การหายใจ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 01 Jul 2024 12:10:05 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ชวนฝึกหายใจแบบ 4-7-8 (Breathing Exercise) https://thestandard.co/life/4-7-8-breathing-exercise Mon, 01 Jul 2024 12:10:05 +0000 https://thestandard.co/?post_type=life&p=952386

การหายใจแบบ 4-7-8 (Breathing Exercise) คือเทคนิคการหายใ […]

The post ชวนฝึกหายใจแบบ 4-7-8 (Breathing Exercise) appeared first on THE STANDARD.

]]>

การหายใจแบบ 4-7-8 (Breathing Exercise) คือเทคนิคการหายใจที่ใช้เพื่อผ่อนคลายและลดความเครียด เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพราะทำตามได้ง่าย ทำที่ไหนก็ได้ และให้ประโยชน์ที่หลากหลาย เทคนิคนี้พัฒนาโดย Dr.Andrew Weil แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือกและการบำบัดด้วยการหายใจ เขามีปรัชญาว่า สุขภาพที่ดีนั้นเกิดขึ้นได้จากการดูแลทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ



หลายคนอาจคุ้นๆ ชื่อของเขาในสกินแคร์ของ Origins นั่นเป็นเพราะเขาร่วมมือกับแบรนด์ Origins สร้างผลิตภัณฑ์ Dr.Andrew Weil for Origins™ ซึ่งเป็นชุดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ผสมผสานพืช เห็ด และสมุนไพรแบบองค์รวม โดยคัดสรรส่วนผสมเฉพาะเพื่อเสริมสร้างสุขภาพผิวที่ดีด้วย

 

นอกจากนี้เขาเน้นย้ำถึงความสำคัญของโภชนาการ การออกกำลังกาย การนอนหลับ การจัดการความเครียด การใช้สมุนไพรบำรุงร่างกาย รวมถึงเทคนิคการหายใจ 4-7-8 Breathing Exercise ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางนี้ด้วย ไปดูกันเลยว่าเราจะฝึกการหายใจเพื่อสุขภาพได้อย่างไร 

 

วิธีการปฏิบัติ

  1. หายใจเข้าทางจมูกเบาๆ อย่างผ่อนคลาย นับ 1-4 ในใจ
  2. กลั้นหายใจเอาไว้แล้วนับ 1-7 ในใจ
  3. หายใจออกทางปากอย่างช้าๆ พร้อมทำเสียง ‘ฟู่’ ปล่อยลมออกจากปาก นับ 1-8 ในใจ 
  4. ทำซ้ำขั้นตอนนี้ 4 รอบ 

 

ประโยชน์ของการหายใจแบบ 4-7-8

  • ลดความเครียดและความวิตกกังวล
  • ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
  • ลดความดันโลหิต
  • ควบคุมอารมณ์โกรธหรือหงุดหงิด
  • เพิ่มสมาธิและความจดจ่อ

การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจของคุณตอบสนองต่อความเครียดได้ดีขึ้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ทำวันละ 2 ครั้ง แต่สามารถทำได้บ่อยขึ้นหากรู้สึกว่าจำเป็น

 

ข้อควรระวัง

ในช่วงแรกของการฝึก คุณอาจรู้สึกเวียนศีรษะเล็กน้อย เนื่องจากออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น หากรู้สึกไม่สบาย ควรหยุดและกลับมาหายใจตามปกติ การหายใจแบบ 4-7-8 เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อจัดการกับความเครียดและส่งเสริมสุขภาพที่ดีในชีวิตประจำวัน

The post ชวนฝึกหายใจแบบ 4-7-8 (Breathing Exercise) appeared first on THE STANDARD.

