ขายของออนไลน์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Tue, 17 Dec 2024 02:05:07 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 เปิดชื่อ 5 ธุรกิจ SME ดาวรุ่งของไทยที่ทำยอดขายโตไม่ต่ำกว่า 30% และธุรกิจเสี่ยงเจ็บตัวปี 2568 https://thestandard.co/5-rising-thai-sme-businesses-2024/ Tue, 17 Dec 2024 02:05:07 +0000 https://thestandard.co/?p=1020306 ธุรกิจ SME

สสว. เผย ธุรกิจ SME ไทยที่มีรายได้ขยายตัวมากกว่า 3 […]

The post เปิดชื่อ 5 ธุรกิจ SME ดาวรุ่งของไทยที่ทำยอดขายโตไม่ต่ำกว่า 30% และธุรกิจเสี่ยงเจ็บตัวปี 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ธุรกิจ SME

สสว. เผย ธุรกิจ SME ไทยที่มีรายได้ขยายตัวมากกว่า 30% จากปีก่อน หรือกลุ่มดาวรุ่งปี 2567 พบ 5 ธุรกิจ คือ ห้องพักรายเดือน, ขายของออนไลน์, ผลิตคอนเทนต์, บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการซื้อขายออนไลน์ และฟิตเนส มาแรงสุด ย้ำทางรอดเทรนด์ธุรกิจรายเล็กปีหน้า 2568 ต้องมีเอกลักษณ์ เพิ่มความแตกต่างจากคู่แข่ง เข้าถึงประสบการณ์ใหม่โดยเจาะโซเชียลมีเดีย พร้อมเตือนปีหน้าเตรียมรับมือการแข่งขันด้านราคาจากสินค้าจีนบุกตลาดไทยและทั่วโลก ความผันผวนทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อ และเทรนด์ใหม่ที่จะเกิดขึ้น

 

หวังการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ การส่งออกกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ดัน GDP โต 3.5% 

 

ปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) รักษาการ ผอ.สสว. กล่าวว่า ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจปี 2567 ภาพรวม SME ไทยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยธุรกิจ SME ไทยปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 3.2 ล้านราย เพิ่มขึ้น 1.2% จากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและธุรกิจขนาดย่อมที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นสูงในอัตรา 8.2% และ 5.4% ตามลำดับ 

 

ด้านการจ้าง SME สร้างงานกว่า 12.93 ล้านตำแหน่ง คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของการจ้างงานทั้งประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจในภาคการบริการ และภาคการค้าที่ SME มีบทบาทอย่างมากทั้งในด้านจำนวนธุรกิจและการจ้างงาน ซึ่ง SME สร้างมูลค่าให้กับเศรษฐกิจไทยสะสมตั้งแต่ไตรมาส 1-3 ปี 2567 มากกว่า 4.81 ล้านล้านบาท คิดเป็น 35% ของ GDP ประเทศ ขยายตัวได้ 3.0% 

 

โดยภาคการค้า การผลิต และการบริการ ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง การบริโภคจากนักท่องเที่ยวและการส่งออกที่เติบโตขึ้นช่วยเสริมแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจ SME ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีปัจจัยเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง และภัยพิบัติหลายครั้งที่กระทบภาคธุรกิจการเกษตรอย่างมาก

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

ขณะที่ด้านการค้าระหว่างประเทศ 10 เดือนแรก SME ไทยสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 1.15 ล้านล้านบาท คิดเป็น 13% ของรายได้จากการส่งออกรวม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึง 18.6% โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ในกลุ่มสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้ ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูง

 

ขณะที่การนำเข้าของ SME ไทยเพิ่มขึ้น 26.2% โดยเกือบ 50% เป็นการนำเข้าสินค้าจากจีน โดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางสำหรับใช้ในการผลิตทั้งเพื่อใช้ในประเทศและเพื่อส่งออก เนื่องจากสินค้าจีนมีราคาถูกกว่าและช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับผู้ประกอบการไทยได้

 

อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลของ สสว. ในปี 2567 เทียบกับปี 2566 ที่สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจใดขยายตัวหรือธุรกิจใดมียอดขายลดลง โดยใช้เกณฑ์ยอดขายมากกว่าหรือน้อยกว่า 30% จากปีก่อน พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวหรือการลดลงของยอดขายในธุรกิจมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังสถานการณ์โควิด-19 สภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่แน่นอน รวมถึงเทรนด์หรือแนวโน้มการปรับตัวไปสู่ธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

 

โดยธุรกิจที่มีรายได้ขยายตัวมากกว่า 30% จากปีก่อน หรือที่เรียกว่ากลุ่มดาวรุ่ง ได้แก่ 

  • กลุ่มธุรกิจห้องพักรายเดือน ขยายตัวตามพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่ไม่นิยมการซื้ออสังหาริมทรัพย์และต้องการใช้ชีวิตในเมือง
  • กลุ่มธุรกิจการขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ ขยายตัวจากพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนแปลงและง่ายต่อการเข้าถึง
  • กลุ่มธุรกิจผลิตสื่อคอนเทนต์ ขยายตัวจากการผลิตสื่อบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เติบโตสูง
  • กลุ่มธุรกิจฟิตเนส ยิม และการจัดแข่งกีฬาที่ขยายตัวตามเทรนด์การดูแลสุขภาพและการเติบโตของกิจกรรมการแข่งกีฬา
  • ธุรกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ขยายตัวตามความนิยมการซื้อของออนไลน์

 

ส่วนธุรกิจเฝ้าระวังพบว่า อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตได้ง่าย และต้องใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม ยากต่อการปรับตัวเพื่อให้เข้าสู่ธุรกิจสีเขียวและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมได้ยาก ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก การผลิตเคมีภัณฑ์ การผลิตเครื่องหนัง และการผลิตสิ่งทอ 

 

ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากพฤติกรรมผู้บริโภครวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้น ได้แก่ 

  • กลุ่มธุรกิจหอพักนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีตัวเลือกมากและหลากหลายรูปแบบในปัจจุบัน
  • ธุรกิจสวนสนุก เช่น สวนน้ำที่มีการแข่งขันสูง กับธุรกิจสวนสนุกขนาดใหญ่ที่มีเครื่องเล่นหลากหลาย มีความเฉพาะในรูปแบบการท่องเที่ยวที่ต้องเน้นไปยังกลุ่มวัยรุ่นและเด็ก ต้องอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวหลักที่มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ การทำโปรโมชันที่แข่งขันอย่างรุนแรงในตลาด 

 

ปณิตากล่าวอีกว่า กลุ่มธุรกิจดังกล่าวทั้งในส่วนที่เป็นกลุ่มดาวรุ่งและกลุ่มธุรกิจเฝ้าระวัง ยังคงต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องในปี 2568 จากความผันผวนทางเศรษฐกิจ กำลังซื้อภาคประชาชน และเทรนด์หรือแนวโน้มใหม่ที่จะเกิดขึ้น

 

ทั้งนี้ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ SME ปี 2568 คาดว่า GDP SME ไทยจะขยายตัวที่ 2.5-3.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ และการส่งออกที่ยังคงเติบโตได้ โดยเฉพาะในภาคการเกษตรและการผลิต เช่น อาหารและเครื่องดื่ม อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ ที่มีแนวโน้มเติบโตสูง

 

“แต่ยังคงต้องกังวลกับสถานการณ์การแข่งขันด้านราคาจากสินค้าจีนบุกตลาดไทยและทั่วโลก SME ไทยจำเป็นต้องเร่งปรับตัวจากความท้าทาย โดยสร้างความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ หรือการสร้างคุณค่าผ่านอัตลักษณ์ไทย”

 

อย่างไรก็ตาม ไทยมีศักยภาพสูงในหลายด้าน ทั้งในด้านการท่องเที่ยว แหล่งผลิตอาหารคุณภาพสูงของโลก ศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า แต่ยังขาดการเชื่อมโยงไปยังสินค้าและบริการที่จะส่งผ่านคุณค่าไปยังกลุ่มเป้าหมาย หาก SME ไทยจะก้าวข้ามและสามารถแข่งขันได้ในระยะต่อไป จำเป็นต้องสู้ในธุรกิจมูลค่าสูงโดยการยกระดับสินค้าและบริการด้วยคุณค่าที่มากกว่าการซื้อสินค้าและบริการตามความจำเป็นในการใช้ชีวิต แต่ต้องสร้างสินค้าและบริการที่ตอบสนองความต้องการเชิงอารมณ์ที่สามารถเข้าถึงประสบการณ์ใหม่ผ่านโซเชียลมีเดียได้

ภาพ: Oscar Wong / Getty Images

The post เปิดชื่อ 5 ธุรกิจ SME ดาวรุ่งของไทยที่ทำยอดขายโตไม่ต่ำกว่า 30% และธุรกิจเสี่ยงเจ็บตัวปี 2568 appeared first on THE STANDARD.

