ค่าเงินอ่อนตัว – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 16 Oct 2024 11:09:37 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชมคลิป: กะเทาะวิกฤต สปป.ลาว ในวันที่ปัญหารุมเร้า รัฐบาลฝากความหวังกับเวทีอาเซียน | News Digest https://thestandard.co/news-digest-161024/ Wed, 16 Oct 2024 11:09:37 +0000 https://thestandard.co/?p=996740

เมื่อเศรษฐกิจ สปป.ลาว อยู่ในสภาวะถดถอย ค่าเงินอ่อน การข […]

The post ชมคลิป: กะเทาะวิกฤต สปป.ลาว ในวันที่ปัญหารุมเร้า รัฐบาลฝากความหวังกับเวทีอาเซียน | News Digest appeared first on THE STANDARD.

]]>

เมื่อเศรษฐกิจ สปป.ลาว อยู่ในสภาวะถดถอย ค่าเงินอ่อน การขาดดุลทวีความรุนแรง และวันนี้ยังเผชิญแรงกดดันจากทุนจีนที่ไหลทะลัก จนทำให้ SMEs ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด รัฐบาล สปป.ลาว หวังใช้เวทีประชุมอาเซียนครั้งนี้เป็นสปริงบอร์ดหลุดพ้นจากวิกฤต แต่จะทำได้จริงหรือ?

The post ชมคลิป: กะเทาะวิกฤต สปป.ลาว ในวันที่ปัญหารุมเร้า รัฐบาลฝากความหวังกับเวทีอาเซียน | News Digest appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: สกุลเงินตลาดเกิดใหม่เอเชีย ‘อ่อนค่า’ กลับมาอีกรอบ | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-19042024-3/ Fri, 19 Apr 2024 06:00:08 +0000 https://thestandard.co/?p=924473

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางการแข็งค่าของดอลลาร์สหรั […]

The post ชมคลิป: สกุลเงินตลาดเกิดใหม่เอเชีย ‘อ่อนค่า’ กลับมาอีกรอบ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ท่ามกลางการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ หลังธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) ส่งสัญญาณว่าอาจต้องคงอัตราดอกเบี้ยไว้นานกว่าที่คาดไว้ และสถานการณ์ความขัดแย้งที่ร้อนระอุในตะวันออกกลาง สกุลเงินตลาดเกิดใหม่เอเชีย (Asia EM) ต่างๆ แห่อ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบหลายเดือน

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: สกุลเงินตลาดเกิดใหม่เอเชีย ‘อ่อนค่า’ กลับมาอีกรอบ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรุงศรีฯ แนะคนมีแผนเที่ยวญี่ปุ่นทยอยซื้อเงินเยนเก็บ หลังอ่อนค่าทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 26 ปี มอง BOJ อาจยกเลิกมาตรการ YCC ในไตรมาส 4 https://thestandard.co/bay-japan-historic-yen-depreciation/ Thu, 06 Jul 2023 08:54:21 +0000 https://thestandard.co/?p=813202 ค่าเงินเยน

กรุงศรีฯ แนะคนมีแผนเที่ยวญี่ปุ่นทยอยซื้อเงินเยนเก็บ หลั […]

The post กรุงศรีฯ แนะคนมีแผนเที่ยวญี่ปุ่นทยอยซื้อเงินเยนเก็บ หลังอ่อนค่าทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 26 ปี มอง BOJ อาจยกเลิกมาตรการ YCC ในไตรมาส 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ค่าเงินเยน

กรุงศรีฯ แนะคนมีแผนเที่ยวญี่ปุ่นทยอยซื้อเงินเยนเก็บ หลังล่าสุดอ่อนค่าแตะระดับ 24 บาทต่อ 100 เยน ทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 26 ปี คาด BOJ ปรับนโยบายการเงินในไตรมาส 4 ประเมินเงินบาทผันผวนในทิศทางแข็งค่าก่อนปิดสิ้นปีที่ 33.75 บาทต่อดอลลาร์

 

รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวางแผนโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า นับจากต้นปีที่ผ่านมา (YTD) ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นได้ปรับตัวอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์อยู่ที่ระดับ 143.78 เยนต่อดอลลาร์ หรืออ่อนค่าลง 10% ขณะที่เมื่อเทียบกับเงินบาทจะอยู่ที่ระดับ 24 บาทต่อ 100 เยน หรืออ่อนค่าลงแล้วถึง 7.4% ซึ่งเป็นระดับการอ่อนค่าหนักสุดในรอบกว่า 26 ปี หรือนับตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง

 

“เราไม่ได้เห็นเงินเยนอ่อนค่าขนาดนี้มานานมากแล้ว สำหรับคนที่มีแผนจะไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นเงินเยนที่ระดับนี้ถือเป็นระดับที่ควรทยอยซื้อเก็บ เพราะมีโอกาสที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือ BOJ จะเข้าแทรกแซงค่าเงินได้หากเยนยังอ่อนค่าเข้าใกล้ระดับ 145-146 เยนต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ BOJ เคยเข้าแทรกแซงในรอบก่อน” รุ่งกล่าว

 

รุ่งกล่าวว่า การอ่อนค่าของเงินเยนหลักๆ แล้วเกิดจากการดำเนินนโยบายที่สวนทางกันระหว่าง BOJ, ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และธนาคารกลางอื่นๆ ของโลก โดยญี่ปุ่นยังคงดอกเบี้ยระยะสั้นไว้ที่ระดับติดลบและคุมดอกเบี้ยระยะยาวเอาไว้ภายใต้มาตรการ Yield Curve Control (YCC) แม้ว่าเงินเฟ้อจะสูง ขณะที่ Fed และธนาคารกลางหลักอีกหลายแห่งยังส่งสัญญาณเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

“ญี่ปุ่นมีปัญหาเงินฝืดมานับสิบปี เขาต้องการที่จะออกจากจุดนั้นทำให้เลือกที่จะใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายสวนกระแสโลก แต่ตลาดก็กำลังจับตาเช่นกันว่า BOJ อาจเข้าแทรกแซงค่าเงินหากมองว่าเยนอ่อนมากเกินไป โดย MUFG ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกรุงศรีฯ ประเมินว่า BOJ อาจมีการปรับมาตรการ YCC หรือยกเลิกไปเลยในไตรมาสที่ 4 ซึ่งหากเกิดขึ้นจริงก็จะมีผลให้เงินเยนกลับมาแข็งค่า” รุ่งกล่าว

 

ทั้งนี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้คาดการณ์ค่าเงินเยนในช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ไว้ที่ระดับ 24.25 บาทต่อ 100 เยน และในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะปรับเป็น 24.35 บาทต่อ 100 เยน ขณะที่ในช่วงไตรมาสแรกของปีหน้าเงินเยนจะแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 24.63 บาทต่อ 100 เยน และจะเป็น 24.70 บาทต่อ 100 เยน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2567

 

สำหรับภาพรวมสถานการณ์อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยของไทยในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา เงินบาทมีการเคลื่อนไหวในโซนอ่อนค่าเกาะกลุ่มไปกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยนับจากต้นปีเงินบาทอ่อนค่าลง 1.07% ซึ่งเป็นระดับปานกลางเมื่อเทียบกับสกุลเงินในภูมิภาค เช่น วอนของเกาหลีใต้ที่อ่อนค่า 2.75% หยวนของจีนที่อ่อนค่า 4.42% และริงกิตของมาเลเซียที่อ่อนค่าถึง 5.36%

 

รุ่งระบุว่า หากมองไปข้างหน้าในช่วงครึ่งปีหลังเชื่อว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยชี้นำสำคัญสำหรับค่าเงินบาท โดยมีความเป็นไปได้ที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้ง ขณะที่ยุโรปและอังกฤษจะขึ้นอีก 2 ครั้ง ก่อนจะคงดอกเบี้ยค้างไว้ในระดับสูงต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนจะถ่วงค่าเงินหยวนลง ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินบาทที่มีความเชื่อมโยงหรือ Correlation กับเงินหยวนสูงที่สุดในภูมิภาคผ่านการค้าและการท่องเที่ยวเช่นกัน

 

“เรามองเงินบาทในไตรมาส 3 ไว้ที่ระดับ 34.88 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีปัจจัยการเมืองในประเทศที่ต้องติดตาม หากการจัดตั้งรัฐบาลราบรื่นก็จะส่งผลดีต่อ Sentiment เงินทุนต่างชาติไหลกลับเข้ามาหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่ในกรณีที่มีปัญหา เงินบาทก็มีโอกาสอ่อนค่าไปได้ถึง 36.25 บาทต่อดอลลาร์” รุ่งกล่าว

 

