คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 07 Apr 2022 06:46:13 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 กทม. เล่นยาก-ต้องการคนที่เปิดต่อประเด็นของคนที่หลากหลาย ถกศึกชิงผู้ว่าฯ เชื่อมมิติเพศกับ ‘ชลิดาภรณ์’ https://thestandard.co/bkk-election-2022-with-chalidaporn-songsamphan/ Thu, 07 Apr 2022 12:30:35 +0000 https://thestandard.co/?p=615234 bkk-election-2022-with-chalidaporn-songsamphan

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เก […]

The post กทม. เล่นยาก-ต้องการคนที่เปิดต่อประเด็นของคนที่หลากหลาย ถกศึกชิงผู้ว่าฯ เชื่อมมิติเพศกับ ‘ชลิดาภรณ์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
bkk-election-2022-with-chalidaporn-songsamphan

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) เกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 10 ครั้ง (ยังไม่นับรวมครั้งนี้ในปี 2565) มีผู้สมัครมากหน้าหลายตาทั้งอิสระและสังกัดพรรคการเมือง แต่เมื่อลองสำรวจข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้งพบว่า หากมองตามเพศที่ระบุในบัตรประชาชนซึ่งอยู่ในเอกสารทางการ สัดส่วนของผู้ที่ลงสมัครซึ่งเป็นชายมีสูงกว่าหญิงอยู่มากทีเดียว

 

ข้อมูลข้างต้นบอกเราว่า ในรอบ 10 ครั้งที่ผ่านมา มีผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. รวมทั้งสิ้น 134 คน ซึ่งบางคนก็อาจลงสมัครในการเลือกตั้งมากกว่า 1 ครั้ง ในจำนวนนี้มีชายอยู่ 121 คน คิดเป็นกว่าร้อยละ 90 ขณะที่มีหญิงลงสมัครเพียง 13 คน หรือเพียงเกือบร้อยละ 10 เท่านั้น ในแง่ของพรรคการเมือง ชัดเจนว่าทั้งผู้สมัครชายและหญิงส่วนใหญ่เป็นผู้สมัครอิสระ แต่สัดส่วนของผู้สมัครหญิงที่สังกัดพรรคการเมืองจะน้อยกว่าผู้สมัครชายอยู่บ้าง

 

มิติเรื่อง ‘เพศ’ กับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.

น่าสนใจว่าระหว่างมิติเรื่อง ‘เพศ’ กับการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. (และอาจรวมถึงการลงสมัครรับเลือกตั้งในรูปแบบอื่นๆ ของการเมืองไทย) มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางใดหรือไม่ THE STANDARD พูดคุยกับ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักวิชาการผู้ศึกษาประเด็นสตรีนิยม เพศวิถี และเพศสภาพ เพื่อหาความรู้และมุมมองในเรื่องนี้ ซึ่งเราได้พูดคุยกับเธอไว้ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา

 

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ มองว่า พื้นที่กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ซึ่ง ‘เล่นยาก’ สำหรับพรรคการเมือง จึงทำให้ผู้ที่จะลงสนามในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่กี่พรรค และที่เหลือก็กลายเป็นผู้สมัครอิสระ 

 

bkk-election-2022-with-chalidaporn-songsamphan

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ 

(แฟ้มภาพ: ทรงพล จั่นลา)

 

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ มองว่า แนวโน้มของผู้ที่สนใจสมัครเป็นผู้ว่าฯ กทม. มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ

 

“คือดิฉันเข้าใจว่ากรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่ค่อนข้างจะลำบากของพรรคการเมืองนะคะ ถ้าคุณพิจารณาจากที่ผ่านๆ มา พูดถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อน พรรคการเมืองที่สามารถจะทำอะไรกับกรุงเทพฯ ได้จริงๆ มีอยู่ไม่กี่พรรค

 

“เพราะฉะนั้นมันก็จะสะท้อนภาพที่คุณบอก คือเอาในแง่ในส่วนของพรรคการเมืองก่อนว่าใครที่จะลองเล่นในระดับกรุงเทพฯ บ้าง จริงๆ ก็จะมีอยู่ไม่กี่พรรค เพราะฉะนั้นที่เหลือก็จะเป็นผู้สมัครอิสระ แต่ทีนี้ที่น่าสนใจก็คือ เวลาที่ผ่านไปคนที่สนใจจะสมัครเป็นผู้ว่ากรุงเทพฯ จริงๆ มีความหลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอันนี้ก็เป็นแนวโน้มที่ดิฉันเองเห็นนะ ไม่รู้คนอื่นเห็นอย่างนี้ไหม”

 

กทม. ‘เล่นยาก’ เพราะ ‘ภาพลักษณ์’ มาก่อนเพศสภาพ-เพศวิถี

เราถามต่อไปว่า ความ ‘เล่นยาก’ ในสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จะส่งผลต่อวิธีคิดของพรรคการเมืองในการตัดสินใจส่งผู้สมัครที่มีเพศสภาพหรือเพศวิถีต่างๆ หรือไม่ 

 

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ เห็นว่า การเลือกตั้งครั้งนี้แคนดิเดตที่จะดึงดูดเสียงสนับสนุนได้นั้น ‘ภาพลักษณ์’ จะมาก่อนประเด็นเพศสภาพหรือเพศวิถีของผู้สมัคร

 

“เพราะฉะนั้นถ้าเวลาผ่านไปมากกว่านี้แล้วเปิดตัวว่ามีใครเป็นแคนดิเดตชัดเจน คุณอาจจะเห็นว่าเอาเข้าจริงๆ แล้ว ไม่ได้มีใครพูดไปถึงเรื่องอัตลักษณ์ เพศสภาพ หรือเพศวิถี อย่างเป็นเรื่องเป็นราว คือหมายถึงยืนอยู่ในประเด็นพวกนี้ แล้วพูดอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนะคะ แต่ว่ามันเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งนะคะของตัวผู้สมัครคนนั้นมากกว่า”

 

bkk-election-2022-with-chalidaporn-songsamphan

แฟ้มภาพ: Pornchai Kittiwongsakul / AFP

 

เราถามต่อไปว่า ในอนาคตมีความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะได้เห็นบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ในลักษณะการประกาศตัวว่าเป็นกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ

 

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ตอบว่า ที่ผ่านมามีผู้มีความหลากหลายทางเพศชนะการเลือกตั้ง ได้ตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในไทยอยู่หลายพื้นที่ 

 

แต่การชูจุดขายเพียงเรื่องเพศสภาพหรือเพศวิถีอย่างเดียวอาจมีความสุ่มเสี่ยง เพราะเมื่อผู้สมัครจะดึงดูดคะแนนเสียง ก็ย่อมต้องพูดถึงคนหลายกลุ่ม 

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากความเข้าใจในสถานการณ์หรือปัญหาเฉพาะของกรุงเทพฯ แล้ว อัตลักษณ์ทางเพศสภาพหรือเพศวิถีของผู้สมัครอาจได้รับการนำเสนอในฐานะ ‘ข้อได้เปรียบ’ เพิ่มเติม

 

“ทีนี้ถ้าสมมติว่าคุณอยากจะลงเลือกตั้งเพื่อจะเพื่อตำแหน่งประมาณอย่างนี้ ผู้ว่าฯ กทม. หรือว่าตำแหน่งอื่นใน อปท. นะคะ การที่คุณขายเพศสภาพหรือเพศวิถีอย่างเดียวมันมีความสุ่มเสี่ยง เพราะว่าเอาเข้าจริงๆ เวลาที่ผู้สมัครเขาจะดึงดูดคะแนนเสียง เขาต้องพูดถึงคนหลายกลุ่ม

 

“คือจะแปลกๆ นะคะถ้าคุณพูดว่า เฮ้ย ฉันเป็นเควียร์ และฉันจะลงเลือกตั้งเพื่อประเด็นเควียร์ คุณจะได้คนกลุ่มเล็กมาก เข้าใจไหม แต่ถ้าพูดว่าคุณน่ะเข้าใจสถานการณ์หรือปัญหาเฉพาะของกรุงเทพฯ แล้วคุณก็เสนอตัวคุณมาเพื่อที่จะมาทำงานในเรื่องนี้ โดยคุณมีแง่มุมที่เป็นข้อได้เปรียบเพิ่มเติมก็คืออัตลักษณ์ทางเพศสภาพหรือเพศวิถีของคุณต่างหาก แต่ว่าถ้าจะออกมาพูดว่าฉันเป็นเควียร์และฉันจะทำประเด็นเควียร์ represent เควียร์อย่างเดียวน่ะ ดิฉันว่ามันไม่ใช่แนวทางของการเลือกตั้งไม่ว่าที่ไหน”

 

เพศส่งผลต่อการกำหนดนโยบายหรือไม่

เราถามต่อไปว่า เพศสภาพและเพศวิถีของผู้สมัครนั้นส่งผลต่อการกำหนดนโยบายของตัวผู้สมัครหรือไม่ เช่น ผู้สมัครหญิงอาจนำเสนอนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้หญิง 

 

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ตั้งข้อสังเกตโดยระบุว่า ‘คำตอบของเธอนั้นชวนถูกด่า’ และอาจจะเป็นการสังเกตที่ไม่ยุติธรรมนัก เพราะเธอสังเกตการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นหลัก

 

“คือเอาเข้าจริงๆ เวลาที่ผู้สมัครเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง เขาไม่ค่อยได้พูดจากมุมเพศสภาพแบบนั้น ยกเว้นในเวลาที่จะดึงดูดคะแนนเสียง เพราะฉะนั้นผู้สมัครนี่ คุณก็จะถูกล็อกอยู่ โดยเฉพาะถ้าคุณเป็นผู้สมัครจากพรรคการเมืองนะคะ คุณก็ถูกล็อกอยู่โดยนโยบาย โดยแพลตฟอร์มของพรรค คุณก็จะต้องขายของพรรคใช่ไหม

 

“ทีนี้ในบางเวลา ในบางเวทีที่คุณไปพูด คุณก็อาจพูดถึงเพศสภาพของตัวเองหรืออะไรอย่างนี้ แล้วก็บางคน นี่ดิฉันกำลังนึกถึงแคนดิเดตผู้หญิงที่เคยเห็นมาในช่วงเวลาที่ผ่านมา ในบางเวที บางคนนี่สามารถจะลงไปพูดได้อยู่บ้าง อย่างเช่น ประเด็นเรื่องความปลอดภัยอย่างที่คุณว่านะคะ แต่ว่าดิฉันยังไม่ค่อยเคยเห็นคนที่สามารถจะนำเสนอได้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวว่าถ้ามองคนในพื้นที่เลือกตั้งที่แตกต่างกัน ฉันจะทำอะไรให้คนเหล่านี้ได้บ้างอย่างรอบด้าน ยังไม่เคยเห็นอย่างนั้นค่ะ”

 

คำถามต่อมาที่เราถาม รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ คือ แล้วเราจะส่งเสริมให้ผู้หญิงหรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศเข้าสู่สนามการเมืองของ กทม. มากขึ้น จะทำได้อย่างไร 

 

ปรากฏว่าเมื่อถามคำถามนี้ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ถามเรากลับมาทันทีว่าจะส่งเสริมเพื่ออะไร ซึ่งเราก็ตอบไปว่าเราอาจจะได้เห็นอะไรที่หลากหลายมากขึ้น

 

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ระบุว่า การเพิ่มจำนวนผู้หญิงหรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือผู้ที่ใช้อำนาจในหน่วยการปกครองต่างๆ ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ ‘โลกเปลี่ยนแปลง’ เพราะผู้มีเพศสภาพหญิงจำนวนมากที่เข้าไปใช้อำนาจในสถาบันด้านนิติบัญญัติหรือบริหารก็ไม่ได้ดำเนินการในฐานเพศสภาพ หรือแม้แต่ไม่ได้ตระหนักรู้ในประเด็นเพศสภาพด้วยซ้ำ และสำหรับเธอ สิ่งที่ควรจะเพิ่มจริงๆ คือคนที่เข้าใจ หรือ ‘เปิด’ ต่อประเด็นและสถานการณ์ของกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย

 

“ดิฉันขอพูดจากมุมของ Gender นะคะ บรรดาผู้ที่เข้าไปใช้อำนาจในสถาบันด้านนิติบัญญัติหรือบริหารที่มีเพศสภาพหญิงจำนวนมาก เวลาที่ดำเนินการไม่ได้ดำเนินการในฐานเพศสภาพหรือไม่ได้ตระหนักรู้ด้วยซ้ำในประเด็นว่าด้วยเพศสภาพ ฉะนั้นก็คือไม่ได้แปลว่าเป็นผู้หญิง ปรากฏให้เห็นเป็นผู้หญิงแล้วจะ…โอ้โห จะรู้เรื่องนี้ Feminist Mind ไม่ใช่นะคะ มันก็เป็นลักษณะหนึ่งของเขา

 

“จริงๆ ถ้าพูดอย่างนี้ คุณนึกถึง ส.ส. บางคนในสภา คุณก็น่าจะพอนึกภาพออกด้วยซ้ำ คือไม่ได้แปลว่าคุณเพิ่มประเภทคนแล้ว นโยบายมันจะหลากหลายตามประเภท ไม่จริงเลย

 

“เวลาที่คุณพูดถึงเรื่องความเป็นตัวแทนทางการเมืองแล้วคุณอยากจะให้หลากหลาย บางทีมันไม่ใช่แค่การเพิ่มประเภทคนอย่างนั้น แต่มันต้องเพิ่มคนที่เข้าใจหรือว่าเปิดต่อประเด็นและสถานการณ์ที่หลากหลายต่างหาก ซึ่งมันไม่ได้แปลว่า อย่างเช่น เพศสภาพหญิงทุกคนเลย โอ้โห เข้าใจ และพยายามจะใส่ใจว่าด้วยเรื่องความไม่เป็นธรรมบนฐานเพศสภาพ ไม่จริง บางคนก็ไม่สนใจ อะไรอย่างนี้

 

“มันก็เลยทำให้เวลาที่มีคนพูดออกมาประมาณที่คุณถามว่าอยากจะเพิ่มประเภทคน ถ้ามีคนประเภทนี้อยู่เยอะๆ อย่างเช่น มีเพศสภาพหญิงเข้าไปอยู่เยอะๆ LGBT เข้าไปอยู่ในสภาเยอะๆ หรือว่าในองค์กรปกครองในระดับต่างๆ เยอะๆ แล้วโลกจะเปลี่ยน ไม่จริงเลย ถ้าคุณดูจากประสบการณ์ของระบบการเมืองอื่นๆ หรือแม้กระทั่งของไทยนะคะ ในบางสถาบันการเมืองไม่ใช่เช่นนั้นเลย”

 

เราถาม รศ.ชลิดาภรณ์ ต่อไปว่า แล้วคุณสมบัติที่ดีของผู้ว่าฯ กทม. ควรจะเป็นอย่างไร

 

bkk-election-2022-with-chalidaporn-songsamphan

แฟ้มภาพ: ฐานิส สุดโต

 

“คือต้องเข้าใจว่ากรุงเทพฯ จะมีลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะอย่างไร ความเข้าใจพื้นที่และความสามารถในการจัดการแก้ปัญหา คือมีข้อเสนอให้ประชาชนเห็น แต่ดิฉันว่าองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งคือ นอกจากจะเข้าใจประเด็นแล้ว มีข้อเสนอเชิงนโยบายแล้ว คงจะต้องมีความสามารถในการจัดการกับระบบราชการเพื่อจะให้นโยบายของตัวเองเป็นผลด้วย

 

“เดี๋ยว สารภาพก่อน ที่กำลังจะพูดอยู่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกรุงเทพฯ แต่เวลาที่ดิฉันดูนักการเมืองจำนวนหนึ่งที่พูดว่าอยากจะแก้ปัญหาโน่นนี่นั่น บางทีโดยไอเดียเลิศเลยนะคุณ แต่มันไม่มีฝีมือในการคุมระบบราชการเพื่อให้ทำตามนั้น ดิฉันกำลังหมายความว่าอย่างนี้

 

“เพราะฉะนั้นผู้ว่าฯ กทม. คนที่จะตามมา ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นใคร ถ้าจะดีก็น่าจะเห็นปัญหาและสถานการณ์ของกรุงเทพฯ ในฐานะที่เป็นเมืองที่มัน Cosmopolitan มาก อันนี้ดิฉันรู้สึกเป็นห่วง เพราะเท่าที่ผ่านๆ มา วิธีการจัดการกรุงเทพฯ อาจจะไม่ได้เห็นสถานะว่ากรุงเทพฯ มีลักษณะอย่างไร”

 

‘สามภาพใหญ่ที่สำคัญ’ ที่อยากเห็นจากแคนดิเดตผู้ว่าฯ กทม.

