การอนุรักษ์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 24 Nov 2023 02:18:27 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 POP TIP: ช่วยกันอนุรักษ์น้ำ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ https://thestandard.co/pop-tip-20052023/ Sat, 20 May 2023 02:54:59 +0000 https://thestandard.co/?p=792990 อนุรักษ์น้ำ

ช่วยกันอนุรักษ์น้ำ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อผลลัพธ์ที […]

The post POP TIP: ช่วยกันอนุรักษ์น้ำ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อนุรักษ์น้ำ

ช่วยกันอนุรักษ์น้ำ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่นั้นสามารถเริ่มง่ายๆ


จากข้อมูลทางสิ่งแวดล้อมมากมายทั้งไทยและต่างประเทศต่างเน้นย้ำเป็นเสียงเดียวกันว่า น้ำ คือแหล่งที่มาของทุกชีวิต เป็นหนึ่งในทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของเรา เมื่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง การขาดแคลนน้ำในปัจจุบันจึงเป็นวาระของโลกที่สำคัญเกินกว่าจะเพิกเฉย แต่เราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จากการอนุรักษ์น้ำ คือการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในกิจวัตรประจำวันของเรา แต่สร้างความแตกต่างที่สำคัญร่วมกันได้ ซึ่ง LIFE คัดสรรวิธีอนุรักษ์น้ำมาฝากทุกคนดังนี้ 

 

  • แก้ไขรอยรั่วในบ้านของเรา ก๊อกน้ำหยดเดียวอาจดูไม่สำคัญ แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาจทำให้สูญเสียน้ำหลายร้อยลิตร 
  • หมั่นบำรุงรักษาระบบน้ำในบ้านของเราอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงท่อ ก๊อกน้ำ และห้องน้ำ ช่วยกันตรวจสอบซ่อมแซมการรั่วไหลเหล่านี้ได้ จะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำได้เป็นอย่างมาก
  • แม้การแช่อ่างน้ำจะช่วยให้ผ่อนคลาย แต่ก็ใช้น้ำในปริมาณที่เยอะมาก หากไม่จำเป็นจริงๆ ควรลดการแช่อ่าง และอาบน้ำฝักบัวประหยัดน้ำแทน 
  • ติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดน้ำ ตั้งแต่หัวฝักบัว ก๊อกน้ำปรับระดับให้ไหลไม่แรงมาก ไปจนถึงการใช้โถสุขภัณฑ์แบบดูอัลฟลัช และใช้เครื่องซักผ้าประหยัดพลังงาน 
  • สวนเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เราสามารถลดการใช้น้ำได้ โดยปกติเรามักจะรดน้ำต้นไม้มากเกินความจำเป็น ควรศึกษาพันธุ์ต้นไม้ที่ปลูกในบ้านว่าต้องการปริมาณน้ำมากน้อยแค่ไหน จะได้ลดการรดน้ำต้นไม้อย่างสิ้นเปลืองโดยไม่ตั้งใจ 
  • เมื่อถึงหน้าฝน การฝึกเก็บน้ำฝนมาใช้ประโยชน์ก็เป็นทางออกที่ยั่งยืนได้เหมือนกัน เพราะน้ำฝนนำมาทำความสะอาด ทำสวน หรือแม้แต่ล้างรถได้ 
  • โปรดจำไว้ว่าความรับผิดชอบในการอนุรักษ์น้ำไม่ได้ตกเป็นหน้าที่ของคนไม่กี่คน แต่เราควรร่วมกันช่วยประหยัดน้ำในวิธีที่ทำได้ เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มจากสิ่งเล็กน้อยสู่ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ 

The post POP TIP: ช่วยกันอนุรักษ์น้ำ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเพื่อผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานพบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยใกล้สูญพันธุ์ สัญญาณบวกแห่งการอนุรักษ์ผืนป่า https://thestandard.co/kaeng-krachan-national-park-found-a-thai-species-of-freshwater-crocodile/ Sat, 23 Jan 2021 10:33:28 +0000 https://thestandard.co/?p=446631 อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

วันนี้ (23 มกราคม) พิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำน […]

The post อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานพบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยใกล้สูญพันธุ์ สัญญาณบวกแห่งการอนุรักษ์ผืนป่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

วันนี้ (23 มกราคม) พิชัย วัชรวงษ์ไพบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี เปิดเผยถึงกรณีภาพจากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าว่า มานะ เพิ่มพูล หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ได้นำภาพถ่ายจากกล้องดักถ่ายสัตว์ป่าในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมาตรวจสอบ พบภาพสัตว์ป่าที่หายากมากในธรรมชาติ และกำลังจะสูญพันธ์ุไปจากธรรมชาติคือ จระเข้น้ำจืด หรือจระเข้สายพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis)ในต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เหนือบ้านโป่งลึกและบ้านบางกลอย ยืนยันสถานภาพยังคงอยู่ได้ ซึ่งจากการตรวจสอบพื้นที่ดังกล่าวไม่พบภาพจระเข้มานาน แต่ในการพบครั้งนี้ยืนยันได้ว่า มีมากกว่าหนึ่งตัวที่เจ้าหน้าที่สามารถบันทึกภาพได้จากที่เฝ้าติดตามมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันในอนุสัญญาของไซเตสได้ขึ้นบัญชีจระเข้น้ำจืดไว้อยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix 1)

 

“ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าให้เป็นผืนป่าขนาดใหญ่ เพื่อให้สัตว์ป่าสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องดำเนินอยู่ต่อไป” พิชัยกล่าว

 

สำหรับการพบเสือโคร่งเพิ่มขึ้นจากเดิม และจระเข้น้ำจืดเพิ่มขึ้น เป็นการส่งสัญญาณที่ดีขึ้นในการอนุรักษ์ในพื้นอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานพบจระเข้น้ำจืดสายพันธุ์ไทยใกล้สูญพันธุ์ สัญญาณบวกแห่งการอนุรักษ์ผืนป่า appeared first on THE STANDARD.

