กฤษฎางค์ นุตจรัส – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Mon, 18 Nov 2024 09:56:41 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 ‘ถูกหลอกง่าย-พึ่งพายุติธรรมไม่ได้’ คุยกับทนายอาชีพ กฤษฎางค์ นุตจรัส ปมทนายหลงแสง https://thestandard.co/krisdang-nutjaras-fake-lawyer-issues/ Mon, 18 Nov 2024 09:56:41 +0000 https://thestandard.co/?p=1010033

ขณะมีข่าวดัง ทนายความตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยเสียเอง อั […]

The post ‘ถูกหลอกง่าย-พึ่งพายุติธรรมไม่ได้’ คุยกับทนายอาชีพ กฤษฎางค์ นุตจรัส ปมทนายหลงแสง appeared first on THE STANDARD.

]]>

ขณะมีข่าวดัง ทนายความตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยเสียเอง อันเนื่องมาจากผลประโยชน์มหาศาลรูปแบบต่างๆ ในยุคโซเชียลมีเดีย ในวงการทนายอาชีพยังมีทนายความที่เลือกใช้ชีวิตอยู่กับอาชีพนี้ ทำทั้งคดีที่ได้รับค่าตอบแทนและคดีที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน แถมมีราคาที่ต้องจ่าย แต่ทำมานานด้วยความสมัครใจ

 

THE STANDARD สัมภาษณ์ กฤษฎางค์ นุตจรัส หรือทนายด่าง ทนายความวัย 67 ปี เจ้าของ ‘สำนักงานกฎหมายและบัญชีกฤษฎางค์ นุตจรัส’ ผู้อยู่ในอาชีพนี้มาตั้งแต่ปี 2522 หลังเรียนจบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากเป็นทนายว่าความคดีที่มีค่าตอบแทนแล้ว เขายังว่าความในคดีที่ไม่ได้รับค่าตอบแทน ทั้งคดีสิ่งแวดล้อม คดีการเมือง ซึ่งมีราคาต้องจ่ายโดยถูกจับตาจากรัฐ หรือถูกยกเลิกงานจากลูกความบางรายที่เห็นเขาปรากฏตัวเป็นทนายว่าความให้เยาวชนนักกิจกรรมทางการเมือง ปัจจุบันทนายความผู้นี้ยังเดินอยู่บนเส้นทางเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

 

 

มองปรากฏการณ์ทนายความดังในโลกโซเชียล กับผลประโยชน์จากการ ‘หาแสง’ อย่างไร

 

กฤษฎางค์: วงการทนายความก็มีคนทุกแบบเหมือนๆ กับในทุกๆ อาชีพ ในหลักการทนายความเป็นแค่ตัวแทนของลูกความ ทำแทนโจทก์ ทำแทนจำเลย ยกเว้นการรับสารภาพต้องให้ลูกความทำเอง และทนายความจะต้องไม่มีตัวตนของตัวเองเวลาทำงาน เพราะฉะนั้นทนายความจะไปพูดแทนลูกความเขาในเรื่องอื่นๆ ไม่ได้

 

ส่วนกรณีที่เกิดขึ้น ทนายความดังในโลกโซเชียล เป็นเพราะกระบวนการยุติธรรมในสังคมไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้ประชาชนได้ เช่น คนหวังพึ่งตำรวจไม่ได้ คนหวังพึ่งศูนย์ร้องเรียนของรัฐไม่ได้ ก็ไปหาองค์กรมูลนิธิต่างๆ หรือไปหาทนายคนดังในโลกออนไลน์ที่คิดว่าจะแก้ไขความทุกข์ยากของเขาได้ ส่วนเรื่องราวความขัดแย้งที่ตามมาหลังจากนั้นซึ่งมีการกล่าวหากัน ก็เป็นเรื่องยังต้องพิสูจน์กันต่อไป

 

 

เมื่อลูกความให้ความเชื่อถือทนายความของตัวเองมาก ก็จะเจอปัญหาแบบหนึ่ง ประชาชนจะสามารถตรวจสอบทนายความของตัวเองอย่างไร

 

กฤษฎางค์: ปัญหาเรื่องการหลอกลวงกันมีในทุกวงการ โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรมไม่ยุติธรรมตั้งแต่ต้น ทำให้คนถูกหลอกง่าย เช่น สมมติทนายความไปบอกลูกความว่า “ทนายรู้จักตำรวจตำแหน่งนี้ สามารถทำให้ได้รับการประกันตัวได้นะ หรือทำคดีสั่งไม่ฟ้องได้นะ ถ้าลูกความจ่ายสตางค์มา” เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในหลักการที่ถูกต้อง แต่ในประเทศไทยมีเหตุการณ์ ‘วิ่งเต้น’ เกิดขึ้น คนจึงเชื่อเรื่องการวิ่งเต้น

 

เช่นเดียวกัน หากเราถามว่าในประเทศนี้มีการวิ่งเต้นเพื่อขอตำแหน่ง ป.ป.ช. หรือไม่ มีการวิ่งเต้นเพื่อขอตำแหน่งเลื่อนยศตำรวจเลื่อนยศทหารหรือไม่ แน่นอนมีคนพยายามทำแบบนี้ และเนื่องจากประเทศเป็นแบบนี้ จึงทำให้มีคนเชื่อเรื่องแบบนี้

 

ขณะที่คำว่า “สู้ไปตามหลักการ ถ้าเชื่อว่าไม่ผิด” กลับกลายเป็นคำที่ไม่มีใครเชื่อ เพราะถ้าเชื่อก็อาจจะทำไม่สำเร็จ คือสู้ไม่ชนะ แล้วคนที่เชื่อเรื่องการวิ่งเต้นอาจจะเคยชนะจากการวิ่งเต้นมาแล้ว การวิ่งเต้นให้ประโยชน์สำหรับเขา แต่สำหรับบ้านเมืองก็จะเกิดความเสื่อมโทรม ผมไม่เห็นด้วยอยู่แล้วกับสิ่งที่เป็นอยู่นี้ 

 

ที่กล่าวมาเพื่อที่จะบอกว่า ทำไมจึงมีกรณีคนยอมจ่ายเงินในจำนวนที่สูงมากโดยไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องความชอบธรรมหรือหลักการตามระบบ ดังนั้นผู้คนจึงถูกหลอกง่าย เพราะระบบหลักการไม่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อถือได้

 

การหลอกกันมีทุกวงการ ไม่เฉพาะทนายกับลูกความ เป็นปัญหาเรื่องการศึกษาเป็นหลัก การปฏิรูประบบกระบวนการยุติธรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ก็มีประเด็นอีกว่า ถ้าคนฉลาดก็จะทำให้ปกครองยาก หากผู้มีอำนาจต้องการใช้อำนาจที่ผิด

 

ระบบการศึกษา ระบบการเมืองการปกครองของสังคมไทยทำให้เกิดปรากฏการณ์ล้าหลังแบบนี้

 

 

เลือกเป็นทนายความ ไม่เลือกเส้นทางข้าราชการ ไม่สอบเป็นผู้พิพากษา อัยการ ตำรวจ ราชทัณฑ์

 

กฤษฎางค์: ในกระบวนการยุติธรรม จะมีตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ราชทัณฑ์ และทนายความ ผมเลือกเป็นทนายความ ไม่เลือกเป็นอย่างอื่นในกระบวนการเหล่านี้ ผมไม่เคยสอบเป็นผู้พิพากษา ไม่เคยสอบเป็นข้าราชการ

 

ผมรู้สึกอาชีพนี้อิสระ แล้วก็คิดว่าตัดสินใจไม่ผิด เลือกชีวิตแบบนี้มีความสุขกับงานที่ทำ

 

หากสังเกตในกระบวนการยุติธรรม จะเห็นได้ว่าส่วนต่างๆ ในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดยกเว้นทนายความ จะเป็นข้าราชการทั้งหมด ทั้งอัยการ ผู้พิพากษา ตำรวจ ราชทัณฑ์ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้กระบวนการยุติธรรมไม่ก้าวหน้า ขณะในบางประเทศมีลูกขุนคือประชาชนธรรมดา ผู้พิพากษาบางรัฐมาจากการเลือกตั้ง อัยการบางแห่งก็มาจากการเลือกตั้ง มีโครงสร้างที่ปรับปรุงไป แต่ของไทยไม่ได้เป็นเช่นนั้น 

 

ระบบราชการมีสายบังคับบัญชา ดังนั้นโดยโครงสร้างแล้วประชาชนที่มีปัญหากับรัฐจึงชนะได้ยาก นอกจากคนที่เคยอยู่ในอำนาจรัฐเขาลงจากอำนาจนั้นแล้ว

 

 

ทนายความกับลูกความ และค่าตอบแทน

 

กฤษฎางค์: เรายึดถือตามอาชีพเรา เมื่อมีคนมาหาเราก็ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือทางคดี เรียกค่าทนายความตามความสามารถและตามเหตุตามผล ผมเป็นทนายความมาตั้งแต่ปี 2522 อัตราค่าว่าจ้างของทนายความจะคล้ายงานศิลปะกับวิชาชีพทั่วไป เช่น งานสถาปัตยกรรม แพทย์ ขึ้นอยู่กับแต่ละคนจะตีค่าตัวอย่างไรในการทำงานตอบแทนผลประโยชน์ที่ตัวความหรือลูกความได้รับ ซึ่งอาจจะมีตั้งแต่ว่าความให้ฟรีเช่นเดียวกับหมอที่ช่วยคนฟรี หรือถ้าเป็นธุรกิจก็มีค่าตอบแทนกันไป เช่น คดีแพ่งทนายความฝรั่งแบ่งครึ่งกับลูกความจากเงินที่ได้จากการฟ้อง ส่วนทนายไทยอาจจะตกลงกันที่ 30-40% บางคนอาจจะได้เยอะ เช่น ถ้ารับว่าความให้ธนาคาร สถาบันการเงิน หรือเศรษฐี คดีหลายร้อยล้านคิดเงิน 10-20% ก็ได้เยอะแล้ว เพราะฉะนั้นค่าทนายความไม่มีเรตตายตัว