ท้ายสุด รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ บอกว่า อยากเห็นว่าแคนดิเดตผู้ว่าฯ กทม. จะทำอย่างไรหรือมีแนวทางอย่างไรกับ ‘สามภาพใหญ่ที่สำคัญ’ ได้แก่ 

 

  • ระบบที่สนับสนุนวิถีชีวิตคนทำงานซึ่งมีจำนวนมาก
  • การเป็นเมืองที่เคยมีผู้มาเยือนมากที่สุดในโลก
  • การเป็นศูนย์กลางของการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างการชุมนุมแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐ 

 

ซึ่งในสาม ‘ภาพใหญ่’ เหล่านี้ รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ไม่ได้หมายถึงเพียงการเจาะจงลงไปเป็นเรื่องๆ เช่น การฟื้นฟูการท่องเที่ยวหรือการคมนาคม แต่เธอกำลังหมายถึงแนวทางต่อ ‘ภาพใหญ่’ ที่มีหลายเรื่องซ้อนทับกันอยู่ในนั้น

 

“ประเด็นที่ดิฉันอยากเห็นก็คือ การคิดใคร่ครวญว่าจะมีระบบสนับสนุน ถ้าคนอยากเป็นผู้ว่าฯ แล้วจะได้คะแนนเสียงฉันนะ คือคุณมีระบบสนับสนุนภาพใหญ่ของวิถีชีวิตของคนที่เป็นคนทำงานอย่างไร ตั้งแต่เรื่องการเดินทาง เรื่องความปลอดภัย และอื่นๆ รวมทั้งคุณภาพชีวิต เรื่องสาธารณูปโภคต่างๆ ขอภาพใหญ่ๆ ดูได้ไหมว่าคุณภาพชีวิตของคนในกรุงเทพฯ ซึ่งจริงๆ ลุ่มๆ ดอนๆ มากเป็นอย่างไร

 

bkk-election-2022-with-chalidaporn-songsamphan

แฟ้มภาพ: ศวิตา พูลเสถียร

 

“แล้วอีกเรื่องหนึ่งที่อยากเห็นนะคะ ก่อนที่โควิดจะกลายสถานะเป็น Pandemic หลอกหลอนโลก กรุงเทพฯ เป็น The most visited city in the world ต่อเนื่องมาหลายปี เป็นเมืองที่มีคนมาเยือนมากที่สุดในโลก ผู้ว่าฯ กทม. จะว่าอย่างไรกับเรื่องนี้ 

 

“คือไม่ต้องพูดเป็นเรื่องๆ แต่อยากเห็นว่าในภาพของ กทม. ที่มีคนเข้ามาทำงานกับที่ต่างๆ แล้วก็อาจจะไม่ได้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ คุณจะทำอย่างไรกับเขา กับเมืองที่มีคนมาเยือน มี Visitor จำนวนมาก สองแง่มุมใหญ่ คุณจะทำอย่างไร

 

“แล้วก็อีกมุมหนึ่งคือ ความที่กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งเมืองหลวง เพราะฉะนั้นก็จะมีกิจกรรมกิจการต่างๆ นานา อันเนื่องมาจากความเป็นเมืองหลวง เช่น คนออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ ผู้ว่าฯ กทม. จะทำอย่างไร

 

“อยากเห็นสามเรื่องใหญ่ๆ ว่าคุณจะทำอย่างไร ไม่ใช่มาพูดเป็นเรื่องๆ นะ แต่พูดถึงภาพของ กทม. ว่าเป็นแบบนี้ คุณจะมีแนวทางใหญ่ๆ อย่างไร” เธอยืนยันว่า หากไม่มีภาพใหญ่แล้วไปคิดเรื่องเล็กๆ พอรวมกันแล้วจะไม่ตอบโจทย์ใหญ่เหล่านี้เลย

 

และนี่คือบทสนทนาที่ต่อยอดเพื่อขยับขยายจากเรื่องเพศสภาพและเพศวิถีกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไปสู่การจัดการ ‘ภาพใหญ่’ ในเมืองหลวงที่ควรมองหา ผ่านสายตานักวิชาการด้านรัฐศาสตร์คนนี้

The post กทม. เล่นยาก-ต้องการคนที่เปิดต่อประเด็นของคนที่หลากหลาย ถกศึกชิงผู้ว่าฯ เชื่อมมิติเพศกับ ‘ชลิดาภรณ์’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
การสื่อสารของรัฐในสภาวะวิกฤต จาก ‘ซิงเกิลคอมมานด์’ สู่ความอลหม่าน ปมบริหารวัคซีน https://thestandard.co/single-command-vaccine-management-chaos/ Tue, 15 Jun 2021 11:25:17 +0000 https://thestandard.co/?p=500608 การสื่อสาร

“ไม่มีเอกภาพในการทำงาน” ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐ […]

The post การสื่อสารของรัฐในสภาวะวิกฤต จาก ‘ซิงเกิลคอมมานด์’ สู่ความอลหม่าน ปมบริหารวัคซีน appeared first on THE STANDARD.

]]>
การสื่อสาร

“ไม่มีเอกภาพในการทำงาน” ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปถึงการทำงานของภาครัฐในการจัดการวิกฤตโควิด-19 แบบกระชับในขณะให้สัมภาษณ์ผ่านไลฟ์ THE STANDARD NOW เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน และวิเคราะห์ปัญหาของการสื่อสารเรื่องวัคซีนด้วยระบบ ‘ซิงเกิลคอมมานด์’ ของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ประเด็นปัญหาการเลื่อนฉีดวัคซีนในปัจจุบัน ทั้งกระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานครต่างออกมาปัดความรับผิดชอบ ยังคงทิ้งคำถามถึงการบริหารจัดการของภาครัฐ โดยเฉพาะทักษะในการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจท่ามกลางภาวะที่มีข้อมูลมาจากหลายทิศทาง แต่ไม่มีแหล่งใดจะสามารถยืนยันข้อเท็จจริงได้อย่างชัดเจนว่าในปัจจุบัน ยอดของวัคซีนที่แท้จริงในมือคนไทยตอนนี้มีอยู่เท่าไร กำลังรอรับมาอีกเท่าไร และกระจายออกไปอย่างไร

 

ผศ.ดร.ทวิดา มองว่าข้อมูลชุดนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อประชาชน มากเสียกว่าการแจ้งยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) 

 

ความไม่รู้จะทำให้คนตระหนกมากกว่าการรู้แล้วพยายามจัดการตนเอง

 

ผศ.ดร.ทวิดา ระบุว่า การเปิดเผยข้อมูลจึงจะเป็นทางเลือกเดียวของรัฐบาลที่จะดึงความศรัทธาและความเชื่อมั่นของประชาชนกลับมาได้ นอกจากจะเป็นการเยียวยาจิตใจของประชาชนที่กำลังระส่ำระสายในสภาวะวิกฤต การเปิดข้อมูลการบริหารจัดการวัคซีนยังทำให้การวางแผนเปิดประเทศของบางพื้นที่สะดวกมากขึ้น ประชาชนจะสามารถคาดเดาอนาคตข้างหน้าที่จะต้องเดินหน้าต่อเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และย้ำว่ารัฐบาลจะออกมาแต่นโยบายที่เป็นมาตรการอุดหนุนเงินไม่ได้ เพราะการฟื้นฟูที่ดีที่สุดหลังวิกฤตนั้นไม่สามารถทำได้เพียงแค่การแจกเงินผ่านโครงการเราชนะ และโครงการสงเคราะห์อื่นๆ ที่มัวแต่จะทำให้ประชาชนสูญเสียความศรัทธาจากวิธีการลงทะเบียนที่ยุ่งยาก

 

ผู้นำรัฐไทย โดยเฉพาะในเจเนอเรชันหนึ่งนั้น อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคำขอโทษไม่ใช่การเสียหน้า

 

ผศ.ดร.ทวิดา ยังระบุอีกว่า หนึ่งอย่างที่สำคัญในการเป็นผู้นำ คือต้องมีความรอบคอบ ฟังให้รอบด้าน ใช้ข้อมูลที่มีอยู่ให้เร็วที่สุด โดยพยายามทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด แต่ถ้าหากมีข้อผิดพลาดก็ต้องรีบคว้าเอาไว้ให้เร็ว ชี้แจงให้ชัด ออกแนวทางแก้ไข แล้วลงมือทำเลยทันที เพราะการเรียกความศรัทธาเชื่อมั่นไม่ได้เรียกด้วยการสื่อสาร แต่เรียกด้วยการกระทำ ส่วนการขอโทษนั้นเป็นการรับผิดชอบต่อภาวะจิตใจของคนที่คาดหวัง และต้องขอโทษด้วยความรู้สึกที่เราขอโทษจริงๆ 

 

ซิงเกิลคอมมานด์ คณะกรรมการบริหารจัดการวัคซีนแบบเบ็ดเสร็จ

 

สำหรับระบบ ‘ซิงเกิลคอมมานด์’ (Single Command) ที่นายกรัฐมนตรีจัดตั้ง ‘คณะกรรมการบริหารจัดการวัคซีนแบบเบ็ดเสร็จ’ โดยมีตนเป็นผู้นั่งหัวโต๊ะบัญชาการ สั่งการสูงสุดและยังออกปากให้ประชาชนไม่ต้องฟังข้อมูลจากแหล่งอื่น แต่ฟังจาก ศบค. เพียงอย่างเดียว 

 

ผศ.ดร.ทวิดา มองว่ารูปแบบการจัดการในปัจจุบันยังห่างจากการเป็นระบบซิงเกิลคอมมานด์อยู่มาก เนื่องจากระบบนี้คือการที่คำสั่งจะถูกถ่ายทอดจากผู้สั่งการและกระจายต่อไปยังส่วนอื่นๆ ที่รับหน้าที่ออกคำสั่งต่อ โดยคนสั่งมีกี่คนก็ได้ แต่จะมีเพียงคำสั่งเดียว 

 

แต่ละหน่วยหน้างานมีการตัดสินใจต่อการปฏิบัติงานของตนเอง โดยยึดหลักมาตรฐานการปฏิบัติและข้อมูลชุดเดียวกัน ทว่าการปฏิบัติงานในปัจจุบันที่ชุดข้อมูลและคำสั่งอยู่ในความสับสนมึนงง ขาดความเป็นเอกภาพของการบริหารจัดการ จึงยากนักที่จะดำเนินต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ  

 

ผศ.ดร.ทวิดา ยังย้ำอีกว่า การสื่อสารในสภาวะวิกฤตจะต้องเป็นการ ‘สื่อสารเพื่อวางแผนอนาคต’ มีจุดประสงค์ให้ประชาชนเกิดการปฏิบัติตาม ไม่ใช่แค่เพื่อให้รู้ว่าในปัจจุบันกำลังเกิดอะไรขึ้น แต่ต้องทำให้รู้ว่าในอนาคตประชาชนทั้งประเทศจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร

 

คลิกดูรายการ: 

 

 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post การสื่อสารของรัฐในสภาวะวิกฤต จาก ‘ซิงเกิลคอมมานด์’ สู่ความอลหม่าน ปมบริหารวัคซีน appeared first on THE STANDARD.