]]>
สรุปความเคลื่อนไหวคดีดิไอคอนกรุ๊ปในรอบสัปดาห์ คลื่นธุรกิจ (ขายตรง?) ที่ซัดกระทบคนทุกหย่อมหญ้า https://thestandard.co/summary-of-the-icon-group-case-in-the-past-week/ Fri, 18 Oct 2024 13:21:37 +0000 https://thestandard.co/?p=997779 บอสพอล ดิไอคอนกรุ๊ป

การนำตัว 18 บอสแห่งอาณาจักร ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ ที่ขณะนี้มีส […]

The post สรุปความเคลื่อนไหวคดีดิไอคอนกรุ๊ปในรอบสัปดาห์ คลื่นธุรกิจ (ขายตรง?) ที่ซัดกระทบคนทุกหย่อมหญ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
บอสพอล ดิไอคอนกรุ๊ป

การนำตัว 18 บอสแห่งอาณาจักร ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ ที่ขณะนี้มีสถานะเป็น 18 ผู้ต้องหาคดี ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ เข้าสู่เรือนจำได้ ไม่นับว่าเป็นจุดสิ้นสุดของกระบวนการยุติธรรม แต่ถือเป็นก้าวแรกในการพิสูจน์ผิด-ถูกของการดำเนินธุรกิจ ที่หนึ่งฝั่งมองว่าธุรกิจนี้เป็นการตลาดแบบตรง แต่ในมุมตรงข้ามกันมองว่าสิ่งที่เกิดไม่ต่างอะไรกับวงจรของแชร์ลูกโซ่

 

THE STANDARD สรุปสาระสำคัญในรอบ 1 สัปดาห์ (วันที่ 10-17 ตุลาคม 2567) ของคดีนี้ ที่เปรียบเหมือนคลื่นสึนามิ ซัดกระแทกไปในหลายวงการ พัดพาความเสียหายมารวมกัน ชนิดที่ว่า เพียง 7 วันเม็ดเงินที่ประชาชนสูญไปสูงถึง 800 ล้านบาท และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

 

กุญแจสู่การเปิด (โปง) อาณาจักรดิไอคอนกรุ๊ป

 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม กรรชัย กำเนิดพลอย พิธีกรรายการ โหนกระแส ได้รับเรื่องจากผู้เสียหาย ประเด็นการลงทุน และนำไปสู่การเปิดเผยในรายการวันที่ 7 ตุลาคม จากนั้นเป็นต้นมารายการโหนกระแสยึดธีมรายงานเรื่องราวการทำธุรกิจของบริษัทนี้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรูปแบบทางคดีความชัดเจนขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ณัฏฐ์ (สงวนนามสกุล) ผู้กล่าวหากับพวก เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) 

 

เพื่อแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีกับ บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก กรณีผู้กล่าวหากับพวกสมัครเป็นตัวแทนขายสินค้า มีการสอนขายสินค้าออนไลน์ วิดีโอคอนเทนต์ มีตัวแทนหรือแม่ทีมชักชวนให้เปิดบิลซื้อค้าของบริษัท และจะได้ผลตอบแทนจากการขายสินค้า 

 

เมื่อผู้กล่าวหากับพวกเสียเงินให้กับ บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ไปแล้ว ปรากฏว่ามาทราบความจริงในภายหลังว่าเป็นการชวนให้ร่วมลงทุนโดยเน้นระดมทุน เน้นชักชวนคนมาเป็นเครือข่าย มากกว่าเน้นการขายสินค้า รู้อยู่แก่ใจว่าสินค้าดังกล่าวไม่สามารถขายให้กับบุคคลอื่นได้ เพราะเป็นสินค้าใหม่ ไม่เป็นที่รู้จัก มีราคาสูงกว่าท้องตลาด ทำให้ผู้กล่าวหากับพวกได้รับความเสียหาย จึงมาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนดำเนินคดีจนถึงที่สุด

 

พนักงานสอบสวนจึงได้รับคำร้องทุกข์ตามคดีอาญาของกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตามคดีอาญาที่ 70/2567 

 

ในสำนวนระบุว่า เหตุเกิดที่ บริษัท ดีไอคอนกรุ๊ป จำกัด เลขที่ 165/42-46 ถนนรามอินทรา แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันหลายท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ระหว่างปี 2564-2567

 

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาสื่อสารมวลชนทุกแขนง ทั้งรายการโทรทัศน์ สื่อออนไลน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เริ่มกำหนดทิศทางการรายงานข่าวที่ต้องการสืบทราบความจริง ตีแผ่เรื่องราวที่เกิดขึ้น และย้อนถอดบทเรียนกรณีคล้ายกันที่เคยได้รับการตัดสินตามกฎหมายไปแล้วว่าเป็นแชร์ลูกโซ่

 

ว่าด้วยเรื่องดิไอคอนกรุ๊ป

 

บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด (The iCon Group Company Limited) จดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นบริษัทประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์รูปแบบขายตรงทางออนไลน์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท ก่อนเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50,000,000 บาท เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563

 

โดยมี บอสพอล-วรัตน์พล วรัทย์วรกุล เป็นผู้ก่อตั้ง, ผู้ถือหุ้นใหญ่ (75%), ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปัจจุบันจำหน่ายอาหารเสริมเพื่อสุขภาพและความงามผ่านตัวแทนจำหน่าย

 

สินค้าตัวแรกที่เริ่มจำหน่ายคืออาหารเสริม Boom Collagen ต่อมาจึงจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่นๆ โดยใช้ตราสินค้า Boom และต่อยอดไปจำหน่ายเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมความงาม

 

ดิไอคอนกรุ๊ปมีบริษัทย่อยและบริษัทร่วมที่ถือหุ้นคือ

  • บริษัท ดิไอคอนการบัญชี จำกัด (ถือหุ้น 50%) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการบัญชี
  • บริษัท ดิ ไอคอน เวลเนส จำกัด (ถือหุ้น 99.98%) ประกอบธุรกิจคลินิกโรคเฉพาะทาง
  • บริษัท เฟรนด์ชิป ฟูลฟิลเม้นท์ จำกัด (ถือหุ้น 33%) ประกอบธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า

 

ชนชั้นในองค์กรสะท้อนโมเดลธุรกิจ

 

จากข้อมูลของประชาชนที่ระบุว่าตนเองเป็นผู้เสียหายจากการถูกชักชวนให้ลงทุนในธุรกิจ ‘ดิไอคอนกรุ๊ป’ ระบุว่า พวกเขาเริ่มต้นจากเห็นโฆษณาผ่านสื่อโซเชียลมีเดียที่เป็นการประชาสัมพันธ์ในเชิง ‘สอนขายของออนไลน์’ ในราคาไม่ถึง 100 บาท ซึ่งรูปแบบที่เกิดขึ้นนี้นับเป็นประตูบานใหญ่บานแรกของผู้เสียหายส่วนมาก 

 

ระดับชั้นการเข้าสู่บันไดธุรกิจสามารถแบ่งได้ดังนี้

 

เมื่อจ่ายเงิน 95-99 บาท

 

วันที่ 1-2 เรียนออนไลน์เรื่องการถ่ายภาพ-การตัดต่อคลิป-การใช้ข้อความในแต่ละแพลตฟอร์ม

 

วันที่ 3 มีแม่ทีมเข้ามาร่วมในห้องเรียนออนไลน์ เล่าเรื่องราวความสำเร็จของบริษัทและผู้บริหาร บางครั้งบอสใหญ่เข้ามาร่วมคุยด้วย เน้นสร้างการจดจำว่าทุกคนสามารถสร้างรายได้เพิ่มโดยที่ไม่ต้องกักตุนสินค้า ทุกคนสามารถมีธุรกิจของตัวเอง ทุกคนเป็นเจ้านายตัวเองได้

 