]]>
5 มกราคม วันนกแห่งชาติ https://thestandard.co/onthisday0501/ Sat, 04 Jan 2020 23:00:06 +0000 https://thestandard.co/?p=317383 วันนกแห่งชาติ

แม้คำว่า ‘นก’ อาจเป็นคำแสลงใจของใครหลายคนที่มักจะต้องเจ […]

The post 5 มกราคม วันนกแห่งชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
วันนกแห่งชาติ

แม้คำว่า ‘นก’ อาจเป็นคำแสลงใจของใครหลายคนที่มักจะต้องเจอกับความผิดหวังซ้ำๆ ซากๆ แต่เก็บความโศกเศร้าเอาไว้ก่อน เพราะวันนี้ไม่ใช่วันของคุณ แต่เป็นวันนกแห่งชาติ หรือ National Bird Day ในสหรัฐอเมริกา ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักและอนุรักษ์สัตว์โลกมีปีกที่เติมความสดใสให้กับโลกใบนี้

 

National Bird Day เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1894 โดย Charles Almanzo Babcock ผู้อำนวยการในเขตพื้นที่การศึกษาเมืองออยล์ซิตี้ รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา 

 

การศึกษาเรื่อง Decline of the North American Avifauna ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Science พบว่านกในทวีปอเมริกาเหนือมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็วถึง 29% ตั้งแต่ปี 1970 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ประชากรนกหายไปกว่า 2.9 พันล้านตัว 

 

งานวิจัยอีกชิ้นที่เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 1978-2016 พบว่านกในทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดตัวที่เล็กลงอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าปรากฏการณ์เดียวกันนี้เกิดขึ้นทั่วโลก อันเนื่องมาจากผลกระทบของอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บซากนกจำนวน 70,716 ตัว จาก 52 สายพันธุ์ โดยพบว่านกเหล่านี้มีน้ำหนักเฉลี่ยโดยรวมลดลง 2.6% ความยาวของกระดูกขาลดลง 2.4% ขณะที่ความยาวจากปลายปีกทั้งสองข้างปรับเพิ่มขึ้น 1.3%

The post 5 มกราคม วันนกแห่งชาติ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ดร.ธรณ์ เผยไข่เต่ามะเฟืองถูกขโมย เร่งเจ้าหน้าที่อุทยานหาตัวคนทำผิด https://thestandard.co/thon-warning-gooseberry-turtle-eggs-was-stolen/ Sat, 04 Jan 2020 08:49:06 +0000 https://thestandard.co/?p=317686 เต่ามะเฟือง

(4 มกราคม 2563) ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ โพสต์ภาพและข้อ […]

The post ดร.ธรณ์ เผยไข่เต่ามะเฟืองถูกขโมย เร่งเจ้าหน้าที่อุทยานหาตัวคนทำผิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
เต่ามะเฟือง

(4 มกราคม 2563) ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ โพสต์ภาพและข้อความผ่าน Facebook ส่วนตัว ‘Thon Thamrongnawasawat’ โดยบอกว่าตอนนี้ไข่เต่ามะเฟืองที่หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงาถูกขโมย โดยระบุว่า หลังปีใหม่ หวังว่าจะใช้ชีวิตโดยสงบ แต่ตอนนี้โกรธมากครับ #ไข่เต่ามะเฟืองถูกขโมย รายละเอียดดังนี้ครับ

 

วันที่ 4 มกราคม 2563 เวลา 04.30-09.30 น. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต ลาดตระเวนสำรวจการขึ้นวางไข่ตามชายหาดจังหวัดพังงา

 

พบการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล พบว่าเป็นชนิดเต่ามะเฟือง คาดว่าขึ้นมาวางไข่ประมาณเที่ยงคืน ตรวจวัดขนาดของรอย ความกว้างของพายซ้ายถึงพายขวา 155 เซนติเมตร อก 50 เซนติเมตร ไม่พบแม่เต่า จึงได้ทำการขุดหาไข่ พบเพียงไข่ลม 2 ฟอง คาดว่าไข่เต่าน่าจะถูกขโมย จึงรวบรวมข้อมูลหลักฐานแวดล้อมเพื่อแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน นั่นคือข้อมูลจากอุทยานฯ คราวนี้ขอผมพูดบ้าง

 

“ผมไม่โทษเจ้าหน้าที่เลย เพราะทราบดีว่าเขาทำงานหนักแค่ไหน หาดยาว 10-20 กิโลเมตร แม่เต่าวางไข่ตรงไหนตอนไหนก็ได้ การมาพบแต่รอยถือเป็นเรื่องปกติ ก่อนหน้านี้หลายรังก็พบรอยก่อนตามไปเจอหลุมไข่ ที่ผมโกรธมากคือทำไมต้องขโมย จะบ้าเหรอ”

 

ทั้งนี้ ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ ยังเผยข้อมูล และบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิด โดยระบุเป็นข้อๆ ว่า 

 

1. เต่ามะเฟืองเป็นสัตว์สงวน การขโมย/จำหน่าย/ครอบครองไข่เต่า มีโทษรุนแรงมากตามพระราชบัญญัติสงวนคุ้มครอง (2562) มีผลบังคับใช้แล้ว ติดคุก 3-15 ปี ปรับ 3 แสนถึง1.5 ล้านบาท

 

2. หากอยากได้เงินมากนัก มีกองทุนอนุรักษ์ไข่เต่าที่ช่วยกันทำโดยมีภาคเอกชนสนับสนุน ใครแจ้งได้ 20,000 บาททันที ที่ผ่านมาก็มีคนแจ้งและได้เงินรวดเร็วทุกราย

 

3. สำคัญสุดๆ เพราะเต่ามะเฟืองคือหนึ่งในสัตว์หายากที่สุดในทะเลไทย ไม่อย่างนั้นจะเป็นสัตว์สงวนทำไม

 

“5-6 ปีที่ผ่านมา เราไม่เจอเต่าเลย เจอแต่ศพกินขยะทะเล ปีที่แล้ว ช่วยกันทั้งประเทศ ได้ลูกเต่ามา 130+ ตัว ส่วนปีนี้ วางไข่สองรัง คาดว่าน่าจะได้สักร้อยตัว พอแม่เต่าวางรังที่สาม ถูกขโมย ไข่เต่ารังหนึ่งน่าจะฟักได้ประมาณ 50 ตัว”

 