]]>
ล่าล้านชื่อล้มระบอบประยุทธ์ ล้ม ส.ว.-โละศาลรัฐธรรมนูญ-เลิกยุทธศาสตร์ชาติ-ล้างมรดกคณะรัฐประหาร https://thestandard.co/hunting-million-names-knock-down-prayut-regime/ Wed, 07 Apr 2021 01:54:11 +0000 https://thestandard.co/?p=473142 ล่าล้านชื่อล้มระบอบประยุทธ์ ล้ม ส.ว.-โละศาลรัฐธรรมนูญ-เลิกยุทธศาสตร์ชาติ-ล้างมรดกคณะรัฐประหาร

วันนี้ (6 เมษายน) ที่ห้องบรรยาย LT1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิ […]

The post ล่าล้านชื่อล้มระบอบประยุทธ์ ล้ม ส.ว.-โละศาลรัฐธรรมนูญ-เลิกยุทธศาสตร์ชาติ-ล้างมรดกคณะรัฐประหาร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ล่าล้านชื่อล้มระบอบประยุทธ์ ล้ม ส.ว.-โละศาลรัฐธรรมนูญ-เลิกยุทธศาสตร์ชาติ-ล้างมรดกคณะรัฐประหาร

วันนี้ (6 เมษายน) ที่ห้องบรรยาย LT1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กลุ่ม Resolution ภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ ทั้งคณะก้าวหน้า, พรรคก้าวไกล, กลุ่ม iLaw, และกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า (Conlab) ร่วมจัดงานเสวนาและกิจกรรม ‘ขอคนละชื่อรื้อระบอบประยุทธ์’ เปิดฉากการรณรงค์ล่ารายชื่อประชาชน เสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เปลี่ยนแปลงที่มาขององค์กรอิสระ และยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ชาติ

 

ในงานเสวนามีการอภิปรายโดยวิทยากรหลายราย ประกอบด้วย ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียนและนักวิจัยอิสระ, พริษฐ์ วัชรสินธุ ตัวแทนจากกลุ่ม Conlab และ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ร่วมกันเปิดแง่มุมปัญหาต่างๆ ที่ระบอบประยุทธ์ได้สร้างขึ้น และเหตุผลที่ต้องแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้

 

 

ประจักษ์ชี้ ‘ระบอบประยุทธ์’ คือระบอบของ ‘ขุนศึก-ศักดินา-พ่อค้า’ กอบโกยผลประโยชน์โดยประชาชนเป็นผู้จ่าย

 

ประจักษ์ระบุว่า ระบอบประยุทธ์คือรัฐทหารบวกทุนนิยมแบบช่วงชั้น มีลักษณะสองด้านคือ ด้านหนึ่งเป็นระบอบที่ให้อำนาจกับทหารมาก เอาทหารเข้ามาแทรกแซงการเมืองและควบคุมสังคม อีกด้านหนึ่งคือการใช้อำนาจรัฐเพื่อเอื้อผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนจำนวนหนึ่งเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ได้อย่างเป็นทางการ

 

ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ระบอบประยุทธ์ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงสองด้าน ประกอบด้วย ด้านที่เข้ามาจัดระเบียบรัฐและสังคมใหม่ และด้านที่เข้ามาจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับกลุ่มทุนใหม่ สังคมไทยวันนี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง พูดให้ถึงที่สุด มันคือระบอบคณาธิปไตยของชนชั้นนำ โดยชนชั้นนำเพื่อชนนั้นนำ 1% บนยอดพีระมิดของสังคม

 

ระบอบประยุทธ์ไม่เท่ากับตัว พล.อ. ประยุทธ์ การนำประเทศไทยกลับสู่ภาวะปกติจึงไม่ใช่แค่การไล่ พล.อ. ประยุทธ์ ออกไป แต่ต้องรวมถึงเครือข่ายผลประโยชน์มหาศาลที่แวดล้อมรัฐบาลประยุทธ์ และเครือข่ายอำนาจที่ใช้ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นเครื่องมือด้วย การไล่ พล.อ. ประยุทธ์ อย่างเดียวจึงไม่จบ ไม่มี พล.อ. ประยุทธ์ ก็จะมีคนอื่นเข้ามาใช้อำนาจเพื่อรักษาเครือข่ายผลประโยชน์และอำนาจเช่นนี้ต่อไป

 

ประจักษ์กล่าวย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นของระบอบประยุทธ์ ซึ่งเริ่มมาจากการรัฐประหารปี 2557 โดยระบุว่า แม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะอ้างความชอบธรรม บอกว่าตัวเองรักชาติ ต้องการปกป้องสถาบันฯ ประเทศมีความขัดแย้ง แต่สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงข้ออ้างเพื่อให้ความชอบธรรมกับการยึดอำนาจเท่านั้น

 

การยึดอำนาจครั้งนี้ผ่านการวางแผนมาอย่างดี ใช้กลไกหลายอย่างในการเข้ามาควบคุมสังคม ทำให้ตัวเองอยู่ในอำนาจได้ยาว สิ่งที่การรัฐประหารปี 2557 ทำคือการเข้ามาควบคุมทั้งการเมืองและสังคมด้วย ไม่เหมือนกับปี 2549 การรัฐประหารครั้งนี้มีการเรียกนักการเมืองที่เป็นเป้าหมาย รวมทั้งนักวิชาการ สื่อมวลชน นักพัฒนาเอกชน (NGOs) แกนนำประชาชน มาปรับทัศนคติ เข้าข่มขู่คุกคามชาวบ้านในต่างจังหวัด ควบคุมสังคมทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจของกองทัพ แล้วยังแต่งตั้งทหารเข้าควบคุมคณะรัฐมนตรีในหลายกระทรวงที่ไม่ใช่ความเชี่ยวชาญเฉพาะของทหาร

 

จากนั้นจึงสร้างสิ่งที่เรียกว่าแม่น้ำห้าสายขึ้นมา ไม่มีฝ่ายค้านในสภา แม่น้ำทั้งห้าสายมาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ทั้งหมด เต็มไปด้วยทหาร ตำรวจ ข้าราชการ แค่สามกลุ่มคิดเป็น 89% เป็นสภาของข้าราชการโดยแท้ และเมื่อเรามาดู ส.ว. ชุดปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ามาจากแม่น้ำห้าสายนั่นเอง ไหลรวมมาเป็นแม่น้ำที่ชื่อว่า ส.ว.

 

ประจักษ์กล่าวต่อไปว่า สิ่งที่เป็นลักษณะสำคัญอีกอย่างของระบอบประยุทธ์คือการบิดเบือนกลไกประชาธิปไตยเพื่อนำมารักษาระบอบเผด็จการ กลไกที่ดีทั้งหลายซึ่งประเทศประชาธิปไตยนำมาใช้เพื่อการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น ประชามติ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสาร ว่าด้วยการชุมนุม การเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ ระบอบประยุทธ์นำมาบิดเบือนให้ไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้ แล้วนำกลไกเหล่านี้มาสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารเอง

 

รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้ร่างมาเพื่อนำสังคมไทยกลับสู่ประชาธิปไตย แต่เพื่อค้ำจุนระบอบประยุทธ์ กลไกเหล่านี้มีทั้งหมด 6 ด้าน คือ 1. ส.ว. จากการแต่งตั้ง 2. การที่นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง 3. ระบบเลือกตั้งปันส่วนผสม 4. ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่มีอำนาจสูงมากและตรวจสอบไม่ได้ 5. การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากมาก และ 6. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

 

รัฐธรรมนูญ 2560 ทำลายประชาธิปไตยให้แคระแกร็น ให้อำนาจคนส่วนน้อยที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีอำนาจเหนือสถาบันที่เป็นตัวแทนของประชาชน ทำลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอ และลดทอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

 

นอกจากนี้สิ่งที่ระบอบประยุทธ์สร้างขึ้นมาคือความสัมพันธ์กับทุนผูกขาดขนาดใหญ่ผ่านโครงการประชารัฐ นี่คือสิ่งที่เรียกว่าทุนนิยมแบบช่วงชั้น ด้านที่เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนลอกเลียนมาจากการพัฒนาแบบจีนและลาตินอเมริกา โดยรัฐเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนขนาดใหญ่ไม่กี่กลุ่มเข้ามาคุมระบบเศรษฐกิจได้ จนเกิดอำนาจที่ไม่สมดุล ทำลายการแข่งขัน

 

ในช่วง 7 ปีนี้ทุนเล็กล้มละลายหายไปเยอะมาก แนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนามุ่งไปที่การเปิดให้ทุนใหญ่ได้เข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของรัฐได้อย่างเป็นทางการ กลุ่มทุนผูกขาดเหล่านี้เข้ามาเป็นสมาชิกของคณะกรรมการสานพลังประชารัฐชุดต่างๆ ร่วมกับข้าราชการ และยังเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย กลุ่มทุนเหล่านี้ยังอยู่ในเครือข่ายมูลนิธิป่ารอยต่อ โดยเฉพาะกลุ่มทุนพลังงานที่มีบทบาทมาก

 

ระบอบประยุทธ์มีความสำคัญอีกด้าน คือการรื้อฟื้นรัฐราชการ เกิดการฟื้นอำนาจให้กับระบบราชการอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เป็นยุคแห่งการรวมศูนย์กลับมาที่ส่วนกลาง จนผ่านมา 7 ปีเราถึงมีการเลือกตั้งท้องถิ่น ระบอบนี้กีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วมทางการเมือง มองประชาชนเหมือนทหารที่ต้องรับคำสั่งจากตัวเอง วัฒนธรรมข้าราชการและทหารเป็นใหญ่ ใช้ความรุนแรงและกำลังเป็นเครื่องมือสร้างความกลัว

 

“ระบอบประยุทธ์คือระบอบเผด็จการที่ไม่ยอมปล่อยอำนาจ คือระบอบเผด็จการเพื่อกลุ่มทุนและชนชั้นสูง ผมเรียกระบอบนี้ว่า ‘ขุนศึก ศักดินา พ่อค้า’ ระบอบนี้เกิดขึ้น ดำรงอยู่ และเป็นไปเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของคนที่มีอำนาจมากที่สุด มั่งคั่งมากที่สุด มีเกียรติยศมากที่สุด 1% ของสังคม แต่คนที่จ่ายราคาคือพวกเราทั้งหลาย 99% ที่ไร้อำนาจ เส้นสาย และความมั่งคั่ง… วันนี้คือจุดนับหนึ่งของการที่เราจะมาร่วมกันรื้อถอน ไม่ใช่แค่เพียง พล.อ. ประยุทธ์ แต่รื้อถอนเงื่อนไขที่ทำให้ระบอบคณาธิปไตยของชนชั้นนำที่ฉ้อฉลเชิงอำนาจ ตรวจสอบไม่ได้ ไม่ยึดโยงกับประชาชน แล้วกดขี่ขมเหงประชาชนให้ต้องออกจากอำนาจไป” ประจักษ์กล่าว

 

 

สฤณีชี้ยุทธศาสตร์ชาติคือกลไกที่บิดเบี้ยว-ประเมินผลจริงไม่ได้-ล้าหลัง-เปิดช่องกลั่นแกล้งทางการเมือง

 

ด้าน สฤณี ระบุว่า กลไกของรัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นเหมือนโซ่ตรวนที่ล่ามอนาคตของชาติเอาไว้ เป็นเครื่องมือที่ผูกมัดไม่ให้สังคมก้าวไปข้างหน้า ในอนาคตการเลือกตั้งก็สุ่มเสี่ยงจะเป็นเครื่องมือที่ใช้กลั่นแกล้งรัฐบาลใหม่ หากไม่ได้มาจากฝ่ายเดียวกันกับ คสช.

 

ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ 20 ปีมีการวางเป้าหมายไว้ทุก 5 ปี หมุดหมายแรกคือปี 2565 หรือปีหน้า หากเราไปดูรายงานสรุปการดำเนินการทั้งหมด 177 เป้าหมาย บรรลุค่าเป้าหมายของปี 2565 ได้เพียง 19% เท่านั้น

 

และเมื่อลงไปในรายละเอียดของยุทธศาสตร์ชาติ เราจะพบว่าเป็นเอกสารที่มีปัญหามาก บางตัวชี้วัดต่ำเกินไป หลายส่วนวัดประเมินไม่ได้จริงถึง 26% หลายตัวชี้วัดเป็นเป้าหมายที่ประเทศไทยทำได้อยู่แล้ว เท่ากับว่ารัฐไม่ต้องทำอะไรเลยเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตัวชี้วัดในหลายแผนก็มีความคลุมเครือมาก ให้น้ำหนักเท่ากันหมด มีความเป็นนามธรรมสูง

 

สถานการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นมาเพราะวิธีการทำยุทธศาสตร์ชาติที่เขียนขึ้นโดยคณะกรรมการ 34 คนที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. ในกฎหมายตั้งแต่รัฐธรรมนูญลงมา เขียนล็อกเอาไว้ว่าทุกส่วนต้องทำตามนี้เป็นเวลาถึง 20 ปี บอกว่าในการเสนองงบประมาณรายจ่ายประจำปี จะต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ หน่วยงานรัฐทั้งหมดต้องปฏิบัติตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ ผลที่เกิดขึ้นคือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ต้องรับผิดกับประชาชนและนโยบายหาเสียง แต่ต้องรับผิดกับกลไกที่อยู่นอกอำนาจของประชาชนที่ คสช. แต่งตั้งขึ้นมา

 

ปัญหาของยุทธศาสตร์ชาติคือการกำหนดบทลงโทษให้หน่วยงานรัฐที่ไม่ทำตามหรือทำไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติสามารถสั่งให้แก้ไขภายใน 60 วัน หากไม่แก้ไขโดยไม่มีเหตุอันสมควร คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกับ ส.ว. สามารถส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ดำเนินการสอบสวนเอาผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ได้

 

ยุทธศาสตร์ชาติจึงไม่ใช่แค่ผูกมัด แต่เปิดช่องว่างให้มีการกลั่นแกล้งกันเกิดขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือหัวหน้าหน่วยงานรัฐและคณะรัฐมนตรีอาจจะถูกตีความว่ามีความผิด นำไปสู่การลงโทษ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องของการทุจริตคอร์รัปชัน ในขณะที่คนเขียนยุทธศาสตร์ชาติและกรรมการไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย

 

การเขียนกลไกยุทธศาสตร์ชาติเช่นนี้จึงเปิดช่องให้มีการกลั่นแกล้ง และยังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ทางออกที่ดีที่สุดคือเลิกใช้กลไกเหล่านี้ทั้งหมด กลับไปสู่ครรลองประชาธิปไตยปกติ

 

“วันนี้เรามีอุตสาหกรรมการปฏิรูปประเทศ ซึ่งทำงานกันโดยผู้เชี่ยวชาญไม่กี่ร้อยคน โดยที่ไม่ได้มีความยึดโยงหรือไม่ต้องสนใจประชาชน เพราะฉะนั้นเป็นโอกาสอันดีที่เราจะปลดโซ่ตรวนนี้กลับเข้าสู่ครรลองของระบอบประชาธิปไตย ปล่อยให้พรรคการเมืองต่างๆ ได้มีอิสระเสรีในการนำเสนอนโยบาย แข่งขันกันในตลาดนโยบาย คุ้มครองการแข่งขันนี้ และเพิ่มโอกาสของประชาชนในการนำเสนอประเด็นที่ตัวเองสนใจเข้ามาเป็นนโยบายของชาติ” สฤณีกล่าวทิ้งท้าย

 

 

ไอติมชี้ ส.ว. คือศูนย์รวมปัญหาวิปริตของการเมืองไทย ยก 7 เหตุผลสภาเดี่ยวดีกว่าการมี ส.ว.