 

 

คดีที่ทำโดยไม่คิดค่าตอบแทน

 

กฤษฎางค์: ผมเริ่มต้นมาไม่เหมือนคนอื่น เพราะตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือและทำกิจกรรม ผมฝันไว้ว่าจะเอาอาชีพนี้มาช่วยคน พอคิดว่าจะเอามาช่วยคน เราก็คิดว่ามีเกณฑ์ของเราที่ทำโดยไม่คิดค่าตอบแทน คือคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ คนที่ถูกรังแก ซึ่งจะมองว่าเป็นคดีการเมืองด้วยก็ได้ เพราะทุกอย่างก็เป็นการเมืองหมด

 

ชาวบ้านบ่อนอก ประชาชนสู้เพื่อสิ่งแวดล้อม ก็การเมือง ชาวบ้านตากใบ ก็เรื่องการเมือง ผมไม่ได้ว่าความคดีตากใบ แต่ชื่นชมทนายที่ว่าความคดีนี้ ส่วนคนที่มาด้วยเรื่องคดีอาชญากรรม ผมก็แนะนำให้เขาไปคุยกับคนที่เชี่ยวชาญกว่าผม เพราะคดีที่ทำอยู่และคดีจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai Lawyers for Human Rights-TLHR) ก็มีเยอะมาก บางคดีจึงส่งไปมูลนิธิต่างๆ หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

 

ช่วงหลังรัฐประหาร 2557 ผมเป็นทนายคดี 14 นักศึกษาและนักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งรวมถึง รังสิมันต์ โรม สส. พรรคประชาชน ในปัจจุบัน

 

นอกจากนั้นยังเป็นทนายให้เพื่อนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน แต่เขาก็ต่อสู้อำนาจรัฐ เรายึดหลักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แม้เขาคิดไม่เหมือนเรา อย่าง อาจารย์กิตติศักดิ์ ปรกติ ในคดีกบฏ เนื่องจากขึ้นไฮด์พาร์กบนเวที กปปส. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วผมก็เป็นทนายให้ อาจารย์แก้วสรร อติโพธิ ด้วย

 

ปัจจุบันเป็นทนายความให้เยาวชนนักกิจกรรมทางการเมือง เช่น เพนกวิน, รุ้ง, เบนจา, ตะวัน, แบม, บุ้ง และใบปอ เขาแต่งตั้งให้เป็นทนายความ ซึ่งคดีการเมืองจำนวนมากจะมาจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

 

ลูกความผมที่เป็นเยาวชน ผู้ต้องหาคดีทางการเมือง ผมก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมศาลไม่ให้ปล่อยตัวชั่วคราว ขณะรัฐธรรมนูญเขียนว่า การคุมขังผู้ต้องหา (ชั้นตำรวจ) หรือจำเลย (ชั้นศาล) คดีอาญา กระทำได้เท่าที่จำเป็น เพียงไม่ให้เขาหลบหนี การปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลัก ไม่ใช่ขังเป็นหลัก เพราะถ้าเขาสู้คดีชนะ แม้ได้เงินก็ไม่คุ้ม อย่างคดีตากใบ ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะมาพูดว่าจ่ายสตางค์แล้วก็จบ เพราะเป็นเรื่องเสรีภาพของคน สิ่งที่เขาเสียไปในชีวิตหากเขาสู้คดีแล้วเขาชนะ เขาไม่ผิด

 

คนไปติดคุก มีเรื่องตรอมใจ ไม่ได้คุยกับทนายเต็มที่ หาพยานหลักฐานไม่ได้ ต้องขึ้นศาลแล้วติดคุก ไม่รู้วันเดือนปีที่จะออกมา แล้วคุกไทยก็แตกต่างจาก ‘ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ’ ทำไมคุณทักษิณ ชินวัตร ได้ไปอยู่ ผมพยายามส่งลูกความไปยังไม่ได้เลย เป็นปัญหาของระบบราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม รวมถึงศาลด้วย เพราะศาลสั่งขัง ถ้าไม่มีหมายขังก็ไม่ติดคุก ส่วนโรงพยาบาลตำรวจก็ของตำรวจ ไม่ได้หมายความว่าคุณทักษิณผิดหรือไม่ แต่เป็นคำถามที่ผู้คนสงสัย ขณะที่คุณทักษิณไม่เคยติดคุกจนได้รับการปล่อยตัว

 

ฉะนั้น เนื่องจากปัญหาระบบเรื่องความยุติธรรม ทำให้เราได้ทนายความ, ตำรวจ, อัยการ และผู้พิพากษา อย่างที่เป็นอยู่

 

 

ไม่ใช่ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน แต่ทำงานร่วมกันในฐานะเครือข่าย

 

กฤษฎางค์: ที่ศูนย์ทนายฯ จะมีทนายบางคนที่เป็นทนายประจำ เขามีเงินเดือนจากที่นี่ ส่วนตัวผมไม่ได้สังกัดศูนย์ทนายฯ ไม่ได้รับเงินเดือน แต่มาทำงานร่วมกันในฐานะทนายเครือข่าย

 

เมื่อศูนย์ทนายฯ รับคดีมา ก็จะมาเลือกเรื่องที่เหมาะสมสำหรับทนายแต่ละคน เขาก็ส่งให้เราทำ ส่วนศูนย์ทนายฯ ได้รับบริจาคโดยองค์กรที่บริจาคช่วยเหลือ

 

ทนายความที่รัฐจัดให้ประชาชน

 

กฤษฎางค์: องค์กรของรัฐที่จัดทนายให้ประชาชน เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กรณีคดีอาญา ถ้าจำเลย (ชั้นศาล) หรือผู้ต้องหา (ชั้นตำรวจ) ไม่มีทนาย รัฐต้องจัดหาทนายให้ เรียกว่า ‘ทนายขอแรง’

 

ทุกคนที่ไปศาลอาญาต้องรู้ ไม่ว่าจะคดีเล็กคดีน้อย ศาลจะถามก่อนว่ามีทนายไหม ถ้าไม่มีทนายศาลจะจัดหาให้ ศาลก็เอางบประมาณรัฐไปจ้าง แต่ก็มีองค์กรช่วยเหลืออื่นๆ เช่น เนติบัณฑิตยสภาฯ ก็มีทนายช่วยเหลือประชาชน สภาทนายความฯ ก็มี ศูนย์นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรืออัยการก็จะมีให้คำปรึกษาได้ แต่เขาจะมีเกณฑ์หรือเงื่อนไขของแต่ละแห่ง

 

ส่วนอัยการจะเป็นผู้ว่าความให้รัฐ เช่น รัฐกล่าวหาคดีตากใบ อัยการไปฟ้องข้าราชการที่ถูกกล่าวหาว่าผิด

 

 

การรักษาความยุติธรรมกับการรักษาผลประโยชน์ลูกความ จะชั่งน้ำหนักอย่างไรหากทราบว่าลูกความตัวเองกระทำผิด

 

กฤษฎางค์: ตั้งแต่เป็นทนายความมา เรื่องนี้ก็เป็นปัญหาโลกแตก คนจะถามว่า ถ้ารู้ว่าลูกความผิดจะทำคดีให้หรือเปล่า คำถามนี้อยู่ในใจทุกคน ผมอยากจะบอกอย่างนี้ว่า หลักการที่มีทนายความมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงหลักกฎหมายทั่วไปในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)

 

ผู้ต้องหาคดีอาญาทุกคนพึงได้รับโอกาสในการต่อสู้คดีเต็มที่ และที่สำคัญคือ ทนายความต้องมีมรรยาททนายความ เหมือนหมอมีจรรยาบรรณแพทย์ เช่น หมอต้องช่วยชีวิตคนโดยไม่สนว่าเป็นโจรหรือไม่ เขาต้องรักษาให้หาย แม้หลังจากนั้นจะถูกประหารชีวิตก็ต้องรักษาให้หายก่อน แต่ทนายความมีเรื่องที่ลึกกว่านั้นคือ โดยวิชาชีพ ไม่สันนิษฐานว่าลูกความตัวเองผิด แม้เราจะเชื่อเขาหรือไม่ก็ตาม ถ้าลูกความบอกว่าเขาไม่ได้ทำผิด เราก็ต้องต่อสู้ให้เขาบนแนวทางกฎของทนายความคือ ไม่สร้างพยานหลักฐานเท็จ ไม่โกหกคน เราฟังสิ่งที่เขาพูด เช่น เขาบอกว่าเขาไม่ได้อยู่ที่เกิดเหตุ ถ้าพยานอีกฝ่ายยืนยันว่าเขาอยู่ก็ต้องต่อสู้คดีไป

 

ทนายความพึงฟังลูกความอย่างที่เขาอยากบอก ทนายความมีความจำเป็นเพื่อให้คนมีโอกาสต่อสู้คดีเท่าเทียมกันหมด เราไม่ได้อยู่ในระบบให้ลุยไฟหรือทุบตีให้รับสารภาพ ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ จะปฏิบัติเสมือนเขาเป็นผู้กระทำความผิดแล้วไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องให้โอกาสคนได้ต่อสู้

 

