๆ ว่ามาใช้ที่ดินตรงนี้สร้างให้ใคร อย่างไร แต่จารึกหลักนี้พิสดารกว่า เพราะเป็นการบันทึกบอกเล่าย้อนเรื่องราวกลับไป 200 กว่าปี เกี่ยวกับบรรพบุรุษพราหมณ์และกษัตริย์ ใจความสำคัญพูดถึงลัทธิเทวราช การที่กษัตริย์จะขึ้นครองราชย์ต้องมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีสถาปนา ดังนั้นเป็นจารึกเรื่องราวกษัตริย์แต่ละยุคและพราหมณ์ประจำแต่ละช่วงเวลา ซึ่งพราหมณ์ส่วนใหญ่เป็นสายตระกูลที่สืบทอดกันมาเช่นเดียวกับกษัตริย์ เป็นหลักฐานบอกเล่าลำดับพัฒนาการกษัตริย์เขมรที่สำคัญมาก
ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ บรรยายถึงจารึกหลักแรกว่า มีอายุมากกว่าปราสาทสด๊กก๊อกธม โดยระบุปี พ.ศ. 1480 (ค.ศ. 937) ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ผู้มีบทบาทสำคัญย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครที่เสียมเรียบขึ้นไปตั้งใหม่ที่เมืองเกาะแกร์ แล้วก็สร้างปราสาทเกาะแกร์ เป็นปราสาทประจำรัชกาลของพระองค์ พระองค์ได้แผ่ขยายอำนาจขึ้นมาในดินแดนทางภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยพบจารึกและรูปแบบศิลปกรรมของพระองค์อยู่ตลอดในพื้นที่ดังกล่าว
“จารึกหลักที่ 1 อาจจะมาจากการที่เคยสร้างเทวสถานมาก่อนหน้า เพราะรายละเอียดจารึกหลักที่ 1 ระบุชัดว่า ไม่ให้ใช้สิ่งของภายในศาสนสถานแห่งนั้นเพื่อประโยชน์ของตนเอง ฉะนั้นใช้ในกิจการของชุมชนได้ โบราณสถานแห่งนี้อาจจะถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นเมืองภัทรนิเกตนะ อาจเป็นโบราณสถานดั้งเดิม ใช้มาตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ก็เป็นได้ จนกระทั่งเกิดภาวะสงคราม เมืองถูกทำลาย พราหมณ์เหล่านั้นจึงกลับมาสร้างปราสาทหลังใหม่คือปราสาทสด๊กก๊อกธมที่เราเห็นในปัจจุบัน ส่วนจารึกทั้ง 2 หลัก จัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี”
ทนงศักดิ์กล่าวว่า ในวัฒนธรรมเขมรหรือกัมพูชา มีจารึกบนแผ่นหินซึ่งทำให้เรารู้ประวัติศาสตร์ในแถบภูมิภาคนี้ได้ทั้งหมด เพราะจารึกไม่ค่อยจะสูญหาย ขณะที่ในไทยก็มีจารึกบนแผ่นหินอยู่มาก แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสูญหายไปต่างประเทศเสียเยอะ
สำหรับจารึกสด๊กก๊อกธมหลักที่ 2 เป็นจารึกที่เล่าเรื่องในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ลูกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (ผู้สร้างปราสาทพระวิหาร) เมื่อพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ขึ้นครองราชย์ก็ได้สร้างปราสาทประจำรัชกาลของตัวเองไว้ที่ปราสาทบาปวน ซึ่งอยู่ในเมืองพระนคร ปัจจุบันคือเสียมเรียบ กัมพูชา พระองค์ขึ้นครองราชย์ที่เสียมเรียบ แต่ช่วงเหตุการณ์ก่อนหน้ายุคพระองค์ คือรุ่นพ่อของพระองค์ (พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1) เกิดภาวะสงครามแย่งชิงดินแดนซึ่งมีเรื่องศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง ดินแดนส่วนหนึ่งของฮินดูซึ่งมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีสำคัญถูกทำลายดินแดนไปด้วย เพราะฉะนั้นจารึกหลักนี้เป็นเรื่องเล่าที่กล่าวย้อนถึงตระกูลสายพราหมณ์ที่มีบทบาทในแต่ละยุค พราหมณ์ตระกูลที่สำคัญคือ ศิวไกวัลย์ ทำพิธีเทวราชาให้กษัตริย์ทุกพระองค์ประมาณ 12 พระองค์ที่บันทึกในจารึก