นอกจากนี้ ดร.ธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ ยังตำหนิคนขโมยไข่เต่าว่า “จะรู้ไหมว่าแค่ไข่เต่ารังเดียว เขาฆ่าสัตว์สงวนครึ่งร้อย คิดเป็น 1 ใน 3 ของเต่ามะเฟืองในฤดูนี้ และเป็นสัตว์ที่รณรงค์กันทั้งประเทศ ยิ่งคิดถึงหนทางกว่าจะผลักดันให้เป็นสัตว์สงวนได้ ใช้เวลาหลายปี คนช่วยกันเป็นแสน มันต้องสิ้นคิดขนาดไหน ถึงกล้าเย้ยกฎหมายแรงสุดๆ ถึงได้กล้าเหยียบย่ำน้ำใจคนรักทะเลทั้งประเทศ ”

 

ผมจึงอยากขอให้ทุกหน่วยงาน/จังหวัดดำเนินการให้ถึงที่สุด เท่าที่ทราบ เจ้าหน้าที่อุทยานกำลังไปแจ้งความ และเรื่องไปถึงกระทรวงทรัพยากรฯ แล้ว

 

อยากฝากวิงวอนท่านรัฐมนตรี ท่านปลัดที่ช่วยกันดูเต่ามะเฟืองร่วมกันมา ท่านอธิบดีกรมอุทยาน/กรมทะเล รวมถึงท่านผู้ว่าฯ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ติดตามผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้ อย่าให้ชื่อเสียงทุกอย่างที่คนพังงาช่วยกันทำมา ในฐานะจังหวัดเดียวของไทยที่มีเต่ามะเฟือง พินาศสิ้นเพราะน้ำมือคนเพียงไม่กี่คน

 

ผมขอเขียนแค่นี้ก่อน มือสั่นเขียนต่อไม่ไหว โกรธมากจนอยากร้องไห้ หามันให้เจอ จับมันให้ได้ครับ!!

 

ภาพ: Thon Thamrongnawasawat

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

The post ดร.ธรณ์ เผยไข่เต่ามะเฟืองถูกขโมย เร่งเจ้าหน้าที่อุทยานหาตัวคนทำผิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
25 ปี รอยเลือด คราบน้ำตาของคนดงมะไฟ: การต่อสู้รอบใหม่เพื่อคัดค้านโรงโม่หินในถิ่นเกิด https://thestandard.co/dong-mafai-conflict/ Fri, 06 Dec 2019 11:27:41 +0000 https://thestandard.co/?p=310193 โรงโม่หินดงมะไฟ

หากต้องให้ใครสักคนต่อสู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งกว่าครึ่งชีว […]

The post 25 ปี รอยเลือด คราบน้ำตาของคนดงมะไฟ: การต่อสู้รอบใหม่เพื่อคัดค้านโรงโม่หินในถิ่นเกิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
โรงโม่หินดงมะไฟ

หากต้องให้ใครสักคนต่อสู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งกว่าครึ่งชีวิตของเขา เพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘ความยุติธรรม’ ที่ในความเป็นจริงแล้วเขาควรได้รับตั้งแต่เริ่มต้นมีสถานะความเป็น ‘มนุษย์’ 

 

แต่ทว่าในความเป็นจริงเขายังไม่ได้รับ หรือแม้แต่มองเห็นคุณค่าเหล่านั้นเลย สิ่งนี้ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลว ผุพัง และโครงสร้างที่มีปัญหาต่อคนบางกลุ่ม 

 

ในขณะที่กลุ่มคนที่เรียกว่า ‘นายทุน’ ดูเหมือนจะได้รับการอำนวยความสะดวก และความยุติธรรมมาถึงโดยไม่ต้องร้องขอ หรือต้องใช้เวลานานในการเรียกร้องเท่าขนาดครึ่งชีวิตของใครบางคน

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

เป็นเวลายาวนานกว่า 25 ปีแล้ว สำหรับการต่อสู้อย่างเข้มแข็งในนาม ‘กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได’ เพื่อยืนยันสิทธิชุมชนอนุรักษ์ บำรุงรักษา การจัดการ และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้สิทธิคัดค้านการทำเหมืองหินปูน และเรียกร้องให้หยุดการทำเหมืองหินปูน และโรงโม่หิน อย่างต่อเนื่อง 

 

ปัจจุบันเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน (เพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง) ตั้งอยู่บน ‘ภูผาฮวก’ มีพื้นที่ทำเหมืองกว่า 175 ไร่ และโรงโม่หินอีก 50 ไร่ ตั้งอยู่ในเขตตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

ชุมชนท้องถิ่นเรียกป่าแถบนั้นว่า ‘ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่ ผาจันได’ ซึ่งมีเขาหินปูนที่สวยงาม มีระดับความสูงประมาณ 260-300 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นแนวทิวเขาที่เป็นต้นน้ำแหล่งน้ำซับซึมและอุดมสมบูรณ์หลายลูก ประกอบด้วย ภูผาฮวก, ผาจันได, ภูผายา, ผาโขง และผาน้ำลอด ทั้งหมดอยู่ภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเก่ากลอยและป่านากลาง 

 

ที่สำคัญต้นน้ำจากทิวเขาหินปูนเหล่านั้นได้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยสำคัญหลายสาย เช่น ลำห้วยปูน ลำห้วยสาวโฮ และลำห้วยคะนาน เป็นต้น จากภูเขาเชื่อมโยงป่าใหญ่น้อยด้วยลำห้วย ไร่นา และชุมชน ซึ่งได้พึ่งพิงและใช้ประโยชน์แหล่งน้ำในการทำนา เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก ตลอดปีโดยเฉพาะในฤดูแล้ง 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

 หลังการต่อสู้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีท่าทีว่าการต่อสู้ของชาวดงมะไฟ จะบรรลุผลตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน 

 

การต่อสู้รอบใหม่จึงเกิดขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากปี 2562 บริษัทกำลังเร่งดำเนินการต่อใบอนุญาตขอเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อทำเหมืองหินบนภูผาฮวกอีก 10 ปี ซึ่งถ้าบริษัทสามารถต่อใบอนุญาตได้สำเร็จ ภูเขา และป่าไม้จะถูกระเบิด ระบบนิเวศถูกทำลาย และแหล่งอาหารของชุมชนก็จะสูญหาย ส่วนนายทุนก็จะขนเอาแร่ไปขายต่อไปอีกจนถึงปี 2573 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