ส่วนกรณีลูกความยอมรับกับทนายความว่าทำผิดจริง เช่น ฆ่าคนจริงๆ หรือโกงจริงๆ ทำจริงๆ แบบนี้ทนายความก็ต้องคุยกับเขาว่าจะเลือกอย่างไร จะสู้คดีก็ทำคดีให้ โดยไม่สร้างพยานหลักฐานเท็จ ซึ่งลูกความต้องติดคุก แต่เรามีคำแนะนำ ถ้ารับสารภาพการรับโทษจะเป็นอย่างไร เช่น จากโทษประหารชีวิตถ้ารับสารภาพจะเป็นจำคุกตลอดชีวิต หรือ 50 ปี และมีการลดหย่อนต่างๆ ตามกฎหมาย

 

การรักษาผลประโยชน์ของลูกความ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำเรื่องผิดให้เป็นถูก เรื่องนี้ห้ามและตามกฎหมายก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว

 

 

เป็นทนายนักกิจกรรมก็มีราคาที่ต้องจ่าย

 

กฤษฎางค์: มี เพราะคนที่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา ยกตัวอย่าง คดี ม.112 บางคนเขาก็ขอเปลี่ยนจากเราเป็นทนายคนอื่น เขาก็ไปจ้างทนายอื่น เพราะเขาเห็นว่าเราเป็นตัวอันตราย เกเรในสายตารัฐ

 

ลูกความเปลี่ยนทนาย ไม่เลือกเราเพราะเขามีความเห็นอีกแบบหนึ่งก็มี บางทีเขาบอกว่าคดีนี้ไม่เอาคุณกฤษฎางค์เพราะไปขึ้นศาลแล้วจะถูกมองว่าเป็นเสื้อสีอะไร

 

ตั้งใจสอบเข้าธรรมศาสตร์เรียนกฎหมาย ก่อนเป็นทนายความ

 

กฤษฎางค์: ตั้งแต่เรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ก็เป็นนักกิจกรรมตั้งแต่ปี 2517 ต่อมาเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2518-2521 ทำกิจกรรมต่อต้านรัฐบาลทหาร จึงถูกมองว่าเป็นฝ่ายซ้าย เป็นคอมมิวนิสต์ เราทำกิจกรรมมาตลอดเพราะอยากทำ

 

ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยตั้งใจจะเรียนกฎหมายตั้งแต่แรก เพราะครอบครัวเป็นข้าราชการ คุณพ่อเป็นนายอำเภอ พ่อเรียนโรงเรียนเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ต.ม.ธ.ก.) รุ่นที่ 7 (มัธยมปลายในสมัยนั้น) รุ่นเดียวกับคุณสัมผัส พึ่งประดิษฐ์ ต่อมาเรียนนายร้อย จปร. เป็นทหาร แล้วเรียนนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมัยเป็นตลาดวิชา มีความคิดอิสระ จากนั้นเป็นนายอำเภอ แล้วญาติพี่น้องส่วนใหญ่เรียนธรรมศาสตร์ 

 

ตอนเราเด็กๆ ก็ฟังครอบครัวคุยกันถึงอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เราก็รู้สึกว่าธรรมศาสตร์เป็นหัวก้าวหน้า ผมอ่าน ปีศาจ ของ เสนีย์ เสาวพงศ์ แล้วก็ชื่นชม สาย สีมา นักสู้สามัญชน แล้วเวลาดูภาพยนตร์ต่างประเทศมีทนายเก่งๆ ก็ชื่นชอบ

 

พ่ออยากให้เป็นผู้พิพากษา ตอนนั้นก็ยังไม่รู้ด้วยว่าถ้าเป็นผู้พิพากษาจะเจอสภาพแบบไหน ตอนนี้ก็ยังรู้สึกตัดสินใจถูก ถ้าเป็นผู้พิพากษาคงเป็นได้ไม่เกิน 3 ปีโดนไล่ออก เพราะระบบราชการ ข้าราชการบางคนมีความกล้าหาญก็ต้องบาดเจ็บจากการถูกลงโทษ มีบางคนยิงตัวตายที่เห็นในข่าว

 

ตอนผมเรียนมัธยมปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตั้งใจจะสอบเข้าเรียนกฎหมายแล้วก็ได้เข้าเรียน ปีนั้นปีการศึกษา 2518 อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ใช้วิธีให้นักศึกษาธรรมศาสตร์ ปี 1 ทั้งหมดเป็นนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ แล้วแยกคณะปี 2 ตอนแยกคณะผมก็อยู่นิติศาสตร์ ทำกิจกรรมมาตลอด ระหว่างเรียนปริญญาตรีเป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่ผ่านเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 

 

เคยลงสมัครและได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภานักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2 สมัย ในปีการศึกษา 2518-2519 ต่อมาในปีการศึกษา 2521 ได้รับการเลือกตั้งเป็น ‘นายกสโมสรนักศึกษาธรรมศาสตร์’ คนแรกและคนสุดท้าย เพราะตำแหน่งนี้มีเพียงปีเดียว จึงเป็นนายกสโมสรนักศึกษาธรรมศาสตร์คนเดียว ตำแหน่งคล้ายองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อมธ.) เพราะสถานการณ์การเมืองในประเทศปีนั้นทำให้ภายในมหาวิทยาลัยไม่สามารถมีสภานักศึกษาและ อมธ. ได้ หลังจากปีนั้นจึงมีสภาและ อมธ. ตามปกติ

 

 

เหตุผลที่ยังเป็นทนายความ ไม่เปลี่ยนเส้นทางไปมีตำแหน่งทางการเมือง 

 

กฤษฎางค์: ผมไม่เชื่อในระบบ แม้มีคนมาชวนไปสมัคร สส. สว. ซึ่งอาจจะไม่ได้รับเลือกก็ได้นะ แต่ส่วนตัวไม่เชื่อในระบบกติกาการเลือกตั้งแบบนี้ ไม่เชื่อการไปดีลในรัฐสภา ซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละคนที่เขาจะเชื่อแบบไหน 

 

ส่วนตัวผมก็ไปเลือกตั้งทุกครั้ง แต่ถ้าจะต้องไปอยู่ในเวทีแบบนั้น ก็เลือกไม่เอาตัวเองไปอยู่ตรงนั้น 

 

ผมเป็นทนายว่าความให้ สส. นักการเมืองพรรคอนาคตใหม่ ก้าวไกล ประชาชน ผมได้รับการจ้างให้เป็นทนาย มีการหักภาษี ผมไม่ได้ทำให้ฟรี ตอนนี้ก็ยังเป็นทนายในคดีแต่ละคน เช่น ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, ปิยบุตร แสงกนกกุล, รังสิมันต์ โรม และ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แต่คดีที่ดูแลอยู่ก็ไม่เยอะแล้ว

 

ผมไม่คิดจะไปเป็นนักการเมือง ส่วนทนายความที่เคยว่าความในคดีการเมืองแล้วตอนนี้ไม่เป็นทนายความแล้ว เปลี่ยนไปเป็นนักการเมืองแล้ว ก็อาจจะมีทั้งคนที่เปลี่ยนใจเพราะผลประโยชน์ หรือเปลี่ยนเพราะเดิมเขาเป็นคนแบบนั้นอยู่แล้ว นี่รวมถึงนักการเมืองเพื่อนผมซึ่งเป็น ‘คนเดือนตุลา’ ที่ไปเป็นนักการเมืองด้วยนะ เขาอาจเปลี่ยนเพราะผลประโยชน์ หรือเพราะเดิมเขาเป็นคนแบบนั้นอยู่แล้วก็ได้ เป็นการเลือกใช้ชีวิตของแต่ละคน 

 

 

 

 

The post ‘ถูกหลอกง่าย-พึ่งพายุติธรรมไม่ได้’ คุยกับทนายอาชีพ กฤษฎางค์ นุตจรัส ปมทนายหลงแสง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทนายกฤษฎางค์เปิดผลคดี ม.112 และ 116 ของจำเลยเยาวชน 12 คน ศาลให้ประกัน ใบปอ ทะลุวัง ส่วนที่เหลือส่งศาลอุทธรณ์พิจารณา https://thestandard.co/lawyer-kritsadang-112-116-12-teens/ Tue, 18 Jun 2024 13:14:15 +0000 https://thestandard.co/?p=946795

วันนี้ (18 มิถุนายน) กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนาย […]

The post ทนายกฤษฎางค์เปิดผลคดี ม.112 และ 116 ของจำเลยเยาวชน 12 คน ศาลให้ประกัน ใบปอ ทะลุวัง ส่วนที่เหลือส่งศาลอุทธรณ์พิจารณา appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (18 มิถุนายน) กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายสิทธิมนุษยชน กล่าวถึงการยื่นขอประกัน 12 จำเลยในคดีการชุมนุมทางการเมืองและคดีความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ในวันนี้ โดยระบุว่า คดีแบ่งออกเป็น จำเลย 10 คนที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ถูกดำเนินมาตรา 112 จำนวน 6 คน และมาตรา 116 จำนวน 4 คน จากกรณีการชุมนุม ซึ่งขณะนี้อยู่ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอาญามีคำสั่งส่งให้ศาลอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณาการให้ประกัน 

 

กฤษฎางค์กล่าวต่อว่า ส่วนจำเลยอีก 2 คน คดีอยู่ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ คือคดีมาตรา 112 ประกอบด้วย สิรภพ พุ่มพึ่งพุทธ ที่ศาลมีคำสั่งตัดสินจำคุกไป โดยศาลอาญากรุงเทพใต้ได้ส่งให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาประกันเช่นกัน 

 

