คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 25 Dec 2023 10:46:12 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ภูมิธรรมเตรียมเสนอนายกฯ-ครม. จัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.ค. 67 สอบถามแค่ 1 ข้อ ไม่แตะหมวด 1 และ 2 https://thestandard.co/phumtham-referendum-constitution-jan-67/ Mon, 25 Dec 2023 10:46:12 +0000 https://thestandard.co/?p=880849 ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (25 ธันวาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี แล […]

The post ภูมิธรรมเตรียมเสนอนายกฯ-ครม. จัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.ค. 67 สอบถามแค่ 1 ข้อ ไม่แตะหมวด 1 และ 2 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (25 ธันวาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการจัดทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงผลการประชุมครั้งที่ 3 ว่า ที่ประชุมมีมติจะเสนอนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ และอนุกรรมการทั้ง 2 ชุด ภายในเดือนมกราคม 2567 โดยจะจัดทำเป็นเอกสารเสนอให้ตัดสินใจเกี่ยวกับการตั้งคำถามประชามติเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งแรก หลังรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนกลุ่มอาชีพต่างๆ 

 

โดยคำถามที่พิจารณาร่วมกันแล้วคือ “ท่านเห็นชอบหรือไม่ที่จะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่แก้ไขหมวด 1 บททั่วไป หมวด 2 พระมหากษัตริย์” ซึ่งคาดว่าจะเริ่มถามได้ภายในเดือนมกราคม 2567 และจะทำประชามติทั้งหมด 3 ครั้ง

 

ทั้งนี้ ครั้งที่ 2 จะเกี่ยวกับวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256 (8) ซึ่งจะมีการสอบถามที่มาของสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) และองค์ประกอบอื่น ส่วนครั้งที่ 3 จะทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างเสร็จแล้ว และคาดว่าจะมีการจัดทำประชามติเฉลี่ยปีละ 1 ครั้ง ก็น่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดในรัฐบาลชุดนี้

 

ส่วนงบประมาณจะใช้งบกลาง แต่ขอทุกฝ่ายอย่ากังวล โดยจะใช้งบอย่างประหยัดที่สุด

The post ภูมิธรรมเตรียมเสนอนายกฯ-ครม. จัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.ค. 67 สอบถามแค่ 1 ข้อ ไม่แตะหมวด 1 และ 2 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทำไมถึงมีข้อกังวลว่าประชามติอาจ ‘ตกม้าตาย’ ไปไม่ถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ https://thestandard.co/why-referendum-may-fail/ Wed, 15 Nov 2023 06:29:50 +0000 https://thestandard.co/?p=865910

การเดินหน้าสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มีการร่า […]

The post ทำไมถึงมีข้อกังวลว่าประชามติอาจ ‘ตกม้าตาย’ ไปไม่ถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

การเดินหน้าสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปิดทางให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น เป็นไปอย่างต่อเนื่องภายใต้ 2 อนุกรรมการของคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

 

หนึ่งในประเด็นที่มีความกังวลและเป็นข้อถกเถียงคือเรื่องการทำประชามติ ซึ่งก่อนที่จะไปถึงการถกเถียงจำนวนครั้งและคำถามประชามติ สิ่งที่เป็นข้อกังวลคือจำนวนผู้ออกเสียงประชามติที่อาจไม่เพียงพอกับที่กฎหมายกำหนดไว้

 

ทำไมถึงมีความกังวลเช่นนั้น

 

“การทำประชามติครั้งแรก ประชาชนอาจตื่นตัวออกมาใช้สิทธิ เพราะมองว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

 

“แต่การทำประชามติครั้งที่ 2 ที่มีการแก้ไขมาตรา 256 ซึ่งหากตรงกับการเลือกตั้งนายก อบจ. ที่จะเกิดขึ้นในต้นปี 2568 อาจเป็นตัวเร่งประชาชนได้ แต่ก็เกรงว่าจะตกม้าตายตรงที่ประชาชนออกมาไม่ครบตามเงื่อนไข ดังนั้นประเด็นนี้จึงน่ากังวล”

 

