“3 วันนี้เป็น 3 วันที่ไม่ธรรมดา ทำเหมือนอยู่มาแล้ว 1 เด […]
The post “3 วันนี้เป็น 3 วันที่ไม่ธรรมดา เก๋าเกม ทำเหมือนอยู่มาแล้ว 1 เดือน” ถอดรหัสแนวคิดทรัมป์ 2.0 กับ 3 วันเขย่าโลก appeared first on THE STANDARD.
]]>“3 วันนี้เป็น 3 วันที่ไม่ธรรมดา ทำเหมือนอยู่มาแล้ว 1 เดือน ที่แสดงถึงความเก๋าของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี มีทีมงานที่พร้อม ถ้าให้คะแนนผมให้ A+++ เพราะไม่เคยเห็นผู้นำคนไหนมีคำสั่งและทำทันทีได้ขนาดนี้”
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการ บริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วิเคราะห์ผลกระทบจาก 3 วันแรกที่มากสีสัน ด้วยนโยบายต่างๆ ที่ประกาศออกมาจากที่เคยหาเสียงไว้
ดร.กอบศักดิ์ มองว่าการทำงานของ โดนัลด์ ทรัมป์ เขย่าโลกไม่น้อย เพราะเพียงแค่ 3 วันนี้เป็น 3 วันที่ไม่ธรรมดา ทรัมป์ทำเหมือนดำเนินการมานานกว่า 1 เดือน
แม้ทรัมป์เคยเป็นประธานาธิบดีมาแล้ว 4 ปี วันนี้กลับมาเป็น ‘มือเก่าที่เก๋า’ โดยทรัมป์กล่าวในพิธีสาบานตนด้วยคำว่า Comfortable Life ซึ่งสื่อถึงการใช้ชีวิตอย่างสบายๆ ตลอดระยะเวลา 4 ปีในช่วงว่างเว้นจากตำแหน่ง
“แต่ผมมั่นใจเลยว่าตลอดระยะเวลา 4 ปี ทรัมป์เฝ้าติดตามนโยบายและความเคลื่อนไหวของ โจ ไบเดน อย่างต่อเนื่อง และคิดอยู่ในใจเสมอว่า หากมีโอกาส เขาจะกลับมายกเลิกโครงการของไบเดนคืน แล้วจะนำอเมริกากลับไปสู่ทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งก็โชคดีที่ว่าในวันนี้ทรัมป์กลับมาชนะการเลือกตั้งในที่สุด” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว
ดังนั้นการที่ 3 วันที่ผ่านมาซึ่งทั่วโลกจับตาและเปิดตัวได้คึกคักขนาดนี้ แสดงถึงความเก๋าของผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรวมไปถึงทีมงานที่พร้อมมานาน
ส่วนตัวได้มีโอกาสอ่านและติดตามการทำงานพบว่า ทรัมป์มีทีมทำงานที่คอยนับเดือน และก่อนหน้านี้ทุกคนจะนำเสนอโครงการนับร้อย จนนำมาสู่สิ่งที่เรียกว่า การลงนามคำสั่งของฝ่ายบริหาร (Executive Order)
ทีมงานจะเสนอและช่วยดูว่ามีแนวทางที่ต้องการให้ดำเนินการอย่างไร เอามากองและตั้งไว้ และทรัมป์จะมานั่งดูว่าเรื่องไหนควรดำเนินการได้ก่อน อะไรที่ควรรอ อะไรที่ไม่แน่ใจ นี่คือสิ่งที่ทำให้ความเก๋าของคนเป็นผู้นำและทีมงานชัดขึ้นไปอีก
เนื่องจากหากย้อนไปในขณะยุคแรกของทรัมป์ เขายังไม่มีการเตรียมการที่ชัดเจนมากเท่ากับในยุคนี้ เมื่อกลับมาในวันนี้ทรัมป์ต้องการที่จะทำให้อเมริกากลับมาเป็น Golden Age (ยุคทอง) อีกครั้ง
“ถ้า 3 วันมีสีสันเยอะขนาดนี้ นึกไม่ออกเลยว่าเมื่อครบ 1 สัปดาห์ สีสันจะมากน้อยแค่ไหน ไปจนกว่า 1 เดือน ปีแรก กระทั่ง 4 ปี ช่วงของความตื่นเต้นจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นจึงต้องเฝ้าติดตามผลกระทบจากการตัดสินใจของทรัมป์ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว
ดร.กอบศักดิ์ วิเคราะห์ถึงสัญญะที่ซ่อนอยู่ในพิธีสาบานตนว่าน่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะทรัมป์เปิดฉากการกลับมาของรัฐบาลด้วยความเป็น One Man Show หมายความว่า เป็นรัฐบาลที่คิด ทำ และสั่งการ โดยทรัมป์เป็นหลัก ดังนั้นหากอยากจะเข้าใจอเมริกาว่าจะเดินไปที่จุดไหนก็ต้องติดตามจากเขาเพียงผู้เดียว ซึ่งที่ผ่านมาทรัมป์แสดงออกให้เห็นถึงนัยสำคัญ 5 จุด คือ
เมื่อครั้งที่ทรัมป์สาบานตนเข้ารับตำแหน่งที่รัฐสภา เขาใช้โอกาสการสวนสนามกล่าวสุนทรพจน์อีกรอบว่าคิดอะไร อยากทำอะไร ที่สำคัญที่สุดคือเพื่อให้ทุกคนเห็นว่า ‘เขามาแล้ว’
จะเห็นได้จากไฮไลต์คือเอกสารทั้งหมดที่วางและเซ็นไปเกือบ 10 ฉบับทันที ซึ่งเป็นอำนาจของประธานาธิบดีที่รัฐสภามอบให้ เพื่อดำเนินการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการถอดถอนความตกลงปารีส การไม่เอาโลกร้อน ซึ่งแอ็กชันของธนาคารสำคัญๆ ที่เคยประกาศ Net Zero ก็ออกมาทันทีว่า ถ้าทรัมป์ไม่เอา เราก็ไม่เอาด้วย