สุนี ไชยรส ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมความเสมอภาคและความเป็นธรรม วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา เพราะไม่เคารพการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการตัดสินใจโครงการ ทั้งที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ได้รองรับสิทธิชุมชนไว้ในเรื่องการทำประชาพิจารณ์

 

“ที่มาของความขัดแย้งเกิดขึ้นเพราะมีการปลอมใบอนุญาตการใช้พื้นที่ป่าและใบประทานบัตร ทำให้ชาวบ้านต้องไปฟ้องศาลปกครอง กระทั่งชนะคดี แต่ไม่สามารถทำให้บริษัทเหมืองหยุดประกอบกิจการได้”

 

โดยปัจจุบันบริษัทได้ดำเนินกิจการระเบิดภูเขา ทำเหมืองและโรงโม่หิน พร้อมทั้งขนถ่ายลำเลียงแร่เข้าออกระหว่างพื้นที่เรื่อยมา เพราะได้อุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด โดยอ้างว่าคดียังไม่ถึงที่สุด 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

สมควร เรียงโหน่ง ประธานกลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนเขาเหล่าใหญ่-ผาจันได เล่าว่าชาวบ้านเริ่มลุกขึ้นต่อสู้มาตั้งแต่ปี 2536 เมื่อเริ่มมีบริษัทเอกชนเข้ามายื่นขอสัมปทานภูผายา ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อทำเหมืองหิน คนในชุมชนไม่เห็นด้วยจึงเริ่มรวมตัวกันคัดค้าน เพราะบนเขานั้นมีสำนักสงฆ์ และมีการสำรวจพบภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งสำคัญทางโบราณคดีในเวลาต่อมา

 

ปีถัดมา บริษัทเอกชนได้ย้ายมายื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองหินที่ภูผาฮวก ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเก่ากลอยและป่านากลาง ตำบลดงมะไฟ เพื่อทำเหมืองหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน

 

ขณะที่ชุมชนรวมตัวกันเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างหนัก เป็นเหตุให้ บุญรอด ด้วงโคตะ และ สนั่น สุขวรรณ ถูกลอบยิงเสียชีวิต จนปัจจุบันยังจับคนร้ายไม่ได้

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

ภรรยากำนันทองม้วน

 

ปี 2542 กำนันทองม้วน คำแจ่ม แกนนำต่อสู้คนสำคัญ และ สม หอมพรมมา ถูกยิงเสียชีวิต แต่ชาวบ้านตำบลดงมะไฟ จำนวน 6 หมู่บ้าน ยังคงรวมตัวกันยืนหยัดต่อสู้ คัดค้านเหมืองหิน บนภูผาฮวกต่อไป

 

ตลอดการต่อสู้กว่า 25 ปีของชาวบ้านมีรอยเลือดและคราบน้ำตาปรากฏให้เห็นบนเส้นทางนี้มาโดยตลอด แต่ทว่าพวกเขาเลือกที่จะสู้เพื่อปกป้องถิ่นเกิดของตนเอง แม้จะเผชิญต่อสถานการณ์ที่สร้าง ‘ความกลัว’ ให้กับพวกเขา บางคนสู้ตั้งแต่สาวยันแก่ ตั้งแต่ลูกยังเล็กกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เส้นของความกลัวได้ถูกก้าวข้ามไปแล้ว 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

ลำดวน วงศ์คำจันทร์ ชาวบ้านดงมะไฟ และแม่ผู้ต่อสู้ในขบวนการนี้มายาวนาน เล่าว่า เธอต่อสู้ตั้งแต่ลูกสาวของเธอยังเล็ก จนปัจจุบันลูกสาวของเธอได้เติบโต และย้ายไปทำงานอยู่ที่เกาหลีใต้แล้ว 

 

“ลูกไม่เคยบอกให้แม่หยุด ลูกไม่ได้ว่าอะไร เขาเห็นเราต่อสู้มาตั้งแต่เด็ก พอโทรไปเล่าให้เขาฟังว่าวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ชาวบ้านจะไปเดินสู้กันอีก ลูกสาวบอกว่าเสียดายที่ไม่ได้อยู่ร่วมด้วย” 

 

ลำดวนบอกว่า เธอเคยกลัวที่จะสู้ เคยถูกเจ้าหน้าที่ลากลงจากรถกระบะ ลากเหมือนหมูเหมือนหมา เหมือนไม่ใช่คน ตอนนั้นได้รับบาดเจ็บ แต่ก็ไม่ท้อถอย เพราะรู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นก็เพื่อบ้านเกิดตัวเอง ทำให้ชีวิตการต่อสู้ของเธอได้ก้าวข้ามผ่านความกลัวไปแล้ว และด้วยพลังสตรีที่ออกมาสู้ร่วมกัน ทำให้เธอมีเพื่อนร่วมสู้ระหว่างทาง

 

“แม่สู้ด้วยใจ สู้ด้วยพลังทั้งหมดที่มี เวลาเหนื่อยท้อก็ร้องเพลงกัน ใจที่สู้มันทำให้แม่ไม่กลัวอะไรแล้ว กลัวแต่จะไม่ได้รักษาธรรมชาติเหล่านี้ไว้ให้ลูกหลาน ไม่รู้ว่าจะชนะไหม ก็สู้มาตั้งนาน รู้แต่ว่าจะสู้ให้ถึงที่สุด ถึงวันนั้นก็ไม่เสียใจอะไรแล้ว”

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

ระหว่างการต่อสู้ผ่านช่องทางกฎหมายต่างๆ ชาวบ้านก็ได้อาศัยช่องทางอื่นด้วย โดยขอให้ทางการเข้ามาทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ ต่อมากรมศิลปากรได้ระบุว่าในตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญ เพราะมีการอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ต่อเนื่องมาถึงยุคประวัติศาสตร์ จนกลายมาเป็นชุมชนขนาดใหญ่ในปัจจุบัน 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่ ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น รวมทั้งยังเป็นแหล่งโบราณคดีตามกฎหมาย แต่แหล่งโบราณคดีเหล่านี้บางส่วนซ้อนทับอยู่กับเขตคำขอประทานบัตรทำเหมืองหินปูนของบริษัทเอกชนด้วย อาทิ