“พราหมณ์กลุ่มนี้ต้องการดินแดนคืน จึงขอดินแดนจากพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 โดยมาสร้างปราสาทสด๊กก๊อกธม เพื่อจะเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์และบูรณะเมืองที่ตัวเองเคยครอบครองอยู่”
เรื่องเล่าในจารึกหลักนี้ เล่าย้อนไปตั้งแต่ยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่รวบรวมอาณาจักรเจนละเข้าด้วยกัน เจนละบก เจนละน้ำ มาเป็นอาณาจักรเขมร ซึ่งเข้าสู่ยุคของเมืองพระนคร (เสียมเรียบ) เป็นครั้งแรก
จารึกหลักนี้เล่าด้วยว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 ย้ายเมืองจากที่ไหนบ้างตั้งแต่เขาพนมกุเลนขึ้นมาจนกระทั่งถึงเมืองต่างๆ ที่อยู่บนพื้นราบ จารึกหลักนี้ก็ได้เล่าเรื่องทั้งหมด
นอกจากนั้น จารึกยังบ่งบอกว่า อักษรภาษาที่เขียนมีพัฒนาการของภาษาอย่างไรบ้าง เพราะมีตัวเขียนทั้งตัวสันสกฤตและตัวอักษรขอม ซึ่งเราสามารถศึกษาพัฒนาการของภาษาต่างๆ ได้ด้วย นอกจากประวัติศาสตร์ที่เล่าในจารึก
“ในฐานะนักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี จะให้ความสำคัญกับจารึกหลักนี้มากที่สุด เพราะเล่าเรื่องลำดับพระมหากษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรเขมรได้ละเอียดครบถ้วนและค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดหลักหนึ่ง เท่าที่ปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมของเขมรทั้งหมด”
ในช่วงบ่าย เดินทางไปชมปราสาทสด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ทนงศักดิ์บรรยายถึงความสำคัญของปราสาทหลังนี้ว่า เป็นสัญลักษณ์ของการแย่งชิงอำนาจ ทำให้เรารู้ประวัติศาสตร์สังคมในอดีตว่า เดิมมีเมืองสำคัญเมืองหนึ่งคือเมืองภัทรนิเกตนะ เป็นชุมชนของชาวฮินดู ช่วงนั้นกษัตริย์ที่ครองราชย์ในกัมพูชาคือพระเจ้าชัยวีรวรมัน แม้พระองค์จะนับถือทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูด้วย แต่เมื่อมีสงครามระหว่างพระเจ้าชัยวีรวรมันกับกษัตริย์สุริยวรมันที่ 1 (ผู้สร้างปราสาทพระวิหาร) เมืองแห่งนี้ก็ถูกทำลายเช่นกัน
เมื่อกษัตริย์สุริยวรมันที่ 1 ชิงอำนาจได้แล้วก็ตั้งวงศ์ใหม่เข้าไปปกครองในเมืองพระนคร (เสียมเรียบ) หลังจากที่พระองค์ชนะสงครามก็ได้ยกทัพมาปราบเมืองภัทรนิเกตนะแห่งนี้เพื่อบูรณะกลับคืน ฉะนั้นสายพราหมณ์ที่สำคัญอย่างกลุ่มทำพิธีกรรมทางศาสนาทั้งเทวราชาและพิธีขับไล่ชาวชวาไม่ให้รุกรานเขมร จึงตั้งตัวขึ้นมาใหม่เพื่อพัฒนาเมืองนี้ให้เหมือนเดิม