 

ด้าน พริษฐ์ ระบุว่า ข้อเสนอต่างๆ ที่ถูกยื่นขึ้นมาในกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้แทบจะไม่แตะอำนาจและที่มาของ ส.ว. เลย ร่างฯ ของพรรคร่วมรัฐบาลเองก็มีเพียงการตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ร่างฯ เหล่านั้นย่อมไม่เพียงพอต่อการรื้อโครงสร้างที่มาของ ส.ว. ที่เป็นกลไกของการสืบทอดอำนาจ

 

ข้อเสนอของเราเรียบง่าย คือการทำระบบสภาเดี่ยวให้เหลือเพียงสภาผู้แทนราษฎร 500 คนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเท่านั้น แม้จะฟังดูสุดโต่ง แต่ข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอที่ปกติมาก ประเทศไทยเคยอยู่ในช่วงนี้มาก่อน และหลายประเทศทั่วโลกก็ใช้ระบบสภาเดี่ยวกันเป็นส่วนใหญ่ด้วยซ้ำ

 

ทั้งนี้ตนขอแสดงเหตุผล 7 ข้อสนับสนุนข้อเสนอนี้ ประการแรก เมื่อเรายุบวุฒิสภาไปแล้ว ประชาชนทุกคนจะกลับมามี 1 สิทธิ์ 1 เสียงเท่ากันในการเลือกนายกรัฐมนตรี เพราะรัฐธรรมนูญปัจจุบันให้อำนาจ ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้ ตามมาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญ

 

ถ้าพูดกันอย่างเป็นรูปธรรม เท่ากับว่าตัวแทนประชาชนทั้ง 750 คนที่จะมาโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มี 500 คนที่เป็น ส.ส. มาจากการเลือกตั้งของคน 38 ล้านคน ในขณะที่ ส.ว. อีก 250 คนคือคนที่ถูกแต่งตั้งจาก คสช. จะเท่ากับว่าประชาชน 38 ล้านคนมีอำนาจกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีแค่ 0.000017% ในขณะที่ คสช. มีอำนาจในการกำหนดตัวนายกรัฐมนตรีถึง 33% เท่ากับว่า คสช. มีอำนาจเท่ากับประชาชน 19 ล้านคน

 

ทั้งนี้ตนต้องฝากถึงพรรคร่วมรัฐบาล ที่ตอนนี้ต้องการยกเลิกมาตรา 272 ว่ามีความจริงใจมากน้อยแค่ไหน เพราะเมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้ว ข้อเสนอนี้ถูกเสนอเข้าสภา แต่ ส.ส. จากพรรครัฐบาล 276 คน มีเพียง 4 คนที่ยกมือเห็นชอบ เท่ากับว่าเรามี ส.ส. ในสภาที่ไม่พร้อมที่จะยืนหยัดหลักการพื้นฐานว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชนอยู่

 

ประการที่สอง การเหลือสภาเดี่ยวจะทำให้สภาสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนมากขึ้น เพราะอำนาจที่วุฒิสภามีอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่สอดคล้องกับที่มา มีอำนาจที่สูงมาก แต่กลับมีที่มาที่ด้อยค่ามากตามระบอบประชาธิปไตย

 

ถ้ามองไปที่อังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา เราจะเห็นความสมดุลกัน เช่น ในอังกฤษ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด แต่ก็มีอำนาจน้อยมาก ส่วนในสหรัฐอเมริกา ส.ว. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและมีอำนาจมาก แต่ในประเทศไทยที่มาและอำนาจกลับไม่สอดคล้องกัน ทำให้เรามีรัฐสภาที่ไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน

 

ประการที่สาม ตราบที่เรายังมี ส.ว. แบบนี้อยู่ ระบอบประยุทธ์จะยังคงแต่งตั้งคนของตัวเองขึ้นมาสืบทอดอำนาจได้ต่อไปเรื่อยๆ เมื่อย้อนไปดูที่มาของ ส.ว. นี้ จะเห็นได้ว่ามาจากคนที่ คสช. เลือกโดยตรง 194 คน มาจาก ผบ. เหล่าทัพโดยตำแหน่ง 6 คน และมาจากการเลือกทางอ้อมโดย คสช. จากคนที่ กกต. สรรหามาให้เหลือ 50 คน

 

สัดส่วนของ ส.ว. ก็มีปัญหา จากคน 250 คน มีถึง 104 คนที่เป็นทหารและตำรวจ ส่วนกรรมการสรรหา 10 คน มี 3 คนที่แต่งตั้งพี่น้องตัวเองมาเป็น ส.ว. ส่วนอีก 6 คนแต่งตั้งตัวเองมาเป็น ส.ว. ด้วยตัวเอง ทั้งหมดคือกระบวนการผลัดกันเกาหลังที่ใช้งบประมาณทั้งหมด 1,300 ล้านบาท

 

นี่คือกระบวนการที่ระบอบประยุทธ์แต่งตั้งคนของตัวเองเข้ามา และที่สำคัญ ส.ว. ทั้ง 250 คนนี้ก็เป็นบุคคลที่มีอำนาจชี้ขาดว่าใครจะมาดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ นี่คือเหตุของคำวินิจฉัยที่เราคาดเดาผลได้ นี่คือเหตุผลว่าทำไมการเลือกตั้งของเราจึงมีบัตรเขย่งเกิดขึ้น

 

ประการที่สี่ การเอา ส.ว. 250 คนออกไป จะทำให้เราสามารถผ่านกฎหมายได้ทันกับสถานการณ์มากกว่าการมีสองสภา ปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจและสังคมในอัตราที่รวดเร็วมาก มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน คลุมเครือ การลดกระบวนการนิติบัญญัติให้เหลือสภาเดียว จะทำให้การออกกฎหมายของเราเท่าทันกับสถานการณ์มากขึ้น

 

ประการที่ห้า การยุบ ส.ว. ลงไป จะทำให้เราสามารถประหยัดงบประมาณลงไปได้อย่างน้อยถึง 1,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งสามารถนำมาส่งเสริมเป็นสวัสดิการให้ประชาชนได้ เพราะทุกวันนี้ ส.ว. 250 คน รวมกับผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยของแต่ละคน ดำรงตำแหน่ง 5 ปี กินเงินเดือนถึง 3,400 ล้านบาทต่อวาระ เมื่อบวกกับค่าสรรหา 1,300 ล้านบาท การมีอยู่ของ ส.ว. หนึ่งวาระกินงบประมาณของเราไปทั้งหมดอย่างน้อย 4,700 ล้านบาท

 

การโยกงบประมาณนี้มาใช้ส่งเสริมสวัสดิการประชาชนย่อมเป็นผลดีกว่าการมีอยู่ของ ส.ว. เป็นอย่างมาก เงินเกือบ 5 พันล้านบาทนี้สามารถอัดฉีดให้เพิ่มงบอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนได้ถึง 2-3 บาทต่อคนต่อวัน

 

ประการที่หก การยุบเลิก ส.ว. จะทำให้เรามีกลไกการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหารได้มากกว่า เพราะอย่างที่เห็น การทำงานของ ส.ว. วันนี้ก็ไม่ได้ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของฝ่ายบริหารอยู่แล้ว ถ้าย้อนไปดูการทำงานในปีแรกของ ส.ว. ชุดนี้ มี 145 มติที่ผ่านจาก ส.ส. ขึ้นไปหา ส.ว. ไม่มีมติใดเลยที่ ส.ว. พิจารณาและปัดตก ด้วยค่าเฉลี่ยยกมือเห็นชอบจาก ส.ว. ถึง 96.1%

 

ครั้งเดียวที่มีการปัดตกร่างกฎหมายโดย ส.ว. ก็คือการปัดตกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งก็ไม่ได้เกิดจากความกล้าหาญของ ส.ว. แต่มาจากความไม่จริงใจของ พล.อ. ประยุทธ์ ที่ไม่ต้องการให้เกิดการแก้รัฐธรรมนูญนั่นเอง

 

แต่เพื่อเพิ่มกลไกตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหาร เราจึงมีข้อเสนอที่จะมาแทนที่ ส.ว. ด้วย เช่น การติดอาวุธรัฐสภา เพิ่มเงื่อนไขให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. การเพิ่มบทบาทของฝ่ายค้านในการตรวจสอบรัฐบาลมากขึ้น เช่นการให้รองประธานสภาอย่างน้อย 1 คนต้องมาจากฝ่ายค้าน การให้ที่นั่งประธานคณะกรรมาธิการอย่างน้อย 5 คณะเป็นของฝ่ายค้าน

 

และที่สำคัญคือการติดอาวุธประชาชนให้สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลได้มากขึ้น และมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจสอบโดย ส.ว. 250 คนชุดปัจจุบัน

 

ประการสุดท้าย การใช้สภาเดี่ยวเป็นโครงสร้างทางการเมืองที่ปฏิบัติได้จริงและสอดคล้องกับโลกสมัยใหม่ หากนับเอาเฉพาะประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เป็นรัฐเดี่ยว และเป็นระบบรัฐสภา 31 ประเทศ จะพบได้ว่ามีถึง 20 ประเทศที่ใช้ระบบสภาเดี่ยวแล้ว โดยหลายประเทศเคยใช้สภาคู่มาก่อน แต่ก็เปลี่ยนมาเป็นสภาเดี่ยวในที่สุด เพราะไม่สามารถหาสมดุลระหว่างทั้งสองสภาได้

 

“ในเมื่อองค์กรนี้เป็นองค์กรที่ใช้งบประมาณเยอะมาก ไม่ได้เป็นทางเลือกกระแสหลักของประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว เป็นประชาธิปไตย และใช้ระบบรัฐสภา แต่เป็นข้อยกเว้นที่บางประเทศยังคงใช้อยู่ และในเมื่อหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย คืออำนาจสูงสุดอยู่กับประชาชน ถ้าควรจะมีองค์กรอะไรที่ถูกสถาปนาขึ้นมาในรัฐธรรมนูญ คุณก็ต้องอธิบายให้ชัดว่าองค์กรนั้นมีไว้ทำไม ผมว่าภาระในการพิสูจน์มันไม่ควรอยู่กับผมท่ีจะต้องมาอธิบายว่าทำไมจึงควรยุบ ส.ว. ให้เหลือสภาเดียว ความจริงภาระพิสูจน์ต้องอยู่กับ ส.ว. ที่ต้องอธิบายให้ได้ว่าจะมี ส.ว. ไว้เพื่ออะไร” พริษฐ์กล่าวทิ้งท้าย

 

 

ปิยบุตรเปิดข้อเสนอโดยละเอียด ล้ม ส.ว.-โละศาลรัฐธรรมนูญ-องค์กรอิสระ เสนอระบบสรรหาใหม่ ศาล-รัฐบาล-ค้าน ร่วมเสนอชื่อเท่ากันถ่วงดุลสามฝ่าย

 

ด้าน ปิยบุตร ระบุว่า ตนจำเป็นต้องอธิบายให้ทุกคนเข้าใจตรงกันเสียก่อนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 ของพวกเราครั้งนี้คือการแก้รายมาตรา ไม่ใช่การแก้ทั้งฉบับ ไม่ครอบคลุมทุกเรื่อง แต่เราเกาะเพียง 4 ประเด็นหลักสำคัญเฉพาะหน้า อันได้แก่ การล้มวุฒิสภา โละศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ เลิกยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูป และล้างมรดกคณะรัฐประหาร ซึ่งเป็นเสาหลักค้ำยันอำนาจของระบอบประยุทธ์ที่สืบทอดอำนาจมาถึงปัจจุบัน

 

ความจริงตนมีความคิดอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญในอีกหลากหลายประเด็น เช่น เรื่องสิทธิเสรีภาพ หมวดที่ไม่มีความจำเป็น การกระจายอำนาจ รวมทั้งหมวด 1-2 แต่การแก้ครั้งนี้ต้องการมุ่งไปที่ใจกลางปัญหาที่ค้ำยันระบอบประยุทธ์เอาไว้ และกลไกที่ขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญ 4 ประเด็นก่อนเป็นการเฉพาะ

 

ประการแรกคือการยกเลิกวุฒิสภาให้เหลือเพียงสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งพร้อมกันนี้เราจะต้องติดอาวุธให้ฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรมากขึ้น เช่น การกำหนดให้รองประธานสภาต้องเป็นฝ่ายค้านอย่างน้อย 1 คน ให้ประธานคณะกรรมาธิการอย่างน้อย 5 คณะต้องมาจากฝ่ายค้าน และการมีผู้ตรวจการกองทัพของสภาผู้แทนราษฎร ที่จะเข้าไปตรวจสอบแดนสนธยาแห่งนี้ โดยผู้ตรวจการกองทัพจะประกอบไปด้วย ส.ส. 10 คน มาจากฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลฝ่ายละ 5 คน ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของกองทัพ และการละเมิดสิทธิของผู้ใต้บังคับบัญชา

 

อีกข้อเสนอที่สำคัญคือการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส. ซึ่งแม้ว่าโดยระบอบรัฐสภาสากลแล้วจะไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่สำหรับบริบทเฉพาะของประเทศไทย นี่เป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเขียนไว้ เพราะถ้าไม่เขียนไว้ก็จะมีทหารมาเป็นนายกรัฐมนตรีทุกครั้งไป อย่างที่เห็นกันมาตลอดในประวัติศาสตร์

 

ประการต่อมา ข้อเสนอการโละศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ซึ่งแต่เดิมไม่มีมาก่อน และตั้งแต่มีมาก็เกิดแต่เรื่องวุ่นวาย วิกฤตการณ์ทางรัฐธรรมนูญและวิกฤตการณ์ทางการเมืองเกิดขึ้นทุกครั้งจากศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเหล่านี้

 

ที่ผ่านมาหลังมีรัฐธรรมนูญปี 2540 รัฐบาลที่เป็นเสียงข้างมากถูกกล่าวหาว่าเข้าไปครอบงำองค์กรอิสระผ่านวุฒิสภาจากการเลือกตั้ง จนกลายมาเป็นข้ออ้างของการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 นำไปสู่การรื้อที่มาของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระทั้งหมด ให้อีกฝ่ายทางการเมืองเข้าไปยึดแทน และยิ่งชัดเจนในรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระกลายเป็นเครื่องมือของผู้ยึดอำนาจทั้งหมด

 

ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระกลายเป็นปัญหาของรัฐธรรมนูญและระบบการเมืองไทย ตั้งแต่ที่มาที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดโยงกับประชาชน ไม่มีความเป็นอิสระ ปราศจากการตรวจสอบถ่วงดุล เป็นอิสระจากประชาชนแต่ไม่เป็นอิสระจาก คสช. เป็นเดิมพันของทุกฝ่ายการเมืองที่มุ่งหวังเข้าไปยึด เพราะมีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมทางการเมืองและชะตาชีวิตของนักการเมือง ให้คุณให้โทษได้อย่างมหาศาล

 

นี่จึงเป็นที่มาของข้อเสนอการโละศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระทิ้ง แต่เนื่องจากองค์กรเหล่านี้ยังมีความจำเป็นในการตรวจสอบฝ่ายบริหารอยู่ เราจึงต้องออกแบบที่มาใหม่ ทั้งนี้เราต้องยอมรับแล้วว่า ในเมื่อเราไม่สามารถทำให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสะปลอดการเมืองได้ เราก็ต้องออกแบบกันใหม่ให้มีทั้งความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยและสมเหตุสมผลกับความเป็นจริงทางการเมือง

