คาร์บอน – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 21 Feb 2025 08:20:11 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 บางจากทุบสถิติใหม่กวาดรายได้ 5.8 แสนล้าน เผยยอดขายน้ำมันโต 61% รุกปรับโครงสร้างถอนหุ้น BSRC โรงกลั่นศรีราชาออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ https://thestandard.co/bangchak-record-revenue-2567/ Fri, 21 Feb 2025 08:20:11 +0000 https://thestandard.co/?p=1044462

บางจากปรับโครงสร้างธุรกิจ เสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมด ถอนห […]

The post บางจากทุบสถิติใหม่กวาดรายได้ 5.8 แสนล้าน เผยยอดขายน้ำมันโต 61% รุกปรับโครงสร้างถอนหุ้น BSRC โรงกลั่นศรีราชาออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>

บางจากปรับโครงสร้างธุรกิจ เสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมด ถอนหุ้นโรงกลั่นศรีราชา หรือ BSRC ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ แลกเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบางจาก ด้วยอัตราการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนของบางจาก ต่อ 6.50 หุ้นสามัญของ BSRC พร้อมเผยรายได้ปี 2567 หลังควบรวมกิจการทุบสถิติใหม่ 5.8 แสนล้าน ยอดขายน้ำมันทะลุเป้า 13,814 ล้านลิตร เติบโต 61% สูงสุดเป็นประวัติการณ์

 

วันนี้ (21 กุมภาพันธ์​) บริษัท บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP รายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2568 มีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มบริษัทบางจาก ผ่านการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) (BSRC) ที่ถือโดยผู้ถือหุ้นรายอื่น ไม่เกินจำนวน 631,859,702 หุ้น (คิดเป็น 18.3% ของหุ้นที่ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ BSRC)

 

โดยแลกกับหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบางจาก (Share Swap) ด้วยอัตราการแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุนของบางจาก ต่อ 6.50 หุ้นสามัญของ BSRC และ หากมีเศษหุ้นจากการคำนวณหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบางจาก จะมีการปัดเศษหุ้นนั้นทิ้ง 

 

การทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญดังกล่าว รวมคิดเป็นจำนวนหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบางจากไม่เกิน 97,209,185 หุ้น โดยจะไม่มีการชำระค่าตอบแทนในรูปแบบของตัวเงิน

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

อีกทั้งได้ประกาศแผนการเพิกถอนหุ้นของ BSRC จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คาดว่าแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในปี 2568

 

ทั้งนี้ บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) (BSRC) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจโรงกลั่นปิโตรเลียมและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแบบครบวงจร (Integrated) ประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและอะโรเมติกส์ที่ศรีราชา เครือข่ายคลังน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ

 

โดยข้อมูลสมุดทะเบียน ณ วันที่ 4 กันยายน 2567 มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 5 อันดับแรก ดังนี้

 

  1. บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 78.97%
  2. กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 4.08%
  3. กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 4.08%
  4. SOUTH EAST ASIA UK (TYPE C) NOMINEES LIMITED ถือหุ้น 1.22%
  5. กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง ถือหุ้น 0.72%

 

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แผนการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทบางจาก จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทบางจาก ให้เพิ่มความแข็งแกร่งของผลประกอบการทางการเงิน ทำให้โครงสร้างการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทบางจากมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ลดความซับซ้อนของโครงสร้างการถือหุ้น และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน ลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน

 

นอกจากนี้ การทำคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของ BSRC ด้วยวิธีการแลกกับหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบางจาก เป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ถือหุ้น BSRC ได้ถือหุ้นบางจาก ซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่มีความแข็งแกร่งของฐานะทางการเงิน

 

ทั้งในด้านผลประกอบการที่เติบโตอย่างมั่นคง มี EBITDA ระดับ 4 หมื่นล้านบาทต่อเนื่อง และฐานะทางการเงินที่แข็งแรง โดยมีขนาดของสินทรัพย์ระดับกว่า 3 แสนล้านบาท ประกอบกับมีศักยภาพในการเติบโตจากธุรกิจหลักที่มีความหลากหลาย ภายใต้แนวคิด Bangchak 100X เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย EBITDA 1 แสนล้านบาท ภายในปี 2573 และการเติบโตเป็นองค์กรที่ยั่งยืน 100 ปีคู่สังคมไทย 

 

โดยผู้ถือหุ้น BSRC ยังคงมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ BSRC ในทางอ้อมผ่านการถือหุ้นในบางจาก พร้อมทั้งมีสภาพคล่องในการลงทุนที่สูงขึ้นจากมูลค่าตลาด (Market Capitalization) ที่ใหญ่ขึ้น

 

สำหรับธุรกรรมการปรับโครงสร้างผ่านการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดและเพิกถอนหุ้น BSRC ดังกล่าว อยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ รวมถึงการได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ของบางจาก ในวันที่ 11 เมษายน 2568 และการได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ของ BSRC ในวันที่ 9 เมษายน 2568

 

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทบางจากรายงานผลการดำเนินงานปี 2567 สร้างสถิติใหม่ของรายได้จากการขายและการให้บริการ มีรายได้ 589,877 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53% จากปีก่อน EBITDA 40,409 ล้านบาท พร้อมบันทึกรายได้และยอดปริมาณจำหน่ายน้ำมันสูงเป็นประวัติการณ์ 13.8 ล้านลิตร รวมถึงสามารถสร้าง Synergy สูงถึง 6,071 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเท่าตัว โดยมีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 2,184 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 1.30 บาท

 

 

ยอดขายน้ำมันโต 61% ท่ามกลางความท้าทายของราคาน้ำมันโลกผันผวน

 

ชัยวัฒน์เปิดเผยอีกว่า “แม้ปี 2567 จะเป็นปีที่เผชิญกับความผันผวนของราคาน้ำมัน และค่าการกลั่นที่อ่อนตัวลง ส่งผลให้กำไรปรับตัวลดลงจากปีก่อน กลุ่มบริษัทบางจากยังคงสร้างสถิติใหม่ของรายได้จากการขายและการให้บริการ 589,877 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่อง 53% EBITDA 40,409 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (ที่ไม่รวมรายการพิเศษ) 6,120 ล้านบาท ผ่านการขับเคลื่อนของ 5 กลุ่มธุรกิจ

 

“โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการตลาด ที่มีปริมาณการจำหน่ายน้ำมัน 13,814 ล้านลิตร เติบโตอย่างก้าวกระโดดกว่า 61% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การรับรู้ Synergy สูงถึง 6,071 ล้านบาท เหนือกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ 2,500 ล้านบาท หลังจากการควบรวมกิจการและรับรู้รายได้เต็มปีของบริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) (BSRC)

 

ดังนั้นการดำเนินธุรกิจดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวและประสิทธิภาพของกลยุทธ์ที่กลุ่มบริษัทได้วางไว้ ทั้งศักยภาพและความมุ่งมั่นในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน” ชัยวัฒน์กล่าว

 

ด้าน ภัทร์ภูรี ชินกุลกิจนิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานบัญชีและการเงิน กล่าวว่า ในปี 2567 กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน มี EBITDA 5,006 ล้านบาท ปรับลดลง 62% มีอัตรากำลังการผลิตเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมาอยู่ที่ 258,000 บาร์เรลต่อวัน เติบโตกว่า 16% จากปีก่อน

 

แม้ว่าโรงกลั่นน้ำมันบางจาก พระโขนง จะมีการปิดซ่อมบำรุงหน่วยกลั่นตามวาระ (Turnaround Maintenance) ในรอบ 3 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 แต่กำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากโรงกลั่นศรีราชา สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 147,800 บาร์เรลต่อวัน จากปี 2566 ที่ 101,900 บาร์เรลต่อวัน หนุนกำลังการผลิตของกลุ่มบริษัทบางจากเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความท้าทายของราคาน้ำมันที่ผันผวนจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

The post บางจากทุบสถิติใหม่กวาดรายได้ 5.8 แสนล้าน เผยยอดขายน้ำมันโต 61% รุกปรับโครงสร้างถอนหุ้น BSRC โรงกลั่นศรีราชาออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุปภาพรวม ‘ตลาดคาร์บอน’ ในปัจจุบัน จับตาเอเชียเร่งเครื่อง Carbon Pricing ในปี 2025 https://thestandard.co/wealth-in-depth-carbon-market-overview-asia-2025/ Wed, 18 Dec 2024 10:51:51 +0000 https://thestandard.co/?p=1021055 wealth-in-depth-carbon-market-overview-asia-2025

ตามข้อมูลจากรายงาน State and Trends of Carbon Pricing 2 […]

The post สรุปภาพรวม ‘ตลาดคาร์บอน’ ในปัจจุบัน จับตาเอเชียเร่งเครื่อง Carbon Pricing ในปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
wealth-in-depth-carbon-market-overview-asia-2025

ตามข้อมูลจากรายงาน State and Trends of Carbon Pricing 2024 ฉบับล่าสุดของธนาคารโลก (World Bank) ระบุว่า ในปี 2023 รายได้จาก ‘กลไกการกำหนดราคาคาร์บอน’ (Carbon Pricing) ซึ่งรวมไปถึงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดภาคสมัครใจ ภาคบังคับ และภาษีคาร์บอน แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.04 แสนล้านบาทแล้ว โดยรายได้ส่วนนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งถูกนำไปใช้ในโครงการสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติด้วย

 

World Bank เปิดเผยอีกว่า ปัจจุบันกลไกภาคบังคับ (Compliance Mechanism) ได้แก่ การเก็บภาษีคาร์บอน และ ETS ครอบคลุมการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกกว่า 24% แล้วเมื่อเทียบกับรายงานฉบับแรกเมื่อประมาณ 2 ทศวรรษก่อนที่ครอบคลุมการปล่อยมลพิษทั่วโลกเพียง 7% เท่านั้น

 

การกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) คืออะไร

 

กลไกการกำหนดราคาคาร์บอนหมายถึงการทำให้คาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ มีราคา โดยแบ่งเป็น 2 กลไกหลัก ได้แก่ การใช้กลไกตลาดผ่านตลาดคาร์บอน (Carbon Market) และกลไกการกำหนดภาษีคาร์บอน (Carbon Tax)

 

เปิดขนาด ‘ตลาดคาร์บอน’ ไทย vs. โลก

 

ตามรายงาน State and Trends of Carbon Pricing 2024 แสดงให้เห็นว่ามูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนแบบสมัครใจ (Voluntary Markets) ในปี 2023 มีขนาดอยู่ที่ 723 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าลดลงอย่างมากจาก 1.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การลดลงดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากความกังวลต่อความสมบูรณ์ถูกต้องและความซื่อตรงด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Integrity Concerns) ที่เพิ่มขึ้น

 

ตามข้อมูลล่าสุดขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ระบุว่า ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 85,794,604 บาท ในปีงบประมาณ 2024 นับว่าขยายตัวกว่า 25% จากปีงบประมาณ 2023 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 68,321,090 บาท

 

‘ราคาคาร์บอน’ ไทยและโลกอยู่ที่เท่าไร?