นิกร จำนง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เปิดเผยถึงความกังวลของตนเองผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายนที่ผ่านมา 

 

เมื่อพลิกบทบัญญัติกฎหมายประชามติที่จะใช้คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 ซึ่งกำหนดเงื่อนไขของการออกเสียงประชามติที่จะเป็นข้อยุติได้ ดังนี้ 

 

  • ต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง
  • มีจำนวนเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ

 

ดังนั้น จึงมีข้อกังวลว่าการใช้เสียงส่วนใหญ่สองชั้น หรือ Double Majority อาจทำให้เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ถึงฝั่งฝัน

 

 

นักวิชาการ ‘หนักใจ’

 

รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย ในฐานะคณะกรรมการฯ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนว่า “ตอนนี้ที่หนักใจคือเรื่องของการทำประชามติ เพราะมีกฎหมายประชามติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งต้องใช้เสียงข้างมากสองชั้น”

 

ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดเรื่องการรณรงค์ให้มีการโนโหวต นั่นคือการให้อยู่บ้าน ไม่ออกมาใช้สิทธิ ทำให้เสียงประชามติไม่ถึงกึ่งหนึ่ง และตกม้าตายไปตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลย มันมีโอกาสเป็นไปได้ 

 

แต่ถ้าเสียงขั้นตอนแรกเกินกึ่งหนึ่ง ขั้นตอนที่สองก็เกินกึ่งหนึ่งอีก กระบวนการทำประชามติก็จะได้รับความเห็นชอบต่อไป

 

ต้องแก้กฎหมายประชามติหรือไม่?

 

นิกรระบุว่า หากมีปัญหาขึ้นจริงอาจต้องแก้ไขกฎหมายประชามติเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักเกณฑ์ที่เห็นชอบ 

 

แต่คณะอนุกรรมการรับฟังความเห็นฯ คงไม่รอ จะดำเนินการไปตามกฎหมายที่มีอยู่ก่อน และให้เป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎรไปดำเนินการแก้ไข เชื่อว่าการแก้ไขเพียงไม่กี่มาตราจะใช้เวลาไม่นาน ซึ่งน่าจะทันกัน

 

ส่วน รศ.ดร.ยุทธพร ระบุว่า มีโอกาสที่จะต้องทำอย่างนั้น คือการแก้ไขกฎหมายประชามติก่อน เพื่อทำให้โอกาสของการทำประชามติเป็นไปได้ 

 

ส่วนแนวทางแก้ไขมี 2 ทางคือ ทำให้เหลือเสียงข้างมากชั้นเดียว กับเสียงข้างมากยังเป็นสองชั้นอยู่ แต่ในชั้นที่สองอาจจะลดสัดส่วนลงมา

 

ขณะที่ ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ชี้แจงท่าทีพรรคก้าวไกลต่อเรื่องนี้ว่า หากมีความกังวลก็ควรแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติฯ อย่างรวดเร็วเร่งด่วน เพื่อยกเลิกหรือปรับปรุงวิธีการเขียนเงื่อนไขเรื่องนี้ และคณะอนุกรรมการฯ และกรรมการชุดใหญ่น่าจะหาข้อยุติในประเด็นนี้ได้ก่อน 

 

เพราะถ้าได้ข้อยุติร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลก็สามารถร่วมมือกันเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประชามติฯ ได้ทันทีที่สภาเปิดในเดือนหน้า เพื่อไม่ให้กระทบต่อกรอบเวลาในการจัดทำประชามติ

 

ภาพประกอบ: พรวลี จ้วงพุฒซา

The post ทำไมถึงมีข้อกังวลว่าประชามติอาจ ‘ตกม้าตาย’ ไปไม่ถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภูมิธรรมเผย 2 คณะอนุกรรมการแก้รัฐธรรมนูญ หากนายกฯ ​เห็นชอบเริ่มทำงานได้ทันที https://thestandard.co/phumtham-reveals-2-sub-committees/ Mon, 16 Oct 2023 04:00:01 +0000 https://thestandard.co/?p=855027 คณะอนุกรรมการแก้รัฐธรรมนูญ