ในส่วนคดีของ ใบปอ-ณัฐนิช ดวงมุสิทธิ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มทะลุวัง ที่โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ถูกอัยการยื่นฟ้องคดีมาตรา 112 ศาลอาญากรุงเทพใต้ให้ประกันตัว โดยตีราคาประกัน 2 แสนบาท พร้อมเงื่อนไขห้ามออกนอกประเทศ เว้นแต่ได้รับอนุญาต และห้ามกระทำผิดซ้ำตามที่ถูกฟ้อง

The post ทนายกฤษฎางค์เปิดผลคดี ม.112 และ 116 ของจำเลยเยาวชน 12 คน ศาลให้ประกัน ใบปอ ทะลุวัง ส่วนที่เหลือส่งศาลอุทธรณ์พิจารณา appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทนายกฤษฎางค์ระบุ ไม่เจตนายื่นประกันเยาวชนคดี ม.112 ชนทักษิณ เชื่อวันนี้ได้เห็นความจริงกระบวนการยุติธรรม https://thestandard.co/not-intending-to-apply-for-youth-bail-112-case/ Tue, 18 Jun 2024 03:56:09 +0000 https://thestandard.co/?p=946403

วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กฤษฎางค์ […]

The post ทนายกฤษฎางค์ระบุ ไม่เจตนายื่นประกันเยาวชนคดี ม.112 ชนทักษิณ เชื่อวันนี้ได้เห็นความจริงกระบวนการยุติธรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความของ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง เดินทางมายื่นหนังสือถึงอธิบดีศาลอาญา เพื่อขอให้ศาลอาญามีคำสั่งให้ไต่สวนการเสียชีวิตของเนติพรที่ศาลอาญาตามกฎหมาย 

 

ด้วยเหตุผลทางข้อเท็จจริงที่ครอบครัวได้รับจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ทำให้เชื่อว่าเนติพรเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในการควบคุมของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ตั้งแต่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลอาญาแล้ว

 

กฤษฎางค์กล่าวว่า จนขณะนี้ครอบครัวยังไม่ได้รับคลิปวงจรปิดวันเสียชีวิตของเนติพรจากกรมราชทัณฑ์เพิ่มเติม แต่ผลจากการชันสูตรพลิกศพของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติถือว่าครบถ้วนแล้ว ซึ่งตนก็จะไปขอรับมาหลังจากนี้ 

 

ที่ในวันนี้ตนมายื่นหนังสือถึงอธิบดีศาลอาญาเนื่องจากเนติพรถูกคุมขังในคดีภายใต้การดูแลของศาลอาญานี้และได้เสียชีวิตไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคดี ตนจึงทำหนังสือถึงอธิบดีศาลอาญาให้ท่านมีคำสั่งให้ไต่สวนการเสียชีวิตของเนติพร ซึ่งอยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลอาญา และศาลอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาคดีนี้อยู่แล้ว

 

กฤษฎางค์กล่าวต่อว่า หลังจากกรมราชทัณฑ์กับกรรมาธิการกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรส่งหนังสือถึงทนายความ ตนก็ได้ส่งเอกสารและสำเนาบัตรประชาชนของตนและครอบครัวเนติพรเพื่อใช้ประกอบการรับคลิปวงจรปิดไปแล้ว และเมื่อวานนี้ (17 มิถุนายน) มีรายงานว่าอยู่ระหว่างการตรวจสอบเอกสาร ซึ่งตนไม่ทราบว่าจะอยู่ระหว่างตรวจสอบนานเท่าไร

 

สำหรับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้ให้หลักฐานตั้งแต่วันที่ร่างของบุ้งไปถึง การที่เราต้องการภาพกล้องวงจรปิดในห้องที่เนติพรเสียชีวิต เพื่อที่เราจะได้รู้ว่าสิ่งที่กรมราชทัณฑ์พูดมาตลอดเป็นเรื่องจริงหรือไม่ มีการช่วยเหลือปฐมพยาบาลหรือไม่ มีการกู้ชีพอย่างไร

 

กฤษฎางค์กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ยืนยันว่าจะให้เอกสารหลักฐานมาโดยตลอด แต่ตนก็ยังไม่แน่ใจว่าจะยื่นภายในเมื่อใด แต่ทั้งนี้ถ้าศาลอาญารับจดหมายยื่นขอความเป็นธรรมจากตนก็จะสามารถออกคำสั่งให้กรมราชทัณฑ์นำหลักฐานส่วนนั้นให้กับครอบครัวได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการไปจนถึงผู้บริหารสูงสุดของกระทรวงยุติธรรมมีส่วนที่ต้องรับผิดชอบในกรณีนี้

 

กฤษฎางค์กล่าวอีกว่า หากถามความเห็นของตนโดยหลักของกฎหมายที่ยุติธรรม กรณีทักษิณต้องถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์และต้องได้รับการประกันตัวปล่อยตัวชั่วคราว เหมือนกับเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ที่ต้องได้รับการประกันตัวเช่นกัน

 

“วันนี้จะเป็นบทพิสูจน์หนึ่งของกระบวนการยุติธรรมว่าดุลพินิจของการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นตามหลักของกฎหมาย หรือเป็นไปตามหลักของอำเภอใจหรือเป็นไปตามหลักความเชื่อทางการเมืองของคนตัดสิน”

 

กฤษฎางค์กล่าวอีกว่า ตนยอมรับว่าไม่ได้ตั้งใจที่จะมายื่นประกันตัวเยาวชนในคดีนี้เช่นเดียวกับทักษิณ แต่ก็กลับมาตรงกับวันที่ทักษิณขอยื่นประกันเช่นเดียวกับเยาวชนทั้ง 12 คนที่ตนเดินทางมายื่นขอประกันในคดีมาตรา 112 ที่ผ่านมาศาลให้เหตุผลว่าไม่ประกันเนื่องจากเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี ซึ่งทางทนายความยืนยันมาตลอดว่าจะไม่มีการหลบหนี พวกเขาเป็นเพียงนักศึกษาระดับปริญญาโท ไม่มีแม้แต่เครื่องบินส่วนตัวที่จะหลบหนี

 

เยาวชนผู้ต้องหาต้องการออกมาต่อสู้คดีเท่านั้น ถ้าถามความเห็นตน ทักษิณก็ต้องมีสิทธิ์ได้ประกันตัว เว้นแต่มีพฤติการณ์หลบหนี เพราะตามรัฐธรรมนูญหรือประมวลอาญาก็ดี การควบคุมขังไว้ระหว่างพิจารณาคดีทำไม่ได้เว้นแต่ป้องกันการหลบหนีเท่านั้น

 

เมื่อถามว่าวันนี้ที่มายื่นประกันตัวเยาวชนในคดีมาตรา 112 คาดหวังว่าถ้าทักษิณได้ประกันลูกความของตนจะได้ประกันหรือไม่ กฤษฎางค์กล่าวว่า ตนขอยืนยันว่าเป็นคนละส่วนกัน แต่ตนก็เชื่อว่าผู้ที่ระหว่างนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่มีใครควรถูกคุมขัง

The post ทนายกฤษฎางค์ระบุ ไม่เจตนายื่นประกันเยาวชนคดี ม.112 ชนทักษิณ เชื่อวันนี้ได้เห็นความจริงกระบวนการยุติธรรม appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราชทัณฑ์แจง กมธ.การกฎหมายฯ ยินดีเปิดภาพวงจรปิดขั้นตอนรักษาตัว ‘บุ้ง ทะลุวัง’ แต่ญาติต้องยื่นขอตามขั้นตอนกฎหมาย https://thestandard.co/corrections-department-to-share-bung-thaluwang-cctv/ Wed, 29 May 2024 10:45:44 +0000 https://thestandard.co/?p=938975 บุ้ง ทะลุวัง

วันนี้ (29 พฤษภาคม) ที่อาคารรัฐสภา กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ส […]

The post ราชทัณฑ์แจง กมธ.การกฎหมายฯ ยินดีเปิดภาพวงจรปิดขั้นตอนรักษาตัว ‘บุ้ง ทะลุวัง’ แต่ญาติต้องยื่นขอตามขั้นตอนกฎหมาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
บุ้ง ทะลุวัง

วันนี้ (29 พฤษภาคม) ที่อาคารรัฐสภา กมลศักดิ์ ลีวาเมาะ สส. นราธิวาส พรรคประชาชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน (กมธ.การกฎหมายฯ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แถลงหลังการประชุมเรื่องการเสียชีวิตของ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง นักกิจกรรมกลุ่มทะลุวัง 

 

โดยกมลศักดิ์ระบุว่า กรรมาธิการการกฎหมายฯ มีการประชุมเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดูแลผู้ต้องขังหญิง รวมถึงประเด็นที่เนติพรเสียชีวิตในขณะควบคุมตัว จึงเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ทั้งกรมราชทัณฑ์ แพทย์ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ และแพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 

 

รวมทั้งประเด็นทางกฎหมายที่ กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ตั้งคำถามเรื่องญาติของเนติพรต้องการภาพจากกล้องวงจรปิดที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แต่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้ได้ เพราะการมอบอำนาจไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมข่าวสารของราชการ ต้องให้มารดาของเนติพรเซ็นมอบอำนาจให้ถูกต้อง กรมราชทัณฑ์จะมอบภาพวงจรปิดให้กับญาติให้สิ้นข้อสงสัยต่อกระบวนการรักษา

 

กมลศักดิ์กล่าวถึงประเด็นที่ทนายกฤษฎางค์ได้ตั้งคำถามต่อกระบวนการทำงานของศาลว่าเต็มที่หรือไม่ จนถึงการส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ชี้แจงว่า เนติพรอาการไม่ดี สัญญาณชีพไม่มีตั้งแต่เวลา 06.27 น. แพทย์พยายามช่วยเหลือโดยการปั๊มหัวใจ เหตุที่ต้องพาไปโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เพราะพี่สาวของเนติพรต้องการพาไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งสัญญาณชีพของเนติพรไม่มีตั้งแต่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กระบวนการต่างๆ เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. จนถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเวลา 09.22 น. 