 

ตามรายงาน State and Trends of Carbon Pricing 2024 ระบุว่า ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ราคาคาร์บอนเฉลี่ยทั่วโลกยังคงต่ำกว่า 6 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันคาร์บอน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเกินไปในการรับมือกับปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ตามการประเมินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)

 

โดย IMF ยังเสนอว่า เพื่อจะทำให้มั่นใจได้ว่าต้นทุนของการเปลี่ยนผ่านจะถูกจัดสรรตามความรับผิดชอบที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ จึงเสนอให้มีการกำหนดราคาคาร์บอนขั้นต่ำที่ 25 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันสำหรับประเทศรายได้ต่ำ (Low-Income Countries) 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันสำหรับประเทศรายได้ปานกลาง (Middle-Income Countries) และ 75 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันสำหรับประเทศรายได้สูง (High-Income Countries) เพื่อให้เกิดความยุติธรรมมากขึ้น

 

ตามข้อมูลล่าสุดของ อบก. ระบุว่า ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 85,794,604 บาท ในปีงบประมาณ 2024 โดยมีการซื้อขายคาร์บอนอยู่ที่ 686,079 ตันคาร์บอน สะท้อนว่าราคาเฉลี่ยต่อตันอยู่ที่ 125 บาทต่อตันคาร์บอน

 

ภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) คืออะไร?

 

ภาษีคาร์บอนหมายถึงการจัดเก็บภาษีที่เก็บจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงหรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยสามารถจัดเก็บทางอ้อมจากการใช้เชื้อเพลิงหรือจัดเก็บทางตรงจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) คืออะไร?

 

ตลาดคาร์บอนเป็นการใช้กลไกตลาดมาเพื่อใช้คาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ผ่านการกำหนดเพดานและการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Cap and Trade) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักในปัจจุบัน ได้แก่

 

  1. ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (Compliance Carbon Markets) เป็นตลาดคาร์บอนที่เกิดหลังจากภาครัฐกำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่อนุญาตให้ปล่อยในแต่ละปี โดยหลังจากนั้นภาครัฐก็จะให้จัดสรรหรือจัดประมูลสิทธิหรือใบอนุญาตการปล่อยคาร์บอนให้แก่ผู้ประกอบการในแต่ละอุตสาหกรรม โดยผู้ประกอบการสามารถนำใบอนุญาตหรือคาร์บอนเครดิตมาซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ตามความต้องการ

 

สำหรับตัวอย่างของตลาดคาร์บอนภาคบังคับ ได้แก่ ระบบการซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศ (EU ETS) และระบบการซื้อขายการปล่อยก๊าซเรือนแห่งชาติจีน (Chinese National Carbon Trading Scheme)

 

  1. ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ (Voluntary Carbon Markets) เป็นตลาดคาร์บอนที่เกิดจากความสมัครใจขององค์กรต่างๆ โดยผู้ที่เข้าร่วมอาจมีเป้าหมายในการลดหรือดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานและสามารถนำไปขายให้แก่ผู้ที่ต้องการได้

 

โดยอาจทำการซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มการซื้อขายหรือการเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายโดยตรง (Over-the-Counter: OTC)

 

ส่องความคืบหน้า Carbon Pricing ในเอเชีย

 

เอเชียนับเป็นอีกภูมิภาคที่ตื่นตัวเรื่องการกำหนดราคาคาร์บอนอย่างมาก เห็นได้จากประเทศจีนที่มีตลาดซื้อขายคาร์บอนเครดิตใหญ่ที่สุดในโลก ขณะที่เกาหลีใต้ก็มีระบบ ETS ตั้งแต่ปี 2015 ซึ่งครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 89% ของประเทศ ส่วนญี่ปุ่นก็มีการเก็บภาษีคาร์บอนรวมกับโครงการ ETS แบบสมัครใจตั้งแต่ปี 2023 โดยมาตรการเหล่านี้ครอบคลุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนราว 50% ของการปล่อยทั้งประเทศแล้ว

 

โดยปีหน้าหลายประเทศในเอเชียก็มีแผนที่จะออกมาตรการกำหนดราคาคาร์บอนเพิ่มเติม ได้แก่ ไทยและมาเลเซีย ที่คาดว่าจะเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนอย่างเร็วที่สุดภายในปีงบประมาณ 2025 ขณะที่จีนก็เตรียมขยาย ETS ไปในอุตสาหกรรมเหล็ก ซีเมนต์ และอะลูมิเนียม ในปี 2025

 

🇹🇭 ไทย

 

ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ: หลังจาก อบก. พัฒนามาตรฐานรับรองคาร์บอนเครดิตของไทย โดยใช้ชื่อว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานประเทศไทย (T-VER) ตั้งแต่ปี 2014 โดยมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่านโครงการ T-VER เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2016

 

โดยในปี 2022 อบก. พัฒนามาตรฐานรับรองคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยขั้นสูงชื่อว่า Premium T-VER เพื่อยกระดับมาตรฐานการรับรองคาร์บอนเครดิตให้เทียบเท่าระดับสากล และสอดคล้องกับข้อกำหนดภายใต้ความตกลงปารีสข้อ 6 (Article 6)

 

ต่อมาในปี 2023 อบก. ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พัฒนาศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตชื่อว่า FTIX ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายคาร์บอนเครดิตแห่งแรกของไทย เพื่อส่งเสริมให้เกิดตลาดกลางที่โปร่งใส ถูกต้อง เชื่อถือได้ สามารถรายงานระดับราคาที่ยุติธรรมและมุ่งพัฒนาไปสู่การซื้อขายในระดับสากล

 

ภาษีคาร์บอน: กระทรวงการคลังคาดว่าจะสามารถเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนอย่างเร็วที่สุดภายในปีงบประมาณ 2025 ในอัตรา 200 บาทต่อตันคาร์บอน เพื่อให้ทันมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) ในปี 2026 โดยสินค้าเป้าหมายเบื้องต้นคือน้ำมัน ซึ่งกรมสรรพสามิตย้ำว่าในระยะแรกจะยังไม่มีผลกระทบต่อประชาชน

 

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ: โดยในร่าง พ.ร.บ. Climate Change คาดว่าจะมีกฎหมายเพื่อกำหนดกลไกราคาคาร์บอนภาคบังคับในรูปแบบระบบ Emission Trading Scheme (ETS) โดยคาดว่าจะบังคับใช้ได้ในปี 2029

 

ทั้งนี้ พ.ร.บ. Climate Change หรือ พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นกฎหมายที่จะผลักดันและสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CHG) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065

 

🇭🇰 ฮ่องกง

 

ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ: เมื่อเดือนตุลาคม 2022 ตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (HKEX) เปิดตัว Core Climate ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายเครดิตคาร์บอนแบบสมัครใจ นอกจากนี้ HKEX ยังเปิดตัวเครดิตคาร์บอนมาตรฐานทองคำบน Core Climate ซึ่งเป็นตลาดคาร์บอนของ HKEX โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2024

 

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ: ฮ่องกงกำลังสำรวจโอกาสในการสร้างตลาดคาร์บอนแบบบูรณาการในพื้นที่เขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area:GBA) โดยใช้ประโยชน์จากตลาด ETS ในกวางตุ้ง

 

โดยภายใต้เอกสารนโยบายอย่างเป็นทางการที่ได้รับการรับรองโดยรัฐบาลกลางจีนเกี่ยวกับการให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า มีความเห็นที่ระบุว่ามีความจำเป็นต้องสร้างแพลตฟอร์ม ETS ใน GBA เพื่อดึงดูดการมีส่วนร่วมจากนักลงทุนต่างชาติ

 

ภาษีคาร์บอน: ปัจจุบันฮ่องกงยังไม่ได้จัดเก็บภาษีคาร์บอน เนื่องจากต้องพึ่งพาถ่านหินและก๊าซธรรมชาตินำเข้าเป็นหลักในการผลิตพลังงาน ท่ามกลางความกังวลว่าการจัดเก็บภาษีคาร์บอนอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและต้นทุนพลังงานในฮ่องกง

 

🇨🇳 จีน

 

ตามข้อมูลจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ระบุว่า กลไกกำหนดราคาคาร์บอนที่ชัดเจนในประเทศจีนประกอบด้วยราคาใบอนุญาตระบบการซื้อขายการปล่อยก๊าซ (ETS) ซึ่งครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) 37.8%

 

นอกจากนี้จีนยังมีภาษีสรรพสามิตเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นรูปแบบโดยนัยของการกำหนดราคาคาร์บอน ครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7.1% ในปี 2023 อย่างไรก็ตาม จีนยังไม่มีการบังคับใช้ภาษีคาร์บอน

 

🇸🇬 สิงคโปร์

 

ภาษีคาร์บอน: สิงคโปร์เป็นประเทศแรกที่ประกาศเก็บภาษีคาร์บอนในภูมิภาคอาเซียน โดยปัจจุบันเรียกเก็บกับอุตสาหกรรมการผลิต พลังงาน และภาคการบำบัดน้ำเสีย ที่ปล่อยคาร์บอนเกิน 25,000 ตันคาร์บอนต่อปี แบ่งเป็นระยะ (Phases) ได้แก่

  • 2019: ในอัตรา 4 ดอลลาร์สหรัฐ
  • 2024: ในอัตรา 19 ดอลลาร์สหรัฐ
  • 2026: ในอัตรา 34 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ)
  • 2030: ในอัตรา 38-60 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณการ)

 

ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ: ปัจจุบันสิงคโปร์มีตลาดแลกเปลี่ยนและซื้อขายคาร์บอนที่ชื่อว่า Climate Impact X (CIX) ซึ่งก่อตั้งโดย Temasek, DBS, Singapore Exchange และ Standard Chartered Bank

 

นอกจากนี้สิงคโปร์ยังมีกลไกการชดเชย (Offset Mechanism) โดยจะเปิดให้บริษัทต่างๆ ขอชดเชยภาษีคาร์บอนสูงสุด 5% โดยใช้คาร์บอนเครดิตจากตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ

 

🇲🇾 มาเลเซีย

 

ภาษีคาร์บอน: ปัจจุบันมาเลเซียอยู่ระหว่างการเตรียมประกาศใช้ภาษีคาร์บอน โดยคาดว่าจะเริ่มบังคับใช้ภายในปี 2026 เบื้องต้นจะมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมเหล็ก เหล็กกล้า และพลังงาน เป็นอันดับแรก เพื่อเตรียมตัวรับมือกับมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ของสหภาพยุโรป

 

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ: รัฐบาลมาเลเซียกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาระบบการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่

 

ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ: มาเลเซียมี Bursa Carbon Exchange (BCX) ซึ่งเป็นศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมหลายประเภทตามหลักชารีอะห์แห่งแรกของโลก โดยราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตอยู่ที่ราว 3.7 ดอลลาร์สหรัฐ

 

🇮🇩 อินโดนีเซีย

 

ภาษีคาร์บอน: อินโดนีเซียอยู่ในระหว่างการศึกษาภาษีคาร์บอน โดยเบื้องต้นภาษีคาร์บอนนี้จะมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมพลังงานถ่านหิน

 

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ: อินโดนีเซียเปิดตัวระบบ ETS เมื่อเดือนกันยายน 2023 โดยมุ่งเป้าไปที่โรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 100 MW ซึ่งครอบคลุมโรงงานไฟฟ้าราว 99 แห่ง โดยราคาการซื้อขายคาร์บอนเครดิตอยู่ที่ราว 0.6-4.4 ดอลลาร์สหรัฐ

 

ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ: อินโดนีเซียเปิดตัวหน่วยงาน The National Registry System ในเดือนกันยายน 2023 โดยปัจจุบันมี 3 โครงการด้านพลังงานหมุนเวียน โดยราคาคาร์บอนเครดิตอยู่ที่ราว 3.7 ดอลลาร์สหรัฐ

 

🇵🇭 ฟิลิปปินส์

 

ปัจจุบันรัฐบาลฟิลิปปินส์กำลังพิจารณาระหว่างภาษีคาร์บอนและระบบการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยรายงานข่าวล่าสุดระบุว่ารัฐบาลมีแนวโน้มจะเริ่มจาก ETS ก่อน เนื่องมาจากความกังวลด้านต้นทุน

 

🇻🇳 เวียดนาม

 

เวียดนามเตรียมเปิดตัวระบบการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2025 โดยมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมพลังงาน เหล็ก เหล็กกล้า และซีเมนต์ เพื่อเตรียมรับมือกับมาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรป

 

โดยเบื้องต้นประเมินว่าจะมีบริษัทราว 1,900 แห่งที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันราว 3,000 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และบริษัทต่างๆ คาดว่าจะได้รับโควตาภายในเดือนธันวาคม 2024

 

แนะสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มขีดความสามารถ ดันตลาดคาร์บอนเติบโต

 

Grace Hui ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Net Zero Asia ซึ่งเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาสินทรัพย์คาร์บอนกล่าวว่า น่าเสียดายที่ในปัจจุบันกลไกภาคบังคับครอบคลุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 25% ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกเท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องการสิ่งอื่นเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการปล่อยคาร์บอนเหล่านี้

 

Hui กล่าวอีกว่า เธอไม่คิดว่าตลาดจะเติบโตอย่างที่เราต้องการ แต่หากมีการสร้างความเชื่อมั่นและเพิ่มขีดความสามารถของตลาดคาร์บอนก็จะสามารถทำให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นเข้าใจว่าตลาดคาร์บอนทำงานอย่างไร โดยสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ตลาดคาร์บอนสมัครใจคึกคัก

 

info-carbon-market-overview-asia-2025

 

ภาพประกอบ: กริน วสุรัฐกร

 

The post สรุปภาพรวม ‘ตลาดคาร์บอน’ ในปัจจุบัน จับตาเอเชียเร่งเครื่อง Carbon Pricing ในปี 2025 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ซีเค พาวเวอร์ ปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าค่ากลางไทย 86% เดินหน้าศึกษาผลิตไฟฟ้าไฮโดรเจน หนุนไทยสู้โลกร้อน https://thestandard.co/ckpower-86-below-thailand-average/ Tue, 05 Nov 2024 09:34:59 +0000 https://thestandard.co/?p=1004698

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เตือนว่า อุณหภูมิโลกมีแนว […]

The post ซีเค พาวเวอร์ ปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าค่ากลางไทย 86% เดินหน้าศึกษาผลิตไฟฟ้าไฮโดรเจน หนุนไทยสู้โลกร้อน appeared first on THE STANDARD.

]]>

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เตือนว่า อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้นถึงระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยมีโอกาสถึง 66% ที่อุณหภูมิเฉลี่ยใกล้พื้นผิวโลกจะสูงกว่าระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ส่งผลให้องค์กรต่างๆ ทั่วโลกเร่งดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม

 

ล่าสุด บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKPower ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ในภูมิภาค เผยผลงานด้านการจัดการพลังงานปี 2566 ด้วยตัวเลขการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.0691 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ต่อการผลิตไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh)

 

ตัวเลขดังกล่าวต่ำกว่าค่ากลางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่ 0.4999 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ต่อเมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ถึง 86% และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องถึง 87% ในปี 2567

 

ธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) เผยว่า “เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซีเค พาวเวอร์ เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจาก 89% เป็น 93% ส่งผลให้สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดถึง 8.5 ล้านเมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) คิดเป็น 17% ของไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดที่ใช้ในประเทศไทย”

 

 

ด้านการพัฒนานวัตกรรมลดการใช้พลังงาน บริษัทสามารถลดการใช้พลังงานในปี 2566 ได้ถึง 5,101 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 2,051 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) เท่ากับการปิดไฟในกรุงเทพฯ นาน 186 ชั่วโมง

 

ขณะที่ผลงาน 6 เดือนแรกของปี 2567 สามารถลดการใช้พลังงานได้แล้ว 2,883 เมกะวัตต์-ชั่วโมง (MWh) คิดเป็นการลดก๊าซเรือนกระจก 1,313 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือเทียบเท่าการปิดไฟในกรุงเทพฯ 119 ชั่วโมง

 

นอกจากนี้บริษัทยังเดินหน้าศึกษาการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนผสมก๊าซธรรมชาติในโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม สอดรับกับร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567-2580 (PDP 2024)

 

ทั้งนี้ ในปี 2566 การดำเนินงานของซีเค พาวเวอร์ ช่วยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 4.4 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) สะท้อนให้เห็นว่าภาคเอกชนไทยมีศักยภาพในการร่วมแก้ปัญหาวิกฤตโลกร้อนได้อย่างเป็นรูปธรรม

 

อ้างอิง: 

The post ซีเค พาวเวอร์ ปล่อยคาร์บอนต่ำกว่าค่ากลางไทย 86% เดินหน้าศึกษาผลิตไฟฟ้าไฮโดรเจน หนุนไทยสู้โลกร้อน appeared first on THE STANDARD.

]]>
กลยุทธ์ AI กำลังสวนทางกับแผนรักษ์โลกของ Microsoft หลังบริษัทปล่อยคาร์บอนสูงขึ้นราว 30% https://thestandard.co/ai-microsoft-carbon-30-percent/ Thu, 16 May 2024 10:53:58 +0000 https://thestandard.co/?p=934371

คำมั่นสัญญาของ Microsoft ที่ต้องการจะลดปริมาณก๊าซเรือนก […]

The post กลยุทธ์ AI กำลังสวนทางกับแผนรักษ์โลกของ Microsoft หลังบริษัทปล่อยคาร์บอนสูงขึ้นราว 30% appeared first on THE STANDARD.

]]>

คำมั่นสัญญาของ Microsoft ที่ต้องการจะลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทปล่อยออกมาจากการทำธุรกิจกำลังถูกท้าทายด้วยความต้องการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ (AI) และคลาวด์ที่กำลังเป็นสองส่วนสำคัญในโลกยุคดิจิทัล

 

Microsoft ออกรายงาน Environmental Sustainability Report 2024 เพื่อสรุปแผนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของปี 2023 โดยส่วนหนึ่งของเนื้อหาระบุว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ Microsoft สร้างขึ้นนั้นมีค่ามากกว่าฐานที่เคยตั้งไว้ในปี 2020 ราว 30% หมายความว่าปีที่ผ่านมาสิ่งที่เกิดขึ้นกำลังสวนทางกับความพยายามของบริษัทในการลดคาร์บอน

 

ทำไม Microsoft ถึงยังไม่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนลงได้?

 

คำชี้แจงในรายงานของ Microsoft ระบุว่า “ปัจจัยที่กดดันความพยายามของเรามาจากการก่อสร้าง Data Center แห่งใหม่ๆ รวมทั้งวัสดุที่ถูกใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เซมิคอนดักเตอร์และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยากระหว่างการตอบสนองดีมานด์การใช้งาน AI ที่กำลังเพิ่มสูงขึ้น กับความพยายามที่จะลดการปล่อยมลพิษในเวลาเดียวกัน

 

การฝึกฝนและการใช้งาน AI เป็นอะไรที่กินพลังงานสูงมาก โดยรายงานล่าสุดของ Microsoft คือตัวอย่างที่ชี้ให้เราเห็นว่าการหาจุดสมดุลของสองเรื่องนี้คือความท้าทายของอีกหลายบริษัทบิ๊กเทค และเป็นสิ่งที่ไม่อาจสามารถแก้ไขได้ง่ายเลย

 

The Verge รายงานว่าในปี 2020 Microsoft ตั้งเป้าที่จะนำตัวเองไปสู่บริษัทที่มีค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนติดลบ หมายความว่าบริษัทให้คำมั่นสัญญาที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งและดักจับคาร์บอนเกิดขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม การให้สัญญา ณ ตอนนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างทะเยอทะยาน เนื่องจากเทคโนโลยีดักจับคาร์บอนในช่วงปี 2020 ยังแทบจะไม่ถูกนำมาใช้งานอย่างจริงจัง อีกทั้งสภาพแวดล้อมการใช้เทคโนโลยี AI ก็ไม่เหมือนกับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

 

Brad Smith ประธานบริษัท Microsoft ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันว่า แผนการลดที่เคยตั้งไว้ในปี 2020 นั้นมีมาก่อนที่ความต้องการใช้งาน AI จะปะทุขึ้นอย่างรุนแรง และตอนนี้การขยายตัวของเทคโนโลยีดังกล่าวกับพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้หล่อเลี้ยงมันกำลังทำให้การไปถึงเป้าหมายที่จะต้องไปให้ถึงมีความยากมากขึ้น

 

นอกจากนี้ Data Center ที่ถูกใช้ในการฝึก AI ยังมีอัตราการกินพลังงานที่สูงกว่า Data Center แบบปกติที่ก็ใช้ไฟฟ้ามหาศาลสำหรับรันเซิร์ฟเวอร์และให้พลังงานกับระบบหล่อเย็นเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

 

ทีนี้ประเด็นที่ Microsoft มีแผนจะลงทุนขยาย Data Center อีกหลายแห่งทั่วโลกด้วยเงินกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2023 – มิถุนายน 2024 และจะสูงขึ้นในรอบปีงบประมาณถัดไปตามคำให้การของ Amy Hood หัวหน้าแผนกการเงินประจำ Microsoft เพื่อรองรับการใช้ AI ที่กำลังกลายมาเป็นโฟกัสหลักของธุรกิจ ก็จะยิ่งเพิ่มอุปสรรคต่อการลดมลพิษตามที่บริษัทได้ให้สัญญาไว้

 

อ้างอิง:

The post กลยุทธ์ AI กำลังสวนทางกับแผนรักษ์โลกของ Microsoft หลังบริษัทปล่อยคาร์บอนสูงขึ้นราว 30% appeared first on THE STANDARD.

