จักกพันธุ์ ผิวงาม – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 20 Jan 2025 10:48:14 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กทม. รื้อตลาดคลองเตย 2 ปรับภูมิทัศน์ คืนพื้นที่ทางเท้าให้คนเมืองเดินสะดวก https://thestandard.co/klong-toey-market-2-pedestrian-space/ Mon, 20 Jan 2025 10:48:14 +0000 https://thestandard.co/?p=1032310 ตลาดคลองเตย 2

วันนี้ (20 มกราคม) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุ […]

The post กทม. รื้อตลาดคลองเตย 2 ปรับภูมิทัศน์ คืนพื้นที่ทางเท้าให้คนเมืองเดินสะดวก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดคลองเตย 2

วันนี้ (20 มกราคม) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย ศุภกฤต บุญขันธ์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจการยกเลิกพื้นที่ทำการค้า และติดตามการรื้อถอนโครงสร้างและส่วนประกอบอื่นๆ บริเวณหน้าตลาดคลองเตย 2 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย

 

จักกพันธุ์กล่าวว่า กรุงเทพมหานครมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเท้าและผิวการจราจรถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่สี่แยกคลองเตยจนถึงห้าแยก ณ ระนอง เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในทางสาธารณะร่วมกัน อีกทั้งเพื่อให้การปรับปรุงภูมิทัศน์และทางเท้าต่อเนื่องกับตลาดลาวที่ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์และทางเท้าเมื่อเดือนธันวาคม 2567

 

ซึ่งหน้าตลาดคลองเตย 2 ถนนรัชดาภิเษก มีผู้ค้าประมาณ 10 กว่าราย จำหน่ายปลาสด ผักสด พื้นที่ทางเท้าจะเปียกน้ำอยู่ตลอดเวลา ก่อให้เกิดความสกปรกเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ไม่ถูกสุขลักษณะตามหลักสุขาภิบาล สำนักงานเขตคลองเตยจึงได้ออกประกาศให้ผู้ค้าหน้าตลาดคลองเตย 2 เคลื่อนย้ายทรัพย์สิน อุปกรณ์ทำการค้า และกันสาด ออกจากบริเวณพื้นที่ดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 มกราคม 2568 โดยผู้ค้าได้ย้ายเข้าไปทำการค้าในตลาดคลองเตย 2 และตลาดใกล้เคียง

 

จักกพันธุ์กล่าวต่อว่า สำนักงานเขตคลองเตยจะปรับปรุงภูมิทัศน์และทางเท้าให้เป็นไปตามหลัก Universal Design จัดทำทางลาดอำนวยความสะดวกสำหรับรถเข็นคนพิการ รวมถึงปรับปรุงผิวจราจร 1 ช่องจราจร หลังจากดำเนินการปรับปรุงทางเท้าเสร็จเรียบร้อย สำนักการระบายน้ำจะเชื่อมท่อระบายน้ำลงสู่อุโมงค์ระบายน้ำพระราม 4 สำนักการจราจรและขนส่งทาสีขอบคันหินและตีเส้นแบ่งช่องทางจราจรบนถนน

 

อีกทั้งยังได้ร่วมกับสถานีตำรวจนครบาลท้องที่บังคับใช้กฎหมายในช่องทางจราจร โดยมอบหมายให้สำนักงานเขตคลองเตยติดตามการปรับปรุงภูมิทัศน์และทางเท้าหน้าตลาดคลองเตย 2 ถนนรัชดาภิเษก อย่างต่อเนื่อง ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการความร่วมมือไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะอาดและสวยงาม

 

ตลาดคลองเตย 2

The post กทม. รื้อตลาดคลองเตย 2 ปรับภูมิทัศน์ คืนพื้นที่ทางเท้าให้คนเมืองเดินสะดวก appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. บูรณาการทุกหน่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดลาวย่านคลองเตย คืนทางเท้าให้ประชาชนใช้สัญจร https://thestandard.co/bangkok-urban-landscape-restoration-project/ Thu, 12 Dec 2024 08:56:55 +0000 https://thestandard.co/?p=1018916 ตลาดลาว

วันนี้ (12 ธันวาคม) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกร […]

The post กทม. บูรณาการทุกหน่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดลาวย่านคลองเตย คืนทางเท้าให้ประชาชนใช้สัญจร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดลาว

วันนี้ (12 ธันวาคม) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณตลาดริมคลองหัวลำโพง (ตลาดลาว) ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย 

 

จักกพันธุ์กล่าวว่า กรุงเทพมหานครดำเนินการรื้อถอนโครงสร้างและส่วนประกอบอื่นๆ บริเวณตลาดลาว ถนนพระรามที่ 4 เขตคลองเตย ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 ใช้เวลารื้อถอน 3 วันจนแล้วเสร็จ จากนั้นเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณตลาดลาว เริ่มจากการประปานครหลวงขุดวางท่อประปาใหม่ ทดแทนท่อประปาเดิมที่วางไว้ตั้งแต่ปี 2540 โดยใช้เวลา 3 วัน ต่อมาการไฟฟ้านครหลวงปักเสาไฟฟ้าใหม่ความสูง 12 เมตร จำนวน 1 ต้น และหักเสาไฟฟ้าเดิมความสูง 12 เมตร จำนวน 2 ต้น ที่ไม่ได้ใช้งานออก ส่วนบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT จัดระเบียบสายสื่อสารใหม่ นำสายสื่อสารลงดิน โดยเข้าวางท่อสาธารณูปโภค 

 

ในส่วนของสำนักการระบายน้ำ สำรวจบ่อพักที่อยู่ในแนวทางเท้า ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าทางเท้าที่ปรับปรุงใหม่ โดยจะยกระดับบ่อพักให้อยู่ในระดับเดียวกับทางเท้า ตรวจสอบท่อระบายน้ำ ซึ่งอยู่ใต้พื้นทางเท้า รับน้ำจากถนนพระรามที่ 4 ลงคลองหัวลำโพง รวมถึงปรับปรุงจุดเชื่อมต่อระบบระบายน้ำระหว่างคลองไผ่สิงโตกับคลองหัวลำโพง และก่อสร้างประตูระบายน้ำใหม่ 

 

จักกพันธุ์กล่าวต่อว่า ขณะนี้สำนักการโยธาเข้าพื้นที่ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ ทุบพื้นทางเท้าเดิมออก ติดตั้งแบบหล่อคันหินทางเท้าเพื่อเตรียมเทคอนกรีตพื้นฐาน จัดทำทางเท้าใหม่ยาวต่อเนื่องครอบคลุมจนถึงจุดเชื่อมต่อระบบระบายน้ำดังกล่าว คืนทางเท้าให้ประชาชนใช้เดินทางสัญจรได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ส่วนสำนักการจราจรและขนส่งปักเสาใหม่เพื่อติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ส่วนป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางยังคงไว้ที่จุดเดิม

 

ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานเขตคลองเตยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการความร่วมมือในการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณตลาดลาว ถนนพระรามที่ 4 ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสะอาดและสวยงาม รวมถึงพิจารณาหาแนวทางพัฒนาคลองหัวลำโพง เพื่อให้น้ำในคลองมีคุณภาพที่ดีขึ้น

The post กทม. บูรณาการทุกหน่วยปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาดลาวย่านคลองเตย คืนทางเท้าให้ประชาชนใช้สัญจร appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. ชวนประชาชนแยกขยะลดค่าจัดเก็บ กำชับแต่ละเขตสร้างความเข้าใจประชาชนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ https://thestandard.co/bangkok-promotes-waste-sorting-fee-reduction/ Wed, 20 Nov 2024 06:25:18 +0000 https://thestandard.co/?p=1010663 แยกขยะ

วันนี้ (20 พฤศจิกายน) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิ […]

The post กทม. ชวนประชาชนแยกขยะลดค่าจัดเก็บ กำชับแต่ละเขตสร้างความเข้าใจประชาชนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แยกขยะ

วันนี้ (20 พฤศจิกายน) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอัตราใหม่ ตามร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าธรรมเนียมการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ. ….

 

ในที่ประชุมหารือร่วมกับผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยของกรุงเทพมหานคร เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยอัตราใหม่ ตามร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร

 

ซึ่งร่างข้อบัญญัติฯ ฉบับดังกล่าวมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดแยกขยะ เมื่อประชาชนคัดแยกขยะแล้ว อัตราค่าธรรมเนียมฯ ที่จัดเก็บจะลดลงตามปริมาณขยะที่ลดลงจากการคัดแยก เช่น กลุ่มที่ 1 บ้านเรือนทั่วไปที่มีปริมาณขยะไม่เกิน 20 ลิตรต่อวัน หากมีการคัดแยกขยะตามเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครกำหนด จะจ่ายค่าธรรมเนียมฯ 20 บาทต่อเดือน หากไม่มีการคัดแยกขยะจะจ่ายค่าธรรมเนียมฯ 60 บาทต่อเดือน

 

สำหรับประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนได้หลายวิธี เช่น ลงทะเบียนผ่านสมาร์ทโฟนในแอปพลิเคชัน BKK WASTE PAY หรือ Walk-in เข้ามาติดต่อที่ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะของสำนักงานเขตที่มีทะเบียนบ้านอยู่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงทะเบียนให้

 

จากนั้นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบเพื่อยืนยันว่ามีการคัดแยกขยะจริงหรือไม่ ในอนาคตกรุงเทพมหานครจะเพิ่มการลงทะเบียนเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเพิ่มเติมต่อไป ทั้งนี้ สภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบร่างข้อบัญญัติเก็บค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2567 โดยร่างข้อบัญญัติฯ นี้จะมีผลบังคับใช้ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา 180 วัน