 

ข้อเสนอของเราคือการยกเลิกการผูกขาดอำนาจในการเลือกอยู่ที่ผู้พิพากษาและ ส.ว. โดยเปลี่ยนใหม่ให้การเลือกมาจาก 3 องค์ประกอบ คือ 1. ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด 2. ส.ส. ฝ่ายค้าน และ 3. ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล เสนอรายชื่อมาในสัดส่วนที่เท่ากัน ให้รัฐสภาลงมติเห็นชอบด้วยเสียง 2 ใน 3

 

เช่น การแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาและที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุด เสนอมาที่ละ 3 รายชื่อ มายังรัฐสภาเพื่อเลือกให้เหลือ 3 คน, ส.ส. ฝ่ายค้านเสนอ 6 รายชื่อให้รัฐสภาเลือกให้เหลือ 3 คน และ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลเสนอ 6 รายชื่อให้รัฐสภาเลือกให้เหลือ 3 คน รวมทั้งหมดเป็นองค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คน

 

โดยผู้ที่จะได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต้องได้รับเสียงถึง 2 ใน 3 ของสภา สิ่งนี้จะป้องกันไม่ให้ฝ่ายบริหารผูกขาดครอบครองศาลรัฐธรรมนูญได้ ทำให้เกิดการพูดคุยกันระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน ไม่สามารถถูกยึดได้โดยฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล

 

เมื่อถึงเวลาปฏิบัติหน้าที่ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระก็จะได้เลิกคิดเรื่องการอยู่ฝักฝ่ายใด เพราะมาจากทั้งสามฝ่าย คือฝ่ายศาล ฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาลเท่าๆ กัน ก็จะเกิดการถ่วงดุลกันเองภายในองค์กรทุกครั้ง และเสียงข้างมากก็ไม่สามารถยึดได้

 

ส่วนการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ เราเสนอให้เพิ่มกลไกเข้าไป โดย ส.ส. 1 ใน 4 เข้าชื่อร่วมกัน หรือให้ประชาชน 20,000 คนเข้าชื่อเสนอร่วมกัน ให้มีการพิจารณาถอดถอนผู้พิพากษาและผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระต่างๆ ส่งให้สภาลงมติโดยใช้เสียง 3 ใน 5 เพื่อเสนอให้องค์คณะพิจารณาถอดถอน 7 คน ประกอบไปด้วยตัวแทนจากศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา ศาลปกครอง ส.ส. ฝ่ายค้าน ส.ส. ฝ่ายรัฐบาล ร่วมพิจารณาถอดถอนโดยใช้เสียง 3 ใน 4

 

นอกจากนี้สภาผู้แทนราษฎรจะมีผู้ตรวจการศาลและศาลรัฐธรรมนูญมาจาก ส.ส. ฝ่ายค้านและ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลอย่างละ 5 คน ตรวจสอบการใช้งบประมาณของศาล วิเคราะห์ผลกระทบจากคำพิพากษาต่างๆ เพิ่มระบบในการตรวจสอบถ่วงดุลขึ้นมา โดยให้ผู้ตรวจการศาลและศาลรัฐธรรมนูญคัดเลือกกันเองให้ 1 คนไปเป็นกรรมการตุลาการ (กต.) ศาลยุติธรรม และ 1 คนไปเป็นกรรมการตุลาการศาลปกครองโดยตำแหน่งเพื่อให้เกิดการถ่วงดุล

 

นอกจากนี้ปิยบุตรยังได้กล่าวลงรายละเอียดถึงข้อเสนออื่นๆ อีก เช่น การยกเลิกระบบใบส้ม ให้เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 และรัฐธรรมนูญปี  2550, การแก้ไขให้มาตรฐานจริยธรรมเป็นเรื่องของแต่ละองค์กรเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเอง มิใช่ให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระเป็นผู้กำหนดให้ทุกองค์กรแบบในรัฐธรรมนูญปี 2560, การยุบผู้ตรวจการแผ่นดินเข้ารวมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, การสร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุลองค์กรอิสระให้ถอดถอนและตรวจสอบถ่วงดุลได้, ห้ามมิให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการใดอันเป็นการขัดขวางการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น

 

ปิยบุตรยังกล่าวอีกว่า สำหรับศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระที่ดำรงตำแหน่งอยู่ทุกวันนี้ หากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เรากำลังเข้าชื่อกันอยู่สามารถนำไปสู่การแก้ไขได้สำเร็จ ทั้งหมดต้องพ้นจากตำแหน่งและไปสู่การสรรหาใหม่ทันที เพราะคนเหล่านี้ล้วนแต่มาจากการแต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. รวมทั้งคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ด้วย

 

“ดังนั้นเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด และใครที่เคยได้รับประโยชน์โภชผลจาก คสช. ตั้งให้เป็นนั่นเป็นนี่ จาก คปค. สมัยปี 2549 ตั้งให้เป็นนั่นเป็นนี่ คนพวกนี้ถึงเวลาหยุด กลับบ้านไปพักผ่อนได้แล้ว เริ่มต้นกันใหม่ ไม่เช่นนั้นคนกลุ่มนี้ก็จะวนเวียนอยู่ในอุตสาหกรรมยกร่างรัฐธรรมนูญ และอุตสาหกรรมองค์กรอิสระ คนหน้าเดิมทั้งนั้นวนเวียนอยู่แบบนี้ เพราะฉะนั้นหยุด พอได้แล้ว เริ่มต้นใหม่ ประเทศไทยมีคนมีความรู้ความสามารถอีกเยอะที่จะมาทำงานเหล่านี้ได้” ปิยบุตรกล่าว

 

ส่วนการล้างมรดกของคณะรัฐประหาร ปิยบุตรระบุว่า นอกจากการเสนอให้ยกเลิกมาตรา 279 ที่ให้บรรดาการกระทำของ คสช. ทั้งหมดชอบด้วยกฎหมาย เพื่อให้สามารถนำไปสู่การตรวจสอบความชอบย้อนหลังได้แล้ว เรายังเสนอว่าจะต้องบัญญัติเข้าไปให้การรัฐประหารไม่มีอายุความ แต่เป็นความผิดฐานกบฏที่คงอยู่ตลอดไปในฐานะประเพณีการปกครองด้วย

 

 

ชี้ต้องเดินสามทางพร้อมกันสู่จุดหมายสถาปนารัฐธรรมนูญประชาชน-ขอล้านชื่อร่วมแสดงเจตจำนง

 

ปิยบุตรกล่าวต่อไป ว่าจากสถานการณ์ปัจจุบัน เราเห็นว่าเส้นทางสู่รัฐธรรมนูญใหม่มีอยู่สามทาง คือ 1. การยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 2560 ทั้งฉบับ และจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่โดยปราศจากข้อจำกัด 2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อเปิดทางให้มี สสร. จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ และ 3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราในประเด็นสำคัญ ตามที่กลุ่ม Resolution ของเรานำเสนอในวันนี้

 

โดยเส้นทางที่ 1 นั้นจะเกิดขึ้นได้มีสองรูปแบบ คือการรัฐประหารหรือการริเริ่มของประชาชนเพื่อให้เกิดการลงประชามติ แต่สถานการณ์วันนี้ยังไม่สุกงอมที่จะทำให้เกิดการประชามติโดยประชาชนแบบไม่มีขอบเขตได้ จะไปถึงจุดนั้นได้สถานการณ์ต้องสุกงอมเพียงพอ

 

ส่วนเส้นทางที่ 2 นั้น กำลังดำเนินไปอยู่ในรัฐสภา ซึ่งอาจจะกินเวลานาน มีแนวโน้มว่าจะต้องจัดให้มีการลงประชามติก่อนด้วย ภายใต้สถานการณ์ที่ตอนนี้กฎหมายประชามติกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยที่ยังไม่แน่นอนว่าประชาชนจะเป็นคนริเริ่มเสนอให้มีการจัดการลงประชามติได้ด้วยหรือไม่

 

ส่วนเส้นทางที่ 3 ที่เราเลือกนั้น แม้จะกินเวลาหลายปี แต่ระหว่างเส้นที่ทางทั้งสองข้างต้นกำลังดำเนินไป เราก็ต้องทำสิ่งนี้ควบคู่กันไปด้วย เป็นการทำเท่าที่ได้ ให้มีการแก้รายมาตราในประเด็นสำคัญ เวลานี้การแก้รัฐธรรมนูญกำลังถูกจำกัดให้อยู่ในเรื่องของรายมาตรา มีแต่เรื่องของระบบเลือกตั้ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ประโยชน์ของพวกเขาทั้งสิ้น

 

ก่อนเดินทางมา ตนได้สำรวจความเห็นของหลายคนบนโลกออนไลน์ หลายคนเห็นว่าทำไปไมทำไม เสียเวลา อย่างไรก็ถูกล้มอยู่ดี แต่เราจำเป็นต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ให้เขากินรวบประเทศไปเรื่อยๆ การแก้รัฐธรรมนูญก็จะมีแต่สิ่งที่เขาต้องการเท่านั้น

 

งวดนี้ถ้าประชาชนสามารถรวบรวมรายชื่อได้ถึงหลายแสน หรือได้ไปถึงล้าน ส.ว. ก็อาจจะเปลี่ยนใจก็ได้ แต่ถ้ายังไม่แยแสอีก ตนเห็นว่าการเมืองจะเปลี่ยนแล้ว ประชาชนคนไทยที่ร่วมกันเข้าชื่อจะไม่ยอมให้ ส.ว. 250 คนมาขี่คอทั้งชีวิตอย่างนี้แน่นอน

 

ดังนั้นตนคิดว่าอย่าเพิ่งไปมองว่าการทำเช่นนี้จะสำเร็จหรือไม่ แต่นี่คือการรณรงค์ทุกนาที ทุกฝีก้าว หว่านเมล็ดไปเรื่อยๆ ถ้าเราคิดแต่เพียงที่จะนั่งเฉยๆ แล้วรอเวลา รอโอกาส โอกาสนั้นก็ไม่มีทางจะมาถึง เราต้องสร้างโอกาสให้เกิดขึ้นได้ทุกวัน ทำเท่าที่ทำได้ การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นได้ต้องลงมือทำในทุกวันก่อน แต่ถ้าไม่ทำตั้งแต่วันนี้จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลยทั้งสิ้น

 

“ผมอยากเชิญชวนทุกท่านว่า 1 สิทธิ์ 1 เสียงของท่านมีความหมาย นี่คือการแสดงออกซึ่งประชาธิปไตยทางตรง ประชาธิปไตยแบบผู้แทนเราถูกบิดผันไปมากมายเหลือเกินจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ท่านจะสงสัยว่าทำไมผู้แทนของเราไม่เห็นทำตามที่เราต้องการ ทำไมเรารณรงค์อะไรไปก็ตามไปถึงสภาตกหมด ดังนั้นต้องทำให้มากกว่าเดิม ผมเชื่อว่าในท้ายที่สุดเสียงของประชาชนจะเป็นตัวชี้ขาด แล้วนี่คือเสียงของประชาชนี่ปรากฏตัวให้เห็นผ่านชื่อ ผ่านบัตรประชาชน ทุกครั้งที่เป็นการใช้สิทธิ์เข้าชื่อ… นี่คือการเริ่มต้น เริ่มลงมือร่วมกันตั้งแต่วันนี้ ทุกๆ การณรงค์ของเรา เท่ากับการเปิดโอกาสการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าเราเฝ้ารอแต่โอกาสเพียงอย่างเดียว โอกาสนั้นจะไม่มีวันมาถึง” ปิยบุตรกล่าวทิ้งท้าย

 

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post ล่าล้านชื่อล้มระบอบประยุทธ์ ล้ม ส.ว.-โละศาลรัฐธรรมนูญ-เลิกยุทธศาสตร์ชาติ-ล้างมรดกคณะรัฐประหาร appeared first on THE STANDARD.

]]>
สโมสรนักศึกษารัฐศาสตร์ฯ มช. ประกาศยกเลิกกิจกรรมอำนาจนิยมทั้งหมดในคณะ ยุบชมรมเชียร์ เลิกโซตัส https://thestandard.co/student-club-cmu-cancellation-sotus-activities/ Tue, 20 Oct 2020 04:22:23 +0000 https://thestandard.co/?p=410093 โลโก้ logo สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อวันที่ (19 ตุลาคม) สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐ […]

The post สโมสรนักศึกษารัฐศาสตร์ฯ มช. ประกาศยกเลิกกิจกรรมอำนาจนิยมทั้งหมดในคณะ ยุบชมรมเชียร์ เลิกโซตัส appeared first on THE STANDARD.

]]>
โลโก้ logo สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เมื่อวันที่ (19 ตุลาคม) สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกประกาศแถลงการณ์ยกเลิกกิจกรรมอันเป็นการบ่มเพาะรากฐานอำนาจนิยม โดยมีรายละเอียดระบุว่า

 

ณ ที่แห่งนี้ ห้อง PSB 1101 คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันเป็นสถานที่บ่มเพาะวัฒนธรรมอำนาจนิยมผ่านการจัดกิจกรรมรับน้องประชุมเชียร์ตามระบบโซตัส (SOTUS) และการกระทำอื่นใดในเชิงพฤตินัยก็ดีและเซิงสัญลักษณ์ก็ดี อันเป็นการแสดงออกของระบอบอำนาจนิยม ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของนักศึกษา

 

บัดนี้ วันที่ 19 ตุลาคม 2563 ณ ห้อง PSB 1101 คณะรัฐศาสตร์ฯ เหล่าตัวแทนนักศึกษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้มีมติเห็นพ้องต้องกันแล้วว่ากิจกรรมและระบบอันแสดงถึงอำนาจนิยมเหล่านี้มีลักษณะอันไม่เป็นที่ยอมรับต่อนานาอารยชน ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชน และหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงมีมติยกเลิกกิจกรรมดังต่อไปนี้

 

1. ยกเลิกระบบโซตัส (SOTUS) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมการกดขี่ ลดทอนความเป็นมนุษย์ อันขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงหลักประชาธิปไตยสากล

 

2. ยกเลิกกิจกรรมรับน้องประชุมเชียร์

 

3. ยกเลิกการแจกเสื้อสิงห์ โดยผู้ที่เป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ทุกคนมีสิทธิ์ในการซื้อเสื้อสิงห์ได้ตามความประสงค์ โดยไม่มีพันธะเงื่อนไขแต่อย่างใด

 

4. ยกเลิกการให้รุ่น โดยผู้ที่เป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ทุกคนมีสถานะเป็นสิงห์ขาว โดยไม่มีพันธะเงื่อนไข

 

5. ยกเลิกชมรมเชียร์

 

6. ยกเลิกฝ่ายปกครอง

 

ทั้งนี้ ขอต่อต้านการกระทำใดๆ อันมีลักษณะก่อรากฐานระบอบอำนาจนิยมและบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยอย่างเป็นทางการ ให้เป็นที่ยืดถือปฏิบัติทั้งเชิงพฤตินัยและนิรนัยสืบชั่วกัลปาวสาน

 

พร้อมระบุในตอนท้ายด้วยว่า “ฟ้าจะครึ้ม ฝนจะพราว สิงห์ขาวเคียงข้างประชาชน” โดยแถลงการณ์นี้ผ่านการเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาสโมสรฯ ผศ.ดร.รวีวรรณ แพทย์สมาน แล้ว 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

อ้างอิง: 

The post สโมสรนักศึกษารัฐศาสตร์ฯ มช. ประกาศยกเลิกกิจกรรมอำนาจนิยมทั้งหมดในคณะ ยุบชมรมเชียร์ เลิกโซตัส appeared first on THE STANDARD.