]]>
3 ประเด็น ESG ที่นักลงทุนต้องจับตาในปี 2567 https://thestandard.co/opinion-3-things-esg-2567/ Thu, 11 Jan 2024 04:34:40 +0000 https://thestandard.co/?p=886388

เข้าสู่ปี 2567 แล้วนะครับ ในช่วงต้นปีแบบนี้ ผมขอชวนทุกค […]

The post 3 ประเด็น ESG ที่นักลงทุนต้องจับตาในปี 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>

เข้าสู่ปี 2567 แล้วนะครับ ในช่วงต้นปีแบบนี้ ผมขอชวนทุกคนมาติดตามกันครับว่า ตลอดปีนี้มีประเด็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ESG ที่เราควรให้ความสนใจกันบ้าง ซึ่งถ้าให้ผมมอง ก็จะมี 3 เรื่องที่ค่อนข้างโดดเด่นครับ ได้แก่ 1. กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ESG 2. การจัดพอร์ตโฟลิโอคาร์บอนต่ำ และ 3. เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน 

 

สำหรับมิติกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น ESG นั้น ผมมองว่าในปี 2566 เราได้เห็นกฎเกณฑ์ที่ประเทศต่างๆ ได้เริ่มบังคับใช้ รวมถึงประกาศว่าจะออกกฎเกณฑ์ใหม่ๆ ในปีนี้และเร็วๆ นี้มากขึ้น โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change นอกจากนี้ หน่วยงานกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยได้เพิ่มความเข้มข้นเรื่องการเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการและผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนอีกด้วย 

 

อย่างเช่นที่สหภาพยุโรป (EU) ได้มีการบังคับใช้ ‘ข้อบังคับว่าด้วยการรายงานความยั่งยืนขององค์กร (Corporate Sustainability Reporting Directive: CSRD)’ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 โดยกฎหมายฉบับนี้กำหนดให้องค์กรขนาดใหญ่และบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด (ยกเว้นบริษัทจดทะเบียนขนาดเล็ก) จะต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงและโอกาสด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบของการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้เสียและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากบริษัทใดที่เข้าข่ายตามข้อบังคับ CSRD ต้องรายงานข้อมูลภายใต้มาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของยุโรป (European Sustainability Reporting Standards: ESRS) ดังนั้นปี 2567 ถือเป็นปีแรกที่บริษัทต้องเริ่มเก็บข้อมูล เพื่อจัดทำรายงานตามมาตรฐาน ESRS ก่อนเผยแพร่รายงานในปี 2568 

 

ขณะที่สหรัฐฯ นอกจากกฎหมาย Clean Competition Act หรือ US-CBAM ซึ่งเป็นมาตรการเกี่ยวกับภาษีคาร์บอนที่จะเริ่มบังคับใช้ในปี 2568 กับอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้มข้น ก่อนขยายไปอุตสาหกรรมอื่นๆ ในปี 2570 ต่อไปนั้น ยังจะมีการบังคับใช้ร่าง พ.ร.บ.การเปิดข้อมูลสภาพภูมิอากาศของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California’s New Climate Disclosure Rules) รวม 2 ฉบับ คือ SB 253 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบขององค์กรต่อข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศ ที่กำหนดให้องค์กรขนาดใหญ่ต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งรวมถึงข้อมูลของห่วงโซ่อุปทานด้วย และ SB 261 กฎหมายว่าด้วยเรื่องก๊าซเรือนกระจก สภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้อง ที่กำหนดให้บริษัทต่างๆ ต้องรายงานความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ แม้ พ.ร.บ. นี้จะมีผลบังคับใช้ในปี 2568 แต่บริษัทต้องเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2567 แล้ว อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องจับตาการเลือกตั้งสหรัฐฯ ช่วงปลายปีด้วยครับ เพราะหากเปลี่ยนขั้วอำนาจ ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ ESG ได้อีกครับ 

 

นี่เป็นเพียงตัวอย่างของประเทศมหาอำนาจที่มีการเพิ่มความเข้มข้นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ Climate Change และการรายงานความยั่งยืน ยังมีอีกหลายประเทศที่เตรียมออกกฎหมายและมาตรฐานการรายงานลักษณะคล้ายๆ กันนี้เพิ่มเติม ซึ่งการรายงานที่เข้มข้นขึ้นจะมีส่วนช่วยทำให้ผู้ลงทุนได้เห็นว่า หุ้นหรือตราสารหนี้ของบริษัทที่ตัวเองลงทุนโดยตรงอยู่หรือลงทุนผ่านกองทุนรวม สร้างผลกระทบทั้งเชิงลบและเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างไรบ้าง 

 

ประเด็นต่อมาที่ควรให้ความสนใจไม่แพ้กัน คือ การจัดพอร์ตโฟลิโอคาร์บอนต่ำ ที่ผมมองว่าเป็นอีกแนวโน้มสำคัญที่เราจะได้เห็นมากขึ้นครับ ไม่ใช่แค่นักลงทุนสถาบันที่พยายามปรับพอร์ตลงทุนโดยลดหรือหลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง 

 

นักลงทุนรายย่อยเองก็เริ่มให้ความสำคัญกับการจัดพอร์ตโฟลิโอคาร์บอนต่ำเพิ่มขึ้นตามครับ โดยพยายามมุ่งเน้นการลงทุนในสินทรัพย์หรือกิจการที่ปล่อยคาร์บอนต่ำมากขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การลงทุนผ่านตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อสังคม หรือหุ้นของบริษัทที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของ Morningstar ที่ระบุว่า เจ้าของสินทรัพย์ 2 ใน 3 หรือ 67% เชื่อว่า ประเด็น ESG มีความสำคัญต่อนโยบายการลงทุนมากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ เนื่องจากเชื่อว่าประเด็นนี้มาพร้อมโอกาสและความเสี่ยงในการลงทุน เพราะฉะนั้น ประเด็นนี้จะเป็นแรงกดดันทำให้บริษัทที่กำลังหรือมีแผนจะระดมทุนเพิ่ม ต้องพยายามปรับปรุงการดำเนินงานไปสู่การปล่อยคาร์บอนต่ำ มิฉะนั้นอาจระดมทุนยากขึ้น  

 

ส่วนประเด็นสุดท้าย เรื่องเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน มีแนวโน้มได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอนครับ เพราะนานาประเทศและองค์กรทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับประเด็น ESG เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมิติสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการจัดการน้ำ สอดรับกับเป้าหมายที่โลกจะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี เพื่อให้การลดก๊าซเรือนกระจกสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น โดยเทคโนโลยีที่คาดว่ายังคงมาแรงต่อเนื่องจะเกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน เศรษฐกิจหมุนเวียน การเพิ่มประสิทธิภาพในห่วงโซ่อุปทาน การดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน (CCUS) ยานยนต์ไฟฟ้าหรือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน 

 

ทั้ง 3 ประเด็นที่ผมหยิบยกมานี้ ล้วนมีความสำคัญกับการลงทุนทั้งสิ้นครับ เพราะเป็นประเด็นที่มาพร้อมโอกาสและความท้าทายให้นักลงทุนต้องปรับตัว เพื่อให้แน่ใจว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนอยู่จะช่วยให้พอร์ตการลงทุนเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว ในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการลงทุนอย่างยั่งยืน ซึ่งในปี 2567 นักลงทุนคงจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ ESG และ Climate ที่เรานำมาเป็นทางเลือกในการลงทุนเพิ่มเติมอย่างแน่นอนครับ 

 

อ้างอิง: 

 


 

คำเตือน: 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง รวมถึงควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้ประกอบธุรกิจก่อนตัดสินใจลงทุน
  • สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ SCB Call Center โทร. 0 2777 7777

The post 3 ประเด็น ESG ที่นักลงทุนต้องจับตาในปี 2567 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ข้อเสนอจัดตั้งแนวร่วม ‘Thailand Net Zero Coalition’ ประสานพลังภาครัฐ-ธุรกิจ-การเงิน พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย สร้างการเติบโตสีเขียว https://thestandard.co/thailand-net-zero-coalition/ Sat, 16 Dec 2023 07:03:18 +0000 https://thestandard.co/?p=877433

ในบทความนี้ ผมเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งแนวร่วมความร่วมมือที่ […]

The post ข้อเสนอจัดตั้งแนวร่วม ‘Thailand Net Zero Coalition’ ประสานพลังภาครัฐ-ธุรกิจ-การเงิน พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย สร้างการเติบโตสีเขียว appeared first on THE STANDARD.

]]>

ในบทความนี้ ผมเสนอให้รัฐบาลจัดตั้งแนวร่วมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม เพื่อขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก และนำพาเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

 

ผมเรียกแนวร่วมนี้ว่า ‘Thailand Net Zero Coalition’ โดยต้องอาศัยการประสานพลังของ 3 ภาคส่วนสำคัญ คือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน

 

ผมขอใช้พื้นที่ตรงนี้อธิบายถึงเหตุผลความจำเป็นของการจัดตั้งแนวร่วมดังกล่าว

 

Carbon is a measure of competitiveness.

 

ผมเคยเขียนไว้ในบทความเรื่อง Transition Finance ว่า การลดก๊าซเรือนกระจก คือ การรักษาความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในระยะยาว ทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ

 

ในโลกที่คาร์บอนกลายเป็น ‘ต้นทุน’ ทางธุรกิจ และ ‘ราคา’ ของคาร์บอนจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ธุรกิจและเศรษฐกิจที่ยังปล่อยคาร์บอนสูง จะเสียเปรียบและพ่ายแพ้ต่อธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ลดคาร์บอนได้เร็วกว่า 

 

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การใช้มาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรป เพื่อปรับราคาคาร์บอนของสินค้านำเข้าให้เท่าเทียมกับสินค้าที่ผลิตในยุโรป 

 

บนเวที COP28 ที่เพิ่งปิดฉากลง ผู้บริหารสูงสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เรียกร้องให้โลกเพิ่มการจัดเก็บภาษีคาร์บอน เพราะเป็นแรงกระตุ้นที่ดีที่สุดที่จะทำให้ภาคธุรกิจเร่งลดคาร์บอน โดย IMF ประเมินว่า ‘ราคา’ ที่เหมาะสมของคาร์บอนจะอยู่ที่ 85 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันคาร์บอนภายในปี 2030

 

เวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023 ก็ได้ตอกย้ำถึงเรื่องนี้เช่นกัน 

 

อธิบดีกรมสรรพสามิตเน้นว่า กรมกำลังศึกษาเตรียมความพร้อมในการเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนในอนาคต โดยในช่วงแรกน่าจะเก็บในอัตราที่ไม่มาก แต่เป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนจากภาครัฐว่า คาร์บอนจะมีราคาที่ทยอยปรับสูงขึ้นในอนาคต สอดคล้องกับทิศทางของโลก และเป็นการต่อยอดมาตรการทางภาษีของกรมสรรพสามิต ซึ่งที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการส่งเสริมการเติบโตแบบก้าวกระโดดของยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า และการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย 

 

ซีอีโอของเอสซีจีกล่าวถึงกรณีที่บริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศที่จะมาลงทุนในประเทศไทย เขาจะตั้งคำถามว่า ไทยมีกระแสไฟฟ้าที่มาจากพลังงานสะอาดและโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวอื่นๆ พร้อมหรือไม่ หรือมีแผนพัฒนาในเรื่องนี้ที่เป็นรูปธรรมมากน้อยแค่ไหน 

 

เพราะคาร์บอนคือต้นทุนทางธุรกิจที่บริษัทระดับโลกต้องนำมาประกอบการพิจารณา ทุกบริษัทต่างมีเป้าหมายการลดก๊าซคาร์บอนสู่ Net Zero ที่เขาต้องบรรลุ เขาต้องมองหาชัยภูมิที่ดีที่จะเอื้อต่อการสร้าง Low-Carbon Supply Chain 

 

การลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกเดือดจึงไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อม แต่เป็นเรื่องเศรษฐกิจ นโยบายการลดคาร์บอนเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero จึงไม่ใช่นโยบายสิ่งแวดล้อม แต่เป็นนโยบายทางเศรษฐกิจ หากองคาพยพทุกภาคส่วนของไทยไม่จริงจังกับการลดก๊าซเรือนกระจกมากพอ หรือดำเนินงานช้าเกินไป ไทยจะกลายเป็นเศรษฐกิจคาร์บอนสูงในโลกคาร์บอนต่ำ (High-Carbon Economy in a Low-Carbon World) ศักยภาพในการแข่งขันและเติบโตของเศรษฐกิจไทยจะถูกลดทอนลงอย่างแน่นอน