วันที่ 4-5 ในห้องเรียนออนไลน์เริ่มแนะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัท โน้มน้าวให้ผู้เรียนทดลองซื้อสินค้า หากสินค้าดีให้ลองชวนคนรู้จักมาซื้อผ่านตัวเองได้

 

เมื่อจ่ายเงิน 2,500 บาท 

 

จะได้เป็น ดิสทริบิวเตอร์ หรือ ร้านค้าปลีก มีหน้าที่แนะนำคนอื่นให้มาซื้อสินค้าของบริษัทผ่านตนเอง เรียนรู้ระบบของบริษัท เข้าอบรมแบบออฟไลน์ พบปะครูพี่เลี้ยงหรือแม่ทีมได้ และรับโปรโมชันในการซื้อสินค้า

 

เมื่อจ่ายเงิน 25,000 บาท 

 

จะก้าวเข้าสู่ระดับ ซูเปอร์ไวเซอร์ หรือ หัวหน้าทีม การขายสินค้าถูกลดความสำคัญลง และจะเน้นให้หาคนมาร่วมทีม โดยอบรมเน้นคีย์เวิร์ด ‘หากทำธุรกิจจะมีรายได้เพิ่ม และทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป’ 

 

เมื่อจ่ายเงิน 250,000 บาท 

 

จะก้าวสู่ระดับสูงสุดคือ ดีลเลอร์ หรือ ตัวแทนจำหน่าย ก่อนจะเข้าสู่ระดับนี้ผู้ที่ถูกเชิญชวนจะได้รับข้อมูลว่า ‘จ่ายครั้งเดียวจบ ทำธุรกิจได้ทันที’ พวกเขาจะมีพร้อมทั้งสินค้า ลูกทีม การโฆษณาจากบริษัทเพื่อโปรโมตสินค้า และได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ไปเที่ยวกับบอสใหญ่และดารา

 

แต่สิ่งที่ดีลเลอร์ต้องประสบภายหลัง คือต้องเสียเงินค่าโฆษณาในสื่อโซเชียลเดือนละ 5,000-10,000 บาท เพื่อหาสมาชิกให้ได้เดือนละ 30 คน และเพื่อหวังให้หนึ่งในนั้นมาเป็นระดับดีลเลอร์ 

 

บอสพอลเปิดเผยจำนวนสมาชิกในระดับต่างๆ ของการดำเนินธุรกิจผ่านรายการ THE STANDARD NOW ว่า บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด มีจำนวนสมาชิก 368,257 ราย

 

  • ร้านค้าปลีก Distributor: 285,833 ราย
  • หัวหน้าทีม Supervisor: 43,976 ราย 
  • ตัวแทนจำหน่าย Dealer: 31,972 ราย 
  • ตัวแทนจำหน่าย (เล็ก) Mini Dealer: 6,476 ราย

 

เหล่าบอสตัวแม่-ตัวพ่อที่มีผลต่อการตัดสินใจ

 

เมื่อผ่านประตูบานใหญ่เข้าสู่อาณาจักรนี้ สิ่งที่จะพบตั้งแต่ก้าวแรกที่พ้นธรณีประตูคือ ‘ดารา’ และ ‘ภาพความสำเร็จ’ ในเมื่อหลายคนตัดสินใจที่จะทดลองลงทุนแล้ว การเห็นและได้ยินผู้มีชื่อเสียงในวงการ และยิ่งบางคนที่เป็นบุคคลที่เขาโปรดปราน ยิ่งทำให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนครั้งนี้คือสิ่งถูกต้องที่ครั้งหนึ่งในชีวิตพวกเขาควรทำ

 

 3 กลุ่มดาราในดิไอคอนกรุ๊ปเมื่อจำแนกตามหน้าที่มีดังนี้

 

  • กลุ่มแรก คือผู้ได้รับมอบอำนาจในการบริหารโดยตรง
  • กลุ่มสอง คือพรีเซนเตอร์ที่บริษัทจ้างมาเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
  • กลุ่มสาม คือผู้ที่ถูกเชิญเข้าไปร่วมงานอีเวนต์ของบริษัท 

 

ตัวอย่างดาราที่เรียกว่ามีบทบาทผ่านหลายช่องทางของดิไอคอนกรุ๊ป 

 

  • แซม-ยุรนันท์ ภมรมนตรี ดำรงตำแหน่ง Chief Research Officer (CRO) ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • มิน-พีชญา วัฒนามนตรี ดำรงตำแหน่ง Chief Communications Officer (CCO) ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร
  • กันต์ กันตถาวร ดำรงตำแหน่ง Chief Marketing Officer (CMO) ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด

 

นอกจากดารายังมีเหล่าแม่ทีม แม่ข่าย และโค้ช ที่รับบทเป็นอินฟลูเอ็นเซอร์ขององค์กรที่คอยนำเสนอภาพความสำเร็จผ่านช่องทางต่างๆ ของตัวเองให้สมาชิกระดับอื่นๆ เห็น เช่น ถ่ายภาพคู่รถหรู, ใช้ของแบรนด์เนม, ร่วมทริปต่างประเทศ และกระทบไหล่บิ๊กบอสกับบอสดารา 

 

สิ่งต่างๆ เหล่านี้กลายเป็นเหตุผลที่ผู้เสียหายสะท้อนว่า หากพวกเขาลงทุนชีวิตพวกเขาอาจเปลี่ยนไปได้เช่นกัน เพราะสิ่งที่บริษัทฟูมฟักมาตลอดตั้งแต่เริ่มคือพื้นเพของเหล่าอินฟลูที่มีชีวิตแทบจะติดลบ ดีขึ้นได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือเพราะลงทุนกับที่นี่

 

ผู้เสียหาย-ความเสียหายที่นับวันยิ่งถาโถมความจริง

 

เมื่อเริ่มมีรายงานข่าวถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้เสพข่าวไม่เพียงรับรู้สิ่งที่เป็นไป หลายคนก้าวออกมาช่วยเปิดเผยสิ่งที่อยู่เบื้องลึกเบื้องหลังและตอกย้ำความเสียหายให้สังคมเห็นอย่างเป็นรูปธรรม

 

จากเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่มีผู้เดินทางมาร้องเรียนที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) จำนวน 80 คน ความเสียหายคาดว่าไม่ต่ำกว่า 31 ล้านบาท ณ วันที่ 17 ตุลาคม เวลา 11.00 น. มีผู้ลงทะเบียนเพื่อสอบปากคำรวมแล้ว 2,654 ราย ความเสียหายเฉพาะที่สอบปากคำแล้ว 830,455,501 บาท

 

ทั้งนี้ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้รับรายงานจากศูนย์รับแจ้งความที่ บช.ก. ว่า ใน 1 วันจะมีผู้เสียหายเฉลี่ยที่ 200-300 คน เจ้าหน้าที่จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ช่วง 8.30 น. ประชาชนแต่ละคนใช้เวลาให้การที่ 2.30-4 ชั่วโมง บางวันเจ้าหน้าที่ต้องทำงานถึงเวลา 23.00 น.

 

ฉะนั้นเพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่คล่องตัว ตั้งแต่วันนี้ไปจึงสั่งกระจายจุดรับแจ้งความ 77 จังหวัด ให้เข้าถึงประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ไม่ต้องเดินทางมาถึง บช.ก. โดยกำชับให้ใช้รูปแบบการรับข้อมูลผู้เสียหายในลักษณะเดียวกัน และห้ามปฏิเสธรับแจ้งความจากประชาชนอย่างเด็ดขาด จึงเชื่อว่ายอดผู้เสียหายที่เข้าแจ้งความกับตำรวจในคดีดิไอคอนกรุ๊ปจะมีเพิ่มขึ้นมากกว่าวันละ 200-300 คน

 

18 ผู้ต้องหาสู่การขยายผล

 

วันที่ 16 ตุลาคม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เปิดปฏิบัติการ ‘หนุมานถล่มกรุงดิไอคอน’ หลังศาลอาญาอนุมัติออกหมายจับ 18 หมายจับ ในฐานความผิด 2 ข้อหา ‘ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ร่วมกันนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จฯ’ 

 

โดย 18 ผู้ต้องหา ประกอบด้วย

 