อีกหนึ่งซีนที่ทรัมป์แสดงให้เห็นคือสัญชาตญาณของนักการเมือง ลายเซ็นจากปลายปากกาของทรัมป์ ที่คนต้องการเก็บเป็นที่ระลึก วันนั้นเซ็นแล้วโยนไปมาตามอัฒจันทร์ แม้ไม่อยู่ในบท แต่เป็นสิ่งที่ฮือฮาและได้ใจชาวอเมริกัน
ทรัมป์ยังถาม-ตอบกับผู้สื่อข่าวอย่างเป็นกันเอง และพูดถึงโครงการ Stargate อีกข้อสำคัญคือการใช้ Truth Social ซึ่งเป็นพื้นที่โซเชียลมีเดียของตนเองในการประกาศสำคัญมากมาย นอกจากนี้ทรัมป์ยังโพสต์ผ่านแอปพลิเคชัน X อีกด้วย
นอกจากสถานที่ที่ปรากฏตัว สิ่งที่ทรัมป์เซ็นออกมาก็สะท้อนตัวตนของเขาเอง ซึ่งผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีแล้ว เช่น เรื่องที่มีปัญหามานาน คือ การอภัยโทษให้กับเหตุการณ์วันที่ 6 มกราคม 2021 ที่มีการบุกรัฐสภา ขณะนั้นเกิดข้อถกเถียงกันในสังคมถึงความเหมาะสมในการอภัยโทษ แต่ท้ายที่สุดทรัมป์ก็ตัดสินใจอภัยโทษ สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงแนวคิดและตัวตนของทรัมป์อย่างชัดเจนว่า อะไรที่พูดแล้วต้องทำ และอะไรที่สำคัญ
หลังจากนั้นถัดมา Day 2 ก็ประกาศโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI มูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในชื่อว่า Stargate
สิ่งที่เห็นข้างต้นจะประเมินได้ว่าอย่างไร ดร.กอบศักดิ์ มองว่าเมื่อมีการเลือกตั้ง รัฐบาลใหม่มักจะบอกว่า 100 วัน 99 วันแรก แต่ทรัมป์สร้างมาตรฐานใหม่ของโลก คือ วันแรก ซึ่งมองว่าทรัมป์ทำได้ดี เป็นวันแรกที่มีสีสันที่สุดของโลกในบรรดาผู้รับตำแหน่งผู้นำ เรียกได้ว่าเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ของโลกเลยก็ว่าได้
ขณะนี้เมื่อย้อนดูสปีชประกอบกับสิ่งที่ทรัมป์ลงนามจะเห็นว่าทรัมป์ทำอย่างที่พูด เขามีอยู่ในใจทั้งหมดว่าจะทำอะไรบ้างในช่วง 1 ปีแรก
“ทั้งความเป็นรัฐ ความปลอดภัย และยุติการใช้เครื่องมือของรัฐทำลายผู้ที่เห็นต่าง จะต้องจบลง และแน่นอนว่ายุคทองของอเมริกากำลังจะกลับมา”
อย่างไรก็ตาม ดร.กอบศักดิ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ดูเหมือนว่าสปีชของทรัมป์ในรัฐสภาไม่เหมือนการรับตำแหน่งใหม่ๆ ที่มีคำพูดสวยหรู แต่ครั้งนี้สะท้อนชัดว่าสิ่งที่เขาพูด เขาทำจริง
หากเทียบกับ จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของอเมริกา (ค.ศ. 1961-1963) เจ้าของวาทะ Ask not what your country can do for you, ask what you can do for your country “จงอย่าถามว่าประเทศชาติให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวท่านเองว่าท่านจะทำอะไรให้ประเทศชาติ” กลับตรงกันข้ามกับทรัมป์ในวันนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าทรัมป์ไม่มีคำพูดอะไรสวยๆ ใช้ถ้อยคำปกติ ตั้งใจให้อเมริกากลับคืนมา นี่คือสปีชของคนที่พร้อมเข้าสู่การทำงาน
เช่น การลงนามประกาศปิดพรมแดนแล้วจัดการทันที นอกจากนี้ยังมีคำประกาศ Illegal Country และจะเริ่มส่งคนต่างด้าวนับล้านกลับคืนประเทศ รวมถึงการหยุดแนวทางจับคนเข้าเมืองผิดกฎหมายได้ก็ปล่อย จะเป็นอันตราย ตลอดการส่งทหารสู่พรมแดนด้านใต้
ตลอดจนให้คำมั่นว่าจะยุติสิ่งที่เขาเรียกว่า Green New Deal การถอนตัวจากความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement) เพิกถอนคำสั่งซึ่งลงนามโดยไบเดน ที่ตั้งเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 50% ภายในปี 2030 ที่สำคัญคือเก็บภาษีสินค้านำเข้า
หลังจากนั้นทรัมป์ไปกล่าวที่ขบวนพาเหรดอีกว่า “ไม่สนับสนุนพลังงานลม” พร้อมทั้งประกาศ ‘สถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานแห่งชาติ’ แม้ว่าขณะนี้อเมริกาจะผลิตน้ำมันมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่เขาตั้งใจที่จะยกเลิกคำสั่งห้ามขุดเจาะน้ำมันแห่งใหม่ กลับมาเติมสำรองเชิงยุทธศาสตร์ให้เต็มอีกครั้ง
“ทั้งหมดนี้ทรัมป์พูดแล้วทำทันทีใน 3 วัน ถ้าให้คะแนนผมให้ A+++ เพราะไม่เคยเห็นผู้นำคนไหนมีคำสั่งและทำทันทีได้ขนาดนี้”