 

แต่มองในมุมกลับ หากพวกเราร่วมมือกันผลักดันการลดคาร์บอนอย่างจริงจัง นี่คือโอกาสทองของประเทศในการลงทุนเพื่อพลิกโฉมระบบเศรษฐกิจครั้งใหญ่ การลดคาร์บอนสามารถเป็นเครื่องยนต์ที่จะช่วยติดเครื่องเศรษฐกิจไทยให้หลุดพ้นจากทศวรรษที่สาบสูญ (Lost Decade) และปลดล็อกการเติบโตสีเขียว (Green Growth) อย่างแท้จริง

 

พัฒนาการสำคัญจาก COP28 โลกรุกหนักเพื่อระดมเงินไปลงทุนในการลดคาร์บอน

 

ในการประชุม COP28 ที่ดูไบ เห็นได้ชัดว่าทุกภาคส่วนเล็งเห็นความสำคัญของการระดมทุนเพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาโลกร้อน หรือที่เรียกว่า Climate Finance

 

หากโลกจะเดินไปสู่ Net Zero ได้ เราจะต้องจัดสรรเงินทุนไปใช้ในการลดคาร์บอนในตลาดเกิดใหม่ และเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนา เพราะเป็นกลุ่มประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นทุกปี จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นกลุ่มประเทศที่ยังคงใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานหลัก

 

โลกมีเงินทุนมากเพียงพอที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน แต่ปัญหาคือ เงินทุนของโลกยังไม่ค่อยไหลไปยังกลุ่มประเทศเหล่านี้ ซีอีโอ KBank พูดเรื่องนี้ไว้ในเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM เช่นกัน โดยชี้ให้เห็นว่าเม็ดเงินลงทุน Climate Finance กว่า 73% ไหลไปที่ 3 ภูมิภาคเท่านั้น คือ ยุโรป อเมริกาเหนือ และจีน 

 

ความไม่ชัดเจนของนโยบายด้าน Climate ความไม่แน่นอนของกฎระเบียบ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการ และปัจจัยเชิงโครงสร้างอื่นๆ ทำให้ต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) ในประเทศกำลังพัฒนาสูงกว่าในประเทศพัฒนาแล้วหลายเท่าตัว 

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาจึงต้องอาศัยเงินทุนจากภาครัฐและธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อมาช่วยลดความเสี่ยง ลดต้นทุนของเงินทุนในการแก้ปัญหาโลกร้อน

 

ใน COP28 เราเห็นความตื่นตัวและพัฒนาการที่สำคัญจากหลายประเทศและหลายองค์กรในเรื่อง Climate Finance โดยมีการเปิดตัวข้อริเริ่มและพันธมิตรใหม่เพื่อระดมเงินทุนมาใช้ในการลดคาร์บอนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 

 

ธนาคารโลก (World Bank) ประกาศปรับเพิ่มเป้าหมายสัดส่วนเงินกู้สำหรับแก้ปัญหาโลกร้อนหรือ Climate Lending จากเดิม 35% เป็น 45% ของเงินกู้ทั้งหมดภายในปี 2025 หรือประมาณ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี 

 

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) เจ้าภาพการประชุม COP28 ประกาศจัดตั้งกองทุนใหม่เพื่อนำไปลงทุนในโครงการแก้ปัญหาโลกร้อนในประเทศกำลังพัฒนา แพลตฟอร์มการลงทุนนี้มีชื่อว่า ‘ALTÉRRA’ โดยตั้งเป้าจะระดมเม็ดเงินกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 จากพันธมิตรทั้งภาครัฐและนักลงทุนเอกชนยักษ์ใหญ่ เช่น รัฐบาลยูเออี BlackRock Brookfield และ TPG ถือเป็นกองทุน Blended Finance เพื่อการลดโลกร้อนที่น่าจับตามอง

 

สิงคโปร์ประกาศจัดตั้งแพลตฟอร์มระดมเงินทุนในลักษณะคล้ายกัน ชื่อว่า FAST-P หรือ Financing Asia’s Transition Partnership เพื่อระดมเงินจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ Philanthropy เพื่อลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน (Green and Transition Infrastructure) และเทคโนโลยีพลังงานสะอาดในภูมิภาคเอเชีย โดยตั้งเป้าระดมเงินทุน 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

เมื่อเรามองปัญหาความท้าทายของไทยที่สะท้อนผ่านเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM ควบคู่ไปกับความเคลื่อนไหวด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนในเวที COP28 เราจะเห็นความเชื่อมโยงและโอกาสในการขับเคลื่อนวาระ Net Zero ของไทย

 

ความท้าทายด้าน Climate ของไทย

 

ผมคิดว่าแนวร่วม Thailand Net Zero Coalition สามารถช่วยจัดการกับอุปสรรคและความท้าทายของไทยในเรื่อง Climate 5 ข้อสำคัญ ดังนี้

 

1. Policy Gap นโยบายที่ไม่ชัดเจน ขาดความเป็นองค์รวม และขาดแผนงานที่เป็นรูปธรรม

 

แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะประกาศชัดเจนในเวทีระหว่างประเทศว่าไทยจะให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืน และแม้ว่าไทยจะมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์ขับเคลื่อน BCG แผนพลังงานชาติ และนโยบายอื่นๆ ในภาพรวม แต่ไทยยังขาดการกำหนดนโยบายที่มีความเชื่อมโยงระหว่างกันอย่างเป็นองค์รวมทั้งระบบ ขณะที่นโยบายที่มีอยู่ก็ขาดโฟกัสในเรื่องกลยุทธ์การลดก๊าซเรือนกระจกในแต่ละภาคเศรษฐกิจ และขาดแผนงานที่จับต้องได้

 

2. Action Gap การขับเคลื่อนวาระ Net Zero ในภาคธุรกิจยังจำกัดในวงแคบและไม่เป็นเอกภาพ

 

เมื่อนโยบายและแผนงานยังไม่ชัด ภาคธุรกิจส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าเดินหน้าเต็มที่ ผู้บริโภคก็ปรับพฤติกรรมช้า ทำให้ ‘ตลาดสินค้าสีเขียว’ เกิดยากและเติบโตช้า สถาบันการเงินและนักลงทุนก็ไม่กล้าเอาเม็ดเงินมาลงทุน 

 

แม้ว่าธุรกิจชั้นนำรายใหญ่ของไทยเริ่มตื่นตัวเรื่องนี้มาในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีความร่วมมือผ่านเครือข่ายภาคเอกชนในการลดก๊าซคาร์บอน แต่ถือว่าความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรมยังจำกัดอยู่ในวงแคบ 

 

ปัจจุบันมีบริษัทไทยเพียง 11 บริษัทที่ได้จัดทำเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองโดยองค์กร Science-Based Target Initiative (SBTi) แล้วเสร็จ และมีอีก 22 บริษัทที่ประกาศ (Commit) ว่าจะตั้งเป้าหมาย SBTi 

 

ตัวเลขนี้ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET ที่มีเกือบ 700 บริษัท ยังไม่นับธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการลดคาร์บอนด้วย

 

เรายังจำเป็นต้องผลักดันให้ภาคธุรกิจในวงกว้าง หันมาใส่ใจกับ Net Zero ตั้งเป้าหมายการลดคาร์บอนที่ชัดเจน นำเรื่อง Climate ไปปรับเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจอย่างจริงจัง และจัดทำ Transition Strategy ขององค์กร เพื่อบริหารความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสใหม่จาก Net Zero Transition

 

3. Data Gap การขาดข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้

 

ทุกธุรกิจที่พยายามลดก๊าซเรือนกระจกต่างประสบปัญหาการเข้าถึงหรือเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซของธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กใน Supply Chain เมื่อไม่มีข้อมูลดิบที่เชื่อถือได้ ทำให้ต้องอาศัยการประมาณการข้อมูลหรือใช้ Proxy แทน ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

 

มาตรฐานการนำเสนอข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็ยังไม่สอดคล้องกันทั้งอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่นในภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งครอบคลุมอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม อาคารพาณิชย์ ห้างสรรพสินค้า และโรงแรม ส่วนใหญ่ยังขาดการจัดเก็บและรายงานข้อมูลก๊าซคาร์บอน ยังไม่นับถึงการขาดข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดจากวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ 

 

เมื่อข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่น่าเชื่อถือ จะเป็นอุปสรรคต่อการตัดสินใจของนักลงทุนและสถาบันการเงินในการไฟแนนซ์โปรเจกต์การลดก๊าซเรือนกระจก และเป็นอุปสรรคต่อการระดมทุนผ่านสินเชื่อหรือหุ้นกู้เพื่อความยั่งยืน

 

เป็นที่น่ายินดีที่ ก.ล.ต. เล็งเห็นความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากลอย่าง TCFD และในอนาคตคงมีแผนที่จะนำกติกาสากลใหม่อย่าง ISSB มาใช้กับบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะช่วยยกระดับคุณภาพข้อมูลก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย 

 

แต่นี่ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลก๊าซคาร์บอน ทั้งของตัวเองและของคู่ค้าใน Value Chain รวมทั้งมองหาพันธมิตรที่จะนำเทคโนโลยีและโซลูชันที่จะเข้ามาช่วยในเรื่อง Climate Data

 

4. Financing Gap คือความท้าทายในการระดมเงินทุนสำหรับการลดคาร์บอน 

 

การลดคาร์บอนต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล ทั้งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เช่น สายส่งไฟฟ้าที่รองรับไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และการลงทุนของภาคธุรกิจในการนำเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ 

 

McKinsey ประเมินว่าเอเชีย-แปซิฟิกต้องใช้เงินลงทุนกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ Net Zero ภายในปี 2050 โดยขณะนี้ขาดเม็ดเงินลงทุน (Funding Gap) ประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

 

แนวร่วม Thailand Net Zero Coalition จึงต้องมีภาคการเงินเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยไทยจำเป็นต้องมองหาเงินทุนจากภาคเอกชนมาสนับสนุนการดำเนินการลดคาร์บอน เพราะงบประมาณของภาครัฐไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ไทยควรระดมเงินทุนจากทั้งสถาบันการเงินและนักลงทุนในประเทศ และเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งควรรวมถึงกองทุนด้าน Climate Finance ที่กล่าวถึงข้างต้น

 

ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวบนเวที THE STANDARD ECONOMIC FORUM ถึงการสนับสนุนการเงินเพื่อการลดคาร์บอนหรือ Transition Finance ซึ่งมีความคืบหน้าที่สำคัญ เช่น การจัดทำ Taxonomy แต่ผู้ว่ารับว่ายังมีงานที่ต้องขับเคลื่อนในเรื่องนี้อีกมาก

 

ภาคสถาบันการเงินของไทยต้องเร่งยกระดับการทำงานด้าน Climate ต้องตั้งเป้าหมาย Net Zero จัดทำ Net Zero Transition Plan สนับสนุนบริษัทลูกค้าในการลดคาร์บอน และพัฒนาคนมาขับเคลื่อนงานด้านนี้ โดยธนาคารจะมีบทบาทสำคัญมากในเรื่องนี้ (โปรดดูบทความเรื่อง Banking for Net Zero