 

‘ภูผายา’ ด้านทิศตะวันออกของผาเป็นที่ตั้งของถ้ำพระและถ้ำเสือ มีการสำรวจพบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย นอกจากนี้ ยังพบชิ้นส่วนพระพุทธรูปบุเงินกำหนดอายุว่าอยู่ในยุคประวัติศาสตร์สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-24 ทั้งนี้ ชุมชนเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงได้ร่วมกันสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

นอกจากนี้ กรมศิลปากรได้ดำเนินการสำรวจแหล่งโบราณคดีถ้ำเลียงผาและถ้ำหินแตก ซึ่งเป็นถ้ำย่อยที่อยู่ในบริเวณกลุ่มถ้ำน้ำลอด-ถ้ำศรีธน และพบโบราณวัตถุ อันได้แก่ชิ้นส่วนภาชนะดินเผา และชิ้นส่วนเครื่องถ้วยเขียนสีน้ำเงินใต้เคลือบ ซึ่งจัดเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายสมัยเหล็ก 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

นับต้ังแต่ปี พ.ศ. 2558 โครงการเหมืองแร่หินปูนฯ ได้เริ่มทำการระเบิดเพื่อเปิดหน้าเหมือง การดำเนินการในระยะน้ี ทำให้มีเศษหินกระเด็นออกมายังบริเวณโดยรอบโครงการ ซึ่งกระเด็นไปถึงพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านนอกเขตปักหมุด ทำให้มีเศษหินจากเหมืองตกลงไปในแปลงนาข้าว สวนยางพารา ไร้อ้อย ไรมันสำปะหลัง สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร บางสวนไม่สามารถเข้าไปทำงานได้ เจ้าของท่ีต้องปล่อยทิ้งร้าง 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

การมีเศษหินกระเด็นลงไปนั้น เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับเจ้าของท่ีดินในการจ้างคนเอาเศษหินออกจากแปลงเกษตร ถ้าไม่นำออกก็จะทำการไถพรวนไม่ได้ หรือถ้ารถท่ีจ้างมาไถพรวนดินไปแล้วอุปกรณ์รถไปกระทบเศษหิน จะทำให้อุปกรณ์เสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง เป็นรายจ่ายท่ีเจ้าของไร่ต้องแบกรับ นอกจากความเสียหายต่อพืชผลการเกษตรแล้ว หินท่ีกระเด็นออกมา ยังมีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุกับชาวบ้านท่ีอยู่ในท่ีดินทำกินของตนเองอีกด้วย

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

ขณะที่ช่วงเวลา 16.00-17.00 น. เป็นเวลาทำการระเบิด จะมีการแจ้งเตือนก่อนอย่างน้อย 30 นาที ชาวบ้านท่ีกำลังทำงานอยู่ในแปลงเกษตรโดยรอบ เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณต้องรีบออกจากพื้นที่ให้ไกลจากภูเขา เพื่อป้องกันอันตรายท่ีอาจจะเกิดข้ึนจากเศษหินกระเด็น หินร่วง รวมใช้เวลาต้ังแต่ออกจากพื้นที่การเกษตร รอจนกว่าจะระเบิดเสร็จ แล้วจึงสามารถเข้าไปทำงานต่อได้ เสียเวลา 2 ชั่วโมงในแต่ละวันท่ีทำการระเบิด ถึงแม้การระเบิดในระยะต่อมาจะมีเศษหินกระเด็นออกมาน้อยลง เนื่องจากเหมืองแร่หินปูนเริ่มมีการขุดลึกลงไป แต่ชาวบ้านยังคงมีความกังวลใจต่ออุบัติเหตุท่ีอาจจะเกิดข้ึน

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

พื้นท่ีสัมปทานโครงการเหมืองแร่หินปูนฯ มีถ้ำสำคัญและสวยงามหลายแห่ง ซึ่งหลายถ้ำยังไม่ได้รับการสำรวจอย่างเป็นทางการจากกรมศิลปากร หน่ึงในน้ันคือ ถ้ำผาน้ำลอด ซึ่งมีความสำคัญคือ เป็นทางผ่านของสายน้ำท่ีไหลมารวมกันจากป่าสงวน เก่ากลอย-นากลาง ร่องน้ำสายน้ีจะไหลในช่วงฤดูฝน ซึ่งจะไหลผ่านแปลงเกษตรของชาวบ้านไปทางภูผาโขง จากน้ันจะไหลไปรวมกับลำห้วยปูน ซึ่งเป็นลำห้วยสำคัญท่ีหล่อเลี้ยงพื้นท่ีการเกษตรของชาวบ้าน โดยลำห้วยสายน้ีจะไหลไปบรรจบกับคลองคะนานและคลองโมง ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขงต่อไป

 

นี่คือผลกระทบส่วนหนึ่ง ที่ทำให้ชาวบ้านต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เพื่อปกป้องพื้นที่ทำกิน และวิถีชีวิตของตนเองเอาไว้ 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

ที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใด รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ชาวบ้านก็ได้ร้องเรียนและต่อสู้มาโดยตลอด การทำประชาพิจารณ์เท็จที่มีเจ้าหน้าที่ส่วนราชการเข้าไปเกี่ยวข้อง กระทั่งนำไปสู่การฟ้องร้องคดี จนกระทั่งความจริงเปิดเผยว่ามีการสร้างหลักฐานเท็จ เพื่อนำเอาผลประชาพิจารณ์ไปขอให้มีการออกประทานบัตร มีเพียงผู้ถูกดำเนินคดีไม่กี่ราย ขณะที่เหมืองยังคงเปิดทำการ และคดีความก็ยังไม่ถึงที่สุด มีการยื่นขอประทานบัตรใหม่ 

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

การต่อสู้ของชาวบ้านดูเหมือนจะเหนื่อยล้าลง แต่ ‘หัวใจ’ ของคนในชุมชนอย่างที่แม่ลำดวนว่า ได้นำพาพวกเขาให้ลุกขึ้นต่อสู้รอบใหม่ โดยในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ ชาวบ้านจะเริ่มออกเดินทางตามหาความยุติธรรมอีกครั้ง โดยรวมตัวกันไปที่ศาลากลางจังหวัดหนองบัวลำภู