 

“ดังนั้นโรงพยาบาลต้องชี้แจงรายละเอียด ต้องเผยว่าเบอร์โทรศัพท์ที่อ้างว่ามีการโทรหาพี่สาวบุ้ง ใช้เบอร์ 02 เป็นเบอร์จากโรงพยาบาลหรือไม่ นี่คือประเด็นสำคัญกับประเด็นของเรื่องที่เสียชีวิตของบุ้ง” 

 

กมลศักดิ์เผยว่า กรรมาธิการการกฎหมายฯ ให้เวลา 1 สัปดาห์ในการส่งเอกสาร แต่หมอบอกว่าสามารถส่งมาทางกรรมาธิการฯ ได้ทันที ทนายความของเนติพรสามารถขอดูได้ ถ้าได้ภาพหลักฐานจากกล้องวงจรปิด จะสามารถคลี่คลายได้หลายประเด็น แม้จะยังติดขัดเรื่องหนังสือมอบอำนาจที่จะต้องคุยกับแม่ของเนติพร เพราะในการขอภาพหลักฐานจะต้องเป็นทายาททำหนังสือมอบอำนาจ ทนายกฤษฎางค์จะไปประสานงานให้เอง

 

ทั้งนี้ กรรมาธิการการกฎหมายฯ ได้เชิญฝ่ายต่างๆ มาร่วมให้ข้อมูลประกอบด้วย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ที่มอบหมาย นพ.สมภพ สังคุตแก้ว หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กรมราชทัณฑ์ ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลาง รวมถึง รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ร่วมประชุมด้วย

The post ราชทัณฑ์แจง กมธ.การกฎหมายฯ ยินดีเปิดภาพวงจรปิดขั้นตอนรักษาตัว ‘บุ้ง ทะลุวัง’ แต่ญาติต้องยื่นขอตามขั้นตอนกฎหมาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทวีแจงปมกรมราชทัณฑ์ไม่ให้ไฟล์ภาพวงจรปิด ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิต กังวลภาพล่อแหลม-ซ้ำเติมคนตาย-ข้อกฎหมาย https://thestandard.co/bung-thaluwang-cctv-prohibited/ Mon, 27 May 2024 09:26:11 +0000 https://thestandard.co/?p=937992 บุ้ง ทะลุวัง

ความคืบหน้ากรณีที่ กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายคว […]

The post ทวีแจงปมกรมราชทัณฑ์ไม่ให้ไฟล์ภาพวงจรปิด ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิต กังวลภาพล่อแหลม-ซ้ำเติมคนตาย-ข้อกฎหมาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
บุ้ง ทะลุวัง

ความคืบหน้ากรณีที่ กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ดำเนินการขอไฟล์ภาพจากกล้องวงจรปิดของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2567 โดยเฉพาะในห้วงเวลาก่อนที่ บุ้ง -เนติพร เสน่ห์สังคม จะวูบหมดสติและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

 

ต่อมาปรากฏว่าทางกรมราชทัณฑ์ไม่สามารถอนุญาตให้ไฟล์ภาพจากกล้องวงจรปิดได้ เนื่องจากข้อกังวล 3 เหตุผล คือ 1. ความมั่นคง 2. กระทบสิทธิเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์และแพทย์ราชทัณฑ์ในเหตุการณ์การกู้ชีพ 3. กระทบสิทธิผู้เสียชีวิตจากภาพการกู้ชีพ และการแพร่กระจายของภาพที่ไม่อาจควบคุมได้ แต่อนุญาตให้บิดา-มารดาเข้ารับชมภาพจากกล้องวงจรปิดได้

 

วันนี้ (27 พฤษภาคม) พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ได้สอบถามทางกรมราชทัณฑ์เกี่ยวกับเรื่องการอนุญาตให้ไฟล์ภาพกล้องวงจรปิดแล้ว ซึ่งทางกรมราชทัณฑ์มีความยินดีที่จะให้ใครก็ได้ เช่น บิดา-มารดา หรือทนายความ หรือผู้ได้รับมอบอำนาจมาดูภาพจากกล้องวงจรปิดได้

 

อีกทั้งตนทราบว่าทางกรมราชทัณฑ์ได้ทำหนังสือเชิญบิดา-มารดาของบุ้งให้เข้าไปร่วมดูภาพเหตุการณ์จากกล้องวงจรปิด แต่จากข้อกังวลของกรมราชทัณฑ์คือเรื่องกฎหมาย เพราะในเหตุการณ์นั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลายคน รวมถึงต้องพิจารณาในกรอบของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมด้วย

 

แต่ยืนยันว่าสามารถเปิดไฟล์ภาพให้ดูได้แน่นอน และได้เชิญทนายกฤษฎางค์เข้าดูด้วย แต่หากจะนำไฟล์ภาพจากกล้องวงจรปิดออกมา ขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณาข้อกฎหมาย วินิจฉัยกันอาจไม่จบ แต่ตนก็ยินดีว่าเราไม่ควรปิดกั้น ควรเปิดเผย แต่ก็ต้องยึดกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้

 

ทั้งนี้ตนได้ถามว่าเหตุใดถึงไม่อนุญาตให้นำไฟล์ภาพจากกล้องวงจรปิดออกมา ก็ทราบว่าอาจมีภาพที่เป็นการช่วยเหลือผู้เสียชีวิต อาจมีบางภาพที่ล่อแหลม อาจเป็นการซ้ำเติมผู้เสียชีวิต

 

พ.ต.อ. ทวี กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากรมราชทัณฑ์ก็มีความยินดีที่จะเอื้ออำนวยในเรื่องนี้ แต่ด้วยติดแค่เรื่องการไม่อนุญาตให้ไฟล์ภาพได้ เพราะเราไม่สามารถไปการันตีได้ว่าหากภาพหลุดไปเผยแพร่ในสาธารณะแล้วนั้นอาจเป็นการซ้ำเติมผู้เสียชีวิตที่เป็นผู้บริสุทธิ์ มันก็ไม่ควรมีอะไรไปกระทบ

The post ทวีแจงปมกรมราชทัณฑ์ไม่ให้ไฟล์ภาพวงจรปิด ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิต กังวลภาพล่อแหลม-ซ้ำเติมคนตาย-ข้อกฎหมาย appeared first on THE STANDARD.

]]>
ราชทัณฑ์แจงปมไม่ให้ภาพวงจรปิด ‘บุ้ง ทะลุวัง’ มีประเด็นสิทธิส่วนบุคคล กังวลจะเป็นดิจิทัลฟุตพรินต์ในโลกออนไลน์ https://thestandard.co/correct-bung-thaluwang-cctv/ Fri, 24 May 2024 12:00:45 +0000 https://thestandard.co/?p=937387

วันนี้ (24 พฤษภาคม) กรมราชทัณฑ์แถลงชี้แจงกรณีที่ กฤษฎาง […]

The post ราชทัณฑ์แจงปมไม่ให้ภาพวงจรปิด ‘บุ้ง ทะลุวัง’ มีประเด็นสิทธิส่วนบุคคล กังวลจะเป็นดิจิทัลฟุตพรินต์ในโลกออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (24 พฤษภาคม) กรมราชทัณฑ์แถลงชี้แจงกรณีที่ กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความ และ วีรดา คงธนกุลโรจน์ ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ทนายความผู้ได้รับมอบอำนาจจากครอบครัว เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง นักกิจกรรมทางการเมือง ได้เดินทางไปขอข้อมูลภาพที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิดในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์ตรวจรักษาเนติพร

 

กรมราชทัณฑ์ระบุว่า กรณีดังกล่าวทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้แจ้งให้ทนายความได้รับทราบว่า ยังไม่สามารถส่งมอบข้อมูลภาพที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิดภายในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์แก่ทนายความของเนติพรตามที่ร้องขอได้ เนื่องจากเป็นกรณีที่ต้องพิจารณาให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมาย และมีความเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งปรากฏอยู่ในภาพที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิด ได้แก่ สิทธิส่วนบุคคลของผู้ต้องขังซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุ และสิทธิส่วนบุคคลของบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตรวจรักษาในขณะเกิดเหตุ รวมทั้งภาพไม่เหมาะสมในช่วงเวลาที่กำลังตรวจรักษาอาการเจ็บของผู้ป่วย

 

โดยกรณีสิทธิส่วนบุคคลดังกล่าวถือเป็นกรณีละเอียดอ่อน ซึ่งหากเผยแพร่ไปสู่สาธารณะอาจเป็นฐานข้อมูลและคงอยู่ในระบบอินเทอร์เน็ตหรือโลกโซเชียล (ดิจิทัลฟุตพรินต์) โดยไม่ปรากฏหลักประกันว่าแม้ระยะเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร ก็อาจไม่สามารถนำออกจากระบบดังกล่าวได้            

 

อีกทั้งยังเป็นการยากที่จะตรวจสอบได้ว่าข้อมูลดังกล่าวยังอยู่ในระบบโซเชียลมีเดียหรือไม่ ดังนั้นจึงถือเป็นความสุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียชีวิต ญาติผู้เสียชีวิต บุคลากรทางการแพทย์ และผู้ต้องขังอื่นที่ปรากฏอยู่ในกล้องวงจรปิด รวมถึงอาจเกิดความเสียหายแก่ทางราชการในด้านของการควบคุมและตรวจรักษาผู้ต้องขังภายในเรือนจำ 