 

5. Coordination Gap คือปัญหาในการประสานความร่วมมือของทุกภาคส่วน

 

การขับเคลื่อนวาระ Net Zero ต้องอาศัยการทำงานที่ใกล้ชิด และสอดรับกันระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน 

 

ภาครัฐต้องปักธงนโยบาย แผนงาน และกฎระเบียบที่เอื้อต่อการลดคาร์บอน พร้อมจัดสรรงบประมาณให้ถูกจุด เพื่อให้ภาคธุรกิจเห็นทิศทางที่ชัดเจน และมีแรงจูงใจในการเร่งดำเนินงานลดคาร์บอน ขณะที่ภาคการเงินต้องเข้ามาเติมเต็ม จัดสรรเงินทุนสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในการลดคาร์บอน

 

พันธมิตร 3 ภาคส่วนนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการเปลี่ยนเป้าหมายและนโยบายการลดก๊าซเรือนกระจกให้เกิดขึ้นจริง และเห็นผลเป็นรูปธรรม แต่ปัจจุบันไทยยังขาดกลไกระดับชาติที่จะบูรณาการการทำงานระหว่าง 3 ภาคส่วนหลักดังกล่าว เพื่อหาโซลูชันในการขับเคลื่อน Net Zero Transition ในแต่ละภาคเศรษฐกิจ

 

แนวร่วม ‘Thailand Net Zero Coalition’ พันธมิตร 3 ภาคส่วน พลิกโฉมเศรษฐกิจไทยสู่ Net Zero

 

แนวร่วม Thailand Net Zero Coalition โดยควรยึดหลักการทำงาน 3 ข้อ

 

1. Sectoral Transition Focus คือวางกลยุทธ์การลดคาร์บอนและจัดการกับความท้าทายแบบเจาะลึกราย Sector

 

นอกจากยุทธศาสตร์และนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ Net Zero ในภาพใหญ่ของประเทศแล้ว ไทยยังจำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์ Net Zero สำหรับแต่ละ Sector ทั้งในระยะสั้น (2030) และระยะยาว โดยต้องมีแผนงานหรือ Action Plan ที่เป็นรูปธรรม ที่จะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2050 และ Net Zero ในปี 2065 

 

แนวร่วม Thailand Net Zero Coalition จึงจะต้องประกอบด้วยคณะทำงานหลายชุด โดยแบ่งตาม Sector ของภาคเศรษฐกิจจริง เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง (ทางบก ทางเรือ ทางอากาศ) อสังหาริมทรัพย์ เกษตรและอาหาร และอุตสาหกรรมการผลิต (เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก เคมีภัณฑ์) โดยแต่ละภาคเศรษฐกิจจะมีเส้นทางสู่ Net Zero ที่ไม่เหมือนกัน มีความท้าทายที่มีความเฉพาะเจาะจง และต้องการโซลูชันในการลดคาร์บอนที่แตกต่างกัน

 

เราจึงต้องจัดทำ Net Zero Roadmap เพื่อกำหนด ‘เส้นทาง’ การลดคาร์บอนสำหรับทุกภาคเศรษฐกิจ ที่จะชี้ว่าในแต่ละอุตสาหกรรมเราต้องดำเนินการอะไรบ้าง ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำอะไรบ้าง ต้องใช้เม็ดเงินลงทุนปริมาณเท่าใด และมาจากแหล่งเงินทุนใด รัฐควรมีกฎระเบียบและมาตรฐานอะไรมารองรับบ้าง และธุรกิจต้องพัฒนาทักษะความสามารถของแรงงานด้านใดบ้าง เพื่อตอบโจทย์การเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจสู่ Net Zero

 

2. Ecosystem and Value Chain Approach คือขับเคลื่อนการลดคาร์บอนด้วยการมองภาพทั้งระบบ จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ 

 

กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ความร่วมมือระหว่างธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ กับบริษัทแฟชั่นชั้นนำของโลกอย่าง H&M โดยธนาคารจะให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำกับบริษัทคู่ค้า (Suppliers) ในเอเชียของ H&M เพื่อดำเนินมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนในโรงงานที่ผลิตเสื้อผ้าส่งให้กับ H&M อีกทั้งยังมีการนำบริษัทที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนคือ Guidehouse เข้ามาเป็นพาร์ตเนอร์ช่วยวางโซลูชันในการลดคาร์บอนของแต่ละโรงงานอีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการดำเนินความร่วมมือการเงินสีเขียวเพื่อลดโลกร้อนแบบครบวงจร

 

การทำงานของแนวร่วม Thailand Net Zero Coalition ต้องใช้ความร่วมมือจาก ‘ผู้เล่น’ สำคัญจากทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึงภาคส่วนที่สามารถพัฒนาโซลูชันทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาคน เพื่อตอบโจทย์การลดคาร์บอนของเศรษฐกิจ

 

ยกตัวอย่างเช่น หากเราจะขับเคลื่อนงานด้านเกษตร Net Zero จะต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐ คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องทำงานร่วมกับเกษตรกร ผู้ผลิตปุ๋ย ผู้ผลิตรถไถ และเครื่องจักรกลอื่นๆ ที่ใช้ในการทำนา รวมถึงธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร 

 

นอกจากนี้ ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากภาควิชาการและวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่จะช่วยยกระดับองค์ความรู้และพัฒนานวัตกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคการเกษตร เช่น อุปกรณ์ที่จะตรวจวัดการปล่อยก๊าซที่หน้างาน เครื่องจักรกลที่ใช้พลังงานทางเลือก เป็นต้น กระทรวงและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จึงต้องมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานด้าน Net Zero ด้วย

 

ในส่วนของภาคการเงิน ผู้กำกับและกำหนดกติกาอย่าง ธปท. และ ก.ล.ต. จะมีบทบาทสำคัญในแนวร่วมการลดคาร์บอน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมและกฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการระดมทุนเพื่อลดคาร์บอน (Transition Finance) ขณะที่สมาคมธนาคารไทยก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในแนวร่วมลดคาร์บอน ภายใต้เจตนารมณ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Declaration) ที่สมาคมได้ประกาศไว้

 

และอีกหนึ่งปัจจัยที่ขาดไม่ได้คือ การพัฒนาคน ทั้งแรงงานใหม่และแรงงานเดิม ให้มีทักษะในการทำงานด้านความยั่งยืน ทั้งในภาคธุรกิจและความการเงิน ทั้งนี้ ต้องอาศัยการขับเคลื่อนของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยประสานการทำงานกับภาคเอกชนและภาควิชาการ

 

3. Global Green Partnership แสวงหาพันธมิตรสีเขียวในเวทีโลก 

 

เมื่อโลกตื่นตัวและรุกหนักในการลดคาร์บอนและระดมเงินทุน Climate Finance ไทยควรใช้โอกาสนี้แสวงหาความร่วมมือและพันธมิตรในเวทีระหว่างประเทศ 

 

เมื่อเรามีเป้าหมาย นโยบาย และแผนงานที่ชัดเจน และมีแนวร่วมความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน ไทยจะมีความน่าเชื่อถือ (Credibility) ในสายตาโลก และจะสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำจากต่างประเทศ เพื่อมาขับเคลื่อนการเติบโตสีเขียว และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยในโลกที่กำลังเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero 

 

การดึงดูดให้บริษัทต่างชาติมาลงทุนตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ถือเป็นโมเดลตัวอย่างที่ดีที่ควรนำไปใช้กับการเปลี่ยนผ่านภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ให้เป็นสีเขียว

 

‘การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก’ ของรัฐบาลจะมีประโยชน์อย่างมากในการเสริมสร้างความร่วมมือในด้าน Climate ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี ทำงานร่วมกับรัฐบาลของประเทศต่างๆ องค์การระหว่างประเทศ และองค์กรเอกชน เพื่อนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ เทคโนโลยี และเงินทุนจากต่างประเทศเข้ามาสนับสนุนวาระการลดคาร์บอนและการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวของไทย

 

ไทยอาจออกตัวช้ากว่าหลายประเทศ แต่ยังไม่สายเกินไปที่เราจะเร่งเครื่องดำเนินงานผ่านแนวร่วมที่เชื่อมโยงภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน สร้างพันธมิตรในเวทีโลก เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาโลกร้อนให้เป็นเครื่องยนต์สนับสนุนการเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย

The post ข้อเสนอจัดตั้งแนวร่วม ‘Thailand Net Zero Coalition’ ประสานพลังภาครัฐ-ธุรกิจ-การเงิน พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย สร้างการเติบโตสีเขียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชมคลิป: เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย-บทบาทของการกำหนดราคาคาร์บอน | THE STANDARD WEALTH https://thestandard.co/morning-wealth-15122023-3/ Fri, 15 Dec 2023 06:00:02 +0000 https://thestandard.co/?p=877017

เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย ในบทบาทของ […]

The post ชมคลิป: เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย-บทบาทของการกำหนดราคาคาร์บอน | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>

เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย ในบทบาทของการกำหนดราคาคาร์บอนจะเป็นอย่างไร พูดคุยกับ ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทยจากธนาคารโลก

 

ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH

 

อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/

The post ชมคลิป: เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย-บทบาทของการกำหนดราคาคาร์บอน | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.

]]>
IMF ชี้ การกำหนด ‘ราคาคาร์บอน’ คือลางบอกเหตุที่ย้ำว่าอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซกำลังเปลี่ยนแปลง https://thestandard.co/setting-a-carbon-price-is-an-omen/ Mon, 04 Dec 2023 06:56:21 +0000 https://thestandard.co/?p=873158 การปล่อยคาร์บอน

คริสตาลินา จอร์จีวา (Kristalina Georgieva) กรรมการผู้จั […]

The post IMF ชี้ การกำหนด ‘ราคาคาร์บอน’ คือลางบอกเหตุที่ย้ำว่าอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซกำลังเปลี่ยนแปลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
การปล่อยคาร์บอน

คริสตาลินา จอร์จีวา (Kristalina Georgieva) กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF แสดงความเห็นเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (3 ธันวาคม) ย้ำถึงกรณีการหารือเรื่องการกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) ในการประชุมสุดยอดสภาพภูมิอากาศ COP28 ว่า บรรดาอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต่างตระหนักถึง ‘ลางบอกเหตุ’ (The Writing on the Wall) ที่จะกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของทั้งอุตสาหกรรม 

 

กรรมการผู้จัดการ IMF ในฐานะผู้ที่สนับสนุนแนวทางการกำหนดราคาคาร์บอนมาอย่างยาวนานกล่าวว่า แนวทางดังกล่าวจะสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษลดการปล่อยคาร์บอนอย่างรวดเร็ว

 

สำหรับการกำหนดราคาคาร์บอน หรือ Carbon Pricing เป็นการยืนยันระดับราคาต้นทุนที่บริษัทต้องจ่ายสำหรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อน และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่คุ้มค่าและยืดหยุ่นที่สุดในการลดมลพิษดังกล่าว

 

เมื่อไม่นานมานี้ทาง IMF ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เกณฑ์ราคาคาร์บอนว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 85 ดอลลาร์ต่อตันภายในสิ้นทศวรรษนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 75 ดอลลาร์ต่อตัน 

