คุณภาพอากาศโลก – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 21 Mar 2024 11:49:27 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 IQAir เผย 99 เมืองเอเชีย PM2.5 เลวร้ายสุดในปี 2023 ไทยอันดับ 5 อาเซียน https://thestandard.co/2023-world-air-quality-report/ Thu, 21 Mar 2024 11:49:04 +0000 https://thestandard.co/?p=913988

IQAir บริษัทตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วโลก เผยแพร่รายงานคุณภ […]

The post IQAir เผย 99 เมืองเอเชีย PM2.5 เลวร้ายสุดในปี 2023 ไทยอันดับ 5 อาเซียน appeared first on THE STANDARD.

]]>

IQAir บริษัทตรวจวัดคุณภาพอากาศทั่วโลก เผยแพร่รายงานคุณภาพอากาศโลกประจำปี 2023 (2023 World Air Quality Report) โดยพบว่าใน 100 อันดับแรกของเมืองที่มีมลพิษทางอากาศเลวร้ายมากที่สุดในปี 2023 มี 99 เมืองอยู่ในทวีปเอเชีย ในจำนวนนี้ 83 เมืองอยู่ในประเทศอินเดีย และมีค่าความหนาแน่นของฝุ่นละออง PM2.5 เกินเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศขององค์การอนามัยโลก (WHO Air Quality Guideline) มากกว่า 10 เท่า

 

รายงานดังกล่าวที่ศึกษาวิจัยเฉพาะเจาะจงด้าน PM2.5 พบว่ามีเพียง 9% ของเมืองมากกว่า 7,800 แห่งทั่วโลกที่มีค่า PM2.5 ไม่เกินมาตรฐานของ WHO ซึ่งกำหนดว่าระดับ PM2.5 เฉลี่ยต่อปีไม่ควรเกิน 5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

 

IQAir ชี้ว่ามี 124 ประเทศ จากทั้งหมด 134 ประเทศที่มีค่า PM2.5 เฉลี่ยต่อปีเกินมาตรฐานของ WHO โดยประเทศที่เผชิญมลพิษ PM2.5 เลวร้ายมากที่สุด 3 อันดับแรกมาจากภูมิภาคเอเชียใต้ ได้แก่ บังกลาเทศ ปากีสถาน และอินเดีย

 

ส่วนประเทศที่ได้มาตรฐาน PM2.5 ของ WHO มีทั้งหมด 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เอสโตเนีย ฟินแลนด์ กรีเนดา ไอซ์แลนด์ มอริเชียส และนิวซีแลนด์

 

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมี 8 ประเทศรวมถึงไทยที่ระดับ PM2.5 เพิ่มขึ้นจากปี 2022 โดยไทยอยู่ในอันดับ 5 มีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยในปี 2023 อยู่ที่ 23.3 ส่วนอันดับ 1 ได้แก่ อินโดนีเซีย มีค่า PM2.5 เฉลี่ยตลอดปีอยู่ที่ 37.1 

 

นอกจากนี้พบว่าเมืองในไทยที่มีค่า PM2.5 เกินมาตรฐาน WHO สูงกว่า 10 เท่า ได้แก่ จังหวัดเชียงราย และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

PM2.5 ในปี 2023

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

The post IQAir เผย 99 เมืองเอเชีย PM2.5 เลวร้ายสุดในปี 2023 ไทยอันดับ 5 อาเซียน appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิจัยเผยข้อมูลน่าวิตก อากาศสกปรกทำเด็กในยุโรปตายก่อนวัยอันควรกว่า 1,200 คนต่อปี https://thestandard.co/europe-failing-its-children-on-air-pollution-eea-says/ Mon, 24 Apr 2023 08:52:24 +0000 https://thestandard.co/?p=780545 คุณภาพอากาศ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (EEA) เปิดเผยรายงานที่น่าตกใจว […]

The post วิจัยเผยข้อมูลน่าวิตก อากาศสกปรกทำเด็กในยุโรปตายก่อนวัยอันควรกว่า 1,200 คนต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
คุณภาพอากาศ