 

สำหรับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมอัตราใหม่ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าธรรมเนียมฯ (ฉบับใหม่) แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

 

กลุ่มที่ 1 ปริมาณขยะไม่เกิน 20 ลิตรต่อวัน หรือไม่เกิน 4 กิโลกรัม จ่ายค่าธรรมเนียมรวม 60 บาท (ค่าเก็บและขนเดือนละ 30 บาท ค่ากำจัด 30 บาท) กรณีคัดแยกขยะและลงทะเบียนตามหลักเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกำหนด จ่ายค่าธรรมเนียมเดือนละ 20บาท (ค่าเก็บและขนเดือนละ 10 บาท และค่ากำจัดเดือนละ 10 บาท)

 

กลุ่มที่ 2 ปริมาณขยะเกิน 20 ลิตรต่อวัน แต่ไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือเกิน 4 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 200 กิโลกรัมต่อวัน จ่ายค่าธรรมเนียม 120 บาทต่อ 20 ลิตร (ค่าเก็บและขน 60 บาทต่อ 20 ลิตร และค่ากำจัด 60 บาทต่อ 20 ลิตร)

 

กลุ่มที่ 3 ปริมาณขยะเกิน 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวันขึ้นไป หรือเกิน 1,000 ลิตร หรือเกิน 200 กิโลกรัมต่อวัน) จ่ายค่าธรรมเนียม 8,000 บาท (ค่าเก็บและขน 3,250 บาทต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร และค่ากำจัด 4,750 บาทต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร)

The post กทม. ชวนประชาชนแยกขยะลดค่าจัดเก็บ กำชับแต่ละเขตสร้างความเข้าใจประชาชนเรื่องอัตราค่าธรรมเนียมใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำริมคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ 2 ฝั่ง https://thestandard.co/bkk-phadung-krung-kasem-renovate/ Mon, 03 Jul 2023 07:19:19 +0000 https://thestandard.co/?p=811122 คลองผดุงกรุงเกษม

วันนี้ (3 กรกฎาคม) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุ […]

The post กทม. รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำริมคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ 2 ฝั่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
คลองผดุงกรุงเกษม

วันนี้ (3 กรกฎาคม) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักเทศกิจ สำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักงานเขตปทุมวัน สำนักงานเขตดุสิต สำนักการโยธา สถานีตำรวจนครบาลในพื้นที่ ลงพื้นที่ติดตามการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำริมคลองผดุงกรุงเกษมในพื้นที่เขตปทุมวัน

 

จักกพันธุ์กล่าวว่า การจัดระเบียบผู้ค้าในพื้นที่สาธารณะนั้น ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครใช้วิธีการเจรจาสร้างความเข้าใจกับผู้ค้า การที่ผู้ค้าใช้พื้นที่สาธารณะทำการค้าขายนั้น จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้พื้นที่ทางเท้าในการเดินทางสัญจร ประชาชนจะต้องได้รับความสะดวกและมีความปลอดภัย 

 

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองผดุงกรุงเกษม เพราะฉะนั้นผู้ค้าที่ทำการค้าอยู่บริเวณดังกล่าว จึงจำเป็นต้องออกจากพื้นที่ซึ่งมีการก่อสร้างปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อให้การดำเนินงานปรับปรุงภูมิทัศน์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ในอนาคตเมื่อการปรับปรุงแล้วเสร็จ บริเวณสองฝั่งคลองจะมีสภาพสวยงาม 

 

จักกพันธุ์กล่าวต่อว่า หลังจากที่กรุงเทพมหานครมีการหารือร่วมกันในการจัดระเบียบผู้ค้าแล้ว จึงต้องมีการเจรจากับผู้ค้าพร้อมทั้งจัดหาสถานที่ เพื่อให้ผู้ค้าได้ไปทำการค้าในสถานที่ที่เหมาะสม ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดระเบียบผู้ค้าไปแล้ว จากเดิมมีจุดทำการค้า 791 จุด คงเหลือ 692 จุด โดยได้มีการเจรจาขอให้ยกเลิก รวมถึงจัดหาสถานที่ใหม่ให้ผู้ค้าได้เข้าไปทำการค้าในพื้นที่เอกชน และพื้นที่ซึ่งกรุงเทพมหานครจัดหาไว้ให้ 

 

การยกเลิกพื้นที่ทำการค้าบริเวณนี้ ทางสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สำนักงานเขตปทุมวัน และสำนักงานเขตดุสิต ได้จัดหาสถานที่รองรับผู้ค้าไว้จำนวนหนึ่ง รวมถึงมีการพูดคุยกับผู้ค้าว่าในอนาคตที่จะมีการทำการค้าแบบถาวร รูปแบบจะต้องเป็นอย่างไร ซึ่งตลาดโบ๊เบ๊ได้มีการจัดตั้งมานานแล้ว รวมถึงตลาดมหานาคที่อยู่ใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นบริเวณย่านนี้ถือว่าเป็นย่านที่เหมาะสมในการค้าขาย แต่การจัดระเบียบพื้นที่ก็ต้องทำควบคู่กันไปด้วย 

 

จักกพันธุ์กล่าวว่า การที่กรุงเทพมหานครเข้าไปจัดระเบียบผู้ค้าในพื้นที่ต่างๆ นั้น ผู้อำนวยการเขตถือว่าเป็นบุคคลสำคัญในการลงพื้นที่เข้าไปเจรจากับผู้ค้าถึงเหตุผลสำคัญในการยกเลิก สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับผู้ค้าให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดระเบียบพื้นที่ รวมถึงมีการวางแผนด้วยว่าในอนาคตจะทำอย่างไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง ซึ่งทางสำนักงานเขตทั้ง 3 แห่งได้มีการวางแผนไว้นานแล้ว 

 

วรชล ถาวรพงษ์ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กล่าวด้วยว่า การจัดระเบียบผู้ค้าในบริเวณนี้ คือตลาดโบ๊เบ๊ ตลาดมหานาค จะมีพื้นที่เชื่อมต่อกัน 3 เขต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตปทุมวัน และเขตดุสิต ที่ผ่านมาสำนักการโยธาได้เข้ามาปรับปรุงภูมิทัศน์ แต่ยังมีผู้ค้าในพื้นที่บางจุดมาเจรจาต่อรอง ซึ่งทางเขตฯ ก็รับฟัง ดึงระยะเวลามา 6-7 เดือนจนถึงวันนี้ ซึ่งการปรับปรุงภูมิทัศน์ใกล้จะแล้วเสร็จแล้ว เหลืออยู่เพียงบางส่วนที่ยังดำเนินการไม่ได้ อีกทั้งทางเขตฯ ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในการใช้พื้นที่ทางเท้า การตั้งวางสิ่งของกีดขวางทางเท้า และความสกปรก โดยทางเขตฯ ได้ประชาสัมพันธ์ไปล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ค้ารับทราบถึงการเข้าปรับปรุงพื้นที่ ซึ่งผู้ค้าในบริเวณดังกล่าวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี 

 

สุขวิชญาณ์ นสมทรง ผู้อำนวยการเขตปทุมวัน กล่าวว่า ทางสำนักงานเขตปทุมวัน ได้เจรจากับผู้ค้าที่ก่อสร้างอาคารรุกล้ำทั้ง 32 รายมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งปัจจุบันการปรับปรุงภูมิทัศน์ริมคลองผดุงกรุงเกษมเข้ามาถึงบริเวณอาคารที่รุกล้ำแล้ว จึงต้องดำเนินการรื้อถอนอาคารดังกล่าว ผู้ค้าทั้ง 32 รายยินดีให้ความร่วมมือในการรื้อย้ายออกไป เพื่อให้การปรับปรุงภูมิทัศน์แล้วเสร็จ มีความสวยงามทั้ง 2 ฝั่ง 

 

ศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของสำนักเทศกิจได้จัดทำแผนในการดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ตลอดแนว ตั้งแต่แยกกษัตริย์ศึกถึงแยกสะพานขาว รวมถึงจัดกำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจจากสำนักเทศกิจและสำนักงานเขต จำนวน 22 หน่วย แบ่งเป็น 3 ผลัด ผลัดที่ 1 ตั้งแต่เวลา 06.00-14.00 น. ผลัดที่ 2 ตั้งแต่เวลา 14.00-22.00 น. และผลัดที่ 3 ตั้งแต่เวลา 22.00-06.00 น. เพื่อดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อยตลอด 24 ชั่วโมง

The post กทม. รื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำริมคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ 2 ฝั่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติประชุม ผอ.-ผู้บริหาร 50 เขต ย้ำ ‘ไม่ส่วย ไม่เส้น’ ถอดบทเรียนกรณีเจ้าหน้าที่เขตราชเทวีเรียกรับผลประโยชน์ https://thestandard.co/chadchart-meeting-executives-districts/ Fri, 07 Apr 2023 10:33:48 +0000 https://thestandard.co/?p=774175 ชัชชาติ ประชุม ผอ.เขต

วันนี้ (7 เมษายน) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเ […]

The post ชัชชาติประชุม ผอ.-ผู้บริหาร 50 เขต ย้ำ ‘ไม่ส่วย ไม่เส้น’ ถอดบทเรียนกรณีเจ้าหน้าที่เขตราชเทวีเรียกรับผลประโยชน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชัชชาติ ประชุม ผอ.เขต