 

ขณะที่เกณฑ์ราคาในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20 ดอลลาร์ต่อตัน ซึ่งทางจอร์จีวาระบุว่า เป็นความท้าทายที่ทั่วโลกจะต้องจับมือร่วมกันในการเดินหน้าผลักดัน พร้อมย้ำว่า IMF รัฐบาลทั่วโลก และเครือข่ายพันธมิตร จะทำให้ผู้ปล่อยก๊าซจำนวนมากยอมรับว่าจำเป็นต้องเร่งการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งหมายรวมถึงการกำหนดราคาคาร์บอน 

 

กรรมการผู้จัดการ IMF ได้อธิบายเหตุผลของความจำเป็นในการมี Carbon Pricing โดยชี้ว่า หากไม่มีราคาคาร์บอน การลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนจะไม่เกิดขึ้นเร็วพอ และอีกเหตุผลต่อมาก็คือ พลังการทำลายล้างของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในขณะนี้กำลังเร่งรัดให้ประเทศทั้งร่ำรวยและยากจนตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องลงมือปฏิบัติให้ดีที่สุด 

 

ความเห็นของจอร์จีวามีขึ้นในขณะที่ผู้กำหนดนโยบายและผู้นำทางธุรกิจเข้าร่วมการประชุมสุดยอดด้านสภาพภูมิอากาศที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จัดโดยองค์การสหประชาชาติ หรือ UN ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ 

 

รายงานระบุด้วยว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญในการเร่งดำเนินการด้านสภาพอากาศ ในช่วงเวลาที่โลกกำลังเดินหน้าบันทึกปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์และในขณะที่เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วส่งผลกระทบไปทั่วโลก

 

สำหรับ IMF การประชุม COP28 ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประเทศต่างๆ ในการประเมินนโยบายที่จูงใจให้ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอีกครั้ง โดยมีรายงานว่า ปริมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลสำหรับอุตสาหกรรมถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ มีมูลค่าถึง 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว ดังนั้นทั่วโลกจำเป็นต้องทยอยยกเลิกมาตรการดังกล่าวและแทนที่ด้วยมาตรการทั้งจูงใจและบังคับ โดยหนึ่งในนั้นคือ Carbon Pricing ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง ก่อนยกตัวอย่างกรณี Emissions Trading System ของทางสหภาพยุโรป (EU) ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างรวดเร็ว แถมยังสามารถสร้างรายได้ให้กับ EU ถึง 1.75 แสนล้านยูโร และสร้างความเป็นธรรมด้วย เพราะผู้ที่สร้างมลพิษมากก็ต้องจ่ายมากขึ้นเพื่อรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำ ขณะที่ผู้ที่สร้างมลพิษน้อยก็จ่ายน้อยลง โดยเงินที่จัดเก็บได้ส่วนหนึ่งก็สามารถเอาไปสนับสนุนให้กับกลุ่มคนที่เปราะบางในสังคมต่อไปได้ 

 

ขณะเดียวกันสำหรับบทบาทของอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซในการประชุม COP28 รวมทั้งวิธีที่จะทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันทั้งหลาย (Big Oil) หันมาสนับสนุนแนวทางการกำหนดราคาคาร์บอน จอร์จีวากล่าวว่า วิธีการก็คือการตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับปรุงแนวทางการทำธุรกิจ เนื่องจากรายงานที่นำมาเปิดเผยในการประชุม COP28 แสดงให้เห็นถึงลางบอกเหตุของอนาคตที่การบริโภคน้ำมันและก๊าซจะค่อยๆ ทยอยลดลง ขณะที่บรรดาชาติที่เข้าร่วมการประชุมต่างก็ให้คำมั่นในการเร่งหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนให้เพิ่มขึ้นจำนวน 3 เท่าจากปัจจุบันในปีหน้า 

 

โดยขณะนี้เริ่มมียักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันและก๊าซที่ต่างปรับตัวแตกไลน์ขยายสาขาธุรกิจที่ลดการพึ่งพารายได้จากน้ำมันและก๊าซมากขึ้น ซึ่งกรรมการผู้จัดการ IMF ชี้ว่า เป็นทิศทางบวกสำหรับ Carbon Pricing 

 

อ้างอิง: 

The post IMF ชี้ การกำหนด ‘ราคาคาร์บอน’ คือลางบอกเหตุที่ย้ำว่าอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซกำลังเปลี่ยนแปลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน และผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทย [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/carbon-border-adjustment-mechanism/ Fri, 01 Dec 2023 11:51:56 +0000 https://thestandard.co/?p=870757

ปัจจุบันการประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

The post มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน และผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทย [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปัจจุบันการประกอบธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นประเด็นสำคัญที่ภาคธุรกิจต้องมีการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจ และยังจำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบจากกลไก นโยบาย และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่างๆ จะนำมาใช้ในทางการค้าระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันมีทั้งมาตรการที่มีผลใช้บังคับแล้วและมาตรการของหลายประเทศที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อบังคับใช้ในอนาคต 

 

บทความนี้มุ่งเน้นเฉพาะมาตรการที่มีผลใช้บังคับแล้วคือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM) ซึ่งเป็นมาตรการที่มีผลกระทบต่อผู้ส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปรวมถึงผู้ส่งออกของไทย

 

CBAM เป็นหนึ่งในชุดกฎหมาย ‘Fit for 55’ ภายใต้นโยบาย European Green Deal ของสหภาพยุโรป ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือ การบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับระดับการปล่อยในช่วงปี 2533 และเพื่อการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 โดยใช้หลักการป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) กล่าวคือ การที่ผู้ประกอบการย้ายฐานการผลิตออกไปยังประเทศอื่นนอกเขตสหภาพยุโรป เนื่องจากมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มงวดน้อยกว่า และส่งออกสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับสูงกลับเข้ามาในเขตสหภาพยุโรป 

 

นอกจากนี้เพื่อทำให้มั่นใจว่ามาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหภาพยุโรปมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ CBAM จะเป็นมาตรการที่มาเสริมกลไก EU Emissions Trading System (EU ETS) ซึ่งเป็นระบบการซื้อ-ขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นภาคบังคับของสหภาพยุโรป ผ่านการใช้กลไกปรับราคาคาร์บอนสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 6 ประเภท ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ปุ๋ย ซีเมนต์ พลังงานไฟฟ้า และไฮโดรเจน รวมถึงสินค้าปลายน้ำบางรายการ เช่น น็อตและสกรูที่ทำจากเหล็ก สายเคเบิลที่ทำจากอะลูมิเนียม เป็นต้น

 

ช่วงเวลาการบังคับใช้

 

สถานะของกฎระเบียบ EU CBAM ในปัจจุบันมีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้วตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2566 (EU Regulation (2023/956)) โดยการบังคับใช้ CBAM สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้ 

 

  • ช่วงที่ 1 ระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Period) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 31 ธันวาคม 2568 โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นระยะที่จะทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูล (Learning Phase) กล่าวคือผู้เกี่ยวข้องจะต้องทำความเข้าใจบทบาทและหน้าที่ รวมทั้งศึกษาวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน โดยในระยะนี้จะยังไม่มีภาระที่ต้องชำระค่า CBAM ผ่านการซื้อ CBAM Certificate แต่ผู้นำเข้าหรือตัวแทนศุลกากรของประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรปมีหน้าที่ที่จะต้องรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า (Embedded Emissions) เป็นรายไตรมาส ทั้งนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะต้องรายงานในระยะนี้ยังไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจรับรองหรือทวนสอบ (Verification)

 

  • ช่วงที่ 2 ระยะบังคับใช้ (Definitive Period) เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2569 – 31 ธันวาคม 2576 ในระยะนี้การนำเข้าสินค้าที่เข้าเกณฑ์ CBAM จะทำได้แต่เฉพาะผู้นำเข้าที่ได้รับอนุญาต และหากมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องซื้อ CBAM Certificate ตามปริมาณที่ปล่อยเกินจากเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนการรายงานข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าต้องดำเนินการเป็นรายปี และข้อมูลปริมาณการปล่อยจะต้องผ่านการตรวจรับรองหรือทวนสอบจากหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง (Accredited Verifier) โดยต้องมีเอกสารประกอบการตรวจรับรองประกอบ ซึ่งในระยะนี้ระบบ CBAM จะเริ่มเข้ามามีบทบาทในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับการที่ระบบการจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบให้เปล่า (Free Allowance) ของ EU ETS ก็จะลดสัดส่วนลงตามลำดับ ทั้งนี้ ผู้กำหนดนโยบายของสหภาพยุโรปมีแผนการที่จะเพิ่มเติมประเภทสินค้าที่ครอบคลุมภายใต้มาตรการ CBAM เพื่อให้สอดคล้องกับ EU ETS ยิ่งขึ้น โดยอาจขยายขอบเขตให้ CBAM ครอบคลุมอุตสาหกรรมอื่นที่เข้าเกณฑ์ EU ETS ภายในปี 2573 ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้นภายหลังการทบทวนมาตรการ CBAM ในปี 2568

 

  • ช่วงที่ 3 ระยะที่มีผลสมบูรณ์ (Fully Effective Period) เป็นช่วงที่ CBAM เข้ามามีผลโดยสมบูรณ์ โดยเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2577 เป็นต้นไป

 

แนวโน้มในระดับโลก

 

นอกจากมาตรการ CBAM ของสหภาพยุโรปแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศที่มีแผนจะออกกฎหมายในลักษณะเดียวกัน เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ และออสเตรเลีย หากร่างกฎหมายเหล่านี้ผ่านกระบวนการต่างๆ แล้ว จะมีการบังคับใช้ในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างจาก CBAM 

 

นอกจากนี้ขอบเขตประเภทสินค้าที่บังคับใช้อาจแตกต่างจาก CBAM เนื่องจากมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานและมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น การกลั่นน้ำมันดิบ การผลิตปิโตรเคมี การผลิตเอทานอล แก้ว กระดาษ พลาสติก และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าเหล่านี้ 

 

ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับกลไกหรือมาตรการเกี่ยวกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยเช่นกัน 

 

หากพิจารณาบริบทของประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ CBAM พบว่า ในภาพรวมการส่งออกจากประเทศไทยไปยังประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรปไม่ได้มีสัดส่วนที่สูงมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา จีน หรือญี่ปุ่น ดังนั้น CBAM จึงอาจส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทยโดยรวมไม่มากนัก แต่ยังคงต้องคำนึงว่า CBAM มีโอกาสที่จะขยายขอบเขตสินค้าที่จะครอบคลุมออกไปจนเทียบเท่ากับสินค้าที่ครอบคลุมภายใต้ EU ETS ได้ ซึ่งจะทำให้มีการนำ CBAM มาปรับใช้กับสินค้าชนิดอื่น เช่น สินค้าที่เกี่ยวกับปิโตรเลียม แก้ว และกระดาษ ได้ในอนาคต

 

การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการไทย

 