 

เพื่อถามหาความยุติธรรม ที่พวกเขาควรจะได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง พวกเขาที่บางคนสู้มาตั้งแต่สาวยันแก่นั่นเอง

 

โรงโม่หินดงมะไฟ

 

ลำดับเหตุการณ์การต่อสู้: 

 

  • ปี 2536 เริ่มมีบริษัทเอกชนเข้ามายื่นขอสัมปทานภูผายา ตำบลดงมะไฟ อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อทำเหมืองหิน คนในชุมชนไม่เห็นด้วยจึงเริ่มรวมตัวกันคัดค้าน เพราะบนเขานั้นมีสำนักสงฆ์ และมีการสำรวจพบภาพเขียนสีประวัติศาสตร์ กรมศิลปากรจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นแหล่งสำคัญทางโบราณคดีในเวลาต่อมา
  • ปี 2537 บริษัทเอกชนได้ย้ายมายื่นคำขอประทานบัตรทำเหมืองหิน ที่ภูผาฮวก ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเก่ากลอยและป่านากลาง ตำบลดงมะไฟ เพื่อทำเหมืองหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูน
  • ปี 2538 ชุมชนรวมตัวกันเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างหนัก เป็นเหตุให้ บุญรอด ด้วงโคตะ และ สนั่น สุขวรรณ ถูกลอบยิงเสียชีวิต จนปัจจุบันยังจับคนร้ายไม่ได้
  • ปี 2541 ชุมชนยื่นหนังสือคัดค้านการขอสัมปทาน ขณะที่บริษัทเดินหน้ารังวัดขอบเขตเหมือง โดยไม่สนใจเสียงคัดค้าน
  • ปี 2542 กำนันทองม้วน คำแจ่ม แกนนำต่อสู้คนสำคัญ และ สม หอมพรมมา ถูกยิงเสียชีวิต แต่ชาวบ้านตำบลดงมะไฟ จำนวน 6 หมู่บ้าน ยังคงรวมตัวกันยืนหยัดต่อสู้ คัดค้านเหมืองหินบนภูผาฮวกต่อไป
  • ปี 2543 อุตสาหกรรมจังหวัดหนองบัวลำภู ให้อนุญาตประทานบัตรเหมืองหินแก่บริษัทบนภูผาฮวก มีระยะเวลาทำเหมืองหิน 10 ปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 ถึงกันยายน 2553 

 

ปี 2544

 

  • คนในชุมชนชุมนุมประท้วง และใช้มาตรการปิดถนนที่เป็นเส้นทางขนเครื่องจักรกลของคนงานเหมือง แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าสลายการชุมนุม จนสามารถขนเครื่องจักรกลเข้าสู่พื้นที่ทำเหมืองบนภูผาฮวกได้
  • ชาวบ้านยื่นฟ้องศาลปกครองขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนประทานบัตรทำเหมืองหิน
  • แกนนำชุมชนถูกจับกุมดำเนินคดี 12 คน ข้อหาวางเพลิงเผาที่พักคนงานเหมือง และโรงเก็บอุปกรณ์ ซึ่งศาลตัดสินจำคุก 2 ราย อีก 10 ราย ศาลยกฟ้องในเวลาต่อมา
  • ปี 2547 ศาลปกครองชั้นต้นมีคำพิพากษาเพิกถอนคำขอประทานบัตร แต่ปี 2553 ศาลปกครองสูงสุดกลับคำพิพากษา คืนประทานบัตรให้บริษัททำเหมืองหิน แต่อายุประทานบัตรก็หมดอายุลงพอดี เป็นเหตุให้บริษัทต้องเริ่มขอต่อใบอนุญาตใหม่ รวมถึงการขอใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อเข้าทำเหมืองแร่ในพื้นที่อีกครั้ง 
  • ปี 2553 บริษัทได้รับการต่อใบอนุญาตการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และต่ออายุประทานบัตรอีกครั้ง คือตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2553 ถึง 24 กันยายน 2563 แม้ชุมชนจะยืนยันการคัดค้านอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องก็ตาม
  • ปี 2555 ตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่จำนวน 78 ราย ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองอุดรธานี เพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง เพิกถอนหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเก่ากลอยและป่านากลาง และเพิกถอนใบอนุญาตต่ออายุประทานบัตรของบริษัททำเหมือง
  • ปี 2558 ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับพระราชทาน ‘ธงพิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต’ ตามโครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ซึ่งเกิดจากชาวบ้านในพื้นที่ได้มีการอนุรักษ์ บำรุงรักษาป่าไม้ และทรัพยากรธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง 
  • ปี 2559 บริษัทดำเนินการระเบิดหิน ภูผาฮวก และเริ่มลำเลียง ขนถ่ายแร่ไปขาย 
  • ปี 2561 ศาลปกครองอุดรธานี ได้มีคำพิพากษา (14 มีนาคม 2561) เพิกถอนหนังสืออนุญาตให้บริษัทเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเก่ากลอยและป่านากลาง เนื้อที่กว่า 175 ไร่ ระยะเวลา 10 ปี และเพิกถอนใบอนุญาตต่ออายุประทานบัตร ที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ออกให้บริษัท โดยให้มีผลนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา แต่เนื่องจากภายหลังคู่ความได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด คดีจึงยังไม่ถึงที่สุด และอยู่ระหว่างการยื่นขอให้ศาลมีคำสั่งบรรเทาทุกข์ คุ้มครองชั่วคราวของชาวบ้าน บริษัทก็ได้ดำเนินกิจการระเบิดภูเขา ทำเหมืองและโรงโม่หิน พร้อมทั้งขนถ่ายลำเลียงแร่ เข้า-ออก ระหว่างพื้นที่เหมืองเรื่อยมา
  • ปี 2562-ปัจจุบัน บริษัทกำลังเร่งดำเนินการต่อใบอนุญาตขอเข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อทำเหมืองหินบนภูผาฮวกอีก 10 ปี ซึ่งถ้าบริษัทสามารถต่อใบอนุญาตได้สำเร็จ ภูเขา และป่าไม้จะถูกระเบิด ระบบนิเวศถูกทำลาย และแหล่งอาหารของชุมชนก็จะสูญหาย ส่วนนายทุนก็จะขนเอาแร่ไปขายต่อไปอีกจนถึงปี 2573