]]>
LIFE TIP: Deep Breathing Exercises ชวนฝึกหายใจเพื่อสุขภาพ https://thestandard.co/life/life-tip-20032023 Mon, 20 Mar 2023 00:38:25 +0000 https://thestandard.co/?p=765379

ทุกเช้า มาฝึกการหายใจเข้าลึกๆ เพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ น […]

The post LIFE TIP: Deep Breathing Exercises ชวนฝึกหายใจเพื่อสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ทุกเช้า มาฝึกการหายใจเข้าลึกๆ เพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ นี่คือเคล็ดลับ Deep Breathing Exercises ที่คุณควรรู้ 

 

‘การหายใจ’ เป็นสิ่งจำเป็นที่สุดของร่างกายมนุษย์ เพราะช่วยให้เราสามารถรับออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับการทำงานของอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากการเผาผลาญอาหารออกไปด้วย แต่คนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการหายใจเพื่อสุขภาพกันมากนัก เรามักจะเคยชินกับหายใจตื้นๆ โดยเฉพาะในตอนเช้าที่เรายังง่วงนอนและมึนๆ เบลอๆ และมีแค่ไม่กี่คนที่สังเกตลมหายใจอย่างจดจ่อและฝึกฝนการหายใจอย่างถูกวิธี ดังนั้น LIFE จึงอยากชวนทุกคนมาเริ่มต้นวันใหม่อย่างถูกต้อง ด้วยการฝึกหายใจเข้าลึกๆ ในตอนเช้า เพราะข้อดีของการฝึกหายใจลึกๆ สามารถช่วยปลุกเราให้ตื่นอย่างเต็มที่ ช่วยเพิ่มระดับพลังงาน และทำให้อารมณ์โดยรวมดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับง่ายๆ ในการรวมการหายใจเข้าลึกๆ ที่คุณก็ทำได้ 

 

หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก

หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ และพยายามสูดลมหายใจให้ลึกๆ นับ 1-5 ในใจ จนรู้สึกว่ากะบังลมขยายออก กลั้นหายใจสักครู่ แล้วค่อยหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 เช่นกัน 

 

ฝึกหายใจด้วยท้อง 

วางมือบนท้อง ให้รู้สึกว่าท้องมันยืดขึ้นและหดลงในแต่ละลมหายใจ เทคนิคนี้ช่วยกระตุ้นไดอะแฟรม ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ในการหายใจได้เป็นอย่างดี 

 

ฝึกโดยใช้แอปการหายใจ

มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการฝึกหายใจในชีวิตประจำวัน การใช้แอปเข้ามาช่วยฝึกหายใจลึกๆ จะเหมือนคุณมีเทรนเนอร์ส่วนตัว ข้อดีที่เพิ่มเข้ามาคือฟังก์ชันในแอปยังสามารถช่วยคุณติดตามความคืบหน้า และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเทคนิคการหายใจของคุณในแต่ละขั้นได้ 

 

หายใจเข้าลึกๆ 2-3 ครั้งก่อนลุกจากเตียง

ก่อนที่คุณจะลุกจากเตียง แนะนำให้หายใจเข้าลึกๆ 2-3 ครั้ง แล้วยืดร่างกาย การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และร่างกายและสมองรู้สึกตื่นตัวมากขึ้น เห็นไหมว่าการฝึกหายใจเพื่อสุขภาพที่ดีไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของคุณเลย ขอให้เพลิดเพลินไปกับประโยชน์ของการหายใจเข้าลึกๆ นะ อย่าลืมผสมผสานเข้ากับกิจวัตรประจำวันตอนเช้าของคุณเพื่อให้ทำได้อย่างยั่งยืน

 

ภาพ: Shutterstock

The post LIFE TIP: Deep Breathing Exercises ชวนฝึกหายใจเพื่อสุขภาพ appeared first on THE STANDARD.

]]>
POP TIP: ฝึกลมหายใจอย่างถูกวิธีเพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอด ใช้ฝึกได้ทั้งผู้ป่วย และคนที่ไม่ป่วย https://thestandard.co/pop-tip-14082022/ Sun, 14 Aug 2022 02:00:49 +0000 https://thestandard.co/?p=666020 ฝึกลมหายใจ

แม้คนเราจะหายใจอยู่ทุกวัน แต่ก็มีน้อยคนที่จะให้ความสำคั […]

The post POP TIP: ฝึกลมหายใจอย่างถูกวิธีเพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอด ใช้ฝึกได้ทั้งผู้ป่วย และคนที่ไม่ป่วย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ฝึกลมหายใจ