การเริ่มบังคับใช้ CBAM จะทำให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวหลายประการ โดยในระยะเปลี่ยนผ่าน ผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าไปยังประเทศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปควรต้องเริ่มศึกษาและเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อรายงานข้อมูลให้กับผู้นำเข้าเมื่อถูกร้องขอ เพราะหากไม่มีข้อมูล ผู้นำเข้าจะถูกหน่วยงานกำกับดูแลของแต่ละประเทศปรับให้ใช้ค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเกณฑ์ที่สูง (ซึ่งอาจจะสูงกว่าปริมาณการปล่อยในการผลิตสินค้าจริง) โดยจะส่งผลให้ CBAM Certificate ที่ต้องซื้อเพิ่มมากขึ้น และอาจทำให้ผู้นำเข้าพิจารณาซื้อสินค้าจากผู้ขายรายอื่นที่มีข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกพร้อมกว่า

 

ส่วนในระยะบังคับใช้ ผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าที่เกี่ยวข้องให้มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง เพราะระดับเพดานของการกำหนดสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ EU ETS จะมีการปรับลดลงทุกปี หากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ผลิตสินค้าในไทยยังคงอยู่ในระดับเดิม ก็จะทำให้จำนวน CBAM Certificate ที่จำเป็นต้องซื้อเพิ่มขึ้นทุกปี

 

ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจ อันเป็นผลมาจากการใช้นโยบายและมาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมด้านการค้าระหว่างประเทศที่เข้มข้นมากขึ้น ซึ่ง CBAM เป็นเพียงหนึ่งในมาตรการดังกล่าวเท่านั้น

 

เรื่อง: พีระพรรณ ตั้งสุวรรณ, บุลินทร์ สานุช, กีรติ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา, วรุตม์ กิตติจูงจิต, ธีรนันทา ฤทธิ์มณี และ เหมือนจิต แจ่มศิลป์

The post มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน และผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทย [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘รื้อโครงสร้าง-เน้นภาคบังคับ’ หนทางสู่การลดคาร์บอนไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ https://thestandard.co/the-standard-economic-forum-25112023-10/ Sat, 25 Nov 2023 09:48:52 +0000 https://thestandard.co/?p=869749 THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023: FUTURE READY THAILAND เศรษฐกิจไทยไล่ล่าอนาคต เวที Leading Transition: Road to a Low Carbon Nation เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ประเทศความยั่งยืน

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM […]

The post ‘รื้อโครงสร้าง-เน้นภาคบังคับ’ หนทางสู่การลดคาร์บอนไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023: FUTURE READY THAILAND เศรษฐกิจไทยไล่ล่าอนาคต เวที Leading Transition: Road to a Low Carbon Nation เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ประเทศความยั่งยืน

วันนี้ (25 พฤศจิกายน) ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2023: FUTURE READY THAILAND เศรษฐกิจไทยไล่ล่าอนาคต เวที Leading Transition: Road to a Low Carbon Nation เปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ประเทศความยั่งยืน ที่ร่วมเสวนาโดย สมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี และ ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต 

 

ในช่วงหนึ่งได้พูดถึงสถานการณ์ปัจจุบันของประเทศไทยที่มีการตั้งเป้าหมายความยั่งยืนไว้ 3 ข้อ คือ

 

  1. Net Zero ในปี 2065 
  2. ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2050 
  3. Nationally Determined Contribution ภายในปี 2030 โดยพยายามจะลดให้ได้ 40% 

 

ซึ่งในปี 2019 ไทยปล่อยคาร์บอนเทียบเท่า 372 ล้านตัน โดยภาคที่ปล่อยมากที่สุดคือภาคพลังงาน 69.96% อันดับสองคือ ภาคอุตสาหกรรมการเกษตร 15.23% อันดับสามคือ ภาคอุตสาหกรรม 10.28% และภาคการจัดการของเสีย 4.53% คำถามคือประเทศไทยจะลดคาร์บอนได้ตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่

 

เอกนิติมองว่า จากการศึกษาทั่วโลกได้พิสูจน์แล้วว่า หากลดคาร์บอนในรูปแบบภาคบังคับจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า ซึ่งประสิทธิผลจะต่างจากประเทศที่ไม่ใช้ภาคบังคับถึง 5% โดยภาคบังคับนั้นมีการใช้กลไกการเก็บภาษีคาร์บอน และการจำกัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งกรมสรรพสามิตในไทยสามารถเก็บภาษีได้บนสินค้า โดยปัจจุบันกำลังศึกษาว่าสามารถนำภาษีมาลดโลกร้อนได้อย่างไร ซึ่งสามารถทำได้แล้วในการส่งเสริมให้มีการใช้รถ EV

 

แน่นอนว่าการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้อาจสร้างผลกระทบให้กับประชาชน เอกนิติกล่าวว่า การจะลดผลกระทบไม่ให้เสียหายในวงกว้าง สิ่งที่ต้องทำคือให้คนมี Awareness ไม่ให้คนรู้สึกจ่ายภาษีแพงในช่วงแรก เช่น สิงคโปร์เก็บ 5 ดอลลาร์ แต่สองปีถัดมาจะขึ้นเป็น 25 ดอลลาร์ ดังนั้นการสร้างความตระหนักก่อนแล้วค่อยขึ้นในอัตราเร่งจะลดผลกระทบลง และต้องมีสิ่งที่ทดแทนให้กับภาคธุรกิจ ให้คนใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทนควบคู่กันในช่วงแรก แม้ว่ากรมสรรพสามิตไม่ทำก็จะถูกบีบให้ทำเพราะแรงกดดันจากต่างประเทศ

 

สิ่งที่ต้องเริ่มทำวันนี้ รัฐต้องร่วมกับเอกชนและเปิดใจเอาประเด็นสำคัญเป็นหลัก และแผนงานของภาษีสรรพสามิตนั้นมีการปรับแผนภายในปี 2023 และปีหน้าจะเริ่มเฟสของการสร้างความตระหนักรู้ เช่น การเติมน้ำมัน ทุกคนก็จะรู้ว่าปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไร แต่เก็บภาษีเท่าเดิม

 

ในส่วนของสมโภชน์ ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวเสริมว่า ไทยยังจัดการเรื่องคาร์บอนแบบภาคสมัครใจอยู่ ซึ่งยังไม่ตรงมาตรฐาน ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือยกระดับจากภาคสมัครใจเป็นภาคบังคับ แล้วปรับสิ่งที่กระทบมากทำให้กระทบน้อยที่สุด 

 

ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างไฟฟ้าไทย สมโภชน์กล่าวว่า ให้เพิ่มพลังงานทางเลือก แต่ต้องไม่ทำให้กำลังการผลิตของประเทศล้น ค่าไฟต้องมีราคาถูกลง ทำให้การแข่งขันเสรีในการขายไฟ ทำให้มาร์จิ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่เยอะเกินไปถูกลง พร้อมตั้งโจทย์ใหญ่ว่า ทำไมการแข่งขันเสรีในการซื้อ-ขายไฟฟ้าไม่เกิดขึ้น และไทยจะเพิ่มดีมานด์การใช้ไฟฟ้าอย่างไร 

 

หากมองถึงรากปัญหาหรือ Root Cause รัฐบาลคือผู้ถือกำหนดนโยบาย ที่ผ่านมาไม่มีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ซึ่งมี 2 สิ่งที่เป็นปัญหา โดยอย่างแรกคือผู้นำที่ขาดวิสัยทัศน์ และอย่างที่สองคือผู้นำมีความรู้แต่ไม่แก้ปัญหา หรือเรียกว่า ‘การคอร์รัปชันทางนโยบาย’ 

 

ด้านสัญญาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 25 ปี ที่เป็นความท้าทายต่อการเปลี่ยนผ่าน ต้องแก้ไขด้วยการบริหารจัดการการผลิตไฟฟ้าทั้งระบบ ใช้กลไกทางการเงิน และต้องมีความโปร่งใส ดังนั้นหากกลับมาที่ Root Cause ของทั้งหมด สิ่งที่ต้องแก้ไขคือ Intention และ Mindset ของผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติ โดยเสนอข้อแนะนำแผน PDP ภาคประชาชนที่จะเสนอรัฐบาลในเร็วๆ นี้

 

สมโภชน์ปิดท้ายว่า ในการจะลดค่าไฟนั้น ต้องเร่งทำเรื่อง Electrification ภาคขนส่ง โดยเฉพาะรถเชิงพาณิชย์ ซึ่งวันนี้รัฐยังไม่ได้เริ่มทำอะไร พร้อมแนะนำรัฐบาลใหม่ให้เอาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาพูดคุยกันโดยเน้น National Interest เป็นหลัก เพราะตราบใดที่เรายังรับจ้างผลิตเราจะได้มาร์จิ้นเพียงน้อยนิด ดังนั้นเราต้องส่งเสริมให้ไทยมีเทคโนโลยีเกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น เพราะต่างประเทศที่มาตั้งฐานการผลิตในไทย หากหมดประโยชน์เขาก็ย้ายไปได้  

 

ด้านรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เห็นด้วยกับภาครัฐที่จะนำกฎหมายมาบังคับใช้ ในฐานะเอกชนหากจะช่วยลดคาร์บอนได้จริง ทุกองค์กรต้องรันได้ด้วยคน สร้างคนที่มีความสามารถ เมื่อไรก็ตามที่ผู้บริหารใส่ใจเรื่องนี้ ทั้งกลยุทธ์และ KPI หรือผู้นำที่ทำจริงๆ สิ่งนี้จะเป็น Commitment และเมื่อมีแล้วควรทำให้กลายเป็น Integration หรือทำให้อยู่ในชีวิตประจำวัน

 

พร้อมยกตัวอย่างธุรกิจ SCG สามารถลดคาร์บอนได้เพียง 60% เท่านั้น เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีอยู่ไม่สามารถลดไปมากกว่านี้ โดยมองว่าไม่ว่าภาคอุตสาหกรรมหรือเอกชนจะพยายามลดในแบบของตัวเองมากเท่าไร แต่สุดท้ายก็ต้องพึ่งพลังงานจากภาครัฐที่ต้องเข้ามาสนับสนุน

 

ในมุม Regulator เอกนิติกล่าวว่า การจะเกิด Net Zero จริงควรใช้ Carbon Tax นำรายได้บางส่วนที่เก็บเข้ามาหมุนกลับไปทำโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น นี่คือทางรอด หากตอนนี้ไทยถึงทางตันก็จำเป็นต้องรื้อโครงสร้าง ปรับกติกาขึ้นมาทำใหม่ เพื่อให้ตามโลกได้ทัน

 


 

📌อัปเดตเทรนด์โลกกว่า 20+ Sessions ซื้อบัตรชมย้อนหลังได้ที่ https://bit.ly/TSEF2023ED 

 

✅ ราคาพิเศษ! 2,500 บาท ถึง 31 ธันวาคม 2566 เท่านั้น

✅ รับชมออนไลน์ทุกที่ทั่วโลก 

✅ ดูย้อนหลังนาน 6 เดือน (1 ธันวาคม 2566 – 31 พฤษภาคม 2567)

✅ สรุปเนื้อหา Visual Summary ทุกเวที

 

Media Partner

📌รับสรุปเนื้อหาทุกเวที 20+ Sessions 

ซื้อบัตรชมย้อนหลังวันนี้ดูได้นานถึง 6 เดือน

https://bit.ly/TSEF2023MP 

The post ‘รื้อโครงสร้าง-เน้นภาคบังคับ’ หนทางสู่การลดคาร์บอนไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ appeared first on THE STANDARD.

]]>