  • บอสพอล-วรัตน์พล วรัทย์วรกุล
  • บอสปัน-ปัญจรัศม์ กนกรักษ์ธนพร
  • บอสปีเตอร์-กลด เศรษฐนันท์
  • บอสหมอเอก-ฐานานนท์ หิรัญไชยวรรณ
  • บอสสวย-นัฐปสรณ์ ฉัตรธนสรณ์
  • บอสโซดา-ญาสิกัญจน์ เอกชิสนุพงศ์
  • บอสโอม-นันท์ธรัฐ เชาวนปรีชา
  • บอสวิน-ธวิณทร์ภัส ภูพัฒนรินทร์
  • บอสแม่หญิง-กนกธร ปูรณะสุคนธ์
  • บอสอูมมี่-เสาวภา วงษ์สาขา
  • บอสทอมมี่-เชษฐ์ณภัฏ อภิพัฒนกานต์
  • บอสป๊อป-หัสยานนท์ เอกชิสนุพงศ์
  • โค้ชแล็ป-จิระวัฒน์ แสงภักดี
  • บอสจอย-วิไลลักษณ์ เจ็งสุวรรณ
  • บอสอ๊อฟ-ธนะโรจน์ ธิติจริยาวัชร์
  • บอสกันต์-กันต์ กันตถาวร
  • บอสมิน-พีชญา วัฒนามนตรี
  • บอสแซม-ยุรนันท์ ภมรมนตรี

 

ในชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนคัดค้านการประกันตัว ต่อมาในชั้นศาลศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลระบุว่า

 

“การกระทำของผู้ต้องหามีลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำเป็นระบบ, ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง, สร้างความเดือดร้อนแก่สุจริตชนเป็นอันมาก, มูลค่าความเสียหายสูง และเป็นเรื่องร้ายแรง

 

“ประกอบกับพนักงานสอบสวนและผู้เสียหายคัดค้านการปล่อยชั่วคราว หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาทั้งสามจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรืออาจกระทำการใดที่กระทบกระเทือนต่อการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดี”

 

ฉะนั้นผู้ต้องหาทั้งหมดจึงถูกฝากขังในผลัดแรก (12 วัน) ซึ่ง 2 ฐานความผิดที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหาไปจะทำให้ตำรวจมีอำนาจยื่นขอฝากขังรวม 4 ผลัด เป็นระยะเวลา 48 วัน 

 

ช่วงเวลาดังกล่าวจึงเป็นนาฬิกานับถอยหลังที่จะทำให้ตำรวจต้องเร่งรวบรวมพยานหลักฐานไปเอาผิดผู้ต้องหาทั้งหมดให้ทัน ก่อนที่จะหมดอำนาจยื่นขอฝากขังที่เฉลี่ยแล้วประมาณ 1 เดือนครึ่งเท่านั้น


 

ความจริงที่เรายังต้องตามหา

 

  • ผู้ต้องหารายอื่นนอกจาก 18 คนชุดแรก จะสืบสาวไปถึงใครบ้าง
  • ทรัพย์สินที่ถูกอายัดจะขยายต่อไปที่ส่วนไหน ไม่มีทางที่จะจบแค่ที่สำนักงาน ปปง. อายัดไว้ 125 ล้านบาท และตำรวจยึดไว้ 220 ล้านบาท อีกทั้งเงินในรูปแบบดิจิทัลจะจัดการอย่างไร
  • เหล่า (เทวดา) หน่วยงาน นักการเมือง ข้าราชการ ผู้มีอิทธิพล ที่โอบอุ้มธุรกิจนี้อยู่มีใครบ้าง
  • ความเสียหายจะไปสุดที่ตรงไหน
  • กฎหมายและหน่วยงานใดที่จะช่วยแก้ปัญหาความเสียหายนี้ได้อย่างตรงจุด

The post สรุปความเคลื่อนไหวคดีดิไอคอนกรุ๊ปในรอบสัปดาห์ คลื่นธุรกิจ (ขายตรง?) ที่ซัดกระทบคนทุกหย่อมหญ้า appeared first on THE STANDARD.

]]>
พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ สั่งรวมคดีหลอกขายทองคำ ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นศูนย์คลี่คลายคดี เตรียมเรียกดารา-อินฟลูเอ็นเซอร์กว่า 20 คนให้ปากคำ https://thestandard.co/pol-gen-kittirat-orders-consolidation-of-gold-fraud-cases/ Tue, 01 Oct 2024 04:14:38 +0000 https://thestandard.co/?p=990040

วันนี้ (1 ตุลาคม) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ […]

The post พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ สั่งรวมคดีหลอกขายทองคำ ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นศูนย์คลี่คลายคดี เตรียมเรียกดารา-อินฟลูเอ็นเซอร์กว่า 20 คนให้ปากคำ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (1 ตุลาคม) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดหลอกขายทองคำไม่ได้คุณภาพ โดยระบุว่า เบื้องต้นได้รับรายงานจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) แล้วว่ามีการจับกุมผู้กระทำผิด 2 คน ซึ่งเป็นบุคคลที่เป็นตัวการใหญ่ 

 

วันนี้จะนำตัวไปฝากขังโดยคัดค้านการประกันตัว นอกจากนี้ได้สั่งการให้ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ผบก.ปคบ. ดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมา และจากนี้ไปให้ขยายผลว่ามีผู้ใดเกี่ยวข้อง มีพฤติกรรมในการกระทำผิดเข้าข้อกฎหมายใด ซึ่งต้องไม่มีการยกเว้น ละเว้น หรือช่วยเหลือเด็ดขาด เพราะเป็นเรื่องที่กระทบต่อความรู้สึกและประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบ เสียเงินเสียทองเป็นจำนวนมาก จากนี้ไปก็จะเข้าสู่กระบวนการสอบสวนและขยายผลถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยจะรวบรวมข้อเท็จจริงรวมถึงหลักฐาน และออกหมายเรียกหากพบว่ามีการกระทำความผิดเพิ่มเติม

 

นอกจากนี้ยังได้สั่งการทุกพื้นที่เพื่อให้รับแจ้งความ เพราะมั่นใจว่ามีผู้เสียหายหลายคนที่ไม่ได้อยู่แค่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ซึ่งผู้เสียหายสามารถไปแจ้งความที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่กรุงเทพฯ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่ได้รับความเสียหาย และคดีนี้จะได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมอบหมายให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นผู้รับผิดชอบในคดีนี้ ส่วนจะต้องโอนคดีมาที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (บช.ก.) หรือไม่ ขอดูรายละเอียดอีกครั้ง เนื่องจากต่างกรรมต่างวาระ

 

ด้าน พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ผบก.ปคบ.) เปิดเผยว่า หลังจากนี้จะขยายและรวบรวมหลักฐานกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีชื่อเสียงและอินฟลูเอ็นเซอร์ที่ทำหน้าที่ไลฟ์ขายของไม่ต่ำกว่า 20 คน ก็จะต้องถูกเชิญมาให้ปากคำทั้งหมด เบื้องต้นอาจมีความผิดเข้าข่ายหลาย พ.ร.บ. ขึ้นอยู่กับว่าเข้าไปเกี่ยวข้องมากน้อยแค่ไหน

 

ส่วนที่บอกว่าได้ค่าจ้าง แต่อ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นสินค้าไม่ได้มาตรฐาน พล.ต.ต. วิทยา กล่าวว่า ประเด็นนี้ต้องตรวจสอบว่าเหตุผลฟังขึ้นหรือไม่ แต่ทุกอย่างจะต้องเข้าสู่กระบวนการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน ถ้ามีพฤติการณ์ใดที่เข้าข่ายความผิดก็จะดำเนินคดีทุกรายและต้องดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมา ผิดก็คือผิด ห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องและช่วยเหลือเด็ดขาด

 

รวมทั้งเรื่องเส้นทางการเงินและทรัพย์สินของผู้ต้องหา ตรงนี้ได้เชิญสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาร่วมตรวจสอบแล้ว ส่วนทรัพย์สินมีค่าอื่นๆ อยู่ระหว่างประสานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นทรัพย์สินที่แปรสภาพหรือไม่ เพราะที่ผ่านมา บก.ปคบ. ได้เฝ้าติดตามข่าวสารและพฤติกรรมของผู้ต้องหามาโดยตลอด

The post พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ สั่งรวมคดีหลอกขายทองคำ ให้ตำรวจสอบสวนกลางเป็นศูนย์คลี่คลายคดี เตรียมเรียกดารา-อินฟลูเอ็นเซอร์กว่า 20 คนให้ปากคำ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อินโดนีเซียเตรียมออกกฎคุมเข้มอีคอมเมิร์ซ สั่งแบนธุรกรรมซื้อขายสินค้าบนโซเชียลมีเดีย เพื่อปกป้องผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย https://thestandard.co/indonesia-to-ban-purchases-on-sns/ Thu, 28 Sep 2023 03:20:47 +0000 https://thestandard.co/?p=847341 แบนซื้อขายสินค้าบน Social Media