วันนี้ (7 เมษายน) ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมผู้บริหารกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยมีผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขต หัวหน้าหน่วยงานร่วมประชุม ก่อนเริ่มประชุมชัชชาติได้กล่าวถึงกรณีที่ตำรวจกองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) สนธิกำลังบุกจับหัวหน้าฝ่ายรายได้ สำนักงานเขตราชเทวี เรียกรับผลประโยชน์ ว่าขออย่าให้ข้าราชการน้ำดีเสียกำลังใจ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล ยืนยันว่า กทม. ให้ความสำคัญกับคำที่ว่า ‘ไม่ส่วย ไม่เส้น’ เพราะเรื่องของการทุจริตเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ และขอฝากเตือนถึงข้าราชการทุกคน

 

ชัชชาติกล่าวภายหลังการประชุมนานกว่า 4 ชั่วโมงว่า ที่มีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในแต่ละเขตได้เน้นย้ำให้ผู้อำนวยการเขตให้ความสำคัญเรื่องนี้ คนที่ไม่ดีมีจำนวนไม่มาก และขอให้ขวัญกำลังใจเจ้าหน้าที่ จึงต้องกรองคนไม่ดีออกไป ส่วนทางคดีหลังจากนี้ก็จะต้องขยายผลต่อ

 

ทาง กทม. ก็จะมีมาตรการป้องกัน โดยจะต้องลดการใช้วิจารณญาณในการประเมินรายได้ของฝ่ายรายได้ และเอาเทคโนโลยีมาช่วย ก็จะช่วยทำให้ลดการใช้วิจารณญาณลง ทำให้กระบวนการเรียกสินบนและค่าตอบแทนใต้โต๊ะลดลงได้ ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดี เพราะเมื่อก่อนภาษีโรงเรือนคิดตามการประเมินรายได้ แต่พอเปลี่ยนมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คิดตามราคาประเมินของกรมธนารักษ์

 

รวมถึงจะให้ฝ่ายตรวจสอบภายในลงไปช่วยดูกระบวนการจัดเก็บเงิน เพื่อให้ลดการใช้วิจารณญาณโดยคนใดคนหนึ่ง เป็นการตรวจสอบอีกชั้น ทำให้เรามั่นใจในกระบวนการมากขึ้น 

 

ส่วนกระบวนการขอใบอนุญาตต่างๆ หลักการจะทำให้เป็นออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อลดการเจอตัวกับผู้ให้ใบอนุญาตกับประชาชน และการพิจารณาจะใช้การพิจารณาเป็นกลุ่มคณะกรรมการแทนคนคนเดียว เพื่อให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ 

 

ชัชชาติกล่าวต่อไปว่า กรณีการจับคนทุจริตครั้งนี้เป็นเคสที่ 3 แล้ว กทม. ก็ลงโทษขั้นเด็ดขาด โดยเริ่มต้นจากการโยกข้าราชการที่มีปัญหาเข้ามา จากนั้นสั่งพักงานแล้วตั้งคณะกรรมการตรวจสอบวินัยร้ายแรงภายในกรอบ 30 วัน ส่วนที่ต้องโยกมาเพื่อให้คนไปแทนได้ ดีกว่าเสียตำแหน่งไป 

 

“ทั้งนี้ ยืนยันว่า กทม. เอาจริงเอาจังแน่นอน โดยเฉพาะผู้บริหาร กทม. ชุดนี้ เราไม่มีผลประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถ้ามีคงไม่กล้าดำเนินการเด็ดขาดแบบนี้ ส่วนการขยายผลผู้ที่เกี่ยวข้อง เป็นหน้าที่ของตำรวจในการสืบสวนดำเนินการต่อ โดย กทม. ให้ความร่วมมือเต็มที่ ส่วนในพื้นที่เขตพญาไทจะมีความผิดด้วยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานของตำรวจ แต่หัวใจสำคัญคือการอุดช่องโหว่ว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร” ชัชชาติกล่าว

 

ด้าน จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯ กทม. กล่าวว่า ที่ผ่านมาสำนักงานเขตส่วนรายได้จะต้องไปประเมินตรวจสอบ ถ้าไม่มั่นใจสามารถส่งให้คณะกรรมการดำเนินการได้ แต่กรณีที่เกิดขึ้นของสำนักงานเขตราชเทวี สำนักงานเขตมีการประเมินและพิจารณาดำเนินการจัดเก็บเอง จึงต้องให้หน่วยตรวจสอบภายในลงไปช่วยตรวจสอบเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม 

The post ชัชชาติประชุม ผอ.-ผู้บริหาร 50 เขต ย้ำ ‘ไม่ส่วย ไม่เส้น’ ถอดบทเรียนกรณีเจ้าหน้าที่เขตราชเทวีเรียกรับผลประโยชน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. แจงประเด็นเทศกิจ-รองผู้ว่าฯ กทม. ปะทะผู้ค้าทางเท้า ยืนยันจัดที่ขายใหม่ ให้เวลาย้ายนานแล้ว ขอให้ทำตามเงื่อนไข https://thestandard.co/silom-pedestrian-shops/ Sat, 21 Jan 2023 07:56:06 +0000 https://thestandard.co/?p=740234

วันนี้ (21 มกราคม) จากกรณีที่มีคลิปวิดีโอผู้ค้าย่านศาลา […]

The post กทม. แจงประเด็นเทศกิจ-รองผู้ว่าฯ กทม. ปะทะผู้ค้าทางเท้า ยืนยันจัดที่ขายใหม่ ให้เวลาย้ายนานแล้ว ขอให้ทำตามเงื่อนไข appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (21 มกราคม) จากกรณีที่มีคลิปวิดีโอผู้ค้าย่านศาลาแดง ขายของไปและร้องไห้ไป พร้อมระบุว่า ถูกเจ้าหน้าที่เทศกิจกรุงเทพมหานครไล่ที่ และอีกคลิปเป็นผู้ค้าย่านถนนสีลมเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่เทศกิจจนเกิดความชุลมุน

 

จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (รองผู้ว่าฯ กทม.) พร้อมด้วย เอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าฯ กทม. และโฆษก กทม. ศุภกฤต บุญขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักเทศกิจ กทม. และ อัญชนา บุญสุยา ผู้อำนวยการเขตบางรัก ร่วมกันแถลงข่าวถึงประเด็นที่เกิดขึ้น

 

จักกพันธุ์กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเด็นผู้ค้าบนทางเท้ามีปัญหามาตลอด กรุงเทพฯ มีผู้ค้าขายบนทางเท้าจำนวน 700 แห่ง คิดเป็นผู้ค้าประมาณ 20,000 ราย ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดระเบียบผู้ค้าบนทางเท้า มีกฎหมายรองรับ ดังนั้นการจะทำการค้าได้ต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565

 

ทั้งนี้ ทาง กทม. ได้สำรวจพื้นที่เพื่อให้ผู้ค้าบนทางเท้าเข้าไปทำการค้าในที่เหมาะสม ซึ่งสำรวจมาได้ 125 แห่ง รองรับผู้ค้าจำนวนกว่า 10,000 ราย ตลอดเวลา กทม. มีการอนุโลมให้ผู้ค้าบนทางเท้าค้าขายได้แต่ต้องมีเงื่อนไข ไม่รบกวนทางเท้าประชาชนด้วย เพราะเป็นพื้นที่ของประชาชน หากมีการค้าขายบนทางเท้าตลอดไปเป็นไปไม่ได้

 

กทม. ยังได้ขอร้องผู้ค้าว่าคนที่ต้องการค้าขายจะต้องย้ายไปในจุดที่ กทม. จัดให้ และต้องยอมรับว่าทางเท้าบางจุดมีประชาชนใช้สัญจรเป็นจำนวนมาก จะไปกีดขวางคนส่วนใหญ่ไม่ได้

 

ด้านอัญชนากล่าวว่า สำนักงานเขตบางรักได้รับเรื่องร้องเรียนการตั้งแผงอาหารรุกล้ำทางเท้า ไม่สะอาด ประชาชนต้องออกมาเดินที่ถนน และทำให้การจราจรติดขัด รวมทั้งผู้พิการก็ไม่ได้รับความสะดวก

 

ซึ่งที่ผ่านมาทางสำนักงานเขตได้เจรจากับผู้ค้าให้ย้ายจุดค้าขายตั้งแต่เดือนตุลาคม และมีการออกประกาศสำนักงานเขต ห้ามทำการค้าจุดที่ไม่ได้รับอนุญาต มีผลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา และวันที่ 25 ธันวาคม 2565 ได้ลงพื้นที่แจ้งให้ผู้ค้าเคลื่อนย้ายแผงค้าออกจากพื้นที่ภายในวันที่ 2 มกราคม 2566

 

อัญชนากล่าวว่า ทางเขตมีการจัดสรรพื้นที่เอกชน พร้อมลดราคาค่าเช่าให้มาลองตั้งแผงขายแล้ว ขอยืนยันว่าสำนักงานเขตบางรักและเจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และคอยดูแลทุกคน ใช้การปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนมาโดยตลอด ซึ่งวันที่ 19 และวันที่ 20 มกราคม ได้ลงไปดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ หลังจากแจ้งให้ผู้ค้าทราบ วันที่ 20 มกราคม มีผู้ค้าที่ขัดขืนไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน

 