เมื่อมองดูความเป็นไปได้ต้องบอกว่า สิ่งที่พูดไปทำได้จริงหรือไม่ ซึ่งประเมินภาพรวมว่า ประเด็นการปิดพรมแดน การอภัยโทษ และการเก็บภาษี ทรัมป์ทำจริง แต่เรื่องที่ทำได้น้อยกว่าที่พูดคือการเก็บภาษีนำเข้าจากจีน ซึ่งส่วนนี้มองว่ายังเป็นมวยล้มต้มคนดู และสงครามระหว่างประเทศก็ไม่มากนัก เพราะต้องใช้เวลา
ในขณะเดียวกันโครงการ Stargate เป็นเรื่องที่เป็นเทคโนโลยี AI ทรัมป์ไม่ได้พูดก่อนหน้านี้ แต่กลับทำทันที
ทั้งหมดนี้นำมาสู่การมองภาพรวม 3 วันของตลาด อย่างดัชนี Dow Jones จ่อทำ New High รวมถึง Nasdaq ก็พุ่งขึ้นพร้อมเข้าสู่ระดับ New High ที่ 2,000 จุด
ที่สำคัญคือ Bitcoin จะเห็นว่าราคาขึ้นรับข่าวทรัมป์ เพราะทรัมป์สัญญาไว้ก่อนนี้ว่า ถ้ากลับมาเป็นประธานาธิบดีจะทำให้ “อเมริกาเป็นเมืองหลวงการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีของโลก” ซึ่งนโยบายนี้ก็ทำให้เลขา กลต. อเมริกาลาออก
รวมถึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งขึ้น หมายความว่า ทุกคนกำลังกลับไปยังตลาดอเมริกาอีกครั้ง ตรงกันข้าม หุ้นเซี่ยงไฮ้ตก จากการขึ้นภาษีจีนเพียง 10% หรือหากไปดูหุ้น AI อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องก็ปรับตัวขึ้นทันที
อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวมองว่าโครงการ Stargate ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI มูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นเป็นโครงการที่น่าจับตาอย่างยิ่ง ซึ่งทรัมป์ย้ำว่า ภายใน 5 ปี AI จะเก่งเท่าคน และจะสนับสนุนการลงทุนในประเทศ เพราะทรัมป์ไม่เชื่อในการออกไปลงทุนนอกประเทศ
อีกไฮไลต์เด็ดคือ ทรัมป์จะส่งคนไปปักธงที่ดาวอังคารให้ได้ ทำให้ภาพจับไปที่ อีลอน มัสก์
ท้ายสุด ดร.กอบศักดิ์ มองว่า ผลกระทบต่อประเทศไทยนั้นอาจเกี่ยวข้องกับหลายส่วน ซึ่งปกติแล้วไทยจะเชื่อมโยงกับการค้าต่างประเทศทั้งการนำเข้า การส่งออก การท่องเที่ยว เงินทุนไหลเข้าทั้งตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยน (ค่าเงิน) ซึ่ง 4 ปีจากนี้จะมีความผันผวนของราคาสินทรัพย์
ประเด็นสงครามการค้าส่งผลกระทบถึงไทยแน่นอน แต่ตอนนี้ยังเป็นช่วงต่อรองกันอยู่ ซึ่งเราอาจต้องเตรียมความพร้อม รักษาโมเมนตัมให้ดี และคิดว่าบริหารจัดการได้ เพราะไทยก็เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอเมริกาในสมรภูมิการรบกับประเทศจีนในภูมิภาคอาเซียน และเห็นด้วยในการเข้าร่วมทั้ง BRICS และ OECD
อย่างไรก็ตาม คาดว่าหากสงครามการค้าระหว่างอเมริกาและจีนรุนแรง ไทยอาจได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าของชาวอเมริกันที่เพิ่มขึ้น เพราะส่วนแบ่งจากสินค้าจีนที่หายไปจากกำแพงภาษี รวมถึงการท่องเที่ยวปีนี้ที่น่าจะดีต่อเนื่อง ตลอดจนเงินทุนที่ไหลเข้าทั้งจากการลงทุนโดยตรง (FDI) ที่มีการย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทย และการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ ไทยควรแย่งชิง FDI เพื่อนบ้านให้มากที่สุด
หลังจากนี้จึงอยากเสนอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะมองว่าหากเราไม่เตรียมการให้ดี ปัญหาทั้งเรื่องหนี้ครัวเรือนและเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าตัวเลข GDP ไทยปีนี้จะเติบโตในระดับเกิน 3% แต่ต้องรักษาโมเมนตัมให้ดี ดร.กอบศักดิ์ ทิ้งท้าย
ภาพ: Andrew Harnik, Yaorusheng / Getty Images
The post “3 วันนี้เป็น 3 วันที่ไม่ธรรมดา เก๋าเกม ทำเหมือนอยู่มาแล้ว 1 เดือน” ถอดรหัสแนวคิดทรัมป์ 2.0 กับ 3 วันเขย่าโลก appeared first on THE STANDARD.
]]>องค์กรภาค ตลาดทุน โดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO), สมาคม […]
The post องค์กรตลาดทุนรวมตัวออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนมุ่งยกระดับ CG บจ.ไทย พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและดำเนินการตามหน้าที่ appeared first on THE STANDARD.