แม้คนเราจะหายใจอยู่ทุกวัน แต่ก็มีน้อยคนที่จะให้ความสำคัญกับการหายใจอย่างถูกวิธี การหมั่นฝึกบริหารลมหายใจบ่อยๆ จึงมีประโยชน์มาก ทั้งต่อคนที่ป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ หรือโรคปอด รวมถึงคนปกติหากฝึกหายใจบ่อยๆ ก็จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรงได้เหมือนกัน ซึ่งศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำวิธีฝึกลมหายใจเบื้องต้นในการช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในผู้ป่วยโควิด (กลุ่มอาการสีเขียว) ที่อยู่ระหว่างการรักษาแบบ Home Isolation ซึ่งคนปกติที่ไม่ป่วยก็สามารถใช้วิธีนี้ฝึกลมหายใจให้ปอดแข็งแรงได้เช่นกัน

 

ฝึกลมหายใจ

 

POP Tip: การฝึกควบคุมลมหายใจเข้า-ออก (Breathing Control) ทำได้ดังนี้

  • สูดลมหายใจเข้าทางจมูก และเป่าออกทางปาก สลับกันช้าๆ 
  • ฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลม วางมือตรงหน้าท้องและหน้าอก 
  • หายใจเข้าทางจมูกให้ท้องป่อง เป่าลมออกทางปากท้องยุบ
  • ทำ 5 ครั้งต่อรอบ วันละ 3-4 ครั้ง

 

ภาพ: Shutterstock 

The post POP TIP: ฝึกลมหายใจอย่างถูกวิธีเพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอด ใช้ฝึกได้ทั้งผู้ป่วย และคนที่ไม่ป่วย appeared first on THE STANDARD.

]]>
วิธีฝึกหายใจแบบ 4 7 8 เพื่อสุขภาพที่ดี https://thestandard.co/how-to-practice-breathing-478/ Fri, 07 Jan 2022 06:41:48 +0000 https://thestandard.co/?p=579936 breathing 4 7 8

วิเวียน เหลียง ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Verdant Alchemy แนะนำคน […]

The post วิธีฝึกหายใจแบบ 4 7 8 เพื่อสุขภาพที่ดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
breathing 4 7 8

วิเวียน เหลียง ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Verdant Alchemy แนะนำคนที่เผชิญกับความเครียดในชีวิตประจำวันให้มุ่งเน้นไปที่การให้ความสำคัญกับการหายใจ โดยเธอบอกว่า “เมื่อเราปรับตัวเข้ากับลมหายใจได้ มันจะสามารถส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและความเป็นอยู่ที่ดีได้” 

 

และวิธีการหายใจเพื่อสุขภาพก็ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่า สามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะอารมณ์ของคนเราได้จริง โดยวิธีการหายใจที่ วิเวียน เหลียง แนะนำว่าควรฝึกการหายใจแบบ 4 7 8 เป็นประจำ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการฝึกหายใจที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ และมันทำได้ง่ายๆ ดังนี้ 

 

วิธีฝึกหายใจแบบ 4 7 8 เพื่อสุขภาพที่ดี แนะนำโดย วิเวียน เหลียง 

  • หายใจเข้า นับ 1-4 วินาที
  • กลั้นหายใจ นับ 1-7 วินาที
  • หายใจออก นับ 1-8 วินาที 

 

หมายเหตุ: สามารถทำได้ตอนว่างๆ หรือจะกำหนดเวลา เช่น ฝึก 5-10 นาที ตอนเช้า/ก่อนนอน 

 

breathing 4 7 8

 

ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ

อ้างอิง: Verdant Alchemy 

The post วิธีฝึกหายใจแบบ 4 7 8 เพื่อสุขภาพที่ดี appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชวนสำรวจวิธีฝึกหายใจเพื่อสุขภาพ ที่เป็นเทรนด์มาแรงแห่งปี 2022 https://thestandard.co/breathing-exercise-2022-trend/ Fri, 07 Jan 2022 06:14:59 +0000 https://thestandard.co/?p=579933 หายใจเพื่อสุขภาพ

รู้หรือไม่ว่าระดับความเครียดของคนทั่วโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้ […]

The post ชวนสำรวจวิธีฝึกหายใจเพื่อสุขภาพ ที่เป็นเทรนด์มาแรงแห่งปี 2022 appeared first on THE STANDARD.