ขณะที่จักกพันธุ์กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ปรากฏในคลิปที่ยกถังแกลลอนของผู้ค้าขึ้นรถเทศกิจ จนมีประชาชนตะโกนว่ารองผู้ว่าฯ กทม. ทำร้ายประชาชน ว่าความจริงแล้วผู้ค้ารายนี้เคยมาร้องเรียนที่ กทม. และได้ชี้แจงแล้วว่า กทม. ได้จัดที่ไว้ให้ แต่ทางผู้ค้าไม่ปฏิตาม

 

จึงต้องบอกผู้ค้าว่าจะต้องขอยึดของกลาง เจ้าหน้าที่เทศกิจเองก็ยกของบางส่วนไปที่หลังรถ เพื่อเป็นการบอกว่าให้ผู้ค้าหยุดทำการค้าขายและไปพูดคุยทำความเข้าใจที่สำนักงานเขต โดยระหว่างพูดคุยกันก็มีคนประมาณ 10 คนเข้ามาล้อมเจ้าหน้าที่

 

จักกพันธุ์กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่มีผู้ระบุว่าไปตบตีแม่ค้า ตนยืนยันว่าไม่เป็นความจริงแน่นอน และตอนนี้ได้มอบหมายให้หัวหน้าฝ่ายเทศกิจเขตบางรักไปแจ้งความกล่าวโทษผู้ที่กล่าวหาตนเองแล้ว

 

ทั้งนี้ กรณีที่มีข้อสงสัยว่าทำไมที่ถนนเยาวราชถึงค้าขายบนทางเดินเท้าได้ จักกพันธุ์ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ที่ตรงนั้นได้รับการผ่อนผันอยู่แล้ว อีกทั้งบริเวณนั้นเป็นจุดขายสตรีทฟู้ด มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยอะ สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี

 

“กทม. ขอยืนยันว่า เมื่อมีการจัดระเบียบแล้ว กทม. ไม่ได้ทอดทิ้งผู้ค้า และที่ผ่านมาได้มีการเข้าไปต่อรองกับเอกชนในการคิดราคาผู้เช่าให้ถูกที่สุด รวมถึงการจัดการปัญหาขยะด้วย เหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นถ้าทุกคนเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติและปฏิบัติตามเงื่อนไข” จักกพันธุ์กล่าวในที่สุด

The post กทม. แจงประเด็นเทศกิจ-รองผู้ว่าฯ กทม. ปะทะผู้ค้าทางเท้า ยืนยันจัดที่ขายใหม่ ให้เวลาย้ายนานแล้ว ขอให้ทำตามเงื่อนไข appeared first on THE STANDARD.

]]>
ผู้บริหาร กทม. ร่วมพิธีทำบุญเทิดพระเกียรติวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช https://thestandard.co/king-taksin-merit-making-ceremony/ Wed, 28 Dec 2022 04:38:38 +0000 https://thestandard.co/?p=729745

วันนี้ (28 ธันวาคม) เมื่อเวลา 06.30 น. ที่ลานพระบรมราชา […]

The post ผู้บริหาร กทม. ร่วมพิธีทำบุญเทิดพระเกียรติวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (28 ธันวาคม) เมื่อเวลา 06.30 น. ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (วงเวียนใหญ่) เขตธนบุรี ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ โดยพระราชาคณะ 10 รูป และพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 99 รูป 

 

จากนั้นร่วมพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมด้วย ขจิต ชัชวานิชย์ ปลัด กทม. คณะผู้บริหาร กทม. ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการเขต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลตากสิน ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมพิธี 

 

ทั้งนี้ ในวันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ทาง กทม. ได้กำหนดจัดพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณฯ เทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และร่วมแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อเนื่องตลอดทั้งวัน 

 

ในเวลาเดียวกัน จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าฯ กทม. เป็นประธานในพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เขตบางกอกใหญ่ 

 

 

 

The post ผู้บริหาร กทม. ร่วมพิธีทำบุญเทิดพระเกียรติวันคล้ายวันปราบดาภิเษกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. ส่งการบ้านครบ 6 เดือนผ่านภารกิจ 4 รองผู้ว่าฯ การรักษาพยาบาล-บทเรียนน้ำท่วม-แหล่งทำกิน-การศึกษา https://thestandard.co/bangkok-governor-work/ Thu, 22 Dec 2022 07:28:07 +0000 https://thestandard.co/?p=727402 กรุงเทพมหานคร

วานนี้ (21 ธันวาคม) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) […]

The post กทม. ส่งการบ้านครบ 6 เดือนผ่านภารกิจ 4 รองผู้ว่าฯ การรักษาพยาบาล-บทเรียนน้ำท่วม-แหล่งทำกิน-การศึกษา appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรุงเทพมหานคร

วานนี้ (21 ธันวาคม) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ดินแดง) 4 รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย จักกพันธุ์ ผิวงาม, วิศณุ ทรัพย์สมพล, ทวิดา กมลเวชช และ ศานนท์ หวังสร้างบุญ จัดแถลงผลงานการรับผิดชอบภารกิจแต่ละด้านในวาระครบรอบ 6 เดือนของการรับตำแหน่ง

 

โดยนโยบายที่ได้นำมาปฏิบัติเป็นไปตามตัวชี้วัดของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดไว้ 9 ด้าน 9 ดี ประกอบด้วย ปลอดภัยดี เดินทางดี สุขภาพดี สร้างสรรค์ดี สิ่งแวดล้อมดี โครงสร้างดี เรียนดี เศรษฐกิจดี และบริหารจัดการดี 

 

พัฒนาคุณภาพเจ้าหน้าที่ กทม.-สนับสนุนการรักษาขั้นปฐมภูมิ-บริหารแผนที่เสี่ยงภัย

 

ทวิดากล่าวถึงรูปแบบการทำงานของผู้ว่าฯ กทม. เวลาลงไปเจอปัญหาจะไม่โทษใครก่อน แต่จะสั่งการให้รองผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 4 คนไปหาข้อมูลแล้วจึงแก้ไขปัญหา มุมหนึ่งคือผู้ว่าฯ กทม. ไปตามงานให้ และสองคือเจ้าหน้าที่ที่เป็นระดับปฏิบัติการจะรู้สึกว่าคนที่เป็นหัวหน้าก็มีส่วนรับผิดชอบในหน้าที่ตรงนี้ด้วย สะท้อนถึงความใส่ใจ ลงไปกำกับดูแลด้วยตนเอง 

 

หลังจาก 99 วันที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่ได้พูดถึงกันคือทำอย่างไรให้สิ่งที่เป็นเป้าหมายนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี เชื่อมโยงไปสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนากรุงเทพมหานคร 7 มิติ ซึ่งออกมาเป็นเป้าหมายให้กับคนกรุงเทพฯ 74 เรื่อง และภายใต้ 74 เรื่องนี้ได้มีการถ่ายทอดนำไปสู่ 74 OKRs (Objective and Key Results เครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผล) ของหน่วยงานเรียบร้อยแล้ว

 

โดยกำหนด KPIs (Key Performance Indicators ดัชนีชี้วัดผลงาน) ของหน่วยงานนั้นๆ และให้หน่วยงานทำคำของบประมาณในปี 2567 จะใช้วิธีคิดงบประมาณฐานศูนย์ (Zero-Based) เพื่อมองเป้าหมายว่าประชาชนจะได้อะไร และพิจารณาว่าอะไรควรดำเนินการต่อ เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน

 

เริ่มจากให้การสนับสนุนงาน ปัจจุบัน กทม. จ้างงานคนพิการแล้ว 323 คน และภายในเดือนมีนาคม 2566 มีเพิ่มอีก 4 ตำแหน่ง 11 อัตรา ภายใต้การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความสะดวกมากขึ้น 

 

ในขณะเดียวกันมีการพัฒนาทักษะเดิมของเส้นเลือดฝอย เพิ่มเติมทักษะใหม่ให้กับเจ้าหน้าที่ของ กทม. ให้สามารถทำงานได้มากกว่า 1 งาน ในกลุ่มนักจัดการเมือง นักสุขภาพเมือง นักสิ่งแวดล้อมเมือง นักปลอดภัยเมือง และวิศวกรเมือง รวมทั้งมีการกระจายอำนาจเพิ่มประสิทธิภาพการบริการด้านสังคมและคุณภาพชีวิตในสำนักงานเขต สู่ประชาชนในพื้นที่ (Sandbox) คลองเตย บางเขน โดยเลือกจากบริบทของเขตที่มีความแตกต่างกัน เพื่อปรับโครงสร้างของงาน เงิน คน โดยสำนักงานเขตมีอำนาจในการตัดสินใจบนบริการสาธารณะที่สอดคล้องกับพื้นที่และปัญหาของประชาชนได้อย่างแท้จริง

 

ทวิดากล่าวต่อไปว่า ระบบบริการปฐมภูมิเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยมี 3 เรื่องใหญ่ที่ทำในตอนนี้ คือ One Stop Service – Telemedicine – BKK Pride Clinic เริ่มจากศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ เปิดให้บริการในรูปแบบ One Stop Service จำนวน 9 แห่ง ดังนี้ โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ฯ โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์ โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสิรินธร และโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ดำเนินการออกบัตรประจำตัวคนพิการจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,345 ราย โดยในปี 2566 จะเปิดศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จเพิ่มเติมอีก 2 แห่ง จนครบ 11 โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร

 