 

ดังนั้นกรมราชทัณฑ์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องแจ้งการพิจารณาให้ข้อมูลดังกล่าวแก่บิดามารดาของผู้เสียชีวิต และเรียนเชิญนัดหมายให้ไปตรวจสอบและปรึกษาหารือร่วมกันกับทางทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมที่ไม่กระทบต่อครอบครัวและบุคคลอื่น

 

กรมราชทัณฑ์ยืนยันว่า การเปิดเผยข้อมูลภาพที่บันทึกได้จากกล้องวงจรปิดตามที่ทนายความร้องขอได้หรือไม่อย่างไรนั้น ต้องถือปฏิบัติตามหลักการที่จะเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอื่นและของผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมราชทัณฑ์ที่กำหนดไว้ตาม ม.15 (5) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ประกอบกับ ม.7 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้ที่ยื่นขอข้อมูลดังกล่าวที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น และขอให้ติดตามข้อมูลทางการแพทย์และผลการชันสูตรอย่างเป็นทางการจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เพื่อจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและไม่คลาดเคลื่อน

The post ราชทัณฑ์แจงปมไม่ให้ภาพวงจรปิด ‘บุ้ง ทะลุวัง’ มีประเด็นสิทธิส่วนบุคคล กังวลจะเป็นดิจิทัลฟุตพรินต์ในโลกออนไลน์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่ให้ไฟล์ภาพวงจรปิดวัน ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิต ให้เหตุผลเรื่องความมั่นคง-ปลอดภัย ทนายเตรียมแถลงทุกข้อสงสัยให้สังคมทราบ https://thestandard.co/prison-hospital-withholds-bung-death-cctv-footage-lawyers/ Fri, 24 May 2024 07:33:18 +0000 https://thestandard.co/?p=937171

วันนี้ (24 พฤษภาคม) ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กฤษฎาง […]

The post ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่ให้ไฟล์ภาพวงจรปิดวัน ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิต ให้เหตุผลเรื่องความมั่นคง-ปลอดภัย ทนายเตรียมแถลงทุกข้อสงสัยให้สังคมทราบ appeared first on THE STANDARD.

]]>

วันนี้ (24 พฤษภาคม) ที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เดินทางมายื่นคำร้องเพื่อขอไฟล์ภาพกล้องวงจรปิดในห้วงเวลาการเสียชีวิตของ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง นักกิจกรรมทางการเมือง ตามที่ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ระบุว่า สามารถให้ไฟล์ภาพได้ แต่ต้องให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบลำดับภาพให้เรียบร้อยก่อนว่าไม่ขัดหรือกระทบต่อสิทธิของผู้ป่วยรายอื่นๆ ในเหตุการณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการนัดหมายว่าจะมาดูภาพวงจรปิดในวันนี้ 

 

กฤษฎางค์ระบุว่า วันนี้เดินทางมาตั้งแต่เวลา 08.40 น. ซึ่งต่อมา สายน้ำ-นภสินธุ์ ตรีรยาภิวัฒน์ เพื่อนนักกิจกรรมร่วมกับบุ้ง ได้เดินทางมาร่วมตรวจสอบขอภาพวงจรปิดกับทนายความด้วย 

 

หลังใช้เวลาตรวจสอบภาพวงจรปิดประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง เวลา 10.00 น. กฤษฎางค์เดินทางออกมาให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชน โดยเปิดเผยว่า ทางกรมราชทัณฑ์ไม่ให้ไฟล์ภาพกล้องวงจรปิดเช้าวันที่ 14 พฤษภาคม ในขณะที่บุ้งรักษาตัวจนเกิดอาการป่วยหมดสติแก่ทนายความ โดยให้เหตุผล 3 ข้อ คือ 

 

  1. ในภาพวงจรปิดปรากฏภาพของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ที่รักษาผู้ป่วย จึงเกรงว่าจะกระทบต่อเจ้าหน้าที่เหล่านั้น 

 

  1. เกรงว่าจะกระทบต่อความมั่นคง เนื่องจากเป็นการเปิดเผยภาพวงจรปิดภายในสถานคุมขัง 

 

  1. เกรงว่าจะกระทบต่อความเสียหายแก่ผู้เสียชีวิต เนื่องจากปรากฏภาพขณะที่ทางเจ้าหน้าที่รักษาผู้เสียชีวิต 

 

กฤษฎางค์กล่าวว่า ทางเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์เกรงว่าทีมทนายความจะนำภาพวงจรปิดไปเผยแพร่แก่สื่อสาธารณะ จึงอาจจะกระทบต่อเหตุผล 3 ข้อหลักที่ได้กล่าวไปข้างต้น กรมราชทัณฑ์จึงตัดสินใจที่จะไม่มอบไฟล์ภาพวงจรปิดแก่ทนายความ 

 

ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์อ้างว่าได้ทำหนังสือส่งไปถึงผู้ปกครองของบุ้งให้มาดูภาพวงจรปิดตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคมแล้ว และแจ้งเพิ่มเติมอีกว่า ทนายความสามารถที่จะอุทธรณ์คำสั่งการไม่ให้ภาพวงจรปิดต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารทางราชการและฟ้องศาลปกครองได้ 

 

กฤษฎางค์กล่าวต่อว่า ทั้ง 3 เหตุผลนั้นฟังไม่ขึ้น ตนมองว่าเหตุผลข้อแรก หากไม่ต้องการให้ปรากฏภาพของบุคคลอื่น สามารถเบลอหรือใส่สติกเกอร์ปิดบังใบหน้าได้ ส่วนเหตุผลข้อ 2 นั้นตนมองว่าเรื่องความมั่นคงเป็นเพียงข้ออ้าง เพราะเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา กรมราชทัณฑ์ก็อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปสังเกตการณ์และเผยแพร่แผนผังห้องรักษาพยาบาลต่างๆ ภายในโรงพยาบาล โดยที่ไม่ได้มีการแจ้งกับตนและครอบครัวของบุ้งล่วงหน้า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นการบันทึกภาพออกมาก็ตาม แต่มองว่านี่ก็ถือเป็นการเผยแพร่ข้อมูลภายในโรงพยาบาลออกมาแล้ว จึงมองว่าเรื่องของความมั่นคงนั้นฟังไม่ขึ้น

 

ส่วนเหตุผลข้อสุดท้าย ในเรื่องของการกระทบกับผู้เสียชีวิตนั้นตนยืนยันว่า ครอบครัวของบุ้งรับได้กับภาพการเสียชีวิตของบุ้ง เพราะก่อนหน้านี้ทางโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติยังได้เชิญครอบครัวไปร่วมสังเกตการณ์การผ่าชันสูตรพลิกศพบุ้ง 

 

ส่วนข้อกังวลของกรมราชทัณฑ์ที่เกรงว่าทนายความจะนำไฟล์ภาพวงจรปิดมาเผยแพร่แก่สื่อมวลชนนั้นตนยืนยันว่าไม่เคยคิดจะทำเช่นนั้น และตั้งใจจะไม่ส่งภาพวงจรปิดแก่สื่อมวลชน เพราะก่อนหน้านี้ตนได้เอกสารเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของบุ้งมา ตนก็ยังไม่เปิดเผยแก่สื่อมวลชนเลย 

 

กฤษฎางค์กล่าวยืนยันว่า ตนและครอบครัวของบุ้งต้องการภาพวงจรปิด เพื่อมาตอบคำถามและพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่าบุ้งเสียชีวิตได้อย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องของช่วงเวลาตั้งแต่บุ้งเกิดอาการจนหมดสติ และการเข้าให้การช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ ว่าสอดคล้องกับช่วงเวลาและการปฏิบัติตามที่รายงานของกรมราชทัณฑ์หรือไม่ ไม่ได้ต้องการที่จ้องจะเอาผิดใดๆ เพราะเนื่องจากว่าคนตายก็ได้ตายไปแล้ว หากเกิดข้อผิดพลาดด้วยแนวปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ก็อยากให้มีการแก้ไข เพื่อสร้างบรรทัดฐานการดูแลผู้ป่วยที่เป็นผู้ต้องขังไม่ว่าจะเป็นคดีการเมืองหรือคดีอาญาทั่วไปก็ตาม 

 

ส่วนตัวมองว่าถือเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง เพราะก่อนหน้านี้ทั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็รับปากว่าจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ เพื่อให้การเสียชีวิตของบุ้งเกิดความกระจ่างและคลายข้อสงสัยของประชาชน อีกทั้งรัฐมนตรีเองยังรับปากว่าสามารถนำไฟล์ภาพวงจรปิดมาได้ 

 

ตนเข้าใจและไม่ถือโทษกับเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ เพราะเนื่องจากว่าพวกเขาก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งที่ผู้ใหญ่สั่งการมาอีกทีหนึ่ง แต่ตนเชื่อว่าน่าจะมีคำสั่งจากใครบางคนที่มีอำนาจเหนือกรมราชทัณฑ์ สั่งการไม่ให้นำไฟล์วงจรปิดมอบให้แก่ตน ตนจึงมองว่าการกระทำเช่นนี้ของกรมราชทัณฑ์และกระทรวงยุติธรรมนั้นไม่ถูกต้อง แทนที่จะทำให้สังคมคลายข้อสงสัยในแนวปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ กลับยิ่งทำให้สังคมตั้งข้อสงสัยเข้าไปใหญ่ อีกทั้งตอนนี้ก็ยังมีนักโทษอีกหลายรายที่ล้มป่วยพักรักษาในทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยเฉพาะนักโทษคดีการเมือง จึงมองว่า แล้วพวกญาติของผู้ต้องขังจะให้ความเชื่อมั่นแก่การปฏิบัติของกรมราชทัณฑ์ได้อย่างไร ดังนั้นเรื่องนี้รัฐบาลเองต้องออกมารับผิดชอบ 