]]>องค์กรภาค ตลาดทุน โดยสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO), สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai IOD) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมแสดงเจตนารมณ์มุ่งยกระดับธรรมาภิบาลบริษัทจดทะเบียนไทย
องค์กรภาคตลาดทุนมีเจตนารมณ์ร่วมกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานธรรมาภิบาลที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดทุนไทย อันจะนำไปสู่การพัฒนาตลาดทุนไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นไปตามเนื้อหาของแถลงการณ์ร่วมในวันนี้ (20 ธันวาคม) ดังนี้
กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และอุปนายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า สภาธุรกิจตลาดทุนไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจและการพัฒนาธรรมาภิบาลในบริษัทจดทะเบียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน นำไปสู่การเติบโตที่มั่นคง ยั่งยืน และความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกของตลาดทุนไทย
กุลเวช เจนวัฒนวิทย์ กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai IOD) กล่าวว่า ความยั่งยืนขององค์กรเริ่มที่ความเชื่อถือและไว้วางใจจากประชาชน (Public Trust) Thai IOD หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคณะกรรมการบริษัททุกท่านจะทำหน้าที่เป็นสติให้กับองค์กร ทำงานร่วมกับผู้บริหารในการปลูกจิตสำนึกการมีธรรมาภิบาลที่ดี ถ่ายทอดสู่พนักงานทุกระดับ เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดย Thai IOD คาดหวังให้ประธานคณะกรรมการเป็นผู้นำขององค์กรในการสร้างวัฒนธรรมการทำงานของคณะกรรมการ เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของกรรมการทุกคนอย่างรอบคอบ เราอยากเห็นกรรมการอิสระทำหน้าที่สะท้อนความคาดหวังและรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ เพื่อให้บริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายตามความคาดหวังที่แท้จริง
ขณะที่ ไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน กล่าวว่า นักวิเคราะห์ให้ความสำคัญอย่างมากกับการมองเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) เพราะผู้ลงทุนแสวงหาการลงทุนที่ตอบโจทย์ทั้งการเงินและการทำให้สังคมดีขึ้น ESG ส่งผลต่อทั้งความเสี่ยงและโอกาสทางธุรกิจ ความโปร่งใสเป็นหัวใจสำคัญของตลาดทุน หากบริษัทจดทะเบียนมองเห็นคุณค่าของกำไรระยะสั้นโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวก็จะถูกจับตาหรือถูกต่อต้าน ส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและผลการดำเนินงานในที่สุด
ชวินดา หาญรัตนกูล นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และประธานคณะอนุกรรมการ ESG Policy & Collective Action กล่าวว่า ในฐานะผู้ลงทุนสถาบันที่ยึดมั่นในหลักความซื่อสัตย์ สุจริต ระมัดระวัง ปกป้องผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหน่วยลงทุนเป็นสำคัญ ย้ำถึงความกังวลของผู้บริหารและผู้จัดการกองทุนของ บลจ. ต่อประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่ บลจ. ให้ความสำคัญสูงสุดควบคู่ไปกับผลประกอบการที่ดี คือด้านธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียนไทยที่มีกรณีเกิดขึ้นหลายครั้งในปีนี้ ซึ่ง บลจ. ทุกแห่งได้รวมตัวกันอย่างเข้มแข็ง เพื่อยกระดับการดำเนินการด้าน ESG Policy & Collective Action ให้กระชับและมีประสิทธิภาพ เพื่อตรวจสอบ ติดตามข้อเท็จจริง ตั้งคำถาม ประเมินผลกระทบ และกำหนดแนวทางการลงทุน ในหุ้นที่มีประเด็นปัญหาดังกล่าวในทุกๆ กรณี และคาดหวังว่าจะเป็นพลังที่เข้มแข็งส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนตลาดทุนไทยอย่างมีคุณภาพ
อัสสเดช คงสิริ กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การสื่อสารที่รวดเร็วและทั่วถึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูลโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยเฉพาะผู้ลงทุน เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนในเวลาที่ทันเหตุการณ์ ซึ่งเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูลเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่บริษัทจดทะเบียนต้องดำเนินการ แต่หากมีข้อมูลสำคัญที่ผู้ลงทุนซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญต่อบริษัทอาจได้รับผลกระทบ ก็ควรสื่อสารให้ผู้ลงทุนและสาธารณชนได้รับรู้ด้วย ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ มุ่งส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุนอย่างเท่าเทียม ทั่วถึง ทันต่อการนำข้อมูลไปประกอบการตัดสินใจลงทุน
The post องค์กรตลาดทุนรวมตัวออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนมุ่งยกระดับ CG บจ.ไทย พร้อมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและดำเนินการตามหน้าที่ appeared first on THE STANDARD.
]]>ดร.กอบศักดิ์ มองปีหน้า GDP ไทยโตเกิน 3% แม้ โดนัลด์ ทรั […]
The post ดร.กอบศักดิ์ มอง GDP ไทยปี 2025 โตเกิน 3% แม้ทรัมป์เป็นผู้นำสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.
]]>ดร.กอบศักดิ์ มองปีหน้า GDP ไทยโตเกิน 3% แม้ โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นมาเป็นผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่าไทยต้องมองหาโอกาสท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงและเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้กลับมาโตได้อีกครั้ง
วันนี้ (13 พฤศจิกายน) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024: BRAVE NEW WORLD เศรษฐกิจไทย ไล่กวดโลกใหม่ ในหัวข้อ Economic Outlook 2025 ทิศทางเศรษฐกิจมหภาคปี 2025 โดยระบุว่าเศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2025 จะขยายตัวดีขึ้นจากข้อมูลต่างๆ เช่น ส่งออกและท่องเที่ยวที่จะดีขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว การใช้จ่ายของภาครัฐที่มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในหลากหลายโครงการ
อย่างไรก็ตาม ไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจโลกและผู้นำโลกที่กำลังจะเปลี่ยน โดยเฉพาะการกลับมาอีกครั้งของทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 47
“เศรษฐกิจไทยปี 2024 น่าจะโตต่ำกว่า 3% จากก่อนหน้านี้เราคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ราว 3% เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมและความผันผวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับปี 2025 คาดว่า GDP จะขยายตัวมากกว่า 3% โดยปัจจัยหลักมาจากภาคการท่องเที่ยว หลังจากสนามบินสุวรรณภูมิมีรันเวย์ที่ 3 มีสายการบินต่างๆ มีเที่ยวบินมาประเทศไทยมากขึ้น” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว
นอกจากนี้ ดร.กอบศักดิ์ ระบุอีกว่าเนื่องจากนโยบายต่างๆ ของทรัมป์ รวมไปถึง No Wars จะทำให้โลกเผชิญกับภาวะ Delayed Uncertainties หรือภาวะที่ความเสี่ยงต่างๆ ถูกเลื่อนช้าออกไป
ดังนั้นไทยต้องมองให้ทะลุเลยไปปี 2029 หลังจากทรัมป์รับตำแหน่ง เนื่องจากความขัดแย้งต่างๆ จะไม่หายไป รวมถึงสงครามเทคโนโลยีจากจีน โดยจากผลการศึกษาของออสเตรเลียพบว่าเทคโนโลยีจีนนำหน้าสหรัฐฯ 37 จาก 44 ชนิด
“ไทยต้องมองหาโอกาสและเร่งดำเนินการในเรื่องสำคัญ ได้แก่ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้กลับมาโตได้อีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งเร่งการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ถ้าเราใช้ 4 ปีนี้ในการเตรียมการ ไทยก็จะผ่านความท้าทายที่รออยู่ไปได้” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว
The post ดร.กอบศักดิ์ มอง GDP ไทยปี 2025 โตเกิน 3% แม้ทรัมป์เป็นผู้นำสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.