]]>
หายใจเพื่อสุขภาพ

รู้หรือไม่ว่าระดับความเครียดของคนทั่วโลกนั้นเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่มีการระบาดของโควิดเป็นต้นมา โดยในอังกฤษมีการสำรวจพบว่า เกือบ 50% ของประชากรในสหราชอาณาจักรมีรายงานเกี่ยวกับความวิตกกังวลสูง แม้แต่ช่วงเทศกาลคริสต์มาสหรือปีใหม่ก็ไม่ได้ช่วยให้บรรยากาศความเครียดผ่อนคลายขึ้นเลย ดังนั้นในปี 2022 วิเวียน เหลียง ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Verdant Alchemy จึงแนะนำให้มุ่งเน้นไปที่การหายใจเป็นเรื่องสำคัญ โดยเธอบอกว่า “เมื่อเราปรับตัวเข้ากับลมหายใจได้ มันจะสามารถส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกและการเป็นอยู่ที่ดีได้” 

 

วิเวียน เหลียง ผู้ก่อตั้ง Verdant Alchemy  

 

ซึ่งวิธีการหายใจที่เธอแนะนำให้ฝึกเป็นประจำคือ การหายใจแบบ 4 7 8 วิเวียน เหลียง อธิบายถึงวิธีการหายใจแบบนี้ว่า การหายใจแบบ 4 7 8 เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการฝึกหายใจที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งมีวิธีง่ายๆ ดังนี้

  • หายใจเข้า นับ 1-4 วินาที
  • กลั้นหายใจ นับ 1-7 วินาที
  • หายใจออก นับ 1-8 วินาที 

 

ซึ่งการหายใจแบบนี้ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะอารมณ์ของคนเราได้จริง 

 

นอกจากวิธีการฝึกหายใจแบบ 4 7 8 แล้ว ตัวช่วยอันทันสมัยอย่าง Sensate 2 ก็ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจมากสำหรับคนในยุคนี้ มันคือเทคโนโลยีสุดล้ำเพื่อสุขภาพ ที่เป็นการพบกันระหว่างความเครียดและวิทยาศาสตร์ ก่อเกิดเป็นไอเท็มก้าวล้ำเพื่อสุขภาพ โดยใช้พลังจากเสียงสะท้อนของธรรมชาติ เพื่อทำให้ระบบประสาทในร่างกายของเราผ่อนคลายและสงบลง ซึ่งมันช่วยส่งผลดีในระยะยาวหากใช้เป็นประจำด้วย 

 

 

สำหรับวิธีใช้งาน เพียงเชื่อมต่ออุปกรณ์ Sensate 2 กับแอปพลิเคชันในสมาร์ทโฟน แล้ววางเจ้า Sensate 2 ไว้บริเวณหน้าอก จะนั่งหรือนอนราบก็ได้ แล้วอุปกรณ์ดังกล่าวจะส่งคลื่นเสียงลงลึกไปถึงเส้นประสาทเวกัส ซึ่งเป็นเส้นประสาทสมองที่ยาวที่สุด ทำหน้าที่รับรู้ สั่งการ และควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตั้งแต่กล้ามเนื้อที่บริเวณคอ กล้ามเนื้อกล่องเสียง กล้ามเนื้อหัวใจ ระบบหายใจ รวมถึงระบบทางเดินเดินอาหารด้วย ซึ่งเมื่อใช้อุปกรณ์นี้จะส่งผลโดยตรงต่อประสาทสมองเชื่อมกับลำไส้ ทำให้อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจช้าลง และทำให้ร่างกายมีสภาวะที่เย็นกว่าปกติ ซึ่งแม้แต่ Forbes ยังเคยรีวิวถึงอุปกรณ์ Sensate 2 นี้ว่าเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะที่ช่วยให้เข้าสู่สภาวะการทำสมาธิอย่างลึกซึ้งภายในไม่กี่วินาที เทียบกับการทำสมาธิกำหนดลมหายใจแบบธรรมดา อุปกรณ์ตัวนี้เป็นทางลัดที่ดีกว่ามาก