 

กฤษฎางค์กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ตนคงไม่ได้ดำเนินการเรียกร้องในเรื่องของการอุทธรณ์คำสั่งแต่อย่างใด เพราะถ้าหากว่าทางกรมราชทัณฑ์อ้างว่าส่งหนังสือไปยังครอบครัวแล้ว ก็ให้เป็นไปตามนั้น แต่จากการสอบถามครอบครัวของบุ้งเบื้องต้นยังไม่ได้รับหนังสือดังกล่าว และไม่ทราบว่ากรมราชทัณฑ์ตั้งเงื่อนไขให้เฉพาะครอบครัวของบุ้งดูภาพวงจรปิดหรือไม่ 

 

ตนยืนยันว่าจะเดินหน้าในเรื่องนี้ให้ถึงที่สุด เพื่อหาความจริงและตอบข้อสงสัยความเคลือบแคลงต่อการเสียชีวิตของบุ้งให้ได้ โดยในห้วง 2-3 วันหลังจากนี้ตนจะรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับการการรักษาของบุ้งเพื่อให้ได้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ก่อนจะตั้งโต๊ะแถลงชี้ถึงข้อสงสัยการเสียชีวิตของบุ้งโดยละเอียดอีกครั้ง

The post ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่ให้ไฟล์ภาพวงจรปิดวัน ‘บุ้ง ทะลุวัง’ เสียชีวิต ให้เหตุผลเรื่องความมั่นคง-ปลอดภัย ทนายเตรียมแถลงทุกข้อสงสัยให้สังคมทราบ appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทนายโต้กรมราชทัณฑ์ ตั้งคำถามกับการเสียชีวิต บุ้ง ทะลุวัง ชี้การใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหารอาจไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิต แต่ทำให้โอกาสการรอดชีวิตน้อยลง https://thestandard.co/boong-lawyer-correct-questions/ Sun, 19 May 2024 11:15:15 +0000 https://thestandard.co/?p=935466 ทนาย บุ้ง เนติพร และ กรมราชทัณฑ์

วันนี้ (19 พฤษภาคม) ที่วัดสุทธาโภชน์ ลาดกระบัง ก่อนพิธี […]

The post ทนายโต้กรมราชทัณฑ์ ตั้งคำถามกับการเสียชีวิต บุ้ง ทะลุวัง ชี้การใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหารอาจไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิต แต่ทำให้โอกาสการรอดชีวิตน้อยลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทนาย บุ้ง เนติพร และ กรมราชทัณฑ์

วันนี้ (19 พฤษภาคม) ที่วัดสุทธาโภชน์ ลาดกระบัง ก่อนพิธีฌาปนกิจ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง นักกิจกรรมทางการเมือง กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้อ่านคำชี้แจงของกรมราชทัณฑ์ออกเอกสารยืนยันการรักษาเนติพรว่า ให้การช่วยเหลือตามมาตรฐานการรักษาวิชาชีพของแพทย์ หลังจากอ่านกฤษฎางค์ได้ฉีกคำชี้แจงของกรมราชทัณฑ์ทันที 

 

กฤษฎางค์นำบันทึกการรักษาของเนติพรจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ พร้อมอ่านคำชี้แจงว่า เนติพรหมดสติในเวลา 06.23 น. ซึ่งขณะนั้นไม่มีสัญญาณชีพ และทำ CPR จนกระทั่งถูกส่งตัวมายังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ในเวลา 09.30 น. ก่อนจะเสียชีวิตในเวลาต่อมา โดยสาเหตุการเสียชีวิตจากการพลิกศพลงความเห็นว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวโดยเฉียบพลัน ภาวะสมดุลเกลือแร่ผิดปกติ และภาวะหัวใจโต ส่วนผลการตรวจหาสารพิษอยู่ระหว่างการรอผล

 

ทั้งนี้จากข้อมูลการรักษาจากเวชระเบียนที่ได้รับจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ระบุว่า เจ้าหน้าที่รับเนติพรมารักษาในเวลา 09.30 น. ขณะนั้นไม่มีสัญญาณชีพ คลื่นหัวใจแรกรับไม่มีคลื่นไฟฟ้าของหัวใจข้างล่าง (Asystole) ไม่มีเสียงลมในปอด แต่กลับได้ยินที่บริเวณลิ้นปี่ และพบท่อช่วยหายใจอยู่ในหลอดอาหาร รวมถึงค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่วัดการหายใจ (ETCO2) เท่ากับ 0 มิลลิเมตรปรอท ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ที่ห้องฉุกเฉิน และหลังใส่ท่อช่วยหายใจใหม่ก็ได้ยินเสียงลมที่ปอดทั้ง 2 ข้าง และค่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่วัดการหายใจ (ETCO2) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 10 มิลลิเมตรปรอท 

 

กฤษฎางค์ได้ตั้งข้อสงสัยถึงการกู้ชีพตั้งแต่ที่เนติพรล้มและไม่มีสัญญาณชีพเมื่อตอน 06.23 น. เป็นเวลา 3 ชั่วโมง กว่าจะมาถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ ทั้งยังระบุอีกว่า การใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหารเป็นสิ่งที่พบได้ แต่ตามมาตรฐานวิชาชีพ การตรวจสอบเพื่อยืนยันตำแหน่งท่อช่วยหายใจทันทีเป็นเรื่องพื้นฐาน หากไม่แน่ใจต้องมีวิธีในการยืนยัน เพื่อแน่ใจว่าตำแหน่งของท่อช่วยหายใจอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ และแม้การใส่ท่อช่วยหายใจผิดตำแหน่งอาจไม่ได้เป็นสาเหตุการเสียชีวิต แต่ก็เป็นหนึ่งในความผิดพลาดร้ายแรงที่ทำให้โอกาสการคืนชีพของเนติพรน้อยลงจนกลายเป็นแทบไม่มีโอกาสรอดชีวิต

 

ดังนั้นทางทนายและครอบครัวจึงตั้งคำถามกับทางทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเนติพรตั้งแต่การดูแลก่อนการเสียชีวิตการกู้ชีพไปจนถึงการส่งตัวเพื่อรักษาต่อ เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ทราบถึงมาตรฐานของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ถูกคุมขังคนอื่นที่ต้องใช้ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ไม่เกิดเหตุในลักษณะเช่นเดียวกับเนติพรอีก พร้อมย้ำว่า สิ่งที่ตนและครอบครัวสงสัยนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง 

 

นอกจากนี้ทนายกฤษฎางค์ยังบอกอีกว่าได้สอบถามรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ว่ารถฉุกเฉินที่นำตัวเนติพรไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ ภายในมีแพทย์และผู้อำนวยการทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์อยู่ในรถคันดังกล่าวอีกด้วย โดยในพรุ่งนี้ (20 พฤษภาคม) เวลา 09.30 น. ทีมทนายความและกลุ่มเพื่อนจะเดินทางไปยังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์เพื่อขอประวัติการรักษาบุ้ง 5 วันก่อนเสียชีวิต หลังถูกเลื่อนส่งเอกสารมาถึง 7 ครั้ง

The post ทนายโต้กรมราชทัณฑ์ ตั้งคำถามกับการเสียชีวิต บุ้ง ทะลุวัง ชี้การใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหารอาจไม่ใช่สาเหตุการเสียชีวิต แต่ทำให้โอกาสการรอดชีวิตน้อยลง appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทวีร่วมงานศพ บุ้ง ทะลุวัง ถูกส่งคืนพวงหรีด ทนายเปิดข้อมูลวันเสียชีวิต พบใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหาร https://thestandard.co/tawee-bung-thaluwang-funeral/ Sat, 18 May 2024 13:09:16 +0000 https://thestandard.co/?p=935251 ทวี สอดส่อง มางานศพ บุ้ง ทะลุวัง

วันนี้ (18 พฤษภาคม) ที่วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง กฤษฎา […]

The post ทวีร่วมงานศพ บุ้ง ทะลุวัง ถูกส่งคืนพวงหรีด ทนายเปิดข้อมูลวันเสียชีวิต พบใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหาร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทวี สอดส่อง มางานศพ บุ้ง ทะลุวัง

วันนี้ (18 พฤษภาคม) ที่วัดสุทธาโภชน์ เขตลาดกระบัง กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมกลุ่มเพื่อนและนักกิจกรรมทางการเมือง ร่วมแถลงข่าวกรณีการเสียชีวิตของ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง

 

กฤษฎางค์ระบุว่า จนถึงขณะนี้ยืนยันว่าทั้งครอบครัวและทนายความยังไม่ได้รับรายงานการรักษาของบุ้งจากทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ซึ่งเดิมนัดส่งมอบเอกสารเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ก็ถูกเลื่อนออกไป โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้ระบุว่าจะให้ครอบครัวไปรับเอกสารต่างๆ ได้เมื่อใด ให้เหตุผลเพียงว่าต้องเป็นพ่อแม่เท่านั้นที่สามารถขอเอกสารได้ ไม่สามารถให้ทนายความที่รับมอบอำนาจไปรับแทนได้

 