สำหรับบริการทางการแพทย์ผ่านระบบโทรเวชกรรม Telemedicine ให้บริการปรึกษา ตรวจรักษา ตรวจสอบสิทธิ นัดหมาย จองคิว ส่งต่อข้อมูล เปิดใช้ในโรงพยาบาลสังกัด กทม. 9 แห่ง มีผู้รับบริการ 45,583 ราย โดยในปี 2566 จะเปิดให้บริการเพิ่มอีก 2 แห่ง นอกเหนือจากการให้บริการรับคำปรึกษาและรักษาพยาบาลแล้ว ยังให้บริการระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อผู้ป่วย (e-Referral) แบบไร้รอยต่อ เปิดใช้งานระบบ e-Referral ระหว่างศูนย์บริการสาธารณสุขกับโรงพยาบาล ประหยัดเวลา ได้รักษาเร็วขึ้น ลดเวลาการตอบรับนัดเหลือไม่เกิน 30 นาที (ค่าเฉลี่ย 20 นาที และอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามกรณีความซับซ้อนของการรักษา) 

 

นอกจากนี้ยังยกเลิกการใช้ใบส่งตัว โดยใช้งานระบบ e-Referral จากศูนย์บริการสาธารณสุข 69 แห่ง ไปยังโรงพยาบาลในสังกัดจำนวน 6 แห่ง มากกว่า 5,000 เคส ใช้งานจริงแล้วที่ดุสิตโมเดลและราชพิพัฒน์โมเดล โดยในเดือนมกราคม 2566 ระบบ e-Referral พร้อมใช้งานเต็มรูปแบบ ทุกโรงพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณสุขในสังกัด กทม.

 

ทวิดาได้รายงานสรุปข้อมูลการดำเนินงาน Sandbox ดุสิตโมเดล ครอบคลุม 4 เขต เขตดุสิต พระนคร บางซื่อ และบางพลัด ในปีงบประมาณ 2565 มีผู้ใช้บริการ Telemedicine 1,391 คน เดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2565 มีผู้ใช้บริการ e-Referral 3,361 คน และในปีงบประมาณ 2565 ใช้บริการ V EMS 1,391 คน สำหรับ Sandbox ราชพิพัฒน์โมเดล ครอบคลุมพื้นที่ 5 เขต ประกอบด้วย เขตทวีวัฒนา บางแค หนองแขม ตลิ่งชัน และภาษีเจริญ โดยมียอดสะสมให้บริการผ่าน Telemedicine 67,330 คน ยอดสะสมให้บริการ Commu-lance 4,337 คน ยอดสะสมให้บริการผ่าน Motor-lance 494 คน ยอดสะสมให้บริการผ่านระบบเยี่ยมบ้านออนไลน์ 941 คน (ข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 19 ธันวาคม) ในส่วนของ BKK Pride Clinic ให้บริการแล้ว 11 แห่ง (เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน) และจะเปิดเพิ่ม 5 แห่ง จนครบ 16 แห่ง ภายในเดือนธันวาคม 2565 ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2565 มีผู้รับบริการ 4,619 ราย

 

เปิดข้อมูล BKK Risk Map แผนที่เสี่ยงภัยในกรุงเทพมหานคร พร้อมเปิดข้อมูล 5 ภัย (ระยะที่ 1) ได้แก่ อุทกภัย อัคคีภัย จุดเสี่ยงและอันตราย ความปลอดภัยทางถนน มลพิษทางอากาศ PM2.5 ส่งออกข้อมูลแบบ Machine-readable Data ซึ่งสามารถใช้งานได้ทันที ช่วยสร้างความตระหนักเรื่องของภัย และอีกมุมคือสร้างการมีส่วนร่วมในการรายงานข้อมูลจุดเสี่ยงต่างๆ โดยในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงกับ Traffy Fondue และ CCTV นอกจากนี้ กทม. ยังใช้ข้อมูลจาก BKK Risk Map ในการวางแผนทางด้านสาธารณภัยทั้งหมด 

 

ในปีงบประมาณ 2566 มีการเพิ่มประปาหัวแดง 248 จุดในพื้นที่เสี่ยงสูง จากทั้งหมด 23,598 จุด เพิ่มเครื่องดับเพลิงในชุมชนแออัด 451 ชุมชน รวมไม่น้อยกว่า 268 ถัง เพิ่มรถกู้ภัยทางถนน 15 คัน และพัฒนาสถานีดับเพลิงทันสมัยตอบโจทย์เมือง โดยเร่งยกระดับสถานีดับเพลิงหลัก 37 แห่ง และ 11 สถานีย่อย รวมทั้งปรับปรุง 1 แห่ง สร้างใหม่ 4 แห่ง (สายไหม สุทธิสาร บางอ้อ ทวีวัฒนา) รวมทั้งเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่และชุมชุน โดยมีแผนอำนวยการเหตุการณ์สำหรับผู้อำนวยการเขตและผู้ช่วยผู้อำนวยการเขต ดำเนินการแผนซ้อมและปฏิทินซ้อมดับเพลิง อพยพ ระดับชุมชน เชื่อมโยง เชื่อมงาน สานพลังกู้ชีพกู้ภัย นอกจากนี้ยังมีการลงนามความร่วมมือ MOU ร่วมกับมูลนิธิกู้ชีพกู้ภัย 7 แห่ง แบ่งโซนการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีเอกภาพภายใต้มาตรฐานเดียวกัน โดยในปี 2566 นำร่องซ้อม 438 ชุมชน ซึ่งจะทำให้ กทม. บริหารจัดการเรื่องนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ถอดบทเรียนน้ำท่วมหนักสุดรอบ 30 ปี-จัดระเบียบสายสื่อสาร-ปรับปรุงระบบจราจร

 

ด้านวิศณุกล่าวถึงการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง (Infrastructure) ซึ่งมีความท้าทายและซับซ้อน รวมถึงต้องอาศัยหลายหน่วยงานในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเรื่องแรกคือปัญหาน้ำท่วม ซึ่งมาจากน้ำฝนและน้ำเหนือ น้ำหนุน โดยในปีนี้ปริมาณน้ำฝนสะสมมากกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ถึง 40% (ค่าเฉลี่ยปี 2534-2563 รวม 1,689.7 มิลลิเมตร (มม.) ค่าเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2565 รวม 2,355.5 มม.) ทำให้ กทม. ต้องเพิ่มความสามารถในการระบายน้ำให้มากขึ้น 

 

จากการถอดบทเรียนน้ำท่วมที่ผ่านมา จุดเสี่ยงน้ำท่วมจากน้ำฝน สิ่งที่ กทม. ทำได้คือการเร่งระบายให้น้ำที่มีนั้นออกไปสู่คลองและแม่น้ำให้ได้เร็วที่สุด ผ่านการลอกท่อ ขุดลอกคลอง และปรับปรุงสถานีสูบน้ำ โดยปี 2565 ดำเนินการลอกท่อไปแล้ว 3,357 กิโลเมตร จากทั้งหมด 6,564 กิโลเมตร และในปี 2566 จะดำเนินการ 3,875 กิโลเมตร การปรับปรุงบ่อสูบน้ำ ปี 2565 ดำเนินการปรับปรุง 12 แห่ง และเพิ่มปั๊ม 18 ตัว ปี 2566 ปรับปรุงเพิ่มอีก 69 แห่ง และเพิ่มปั๊ม 124 ตัว (Mobile Pump) 

 

วิศณุกล่าวด้วยว่า การขุดลอกคลอง จาก 2,742 กิโลเมตร ปี 2565 ดำเนินการแล้ว 159 กิโลเมตร (ปี 2560-2565 รวม 1,012 กิโลเมตร) และปี 2566 จะดำเนินการ 183 กิโลเมตร นอกจากนี้ในปี 2565 ดำเนินการปรับปรุงและซ่อมแซมสถานีสูบน้ำ 23 แห่ง และอุโมงค์ระบายน้ำ ปี 2566 ดำเนินการปรับปรุงและซ่อมแซมสถานีสูบน้ำ 39 แห่ง และอุโมงค์ระบายน้ำเพิ่มปั๊ม 30 ตัว เพื่อให้สามารถระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น ซึ่งการระบายน้ำของ กทม. ในปีหน้าจะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

 

สำหรับจุดเสี่ยงน้ำท่วม จากน้ำเหนือหนุน 119 จุด ที่ผ่านมามีการซ่อมแซมแนวป้องกันน้ำท่วมและแนวฟันหลอ 21 แห่ง ในปี 2565 ดำเนินการเพิ่มอีก 25 แห่ง และปรับปรุงทางเท้า 1,000 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จ 150 กิโลเมตร ปี 2566 จะดำเนินการ 250 กิโลเมตร สำหรับการปรับปรุงทางเท้าจากการรายงานของประชาชนผ่าน Traffy Fondue มีจำนวน 20,107 รายการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 12,695 รายการ คิดเป็น 63% รวมถึงปรับปรุงทางวิ่งเพื่อทำให้เป็น Bangkok Trail สร้างเศรษฐกิจให้เข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ 500 กิโลเมตร ดำเนินการแล้วเสร็จ 20 กิโลเมตร 2 เส้นทาง และในปี 2566 จะดำเนินการ 100 กิโลเมตร รวม 10 เส้นทาง 

 

การจัดระเบียบสายสื่อสาร ปี 2565 ดำเนินการแล้วเสร็จ 161.56 กิโลเมตร (37 เส้นทาง) ปี 2566 ดำเนินการเพิ่ม 442.62 กิโลเมตร และได้นำสายสื่อสารลงดิน ปี 2565 ดำเนินการแล้วเสร็จ 6.3 กิโลเมตร ปี 2566 จะดำเนินการเพิ่ม 29.2 กิโลเมตร ซึ่ง กทม. ได้ร่วมดำเนินการใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