กระทรวงการค้าอินโดนีเซียอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อยกร […]

The post อินโดนีเซียเตรียมออกกฎคุมเข้มอีคอมเมิร์ซ สั่งแบนธุรกรรมซื้อขายสินค้าบนโซเชียลมีเดีย เพื่อปกป้องผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบนซื้อขายสินค้าบน Social Media

กระทรวงการค้าอินโดนีเซียอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อยกระดับกฎระเบียบในการกำกับดูแลสื่อสังคมออนไลน์ทั้งหลาย ซึ่งหนึ่งในนั้นรวมถึงการไม่อนุญาตให้ทำธุรกรรมการค้าใดๆ บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียด้วย

 

แถลงการณ์ฉบับทางการของกระทรวงการค้าอินโดนีเซียอธิบายว่า รัฐบาลอินโดนีเซียอนุญาตให้ใช้โซเชียลมีเดียเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งเสริมการขายเท่านั้น ไม่ใช่สำหรับการทำธุรกรรม ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ในอินโดนีเซียไม่สามารถซื้อหรือขายสินค้าและบริการบน TikTok และ Facebook ได้ แต่สามารถใช้โปรโมตสินค้าได้อย่างเดียวเท่านั้น

 

รายงานระบุว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลอินโดนีเซีย ในการจำกัดการทำยอดขายตรงของบรรดาบริษัทเทคโนโลยีผ่านสื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ของตนเอง ที่เข้าข่ายผูกขาดการซื้อขายสินค้า จนส่งผลกระทบคุกคามในทางลบต่อกิจการของเหล่าผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยในประเทศ

 

นอกจากนี้ ทางรัฐบาลอินโดนีเซียยังระบุอีกว่า ได้จัดเตรียมมาตรการป้องกันไม่ให้สื่อโซเชียลมีเดียขยายเป็นอีคอมเมิร์ซแพลตฟอร์ม เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำข้อมูลสาธารณะไปใช้ในทางที่ผิด

 

Zulkifli Hasan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของอินโดนีเซีย กล่าวในระหว่างงานแถลงข่าวที่กรุงจาการ์ตาว่า คำสั่งห้ามทำธุรกรรมบนสื่อโซเชียลมีเดียจะมีผลบังคับใช้ในทันที พร้อมชี้แจงว่าการเชื่อมต่อระหว่างโซเชียลมีเดียกับอีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องแยกออก เพื่อให้อัลกอริทึมไม่ได้รับการควบคุมทั้งหมด ซึ่งจะ “ป้องกันการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล” เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ

 

ก่อนหน้านี้ไม่นาน Joko Widodo ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย เรียกร้องให้มีกฎระเบียบด้านโซเชียลมีเดีย โดยอ้างถึงผลกระทบของแพลตฟอร์มที่มีต่อธุรกิจในท้องถิ่นและเศรษฐกิจ โดยผู้นำอินโดนีเซียชี้ว่า มี SMEs ธุรกิจขนาดเล็ก วิสาหกิจขนาดย่อม และตลาด ที่ยอดขายเริ่มลดลง เนื่องจากการหลั่งไหลเข้ามาของสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซ 

 

หลายฝ่ายมองว่ากฎระเบียบใหม่ของอินโดนีเซียจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมอย่าง TikTok ซึ่งมีเป้าหมายในการเติบโตเพื่อตอบโจทย์การเป็นแพลตฟอร์มสำหรับอีคอมเมิร์ซในอินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ TikTok ด้วยจำนวนผู้ใช้งานถึง 113 ล้านบัญชี เป็นรองเพียงสหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ 116.5 ล้านบัญชี

 

นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลอินโดนีเซียล่าสุดยังเป็นการซ้ำเติม TikTok ที่กำลังเผชิญแรงต้านจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลและความกังขาในประเด็นความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานที่เชื่อว่ามีการเชื่อมโยงกับรัฐบาลจีน 

 

ขณะที่นักวิเคราะห์ของ Citi มองว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซโดยตรงอย่าง Shopee รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอื่นๆ สัญชาติอินโดนีเซีย 

 

อ้างอิง: 

The post อินโดนีเซียเตรียมออกกฎคุมเข้มอีคอมเมิร์ซ สั่งแบนธุรกรรมซื้อขายสินค้าบนโซเชียลมีเดีย เพื่อปกป้องผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘ขายของออนไลน์-ยูทูเบอร์-อินฟลูเอ็นเซอร์’ ต้องเสียภาษีอย่างไร? หลัง ‘สรรพากร’ ตั้งทีมรีดภาษี-ไล่ต้อนเข้าสู่ระบบ https://thestandard.co/online-seller-how-to-pay-taxes/ Mon, 13 Feb 2023 05:43:41 +0000 https://thestandard.co/?p=749535

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ยูทูเบอร์ และอินฟลูเอ็นเซอร์ ต้องเส […]

The post ‘ขายของออนไลน์-ยูทูเบอร์-อินฟลูเอ็นเซอร์’ ต้องเสียภาษีอย่างไร? หลัง ‘สรรพากร’ ตั้งทีมรีดภาษี-ไล่ต้อนเข้าสู่ระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ยูทูเบอร์ และอินฟลูเอ็นเซอร์ ต้องเสียภาษีอย่างไร? หลัง ‘สรรพากร’ ตั้งทีมรีดภาษี ประกาศเร่งไล่ต้อนผู้มีเงินได้จากช่องทางออนไลน์เข้าสู่ระบบ หลังจากเปิดเผยว่า 2 ปีที่ผ่านมาสามารถดึงผู้ประกอบการในส่วนนี้เข้าสู่ระบบได้มากกว่า 1 แสนรายต่อปี

 

สัปดาห์ที่ผ่านมา ลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ในปี 2566 กรมสรรพากรจะมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้มีรายได้สูง แต่ยังเสียภาษีไม่ถูกต้อง หรืออยู่นอกระบบ อย่างผู้ค้าขายออนไลน์ ยูทูเบอร์ และอินฟลูเอ็นเซอร์ ผ่านการตั้งกองสำรวจและติดตามธุรกิจนอกระบบ หลังจากช่วงปีงบประมาณ 2564-2565 กรมสรรพากรสามารถต้อนผู้ประกอบการในส่วนนี้เข้าสู่ระบบภาษีได้มากกว่า 1 แสนรายต่อปี

 

โดยอธิบดีกรมสรรพากรยังกล่าวเชิญชวนให้ผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ให้เข้ามาจดทะเบียนให้ถูกต้อง พร้อมยืนยันว่าเรื่องภาษีไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว และกรมสรรพากรพร้อมที่จะประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเสียภาษีตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และย้ำว่าการเสียภาษีไม่ถูกต้องและไม่เสียภาษีมีต้นทุนแพงกว่าการเสียภาษีด้วยซ้ำ

 

ทั้งนี้ สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ยูทูเบอร์ และอินฟลูเอ็นเซอร์ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

 

‘ขายของออนไลน์’ เสียภาษีอย่างไร?

 

สำหรับผู้ค้าขายทางออนไลน์จำเป็นต้องรู้จักภาษี 2 ประเภทสำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพื่อไม่ให้มีปัญหาถูกประเมินภาษีย้อนหลัง

 

ภาษีเงินได้บุคลลธรรมดาที่เกี่ยวข้องกับ ‘การขายของออนไลน์’

 

โดยปกติรายได้ที่รับส่วนนี้มักจะอยู่ในรูปแบบซื้อมาขายไป ซึ่งถูกจัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้ 40 (8)) โดยสามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 ทาง ได้แก่

 

  1. การเลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่าย เพราะกฎหมายให้สิทธิเหมาจ่ายตามยอดขายที่เกิดขึ้นในอัตรา 60% ของยอดขาย
  2. การเลือกหักตามค่าใช้จ่ายจริง ซึ่งต้องมีหลักฐานค่าใช้จ่ายในการยื่นภาษีด้วย

 

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกี่ยวข้องกับ ‘การขายของออนไลน์’

 

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ยอดขายเกิน

 

เมื่อจด VAT แล้ว ผู้ประกอบการต้องเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้บริโภค โดยคำนวณจากมูลค่าสินค้า แล้วนำส่งให้กรมสรรพากรอีกที โดยต้องยื่นภาษีเป็นรายเดือน ซึ่งเรียกว่า ภ.พ.30 ด้วย

 

‘ยูทูเบอร์-อินฟลูเอ็นเซอร์’ ต้องเสียภาษีอย่างไร?