]]>
รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เรียกร้องเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้ผู้ชุมนุม จี้รัฐฯ ปฏิบัติด้วย ‘สันติวิธี’ https://thestandard.co/faculty-of-political-science-thammasat-university-made-a-request-to-the-government/ Sat, 17 Oct 2020 09:41:27 +0000 https://thestandard.co/?p=408892

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แถลงข้อเรี […]

The post รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เรียกร้องเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้ผู้ชุมนุม จี้รัฐฯ ปฏิบัติด้วย ‘สันติวิธี’ appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แถลงข้อเรียกร้องต่อภาครัฐจากสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน โดยเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมโดยสันติวิธี 

 

“สืบเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองตลอดช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทวีความตึงเครียดขึ้นอย่างรวดเร็ว และกำลังลุกลามบานปลายไปสู่ความรุนแรง โดยเฉพาะหลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 และดำเนินการสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวันเมื่อคืนที่ผ่านมา

 

“ในสถานการณ์เช่นนี้ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังมีรายนามแนบท้าย ขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องปฏิบัติต่อประชาชนผู้ชุมนุมโดยสันติวิธีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ไม่สร้างเงื่อนไขที่อาจนำไปสู่ความรุนแรง 

 

“ขณะที่ทางรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งพิจารณาทบทวนท่าทีและแนวทางสื่อสารกับสังคมในปัจจุบัน ดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่เข้าร่วมการชุมนุมอย่างเต็มที่ รวมทั้งเปิดการเจรจาพูดคุยอย่างสร้างสรรค์ผ่านพื้นที่สาธารณะที่ทุกภาคส่วนสามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นได้อย่างสันติและปลอดภัย เพื่อหาทางออกจากวิกฤตโดยไม่มีความรุนแรงและความสูญเสียเกิดขึ้น”

 

ทั้งนี้ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ร่วมลงนามยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลมีรายนาม ดังนี้ 

 

ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวชช

รศ.ดร.กิตติ ประเสริฐสุข

ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ

อ.ดร.จารุพล เรืองสุวรรณ

ผศ.ดร.จิตติภัทร พูนขำ

อ.ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์

รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์

อ.ชาลินี สนพลาย

อ.ดุลยภาพ จาตุรงคกุล

ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ

ผศ.ดร.ประพิมพ์ฝัน เชียงกูล

อ.ปองขวัญ สวัสดิภักดิ์

ผศ.ดร. ม.ล.พินิตพันธุ์ บริพัตร

อ.ดร.พีระ เจริญวัฒนนุกูล

ผศ.ดร.ภูริ ฟูวงศ์เจริญ

ผศ.ดร.วรรณภา ติระสังขะ

อ.วศิน ปั้นทอง

ผศ.ดร.วสันต์ เหลืองประภัสร์

อ.วิโรจน์ อาลี

ผศ.ดร.ศิกานต์ อิสสระชัยยศ

ผศ.ดร.สุนิดา อรุณพิพัฒน์

รศ.ดร.โสภารัตน์ จารุสมบัติ

รศ.ดร.อรทัย ก๊กผล

รศ.ดร.อรรถสิทธิ์ พานแก้ว

อ.ดร.ชาร์ลี เธม

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุ

The post รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เรียกร้องเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยให้ผู้ชุมนุม จี้รัฐฯ ปฏิบัติด้วย ‘สันติวิธี’ appeared first on THE STANDARD.

]]>
4 ผู้นำพรรคการเมืองมองอนาคตประชาธิปไตยไทย: ข้ามพ้น กับดัก ความหวัง? https://thestandard.co/democrat-pheu-thai-future-forward-peoples-reform-heads-debate-democracy/ https://thestandard.co/democrat-pheu-thai-future-forward-peoples-reform-heads-debate-democracy/#respond Thu, 14 Jun 2018 13:27:38 +0000 https://thestandard.co/?p=97948

บรรยากาศ ณ ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร […]

The post 4 ผู้นำพรรคการเมืองมองอนาคตประชาธิปไตยไทย: ข้ามพ้น กับดัก ความหวัง? appeared first on THE STANDARD.

]]>

บรรยากาศ ณ ห้อง ร.103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันนี้ร้อนแรงกว่าวันไหนๆ ด้วยมีกำหนดจัดงานเสวนาวิชาการภายใต้หัวข้อ ‘อนาคตประชาธิปไตยไทย: ข้ามพ้น กับดัก ความหวัง?’ เนื่องในวาระวันคล้ายวันสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2561 ครบรอบ 69 ปี

 

ที่ว่าร้อนแรงเพราะในห้วงการเมืองที่ยังคลุมเคลือ มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันให้บริการความรู้ทางวิชาการ โดยเฉพาะคณะรัฐศาสตร์ได้จัดงานนี้ขึ้นโดยมีผู้แทนพรรคการเมือง 4 พรรค ได้แก่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคประชาธิปัตย์, จาตุรนต์ ฉายแสง พรรคเพื่อไทย, ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พรรคอนาคตใหม่ และไพบูลย์ นิติตะวัน พรรคประชาชนปฏิรูป ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์

 

ก่อนเริ่มต้นการเสวนา รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ได้เกริ่นนำถึงสภาพสังคมไทยเวลานี้ว่าจะสามารถก้าวข้ามพ้นกับดักและไปอยู่กับความหวังของประเทศไทยได้มากแค่ไหน โดยมองว่ายังมองไม่เห็นว่าสามารถก้าวข้ามกับดักเหล่านั้นได้ วันนี้จึงต้องเชิญทั้ง 4 คนที่เป็นผู้นำพรรคซึ่งอาสาเข้ามาเป็นตัวแทนของประชาชนว่ามองความเคลื่อนไหวเหล่านี้อย่างไร ต่อไปนี้คือการเก็บความจากวงเสวนา

 

 

จาตุรนต์มอง 2 กับดัก ดักพัฒนาประเทศ และดักการพัฒนาประชาธิปไตย

จาตุรนต์เริ่มต้นโดยชี้ให้เห็นถึงกับดักของประเทศไทยว่า สิ่งที่เกิดขึ้นคือการไม่มีความพยายามจะแก้ต้นเหตุปัญหาในอดีต ไม่นำข้อเสนอในอดีตมาพิจารณา การนั่งหารือไม่เท่าเทียมเป็นปัญหาและจะกลายเป็นกับดักในอนาคต

 

โดยกับดักในอนาคตขณะนี้ไม่ใช่กับดักสำหรับพรรคหรือนักการเมือง แต่กับดักที่จะเจอต่อไปข้างหน้าเป็นกับดักของประเทศไทย และเป็นกับดักที่จะส่งผลต่อการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตย ที่สำคัญเรามีกับดักที่จะทำให้ไปเจอกับความขัดแย้งในอนาคต ซึ่งที่ผ่านมามีเงื่อนไขที่ปลูกฝังมาตลอด 4 ปีว่าสังคมไทยขาดผู้มีอำนาจที่ใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดไม่ได้ หรือขาดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ไม่ได้

 

ทั้งนี้จาตุรนต์ยังมองว่าไม่มีสิ่งใดที่เป็นหลักประกันว่าปัญหาในอดีตจะได้รับการแก้ไข อาจมีการทำผิดกฎหมายแล้วไม่ได้รับการลงโทษ เกิดการไม่ปฏิบัติตามกลไกของรัฐ และอาจเกิดการกระทำที่เป็นเงื่อนไขนำไปสู่การรัฐประหาร

 

ดังนั้นกับดักในความเห็นของตนเองจะอยู่ที่สองเรื่องคือ กับดักของประเทศในการที่จะพัฒนาไปอย่างยั่งยืนและราบรื่น และกับดักที่สองคือกับดักที่จะนำไปสู่เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งและเกิดเป็นข้ออ้างในการรัฐประหารได้อีกในอนาคต

 

 

อภิสิทธิ์ชี้ มี 4 กับดักไปสู่ประชาธิปไตย

ส่วนอภิสิทธิ์อธิบายว่าก่อนจะพูดเรื่องกับดัก สิ่งที่เราน่าจะคิดตรงกันคือให้ไทยกลับคืนสู่วิถีรูปแบบประชาธิปไตยโดยรักษาได้ทั้งรูปแบบและสาระของประชาธิปไตย แต่การจะกลับสู่รูปแบบและสาระของประชาธิปไตยนั้นมีกับดักใหญ่ๆ คือ

 

แม้ปัจจุบันเราบอกว่ามีรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้แล้ว มีกฎหมายลูกที่จำเป็นก่อนการเลือกตั้งแล้ว แต่บรรดาคำสั่ง คสช. ไม่สามารถทำให้บรรดากฎหมายต่างๆ ที่ออกมาเดินไปได้ ตั้งแต่ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรมทางการเมือง จนกระทั่งห้ามประชาชนทำกิจกรรมทางการเมืองได้ตามปกติ การเดินตามตรงนี้ยังติดขัดกับดักคำสั่ง คสช. ที่วางไว้

 

แม้ผ่านกับดักแรกไปได้ กระบวนการประชาธิปไตยต้องไปเริ่มที่การเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งต้องเสรีและเที่ยงธรรม คำถามคือเราจะจัดแบบนั้นได้จริงหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาเราใช้อำนาจมาตรา 44 ปลดกรรมการการเลือกตั้งไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่ง กกต. ต้องรักษาความเป็นธรรม คำถามคือจะเป็นอิสระและเป็นกลางได้มากน้อยแค่ไหน

 

แถมผู้มีอำนาจในปัจจุบันส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นทุกวัน จากเดิมบอกเป็นกรรมการ เป็นคนกลาง บัดนี้แสดงอาการว่าอยากเป็นผู้เล่นด้วย จึงเป็นกับดักที่สองว่าการเลือกตั้งจะเสรี สุจริต และเที่ยงธรรมจริงหรือไม่

 

กับดักต่อมาคือมี ส.ว. นั่งอยู่ในสภา 250 คนซึ่งไม่ผ่านการเลือกตั้ง แต่จะมามีสิทธิ์เลือกนายกฯ จะมีกลุ่มคนที่เข้ามามีอิทธิพล มีบทบาทมากกว่าผู้เล่น มากกว่าประชาชนที่ใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ส.ส. เข้ามา นี่คือกับดักที่สาม

 

กับดักที่สี่มีสองปัญหาคือ กติกาไม่เป็นประชาธิปไตย มีหลายบทบัญญัติเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย อย่าว่าแต่เรื่องของผู้ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง วันนี้นักการเมืองทั่วโลกที่มาจากการเลือกตั้ง สถาบันการเมือง ถูกตั้งคำถามโดยคนรุ่นใหม่ว่าพื้นที่ยืนในสังคมหรือเศรษฐกิจของเขามันหายไป หรือมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทางการเมือง จะทำอย่างไรกับรัฐธรรมนูญที่เป็นอุปสรรคควบคู่กับการกอบกู้ศรัทธาประชาชนว่านี่แหละระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย มันดีกับเขาอย่างไร แต่ยืนยันว่าเราออกจากกับดักและมีความหวังได้

 

 

ธนาธรมองรัฐประหาร กับดักวนเวียนซ้ำซาก ฉุดรั้งสังคมไม่ให้ก้าวไปข้างหน้า

ด้านธนาธรเห็นด้วยกับสองท่านก่อนหน้าสำหรับกับดักเหล่านั้น แต่ขอย้อนกลับไปไกลในหน้าประวัติศาสตร์ ซึ่งจำนวน 24 ปี 310 วัน คือเวลาที่ไทยมีนายกฯ จากการเลือกตั้งในรอบ 86 ปี คิดเป็น 29% จากระยะเวลาทั้งหมด

 

ธนาธรบอกว่าไม่ใช่กับดักเพิ่งเกิดในรอบนี้ ในชีวิตตนเองผ่านการรัฐประหารมาแล้ว 5 ครั้ง และใน 5 ครั้งก็ไม่เคยมีผู้ก่อการถูกลงโทษ มีเพียงครั้งเดียวที่มีผู้ก่อการถูกลงโทษ แต่ไม่ใช่ผู้นำ

 

ซึ่งการทำรัฐประหารมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับแรก หากย้อนกลับไปเวลานั้น สิงคโปร์ มาเลเซีย เกาหลีใต้ และไทยอยู่ในระนาบเดียวกัน ตอนนี้ทุกประเทศมีการพัฒนาโตกว่าไทย

 

ปัจจุบันไทยมีความเหลื่อมล้ำอันดับ 3 ของโลก รองจากรัสเซียและอินเดีย คน 5% มีทรัพย์สิน 3 ล้านล้านบาทเท่ากับงบประมาณประจำปีของไทย ในรอบการพัฒนาประชาธิปไตย 86 ปีของไทย ถามว่าอะไรฉุดรั้งการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของสังคมไทย เป็นกับดักที่วนเวียนมาตั้งแต่ปี 2475 ก็คือการทำรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่าของคนเพียงกลุ่มน้อยที่ต้องการรักษาสถานะอำนาจและฐานะทางเศรษฐกิจของตัวเองไว้

 

เราปวารณาให้ยุติที่กับดักนี้ เพื่อที่จะไม่ต้องส่งผ่านเรื่องแบบนี้ไปสู่ลูกหลานของเรา

 

โลกปัจจุบันหมุนเร็วมาก เพียงแค่จะตามโลกให้ทันหรือรักษาสถานะให้คงไว้ เราต้องหมุนเร็วเท่าโลก ไม่พูดถึงการแซงโลก ถ้าจะพัฒนาให้ไกลกว่านี้ คุณต้องหมุนเร็วกว่าโลก เราจะต้องนำสังคมไทยกลับมาเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาอีกครั้ง

 

 

ไพบูลย์ชี้ ต้องเอาธรรมาธิปไตยมาใช้คู่กับประชาธิปไตย ยอมรับมีส่วนให้เกิดกับดัก

ไพบูลย์กล่าวว่ากับดักในนิยามของตนเองคือต้องเอาประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง

 

ขอย้อนไปที่ปี 2549 และ 2551 ซึ่งไพบูลย์บอกว่าตนเองได้เข้าไปสู่การรับรู้ทางการเมืองในฐานะวุฒิสมาชิก เข้าไปในฐานะนักการเมือง ในช่วงปี 2551 ตอนเป็น ส.ว. ครั้งแรก เจอการเคลื่อนไหวของมวลชน จนมาถึงปี 2557 เจอวาทกรรมที่บอกว่าการเมืองแบบแบ่งขั้ว คำถามคือเรียกมันว่าประชาธิปไตยหรือไม่ ชอบแบบนั้นใช่ไหม มีความชุลมุนวุ่นวายตลอด มีการกล่าวหาว่า ส.ส. ทำมาหากิน ประชาชนใช้เวลาแค่ 4 วินาทีในการตัดสินใจ นักการเมืองอ้างประชาชน อ้างประชาธิปไตย ถ้าบอกว่านั่นคือสิ่งที่เราโหยหาก็จะบอกว่าไม่เจอหรอก มันไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปเป็นแบบนั้นอีกได้ เพราะตั้งแต่ปี 2557 ได้วางกลไกไว้หมดแล้วเพื่อไม่ให้ย้อนกลับไป

 

“ผมมีความหวัง ไม่อย่างนั้นไม่มาตั้งพรรค ผมเห็นโอกาสจากวิกฤตที่เกิดขึ้นจากปี 2557 จนมีรัฐธรรมนูญปี 2560 ผมรับรู้ปัญหาในอีกมิติหนึ่ง นี่คือกลไกของการเปลี่ยนผ่านที่ไม่ย้อนไปก่อนปี 2557 ก็คือ 5 ปีแรกตามรัฐธรรมนูญตามกลไกรัฐสภาที่มี ส.ส. 250 คน

 

“ผมมีส่วนทำให้เกิดขึ้น ทั้งชุมนุม ยื่นฟ้อง ถามว่าอยากไหม ผมตอบเลยว่าไม่อยาก คนไม่เชื่อ หน้าอย่างนี้ต้องเผด็จการ อำนาจนิยม แล้วท่านก็จะไม่ฟังที่ผมพูดเลย ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นควรน้อมนำหลักธรรมาธิปไตยของพระพุทธเจ้ามาปฏิบัติด้วย”

 

ไพบูลย์มองว่าอนาคตของประชาธิปไตยจะต้องประกอบด้วยหลักธรรมาธิปไตย ให้สังคมสงบ ไม่มีความวุ่นวาย การใช้สิทธิเสรีภาพสามารถทำได้ภายใต้กฎหมาย ต้องให้สังคมไทยหลังเลือกตั้งเป็นสังคมสู่ความมีนิติรัฐที่มากขึ้น ถ้าเป็นอย่างที่ว่า เราคิดว่าประเทศไทยจะไปอย่างที่หวัง ไม่มีอะไรทำลายประเทศไทย ทุกอย่างจะเดินไปอย่างมีความหวัง ขอให้มั่นใจในความเป็นประเทศไทย

 

 

กับดักที่สำคัญคือยุทธศาสตร์ชาติ-แผนปฏิรูปดักการพัฒนา 20 ปี นำชาติสู่ความขัดแย้ง

จาตุรนต์มองอีกว่ากติกาทำให้ประเทศถอยหลังไปมาก สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไปต้องบอกว่าที่ผ่านมามีทั้งดีและมีปัญหา ระบบการจัดการทุจริตถูกแทรกแซง การเมืองจะกลับมาเหมือนเดิมไหม ในแง่การแก้ความขัดแย้งต้องบอกว่าไม่ได้สร้างองค์ความรู้หรือวิธีในการออกจากความขัดแย้ง การใช้กติกาไม่ได้ถูกปลูกฝัง

 

สำหรับการพัฒนาของการเลือกตั้งในรอบ 20 ปี เกิดการพัฒนาที่สำคัญคือประชาชนเลือกพรรคการเมืองจากนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อชาติและตนเอง แต่อนาคตสิ่งเหล่านี้อาจเกิดยากด้วยกับดักที่สำคัญคือยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูป และในอนาคตผลการเลือกตั้งที่ออกมาอาจจะไม่นำไปสู่สิ่งที่ประชาชนต้องการเมื่อ คสช. เข้ามาเป็นผู้เล่นและวางกติกาเอง

 

รัฐบาลต้องทำตาม ถ้าไม่ทำจะมีกรรมการส่วนต่างๆ คอยตรวจสอบ หากไม่ทำก็จะถูกถอดถอนโดย ป.ป.ช.

 

เขาได้วางแผนการกำหนดทิศทางล่วงหน้าประเทศไทยไปอีก 20 ปี เขาได้วางกับดักไว้แล้วอีก 20 ปี ถ้าเขาตั้งรัฐบาลได้ บ้านเมืองก็จะถูกทำให้เดินไปแบบนี้ กระบวนการการได้มาของยุทธศาสตร์เหล่านี้ ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วม ไม่ได้ในสิ่งที่ประชาชนต้องการ ยุทธศาสตร์ที่บังคับนี้จะทำให้ประเทศไทยไม่มีทางปรับตัวได้ทันกับพัฒนาการ ภาระและปัญหาจะตกกับรุ่นลูกหลาน มันปรับตัวไม่ได้ อันนี้คือสิ่งที่เกิดในอนาคตตามที่เขาวางแผนไว้

 

ระบบเลือกตั้งนิยมจะไม่กลับมา สิ่งที่ได้พัฒนามาระดับหนึ่งแล้วมันจะถูกกับดักทำให้ไปไหนไม่ได้ เมื่อจะแก้รัฐธรรมนูญก็พบว่ารัฐธรรมนูญเขียนไว้ให้แก้ไม่ได้ แก้ยาก ก็จะกลายเป็นความขัดแย้ง ไม่ได้บอกว่าจะแก้ปัญหาคนที่เห็นต่างกันอย่างไร

 

เมื่อขัดแย้งได้ ต้องแก้ได้ด้วยกติกาที่เป็นธรรม เมื่อกติกาไม่เป็นธรรมก็ต้องแก้ได้ และแก้ความขัดแย้งด้วยกติกาที่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้น นอกจากไม่ได้แก้ มันกำลังสร้างปัญหากับประเทศและคนทั้งประเทศ

 

 

ทุกกับดักข้ามได้ด้วยหลักกระบวนการและจิตวิญญาณประชาธิปไตย

อภิสิทธิ์มองว่าการย้อนอดีตต้องดูว่าเราหยิบส่วนไหนในประวัติศาสตร์มา เราก็พูดปัญหาได้ทั้งสิ้น เราไม่ได้อยากกลับไปวุ่นวายแบบที่เคยเป็นมา แต่การไปโทษว่าเพราะมีการเลือกตั้งหรือประชาธิปไตยมันไม่ถูกต้อง คำถามคืออยากกลับไปเป็นแบบพฤษภาคม 2535 ไหม รัฐธรรมนูญฉบับนี้ลอกมาจากปี 2521 สมัยพลเอก เกรียงศักดิ์ ที่ได้ผู้นำมาจากเสียงข้างน้อย ตนเองคิดว่าเราต้องมาดูว่าเราจะอธิบายหรือเลือกเอาส่วนใดมาอธิบาย

 

“ผมตั้งคุณค่าประชาธิปไตยว่ามันเป็นระบบที่คนจะได้เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเสรีภาพ การตัดสินใจบางขณะอาจเลือกคนผิด แต่คุณค่าของมันคือต้องแก้ประชาธิปไตยได้ด้วยความยินยอมพร้อมใจด้วยกัน ผมไม่เคยมองว่าการเมืองแบ่งขั้วแล้วเป็นปัญหา หลายประเทศก็เป็นแบบนี้ รุนแรงกว่าเรา คำถามคือเราอยู่ร่วมกันอย่างไรที่จะรักษาประชาธิปไตยไปพร้อมกันด้วย ที่ผ่านมามันไม่ใช่แค่ 4 วินาที ประชาชนเขามีส่วนร่วมหลายอย่างที่กำหนดทิศทางประเทศนี้ ถ้าบอกว่าประชาธิปไตยแบบเลือกตั้งมันแค่ 4 วินาที ผมว่ามันก็ยังดีกว่าระบบที่ไม่มีการเลือกตั้ง”

 

รัฐธรรมนูญ ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูป มันเป็นอุปสรรคสำหรับคนที่จะทำงานต่อไป คนที่อาสาเข้ามา ถ้ามีแผนดีกว่านี้ เสนอไปเลย และเมื่อได้รับเลือกก็ต้องทำ ถ้าเป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการ ทำอย่างไรก็แก้ได้

 

อภิสิทธิ์มองว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นกติกาถาวรไม่ได้ ยังไงก็ต้องแก้ แต่ถ้าเรากระโดดไปเลย มันจะวนกลับมาที่กับดักเดิม คือคนจะมองว่าเมื่อนักการเมืองได้รับเลือกตั้ง สิ่งแรกคือเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง เพราะฉะนั้นความขัดแย้งก็จะกลับมาแบบเดิม ต้องพิสูจน์ให้เห็นก่อนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญมันทำให้ประชาชนมีอุปสรรคอย่างไร ถึงตรงนั้นก็มาแก้กัน

 

ถ้าจะต่อสู้เรื่องรัฐธรรมนูญตั้งแต่แรกที่มาจากการเลือกตั้ง เราจะกลับไปที่กับดักเดิม ต้องมีกระบวนการของสังคม

 

ตนเองมองว่าทุกกับดักข้ามได้ด้วยหลักกระบวนการและจิตวิญญาณประชาธิปไตย มันจะเป็นการข้ามพ้นที่ยั่งยืนที่สุด

 

 

ต้องชนะในการเมืองแบบคูหา 3 ครั้งเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญของประชาชน

ธนาธรบอกว่าเหตุผลที่ตนเองลงมาทำงานการเมืองเพราะความสิ้นหวัง เพราะไม่รู้สึกเห็นทางออก เพราะความโกรธที่สังคมไทยมันพัฒนาไปข้างหน้าไม่ได้

 

ถ้าจะพาสังคมไปข้างหน้ามันต้องมีความหวัง ก้าวพ้นจากกับดัก เริ่มด้วยการเมืองจากความหวัง ถึงวันนี้ทุกคนเห็นร่วมกันว่ามันไม่มีฉันทามติในการอยู่ร่วมกัน จะเดินไปข้างหน้าต้องสร้างฉันทามติได้ ต้องผูกสร้างด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน

 

ส่วนการขอประชามติเพื่อขอแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. ซึ่งหากจะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นฉันทามติจากประชาชน ที่เป็นวิธีที่ไม่เกิดความวุ่นวาย นั่นคือต้องชนะการเลือกตั้งในคูหา 3 ครั้ง ครั้งแรกได้คะแนน 376 เสียง เมื่อได้ 376 เสียง จากนั้นจะมีการทำประชามติเพื่อขอความเห็นจากประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อนำไปสู่การตั้ง ส.ส.ร. ในการร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน

 

เลือกตั้งครั้งหน้า พรรคที่เชิดชูประชาธิปไตยต้องได้มากกว่า 376 ที่นั่ง หรือต้องชนะขาดให้ได้ ทั้งหมดนี้คือการเล่นในเกมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพื่อทำลายประชามติที่โกง 1 ครั้ง ถ้าเดินตามโรดแมปนี้ไม่มีความวุ่นวาย คุณต้องเชื่อว่านี่คือห้วงเวลาประวัติศาสตร์ที่พลังของคุณจะมีค่ามากที่สุด

 

“สิ่งที่สำคัญคือคะแนนเสียงของความคิด ถ้ามันยังทำไม่ได้ มันก็มีการเลือกตั้งครั้งหน้า และมันก็ยังอยู่ในเกม แต่กว่าจะมีการเลือกตั้งครั้งหน้า คสช. ก็ยังอยู่กับเราตั้ง 5 ปี เป็นการต่อสู้ระยะยาว มันมีโอกาสแพ้ แต่แพ้ไม่เป็นไร ผมก็อยู่สู้เพื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า”

 

 

อภิสิทธิ์มองหลังเลือกตั้ง เสียงส่วนใหญ่อยากแก้รัฐธรรมนูญ

“ผมมั่นใจว่าจำนวน ส.ส. ในสภาที่อยากแก้รัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องเกิน 375 เสียง ปัญหาใหญ่อยู่ที่วิธีเขียนว่าจะแก้อย่างไร คือต้องมี ส.ว. 1 ใน 3 เห็นชอบด้วย จะดึงตรงนี้มาอย่างไร กลไกประชามติก็แบบหนึ่ง”

 

พร้อมกล่าวเสริมว่าที่พูดก่อนหน้านี้สำคัญ เพราะไม่แน่ใจว่า ณ วันเลือกตั้งคนจะคาดหวังเรื่องอื่นมากกว่านี้หรือเปล่า การที่เราจะไปพูดว่าแก้รัฐธรรมนูญมันเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะทำให้สังคมมากับเรา จะต้องสร้างหลักประกันว่าไม่แก้เพื่อตนเอง เราต้องใช้กระบวนการนำสังคมไปดึงวุฒิสภามาด้วย

 

 

ขออย่าไปติดกับดักแก้รัฐธรรมนูญ ไปทำการเมืองให้เป็นระบบที่คิดถึงประชาชน

ไพบูลย์อธิบายว่าต่างคนต่างมีมิติประชาธิปไตยของตัวเองเป็นความสวยงาม เราต้องมองโลกในแง่ดี คิดเชิงบวก ทุกอย่างมีหนทางที่จะไป ไม่มีใครเลวสุด ดีสุด

 

การที่จะแก้รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามต้องได้รับเสียงเห็นชอบของ ส.ว. หนึ่งในสาม ถ้าท่านหาได้จึงจะไปสู่วาระอื่นๆ ซึ่งต้องมี ส.ว. หนึ่งในสามในวาระที่ 3 และพรรคฝ่ายค้านทุกพรรคต้องมีสัดส่วนการเห็นชอบจึงจะไปประชามติ การออกแบบไว้อย่างนี้แสดงว่าอยากให้รัฐธรรมนูญแก้ยาก ซึ่งตนเองไม่ได้มีปัญหาอะไรเพื่อให้มันนิ่ง เพราะของเดิมตั้งแต่วันแรกก็อยากแก้กันแล้ว ตนไม่อยากพูดเรื่องนี้ ใครอยากแก้ก็แก้ไป เรามีความหวังเราก็หวังไป

 