วิศณุกล่าวต่อไปว่า กทม. ได้วิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนที่ 100 จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน ประกอบด้วย 1. รณรงค์และกวดขันวินัยจราจรเพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน 2. การปรับปรุงเครื่องหมาย ป้ายจราจร สัญญาณไฟจราจร และการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย 3. การปรับปรุงทางกายภาพในปี 2565-2566 ดังนี้

 

ปี 2565 ดำเนินการล้างทำความสะอาด 421 แห่ง (กทม. มี 2,794 ทางข้าม) ทาสีโคลด์พลาสติก 145 แห่ง และปรับปรุงทางม้าลายสีขาวที่ซีดจาง / ชำรุด 1,000 แห่ง ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรทางแยก 4 แห่ง สัญญาณไฟจราจรทางข้ามชนิดกดปุ่ม 85 แห่ง และสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้าม 50 แห่ง ปี 2566 ดำเนินการล้างทำความสะอาด 500 แห่ง ทาสีโคลด์พลาสติก 210 แห่ง และปรับปรุงทางม้าลายสีขาวที่ซีดจาง / ชำรุด 500 แห่ง ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรทางแยก 2 แห่ง และสัญญาณไฟกะพริบเตือนทางข้าม 50 แห่ง

 

ปัญหารถติดซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก กทม. ได้ดำเนินการวิเคราะห์จุดฝืดรถติด และจะดำเนินการกวดขันวินัยจราจร ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ (Soft Power) แนวทางตามหลักวิศวกรรมจราจร (ปรับปรุงเชิงกายภาพ) และใช้เทคโนโลยีช่วยบริหารจัดการไฟจราจร (Intelligent Traffic Management System: ITMS) ซึ่งจากนี้ไปจะทำงานร่วมกับตำรวจจราจรเพื่อจัดการจราจรให้คล่องตัวมากขึ้นด้วย 

 

ควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง PM2.5 – หาพื้นที่ทำสวน 15 นาที – สะสางปัญหาหาบเร่

 

ส่วนจักกพันธุ์กล่าวว่า เนื่องจากผู้ว่าฯ กทม. ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 โดยกำหนดเป็นมาตรการ 16 มาตรการ มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำ 16 มาตรการไปปฏิบัติ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ ตรวจ ติดตาม และแก้ไข เริ่มจากการหาสาเหตุของปัญหาฝุ่นละอองซึ่งมีหลายปัจจัย โดยสำนักงานเขตและสำนักที่เกี่ยวข้องได้ลงพื้นที่สำรวจปัญหาของฝุ่นว่าเกิดจากอะไรบ้าง โดยมีการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการตรวจรถยนต์ รถประจำทาง รถบรรทุก 58,711 คัน ตรวจโรงงาน แพลนต์ปูน ไซต์ก่อสร้าง ถมดิน 1,900 แห่ง ติดตาม BKK Clean Air Area ตรวจสอบแหล่งกำเนิดทุกแห่งอย่างน้อย 2 ครั้งต่อเดือน ทั้งนี้ ได้มีการสั่งแก้ไขปรับปรุงโรงงาน แพลนต์ปูน ไซต์ก่อสร้าง ถมดิน 41 ครั้ง สั่งแก้ไข-ห้ามใช้รถยนต์ รถประจำทาง รถบรรทุก 1,020 คัน โดยมีจุดวัดค่าฝุ่นในพื้นที่กรุงเทพฯ 70 จุด ผ่านแอปพลิเคชัน AirBKK และมีการใช้ Traffy Fondue แจ้งจุดกำเนิดฝุ่น 

 

จักกพันธุ์กล่าวต่อไปว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ในการบูรณาการร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหา เพื่อให้นโยบายสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ในอนาคต กทม. จะร่วมมือกับแอป LINE ซึ่งจะทราบข้อมูลฝุ่นละอองในแต่ละจุดว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และแนวทางการแก้ปัญหาของ กทม. ต่อไปในอนาคตมีอะไรบ้าง ปัจจุบันค่ามาตรฐาน PM2.5 ของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษกำหนดไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ในอนาคตกรมควบคุมมลพิษได้ลดจำนวนจาก 50 มคก./ลบ.ม. เหลือ 37.5 มคก./ลบ.ม. ซึ่งจะใช้ประมาณเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2565 ค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 อยู่ที่ 27 มคก./ลบ.ม.

 

จักกพันธุ์กล่าวถึงความคืบหน้านโยบายสวน 15 นาที ขณะนี้สำนักงานเขตและสำนักสิ่งแวดล้อมดำเนินการจัดหาพื้นที่ทำสวน 15 นาทีได้แล้ว 98 แห่ง เนื้อที่ประมาณ 641 ไร่ แบ่งเป็นที่ดิน กทม. 39 แห่ง หน่วยงานรัฐ 34 แห่ง เอกชน 25 แห่ง เปิดให้บริการแล้ว 13 แห่ง คือ

 

  1. สวนหน้าคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล 
  2. สวนหย่อมดับเพลิงสุทธิสาร 
  3. สวน Vadhana Pocket Park ซอยทองหล่อ 10 
  4. สวนหย่อมซอยสุขุมวิท 62/3 ใกล้กับโรงแรมคอนวีเนี่ยน ปาร์ค 
  5. สวนหย่อมซอยวชิรธรรมสาธิต 27 (ชุมชนหมู่บ้านทับแก้ว) 
  6. สวนหย่อมพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก (เขตบางรัก) 
  7. สวนสุขใจ 
  8. สวนจุดพักรถลาดกระบัง 
  9. ยูเทิร์นเพลินใจ ทางกลับรถใต้สะพานบางขุนศรี 
  10. ที่ว่างชุมชนการเคหะธนบุรี โครงการ 1 ส่วน 4 
  11. สวนสมเด็จย่า บางขุนเทียน 
  12. ลานเอนกประสงค์ สวนสุขเวชชวนารมย์ 
  13. สวนบางบอนสุขใจ 

 

โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบพื้นที่และกิจกรรมต่างๆ ในสวน เพื่อให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานอย่างแท้จริง

 

ด้านการจัดระเบียบหาบเร่-แผงลอย ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและมีความสำคัญในการให้ผู้ค้าและผู้เดินเท้าใช้ทางเท้าร่วมกันได้ โดยปัจจุบัน กทม. มีจำนวนจุดผ่อนผันทั้งหมด 95 จุด ดำเนินการแล้วเสร็จ 55 จุด กำลังดำเนินการ 31 จุด ขอทบทวน 9 จุด และนอกจุดผ่อนผันทั้งหมด 618 จุด โดยมีการสำรวจนอกจุดผ่อนผัน 50 เขต จำนวนผู้ค้า 13,964 ราย พร้อมดำเนินการจัดระเบียบให้ผู้ค้าอยู่ในเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมทั้งมีการเก็บข้อมูลผู้ค้า และขอความร่วมมือทำความสะอาดพื้นที่ทำการ ซึ่งมีพื้นที่ที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น สำนักงานเขตปทุมวัน หน้าอาคารโรเล็กซ์ (ถนนวิทยุ) สำนักงานเขตบางนา หน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีบางนา สำนักงานเขตดอนเมือง บริเวณถนนสรงประภา 

 

นอกจากนี้ยังมีการสำรวจพื้นที่ 125 จุด เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์อาหาร (Hawker Center) โดยมีการแบ่งโซนพื้นที่ร่มบังแดด บังฝน เพื่อความสะดวก จัดให้มีจุดคัดแยกขยะ พื้นที่ซักล้างเพื่อความสะอาด พร้อมจัดให้มีพื้นที่ส่วนกลางในการจัดกิจกรรมเพื่อความสนุกสนาน โดยมีพื้นที่นำร่อง Hawker Center 2 จุด ได้แก่ เขตมีนบุรี และสวนลุมพินีประตู 5 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ

 

จักกพันธุ์กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา มีข่าวจากนิตยสาร Time Out ได้จัด 33 อันดับถนนที่ดีที่สุดในโลก จากการสัมภาษณ์ผู้คนทั่วโลกกว่า 20,000 คน โดยอิงจากถนนสายชั้นนำของโลกที่โดดเด่นทั้งอาหาร ความสนุกสนาน วัฒนธรรม และชุมชน ซึ่งถนนเยาวราชติดลำดับที่ 8 นั่นหมายถึงถนนในพื้นที่กรุงเทพฯ มีศักยภาพที่ทำเป็นที่ค้าขาย หรือสตรีทฟู้ดให้ประชาชนได้ค้าขาย คนทั่วไป และนักท่องเที่ยว ได้จับจ่ายใช้สอย ซึ่งผู้ค้าต้องมีส่วนในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกับ กทม. ให้เป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว จะสามารถทำให้สตรีทฟู้ดของกรุงเทพฯ มีความยั่งยืน และอยู่ร่วมกันได้ระหว่างประชาชนที่ใช้ทางเท้ากับผู้ค้าบนทางเท้า

 

สร้างสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่เท่าเทียม-เพิ่มพื้นที่ / ชั่วโมงการเรียนรู้-ยกระดับเศรษฐกิจระดับเมือง

 