สำนักงานสิ่งแวดล้อมยุโรป (EEA) เปิดเผยรายงานที่น่าตกใจว่า คุณภาพอากาศย่ำแย่เป็นสาเหตุทำให้เด็กๆ เสียชีวิตลงก่อนวัยอันควรอย่างน้อย 1,200 คนต่อปีเฉพาะในยุโรป ขณะที่มีเด็กอีกหลายพันคนต้องเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพทั้งทางกายและทางจิต ซึ่งอาจเป็นผลกระทบที่จะอยู่กับพวกเขาไปตลอดชีวิต

 

เกราร์โด ซานเชซ มาร์ติเนซ (Gerardo Sanchez Martinez) ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของ EEA กล่าวว่า ปัญหามลพิษทางอากาศนั้นอันตรายกับเด็กๆ มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะร่างกายของเด็กจะได้รับมลพิษมากกว่า ซ้ำร้ายคือเด็กในยุคปัจจุบันได้รับมลพิษตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อพวกเขาเริ่มเติบโตขึ้นตามช่วงวัย

 

รายงานระบุว่า เด็กๆ นั้นมีความอ่อนไหวต่อสภาพอากาศที่สกปรกเป็นพิเศษ เนื่องจากสามารถรับเอาอากาศสกปรกเข้าไปในร่างกายได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีอัตราการหายใจที่รวดเร็วกว่า อีกทั้งความสูงของเด็กยังทำให้พวกเขาอยู่ห่างจากฝุ่นที่พื้นน้อยกว่าผู้ใหญ่ และใช้เวลาทำกิจกรรมกลางแจ้งมากกว่าด้วย จากการศึกษาของ EEA ที่เผยแพร่ออกมานั้นระบุว่า ปีสุขภาวะที่สูญเสียจากการตายก่อนวัยอันควรของผู้ที่มีอายุไม่ถึง 18 ปีทั่วยุโรปต่อปีอยู่ที่ 110,000 ปีสุขภาวะ

 

มลพิษทางอากาศสามารถส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็กได้อย่างถาวร ที่ผ่านมานั้นมีหลายงานวิจัยที่ระบุตรงกันว่า มลพิษทางอากาศมีส่วนทำให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์มารดา โดยนักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบอนุภาคมลพิษทางอากาศในปอดและเยื่อสมองของทารกที่ยังอยู่ในครรภ์ และหากมนุษย์ได้รับมลพิษทางอากาศสะสมมากๆ ตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ก็จะส่งผลกระทบต่อความจุปอด ซึ่งจะทำให้เกิดโรคหอบหืด และนำไปสู่โรคทางเดินหายใจและการติดเชื้อในหูที่รุนแรงขึ้นตามมา อีกทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคภูมิแพ้ และยังอาจส่งผลต่อการพัฒนาทางสมองอีกด้วย

 

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้เชี่ยวชาญออกมาเรียกร้องให้สหภาพยุโรปออกมาตรการควบคุมระดับมลพิษทางอากาศให้เข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม เพื่อปกป้องพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กๆ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงสุด โดยเสนอแนะให้มีการลดแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศ เช่น การจราจรบนท้องถนน การเผาไหม้ถ่านหินและเชื้อเพลิงแข็ง รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังควรมีการจัดตั้ง ‘โซนอากาศสะอาด’ รอบบริเวณโรงเรียน ตลอดจนการปลูกต้นไม้ใหญ่เพิ่มเติม การปลูกไม้เลื้อยตามผนัง และใช้พุ่มไม้มาทำแนวรั้วกั้นรอบสนามเด็กเล่น

 

ขณะเดียวกันผู้เชี่ยวชาญยังเสนอแนะให้เปลี่ยนมาใช้การเดินไปโรงเรียนสำหรับเด็กที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงเสนอให้ปรับโครงสร้างการออกแบบโรงเรียนและศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โดยต้องปรับให้สามารถระบายอากาศได้ดีขึ้นและต้องมีตัวกรองอากาศ เพื่อลดโอกาสที่เด็กๆ จะสัมผัสกับฝุ่นพิษให้น้อยลงกว่าเดิม

 

แฟ้มภาพ: L Julia via Shutterstock

อ้างอิง:

The post วิจัยเผยข้อมูลน่าวิตก อากาศสกปรกทำเด็กในยุโรปตายก่อนวัยอันควรกว่า 1,200 คนต่อปี appeared first on THE STANDARD.