]]>ประเทศไทยจะแก้ปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ อย่างยั่งยืนได้อย่า […]
The post ชมคลิป: ทำอย่างไรประเทศไทยจะแก้ ‘หนี้ครัวเรือน’ ได้อย่างยั่งยืน | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>ประเทศไทยจะแก้ปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ อย่างยั่งยืนได้อย่างไร ต้องเริ่มจากตรงไหน หาคำตอบได้ในไฮไลต์นี้
พบกับซีรีส์พิเศษรับการมาถึงของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 เฟิร์น-ศิรัถยา อิศรภักดี เชิญ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล, บัณฑิต อนันตมงคล และ สุธัช เรืองสุทธิภาพ วิทยากรในแวดวงเศรษฐกิจและการเงิน ล้อมวงถกปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ กำลังเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทยหรือไม่ ทางออกอยู่ตรงไหน
ติดตาม Exclusive Interview ‘หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ’ ฉบับเต็มได้ที่ ชมคลิป: หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ | Exclusive Interview EP.7
THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 บัตร Early Bird ลด 2,000 บาท มีจำนวนจำกัด! ดูรายละเอียดได้ที่: https://bit.ly/tsef2024VWEIHL
ซื้อบัตรองค์กร ติดต่อ [email protected] หรือ 0 2079 5428 กด 6 (เวลาทำการ 10.00-18.00 น.)
The post ชมคลิป: ทำอย่างไรประเทศไทยจะแก้ ‘หนี้ครัวเรือน’ ได้อย่างยั่งยืน | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>ที่มาของ ‘หนี้นอกระบบ’ เกิดขึ้นเพราะอะไร เหตุใดจึงลุกลา […]
The post ชมคลิป: ที่มาของ ‘หนี้นอกระบบ’ กลายเป็นมะเร็งร้ายของสังคมไทยได้อย่างไร | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>ที่มาของ ‘หนี้นอกระบบ’ เกิดขึ้นเพราะอะไร เหตุใดจึงลุกลามกลายเป็นมะเร็งร้ายของสังคมไทย หาคำตอบได้ในไฮไลต์นี้
พบกับซีรีส์พิเศษรับการมาถึงของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 เฟิร์น-ศิรัถยา อิศรภักดี เชิญ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล, บัณฑิต อนันตมงคล และ สุธัช เรืองสุทธิภาพ วิทยากรในแวดวงเศรษฐกิจและการเงิน ล้อมวงถกปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ กำลังเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทยหรือไม่ ทางออกอยู่ตรงไหน
ติดตาม Exclusive Interview ‘หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ’ ฉบับเต็มได้ที่ ชมคลิป: หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ | Exclusive Interview EP.7
THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 บัตร Early Bird ลด 2,000 บาท มีจำนวนจำกัด! ดูรายละเอียดได้ที่: https://bit.ly/tsef2024VWEIHL
ซื้อบัตรองค์กร ติดต่อ [email protected] หรือ 0 2079 5428 กด 6 (เวลาทำการ 10.00-18.00 น.)
The post ชมคลิป: ที่มาของ ‘หนี้นอกระบบ’ กลายเป็นมะเร็งร้ายของสังคมไทยได้อย่างไร | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>‘หนี้ครัวเรือน’ ที่พุ่งสูงจนเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ สถ […]
The post ชมคลิป: ประเทศไทยเข้าสู่ Debt Crisis หรือยัง? | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>‘หนี้ครัวเรือน’ ที่พุ่งสูงจนเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ สถานการณ์เข้าขั้นน่าเป็นห่วงแค่ไหน ประเทศไทยเข้าสู่ Debt Crisis หรือยัง? หาคำตอบได้ในไฮไลต์นี้
พบกับซีรีส์พิเศษรับการมาถึงของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 เฟิร์น-ศิรัถยา อิศรภักดี เชิญ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล, บัณฑิต อนันตมงคล และ สุธัช เรืองสุทธิภาพ วิทยากรในแวดวงเศรษฐกิจและการเงิน ล้อมวงถกปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ กำลังเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทยหรือไม่ ทางออกอยู่ตรงไหน
ติดตาม Exclusive Interview ‘หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ’ ฉบับเต็มได้ที่ หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ | Exclusive Interview EP.7
THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 บัตร Early Bird ลด 2,000 บาท มีจำนวนจำกัด! ดูรายละเอียดได้ที่: https://bit.ly/tsef2024ClipEXCSINTV
ซื้อบัตรองค์กร ติดต่อ [email protected] หรือ 0 2079 5428 กด 6 (เวลาทำการ 10.00-18.00 น.)
The post ชมคลิป: ประเทศไทยเข้าสู่ Debt Crisis หรือยัง? | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>เมื่อปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่งสูงจนเป็นปัญหาใหญ่ระดับป […]
The post ชมคลิป: หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ | Exclusive Interview EP.7 appeared first on THE STANDARD.
]]>เมื่อปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ พุ่งสูงจนเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศ คุณภาพหนี้ที่แย่ลงจนเกิดปรากฏการณ์ ‘การปฏิเสธสินเชื่อ’ ของสถาบันการเงิน รวมถึงการพึ่งพา ‘หนี้นอกระบบ’ ที่กลายเป็นมะเร็งร้ายที่ยากจะรักษา สถานการณ์เหล่านี้เข้าขั้นน่าเป็นห่วงแค่ไหน
พบกับซีรีส์พิเศษรับการมาถึงของ THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024 เฟิร์น-ศิรัถยา อิศรภักดี เชิญ 3 วิทยากรในแวดวงเศรษฐกิจและการเงิน ได้แก่
ล้อมวงถกปัญหา ‘หนี้ครัวเรือน’ กำลังเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทยหรือไม่ ทางออกอยู่ตรงไหน ในรายการ Exclusive Interview
ครบที่สุดแห่งปี! ไม่ตกเทรนด์ปี 2025 ด้วยงานเดียว
THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2024
บัตร Early Bird ลด 2,000 บาท มีจำนวนจำกัด!
