การเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Sun, 09 May 2021 12:20:09 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 16 กันยายน – วันโอโซนโลก https://thestandard.co/onthisday1609/ Mon, 16 Sep 2019 03:17:54 +0000 https://thestandard.co/?p=287513 วันโอโซนโลก

สูงขึ้นไปเหนือท้องฟ้าสีครามของดาวเคราะห์โลก ‘โอโซน’ กำล […]

The post 16 กันยายน – วันโอโซนโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
วันโอโซนโลก

สูงขึ้นไปเหนือท้องฟ้าสีครามของดาวเคราะห์โลก ‘โอโซน’ กำลังทำหน้าที่อย่างขะมักเขม้น เพื่อเป็นเกราะป้องกันและกรองรังสีต่างๆ จากดวงอาทิตย์ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตบนโลกนับล้านชีวิตสามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่เป็นอันตราย และนี่คือวันของ ‘โอโซน’ 

 

โอโซน (Ozone) คือกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ที่เกิดจากการรวมตัวกันของออกซิเจน 3 อะตอม โดยโมเลกุลออกซิเจนจะแตกตัวจากการกระตุ้นของรังสี UVC และจับตัวกับอะตอมออกซิเจนอิสระ จนกลายเป็นก๊าซโอโซนที่มีคุณูปการต่อโลกใบนี้ จนต้องมีวันสำคัญเป็นของตัวเอง เพื่อเตือนให้มนุษย์โลกตระหนักรู้ และร่วมกันปกป้องโอโซนให้ยังคงทำหน้าที่ปกป้องระบบนิเวศบนโลกได้อย่างไม่เสียสมดุล

 

ก่อนหน้านี้ใน พ.ศ. 2525 นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน เหนือทวีปแอนตาร์กติก ขั้วโลกใต้ ซึ่งเกิดจากกระแสลมพัดคลอรีนจากสาร CFC เข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ และทำปฏิกิริยากับโอโซน ทำให้เกิดรูโหว่ นานาชาติจึงเร่งผลักดันให้เกิดการใช้งานของสารทดแทนและเป็นมิตรกับโอโซนอย่างจริงจัง ซึ่งเราเองก็สามารถช่วยกันปกป้องโอโซนได้ด้วยวิธีต่อไปนี้

 

  • เลิกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสาร CFCs
  • ประหยัดไฟฟ้า
  • ช่วยกันปลูกต้นไม้
  • ลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง
  • เดินทางด้วยยานพาหนะสาธารณะ เช่น รถไฟฟ้า, รถประจำทางให้มากขึ้น

The post 16 กันยายน – วันโอโซนโลก appeared first on THE STANDARD.

]]>
งานวิจัยเผย การเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศเมื่อ 2 พันล้านปีที่แล้ว ทำสิ่งมีชีวิตหายไปเกือบ 100% https://thestandard.co/almost-all-life-on-earth-was-wiped-out-2-billion-years-ago/ Thu, 05 Sep 2019 08:56:58 +0000 https://thestandard.co/?p=284676 การเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศ

ภัยพิบัติครั้งรุนแรงที่สุดบนโลกอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับไดโน […]

The post งานวิจัยเผย การเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศเมื่อ 2 พันล้านปีที่แล้ว ทำสิ่งมีชีวิตหายไปเกือบ 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>
การเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศ

ภัยพิบัติครั้งรุนแรงที่สุดบนโลกอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับไดโนเสาร์ โดยงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา (PNAS) เมื่อช่วงปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ระบุว่า เมื่อ 2 พันล้านปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศอย่างรุนแรง ทำให้ชีวิตสิ่งมีชีวิตบนโลกหายไปเกือบ 100%

 

มัลโคม ฮอกส์คิสส์ นักศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และผู้ร่วมทำการวิจัยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNN ว่า การศึกษาครั้งนี้สำรวจผ่านแบไรต์ ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีอายุกว่า 2 พันล้านปี บริเวณเกาะเบลเชอร์ (Belcher Islands) ของแคนาดาว่า ชั้นบรรยากาศเป็นอย่างไร ขณะที่หินเหล่านี้กำลังเกิดขึ้น

 

ทีมวิจัยพบว่า หลายพันล้านปีก่อนจุลินทรีย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถอยู่รอดได้ เมื่อเกิดการสังเคราะห์แสงจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดปริมาณก๊าซออกซิเจนมากจนเกินไป ซึ่งทำให้ชั้นบรรยากาศของโลกหยุดทำงานและออกซิเจนบนโลกลดลงอย่างรวดเร็ว จนจำนวนสิ่งมีชีวิตบนโลกลดลงอย่างมหาศาล โดยทีมวิจัยคำนวณพบว่า จำนวนสิ่งมีชีวิตหายไปกว่า 80-99.5% หลังโลกมีปริมาณก๊าซออกซิเจนมากจนเกินไป

  

ภาพ: Phase4Studios / Shutterstock

พิสูจน์อักษร: พรนภัส ชำนาญค้า

อ้างอิง:

The post งานวิจัยเผย การเปลี่ยนแปลงชั้นบรรยากาศเมื่อ 2 พันล้านปีที่แล้ว ทำสิ่งมีชีวิตหายไปเกือบ 100% appeared first on THE STANDARD.

]]>