สิ่งที่ตนจะแถลงในวันนี้คือ ผลการรักษาที่ได้มาจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งตนเองเคยแถลงถึงสาเหตุการเสียชีวิตของบุ้งไปแล้ว โดยหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตคือหัวใจล้มเหลว แต่วันนี้ตนมีเอกสารรายงานการรักษาอีกหนึ่งชุด ซึ่งเป็นรายงานจากหมอชุดแรกที่รับตัวบุ้งที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเขียนรายงานไว้ว่า พบการใส่ท่อช่วยหายใจไว้ในหลอดอาหาร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เสียชีวิต 

 

กฤษฎางค์กล่าวต่อว่า ตอนนี้ตนยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดกรมราชทัณฑ์จึงยังไม่ให้ผลการรักษาย้อนหลัง 5 วันของบุ้ง ครอบครัวบุ้งไม่เคยได้รับ แต่กรมราชทัณฑ์กลับนำไปแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนโดยไม่ได้ขออนุญาตจากครอบครัวก่อน

 

วันนี้ที่ต้องการรู้คือ บุ้งเสียชีวิตอย่างไร ใส่ท่อช่วยหายใจผิดจริงหรือไม่ และทำไมจึงไม่กล้าออกมาเปิดเผย รวมถึงการที่บุ้งหัวใจล้มเหลวเป็นเพราะไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหรือไม่ อีกทั้งยังมีเรื่องที่น่าสงสัยคือ มีการพบสารบางอย่างสูงผิดปกติ แต่ต้องรอผลการตรวจเลือดอย่างละเอียดอีกครั้ง 

 

ภายหลังการแถลงข่าวของกฤษฎางค์ พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นพ.สมภพ สังคุตแก้ว หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ เดินทางมาร่วมฟังสวดอภิธรรมบุ้ง พร้อมได้พูดคุยกับครอบครัวของบุ้ง ขณะที่ผู้ที่มาร่วมงานเมื่อรู้ว่า พ.ต.อ. ทวี มา ได้ส่งเสียงตะโกนให้คืนความยุติธรรมให้กับบุ้ง และมีการส่งคืนพวงหรีดในนาม พ.ต.อ. ทวี กลับไป

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post ทวีร่วมงานศพ บุ้ง ทะลุวัง ถูกส่งคืนพวงหรีด ทนายเปิดข้อมูลวันเสียชีวิต พบใส่ท่อช่วยหายใจในหลอดอาหาร appeared first on THE STANDARD.

]]>
ทนายชี้ กรมราชทัณฑ์สร้างพิรุธปม บุ้ง ทะลุวัง เสียชีวิต หลังไม่ยอมส่งมอบเอกสารรักษาตัว-ภาพวงจรปิดวันเกิดเหตุ https://thestandard.co/boong-thaluwang-lawyer-correct/ Fri, 17 May 2024 09:00:27 +0000 https://thestandard.co/?p=934799 บุ้ง ทะลุวัง และ กรมราชทัณฑ์

วันนี้ (17 พฤษภาคม) กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายค […]

The post ทนายชี้ กรมราชทัณฑ์สร้างพิรุธปม บุ้ง ทะลุวัง เสียชีวิต หลังไม่ยอมส่งมอบเอกสารรักษาตัว-ภาพวงจรปิดวันเกิดเหตุ appeared first on THE STANDARD.

]]>
บุ้ง ทะลุวัง และ กรมราชทัณฑ์

วันนี้ (17 พฤษภาคม) กฤษฎางค์ นุตจรัส ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน กล่าวภายหลังมอบหมายให้ทีมทนายความที่ได้รับมอบอำนาจจากพี่สาวของ เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง เข้าไปขอรับประวัติการรักษาย้อนหลัง 5 วัน และไฟล์ภาพวงจรปิดจากกรมราชทัณฑ์ 

 

กฤษฎางค์กล่าวว่า ขณะนี้กรมราชทัณฑ์ยังไม่ได้มอบข้อมูลที่ขอไป โดยให้เหตุผลว่าการมอบอำนาจไม่ถูกต้อง ตามกฎกระทรวงต้องให้ครอบครัวที่เป็นพ่อ แม่ และพี่สาว เข้าไปรับด้วยตัวเอง ทั้งที่ก่อนหน้านี้อธิบดีกรมราชทัณฑ์ยืนยันว่าให้เข้ามารับได้ แต่สุดท้ายก็ไม่ให้ ทั้งที่พี่สาวมอบอำนาจให้มาขอ แต่ก็ยังไม่ได้ ต้องให้พ่อแม่มาเอาเอง ตนเองไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่ให้โดยอ้างเหตุผลนี้ 

 

ดังนั้นการที่เขาไม่ให้ เรามองว่าเป็นพิรุธ เพราะเราต้องการเอามาเป็นจิ๊กซอว์ตัวหนึ่งเพื่อพิสูจน์ว่าเนติพรเสียชีวิตเพราะอะไร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องโทษใคร 

 

เมื่อถามว่า เป็นการประวิงเวลาหรือไม่ กฤษฎางค์ระบุว่า ในเมื่อตนได้รับสัญญาจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์แล้วว่าสามารถเข้าไปรับได้ แต่กลับเป็นเช่นนี้ หมายความว่าอย่างไร มีใครมาสั่งอธิบดีไม่ให้หลักฐานหรือไม่ เพราะเชื่อว่าข้อมูลของแพทย์หรือพยาบาลนั้นคงไม่บิดเบือน 

 

เมื่อถามถึงกรณีที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์เปิดเผยไทม์ไลน์วันเกิดเหตุอีกครั้งต่อสื่อมวลชนว่า เนติพรหมดสติไปช่วงเวลาประมาณ 06.00 น. แล้วไปถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติช่วงเวลา 09.00 น. กฤษฎางค์ระบุว่า สิ่งที่จะยืนยันเรื่องนี้ได้คือเอกสาร ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน ยิ่งให้ช้าตนยิ่งไม่เชื่อ 

 

การที่กรมราชทัณฑ์ออกมาแถลงแบบนี้ ขอย้ำว่าตนไม่เชื่อ และที่บอกว่าสิทธิการเข้าถึงเอกสารต้องเป็นพ่อแม่เท่านั้น แต่ทำไมกลับนำข้อมูลเหล่านี้มาแถลงข่าวโดยไม่ขออนุญาตครอบครัวหรือตนในฐานะทนายความ ทำให้มองว่าเป็นประเด็นที่น่าสงสัยมาก ดังนั้นตราบใดที่ยังไม่ให้เอกสาร ตนย้ำอีกครั้งว่าไม่เชื่อ และขอฝากไปถึงสื่อมวลชนว่าอย่าไปเชื่อจนกว่าจะได้เอกสาร

 

เมื่อถามว่า อธิบดีกรมราชทัณฑ์อธิบายขั้นตอนการช่วยชีวิตเนติพรตั้งแต่ล้มฟุบลงไป และนำไปปั๊มหัวใจที่ห้องไอซียู ข้อมูลตรงนี้ตรงกับข้อมูลที่ได้รับมาจาก ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ หรือ ตะวัน ที่พักในห้องผู้ป่วยเดียวกันกับบุ้งหรือไม่ กฤษฎางค์กล่าวว่า ไม่ตรงกัน แต่ขอยังไม่เปิดเผยว่าไม่ตรงส่วนไหนบ้าง เพราะอยากให้ข้อเท็จจริงที่กรมราชทัณฑ์แถลงหมดสิ้นกระแสความก่อน

 

กฤษฎางค์กล่าวต่อว่า ตอนนี้ตะวันอยู่ในฐานะที่ลำบาก เพราะเป็นพยานปากสำคัญคนหนึ่ง และตอนนี้ตนไม่อยากอ้างอิงถึงตะวัน เพราะอยู่ในอาการตกใจ แต่สิ่งที่จะยืนยันได้คือภาพวงจรปิด การที่กรมราชทัณฑ์แถลงข้อมูลดังกล่าวต่อสื่อมวลชนแล้ว ก็ควรนำมาเปิดเผยให้เห็นกันไปเลย เพราะมองว่าเป็นสิ่งที่ยุติธรรมที่สุดแล้ว หากกังวลว่าจะกระทบใครก็ควรเบลอหน้าไว้

 

ส่วนกรณีที่กรมราชทัณฑ์จะเปิดห้องไอซียูและห้องพักผู้ป่วยสำหรับผู้ต้องขังของทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ให้สื่อดู มองเรื่องนี้อย่างไรบ้าง กฤษฎางค์ระบุว่า ตนไม่ไปดู เพราะไม่รู้มีการตกแต่งสถานที่หรือไม่ และไม่ใช่คิดไปในแง่ร้าย แต่มองว่าขนาดจะพาคนไปดูที่รักษาแล้ว ทำไมไม่ให้เอกสารครอบครัวบุ้งไปเลยให้ชัดเจน

 

ช่วงท้ายกฤษฎางค์กล่าวว่า ตนและครอบครัวของบุ้งไม่ได้หวังว่าจะเอาผิดใคร เพียงแค่อยากรู้ว่าลูกสาวเขา น้องสาวเขา เสียชีวิตเพราะอะไร พร้อมฝากถึงผู้บริหารและอธิบดีกรมราชทัณฑ์ว่า เราไม่ได้ประสงค์ที่จะเอาผิดทางคดีกับใคร ไม่ต้องกลัว เราเอาความจริงมาตีแผ่ เพราะคุณเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 

 

The post ทนายชี้ กรมราชทัณฑ์สร้างพิรุธปม บุ้ง ทะลุวัง เสียชีวิต หลังไม่ยอมส่งมอบเอกสารรักษาตัว-ภาพวงจรปิดวันเกิดเหตุ appeared first on THE STANDARD.

]]>