วันนี้ (16 ตุลาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภูมิธรรม เวชยชัย รอ […]

The post ภูมิธรรมเผย 2 คณะอนุกรรมการแก้รัฐธรรมนูญ หากนายกฯ ​เห็นชอบเริ่มทำงานได้ทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
คณะอนุกรรมการแก้รัฐธรรมนูญ

วันนี้ (16 ตุลาคม) ที่ทำเนียบรัฐบาล ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ กล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการตั้งคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็นคือ นิกร จำนง ส่วนคณะอนุกรรมการศึกษาการจัดทำประชามติคือ วุฒิสาร ตันไชย โดยในวันนี้จะมีการนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรี หากได้รับการเห็นชอบสามารถลงนามภายในวันนี้และเริ่มดำเนินการได้เลย ซึ่งทั้ง 2 คณะอนุกรรมการพร้อมที่จะทำงานอยู่แล้ว

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าคณะกรรมการชุดใหญ่จะมีการดำเนินการอย่างไร ภูมิธรรมกล่าวว่า มีการตกลงว่าจะมีการประชุมเดือนละครั้ง ส่วนคณะอนุกรรมการไม่ได้มีกำหนดเวลา สามารถทำงานตามความคล่องตัวและคุยได้เดือนละหลายๆ ครั้ง แต่ต้องเร่งรีบ เพราะมีการกำหนดไทม์ไลน์ทั้งหมดไว้แล้ว ส่วนฐานการประชุมก็เป็นไปตามที่มีการตกลง

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงแนวโน้มการทำประชามตินั้น ภูมิธรรมกล่าวว่า ขอให้คณะอนุกรรมการชุดนี้ได้ทำงานก่อน

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกระแสการคัดค้านนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ภูมิธรรมกล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้าน แต่รัฐบาลก็นำมารับฟัง นำมาวิเคราะห์ นำมาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตามที่อยู่ในเงื่อนไข โดยไม่เสียหลักการ รวมถึงไม่กระทบความเชื่อมั่นรัฐบาล เพราะเราจะเดินหน้าทำงาน ส่วนรายละเอียดที่จะปรับปรุงจะตรงตามข้อเสนอแนะหรือไม่นั้น ต้องไม่ผิดหลักการที่เราใช้เงินส่วนนี้กระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่กำลังยากลำบาก

 

เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงเป้าหมายของนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตยังคงเริ่มได้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ตามที่นายกรัฐมนตรีระบุใช่หรือไม่ ภูมิธรรมกล่าวว่า เป็นไปตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้ระบุไว้

The post ภูมิธรรมเผย 2 คณะอนุกรรมการแก้รัฐธรรมนูญ หากนายกฯ ​เห็นชอบเริ่มทำงานได้ทันที appeared first on THE STANDARD.

]]>
คณะกรรมการศึกษาทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ตั้ง 2 อนุกรรมการฟังความเห็น-ศึกษาแนวทางทำประชามติ หลังหาข้อสรุปจำนวนครั้งประชามติไม่ได้ https://thestandard.co/referendum-2-subcommittees-appointed/ Tue, 10 Oct 2023 09:34:44 +0000 https://thestandard.co/?p=853058

วันนี้ (10 ตุลาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ […]

The post คณะกรรมการศึกษาทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ตั้ง 2 อนุกรรมการฟังความเห็น-ศึกษาแนวทางทำประชามติ หลังหาข้อสรุปจำนวนครั้งประชามติไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (10 ตุลาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พร้อม นิกร จำนง ในฐานะเลขาธิการ คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ แถลงผลการประชุมนัดแรก 

 

นิกรกล่าวว่า ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อทำให้ประชาชนมีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น และเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นต่างต่อรัฐธรรมนูญโดยยึดรูปแบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยหลักการคือให้ทุกภาคส่วนมามีส่วนร่วมกันให้มากที่สุดในเรื่องการทำประชามติในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะทำประชามติกี่ครั้ง อาจจะ 2 หรือ 3 ครั้ง ซึ่งขณะนี้มีความคิดเห็นอยู่ 2 ทาง จะต้องศึกษารายละเอียดเชิงข้อกฎหมายคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีมาก่อนหน้านี้ และต้องอยู่ภายใต้กรอบคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญและกลไกของรัฐสภา

 

นิกรกล่าวต่อว่า คณะกรรมการฯ จะมีการศึกษาร่างรัฐธรรมนูญของพรรคการเมืองและภาคประชาชนที่เสนอค้างอยู่ในสภา และศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และปี 2550 มาเทียบด้วย โดยใช้ข้อมูลจากการศึกษาจากคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดของพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ได้ศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ในสภามาประกอบ

 

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 2 คณะ คณะแรก มีอำนาจให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มอาชีพต่างๆ อย่างกว้างขวาง โดยใช้ระยะเวลาที่จำกัด และคณะที่ 2 เรื่องการกำหนดการทำประชามติว่ากี่ครั้ง เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจากภาษีของประชาชน จึงต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง โดยให้รัฐบาลตัดสินใจ คณะอนุกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ศึกษาแนวทางการทำประชามติให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 

 

สำหรับการจัดตั้งคณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ โดยคณะกรรมการชุดใหญ่จะประชุมเดือนละ 1 ครั้ง และภาคปฏิบัติจะเป็นคณะอนุกรรมการเป็นผู้ขับเคลื่อนการทำงานคู่ขนานเพื่อนำมารวมกันอีกครั้ง

 

ขณะที่ภูมิธรรมกล่าวว่า รัฐบาลเรามีความชัดเจนในการจัดทำรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ยืนยันว่าไม่ทำให้ล่าช้า ใช้เวลาเท่าที่จำเป็น โดยภายใน 3 วันนี้จะตั้งคณะอนุกรรมการให้เสร็จ เมื่อมีคำสั่งออกมาก็สามารถปฏิบัติงานได้เลย พร้อมตั้งเป้าประมาณการเบื้องต้นว่า ภายในสิ้นเดือนธันวาคมจะต้องมีข้อสรุปจบให้ได้  

 

โดยย้ำว่าต้องร่างรัฐธรรมนูญให้เสร็จใน 4 ปี ออกกฎหมายลูกให้ชัดเจนและสามารถที่จะใช้กติกาใหม่ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปได้ ที่สำคัญจะใช้ห้วงเวลาทั้งหมดที่มีทำให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยให้ได้มากขึ้น เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายประชาธิปไตยเกิดขึ้นจริง คาดว่าจะทำประชามติได้ไม่เกินไตรมาสแรกของปีหน้า  

 

ทั้งนี้ จะต้องสอบถามศาลรัฐธรรมนูญก่อนหรือไม่ ก่อนจะทำประชามติ เพื่อไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญ นิกรกล่าวว่า น่าจะมีคนยื่นร้องศาลรัฐธรรมนูญเรื่องการทำประชามติครั้งนี้อย่างแน่นอน และครั้งนี้เชื่อมั่นว่าต้องผ่าน เนื่องจากมีการเรียนรู้จากครั้งก่อนแล้ว อีกเรื่องหนึ่งคือการดำเนินการภายใต้รัฐสภา ซึ่งข้อบังคับการอยู่ภายใต้วุฒิสมาชิกจะคิดเห็นอย่างไร ต้องมีการประสานกันตามสมควร ซึ่งไม่ใช่ยึดแค่ศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียว ต้องพูดคุยกันในวุฒิสภาด้วย จึงเป็นต้นเหตุที่จะต้องตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาในเรื่องนี้โดยละเอียด โดยต้องทำให้รอบคอบมากที่สุด สิ่งไหนที่เป็นปัญหาเราจะแก้ไขและให้ผ่านให้ได้ ซึ่งคณะกรรมการตั้งใจที่จะทำงานนี้ให้สำเร็จ

The post คณะกรรมการศึกษาทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ตั้ง 2 อนุกรรมการฟังความเห็น-ศึกษาแนวทางทำประชามติ หลังหาข้อสรุปจำนวนครั้งประชามติไม่ได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นับหนึ่งกรรมการศึกษาทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ยึดหลักไม่แตะหมวด 1-2 และพระราชอำนาจ ก่อนเข้าคูหาครั้งแรกต้นปี 67 https://thestandard.co/count-one-of-amending-the-constitution/ Tue, 10 Oct 2023 08:01:05 +0000 https://thestandard.co/?p=852957 ภูมิธรรม เวชยชัย

วันนี้ (10 ตุลาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และ […]

The post นับหนึ่งกรรมการศึกษาทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ยึดหลักไม่แตะหมวด 1-2 และพระราชอำนาจ ก่อนเข้าคูหาครั้งแรกต้นปี 67 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ภูมิธรรม เวชยชัย

วันนี้ (10 ตุลาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเป็นการประชุมครั้งแรกหลังได้รับการแต่งตั้งจากนายกรัฐมนตรี

 

ภูมิธรรมได้กล่าวกับคณะกรรมการฯ ในที่ประชุมว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นที่จับตาและได้รับความสนใจจากสื่อและประชาชนจำนวนมาก โดยเฉพาะระยะเวลาและกรอบการทำงาน ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญและสนใจกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก จึงมอบหมายให้ตนมาเป็นประธาน และเชิญตัวแทนพรรคการเมืองมาร่วมพูดคุย เพื่อไม่ให้เป็นปัญหาหรือถกเถียงกันว่าเป็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน จากเดิมที่ได้เชิญสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) จำนวนหนึ่งเพราะถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชน และพรรคการเมืองที่เสนอเข้ามา และคิดว่าเป็นกรรมการศึกษาที่จะทำประโยชน์เรื่องรัฐธรรมนูญและทำหน้าที่ในสภา มีหน้าที่พิจารณากฎหมายอยู่แล้ว แต่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาทักท้วงจึงถอดรายชื่อ สส. ออก เพราะถ้าหากนั่งตกกิ่งกับเรื่องนี้ก็จะเป็นการเสียเวลา และให้แต่ละพรรคเพิ่มบุคลากรของตัวเองเข้ามา จนตอนนี้ไม่มีข้อถกเถียงและสงสัย และจะเริ่มต้นทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ 

 

โดยการทำประชามติ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้จะยึดเอาจุดยืนนั้นเป็นหลัก และสำคัญที่สุดคือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่แตะหมวด 1 และหมวด 2 รวมถึงไม่แตะพระราชอำนาจ แล้วต้องจบภายใน 4 ปีซึ่งเป็นวาระของรัฐบาล และทำให้รัฐธรรมนูญผ่านประชามตินำไปใช้จริงให้ได้

 

สำหรับการนัดประชุมร่วมกันเป็นครั้งแรกในวันที่ 10 ตุลาคม เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล มีกรรมการฯ เข้าร่วมการประชุมครบตามจำนวนที่ได้รับการแต่งตั้ง อย่างไรก็ตาม บางส่วนเข้าประชุมผ่านระบบออนไลน์ โดยคาดว่าจะประชุมเพื่อวางกรอบต่างๆ ในการทำประชามติ เช่น เรื่องของคำถามว่าจะถามกันอย่างไร และต้องกำหนดว่าจะทำประชามติกี่ครั้ง ทั้งนี้ ตามกรอบทั่วไปจะพยายามให้มีการทำประชามติครั้งแรกช่วงต้นปี 2567

 

The post นับหนึ่งกรรมการศึกษาทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ยึดหลักไม่แตะหมวด 1-2 และพระราชอำนาจ ก่อนเข้าคูหาครั้งแรกต้นปี 67 appeared first on THE STANDARD.

]]>
เปิดโฉมหน้าคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ แก้ไขความเห็นต่างรัฐธรรมนูญ 2560 https://thestandard.co/constitutional-amendment-study-committee/ Tue, 03 Oct 2023 10:57:19 +0000 https://thestandard.co/?p=850064 คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

วันนี้ (3 ตุลาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และร […]

The post เปิดโฉมหน้าคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ แก้ไขความเห็นต่างรัฐธรรมนูญ 2560 appeared first on THE STANDARD.