ดูรายละเอียดได้ที่: https://bit.ly/tsef2024ClipEXCSINTV
ซื้อบัตรองค์กร ติดต่อ [email protected]
หรือ 0 2079 5428 กด 6 (เวลาทำการ 10.00-18.00 น.)
The post ชมคลิป: หนี้ครัวเรือนไทยใกล้ระเบิด! เฉียด 90% เสี่ยงฉุด GDP ไทยโตต่ำศักยภาพ | Exclusive Interview EP.7 appeared first on THE STANDARD.
]]>กอบศักดิ์แนะรัฐบาลทบทวนการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 […]
The post กอบศักดิ์เห็นด้วยจ่ายดิจิทัลวอลเล็ตให้กลุ่มเปราะบางก่อน แนะรัฐบาลทบทวนการแจกเฟส 2 appeared first on THE STANDARD.
]]>กอบศักดิ์แนะรัฐบาลทบทวนการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทในระยะที่ 2 ชี้ กลุ่ม SMEs ยังต้องการความช่วยเหลือ ประเมิน GDP ไทยปีนี้ขยายตัวได้ใกล้ 3% เผยยังห่วงเศรษฐกิจต่างจังหวัด
วันนี้ (13 กันยายน) ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า ดิจิทัลวอลเล็ตเป็นนโยบายที่ดี ตอบโจทย์การแก้ปัญหาปากท้องของประชากรกลุ่มเปราะบาง และมองว่ารัฐบาลทำถูกทางแล้วที่หันมาเร่งช่วยเหลือคนกลุ่มดังกล่าวก่อน
“การแจกเงิน 10,000 บาทให้กับประชาชนรายได้น้อยสามารถทำได้ และจะช่วยหมุนเศรษฐกิจในช่วงสั้นๆ ได้ รวมทั้งเป็นโครงการที่ตอบโจทย์คนกลุ่มเปราะบางได้” ดร.กอบศักดิ์ กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ ‘Big Heart Big Impact สร้างโอกาสคนตัวเล็ก…Power of Partnership จับมือไว้ ไปด้วยกัน’ ซึ่งจัดขึ้นโดย ThaiPublica
ดร.กอบศักดิ์ ระบุว่า การเปลี่ยนรูปแบบโครงการเป็นการจ่ายเงินสดโดยตรงและไม่มีเงื่อนไขก็เป็นสิ่งที่ดี อย่างไรก็ตาม มีความเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความจำเป็นต้องบังคับให้ประชาชนกลับไปใช้จ่ายเงินที่บ้านเกิด เนื่องจากการกลับบ้านครั้งหนึ่งก็มีค่าใช้จ่ายหลายพันบาทแล้ว
ดร.กอบศักดิ์ กล่าวอีกว่า การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตให้กลุ่มเป้าหมายในเฟสแรก หรือกลุ่มเปราะบางกว่า 14 ล้านคน เป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากเป็นกลุ่มที่รายได้ต่ำ อย่างไรก็ตาม การจ่ายเงินส่วนที่เหลือ หรือการจ่ายเงินเฟส 2 ควรพิจารณาตามความจำเป็นตามงบประมาณที่มี
“การแจกกลุ่ม 14 ล้านคนก่อน ถือว่าดี แต่ส่วนที่เหลือก็มานั่งคิดดูว่าจำเป็นแค่ไหน เพราะว่าเม็ดเงินเดียวกันสามารถทำได้หลายโครงการ” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว
อีกกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือในขณะนี้คือผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อย (SMEs) ซึ่งยังมีปัญหาเยอะ และในอนาคตต้องปรับตัวอีกเยอะ ท่ามกลางการถูกโจมตีจากสินค้าราคาถูกจากจีน โดยกลุ่ม SMEs ยังต้องการเข้าถึงแหล่งทุนและการค้ำประกันจากรัฐบาลอยู่
“เงินส่วนที่เหลือ ผมคิดว่าเราควรจะต้องไปจัดสรรดูว่าอะไรที่ควรจะได้เป็นอันดับแรกที่แท้จริงตามงบประมาณที่มี รวมทั้งพิจารณาว่าจะใช้สูตรไหนที่ทำให้เกิดผลลัพธ์มากที่สุดสำหรับประเทศไทย เนื่องจากตอนนี้ข้างบนยังไปได้ แต่ข้างล่างมีปัญหา” ดร.กอบศักดิ์ กล่าว
ในวันเดียวกัน (13 กันยายน) พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงโครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ตเฟส 2 ว่า ไม่น่าจะดำเนินการภายในปี 2567 ได้ทัน เพราะจะดูความต่อเนื่องอีก 2-3 เรื่อง โดยจะดูพร้อมๆ กันว่าอันไหนดีที่สุด ส่วนจะได้ไตรมาสไหนของปี 2568 จะต้องขอดูหลังจากนี้ก่อน
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า งบประมาณที่เหลือจะนำไปดำเนินในโครงการใดหากไม่นำมาใช้ในโครงการนี้ พิชัยกล่าวว่า ถ้าอะไรตัดปัญหาและสร้างความเข้มแข็งให้ประเทศก็ต้องมาที่ 1 และให้ผลต่อเนื่องอย่างเร็วที่สุด
ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ ดร.กอบศักดิ์ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะขยายตัวได้ใกล้ 3% จากการขยายตัวของภาคส่งออกและการใช้จ่ายของภาครัฐ การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว และเงินลงทุนของต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขับเคลื่อนไปได้
อย่างไรก็ดี ยังมีสิ่งที่กังวลคือ เศรษฐกิจต่างจังหวัดค่อนข้างเหงา สะท้อนว่ายังคงมีปัญหาค่อนข้างมาก โดยส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากงบประมาณของภาครัฐที่ล่าช้าเมื่อช่วงต้นปี ทำให้การก่อสร้างก็ไม่เกิดขึ้น รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงโรคโควิดแล้ว
The post กอบศักดิ์เห็นด้วยจ่ายดิจิทัลวอลเล็ตให้กลุ่มเปราะบางก่อน แนะรัฐบาลทบทวนการแจกเฟส 2 appeared first on THE STANDARD.