อย่างไรก็ดี หากมองต่อไปในช่วงไตรมาสสุดท้ายยังเชื่อว่าเงินบาทมีแนวโน้มจะผันผวนในทิศทางแข็งค่า โดยคาดหวังระดับการซื้อขายสิ้นปี 2023 ที่ราว 33.75 บาทต่อดอลลาร์ บนสมมติฐานที่ว่าสหรัฐฯ ใกล้ยุติการขึ้นดอกเบี้ย การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงสถานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ได้แรงส่งเชิงบวกจากภาคท่องเที่ยว

 

นอกจากนี้ยังคาดว่าในช่วงดังกล่าวภาพการเมืองในประเทศจะมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยดึงดูดกระแสเงินทุนให้ไหลกลับเข้ามาในสินทรัพย์สกุลเงินบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นในนโยบายด้านเศรษฐกิจและเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ด้วย สำหรับประเด็นเรื่องความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์และการเหวี่ยงตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง

 

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของไทย รุ่งประเมินว่า แม้ปัจจุบันเงินเฟ้อไทยจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายแล้วและไทยยังมีปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงถึง 90.6% ของ GDP แต่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งในอัตรา 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายของไทยในปีนี้จะอยู่ที่ 2.25% จากเหตุผลเรื่องความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อพื้นฐานในหมวดอาหารที่ยังมีความหนืด และการสร้างช่องว่างทางนโยบายหรือ Policy Space ไว้รองรับกรณีที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก

The post กรุงศรีฯ แนะคนมีแผนเที่ยวญี่ปุ่นทยอยซื้อเงินเยนเก็บ หลังอ่อนค่าทำสถิติสูงสุดในรอบกว่า 26 ปี มอง BOJ อาจยกเลิกมาตรการ YCC ในไตรมาส 4 appeared first on THE STANDARD.

]]>
กกร. มองเศรษฐกิจโลกชะลอ เสี่ยงฉุดส่งออกไทยติดลบ 2% หวังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ราบรื่นตามไทม์ไลน์ช่วยเพิ่มแรงขับเคลื่อน GDP https://thestandard.co/jsccib-global-economy-slowing-down-risks-drag-thai-exports-down-2/ Wed, 05 Jul 2023 09:07:58 +0000 https://thestandard.co/?p=812709 กกร.

กกร. คงคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้ที่ 3-3.5% เชื่อท่องเที่ยวฟ […]

The post กกร. มองเศรษฐกิจโลกชะลอ เสี่ยงฉุดส่งออกไทยติดลบ 2% หวังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ราบรื่นตามไทม์ไลน์ช่วยเพิ่มแรงขับเคลื่อน GDP appeared first on THE STANDARD.

]]>
กกร.

กกร. คงคาดการณ์ GDP ไทยปีนี้ที่ 3-3.5% เชื่อท่องเที่ยวฟื้นแรงพอ แม้ส่งออกมีแนวโน้มติดลบถึง 2% ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หวังการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีราบรื่น ได้ ครม. ตามไทม์ไลน์ พร้อมจับมือรัฐบาลใหม่ขับเคลื่อนการลงทุนและแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่กดดันการใช้จ่ายในประเทศ

 

ผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร. ในวันนี้ (5 กรกฎาคม) ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ว่าจะขยายตัวได้ในกรอบ 3-3.5% จากแรงขับเคลื่อนหลักที่มาจากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง และคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะไปถึง 29-30 ล้านคน 

 

อย่างไรก็ดี กกร. ได้มีการปรับลดตัวเลขการส่งออกไทยในปีนี้เพิ่มเป็น 0 ถึง -2% จากเดิมที่คาดว่าจะอยู่ในช่วง 0 ถึง -1% ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ภาคการผลิตยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ภาคบริการเริ่มเห็นสัญญาณชะลอลงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักทั้งสหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น 

 

นอกจากนี้ธนาคารกลางของประเทศหลักฝั่งตะวันตกมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อในช่วงครึ่งปีหลัง ภาวะการเงินตึงตัวจากความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อใหม่จะยิ่งกดดันภาคธุรกิจและจำกัดการใช้จ่าย นำไปสู่การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจฉุดการเติบโตของภาคการส่งออกไทยในระยะข้างหน้า

 