 

ทางด้าน Sandra Ballentine นักเขียน Beauty และบรรณาธิการด้าน Wellness ของ Large ก็เป็นอีกคนที่เชื่อมั่นในวิถีการมีสุขภาพดีผ่านการหายใจ โดยเธอเปิดเผยข้อมูลผ่าน Global Wellness Summit ว่าในช่วงไม่กี่ปีมานี้ การศึกษาทางคลินิกในโรงเรียนดังๆ อย่างฮาร์วาร์ด, สแตนฟอร์ด และจอห์นส์ฮอปกินส์ ได้ประยุกต์เอาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และข้อมูลที่แท้จริงที่สืบทอดมาจากคนรุ่นเก่าจากหลายศตวรรษมาเป็นองค์ความรู้สำคัญที่สนับสนุนว่า วิธีที่คนเราหายใจนั้นมีผลอย่างลึกซึ้งต่อสุขภาพจิต ร่างกาย รวมถึงความสามารถของเรา และมันเป็นสิ่งที่ฝึกฝนกันได้ 

 

และเมื่อพูดถึงการฝึกการหายใจ เราก็มีเทคนิคการหายใจโดย มุจิรารัศมิ์ ภัทรจริยากุล ครูสอนโยคะ ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ มาแนะนำผู้อ่านให้ลองฝึกปฏิบัติตามได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเธอบอกว่าเป็นท่าการบริหารปอดให้แข็งแรง ไม่ว่าจะนั่งทำงานอยู่ที่บ้านหรือที่ออฟฟิศก็สามารถฝึกได้ง่ายๆ ดังนี้

 

  1. นั่งและเอามือจับบริเวณซี่โครงทั้งสองข้าง 
  2. หายใจเข้าลึกๆ ผ่านทางจมูก ซี่โครงขยาย หน้าท้องป่อง 
  3. หายใจออกช้าๆ ทางจมูก ให้แขม่วท้อง ซี่โครงยุบลง ทำช้าๆ ไม่ต้องรีบ
  4. ควบคุมลมหายใจเข้าออกให้สม่ำเสมอ จังหวะคงที่

 

โดยแนะนำให้ทำ 10-15 ครั้ง ในแต่ละวัน 

 

อ้างอิง:

The post ชวนสำรวจวิธีฝึกหายใจเพื่อสุขภาพ ที่เป็นเทรนด์มาแรงแห่งปี 2022 appeared first on THE STANDARD.

]]>
หายใจทางลำไส้ ทางรอดใหม่ของการยื้อชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 https://thestandard.co/intestinal-breathing-prolong-life-covid-19-patients/ Wed, 02 Jun 2021 08:52:45 +0000 https://thestandard.co/?p=495751 ยื้อชีวิตผู้ป่วยโควิด-19

โรคโควิด-19 นั้นอยู่กับเรามาแล้วเกือบ 2 ปีแล้ว ซึ่งเชื้ […]

The post หายใจทางลำไส้ ทางรอดใหม่ของการยื้อชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
ยื้อชีวิตผู้ป่วยโควิด-19

โรคโควิด-19 นั้นอยู่กับเรามาแล้วเกือบ 2 ปีแล้ว ซึ่งเชื้อร้ายมักทำลายเนื้อเยื่อถุงลมในปอดของผู้ป่วยได้ การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหนักจึงไม่พ้นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่ในการระบาดครั้งใหญ่นี้ ภาวะขาดแคลนเครื่องมือแพทย์เกิดขึ้นไปทั่ว คำถามคือยังมีวิธีการอื่นอีกไหมที่เราจะต่อลมหายใจของผู้ที่ติดเชื้อได้

 