 

สำหรับยูทูเบอร์-อินฟลูเอ็นเซอร์ในประเทศไทยเป็นอาชีพที่ต้องเสียภาษีไม่ต่างจากอาชีพอื่นๆ แต่เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับการเสียภาษีของยูทูเบอร์โดยตรง ยูทูเบอร์ในไทยจึงต้องเสียภาษีแยกตามประเภทรายได้ต่างๆ แทน เนื่องจากยูทูเบอร์และอินฟลูเอ็นเซอร์สามารถมีรายได้จากหลายช่องทาง เช่น ส่วนแบ่งค่าโฆษณาจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย การรับจ้างรีวิวสินค้า รับจ้างโชว์ตัว และการขายสินค้า

 

ขณะที่ผู้ที่มีรายได้ประจำ หรือมนุษย์เงินเดือนที่ใช้เวลาว่างเป็นยูทูเบอร์หรืออินฟลูเอ็นเซอร์ด้วย ก็ต้องนำรายได้ทั้งหมดมารวม และคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

 

ประเภทรายได้และภาษีที่ต้องจ่ายสำหรับยูทูเบอร์

 

  • รายได้จากส่วนแบ่งค่า ‘โฆษณา’ จากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้ 40 (8)) โดยสามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริง แต่ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วน

 

  • รายได้จากยอดชม (View) และยอดผู้ติดตามบนช่อง จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้ 40 (8)) ที่สามารถหักค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วนเช่นกัน

 

  • รายได้จากการรับจ้างรีวิวสินค้าหรือสปอนเซอร์ในคลิปหรือคอนเทนต์ต่างๆ นับเป็นรายได้ที่มาจากผู้ว่าจ้างและเป็นการทำงานแลกเงินตามปกติ จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 (เงินได้ 40 (2)) จึงจะถูกหักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท 

 

  • รายได้จากการรับจ้างโชว์ตัว ก็นับเป็นรายได้ที่มาจากผู้ว่าจ้างและเป็นการทำงานแลกเงินตามปกติ จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 (เงินได้ 40 (2)) จึงจะถูกหักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท

 

  • รายได้จากการขายสินค้าและบริการ หรือที่ซื้อมาขายไป จัดเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 (เงินได้ 40 (8)) คือรายได้จากการค้าขาย สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง ให้หักค่าใช้จ่ายตามจริง แต่ถ้าสินค้าที่รับซื้อมา ให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60%

 

‘พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์-ยูทูเบอร์’ รายได้เท่าไรถึงต้องเสียภาษี?

 

สำหรับยูทูเบอร์ที่ไม่ได้จดบริษัทเป็นนิติบุคคล จะคำนวณภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา กล่าวคือ ต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้ทั้งปีถึง 1.2 แสนบาท และหากรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายตามประเภทของเงินได้ และหักค่าลดหย่อนส่วนตัวแล้ว หรือเงินได้สุทธิเกิน 1.5 แสนบาท ต้องเสียภาษี

 

ส่วนผู้ขายของออนไลน์จำเป็นต้องยื่นแบบเสียภาษีเมื่อรายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


 

อ้างอิง:

The post ‘ขายของออนไลน์-ยูทูเบอร์-อินฟลูเอ็นเซอร์’ ต้องเสียภาษีอย่างไร? หลัง ‘สรรพากร’ ตั้งทีมรีดภาษี-ไล่ต้อนเข้าสู่ระบบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Ninja Van Biz ตัวช่วยผู้ส่งสินค้าที่มาพร้อมจุดเด่น ‘ส่งก่อนจ่ายทีหลัง’ แถมยังใช้งานง่าย สะดวก หมดห่วง จบทุกปัญหา ง่ายในแอปเดียว https://thestandard.co/ninja-van-biz/ Wed, 28 Sep 2022 11:00:29 +0000 https://thestandard.co/?p=687811

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเป็นปัจจัย ‘เร่ง’ ให้พฤติกรรมข […]

The post Ninja Van Biz ตัวช่วยผู้ส่งสินค้าที่มาพร้อมจุดเด่น ‘ส่งก่อนจ่ายทีหลัง’ แถมยังใช้งานง่าย สะดวก หมดห่วง จบทุกปัญหา ง่ายในแอปเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดเป็นปัจจัย ‘เร่ง’ ให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการกระตุ้นให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

 

สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งผู้ซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซในไทยมีกว่า 34 ล้านคน และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ

 

โดยยอดการใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 7,200 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งถือว่ามีการใช้จ่ายค่อนข้างเยอะ และที่น่าสนใจคือปัจจุบันคนไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพียง 60% ตัวเลขดังกล่าวแปลได้ว่าตลาดยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

 

ทำให้ร้านค้าหรือหลายคนหันมาปรับเปลี่ยนการขายสินค้าในช่องทางออนไลน์มากขึ้น ถึงแม้ว่าทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้ามากขึ้น แต่ก็มาพร้อมกับความท้าทายในหลายเรื่อง

 

เช่น ร้านค้าที่มียอดขายที่สูง การส่งพัสดุจึงต้องมากตามไปด้วย นี่เองทำให้พ่อค้าแม่ค้าต้องรับต้นทุนการส่ง ซึ่งจริงๆ แล้วหากยังไม่ต้องจ่ายในทันที จะสามารถนำไปเป็นเงินทุนที่หมุนเวียนในธุรกิจได้

 

ด้วยเหตุนี้เอง Ninja Van ซึ่งทราบความต้องการของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เป็นอย่างดี จึงได้พัฒนาโมบายล์แอป Ninja Van Biz ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งสินค้า ที่สำคัญคือใช้งานง่าย สะดวก หมดห่วง จบทุกปัญหา ง่ายในแอปเดียว

 

บริการที่เด่นที่สุดคงต้องยกให้ ‘บริการส่งก่อนจ่ายทีหลัง’ ซึ่งจะดำเนินการเรียกเก็บเงินหลังจากที่การส่งพัสดุสำเร็จ

 

 

นั่นแปลว่าเมื่อสินค้าส่งถึงมือลูกค้าและได้รับการชำระเงินแล้ว ร้านค้าถึงจะเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ ทำให้ไม่ต้องรับภาระไปก่อน

 

บริการดังกล่าวจะเข้ามาสอดคล้องกับการติดตามการชำระเงินสดปลายทางแบบเรียลไทม์ (COD) ซึ่งผู้ส่งสามารถรับได้ภายใน 1-2 วันทำการ ตรวจสอบการเก็บเงินปลายทางและสรุปยอดได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ

 

ที่ผ่านมาแม้ ‘บริการเก็บเงินปลายทาง’ จะตอบโจทย์กับกลุ่มลูกค้าที่ไม่สันทัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง และไม่จำเป็นต้องออกไปโอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม ซึ่งทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น

 

แต่ในทางหนึ่งก็เป็นต้นทุนที่พ่อค้าแม่ค้าต้องรับไว้เช่นกัน ดังนั้นบริการดังกล่าวจะทำให้ร้านค้ารู้ว่าตอนนี้สินค้าถึงไหนแล้ว ลูกค้าชำระแล้วหรือยัง ทำให้ร้านสามารถวางแผนสินค้าตลอดจนการเงินได้

 

 

ประโยชน์ที่สำคัญอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ของ Ninja Van Biz คือรับส่วนลด 20% เมื่อส่งพัสดุผ่านแอป และ Drop Off พัสดุที่หน้าร้านของ Ninja Van ทุกแห่ง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนลดลง ร้านก็ได้กำไรมากขึ้น

 

 

นอกจากนี้ผู้จัดส่งสินค้ายังสามารถสร้างและจัดการคำสั่งซื้อ, พิมพ์ใบปะหน้าพัสดุ, จัดตารางเวลาในการรับ-ส่งพัสดุ, เช็กยอดการจัดส่ง, ติดตามสถานะการจัดส่ง รวมถึงติดตามสถานะการเก็บเงินปลายทาง (COD) อัปเดตจุดบริการหรือติดต่อคอลเซ็นเตอร์ได้ อีกทั้ง Ninja Van Biz ยังสามารถจดจำข้อมูลรายละเอียดการจัดส่งของลูกค้าที่มีการใช้จัดส่งซ้ำได้ ไม่ต้องเสียเวลากรอกข้อมูลใหม่ทุกครั้ง