สำหรับการอ่อนค่าของเงินบาทที่ค่อนข้างเร็วในช่วงที่ผ่านมา กกร. มองว่าเป็นการอ่อนค่าที่สอดคล้องกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค โดยสาเหตุหลักเกิดจากค่าเงินดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่าหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มกลับมาเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 2 ครั้งในปีนี้ ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ และเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียที่นำโดยเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอตัวกว่าคาด ส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาคอยู่ในทิศทางอ่อนค่า 

 

อย่างไรก็ตาม คาดว่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าชั่วคราวและจะกลับมาทยอยแข็งค่าได้ในช่วงที่เหลือของปี ด้วยทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่เป็นขาขึ้นและปัจจัยความไม่แน่นอนในประเทศที่คลี่คลายลง

 

ผยงกล่าวอีกว่า ที่ประชุม กกร. มีมุมมองว่าตลาดการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลักตัวเดียวในการขับเคลื่อนประเทศในตอนนี้ โดยเฉพาะจากนักท่องเที่ยวจีนที่มีการใช้จ่ายต่อหัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญกับการเร่งเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการออกหนังสือเดินทาง รวมถึงการดูแลด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง

 

ขณะเดียวกันจะต้องเร่งเพิ่มเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งการเร่งการใช้จ่ายและการจัดทำงบประมาณเป็นเรื่องเร่งด่วน การจัดตั้งรัฐบาลให้ได้อย่างรวดเร็วและราบรื่นจึงสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้การใช้จ่ายภาครัฐไม่สะดุด จะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวท่ามกลางความเสี่ยงรอบด้าน

 

“เราคาดหวังจะเห็นการจัดตั้งรัฐบาลและคณะรัฐมนตรีเป็นไปตามไทม์ไลน์ คือไม่ช้าไปกว่าเดือนสิงหาคม หากเว้นไปนานเกินจะทำให้เราเสียโอกาสในหลายด้าน เช่น การเร่งขับเคลื่อนการใช้จ่ายของภาครัฐ นอกจากนี้ต่างชาติที่มีแผนจะเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งปัจจุบันชะลอดูความชัดเจนทางการเมืองอยู่ อาจตัดสินใจไปประเทศอื่นแทน และในกรณีที่มีการชุมนุมประท้วงก็จะกระทบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวอีก” ผยงกล่าว

 

ผยงระบุอีกว่า หากเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดไว้อีกหนึ่งผลกระทบที่จะตามมาคือ การเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนที่ปัจจุบันอยู่ในระดับสูงที่ 90.6% ต่อ GDP หลังการปรับปรุงนิยามของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเป็นแรงกดดันที่ทำให้ผู้บริโภคมีข้อจำกัดและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น 

 

ทั้งนี้ ในมุมมองของ กกร. การจะแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนได้อย่างยั่งยืนจะต้องทำผ่านการฟื้นฟูศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจ ยกระดับทักษะแรงงานและผลิตภาพแรงงาน นำไปสู่รายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากให้รัฐบาลใหม่ร่วมหาแนวทางกับภาคเอกชน เพื่อให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ทั้งแรงงาน ผู้ประกอบการ และรัฐบาล ในระหว่างนี้ที่เศรษฐกิจฟื้นตัวไม่เต็มที่ ภาคการเงินยังต้องประคับประคองลูกหนี้กลุ่มเปราะบางต่อไปแม้จะมีต้นทุนต่อระบบบ้าง 

 

“เราเห็นด้วยกับ 3 แนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืนของ ธปท. ส่วนจะมีการลดดอกเบี้ยให้กลุ่มลูกหนี้เรื้อรังร้ายแรงตามที่เป็นข่าวหรือไม่ มองว่าการใช้เครื่องมือทางการเงินเป็นเพียงหนึ่งในองค์ประกอบของการแก้ปัญหาเท่านั้น สิ่งสำคัญคือการช่วยให้เขามีรายได้เข้ามาชำระหนี้และลดเงินต้นได้อย่างเหมาะสม ไม่ให้เขาอยู่ในสภาวะหนี้แข็งหรือเป็นหนี้คงค้างที่ไม่มีทางออก ซึ่งรายละเอียดของเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือจะมีความชัดเจนออกมาจาก ธปท. เร็วๆ นี้” ผยงกล่าว

The post กกร. มองเศรษฐกิจโลกชะลอ เสี่ยงฉุดส่งออกไทยติดลบ 2% หวังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ราบรื่นตามไทม์ไลน์ช่วยเพิ่มแรงขับเคลื่อน GDP appeared first on THE STANDARD.