ทีมนักวิทยาศาสตร์นำโดย ศ.ดร.นพ.ทากาโนริ ทาเคเบะ (Takanori Takebe) แพทย์โรคระบบทางเดินอาหารแห่งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์โตเกียว และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแพทยศาสตร์เซลล์ต้นกำเนิดและอวัยวะจำลอง ประเทศญี่ปุ่น เกิดไอเดียที่จะศึกษาประสิทธิภาพของการรับออกซิเจนผ่านเนื้อเยื่อลำไส้ของสัตว์ทดลอง เพื่อต่อยอดนำมาใช้กับมนุษย์ในอนาคต ผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ผ่านวารสาร Med เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมา

 

การหายใจด้วยเนื้อเยื่อลำไส้ผ่านทวารหนัก ไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ในโลกของสัตว์ ปลิงทะเลใช้อวัยวะ Respiratory Tree ยื่นออกมาทางทวารหนักเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ปลาดุกบางชนิดหายใจผ่านทางทวารหนักได้ แม้แต่มนุษย์เองก็สามารถดูดซึมยาผ่านทางลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน แล้วเป็นไปได้ไหมที่เราจะหายใจด้วยลำไส้ใหญ่?

 

ก่อนเริ่มการทดสอบกับมนุษย์ ทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งต้นที่ปลาหมู หนูทดลอง และหมูทดลองก่อนเป็นอันดับแรก

 

ปลาหมู หนูทดลอง และหมูทดลอง

ปลาหมูเป็นปลาน้ำจืดที่หากินอยู่ตามผิวน้ำ ปกติพวกมันหายใจผ่านเหงือก แต่เมื่อระดับออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง ลำไส้ใหญ่ก็จะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยรับออกซิเจนเข้ามาในร่างกายด้วยอีกแรง ทีมนักวิทยาศาสตร์พบว่าพวกมันจะปรับตัวโดยการเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตมายังลำไส้ส่วนปลาย ใกล้กับทวารหนัก และลดการหลั่งเยื่อเมือกลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับออกซิเจน นอกจากนี้ ทีมนักวิจัยยังพบว่าหากออกแรงขูดเยื่อบุผนังลำไส้ให้บางลง ก็จะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับออกซิเจนทางลำไส้ได้มากขึ้นไปอีก เนื่องจากมันจะช่วยย่นระยะทางที่ออกซิเจนแพร่เข้าสู่กระแสโลหิต

 

เมื่อการทดลองในปลาหมูซึ่งสามารถหายใจด้วยลำไส้ใหญ่ได้ในธรรมชาติให้ผลดี ถึงเวลาที่จะเขยิบมาทดสอบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ซึ่งมีสภาพทางกายวิภาคและสรีรวิทยาใกล้เคียงกับมนุษย์ยิ่งขึ้น

 

หนูทดลอง 11 ตัวถูกนำมาทดสอบความเป็นไปได้ในการรับออกซิเจนทางลำไส้ โดยที่สี่ตัวแรก ทีมนักวิจัยขัดเอาเซลล์เยื่อบุลำไส้ชั้นนอกออกไปเพื่อทำให้พื้นผิวรับออกซิเจนบางลง อีก 7 ตัวที่เหลือปล่อยไว้ตามปกติ ตามด้วยการทำให้หนูทดลองขาดอากาศหายใจแล้วอัดก๊าซออกซิเจนผ่านทางทวารหนัก ผลปรากฏว่าหนูทดลองที่ไม่ได้รับออกซิเจนชดเชยจะตายในเวลา 11 นาที ส่วนกลุ่มที่ได้รับออกซิเจนแต่เซลล์เยื่อบุลำไส้ไม่ถูกขัดออกอยู่ได้ 18 นาที ท้ายสุด กลุ่มที่ขัดเอาเยื่อบุลำไส้ออกไป มีชีวิตอยู่ได้นานถึง 50 นาที แต่มีหนึ่งตัวที่ตายลงไปก่อนหน้า จึงสรุปอัตราการรอดชีวิตเบื้องต้นได้ที่ 75%

 