]]>ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุ […]
The post ชมคลิป: ‘กอบศักดิ์’ เตือน ไทยเสี่ยงจนลง หากไม่สร้างเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรมใหม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวถึงโจทย์ใหญ่รัฐบาลว่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรให้ตรงจุด และประเมิน GDP ของไทยในปี 2567 จะขยายได้ในระดับประมาณ 3% ภาพรวมได้ผ่านจุดต่ำสุด (Bottom) ไปแล้ว ติดตามรายละเอียดได้ในไฮไลต์นี้
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดอ่านหนังสือชี้ชวนและศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน
ติดตาม รายการ Morning Wealth ทุกวัน จันทร์ – ศุกร์ เวลา 7.00-8.00 น. ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD WEALTH
อัปเดตข่าวสารจากสำนักข่าวเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการลงทุน โดยทีมข่าว THE STANDARD ได้ที่ https://thestandard.co/wealth/
The post ชมคลิป: ‘กอบศักดิ์’ เตือน ไทยเสี่ยงจนลง หากไม่สร้างเทคโนโลยีสู่อุตสาหกรรมใหม่ | THE STANDARD WEALTH appeared first on THE STANDARD.
]]>ปิดโรงงานรถยนต์สะท้อนว่าเทคโนโลยีไทยตกยุคแล้ว สัญญาณเตื […]
The post ‘กอบศักดิ์’ เผยสัญญาณเตือนไทยเสี่ยงจนลง หากไม่สร้างเทคโนโลยี ปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ เสี่ยงเห็นปิดโรงงานระลอกใหม่ appeared first on THE STANDARD.
]]>ปิดโรงงานรถยนต์สะท้อนว่าเทคโนโลยีไทยตกยุคแล้ว สัญญาณเตือนภัยส่อลามยาวซัพพลายเชน ทำโรงงานปิดรอบสอง หากยังไม่หาอุตสาหกรรมใหม่ มุ่งพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ อนาคตไทยเสี่ยงจนลงเมื่อเทียบคู่แข่ง
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ และประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวว่า โจทย์ที่สำคัญของรัฐบาลคือจะมีมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร โดยเฉพาะเศรษฐกิจกลุ่มฐานรากที่ปัจจุบันกำลังประสบปัญหามากกว่าที่คาดไว้ซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังซื้อ
รวมทั้งมีปัญหาหนี้เสีย (NPL) ที่สูง โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีหนี้กลุ่ม (Special Mention: SM) ที่สูงและยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ถือเป็นประเด็นที่น่ากังวลมาก เพราะกำลังสะท้อนปัญหาว่าผู้บริโภคไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึง NPL ของหนี้ภาคที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
“คิดว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจบ้างก็โอเค การแจกเงิน 10,000 บาทกับกลุ่มเปราะบางที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อให้กลุ่มนี้มีเงินเพื่อหมุนเศรษฐกิจโดยเร็วในช่วงสั้นๆ ถือว่าโอเค อยากให้เป็นการทำแบบมุ่งเป้าในลักษณะนี้ จากกระบวนการที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้จะทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งเรื่องนี้เพื่อให้ทันปีงบประมาณ ดังนั้นต้องผ่านช่องทางที่ง่ายที่สุด เร็วที่สุด ตรงที่สุด ซึ่งจะไปสู่การใช้ช่องทางเดิมที่มี ใช้ตัวเลขที่ไม่มากจนเกินไป และไม่ซับซ้อนเกินไป ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยให้เม็ดเงินถึงมือประชาชน สามารถนำไปใช้ได้เลย แก้ปัญหาฐานรากที่กำลังอ่อนแอในขณะนี้”
สำหรับแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยประเมินว่า GDP ของไทยในปี 2567 จะขยายได้ในระดับประมาณ 3% ภาพรวมได้ผ่านจุดต่ำสุด (Bottom) ไปแล้ว และกำลังอยู่ในช่วงของการฟื้นตัวตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยมีแรงขับเคลื่อนจากหลายปัจจัยในช่วงปลายปีนี้ ทั้งจากภาคการส่งออกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาที่ขยายตัวดีประมาณ 15%
รวมทั้งการลงทุนทางตรง (FDI) ที่มีสัญญาณฟื้นตัวได้ดี รวมภาคการท่องเที่ยวของไทยที่ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องชัดเจน โดยคาดว่าในช่วงเดือนธันวาคมปีนี้ หรือเดือนมกราคม 2568 มีโอกาสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะฟื้นตัวกลับมาในระดับ 4 ล้านคน หรือมากกว่า 4 ล้านคน กลับมาใกล้เคียงกับช่วงที่โควิดแพร่ระบาด อีกทั้งคาดว่ารัฐบาลที่มีคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ที่เข้ามาทำงานจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพิ่มเติม รวมทั้งโครงการลงทุนภาครัฐ
ส่วนแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2568 หรือในระยะกลางถึงยาว ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาลที่จะช่วยขับเคลื่อนการลงทุนต่อเนื่องในโครงการเดิม เช่น โครงการ EEC ทั้งการพัฒนาท่าเรือ สนามบิน ระบบขนส่งทางราง และมอเตอร์เวย์ เพื่อเป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยในอนาคต อีกทั้งมีการชักชวนนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ในระยะยาวต้องลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่แท้จริง เพื่อเปลี่ยนผ่านให้ประเทศไทยก้าวสู่การพึ่งพาเทคโนโลยีให้มากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจจะไม่สามารถพึ่งภาคเกษตรและท่องเที่ยวเช่นในอดีตได้อีกต่อไป เพราะสินค้าเทคโนโลยีกำลังเป็นเทรนด์โลก หากดำเนินการได้เชื่อว่า GDP ของไทยในระยะยาวมีโอกาสจะขยายตัวได้ในระดับ 4.5% ต่อปี
