กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 15 Nov 2023 00:21:21 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 40 สุดยอดผู้ส่งออกที่ได้รับ PM’s Export Award 2023 ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ดันธุรกิจไทยเติบโต เร่งเสริมแกร่งด้วย Soft Power [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/pm-export-awards-2023/ Wed, 15 Nov 2023 03:00:57 +0000 https://thestandard.co/?p=865264

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับรางวัลอันทรงเกียรติ ส […]

The post 40 สุดยอดผู้ส่งออกที่ได้รับ PM’s Export Award 2023 ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ดันธุรกิจไทยเติบโต เร่งเสริมแกร่งด้วย Soft Power [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

ประกาศผลเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับรางวัลอันทรงเกียรติ สุดยอดผู้ประกอบการส่งออกที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce, Thailand) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปีนี้ PM’s Export Award 2023 ยังได้รับเกียรติจากนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลเหมือนเช่นเคย ที่พิเศษและเป็นไฮไลต์สำหรับปีล่าสุดซึ่งเป็นปีที่ 31 ของการมอบรางวัลนี้ก็คือ ได้มีการมอบ 40 รางวัลให้กับสุดยอดผู้ประกอบการ และยังได้มีการประกาศถึงความพร้อมนโยบาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ ดันธุรกิจไทยเติบโต เร่งเสริมแกร่งด้วย Soft Power ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ดันภาคส่งออกก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ให้เติบโตด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์

 

งานประกาศและมอบรางวัล Prime Minister’s Export Award 2023 จัดอย่างยิ่งใหญ่ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล

 

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล

 

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่นประจำปี 2566 หรือ ‘Prime Minister’s Export Award 2023’ ครั้งที่ 31 เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติและสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจส่งออกสินค้าและบริการดีเด่นภายใต้ชื่อทางการค้าของตนเอง มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ของตนเอง นำนวัตกรรมมาประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ และดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิด BCG Economy Model สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป็นเครื่องมือรับรองด้านการดำเนินธุรกิจ การสร้างมาตรฐานสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ พร้อมระบุว่า ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้ประเทศไทยต้องตื่นตัวในการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกมิติ รวมถึงภาคการส่งออกที่สร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก ผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกนับเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้สามารถแข่งขันได้ภายใต้บริบทโลกยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา รัฐบาลเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งออก เน้นการสร้างรายได้เข้าประเทศ โดยใช้ ‘การทูตเชิงรุก’ สร้างเครือข่ายการค้าระหว่างประเทศด้วยการเจรจา ได้รับความร่วมมือจากภาคการค้าเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างตลาดใหม่และรักษาตลาดเดิม รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน โดยการพัฒนาสินค้าด้วยการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ สร้างอัตลักษณ์ความเป็นไทย

 

บางส่วนของผู้ประกอบการ ที่ได้รับมอบรางวัลอันทรงเกียรติจากนายกรัฐมนตรี

 

นอกจากนี้รัฐบาลยังได้กำหนดทิศทางในการขับเคลื่อนการส่งออกผ่านนโยบายสำคัญ ประกอบด้วย

 

  1. นโยบาย ‘ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้’ มุ่งใช้นวัตกรรมการเกษตรมาเพิ่มปริมาณผลผลิต
  2. นโยบายต่างประเทศ ใช้การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก เร่งกระชับความสัมพันธ์
  3. นโยบาย ‘Soft Power’ มุ่งพัฒนาคน โดยเฟ้นหาศักยภาพของคนไทยทุกครอบครัว
  4. สานต่อนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality มุ่งใช้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

ทั้งนี้ รางวัล PM’s Export Award ประจำปีนี้ เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีเหลือเกินว่าผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนาสินค้าและบริการกันได้อย่างยอดเยี่ยม ทั้งด้านการประกอบธุรกิจ ด้านนวัตกรรม ด้านแบรนด์ และด้านการออกแบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ จึงเชื่อมั่นว่าผู้ประกอบการภาคส่งออกของไทยจะสามารถต่อยอดและประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

 

ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ชี้แจงแนวคิด ‘Better Vision Brighter Future’

 

ด้าน ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น PM’s Export Award ที่กระทรวงฯ ได้จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตลอดกว่า 30 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2535 มีผู้ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้นจำนวน 798 รางวัล จาก 257 บริษัท และในทศวรรษใหม่กับการก้าวเข้าสู่ปีที่ 31 ดำเนินการภายใต้แนวคิด ‘Better Vision Brighter Future: เปิดมุมมองใหม่ ขับเคลื่อนธุรกิจไทยมุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต อย่างเต็มภาคภูมิ’ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน (Environmental, Social and Governance: ESG) ทั้งนี้ การคัดสรรผู้ประกอบการภาคส่งออกในปี 2566 มีผู้ประกอบการผ่านการพิจารณาคัดเลือกและตัดสินให้เข้ารับรางวัลรวมจำนวน 40 รางวัล 37 บริษัท ประกอบด้วย