อย่างไรก็ตาม หากนำไปใช้งานจริง การขัดเยื่อบุลำไส้ทิ้งเป็นเรื่องที่อันตรายและเกิดผลข้างเคียงตามมา เช่น การติดเชื้อและการอักเสบ ทีมนักวิจัยจึงนึกถึงการให้ออกซิเจนผ่านสารละลายเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (Perfluorocarbon) สารเคมีชนิดนี้จับกับออกซิเจนได้ดี และนำมาใช้ในระหว่างการผ่าตัดทั่วไปอยู่แล้วเป็นทุนเดิม

 

ทีมนักวิจัยทดสอบแนวคิดเบื้องต้นนี้ในหนูทดลองเช่นเคย ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม

 

กลุ่มแรกได้รับสารละลายเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับน้ำเกลือแทน ผลการทดลองในกล่องเลี้ยงที่มีออกซิเจนต่ำพบว่าหนูที่ได้รับออกซิเจนผ่านของเหลวแม้ในปริมาตรเพียง 1 มิลลิลิตร ก็จะยังคงมีพฤติกรรมเหมือนตามปกติ และมีปริมาณออกซิเจนในเลือดมากกว่ากลุ่มที่ได้รับน้ำเกลืออย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญคือผลของการให้สารละลายนี้คงอยู่ถึง 1 ชั่วโมง ซึ่งยาวนานเกินกว่าที่นักวิจัยคาดการณ์เอาไว้มาก

 

หนูเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เทียบไม่ได้กับมนุษย์ ทีมนักวิจัยจึงต้องไปต่อกับสัตว์ใหญ่อย่างเช่นหมู

 

คณะนักวิจัยทำให้หมูทดลองสลบแล้วให้ออกซิเจนในระดับต่ำๆ ทางปาก ส่วนออกซิเจนชดเชยจะให้ทางทวารหนักด้วยสารละลายเพอร์ฟลูออโรคาร์บอนปริมาตร 400 มิลลิตร ผลการวิเคราะห์พบว่าหมูทดลองกลุ่มนี้มีปริมาณออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น 15% (จาก 66.6% เป็น 81.8%) ซึ่งเพียงพอต่อการทำให้มันรอดพ้นจากภาวะขาดออกซิเจน ทั้งนี้ ผิวหนังของมันกลับมามีสีเลือดฝาด และอุณหภูมิร่างกายก็กลับมาเป็นเหมือนเดิมอีกด้วย แม้จะต้องให้ซ้ำเรื่อยๆ ทุกๆ 18 นาที ทีมนักวิจัยก็ยังไม่พบผลข้างเคียง

 

สามคำถามสำคัญก่อนเริ่มทดสอบในมนุษย์

แม้ว่างานวิจัยนี้จะให้ผลออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจ แต่ก็เหมือนกับงานอื่นอีกมากที่จะต้องผ่านการพิจารณาและทดสอบในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยในมนุษย์อย่างรัดกุมก่อนที่จะนำมาใช้จริง แม้ขณะนี้จะอยู่ในภาวะโควิด-19 ระบาดก็ตาม

 

ก่อนที่จะเริ่มต้นทดสอบทางคลินิกภายในปีหน้า คณะนักวิจัยต้องตอบคำถามสำคัญให้ได้สามข้อ

 

ข้อแรก การให้สารน้ำทางทวารหนักอาจไปกระทบกับการทำงานของเส้นประสาทเวกัส (Vagus Nerve) ซึ่งส่งผลให้ความดันเลือดตกและหน้ามืดได้

 

ข้อสอง จุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ส่วนปลายคุ้นชินกับสภาวะที่มีออกซิเจนต่ำอยู่แล้ว การได้รับออกซิเจนปริมาณสูงแบบฉับพลัน อาจไปทำลายระบบนิเวศขนาดจิ๋วในลำไส้ ซึ่งจะส่งผลต่อการย่อยอาหาร การป้องกันโรค และเมตาบอลิซึม

 

ข้อสุดท้าย ภาวะที่จำลองขึ้นในสัตว์ทดลอง ยังไม่ใกล้เคียงกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจ็บป่วยที่เกิดเพราะการติดเชื้อ อาการอักเสบ และความดันเลือดที่ต่ำอยู่แล้วเป็นทุนเดิม การพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เพิ่มเติมอย่างละเอียดเพื่อหาเงื่อนไขที่ดีที่สุดในการให้สารน้ำออกซิเจนผ่านทางทวารหนักเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