ส่วนศานนท์กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาคนพร้อมกับพัฒนาเมือง ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมา กทม. เปลี่ยนวิธีการทำงานโดยสิ้นเชิง เดิมการทำงานบูรณาการเป็นเรื่องยาก จึงเปลี่ยนการทำงานเอาคนเป็นตัวตั้ง และเอาทีมมาสนับสนุนการดำเนินการ สำหรับภารกิจซึ่งในส่วนที่ดูแลคือเรื่องของสวัสดิการขั้นพื้นฐาน การเรียนรู้ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 

 

เรื่องสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ทำให้ทุกคนมีสวัสดิการเท่าเทียมที่รัฐจัดการให้ โจทย์คือทำอย่างไรให้ทุกคนเข้าถึงอย่างถ้วนหน้า เมื่อคนกรุงเทพฯ ไม่ได้เริ่มจากฐานที่เท่ากัน การดำเนินการแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย เป็นสวัสดิการทั่วถึงสำหรับเด็ก โดยเพิ่มค่าอาหารจากเดิม 20 บาทเป็น 32 บาท และอุปกรณ์ศูนย์เด็กเล็กจากเดิม 100 บาทเป็น 600 บาท อาหารเช้า-กลางวันฟรี ชุดนักเรียนฟรี ผ้าอนามัยฟรี และลดการใส่เครื่องแบบ ด้านสวัสดิการคนไร้บ้าน ดำเนินการจัดจุด Drop-in 4 จุด เพื่อให้บริการตัดผม ซัก อบ อาบ ตรวจสอบสิทธิ สวัสดิการ ตรวจสุขภาพ ลงทะเบียนจ้างงาน ดำเนินการจัดระเบียบการแจกอาหาร และดำเนินการจัดที่อยู่อาศัย ทั้งแบบอยู่อาศัยระยะยาวและแบบอยู่อาศัยชั่วคราว (บ้านพักคนละครึ่ง) 

 

ด้านสวัสดิการคนไร้บ้าน ประกอบด้วย จ้างงานคนพิการ 323 คน พัฒนาระบบ Live Chat Agent มีโรงเรียนเรียนร่วม 158 โรงเรียน นำร่องอบรมครูเรียนรวม 2 โรงเรียน การเปิด LINE OA กรุงเทพฯ เพื่อทุกคนในเรื่องฐานข้อมูล และสิทธิประโยชน์สำหรับคนพิการ ให้บริการรถรับ-ส่งคนพิการ โดยกรุงเทพธนาคม การจัดให้มีอาสาสมัครเทคโนโลยี (อสท.) ประจำชุมชน 22,566 คน จาก 31 เขต เพื่อทำให้ข้อต่อต่างๆ มีความเข้มแข็งขึ้น โครงการ Food Bank ส่งต่ออาหารส่วนเกินสู่กลุ่มคนเปราะบาง 10 เขตพื้นที่นำร่อง การส่งเสริมอาชีพโดยสร้างแรงงานตอบโจทย์ตลาดแรงงาน และสร้างผู้ประกอบการ

 

ศานนท์กล่าวด้วยว่า ด้านการเรียนรู้ แบ่งเป็นการเรียนรู้ในห้องเรียนร่วมกับกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) คัดกรองเด็กยากจนพิเศษเพื่อขอรับทุนการศึกษา 6,159 คน ปลดล็อกครูโดยเพิ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรการและการเงินโรงเรียนเพื่อลดภาระงานเอกสารครู และปรับเกณฑ์การเลื่อนวิทยฐานะให้เป็นมาตรฐานสากล ด้าน Open Education เปิดโรงเรียนสู่การเรียนรู้ในวิชาที่นักเรียนสนใจ เช่น เปิดสอน Coding การตัดต่อวิดีโอ ดิจิทัล

มาร์เก็ตติ้ง และ E-Sport ด้านการกำหนดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) 54 โรงเรียน เพื่อเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนทั้งโรงเรียน และพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา เช่าระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ทุกโรงเรียนในรอบ 7 ปี

 

สำหรับการเรียนรู้นอกห้องเรียน ประกอบด้วย ห้องสมุด 34 แห่ง บ้านหนังสือ 140 แห่ง ลานกีฬา 970 แห่ง ศูนย์กีฬา 12 แห่ง พิพิธภัณฑ์เด็ก 2 แห่ง พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 24 แห่ง ศูนย์เยาวชน 35 แห่ง และสวนสาธารณะ 103 แห่ง ซึ่ง กทม. ได้จัดกิจกรรมเติมชีวิตให้พื้นที่เหล่านี้โดยจัดกิจกรรมมากกว่า 200 ครั้ง ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 500,000 คน 

 

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ กทม. ได้ดำเนินการ เช่น การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยเริ่มเพิ่มช่องทางออนไลน์ให้ 93 ร้าน สร้างยอดขายกว่า 1.85 ล้านบาท และการส่งเสริมกิจกรรมออฟไลน์ตลาดชุมชน พื้นที่ออกร้านตามกิจกรรมและเทศกาลต่างๆ

 

ศานนท์ยังได้กล่าวถึงกิจกรรมย่านสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ ก็เป็นอีกหนึ่งนโยบายที่ดำเนินการต่อเนื่อง ประกอบด้วย กลุ่มย่านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ย่านพาณิชยกรรมสร้างสรรค์ และย่านชุมชนและวิถีชีวิตสร้างสรรค์ ซึ่งเรื่องของเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างซึ่งต้องอาศัยคณะทำงานที่เข้าใจปัญหาจริงจัง ซึ่งได้แต่งตั้งแล้ว 27 คณะ สำหรับทิศทางการทำงานในปี 2566 จะดำเนินการเกี่ยวกับสภาเมืองคนรุ่นใหม่ งานพัฒนาที่อยู่อาศัย MIB (Made in Bangkok) City Lab แพลตฟอร์มจองพื้นที่สาธารณะ และ Sandbox ในส่วนของโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก และหลักสูตรการฝึกอาชีพ 

 

ทั้งนี้ มีรายงานว่าเรื่องของการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กทม. ได้ตั้งเป้าการจัดเก็บภาษีไว้ที่ 79,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้จัดเก็บได้เกินเป้าคือกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งขั้นต่อไปต้องพยายามให้สำนักงานเขตจัดทำฐานภาษีตามกฎหมายใหม่ให้ได้ตามเป้า 100% ทั้งนี้ นอกจากการหารายได้แล้วต้องคำนึงถึงเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อให้เหลือวงเงินงบประมาณไปใช้ในเรื่องที่ กทม. ไม่เคยทำมาก่อน เช่น การดำเนินงานเพื่อกลุ่มเปราะบาง การนำ OKRs มาใช้ 

 

ส่วนระบบ Traffy Fondue ที่นำมาใช้เพื่อรับปัญหาจากประชาชน สรุปยอดผู้รายงานปัญหาในขณะนี้มีทั้งหมด 192,686 เรื่อง ปัญหาที่มีการร้องเรียนเข้ามามากที่สุด 5 ลำดับแรก คือ ถนน ทางเท้า น้ำท่วม แสงสว่าง และความปลอดภัย ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้ได้รับการแก้ไขแล้ว 68% อยู่ระหว่างการแก้ไข 3% ส่งต่อให้หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบ 26% และรอเจ้าหน้าที่รับเรื่อง 1%

The post กทม. ส่งการบ้านครบ 6 เดือนผ่านภารกิจ 4 รองผู้ว่าฯ การรักษาพยาบาล-บทเรียนน้ำท่วม-แหล่งทำกิน-การศึกษา appeared first on THE STANDARD.

]]>
กทม. เดินหน้านโยบายสวน 15 นาที เปิดสวนสาธารณะย่านบางขุนเทียนเพิ่ม ตอบสนองชุมชนการเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วน 4 https://thestandard.co/park-in-bang-khun-thian-area/ Sat, 05 Nov 2022 09:59:31 +0000 https://thestandard.co/?p=704808 สวนสาธารณะ

วันนี้ (5 พฤศจิกายน) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการก […]

The post กทม. เดินหน้านโยบายสวน 15 นาที เปิดสวนสาธารณะย่านบางขุนเทียนเพิ่ม ตอบสนองชุมชนการเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วน 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สวนสาธารณะ

วันนี้ (5 พฤศจิกายน) จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในพื้นที่เขตบางขุนเทียน ประกอบด้วย เปิดสวน 15 นาที (Pocket Park) บริเวณชุมชนการเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วน 4 เยี่ยมชมสวนเทียนทะเลพัฒนาพฤกษาภิรมย์ และตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยท่าน้ำในสวนสาธารณะ

 

“สวน 15 นาที เป็นนโยบายของผู้ว่าฯ กทม. ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างกำแพงกรองฝุ่นทั่วกรุง การจะปรับปรุงพื้นที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์ได้นั้นต้องเริ่มต้นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน อีกทั้งความเสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจของทุกภาคส่วน ซึ่งสวนแห่งนี้สามารถจัดทำจนสำเร็จได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน แต่สิ่งสำคัญคือการบำรุงรักษาและดูแลต้นไม้ สนามหญ้า หากทางชุมชนช่วยกันดูแลร่วมกับสำนักงานเขต ความร่มรื่นสวยงามก็จะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เป็นไปตามความตั้งใจของชุมชนและกรุงเทพมหานครในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง” จักกพันธุ์กล่าว

 

สำหรับสวน 15 นาที (Pocket Park) บริเวณชุมชนการเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วน 4 เป็นที่ดินสาธารณะ พื้นที่ 1 งาน 50 ตารางวา ด้านหน้ากว้าง 16 เมตร ลึก 40 เมตร เป็นการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนการเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วน 4 และสำนักงานเขตบางขุนเทียน ในการพัฒนาพื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นกำแพงกรองฝุ่น