หลังเลือกตั้ง ถ้าเราเชื่อว่ายังมีหวัง เราก็จะได้พรรคที่มาจากความหลากหลาย หลัง 5 ปี เราได้ ส.ว. คัดสรร และขออย่าไปติดกับดักแก้รัฐธรรมนูญ ไปทำการเมืองให้เป็นระบบที่คิดถึงประชาชน

 

 

จาตุรนต์เสนอ ข้ามพ้นกับดักอย่างไร

จาตุรนต์เสนอว่ากับดักช่วงก่อนเลือกตั้งจะให้หลุดหรือทำให้กับดักนี้ไม่รุนแรงต้องกำหนดการเลือกตั้งโดยเร็ว ระบุวันมาเลย เมื่อรู้วันแน่นอน คสช. งดใช้อำนาจตามมาตรา 44 ที่จะกระทบต่อการเลือกตั้งเพื่อให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม ก่อนเลือกตั้ง 3 เดือน เสนอให้นายกฯ และคณะรัฐมนตรีลาออก ให้ปลัดกระทรวงมาทำหน้าที่แทน จากนั้นให้ใช้รัฐธรรมนูญมาตรา 169 ที่ว่าคณะรัฐมนตรีทำอะไรได้บ้าง ยกเลิกการใช้คำสั่ง คสช. ที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมและที่ไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

เพื่อป้องกันไม่ให้ คสช. สืบทอดอำนาจ พรรคเพื่อไทยจะยืนยันไม่สนับสนุนคนนอกเป็นนายกรัฐมนตรีด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อคัดค้านขัดขวางการที่ คสช. จะสืบทอดอำนาจ

 

ในเรื่องรัฐธรรมนูญ แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏิรูป พรรคการเมืองจะมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ และจะไม่ลืมหากบังเอิญได้เป็นรัฐบาล ต้องเสนอเป็นนโยบายพรรค เราจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เป็นการยากมากที่จะแก้รัฐธรรมนูญแบบที่คุณไพบูลย์บอก เพราะเขาให้เสียงข้างน้อยมีอำนาจมากกว่าเสียงข้างมากในวาระที่ 3

 

“ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูป เราเข้าใจดีว่าเราจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด แต่ก็จะชูธงแก้รัฐธรรมนูญ เพราะไม่ทำตามก็ติดคุก จะเสนอนโยบายที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และปฏิรูป เราก็จะเสนอยกเลิกแผนเหล่านั้น ระหว่างที่ยังยกเลิกไม่ได้ก็จะแก้ เราก็จะรณรงค์ให้เกิดการแก้ แต่แก้แบบไหนก็จะต้องเสนอนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาประเทศอย่างไร โดยชี้ให้เห็นว่ามีปัญหาประเทศอย่างไร ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นหลังตั้งรัฐบาลไปแล้ว”

 

 

อภิสิทธิ์เสนอ ควรเลิกการปลดหรือเลิกคำสั่ง คสช. ที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งให้ไวที่สุด

การปลดหรือเลิกคำสั่ง คสช. ที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งก็ควรเลิกให้ไวที่สุด ปัญหาต่างๆ ก็ควรยกเลิกเพื่อให้ทุกอย่างเดินได้ ต้องปลดล็อกเพื่อให้พรรคการเมืองทำงานได้

 

คสช. ต้องแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีการใช้อำนาจใดๆ ในการเข้าไปแทรกแซง กกต. ในการจัดการเลือกตั้ง

 

“คนที่เขียนรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขามีเจตนาว่า คสช. จะไม่มายุ่งกับการเมืองหลังเลือกตั้ง ใครอยู่ ครม. หรือ คสช. ชุดนี้ ถ้าจะลงเลือกตั้งต้องลาออกใน 90 วันหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งมีการบอกว่าไม่มีใครลง ส.ส. แต่มีชื่ออยู่ในบัญชีเลือกนายกฯ ตรงนี้ คสช. ช่วยชัดเจนกับประชาชน ประกาศตัวมาให้ชัด แต่ต้องแข่งขันอย่างเป็นธรรม ถ้าท่านไม่เท่าเทียมกับคนอื่น ไม่ต้องพูดเรื่องธรรมาภิบาลหรือธรรมาธิปไตย เพราะสอบตกหมด วุฒิสภาจะมาฝืนความตั้งใจของเจตนารมณ์ประชาชนที่เลือก ส.ส. มาไม่ได้”

 

พร้อมย้ำว่าพรรคประชาธิปัตย์จะทำตามรัฐธรรมนูญ ทำตามกฎหมาย แต่เราก็จะเสนอนโยบายควบคู่กันไป

 

เป้าหมายที่เรามองเห็นว่าอยากเดินไปวันนี้มันตรงกันคือมองประชาธิปไตย ให้ประชาชนเป็นคนชี้ทิศทางประเทศ มันต่างกันแค่ว่าแล้วอะไรจะเป็นความขัดแย้งหรือไม่เป็นความขัดแย้ง มันสำคัญที่ท่าทีด้วย การเดินไปสู่เป้าหมาย เราต้องเรียนรู้บทเรียน การพูดรวมว่าทั้งฉบับมันก็มีประเด็นว่าคุณยอมรับกฎเกณฑ์อื่นๆในรัฐธรรมนูญไหม เช่น การแก้คอร์รัปชัน องค์กรอิสระต่างๆ เป็นต้น

 

 

ธนาธรยืนยัน แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยประชาชนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องผ่านประชามติ ใช้เป็นเครื่องมือหาฉันทามติ เราจะไม่พูดเรื่องแก้รายมาตรา เราจะแก้ทั้งฉบับ และการเมืองคือการเอาชนะกันทางความคิด ปัจจัยที่ชี้ขาดคือประชาชนทุกคน ถ้าเราติดกับดักทางเทคนิคจะไม่มีทางทำอะไรได้เลย

 

 

ไพบูลย์มองเห็นแต่อนาคตที่ดี มีความหวัง ให้ทนกับดักไปก่อน 5 ปี

“ผมเห็นแต่อนาคตที่ดี ท่านอย่าไปคิดอะไรให้มาก ท่านต้องมีความหวัง อย่าไปมองความมืดมน เราจะเข้าสู่โหมดนิติรัฐ มองด้านบวกบ้าง อนาคตของประชาธิปไตยไม่ได้มีรูปแบบเดียว

 

“ผมอยากจะสร้างสิ่งที่ผมอยากทำ เพิ่มอำนาจให้กับประชาชน ผมจะไปเพิ่มทีละจังหวัด ผมจะให้ประชาชนมีส่วนร่วมสร้างอำนาจให้ตัวเอง ตรวจสอบ ดูแลตัวเอง ทำจากเล็กไปใหญ่ เริ่มต้นจากประชาธิปไตยแท้จริงจากในพรรค ไม่ใช่พูดแต่ข้างบน เข้าสู่โหมดปฏิรูป เปลี่ยนแปลงประเทศ ได้พรรคการเมืองที่ดีขึ้น ไม่มีพรรคไหนเลวลง อนาคตข้ามได้ กับดักทั้งหลาย ทนไป 5 ปี แล้วท่านจะรู้สึกชอบ ผมจะไม่ออกไปสร้างความขัดแย้ง ผมจะทำตามกฎหมาย”

 

 

อภิสิทธิ์บอก สังคมต้องแสดงเจตนาตัวเองให้ชัดว่าต้องการอะไร

สังคมต้องแสดงเจตนาของตัวเองให้ชัด ปัจจุบันทำได้หลากหลายรูปแบบ ถ้าสังคมทำตรงนี้ มันจะชัดเจนที่สุดว่าเราต้องการให้เขานำพาประเทศไปอย่างไร ถ้าเขาไม่ทำ เขากำลังสร้างความเสี่ยงให้กับประเทศ มันก็คือการสร้างความขัดแย้งรอบใหม่ สิ่งที่เขาบอกว่าจะมาแก้ตรงนี้ก็คือความล้มเหลว นี่คือสิ่งที่ คสช. ต้องกลับไปพิจารณา

 

เงื่อนไข 5 ปีข้างหน้ากับ 4 ปีที่ผ่านมาไม่เหมือนกัน 4 ปีที่ผ่านมา เราคนไทยยอมทนหลายเรื่อง พร้อมที่ยอมรับความสงบระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องการเห็นสิ่งที่ดีขึ้น ผมไม่คิดว่าเขาจะรอได้อีก 4 ปี เพราะ 4 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจสงบกว่าการเมืองอีก

 

ประชามติ ตนเองไม่แน่ใจว่าจะนำมาซึ่งฉันทามติ อยากให้ดูอังกฤษเป็นตัวอย่าง แต่ฉันทามติสำคัญกว่า เพราะมันคือความไว้เนื้อเชื่อใจ ตนคิดว่าการไปพูดว่าแก้ทั้งฉบับมันก็จะมีคนหวาดเกรงว่าเราจะไปเหมารวมเรื่องอื่นไหม

 

เรามีความหวังว่าประชาธิปไตยจะเป็นความถดถอยชั่วคราว เพราะมันไม่ราบรื่นเรียบร้อยทั้งหมดหรอกครับ มันเป็นสิ่งที่ต้องน้อมรับและทำความเข้าใจกับคนทั้งประเทศให้ได้ แต่มันคือหลักประกันของคนทั้งประเทศว่าเรามีศักดิ์ศรี เราเขียนอนาคตได้ แม้จะเขียนผิดบ้าง แต่เราก็สามารถเขียนมันได้ครับ

 

 

จาตุรนต์บอก คนรุ่นใหม่จะรับภาระประเทศหนักสุด

ที่พูดทั้งหมดนี้ คนที่จะรับภาระหนักสุดคือคนรุ่นใหม่ในวันนี้ รุ่นปัจจุบันก็รับภาระไปตามอายุขัยของตัวเอง เขาจะเข้าใจและแสดงพลังออกมา ไม่ได้หมายความว่าเป็นพลังแบบที่คุณไพบูลย์เคยแสดงออกมา (ไปชุมนุม) ตนเองยังมีความหวังว่าเราจะสามารถก้าวไปสู่สังคมที่มีการพัฒนาก้าวหน้าได้ต่อเนื่อง อยู่ดีกินดี อยู่ร่วมกันอย่างมีสันติสุข มีกติกาที่เป็นธรรม ใช้วิธีแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่แตกต่าง ประชาธิปไตยไม่ควรเป็นแค่วิธีการที่สำคัญ แต่ควรเป็นจุดหมายที่สำคัญด้วย

 

 

ไพบูลย์ส่งสารถึงคนรุ่นใหม่ อย่าตกเป็นเครื่องมือให้ใครมาปลุกปั่น

อยากให้คนรุ่นใหม่พยายามทำความเข้าใจ เรียนรู้ว่าเราอย่าตกเป็นเครื่องมือของใครหรือให้ใครมาปลุกปั่น ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็น เรามีความคิดเห็นที่ต่าง ที่แลกเปลี่ยนกัน เข้าใจกันได้ เริ่มต้นจากส่วนที่เป็นอยู่ ต้องเข้าไปเป็นประชาธิปไตยทางตรง เข้าไปร่วมในส่วนที่ท่านร่วมอยู่ ต้องทำในระดับที่ใกล้ชิดกับตัวเอง ถ้าท่านทำ ท่านก็ช่วยประเทศได้แล้ว

 

 

อภิสิทธิ์มองคะแนนเสียงคนรุ่นใหม่เป็นตัวแปรสำคัญ

คะแนนเสียงของคนรุ่นใหม่จะมีโอกาสเป็นตัวแปรมากที่สุดที่จะมีผลต่อความเปลี่ยนแปลง ที่จะก้าวพ้นกับดักต่างๆ ในอดีตหลายเรื่อง มันจะไม่หลุดพ้นจนกว่าจะมีคนอีกรุ่นหนึ่งมาช่วยกรุยทางออก และขอตระหนักถึงความเป็นไปได้ที่จะเขียนถึงอนาคตที่ดีกว่าอย่างไร

 

 

ธนาธรขอคนรุ่นใหม่ อย่ายอมจำนนต่อความยุติธรรม

ธนาธรปิดท้ายว่า ส่วนตัวงงว่าคนที่เชิดชูการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างกลับไม่พูดถึงการดำเนินคดีกับคนที่เห็นต่างกับ คสช. ไปแสดงความคิดเห็นว่าอยากเลือกตั้ง แต่ติดคุก นี่คือต้นทุนของประเทศ สิทธิเสรีภาพของประชาชนคือต้นทุนของประเทศ

 

กับดักเรื่องวาทกรรมความวุ่นวาย การชุมนุมบนถนนไม่ใช่ความวุ่นวาย เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทุกประเทศทั่วโลกมีหมด การชุมนุมเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานซึ่งไม่เท่ากับความวุ่นวาย เราต้องไม่ติดกับดักมัน บ้านเมืองเดินไปข้างหน้าอย่างสงบสุขได้ ถึงแม้จะมีการชุมนุมไปพร้อมกัน เราถูกชนชั้นนำทำให้เชื่อว่านั่นคือความขัดเเย้ง

 

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นคือมีคนพยายามผลักดันให้ประเทศไปสู่ทางตัน ให้ทหารออกมา

 

กับดักเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตยมีการทุจริตคอร์รัปชัน แต่สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์มาแล้วว่ายิ่งมีประชาธิปไตย การคอร์รัปชันน้อยลง มันทำให้นักการเมืองดูเลว เราจึงต้องอัดฉีดประชาธิปไตย ความโปร่งใส ความยึดโยงประชาชนต่างหากจึงจะแก้

 

และ 3 อย่างที่คนก่อนหน้าไม่มีคือ

 

  1. เทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้เราเข้าถึงคนหมู่มากได้โดยไม่ต้องผ่านช่องทางแบบเดิม
  2. สังคมปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์มืดมิดถึงขีดสุด ประชาชนเอือมระอาเต็มที
  3. เราอยู่ในยุคสมัยใหม่ที่การเคลื่อนตัวของโลกไปเร็วกว่าสิ่งที่พยายามฉุดรั้งให้สังคมล้าหลัง

 

การเปลี่ยนแปลงสังคมครั้งนี้ต้องทำให้การรัฐประหารเป็นอดีต ไม่เกิดอีกในอนาคต ไม่ให้เกิดขึ้นอีก เดินหน้าต่อไป และต้องไม่ยอมจำนนต่อความอยุติธรรม

 

กับดักเป็นเพียงอุปสรรคที่จะก้าวพ้นไปด้วยกัน เราจะร่วมกันเขียนอนาคตที่เป็นไปได้ไปพร้อมกัน

The post 4 ผู้นำพรรคการเมืองมองอนาคตประชาธิปไตยไทย: ข้ามพ้น กับดัก ความหวัง? appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/democrat-pheu-thai-future-forward-peoples-reform-heads-debate-democracy/feed/ 0