แม้จะเป็นแนวคิดที่ออกจะแปลกแหวกแนวไปสักหน่อย และยังต้องผ่านการยืนยันอีกหลายขั้นตอน แต่ก็ถือว่าคุ้มค่าที่ได้ลงมือทดลองและเผยแพร่ผลงานออกมา เพราะอย่างน้อยเราก็พอมองเห็นหนทางใหม่ๆ ที่จะใช้ยื้อชีวิตมนุษย์ได้ในอนาคต

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

The post หายใจทางลำไส้ ทางรอดใหม่ของการยื้อชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 appeared first on THE STANDARD.

]]>
4-7-8 เทคนิคการหายใจที่ช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น https://thestandard.co/4-7-8-breathing-techniques-help-easier-sleeping/ Tue, 01 Jun 2021 10:51:07 +0000 https://thestandard.co/?p=495391 การหายใจ

สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอน ไม่สามารถข่มตานอนได้ง่าย […]

The post 4-7-8 เทคนิคการหายใจที่ช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
การหายใจ

สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอน ไม่สามารถข่มตานอนได้ง่ายๆ ไม่ว่าร่างกายจะเหน็ดเหนื่อยหรืออยากพักผ่อนมากขนาดไหนก็ตาม ขอบอกว่าคุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่ตกอยู่ในสถานการณ์ทุกข์ทน อยากนอนแต่นอนไม่หลับ เพราะด้วยสิ่งเร้าทั้งจากภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความเจ็บป่วย แสงสีฟ้าจากหน้าจอมือถือและโทรทัศน์ ล้วนส่งผลต่อการนอนของเรา

 

ครั้งนี้เราเลยอยากมาแชร์เทคนิคที่ช่วยให้คุณหลับได้อย่างง่ายดายและสบายยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวช่วยอย่างยานอนหลับหรือเมลาโทนิน เพราะสิ่งที่เราอยากให้คุณทำนั้นง่ายแสนง่าย เพียงอาศัยเทคนิคการหายใจที่เราเรียนรู้มาจากคุณหมอ แอนดรูว์ เวล ที่เขาประยุกต์มาจากการหายใจสไตล์โยคะ ที่จำตัวเลขง่ายๆ ว่า ‘4-7-8’ ซึ่งเป็นการหายใจเข้า 4 วินาที กลั้นหายใจ 7 วินาที และผ่อนลมหายใจ 8 วินาที 

 

โดยเริ่มจากการนอนหงายในท่าที่ผ่อนคลายที่สุด ก่อนหายใจเข้าช้าๆ ทางจมูก นับ 1-4 จากนั้นกลั้นค้างไว้ นับ 1-7 แล้วค่อยๆ หายใจออกทางปาก ด้วยการเปิดริมฝีปากเล็กน้อย จากนั้นผ่อนลมหายใจออกให้เกิดเสียง นับ 1-8  ในช่วงแรกคุณอาจยังไม่ค่อยถนัดกับการหายใจด้วยเทคนิคนี้ที่ต้องใช้เวลานานขนาดนี้ แต่หากยังทำไม่ได้ในช่วงแรกก็อย่าเพิ่งท้อใจ เพราะเมื่อฝึกบ่อยๆ คุณจะเริ่มทำได้มากขึ้นเอง ให้เริ่มจากทำก่อนนอน 2-4 รอบ หรืออาจมากถึง 8 รอบ หากคุณรู้สึกดีขึ้นเรื่อยๆ

 

ส่วนเหตุผลที่ทำแล้วได้ผล เป็นเพราะการหายใจลักษณะนี้ช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลาย การกลั้นลมหายใจช่วยเติมเต็มออกซิเจนให้กับร่างกาย ในขณะที่การโฟกัสอยู่กับลมหายใจ ทำให้เราสามารถคลายความกังวลหรือความเครียดลงได้ชั่วขณะ ส่งผลให้ร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมนอนนั่นเอง  

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

อ้างอิง:

The post 4-7-8 เทคนิคการหายใจที่ช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>