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง: 

The post 25 ปี รอยเลือด คราบน้ำตาของคนดงมะไฟ: การต่อสู้รอบใหม่เพื่อคัดค้านโรงโม่หินในถิ่นเกิด appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทาสีทองให้วัดดูใหม่ คือความศรัทธาที่นำมาสู่ความพินาศของวัดและโบราณสถาน https://thestandard.co/archaeological-site-restoration-archaeological-conservation/ https://thestandard.co/archaeological-site-restoration-archaeological-conservation/#respond Thu, 25 Oct 2018 06:02:48 +0000 https://thestandard.co/?p=137019

ไม่กี่วันมานี้ในหมู่ของนักอนุรักษ์ด้านโบราณวัตถุสถานได้ […]

The post ทาสีทองให้วัดดูใหม่ คือความศรัทธาที่นำมาสู่ความพินาศของวัดและโบราณสถาน appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไม่กี่วันมานี้ในหมู่ของนักอนุรักษ์ด้านโบราณวัตถุสถานได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อปัญหาที่คนกลุ่มหนึ่งซึ่งใช้ชื่อว่า ‘คนร่วมทาง’ ได้ใช้สีทองอะคริลิกไปทาอุโบสถ วิหาร ใบเสมา พระพุทธรูปทั้งใหม่และเก่าตามวัดหลายแห่งมาก อุโบสถวิหารบางหลังถึงกับสีทองไปทั้งหลังก็มี เช่น วัดโพธาราม วัดไลย์

 

แน่นอนครับว่าการปฏิสังขรณ์ไม่ให้วัดทรุดโทรมดูหม่นหมองนั้นเป็นหน้าที่ของชาวพุทธ แต่อย่างกรณีที่เกิดขึ้นนี้นับได้ว่าเป็นการทำลายวัดและโบราณสถานแบบหนึ่ง ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

 

ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจว่าหลักการอนุรักษ์ที่ถูกต้องในปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร ผมคิดว่าสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจเป็นอันดับต้นๆ คือทำไมคนทั้งสองกลุ่มจึงมีทัศนะที่แตกต่างกัน

 

ในโลกของพุทธศาสนิกชนนั้น วิถีทางหนึ่งของการทำบุญและสืบทอดพระพุทธศาสนาคือการสร้างหรือการทะนุบำรุงปฏิสังขรณ์ให้วัดแลดูสวยงามและใหม่อยู่เสมอ ด้วยเหตุนี้เองของเก่าในวัดจึงมักไม่ถูกปล่อยให้ทรุดโทรมอยู่นานหากทางวัดหรือญาติโยม (ศรัทธา) มีเงิน ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นสิ่งที่ยังใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ วิหาร พระพุทธรูป ใบเสมา ที่ไม่ว่าจะสร้างมาช้านานแค่ไหนก็ตาม

 

ในขณะที่ในโลกของนักอนุรักษ์นั้น วัดเก่า โบราณสถาน พระพุทธรูป หรือจิตรกรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ ล้วนแต่มีคุณค่าก็ต่อเมื่อคงความเป็นของแท้ดั้งเดิมเอาไว้ได้ เพราะความเป็นของดั้งเดิมนี้เองที่พร้อมจะบอกเล่าประวัติศาสตร์ในอดีต

 

โลกที่มีกระบวนทัศน์ (Paradigm) ที่แตกต่างนี้เองที่ทำให้เกิดการปะทะกันทางความคิดและแนวทางของการอนุรักษ์

 

 

คราวนี้ปัญหาของการทาสีทองนี้คืออะไรบ้าง

 

ปัญหาแรก การทำลายโบราณสถานวัตถุ สีทองสมัยใหม่นี้มีปัญหาหนึ่งไม่ได้แตกต่างจากสีทาบ้านมากนักคือเป็นสีที่ติดทน ยากแก่การล้างออก และยังไม่ค่อยจะยอมให้ความชื้นผ่านเข้าออกได้ ดังนั้นในระยะยาว อุโบสถและวิหารที่ถูกทาสีไป ความชื้นที่ทะลุผ่านจากพื้นขึ้นมาตามอิฐและผนังปูนก็จะพยายามหาทางดันตัวออกมา ซึ่งในไม่ช้าก็จะทำให้สีลอก แต่ที่ร้ายแรงคือปูนหลุดร่อน เช่นเดียวกันกับพระพุทธรูปที่ทำจากหินแล้วประทับนั่งอยู่ติดกับพื้นก็จะได้รับผลกระทบทำนองเดียวกันนี้

 

บางท่านอาจตั้งคำถามว่าแล้วปูนกับสีสมัยก่อนเป็นอย่างไร คือทั้งสีและปูนฉาบผนังแบบโบราณนั้นทำจากวัสดุธรรมชาติ เช่น หินปูน เปลือกหอย และอื่นๆ ดังนั้นเมื่อฉาบไปแล้วจึงยอมให้ความชื้นผ่านออกไปได้ แต่แน่นอนครับว่าผ่านไปนานวันเข้าก็ย่อมเสื่อมสภาพเป็นปกติ แต่ก็ไม่รุนแรงและอยู่ได้เป็นร้อยปี

 

นอกจากกรณีนี้แล้วยังพบว่าจิตรกรรมฝาผนังบางวัด เช่น วัดลัฏฐิกวัน อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร ถูกทาทับบางส่วนด้วยสีทองอะคริลิก ซึ่งส่งผลทำให้ทำลายภาพเก่าหรือทำลายประวัติศาสตร์ไปอย่างน่าเสียดาย เพราะเท่ากับไปทาทับหลักการใช้สีของช่างโบราณ ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบหนึ่ง

 

นอกจากนี้แล้ววัดบางแห่งอาจได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถาน ดังนั้นจึงย่อมผิด พ.ร.บ. โบราณวัตถุ โบราณสถานฯ อีกด้วย ดังที่กรมศิลปากรได้ออกมาประกาศแล้ว เรื่องนี้อย่าไปมองว่าเป็นใช้อำนาจ แต่คือการปกป้องสมบัติชาติที่เป็นของร่วมกันของทุกคน

 