]]>
ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้เตรียมฟื้นข้อตกลงแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างกันเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี พร้อมหารือแนวทางรับมือความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ https://thestandard.co/japan-s-korea-discuss-fx-swap-deal/ Thu, 29 Jun 2023 04:02:30 +0000 https://thestandard.co/?p=809111 แลกเปลี่ยนสกุลเงิน

ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เตรียมเปิดการเจรจาเพื่อเพิ่มความร่วม […]

The post ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้เตรียมฟื้นข้อตกลงแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างกันเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี พร้อมหารือแนวทางรับมือความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แลกเปลี่ยนสกุลเงิน

ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เตรียมเปิดการเจรจาเพื่อเพิ่มความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนและวอนของทั้งสองประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี หลังจากทั้งสองประเทศต้องเผชิญกับการอ่อนค่าของเงินสูงสุดในภูมิภาค และเผชิญกับความเสี่ยงเชิงภูมิรัฐศาสตร์ร่วมกันจากความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐฯ รวมถึงท่าทีของเกาหลีเหนือ

 

ทั้งนี้ เป็นที่คาดหมายว่ารัฐมนตรีคลังของทั้งสองประเทศคือ Shunichi Suzuki จากญี่ปุ่น และ Choo Kyungho จากเกาหลีใต้ จะตกลงเกี่ยวกับการคืนสถานะการจัดการแลกเปลี่ยนสกุลเงินแบบทวิภาคี (FX Swap Deal) ที่เคยถูกยุติไปในปี 2015 โดยข้อตกลงนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ หลังมีข้อพิพาทกรณีหมู่เกาะด็อกโดหรือทาเคชิมะ

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

แหล่งข่าวในกรุงโตเกียวระบุว่า นอกจากการหารือเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินแล้ว รัฐมนตรีคลังของทั้งสองชาติจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก การลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศกำลังพัฒนา และศักยภาพในการทำงานร่วมกันในความร่วมมือทางการเงินแบบพหุภาคีอีกด้วย

 

ในระหว่างการประชุมร่วมกันครั้งก่อน Suzuki ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในการรับมือกับความท้าทายต่างๆ ทั้งในระดับเศรษฐกิจโลก ตลอดจนในชุมชนระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยเขาชี้ให้เห็นถึงเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือและการรุกรานยูเครนของรัสเซีย พร้อมระบุว่าญี่ปุ่นถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้และเป็นประเด็นที่ทั้งสองประเทศควรจัดการร่วมกัน

 

อ้างอิง:

The post ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้เตรียมฟื้นข้อตกลงแลกเปลี่ยนสกุลเงินระหว่างกันเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี พร้อมหารือแนวทางรับมือความขัดแย้งเชิงภูมิรัฐศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ตลาดจับตาญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงิน หลังเยนอ่อนค่าหลุดระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์ https://thestandard.co/japan-intervened-in-the-currency/ Tue, 06 Jun 2023 08:29:48 +0000 https://thestandard.co/?p=799844 เงินเยน

สถานการณ์ของค่าเงินเยนที่กลับมาอ่อนค่าจนหลุดจากระดับ 14 […]

The post ตลาดจับตาญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงิน หลังเยนอ่อนค่าหลุดระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เงินเยน

สถานการณ์ของค่าเงินเยนที่กลับมาอ่อนค่าจนหลุดจากระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์อีกครั้ง กำลังทำให้ตลาดเริ่มมีการคาดการณ์กันว่ากระทรวงการคลังของญี่ปุ่นอาจจะมีการเข้าแทรกแซงเพื่อดูแลอัตราแลกเปลี่ยนในเร็วๆ นี้

 

การเดินหน้าทำนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ส่งผลให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เงินเยนอ่อนค่าจนหลุดจากระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์เป็นครั้งแรกนับจากเดือนพฤศจิกายนของปีก่อน 

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้นักวิเคราะห์บางส่วนคาดการณ์ว่าเราอาจได้เห็นการเข้าแทรกแซงค่าเงินของกระทรวงการคลังอีกครั้ง หากเงินเยนยังอ่อนค่าต่อเนื่อง 

 