 

แอปพลิเคชัน Ninja Van Biz พร้อมใช้งาน ผู้ที่ประสงค์จะใช้งานสามารถดาวน์โหลดผ่าน Google Play หรือ Apple App Store ได้แล้ววันนี้ 

 

นอกจากนี้สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Ninja Van Thailand

 

 

The post Ninja Van Biz ตัวช่วยผู้ส่งสินค้าที่มาพร้อมจุดเด่น ‘ส่งก่อนจ่ายทีหลัง’ แถมยังใช้งานง่าย สะดวก หมดห่วง จบทุกปัญหา ง่ายในแอปเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ร้านขายเสื้อผ้าย่านประตูน้ำติดป้าย ‘ห้ามไลฟ์’ เจอปรับ 1 หมื่น! หลังมีดราม่าแม่ค้าไลฟ์รับหิ้ว-แม่ค้าสต๊อก https://thestandard.co/clothing-store-in-pratunam-area-sign-prohibited-live/ Wed, 02 Feb 2022 07:19:36 +0000 https://thestandard.co/?p=589697 clothing store

หลังเกิดดราม่าเสียงแตกระหว่างแม่ค้าสต๊อกเสื้อผ้าออนไลน์ […]

The post ร้านขายเสื้อผ้าย่านประตูน้ำติดป้าย ‘ห้ามไลฟ์’ เจอปรับ 1 หมื่น! หลังมีดราม่าแม่ค้าไลฟ์รับหิ้ว-แม่ค้าสต๊อก appeared first on THE STANDARD.

]]>
clothing store

หลังเกิดดราม่าเสียงแตกระหว่างแม่ค้าสต๊อกเสื้อผ้าออนไลน์และแม่ค้าไลฟ์ขายเสื้อผ้าหน้าร้านหรือแม่ค้ารับหิ้ว โดยมีประเด็นหลักคือเรื่องของการขายตัดราคาเสื้อผ้าที่กำลังเป็นกระแสให้ถกเถียงอยู่ในเวลานี้

 

วันนี้ (2 กุมภาพันธ์) ช่างภาพ THE STANDARD ลงพื้นที่สำรวจร้านขายเสื้อผ้าย่านประตูน้ำ พบว่า ผู้ประกอบการขายเสื้อผ้าย่านประตูน้ำส่วนใหญ่หันมาติดป้ายหน้าร้าน โดยมีข้อความสำคัญระบุว่า ‘ไม่อนุญาตให้ไลฟ์ขายเสื้อผ้าในร้าน’ หรือบางร้านออกมาตรการเพิ่มคือ ‘หากเจอการไลฟ์จะปรับ 10,000 บาท’ ซึ่งส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า การที่แม่ค้ามาไลฟ์ขายเสื้อผ้าหน้าร้านหรือรับหิ้ว เป็นเหมือนการตัดราคา ซึ่งกระทบลูกค้าประจำที่รับของไปสต๊อกไม่สามารถขายได้ และเป็นห่วงว่าจะไปกระทบวงจรธุรกิจเสื้อผ้าในระยะยาว

 

ขณะเดียวกัน นอกเหนือจากร้านที่ ‘ห้าม’ ยังพบว่ามีร้านบางส่วนที่ ‘อนุญาต’ เปิดพื้นที่ให้แม่ค้าไลฟ์ขายเสื้อผ้าหน้าร้านเข้ามาไลฟ์ขายสินค้าของทางร้านได้ เนื่องจากมองว่าช่วงการระบาดของโควิดตลอด 1-2 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบในแง่ของยอดขายมามากพอแล้ว จึงมองว่าการได้แม่ค้าไลฟ์มารับหิ้วสินค้าไปจะช่วยเพิ่มยอดขายให้ทางร้านได้ แม้กำไรไม่มากเท่ากับการขายให้กลุ่มแม่ค้าสต๊อกก็ตาม

 

clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store clothing store

The post ร้านขายเสื้อผ้าย่านประตูน้ำติดป้าย ‘ห้ามไลฟ์’ เจอปรับ 1 หมื่น! หลังมีดราม่าแม่ค้าไลฟ์รับหิ้ว-แม่ค้าสต๊อก appeared first on THE STANDARD.

]]>
ขายใบกระท่อมคึกคัก ผ่านออนไลน์-ตลาดสด หลังมีกฎหมายปลดล็อก รมว.ยุติธรรม เผยขายใบสดได้เสรี น้ำต้มกินเอง-แจกจ่ายได้ https://thestandard.co/trading-of-kratom-leave/ Sat, 11 Sep 2021 02:14:03 +0000 https://thestandard.co/?p=535504 Kratom

หลังจากที่รัฐสภาได้เห็นชอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที […]

The post ขายใบกระท่อมคึกคัก ผ่านออนไลน์-ตลาดสด หลังมีกฎหมายปลดล็อก รมว.ยุติธรรม เผยขายใบสดได้เสรี น้ำต้มกินเอง-แจกจ่ายได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Kratom

หลังจากที่รัฐสภาได้เห็นชอบ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) ซึ่งเป็นการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ไปแล้ว

 

THE STANDARD สำรวจวันนี้ (10 กันยายน) พบว่ามีการนำใบกระท่อมออกมาเสนอขายในหลายช่องทาง ทั้งออนไลน์และร้านค้าแบบแบกะดินในตลาดสด ซึ่งคนซื้อส่วนใหญ่มักจะซื้อไปรับประทานแบบสด บางคนซื้อไปต้ม และนำไปประกอบอาหาร สนนราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 450-500 บาท โดยใบกระท่อมส่วนใหญ่ถูกส่งมาจากจังหวัดทางภาคใต้

 

ขณะที่ สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตอบคำถามหลังมีหลายคนสงสัยเกี่ยวกับการใช้พืชกระท่อมว่าสามารถทำในส่วนใดได้บ้าง โดยรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า 

 

ในส่วนของการเคี้ยวใบ การปลูก การครอบครอง และการขายใบสดที่ไม่ได้ปรุงหรือทำเป็นอาหารทำได้อย่างเสรีไม่ผิดกฎหมาย

 

ส่วนการนำไปทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร ที่แจ้งว่ามีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ต้องไปขออนุญาตตามกฎหมายของกระทรวงสาธารณสุข เพราะมี พ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 ควบคุมอยู่ 

 

นอกจากนี้ การนำไปทำเป็นอาหารหรือเป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อขายนั้น พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ยังไม่ปลดล็อกให้สามารถนำพืชกระท่อมไปทำอาหารหรือผสมในอาหารเพื่อจำหน่ายได้ โดยประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 424 ) พ.ศ. 2564 ออกตามความใน พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้อาหารที่ปรุงจากพืชกระท่อมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย หรือแม้กระทั่งน้ำต้มกระท่อมที่ไม่ได้ผสมกับสิ่งใดเลยก็เป็นสิ่งที่ห้ามผลิตเพื่อจำหน่ายตามประกาศฉบับนี้ การฝ่าฝืน ผลิต และขายอาหารที่ พ.ร.บ. อาหารห้าม มีโทษตามมาตรา 50 จำคุก 6 เดือนถึง 2 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท

 

สมศักดิ์กล่าวอีกว่า ปัจจุบันยังมีข้อจำกัดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอาง ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้อย่างเต็มที่ กระทรวงสาธารณสุขจึงสมควรที่จะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยา อาหาร และเครื่องสำอางได้ เรื่องนี้เป็นอุปสรรคในการค้าขายแบบชาวบ้าน ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติพืชกระท่อม พ.ศ. …. คณะกรรมาธิการฯ ซึ่งตนเป็นประธานฯ ได้มีข้อสังเกตเพิ่มเติมในประเด็นดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะส่งให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไปแล้ว 

 

แต่สำหรับในช่วงนี้ที่ประกาศยังไม่ถูกแก้ไข หากผู้ประกอบการที่อยากจะพัฒนาต่อยอดเพื่อสกัดหรือแปรรูปพืชกระท่อม โดยใช้ประโยชน์จากสารสำคัญในใบกระท่อมเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือยาแผนโบราณ ที่มีสรรพคุณในการบำบัดหรือบรรเทาออาการต่างๆ นั้น สามารถขอคำแนะนำหรือติดต่อได้ที่กองควบคุมผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 

Kratom

Kratom

Kratom

Kratom

Kratom

Kratom

Kratom

Kratom

Kratom

The post ขายใบกระท่อมคึกคัก ผ่านออนไลน์-ตลาดสด หลังมีกฎหมายปลดล็อก รมว.ยุติธรรม เผยขายใบสดได้เสรี น้ำต้มกินเอง-แจกจ่ายได้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เบอร์นาร์ด ลุงขายถั่วในรั้ว มธ. ท่าพระจันทร์ เปิดให้สั่งทางออนไลน์แล้ว ภายใต้แบรนด์ Bernard Beans https://thestandard.co/bernard-beans/ Fri, 09 Jul 2021 07:42:33 +0000 https://thestandard.co/?p=510492 Bernard Beans

“กินถั่วไหม?”    เด็กธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่าหรือ […]

The post เบอร์นาร์ด ลุงขายถั่วในรั้ว มธ. ท่าพระจันทร์ เปิดให้สั่งทางออนไลน์แล้ว ภายใต้แบรนด์ Bernard Beans appeared first on THE STANDARD.