]]>
คณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

วันนี้ (3 ตุลาคม) ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เปิดเผยว่า ในวันนี้ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 ตุลาคม ให้ตั้งคณะกรรมการจำนวน 35 คน

 

อย่างไรก็ตาม จะมีการประชุมนัดแรกในวันอังคารที่ 10 ตุลาคมนี้ ส่วนกรอบระยะเวลาเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถหาข้อสรุปการทำประชามติได้ก่อนสิ้นปี 2566 และตั้งเป้าหมายสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่เกิน 4 ปี หรือเร็วกว่านั้น โดยการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไม่มีการแก้ไขในส่วนของหมวด 1 และ 2

 

 

  1. ภูมิธรรม เวชยชัย ประธานคณะกรรมการฯ
  2. ชูศักดิ์ ศิรินิล รองประธานคนที่ 1
  3. กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ รองประธานคนที่ 2
  4. นิกร จำนง 
  5. พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง
  6. พิชิต ชื่นบาน
  7. พล.อ. ชัชวาลย์ ขำเกษม 
  8. พล.ต.อ. สุเทพ เดชรักษา
  9. พล.ต.อ. วินัย ทองสอง
  10. สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์
  11. ศุภชัย ใจสมุทร 
  12. วิรัตน์ วรศสิริน
  13. วิภูแถลง พัฒนภูมิไท
  14. วิเชียร ชุบไธสง
  15. วัฒนา เตียงกูล
  16. ยุทธพร อิสรชัย
  17. ไพบูลย์ นิติตะวัน 
  18. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
  19. พงศ์เทพ เทพกาญจนา
  20. ประวิช รัตนเพียร
  21. นพดล ปัทมะ
  22. ธนกร วังบุญคงชนะ
  23. ธงชัย ไวยบุญญา
  24. เทวัญ ลิปตพัลลภ
  25. เดชอิศม์ ขาวทอง
  26. ฐากร ตัณฑสิทธิ์
  27. ชาติพงษ์ จีระพันธุ
  28. ชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์
  29. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี
  30. ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ 
  31. ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
  32. ผู้แทนพรรคก้าวไกล
  33. ธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส กรรมการและเลขานุการ
  34. นพดล เภรีฤกษ์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
  35. ชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

 

ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล

The post เปิดโฉมหน้าคณะกรรมการศึกษาแนวทางทำประชามติ แก้ไขความเห็นต่างรัฐธรรมนูญ 2560 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ก้าวไกลยินดีให้ข้อเสนอแนะ แต่ยังไม่เข้าร่วมคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติแก้ รธน. เหตุไม่ยืนยันร่างใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. จากการเลือกตั้ง https://thestandard.co/mfp-constitutional-amendment-committee/ Tue, 03 Oct 2023 09:31:53 +0000 https://thestandard.co/?p=849978

วันนี้ (3 ตุลาคม) ที่ประชุม สส. ของพรรคก้าวไกลมีมติไม่ส […]

The post ก้าวไกลยินดีให้ข้อเสนอแนะ แต่ยังไม่เข้าร่วมคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติแก้ รธน. เหตุไม่ยืนยันร่างใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. จากการเลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (3 ตุลาคม) ที่ประชุม สส. ของพรรคก้าวไกลมีมติไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการในคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยรายละเอียดระบุว่า

 

สืบเนื่องจากที่รัฐบาลมีมติให้ตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติฯ เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีการเชิญตัวแทนของทุกพรรคการเมือง รวมถึงพรรคก้าวไกล มาร่วมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการที่มีรวมกันทั้งหมด 35 รายชื่อ ที่ประชุม สส. ของพรรคก้าวไกลมีมติดังต่อไปนี้

 

  1. พรรคก้าวไกลมีจุดยืนที่ชัดเจนมาโดยตลอด ในการสนับสนุนให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนทั้งหมด โดยไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ เพื่อให้ประเทศมีกติกาสูงสุดของประเทศที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย

 