ปัญหาที่สอง ความงามและความหมาย เดิมทีนั้นสีทองมักจะใช้กับสิ่งก่อสร้างหรือภาพวาดที่มีความสำคัญมากๆ เช่น พระศรีรัตนเจดีย์ในวัดพระแก้ว ภาพของพระพุทธเจ้าในงานจิตรกรรมไทย หรือแม้จะใช้สีทองวาดหรือรดน้ำก็จะเห็นได้ว่ามีการเว้นสีดำให้เป็นพื้นของภาพเพื่อขับเน้นความงามของสีทองให้เกิดขึ้น เช่นเดียวกับวิหารอุโบสถสมัยเก่าที่มีการเลือกที่จะใช้ผนังสีขาวก็เพื่อขับเน้นซุ้มประตูที่ปิดทองอย่างสวยงาม

 

ดังนั้นการทาสีทองไปเสียทั้งหมดไม่ว่าจะอุโบสถ วิหาร หรือพระพุทธรูป จึงทำให้ขาดทั้งความงามและสูญเสียความหมายของความงามหรือศาสนาไปพร้อมกัน

 

ปัญหาสุดท้ายคือการทำลายประวัติศาสตร์และแหล่งเรียนรู้ ทุกวันนี้ในขณะที่เราพยายามส่งเสริมให้คนในชาติให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์ เพราะบอกเล่าทั้งความเป็นมาของชาติและชุมชน รวมถึงยังสามารถส่งเสริมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้อีก

 

ดังนั้นการที่โบราณสถานและโบราณวัตถุถูกทำให้ใหม่จากสีนี้ก็เท่ากับเป็นการทำลายประวัติศาสตร์ดังกล่าว และอนาคตในการพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

 

ในอังกฤษและอีกหลายๆ ประเทศนั้นพยายามจะรักษาความดั้งเดิมของวัดที่ยังใช้งานอยู่ ซึ่งบางครั้งมีสถานะเป็นโบราณสถานด้วย เพราะสามารถเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ให้กับเด็กนักเรียนและคนในชุมชน อีกทั้งยังสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างเม็ดเงินได้อย่างมหาศาล

 

เท่าที่ทราบ การทาสีวัด พระพุทธรูป และวัตถุเนื่องในศาสนานี้ แน่นอนว่าต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าอาวาส พระในวัด กรรมการวัด และอาจจะรวมถึงคนในชุมชนด้วย เพราะย่อมเป็นธรรมดาที่อยากจะทำให้วัดที่ดูเสื่อมโทรมกลับมาดูใหม่และเหมาะสมต่อการใช้งาน

 

อย่างไรก็ดี เรื่องนี้ทางวัดอาจต้องเข้าใจด้วยว่าบางสิ่งนั้นได้มาอาจไม่คุ้มเสีย และการอยากให้วัดดูใหม่นี้ก็สามารถหาทางออกอื่นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าญาติโยมพร้อมที่จะมาช่วยทั้งเงินและแรง ทางที่ดีวัดควรจะปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศิลปากร นักวิชาการ นักโบราณคดี เพื่อขอคำแนะนำถึงแนวทางการบูรณปฏิสังขรณ์ที่ถูกต้อง จากนั้นจึงค่อยดำเนินการ

 

แน่นอนครับ บางครั้งอาจช้าไม่ทันใจ แต่การอดทนรอก็ดีกว่าการกลับมาแก้ปัญหาที่ตามมา เช่น ต้องมาลอกสีทองออก ซึ่งใช้ทั้งเวลาและงบประมาณ แถมยังทำให้พื้นผิวและจิตรกรรมเก่าลอกและเสื่อมสภาพไปอีกด้วย เรียกว่าได้ไม่คุ้มเสีย ส่วนเรื่องจะได้บุญไหมก็คงได้ หากคิดภายใต้โลกทัศน์ทางศาสนา แต่ถ้าเป็นการทำบุญที่ดีที่ถูกต้องแล้วคงไม่มีใครเขามาวิพากษ์วิจารณ์กันจนเป็นเรื่องใหญ่โต ไม่ใช่พวกเขาเป็นมารศาสนาอะไร แต่ด้วยความหวังดีและเจตนาดี ดังนั้นจึงควรรับฟัง ไม่ควรมีทิฐิ

 

 

 

แต่เอาเป็นว่าเรื่องนี้สะท้อนอะไรในสังคม คือถ้ามองกันในภาพกว้าง มีหลายวัดมากที่ทั้งกลุ่ม ‘คนร่วมทาง’ และศรัทธาอื่นๆ ผมไม่ค่อยแน่ใจนัก แต่คิดว่าการใช้สีทองทาทั้งวัดแบบนี้สะท้อนสองเรื่อง

 

เรื่องแรก การใช้สีทองอย่างมากล้นนี้เป็นภาพสะท้อนของการดึงดูดคนด้วยวัตถุนิยมแบบหนึ่ง คนอาจเข้าวัดเพราะเห็นอะไรที่แปลกตา แต่จะเข้าใจหลักธรรมของพระศาสดานั้นไหมคงต้องตั้งคำถาม

 

เรื่องที่สอง วัฒนธรรมการล่าแต้มบุญ คือยิ่งทาสีมากวัดเท่าไรยิ่งได้บุญเท่านั้น มันอาจจะจริงถ้ามองกันในแง่ปริมาณ แต่ต้องนึกถึงคุณภาพที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวกับตัวโบราณวัตถุสถานหรือวัด เพราะสีทองสมัยใหม่นี้ได้ก่อให้เกิดความเสียหายที่ยากจะรื้อฟื้นกลับมาได้

 

สุดท้ายนี้ผมเข้าใจว่ากลุ่มคนที่ทาสีทองนั้นมีจิตใจและเจตนาที่ดี แต่ศรัทธานั้นไม่เพียงพอต่อการสืบศาสนาและบรรลุธรรมได้ แต่ต้องมีหลักวิชาที่ได้รับการยอมรับจากสังคมในวงกว้างด้วยครับ

 

ภาพ: เฟซบุ๊ก คนร่วมทาง และ TOA Paint

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

The post ทาสีทองให้วัดดูใหม่ คือความศรัทธาที่นำมาสู่ความพินาศของวัดและโบราณสถาน appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/archaeological-site-restoration-archaeological-conservation/feed/ 0