ย้อนกลับไปในปีที่ผ่านมา ในช่วงที่เงินเยนอ่อนค่าไปแตะระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ กระทรวงการคลังของญี่ปุ่นใช้เงินราว 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าแทรกแซงค่าเงิน 3 ครั้งด้วยกัน โดยแบ่งเป็นในเดือนกันยายนหนึ่งครั้ง และในเดือนตุลาคมเพื่อชะลอการอ่อนค่าของเงินเยน

 

Joey Chew หัวหน้าฝ่ายวิจัยอัตราแลกเปลี่ยนในเอเชียของ HSBC กล่าวว่า โอกาสที่ทางการญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงค่าเงินในเวลานี้ยังมีค่อนข้างน้อยเมื่อพิจารณาจากการสื่อสารของ Shunichi Suzuki รัฐมนตรีคลังของญี่ปุ่นที่ไม่ได้มีท่าทีแข็งกร้าว แม้ว่า Masato Kanda รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง จะออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในสัปดาห์ก่อนว่า รัฐบาลพร้อมจะเข้าดูแลค่าเงินในกรณีจำเป็นก็ตาม

 

“เรายังไม่เห็นศัพท์ที่บ่งชี้ความจำเป็นในการแทรกแซง เช่น ‘Excessive’ หรือ มากเกินไป, ‘One-sided’ หรือ ขาเดียว และ ‘Ready to Act’ หรือ พร้อมที่จะลงมือ ออกมาจากการสื่อสารของกระทรวงการคลัง และนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น” Chew ระบุ

 

อย่างไรก็ดี เขาเชื่อว่าหากเงินเยนยังคงอ่อนค่าต่อไปจนเข้าสู่ระดับ 145 เยนต่อดอลลาร์ การเคลื่อนไหวของเงินเยนมีความผันผวนในกรอบที่กว้างขึ้นจากปัจจุบันที่ 4-5% เพิ่มเป็น 6-8% โอกาสที่ทางการญี่ปุ่นจะเข้าแทรกแซงค่าเงินจะมีสูงขึ้น

 

ทั้งนี้ บทวิเคราะห์ของ Goldman Sachs ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม ประเมินว่าในกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ เงินเยนจะยิ่งอ่อนค่ามากขึ้น เพราะการทำนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษของ BOJ ซึ่งสวนทางกับ Fed จะยิ่งทำให้ส่วนต่างของดอกเบี้ยระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่นถ่างกว้างมากขึ้น

 

อ้างอิง:

The post ตลาดจับตาญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงค่าเงิน หลังเยนอ่อนค่าหลุดระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เงินเยน อ่อนค่าสู่ระดับ 136.50 เยนต่อดอลลาร์ หลัง BOJ เดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในการประชุมนัดทิ้งทวนของคุโรดะ https://thestandard.co/the-yen-depreciated-after-boj-policy/ Fri, 10 Mar 2023 06:55:17 +0000 https://thestandard.co/?p=761021

เงินเยน ของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงราว 0.6% เมื่อเทียบกับสกุลเง […]

The post เงินเยน อ่อนค่าสู่ระดับ 136.50 เยนต่อดอลลาร์ หลัง BOJ เดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในการประชุมนัดทิ้งทวนของคุโรดะ appeared first on THE STANDARD.

]]>

เงินเยน ของญี่ปุ่นอ่อนค่าลงราว 0.6% เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ระดับ 136.50 เยนต่อดอลลาร์ จากระดับปิดในวันก่อนที่ 136.14 เยนต่อดอลลาร์ ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีปรับลดลงมาอยู่ที่ 0.45% หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เลือกที่จะเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษต่อไป โดยไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย หรือยกเลิกนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve Control) ในการประชุมครั้งล่าสุด ซึ่งถือเป็นครั้งสุดท้ายของ ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการคนปัจจุบันที่กำลังจะหมดวาระลงในเดือนเมษายน

 

การตัดสินใจคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ -0.1% และคงกรอบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลญี่ปุ่นไว้ในช่วง -0.5% ถึง +0.5% ของ BOJ เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาดที่มองว่าคุโรดะจะไม่ละเมิดธรรมเนียมปฏิบัติในอดีตที่ผู้ว่าการจะไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินในการประชุมครั้งสุดท้าย แม้จะมีแรงกดดันให้ BOJ ปรับนโยบายเพื่อลดผลกระทบจากการบิดเบือนตลาดของมาตรการ Yield Curve Control ก็ตาม