  1. พรรคก้าวไกลเสนอว่ากระบวนการดังกล่าวควรเริ่มต้นจากการจัดประชามติ เพื่อสอบถามประชาชนด้วยคำถามว่า

 

“ท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนทั้งหมด โดยไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ”

 

  1. พรรคก้าวไกลขอบคุณทางรัฐบาลที่ให้เกียรติตัวแทนพรรคไปร่วมเป็นกรรมการ ทางพรรคพร้อมสนับสนุนการทำงานของรัฐบาลที่สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว โดยพรรคยินดีให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูล ความเห็น และข้อเสนอของพรรค ต่อคณะกรรมการหากคณะกรรมการมีความประสงค์ แต่ ณ เวลานี้ พรรคก้าวไกลขอสงวนสิทธิในการไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการ

 

  1. เหตุผลที่พรรคมีมติดังกล่าว เพราะพรรคยังไม่ได้รับความชัดเจนจากรัฐบาลเกี่ยวกับเป้าหมายหรือกรอบในภาพใหญ่ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการชุดนี้จะยึดถือ โดยเฉพาะจุดยืนในการสนับสนุน

 

  • การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
  • การจัดทำโดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนทั้งหมด

 

  1. สองจุดยืนดังกล่าวเป็นหลักการพื้นฐานที่พรรคก้าวไกลมองว่ามีความสำคัญต่อการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย ทั้งที่มา-กระบวนการ-เนื้อหา เป็นที่ยอมรับของประชาชนทุกฝ่าย และสะท้อนฉันทมติใหม่ของสังคมที่โอบรับทุกความเห็นที่แตกต่างหลากหลายของประชาชนผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ

 

  1. หากในอนาคต ทางรัฐบาลยืนยัน หรือทางคณะกรรมการศึกษาฯ ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะเดินหน้าภายใต้ 2 จุดยืนดังกล่าว พรรคก้าวไกลจะยินดีให้ตัวแทนพรรคเข้าร่วมประชุมในฐานะกรรมการ เพื่อทำงานร่วมกันในการหาข้อสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องแนวทางการทำประชามติ (เช่น จำนวนครั้ง กรอบเวลา คำถาม) และแนวทางด้านอื่นๆ (เช่น จำนวน สสร. กรอบเวลาทำงานของ สสร.)

 

  1. พรรคก้าวไกลยืนยันว่า เป้าหมายของการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ใช่แค่เพียงการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ต้องเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย โดยพรรคก้าวไกลหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลและคณะกรรมการจะได้ข้อสรุปโดยเร็วในการเดินหน้าสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดย สสร. ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนทั้งหมด

The post ก้าวไกลยินดีให้ข้อเสนอแนะ แต่ยังไม่เข้าร่วมคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติแก้ รธน. เหตุไม่ยืนยันร่างใหม่ทั้งฉบับโดย สสร. จากการเลือกตั้ง appeared first on THE STANDARD.

]]>
นายกฯ เศรษฐา เผยรายชื่อคณะกรรมการศึกษาทำประชามติแก้ รธน. เข้า ครม. พรุ่งนี้ https://thestandard.co/srettha-committee-constitution/ Mon, 02 Oct 2023 11:48:50 +0000 https://thestandard.co/?p=849544 คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (2 ตุลาคม) ที่กระทรวงการคลัง เศรษฐา ทวีสิน นายกร […]

The post นายกฯ เศรษฐา เผยรายชื่อคณะกรรมการศึกษาทำประชามติแก้ รธน. เข้า ครม. พรุ่งนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ

วันนี้ (2 ตุลาคม) ที่กระทรวงการคลัง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์หลังสื่อมวลชนถามถึงการส่งรายชื่อคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าส่งมาแล้วหรือยัง เศรษฐากล่าวว่า “ได้ชื่อแล้ว วันที่ 3 ตุลาคม มีแน่นอน เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)”

The post นายกฯ เศรษฐา เผยรายชื่อคณะกรรมการศึกษาทำประชามติแก้ รธน. เข้า ครม. พรุ่งนี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>