 

โดยจัดทำสวน 15 นาที ในรูปแบบสวนหย่อมขนาดเล็ก (Pocket Park) เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความร่มรื่นสวยงาม เป็นพื้นที่สาธารณะให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ โดยดำเนินการรักษาต้นไม้ยืนต้นเดิมไว้ ปรับปรุงเพิ่มเติมไม้พุ่ม ไม้ดอก ไม้ประดับ ที่จะคงสภาพเดิมไว้ พร้อมปลูกไม้พุ่มที่มีความแข็งแรง กิ่งก้านเหนียวไม่หักง่ายหรือมีใบละเอียด เช่น ไทรเกาหลี เข็ม หมากเหลือง จั๋ง ยี่โถ จัดทำทางเดินโดยรอบและภายในสวน โดยใช้กากยางปูและเทแอสฟัลต์ จัดหาม้านั่งสนามภายในบริเวณสวน เพิ่มไฟฟ้าและแสงสว่าง โดยประสานชุมชนและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ขอสนับสนุนไฟฟ้าโซลาร์เซลล์จากภาคเอกชนเพื่อเพิ่มแสงสว่างภายในสวน ในโอกาสนี้ รองผู้ว่าฯ กทม. ได้ร่วมพิธีเปิดสวน 15 นาที (Pocket Park) พร้อมทั้งปลูกต้นแก้วมุกดาภายในสวนดังกล่าว ร่วมกับผู้บริหารสำนักงานเขตบางขุนเทียน และชาวชุมชนการเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วน 4

The post กทม. เดินหน้านโยบายสวน 15 นาที เปิดสวนสาธารณะย่านบางขุนเทียนเพิ่ม ตอบสนองชุมชนการเคหะธนบุรีโครงการ 1 ส่วน 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
รองผู้ว่าฯ กทม. ตรวจติดตามความคืบหน้า 8 แนวทางปัญหากลิ่นโรงงานกำจัดมูลฝอย 800 ตัน ภายในศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช https://thestandard.co/bangkok-factory-smell-problem/ Sat, 01 Oct 2022 12:22:29 +0000 https://thestandard.co/?p=689588 จักกพันธุ์ ผิวงาม

วันนี้ (1 ตุลาคม) เวลา 11.00 น. จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู […]

The post รองผู้ว่าฯ กทม. ตรวจติดตามความคืบหน้า 8 แนวทางปัญหากลิ่นโรงงานกำจัดมูลฝอย 800 ตัน ภายในศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช appeared first on THE STANDARD.

]]>
จักกพันธุ์ ผิวงาม

วันนี้ (1 ตุลาคม) เวลา 11.00 น. จักกพันธุ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโรงงานกำจัดมูลฝอยชุมชน เพื่อผลิตพลังงานขนาดไม่น้อยกว่า 800 ตันต่อวัน ณ บริเวณศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช เขตประเวศ โดยได้เดินสำรวจความคืบหน้าการปรับปรุงและติดตั้งระบบต่างๆ ทั้งบริเวณจุดรับขยะ อาคาร RDF บริเวณระบบบำบัดอากาศด้านหลังโรงงาน และภายในอาคารขนถ่ายมูลฝอย เพื่อตรวจสอบการแก้ไขปัญหาผลกระทบเรื่องกลิ่น หลังจากที่ได้ปิดปรับปรุงโรงงานมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 

 

“จากการตรวจดูการปรับปรุงแก้ไขในทุกจุด พบว่ามีการพัฒนาไปมาก เช่น การติดตั้งม่านพลาสติกใสเพิ่มบริเวณจุดรับขยะ พร้อมทั้งปิดช่องว่างใต้ประตูอาคารต่างๆ เพื่อป้องกันกลิ่นที่จะออกจากตัวอาคารได้เพิ่มขึ้น การแก้ไขเพิ่มประสิทธิภาพระบบบำบัดภายในอาคารให้รองรับการบำบัดในทุกอาคารได้ในปริมาณรวมที่ 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (ลบ.ม./ชม.) อย่างไรก็ตามได้สั่งการแก้ไขปิดจุดเล็ดลอดบริเวณอาคาร RDF ให้เรียบร้อยทั้งหมด เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้ทางโรงงานชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน รวมทั้งจัดประชุมเพื่อรับทราบการทดลองเดินระบบ คาดว่าจะดำเนินการได้ในเดือนตุลาคมนี้ โดยได้กำชับเรื่องการนำขยะเข้ากำจัด ต้องเริ่มทดสอบในปริมาณน้อยไปหามาก และติดตามประเมินผลกระทบทุกระยะ” จักกพันธุ์กล่าว 

 

สำหรับโครงการบริหารจัดการมูลฝอยชุมชน เพื่อผลิตพลังงานขนาดไม่น้อยกว่า 800 ตันต่อวัน เป็นโครงการที่สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ได้มอบให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ดำเนินโครงการ โดยรับขยะจากกรุงเทพมหานครเข้าสู่ระบบกำจัดด้วยวิธีเชิงกลชีวภาพ คัดแยกขยะนำน้ำขยะไปหมักให้เกิดก๊าซเพื่อนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าและได้ผลผลิตเป็นขยะเชื้อเพลิง RDF โดยเปิดดำเนินการช่วงปี 2563 และได้รับการร้องเรียนเรื่องกลิ่น ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานและกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้สั่งหยุดเดินระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไข และมีการตั้งคณะกรรมการซึ่งมีตัวแทนจากภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วม เช่น สำนักอนามัย มูลนิธิบูรณะนิเวศ กรมควบคุมมลพิษ ร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อร่วมตรวจสอบ ให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาลดผลกระทบต่างๆ ซึ่งทางโครงการได้เร่งแก้ไขมาเป็นลำดับ ซึ่งมีระบบต่างๆ ที่ปรับปรุงแล้วเสร็จเรียบร้อย ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบ ดังนี้ 

 

  1. ปรับปรุงอาคารรับขยะให้เป็นระบบปิดทั้งหมด 

 

  1. ติดตั้งม่านพลาสติกเพิ่มบริเวณประตูทางเข้า-ออกรถขนถ่ายขยะ 

 

  1. ปรับปรุงระบบบำบัดกลิ่นในอาคารต่างๆ ของโรงงาน จำนวน 2 ระบบ ในปริมาณ 100,000 ลบ.ม./ชม.โดยระบบบำบัดกลิ่นตัวที่ 1 รองรับอัตราการไหลของอากาศจากการรวบรวมอากาศในอาคารรับขยะและอาคารคัดแยกขยะในปริมาณ 65,000 ลบ.ม./ชม. ส่วนระบบบำบัดกลิ่นตัวที่ 2 รองรับการบำบัดในอาคารเตรียมหมัก ในปริมาณ 35,000 ลบ.ม./ชม. 

 

  1. เตรียมใบอนุญาตประกอบกิจการให้กับทางคณะกรรมการตามที่ขอข้อมูลในการประชุมครั้งที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยใบ รง.88, รง.89 และ รง.106 

 

  1. ปรับปรุงความเร็วของม่านอากาศที่ติดตั้งบริเวณประตูทางเข้าออกของอาคารรับขยะและอาคารเก็บขยะเชื้อเพลิง 3.1-4.8 เมตรต่อวินาที และ 2.6-4.2 เมตรต่อวินาที 

 

  1. การทดลองเดินระบบและการรับขยะเข้ามาทดสอบ โดย กรอ. ได้กำหนดให้บริษัทฯ ทดลองระบบรวบรวมและบำบัดกลิ่นเป็นเวลา 21 วัน และให้รับขยะเข้ากำจัดไม่เกิน 400 ตันต่อวัน 

 

  1. บริษัทได้จัดทำรายงานความปลอดภัยของโรงงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีระบบต่างๆ ในการแจ้งเตือนและป้องกันเหตุเพลิงไหม้ 

 

  1. จัดทำตามตารางการทำงานและปรับปรุงการเดินรถขยะภายในโรงงาน เพื่อลดผลกระทบเรื่องเสียงในระหว่างการปฏิบัติงาน 

 

  1. การจัดการระบายน้ำ ภายในโรงงานโดยขุดลอกท่อระบายน้ำภายในโรงงาน เพื่อรองรับปริมาณฝน ไม่ให้กระทบต่อชุมชนโดยรอบ

 

  1. ดำเนินการจัดตั้งกลุ่ม LINE คณะกรรมการติดตามฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนบริษัท ผู้แทนประชาชน หน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งความคืบหน้าการแก้ปัญหาและรับทราบข้อมูลต่างๆ จากผู้ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด 

 

ในการลงพื้นที่วันนี้มี อาฤทธิ์ ศรีทอง รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม, ผศ.ดร.ประแสง มงคลศิริ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด, วรเศรษฐ์ วิศาลศักดิ์ ผู้อำนวยการเขตประเวศ, ศักดา พันธ์กล้า กรรมการตรวจสอบ, ณัฐวัฒน์ พอใช้ได้ ที่ปรึกษาบริษัท และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และให้ข้อมูลเพิ่มเติม

The post รองผู้ว่าฯ กทม. ตรวจติดตามความคืบหน้า 8 แนวทางปัญหากลิ่นโรงงานกำจัดมูลฝอย 800 ตัน ภายในศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช appeared first on THE STANDARD.

]]>