กลุ่มพราหมณ์ที่นับถือไศวนิกายกลุ่มนี้สร้างปราสาทหลังนี้ขึ้นในต้นรัชกาลพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ซึ่งเป็นลูกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (ผู้สร้างปราสาทพระวิหาร) เพื่อขอดินแดนและขอให้เมืองนี้มีความสำคัญขึ้นหลังสงครามสงบ พราหมณ์เล่าเรื่องในจารึกหลักที่ 2 เพื่อเรียกสิทธิในการทำพิธีกรรมต่างๆ ในกัมพูชา หนึ่งในพิธีสำคัญที่สุดคือ เทวราชา เพื่อสถาปนาตัวพระมหากษัตริย์และความเชื่อทั้งหมดที่เทพจะต้องรวมตัวกับพระมหากษัตริย์ จึงต้องสร้างปราสาทและศิวลึงค์ถวาย เพื่อให้ตัวเองมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นในกลุ่มของพราหมณ์ ฉะนั้นเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ ในอดีตที่สร้างปราสาทหลังนี้ขึ้น
ทนงศักดิ์กล่าวว่า ความสำคัญของปราสาทสด๊กก๊อกธมแสดงหลักฐานว่าสังคมชาวพุทธกับชาวฮินดูแบ่งแยกและสลับกันขึ้นปกครองอาณาจักรกัมพูชา ปราสาทหลังนี้เล่าเรื่องฮินดูที่พยายามจะมีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์ที่ขึ้นปกครองกัมพูชา อย่างไรก็ตาม ที่เขาเล่าทั้งหมดแม้กษัตริย์บางพระองค์จะให้การสนับสนุนพุทธศาสนาด้วย แต่ก็ยังไม่มีบทบาทเท่ากับหลังจากสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 (ลูกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ผู้สร้างปราสาทพระวิหาร)
เพราะวงศ์ใหม่ที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นคือ วงศ์ของมหิธรปุระ ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ซึ่งชิงราชสมบัติจากวงศ์ของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 และมีน้องอีกคนที่ขึ้นครองราชย์คือ พระเจ้าหรรษวรมัน
เมื่อวงศ์ของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 หมดไป วงศ์ใหม่ขึ้นมาคือ มหิธรปุระ ได้สร้างศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ ปราสาทหินพิมาย ถวายให้พระพุทธเจ้า ฉะนั้นเราจะเห็นบริบทสังคมที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ถ้าเทียบปราสาทสด๊กก๊อกธมและกลุ่มปราสาทหินพิมาย สด๊กก๊อกธมถวายฮินดู ปราสาทหินพิมายถวายให้พุทธศาสนา
การสร้างปราสาทหินพิมายเป็นวงศ์ตั้งต้นที่กลับเข้าสู่นครวัดอีกครั้งหนึ่งคือ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งสร้างปราสาทนครวัดถวายให้พระวิษณุ กลุ่มพราหมณ์ขึ้นกลับมาอีกครั้ง แต่หลังพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ไป กลุ่มพุทธก็ขึ้นมาอีกครั้ง จะเห็นชัดเลยว่าสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงของกัมพูชามีบทบาททางภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือที่ราบสูงของไทย แผ่อำนาจลงไปกัมพูชาด้วย ซึ่งถ้าหากเราศึกษากันดีๆ ในอดีตเราจะพบว่า ความเชื่อทั้งหมดในวัฒนธรรมเขมรเชื่ออย่างเดียวว่า วัฒนธรรมเขมรแผ่จากทางลุ่มน้ำโตนเลสาบ แถบทางเมืองพระนครเสียมเรียบ ขึ้นมาดินแดนไทย ที่จริงแล้วถ้าศึกษาปราสาทแต่ละหลังจะพบความจริงที่ตรงกันข้ามคือ ปราสาทบางหลังในที่ราบสูงโคราชก็ดี หรือบริเวณนี้ก็ดี แผ่อิทธิพลกลับไปให้ทางลุ่มน้ำโตนเลสาบมากกว่า ฉะนั้นสังคมควรรับทราบทำความเข้าใจบริบทการเมืองการปกครองที่เปลี่ยนแปลง ใช้ประวัติศาสตร์ให้เป็นประโยชน์ ก็จะไม่ทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่เกิดปรากฏการณ์มีชาวกัมพูชาทวงดินแดนเขมรกลับคืน ความจริงแล้ว มันคือที่เดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกัน เขตแดนเป็นตัวแบ่งเท่านั้นเอง