]]>
รายงานคุณภาพอากาศโลกชี้ 21 จาก 30 เมืองที่มลพิษทางอากาศเลวร้ายสุดในโลกอยู่ที่อินเดีย https://thestandard.co/world-air-quality-report-iqair/ Wed, 26 Feb 2020 02:48:52 +0000 https://thestandard.co/?p=335259

บริษัท IQAir ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและรวบรวมข้อมูลคุณภาพอากา […]

The post รายงานคุณภาพอากาศโลกชี้ 21 จาก 30 เมืองที่มลพิษทางอากาศเลวร้ายสุดในโลกอยู่ที่อินเดีย appeared first on THE STANDARD.

]]>

บริษัท IQAir ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและรวบรวมข้อมูลคุณภาพอากาศโลกจากสวิตเซอร์แลนด์ เผยแพร่รายงานคุณภาพอากาศโลกประจำปี 2019 (2019 World Air Quality Report) ระบุว่า 21 เมืองจาก 30 เมืองที่มีค่ามลพิษทางอากาศเลวร้ายที่สุดในโลกช่วงปี 2019 นั้นอยู่ในประเทศอินเดีย

โดย 6 เมืองของอินเดียนั้นติด 10 อันดับแรก ได้แก่ เมืองกาซีอาบัด ในรัฐอุตตรประเทศ ทางตอนเหนือ ที่ครองอันดับ 1 ด้วยค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ที่วัดได้ตลอดทั้งปีอยู่ที่ 110.2 ซึ่งมากกว่าระดับปกติกว่า 2 เท่า นอกจากนี้ยังมีกรุงนิวเดลี ติดอันดับ 5, เมืองนอยดา อันดับ 6, เมืองคุร์เคาน์ อันดับ 7, เมืองเกรทเตอร์ นอยดา อันดับ 9 และเมืองพันธวารี อันดับ 10

ทั้งนี้อินเดียได้เริ่มต้นโครงการอากาศสะอาดแห่งชาติ (NCAP) เป็นครั้งแรกแล้ว โดยตั้งเป้าลดฝุ่นละออง PM2.5 และฝุ่นละออง PM10 ที่มีขนาดใหญ่กว่าใน 10 เมืองให้ได้ 20-30% ภายในปี 2024 โดยเทียบจากระดับมลพิษทางอากาศในปี 2017

รายงานดังกล่าวยังชี้ให้เห็นว่าประเทศจีนมีการพัฒนาคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่องจากในปี 2018 แม้ว่าเมืองโหตันในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์จะครองอันดับ 2 จากผลการจัดอันดับก็ตาม ขณะที่กรุงจาการ์ตาของอินโดนีเซียเป็นเมืองที่มีค่ามลพิษทางอากาศสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยค่าเฉลี่ย PM2.5 ตลอดทั้งปีอยู่ที่ 49.4

สำหรับประเทศไทย จังหวัดนครราชสีมาครองอันดับ 1 เมืองที่มลพิษทางอากาศสูงสุด โดยวัดค่าเฉลี่ย PM2.5 ตลอดปีได้ 42.2 หรือระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพสำหรับกลุ่มคนที่แพ้ฝุ่นหรือภูมิคุ้มกันต่ำ

“การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองนั้นสอดคล้องกับระดับ PM2.5 ที่สูงขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดและความต้องการพลังงานจากถ่านหิน” ส่วนหนึ่งจากรายงานระบุ

ข้อมูลจากรายงานยังแสดงให้เห็นถึงข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศได้โดยตรง โดยภัยแล้ง พายุทราย และไฟป่าที่เกิดถี่ขึ้นเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศทั่วโลก ขณะที่การแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจกจากการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลอันเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของวิกฤตสภาพภูมิอากาศก็เป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง:

The post รายงานคุณภาพอากาศโลกชี้ 21 จาก 30 เมืองที่มลพิษทางอากาศเลวร้ายสุดในโลกอยู่ที่อินเดีย appeared first on THE STANDARD.

]]>