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ในการประชุมดังกล่าว BOJ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจด้วยการปรับลดประมาณการตัวเลขส่งออกและการผลิตในปีนี้ลง ขณะที่ตัวเลข GDP ในปีที่ผ่านมาก็ออกมาแย่กว่าที่คาดไว้ โดยญี่ปุ่นรอดพ้นจากการเข้าสู่ภาวะถดถอยไปได้อย่างฉิวเฉียด 

 

“มันเป็นเรื่องยากที่ BOJ จะปรับเปลี่ยนนโยบายในการประชุมนัดสุดท้ายของคุโรดะ BOJ คงจะคิดว่าการรักษานโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษต่อไปยังมีความเหมาะสมเมื่อดูจากตัวเลข GDP ของญี่ปุ่นที่ยังอ่อนแอ” ฮารุมิ ทากูชิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ S&P Global Market Intelligence ระบุ

 

คาซุโอะ อุเอดะ นักเศรษฐศาสตร์วัย 71 ปี จะเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการ BOJ คนใหม่ หลังจากคุโรดะก้าวลงจากตำแหน่ง โดย 2 ใน 3 ของนักวิเคราะห์ที่ติดตามความเคลื่อนไหวของ BOJ อย่างใกล้ชิดคาดว่า BOJ ในยุคของอุเอดะจะไม่รีบปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินครั้งใหญ่ทันที แต่จะเริ่มปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปในช่วงกลางปีนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


อ้างอิง:

The post เงินเยน อ่อนค่าสู่ระดับ 136.50 เยนต่อดอลลาร์ หลัง BOJ เดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายพิเศษในการประชุมนัดทิ้งทวนของคุโรดะ appeared first on THE STANDARD.

]]>
BofA ชี้ ‘จีน’ เป็นปัจจัยฉุด ‘ดอลลาร์อ่อน’ มากกว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed https://thestandard.co/china-factor-weak-dollar/ Wed, 18 Jan 2023 12:02:56 +0000 https://thestandard.co/?p=739041

แม้ตลาดต่างมองว่าแนวโน้มการชะลอขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลา […]

The post BofA ชี้ ‘จีน’ เป็นปัจจัยฉุด ‘ดอลลาร์อ่อน’ มากกว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed appeared first on THE STANDARD.

]]>

แม้ตลาดต่างมองว่าแนวโน้มการชะลอขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เป็นปัจจัยที่ทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า เมื่อเร็วๆ นี้ นักกลยุทธ์ BofA กลับมองว่าปัจจัยสำคัญที่สุดอาจอยู่ที่ ‘จีน’

 

นักยุทธศาสตร์ของ Bank of America (BofA) เปิดเผยรายงานที่แสดงให้เห็นว่า สหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างการฟื้นตัวของความเชื่อมั่นต่อการเปิดประเทศของจีนและดัชนีดอลลาร์แนบแน่นขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน บ่งชี้ว่าความเชื่อมั่นต่อการผ่อนคลายนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีนจะยังคงมีอิทธิพลต่อดอลลาร์ต่อไป

 

โดยทีมนักกลยุทธ์ของ BofA ระบุอีกว่า การฟื้นตัวของความเชื่อมั่นต่อจีนน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดอลลาร์อ่อนค่า ซึ่งอาจมากกว่าแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ซึ่งไม่ได้ลดลงมากนัก

 

โดยปัจจุบัน ดัชนี ICE US Dollar Index ซึ่งติดตามค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ทั่วโลก 6 สกุล ลดลงประมาณ 10% แล้ว นับตั้งแต่แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษ เมื่อเดือนกันยายน ปี 2022

 

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน หลังจากจีนเริ่มส่งสัญญาณการเปิดประเทศเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ ได้ช่วยสนับสนุนความต้องการสินทรัพย์เสี่ยง ท่ามกลางคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ลดลง ได้ช่วยเร่งให้การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐเร็วขึ้นในปีนี้ เนื่องจากกองทุนต่างๆ เริ่มเทขายดอลลาร์ที่ตุนไว้ในปีที่แล้ว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

The post BofA ชี้ ‘จีน’ เป็นปัจจัยฉุด ‘ดอลลาร์อ่อน’ มากกว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เงินบาทอ่อนค่า มีผลดีผลเสียอย่างไร | เงินทองของจริง EP.127 | THE STANDARD https://thestandard.co/real-money-real-life-127/ Tue, 03 Jan 2023 02:39:29 +0000 https://thestandard.co/?p=732082