ชาญวิทย์กล่าวถึงคำว่า เทวราชา (Devaraja) ว่า คำนี้คำเดียวเถียงกันมาร้อยปีว่าแปลว่าอะไร แต่คำนี้พูดถึงลัทธิการปกครองซึ่งต้นกำเนิดมาจากอินเดียในภารตภิวัฒน์ เป็นเรื่องการเมืองระดับสูงมากๆ ในสมัยที่ปราสาทนี้ยังใช้อยู่ในราชสำนักคนธรรมดาก็เข้ามาไม่ได้ ที่นี่เป็นที่ต้องห้าม เป็นที่พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ คนธรรมดาคือแรงงาน
ในทฤษฎีของปรมาจารย์เกี่ยวกับการศึกษานครวัดนครธมคนหนึ่งคือ ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) ชาวฝรั่งเศส ทำงานในฮานอย เวียดนาม ถูกจ้างเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ อ่านศิลาจารึกและเขียนหนังสือ เซเดส์มีทฤษฎีว่า เขมรโบราณก่อสร้างปราสาทเต็มไปหมด สร้างจนในที่สุดสังคมพัง สังคมสลาย ทำให้คนอีกกลุ่มขึ้นมามีอำนาจแทน ไม่ว่าจะเป็นไทย เป็นลาว ก็ขึ้นมาแทน
อาณาจักรเก่าก็สลายไป เป็นคำตอบว่าเมืองที่รุ่งเรืองใหญ่โตมโหฬารพังไปได้อย่างไร บางคนบอกว่าพังเพราะเมื่อคนไทยคนลาวเริ่มเข้ามา เขมรไม่สามารถรักษาบารายเอาไว้ได้ การเกษตรจึงล่ม เป็นทฤษฎีที่เถียงกันหลายฝ่าย
ธวัลรัตน์ ชัยนราพิพัฒน์ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม บรรยายถึงปราสาทสด๊กก๊อกธมว่า เป็นปราสาทชายแดนแห่งหนึ่งของประเทศไทยและเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งล่าสุดของประเทศ ห่างจากด้านหน้าปราสาทออกไปเพียง 1 กิโลเมตร จะเป็นชายแดน หากข้ามถนนศรีเพ็ญไป บริเวณดังกล่าวจะมีกับระเบิดจำนวนมาก ปราสาทแห่งนี้มีประวัติสำคัญ 2 ช่วง คือ ช่วงสร้างปราสาทในยุคเขมรโบราณและยุคเขมรอพยพช่วงสงครามเขมรแดง
สด๊กก๊อกธมเป็นปราสาทที่มีฐานสูง การสร้างให้ฐานยิ่งสูงยิ่งแสดงถึงอำนาจและบารมีของคนสร้างด้วย ในประเทศไทยไม่น่าจะมีปราสาทหินที่ไหนฐานสูงเท่าที่นี่ ความพิเศษของที่นี่อีกอย่างคือ มีเสานางเรียงล้อมรอบศาสนสถานองค์หลักทั้งหมด นอกจากนั้นหลังการบูรณะจะเห็นว่ามีตัวเลขด้านบนตัวปราสาท เนื่องจากใช้วิธี ‘อนัสติโลซิส’ (Anastylosis) เขียนก่อนรื้อออกมาแล้วประกอบกลับไปที่เดิม ถ้าจุดไหนประกอบกลับไปไม่ได้ จะใช้หินใหม่เสริมเพื่อให้แข็งแรง
สฏฐภูมิ บุญมา ศิษย์เก่า SEAS รุ่น 14 กล่าวว่า กษัตริย์ในยุคโบราณ เมื่อครองราชย์จะสร้างอยู่ 3 อย่าง อย่างแรกคือปราสาทบนฐานสูง เพื่อบอกว่าตัวเองเป็นภาคอวตารของพระศิวะ เมื่อตัวเองตายวิญญาณจะกลับมารวมกับศิวลึงค์องค์ที่ตัวเองสร้าง อย่างที่ 2 คือสร้างสระหรือบารายขนาดใหญ่ มีคำอธิบายหลายๆ แนวทาง โดยแนวทางที่น่าเชื่อถือที่สุดคือการเกษตรกรรม พิธีกรรม อย่างที่ 3 สร้างปราสาทบนฐานเรียบ คือสร้างหลายองค์ชั้นเดียว สร้างเพื่ออุทิศให้บรรพชนตัวเอง ทำเพื่อตัวเอง เพื่อประชาชน และเพื่อครอบครัว เป็นคอนเซปต์ที่กษัตริย์โบราณให้ความสำคัญ