]]>
Bernard Beans

“กินถั่วไหม?” 

 

เด็กธรรมศาสตร์ ศิษย์เก่าหรือศิษย์ปัจจุบัน ไม่มีใครไม่รู้จัก ‘เบอร์นาร์ด’ ลุงขายถั่วขอบรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ที่ตั้งแผงขายมานานกว่า 50 ปี ในช่วงที่เศรษฐกิจย่ำแย่ ทุกอย่างต้อง Work from Home เบอร์นาร์ดได้เปิดใช้ช่องใหม่เพื่อจำหน่ายถั่วแล้ว เป็นช่องทางออนไลน์ภายใต้แบรนด์ Bernard Beans

 

แน่นอนว่างานนี้เบอร์นาร์ดไม่ได้ทำคนเดียว แต่ได้รับแรงช่วยเหลือจาก ลอร์ด-ธวัฐไชย ฤดีอมรเกียรติ ผู้อยากทำธุรกิจ และเล็งเห็นว่าแบรนด์ถั่วเบอร์นาร์ดนั้นแข็งแกร่ง ขาดแต่การทำโฆษณาประชาสัมพันธ์และหาช่องทางที่เหมาะสม ทั้งคู่จึงร่วมมือกัน โดยลอร์ดเป็นฝ่ายดูแลจัดหาบรรจุภัณฑ์ ทำการตลาด ดูแลยอดสั่งซื้อ ส่วนเบอร์นาร์ดยังคงดูแลเรื่องถั่วเช่นเดิม

 

ถั่วที่เบอร์นาร์ดขายมี 5 ชนิด ได้แก่ ถั่วเคลือบน้ำตาล ถั่วทอง ถั่วลิสง ถั่วปากอ้า ถั่วลันเตาเคลือบ ผลิตภัณฑ์รุ่นแรกจะเป็นถั่วคละแบบ โดยบรรจุลงถ้วยพลาสติกพร้อมกิน หน้ากล่องติดโลโก้ Bernard Beans ที่ศิษย์เก่าเคยทำให้ 

 

ใครที่สนใจอยากอุดหนุนถั่วเบอร์นาร์ด สามารถเข้าไปสั่งซื้อ หรือตามเข้าไปให้กำลังใจเบอร์นาร์ดกันได้ที่ Facebook: Bernard Beans ถั่วเบอร์นาร์ดออนไลน์ สนนราคากล่องละ 50 บาท จัดส่งทั่วไทย

The post เบอร์นาร์ด ลุงขายถั่วในรั้ว มธ. ท่าพระจันทร์ เปิดให้สั่งทางออนไลน์แล้ว ภายใต้แบรนด์ Bernard Beans appeared first on THE STANDARD.

]]>
แบงก์ชาติไทย-มาเลเซีย เปิดนวัตกรรมชำระค่าสินค้า บริการ รวมถึงการซื้อขายออนไลน์ระหว่างกันผ่านการสแกน QR Code https://thestandard.co/thai-malaysian-national-bank-qr-code-scanning-for-online-shopping-service-innovation/ Fri, 18 Jun 2021 11:46:11 +0000 https://thestandard.co/?p=502240 การซื้อขายออนไลน์

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank […]

The post แบงก์ชาติไทย-มาเลเซีย เปิดนวัตกรรมชำระค่าสินค้า บริการ รวมถึงการซื้อขายออนไลน์ระหว่างกันผ่านการสแกน QR Code appeared first on THE STANDARD.

]]>
การซื้อขายออนไลน์

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางมาเลเซีย (Bank Negara Malaysia: BNM) เปิดตัวนวัตกรรมด้านการชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างสองประเทศเป็นครั้งแรก ซึ่งการเชื่อมโยงในครั้งนี้ลูกค้าและร้านค้าของทั้งสองประเทศจะสามารถทำรายการชำระเงินและรับเงินระหว่างประเทศผ่าน QR code ได้ทันที โครงการได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 โดยแบ่งโครงการเป็น 3 ระยะ 

 

ในระยะแรก ลูกค้าในประเทศไทยสามารถใช้แอปพลิเคชันบนมือถือสแกน DuitNow QR code เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าในประเทศมาเลเซีย ซึ่งรวมถึงการซื้อขายออนไลน์ระหว่างประเทศ นอกจากนี้บริการนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการจำนวนมาก เมื่อการเดินทางระหว่างประเทศกลับสู่ภาวะปกติ โดยนักท่องเที่ยวสามารถชำระเงินได้ด้วยแอปพลิเคชันบนมือถือแทนการใช้เงินสด

 

ในระยะที่สองลูกค้าในประเทศมาเลเซียสามารถใช้แอปพลิเคชันบนมือถือสแกน Thai QR Code เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้าในประเทศไทย คาดว่าจะเริ่มให้บริการในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 และในระยะสุดท้ายจะมีการขยายบริการสู่การโอนเงินระหว่างประเทศ (Remittance) ซึ่งลูกค้าทั้งสองประเทศสามารถโอนเงินข้ามประเทศแบบทันที โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือของผู้รับโอน คาดว่าจะเริ่มให้บริการในไตรมาสที่ 4 ปี 2565

 

รณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการเชื่อมโยงการชำระเงินในอาเซียน (ASEAN Payment Connectivity) เพื่อส่งเสริมการบูรณาการทางการเงินในระดับภูมิภาคด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานบริการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งการเชื่อมโยงครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น และเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจภายหลังจากการคลี่คลายของสถานการณ์โรคระบาด

 

“ธปท. เห็นความสำคัญของการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่างประเทศ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเชื่อมโยงครั้งนี้เป็นการต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของไทย เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมการชำระเงินรายย่อยระหว่างสองประเทศ ทั้งในช่วงสถานการณ์การเกิดโรคแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน และเมื่อกลับสู่ภาวะปกติ อีกทั้งบริการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุน ส่งเสริมการค้าชายแดนและการซื้อขายผ่านอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจอาเซียนเติบโตและก้าวไปสู่สังคมดิจิทัลอีกด้วย” รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

 

อับดุล ราชีด กาฟโฟร์ รองผู้ว่าการ BNM กล่าวว่า การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินรายย่อยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการทำธุรกรรมชำระเงินระหว่างประเทศ โดยจะทำให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมระหว่างประเทศได้รวดเร็วขึ้นด้วยค่าธรรมเนียมที่ถูกลง และครอบคลุมการทำธุรกรรมชำระเงินได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งบริการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มทางเลือกในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศให้กับลูกค้าและร้านค้า รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงและการบูรณาการทางการเงินในระดับภูมิภาค

 

ทั้งนี้ ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย และธนาคาร Public Bank เป็นสองธนาคารแรกที่ให้บริการชำระเงินผ่าน QR Code ระหว่างประเทศในโครงการนี้ และในระยะต่อไปจะมีผู้เข้าร่วมให้บริการเพิ่มเติมเพื่อขยายจำนวนลูกค้าและร้านค้า

 

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

The post แบงก์ชาติไทย-มาเลเซีย เปิดนวัตกรรมชำระค่าสินค้า บริการ รวมถึงการซื้อขายออนไลน์ระหว่างกันผ่านการสแกน QR Code appeared first on THE STANDARD.

]]>