“การปิดกิจการโรงงานผลิตรถยนต์ของทั้ง Subaru, Suzuki และ Honda ในประเทศไทย ไม่ใช่เรื่องปกติ เป็นสัญญาณเตือนภัย บริษัทเหล่านี้ถือเป็นเสาหลักของประเทศไทยมายาวนานในการส่งออก สะท้อนว่าเทคโนโลยีที่เรามีตกยุคแล้ว ไม่สามารถใช้ได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อซัพพลายเชนที่เหลือจำนวนมากในประเทศไทย อาจจะเห็นภาพการปิดโรงงานในรอบที่สองหรือรอบที่สามต่อไปในอนาคต สะท้อนว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยเข้าอุตสาหกรรมใหม่ๆ และต้องสร้างเทคโนโลยี หากคู่แข่งทำเรื่องนี้แล้วเราไม่ทำ ในระยะยาวประเทศไทยในอนาคตจะกลายเป็นประเทศที่จนลง โดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง เพราะโลกกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านครั้งใหญ่ของเทคโนโลยีคือ AI และเทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้าไปมีส่วนในทุกอุตสาหกรรม ซึ่งเทคโนโลยีในอดีตที่เคยเกิดขึ้น เช่น ไฟฟ้า ไอน้ำ ก็เข้าไปอยู่ในทุกอุตสาหกรรม”
นอกจากนี้ประเมินว่า เศรษฐกิจของโลกในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ากำลังเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัวเฟสใหม่ (The Beginning of a New Phase of Economic Recovery) ทั้งนี้จึงเป็นช่วงที่นักลงทุนจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการหรือกลยุทธ์การลงทุนใหม่อีกครั้ง
ประเด็นที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน คือการใช้นโยบายการเงินเพื่อทำสงครามต่อสู้กับเงินเฟ้อของธนาคารกลางทั่วโลก ซึ่งกำลังใกล้จะจบแล้ว หลังจากแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลกทั้งในอังกฤษ ยุโรป และสหรัฐฯ ที่เคยพุ่งขึ้นไปถึงระดับ 9-14% เริ่มมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เข้าใกล้ระดับปกติ
ขณะที่ทิศทางของดอกเบี้ยของโลกกำลังจะเข้าสู่แนวโน้มการปรับลดลงแบบพร้อมเพียงกันในทุกตลาดทั่วโลก โดยขณะนี้เริ่มเห็นธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกเริ่มเตรียมปรับลดดอกเบี้ยหรือบางแห่งเริ่มลดดอกเบี้ยไปแล้ว ทั้งธนาคารกลางในอเมริกาใต้, ธนาคารกลางยุโรป (ECB), ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB), ธนาคารกลางแคนาดา (BOC) รวมถึงธนาคารกลางเอเชียที่มีโอกาสลดดอกเบี้ย
อีกทั้งในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 17-18 กันยายนนี้ คาดว่าจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยลง อีกทั้งที่สำคัญยังคาดว่า Fed จะลดดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 1 ปี หรือ 1 ปี 6 เดือนหลังจากเริ่มลดดอกเบี้ยครั้งแรก
ในปี 2567 ดอกเบี้ยมีโอกาสจะลดลงได้ 2 ครั้ง จบที่ 5.1% จากนั้นในปี 2568 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.1% และในปี 2569 จะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 3.1% โดยมีรูปแบบการลดดอกเบี้ยในอัตรา 0.25% ต่อไตรมาส หรือลดลงประมาณ 1% ต่อปี
โดยปัจจัยดอกเบี้ยทั่วโลกที่มีแนวโน้มปรับลดลงในช่วง 2 ปีข้างหน้านี้จะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่พร้อมเพรียงกันทั่วโลก โดยการฟื้นตัวที่ดีขึ้นจะนำไปสู่เฟสใหม่ของเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวพร้อมกันทั่วโลก ซึ่งจะมีแรงกระตุ้นจากนโยบายการเงินของธนาคารกลางต่างๆ ทั่วโลกที่พร้อมเพรียงกัน และจะเป็นบวกต่อภาพบรรยากาศการลงทุนของตลาดสินทรัพย์ลงทุนทั่วโลกรวมถึงของไทย
พร้อมทั้งประเมินว่าเศรษฐกิจโลกปัจจุบันได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว สะท้อนจากดัชนี PMI ของหลายประเทศขนาดใหญ่ที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น ทั้งยุโรป สหราชอาณาจักร สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ที่ตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
นอกจากนี้ประเมินว่า จากการที่เศรษฐกิจของโลกกำลังอยู่ในช่วงการฟื้นตัวในเฟสใหม่จะสนับสนุนต่อตลาดส่งออกทั่วโลกให้ขยายตัวดีขึ้น รวมทั้งการส่งออกของไทยที่จะได้ประโยชน์ด้วย ซึ่งคาดว่าเครื่องยนต์ส่งออกจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกในระยะถัดไป
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่าจังหวะที่เหมาะสมที่สุดในการปรับลดดอกเบี้ยของ ธปท. คือช่วงต้นปีที่ผ่านมา เพราะเป็นช่วงที่เงินเฟ้อติดลบและเศรษฐกิจของไทยเติบโตต่ำที่สุด โดยมองว่า Neutral Rate ของไทยควรอยู่ที่ 2-2.5% อีกทั้งประเมินว่าความจำเป็นในการใช้นโยบายการเงินมีความจำเป็นลดลง ดอกเบี้ยในการกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มหมดลง เนื่องจากมีเครื่องยนต์สำคัญทั้งการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนภาครัฐ และ FDI ที่กำลังขยายตัวได้ดี จึงมีความจำเป็นลดลงที่แบงก์ชาติจะลดดอกเบี้ย
The post ‘กอบศักดิ์’ เผยสัญญาณเตือนไทยเสี่ยงจนลง หากไม่สร้างเทคโนโลยี ปรับตัวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ เสี่ยงเห็นปิดโรงงานระลอกใหม่ appeared first on THE STANDARD.
]]>