ย้อนกลับไปในช่วงเช้าก่อนเดินทางออกจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ได้พาชมหลักเขตแดนที่ใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหลักเขตแดนที่ 50 กรุงสยาม-กัมพูชา เดิมตั้งอยู่ที่ด่านปอยเปต อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ถูกยกเลิกและถอนออกเมื่อ พ.ศ. 2484 ทายาทของ พล.อ. มังกร พรหมโยธี มอบให้สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2559 ซึ่งส่งต่อให้ปราจีนบุรีวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2564
ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี บรรยายว่า ในยุครัชกาลที่ 5 มีการสร้างหลักเขตเป็นแนวเขตแดนระหว่างสยามกับกัมพูชา โดยมี 70 กว่าหลักไล่เรื่อยมาตามเขตแดนในภาคอีสาน แนวเทือกเขาพนมดงรัก ไปถึงตราด หลักเขตแดนนี้ถูกรื้อถอนมาเก็บไว้ในเขตทหาร ต่อมาทายาทของ พล.อ. มังกร มอบให้กรมศิลปากรดูแล
ชาญวิทย์กล่าวว่า ที่น่าสนใจคือมีเหตุการณ์สำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ประมาณปี พ.ศ. 2450 มีการทำสนธิสัญญาและเปลี่ยนแผนที่ที่ทำกันเอาไว้ สมัยที่รัชกาลที่ 5 เสด็จยุโรปครั้งที่ 2 ที่ท่านเขียน ‘ไกลบ้าน’ มีการขีดเส้นใหม่ เอาเขาพระวิหารไปอยู่ในอินโดจีนของฝรั่งเศส ขีดเอาปราสาทสด๊กก๊อกธมอยู่ในสยาม ซึ่งแปลกมากๆ
ต่อมาตอนมีเรื่องเขาพระวิหาร คนก็กลัวว่าเขมรจะมาทวงสด๊กก๊อกธม แต่มีหนังสือของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ (Ecole française d’Extrême-Orient: EFEO) ซึ่งมีสำนักงานที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรในไทย เขียนว่า ขีดให้ปราสาทสด๊กก๊อกธมอยู่สยาม เรื่องก็เลยจบ ไม่มีใครต่อเรื่องปราสาทสด๊กก๊อกธม เป็นประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส และ ไทย-กัมพูชา
เมื่อเดินทางถึงสด๊กก๊อกธมในช่วงบ่าย ชาญวิทย์บรรยายต่อไปว่าเหตุการณ์สำคัญในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ในการทำสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ทำไมตอนขีดเส้นเขตแดนจึงขีดให้ปราสาทสด๊กก๊อกธมอยู่ในประเทศไทยไม่ขีดเส้นให้กัมพูชา ตอนนั้นเขาน่าจะยังไม่รู้ว่าปราสาทมีความสำคัญมากๆ จึงขีดเส้นห่างจากด้านหน้าปราสาทไป 1 กิโลเมตร ถ้าขีดเส้นด้านหลังปราสาท ปราสาทก็จะเป็นของกัมพูชา
ส่วนเหตุการณ์ปี พ.ศ. 2518 เกิดสงครามกลางเมืองในกัมพูชา ที่นี่เป็นที่หลบภัยของเขมรแดง ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 เพียงปีเดียว หลังจากนั้นมีการบูรณะอีกทีปี พ.ศ. 2538 แปลว่า ใช้เวลา 20 ปีเป็นเขตสงคราม มีการปล้นเอาโบราณวัตถุไปขาย
ทนงศักดิ์กล่าวถึงช่วงแบ่งเส้นเขตแดนว่า ปราสาทหลังนี้จริงๆ เป็นปราสาทสำคัญ จึงเป็นปรากฏการณ์ประหลาดที่ฝรั่งเศสไม่ได้ขีดเส้นเขตแดนโดยรวมปราสาทหลังนี้เข้าไปเหมือนปราสาทอื่นๆ ที่ปรากฏตามแนวชายแดนประเทศไทย เช่น ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม ซึ่งทั้ง 2 หลัง เป็นปราสาทหลักของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ผู้สร้างปราสาทพระวิหาร อาจเป็นเพราะปราสาท 