เงินบาทอ่อนค่าคืออะไร มีผลดีผลเสียอย่างไร กระทบกับชีวิต […]

The post ชมคลิป: เงินบาทอ่อนค่า มีผลดีผลเสียอย่างไร | เงินทองของจริง EP.127 | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>

เงินบาทอ่อนค่าคืออะไร มีผลดีผลเสียอย่างไร กระทบกับชีวิตพวกเรายังไงบ้าง วิธีการรับมือกับเงินบาทอ่อนค่า

 

รายการ ‘เงินทองของจริง’ การเข้าสู่หน้าจอโทรทัศน์ครั้งแรกของ THE STANDARD ทางช่อง 7HD ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.05-09.15 น. หลังรายการสนามข่าว 7 สี ดำเนินรายการโดย โค้ชหนุ่ม-จักรพงษ์ เมษพันธุ์ และ เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

The post ชมคลิป: เงินบาทอ่อนค่า มีผลดีผลเสียอย่างไร | เงินทองของจริง EP.127 | THE STANDARD appeared first on THE STANDARD.

]]>
เยน ‘อ่อนค่า’ ทะลุระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 32 ปี https://thestandard.co/yen-depreciates/ Thu, 20 Oct 2022 09:08:39 +0000 https://thestandard.co/?p=697830 เงินเยน

เงินเยนอ่อนค่าทะลุระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุด […]

The post เยน ‘อ่อนค่า’ ทะลุระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 32 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
เงินเยน

เงินเยนอ่อนค่าทะลุระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 32 ปี นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 1990 ขณะที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของญี่ปุ่นก็พุ่งขึ้นทะลุระดับ 0.25% ซึ่งเป็นระดับกรอบเป้าหมายของธนาคารกลาง ขณะที่บอนด์ยีลด์อายุ 20 ปี ก็พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดนับจากปี 2015 เช่นกัน

 

ล่าสุดธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ประกาศแผนเข้าซื้อพันธบัตรแบบฉุกเฉิน โดยจะเข้าซื้อพันธบัตรอายุ 10-20 ปีในวงเงิน 1 แสนล้านเยน และจะเข้าซื้อพันธบัตรอายุ 5-10 ปีอีก 1 แสนล้านเยน เพื่อดึงให้ผลตอบแทนกลับลงมาอยู่ในกรอบเป้าหมาย

 

ในช่วงที่ผ่านมา BOJ ได้ออกมายืนยันเป็นระยะว่า จะเดินหน้าเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่อั้น เพื่อรักษาดอกเบี้ยระยะยาวให้อยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 0.25% ตามนโยบาย Yield Curve Control หรือ YCC เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อยั่งยืนที่ 2%


ข่าวที่เกี่ยวข้อง: 


ขณะที่ Shunichi Suzuki รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่น ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า รัฐบาลจะดำเนินการตามความเหมาะสม เพื่อดูแลความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่ผิดปกติ

 

“การเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนที่รวดเร็ว และไปในทิศทางเดียวในช่วงนี้เป็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์สำหรับเรา และเราจะไม่อดทนต่อความผันผวนที่ผิดปกติซึ่งเกิดจากแรงเก็งกำไร” Suzuki กล่าว

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ตัดสินใจใช้เงินราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าแทรกแซงตลาดค่าเงินเยนเป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี หลังจากเงินอ่อนค่าแตะระดับ 145.90 เยนต่อดอลลาร์ โดยหลังการเข้าแทรกแซง เงินเยนได้แข็งค่าขึ้นทันทีสู่ระดับ 140 เยนต่อดอลลาร์ แต่เพียง 5 ชั่วโมงให้หลังก็เริ่มอ่อนค่าลงอีกครั้ง และหลังจากนั้นก็ทยอยอ่อนค่าสู่ระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์

 

ทั้งนี้ เงินเยนเคยทำสถิติอ่อนค่าถึงระดับ 159.8 เยนต่อดอลลาร์ในเดือนเมษายนปี 1990 ขณะที่การอ่อนค่าจนถึงระดับ 160 เยนต่อดอลลาร์เคยเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมปี 1986 หรือราว 36 ปีมาแล้ว

 

อ้างอิง:

The post เยน ‘อ่อนค่า’ ทะลุระดับ 150 เยนต่อดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 32 ปี appeared first on THE STANDARD.

]]>