2 หลังนั้น (ปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม) พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ทรงสร้างให้เป็นปราสาทเขตแดนทางฝ่ายตะวันตก ฝรั่งเศสอาจจะนับความสำคัญตรงนั้นมากกว่า จึงไม่ได้มองว่าปราสาทสด๊กก๊อกธมมีความสำคัญเท่า แม้จะอยู่ใกล้เขตแดนที่ฝรั่งเศสกำหนดไว้เพียง 1 กิโลเมตรก็ตาม เข้าใจว่าขณะนั้นคงจะหักพังและด้วยความเป็นป่ารกจึงมองไม่เห็นความสำคัญก็เป็นได้
ในการเดินทางครั้งนี้นอกจากจะได้ชมและฟังบรรยายเรื่องจารึกบนแผ่นหิน ปราสาทหิน และหลักเขตแดนแล้ว ยังได้ชมพระวิษณุที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรีด้วย
ทนงศักดิ์นำชมพระวิษณุซึ่งถือ จักร สังข์ คทา ธรณี แต่ละองค์จะมีลวดลายต่างกันตามแต่ละยุค และบรรยายถึงพระวิษณุกับการเมืองไทยว่า ชื่อของกษัตริย์ไทยในช่วงหลังส่วนใหญ่จะลงท้ายด้วยราม ซึ่งชื่อของพระวิษณุคือพระราม รามาธิบดีมาจากความเชื่อความนับถือพระวิษณุเป็นใหญ่ มีครุฑเป็นพาหนะ ฉะนั้นจึงใช้ครุฑเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ ในการเมืองการปกครองไทย
เนื่องจากในยุคหลัง พราหมณ์ซึ่งเป็นนักบวชของศาสนาฮินดูแบ่งเป็น 2 นิกาย คือ ไศวนิกาย นับถือพระศิวะเป็นใหญ่ และ ไวษณวนิกาย (ไวษณพนิกาย) นับถือพระวิษณุเป็นใหญ่
ในชั้นหลังการเผยแพร่ศาสนาฮินดูเข้ามา คนมีความเชื่อในพระศิวะลดลง เรื่องเล่าของพระศิวะก็จะลดลงไปด้วย ในขณะเดียวกัน วรรณกรรมในภูมิภาคนี้ในช่วงหลังๆ จะนิยมเรื่องเล่าของพระรามมากกว่า วรรณกรรมที่ถูกใช้ต่อเนื่องมาตลอดจนกระทั่งตั้งกรุงศรีอยุธยา รัตนโกสินทร์ มีความนิยมความแพร่หลาย โดยเฉพาะเรื่อง รามเกียรติ์ เป็นที่นิยมมากกว่าเรื่องเล่าของพระศิวะ ซึ่งมีน้อยมาก คนเข้าถึงได้ยากกว่า ฉะนั้นความนิยมในการตั้งชื่อจึงได้อิงวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระราม
ส่วนการใช้ไศวนิกาย (พระศิวะ ศิวลึงค์) ไม่ค่อยนิยมอีกต่อไป การคงอยู่ของพราหมณ์ในราชสำนักก็มักจะเล่าเรื่องพระราม การตั้งชื่อประกอบพิธีทางศาสนาก็เป็นกลุ่มของพราหมณ์ พิธีปัจจุบันที่เราเห็น เช่น พราหมณ์จะประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์อย่างวันพืชมงคล แต่โดยทั่วๆ ไป พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของคนก็ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง
ชาญวิทย์บรรยายว่า สถาบันกษัตริย์ไทยนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ดังนั้นธนบัตรที่เราใช้จึงมีครุฑ หนังสือราชการมีตราครุฑ ซึ่งเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ไม่ได้ถือสายพระศิวะหรือพระอิศวร
ดังนั้นถ้าอยากเข้าใจสถาบันกษัตริย์ไทยซึ่งกำลังมีประเด็นว่ามีการเคลื่อนไหว ปฏิรูปหรือล้มล้าง ควรจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับพระวิษณุหรือพระนารายณ์ให้ดี
The post เที่ยวปราสาทสด๊กก๊อกธม ชมจารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ ฟังการเมืองชิงอำนาจยุคเขมรโบราณ appeared first on THE STANDARD.
]]>