 

ลิสต์ผู้ได้รับรางวัล PM’s Export Award 2023

 

ในการคัดสรรผู้ประกอบการภาคส่งออกในปี 2566 มีผู้สมัครเข้ารับรางวัลทั้งหมดจำนวน 162 ราย ผ่านการพิจารณาเข้ารับรางวัลใน 7 สาขา รวม 40 รางวัล 37 บริษัท ได้แก่

 

  1. รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกยอดเยี่ยม (Best Exporter) โดยมีผู้ประกอบการผ่านการพิจารณาคัดเลือกและได้เข้ารับรางวัล จำนวน 6 รางวัล ได้แก่
  1. บริษัท เจริญอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท ฟู้ดแอนด์ดริ๊งส์ จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท โกลเบิลฟูดเทรดดิ้ง จำกัด
  5. บริษัท สยามเฟรช เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
  6. บริษัท เติมเนเจอร์ อินดัสตรี้ จำกัด

 

  1. รางวัลแบรนด์ไทยยอดเยี่ยม (Best Thai Brand) โดยมีผู้ประกอบการผ่านการพิจารณาคัดเลือกและได้เข้ารับรางวัล จำนวน 10 รางวัล ได้แก่
  1. บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน)
  3. บริษัท ซีลิค คอร์พ จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด
  5. บริษัท มอนตี้ แอนด์ ท็อทโก้ จำกัด
  6. บริษัท นิธิฟู้ดส์ จำกัด
  7. บริษัท โรงสีศรีแสงดาว จำกัด
  8. บริษัท ร้อยแปด ฟู้ดส์ จำกัด
  9. บริษัท มูนเลอร์ คอลเลคชั่น จำกัด
  10. บริษัท โรงงานสมิทธิ์การ์เม้นท์ จำกัด

 

  1. รางวัลธุรกิจ BCG ส่งออกยอดเยี่ยม (Best BCG Exporter) ซึ่งเป็นการปรับจากรางวัลสินค้าส่งเสริมนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Best Innovation) เพื่อให้สอดคล้องกับวาระแห่งชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ Bio Circular-Green Economy Model หรือ BCG โดยมีผู้ประกอบการผ่านการพิจารณาคัดเลือกและได้เข้ารับรางวัล จำนวน 7 รางวัล ดังนี้
  1. บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
  3. บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน)
  4. บริษัท ทีพีเอ็น เฟล็กซ์แพค จำกัด
  5. บริษัท คาร์เปท เมกเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
  6. บริษัท นิพพาน อินเตอร์คร็อพ จำกัด
  7. บริษัท นิว อาไรวา จำกัด

 

  1. รางวัลออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design) โดยมีผู้ประกอบการผ่านการพิจารณาคัดเลือกและได้เข้ารับรางวัล จำนวน 7 รางวัล ดังนี้
  1. บริษัท เอ.เอ็ม.โอ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด
  2. ครูแม็กสตูดิโอ
  3. บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด
  4. พร้อม ดีไซน์ 
  5. บริษัท พิงค์ บลู แบล็ค แอนด์ ออเร้จน์ จำกัด
  6. บริษัท ซูเปอร์กรีน สตูดิโอ จำกัด
  7. บริษัท ดีเวอร์ฮูด เอชที จำกัด

 

นายกรัฐมนตรี และแขกผู้มีเกียรติ เยี่ยมชมบูธของผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับรางวัล

 

  1. รางวัลธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Best Service Enterprise) ประกอบด้วย สาขาโรงพยาบาล / ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง / คลินิกเฉพาะทาง (Health & Wellness) สาขาดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ (Digital Content & Software) และสาขาธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (Printing and Packaging) รวมจำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย

 

  • สาขาโรงพยาบาล / ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง / คลินิกเฉพาะทาง (Health & Wellness)
  1. บริษัท เวชธานี จำกัด (มหาชน)

 

  • สาขาดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ (Digital Content & Software)
  1. บริษัท เดอะมั้งค์ สตูดิโอ จำกัด

 

  • สาขาธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (Printing and Packaging)
  1. บริษัท กรุงเทพสกรีน จำกัด
  2. บริษัท ทีพีเอ็น เฟล็กซ์แพค จำกัด

 

  1. รางวัลสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม (Best OTOP) จำนวน 1 รางวัล และ OTOP New Face Exporter จำนวน 1 รางวัล รวมจำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 
  1. บริษัท หอมมีสุข จำกัด
  2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ขวัญตา (รางวัล OTOP New Face Exporter)

 

  1. รางวัลสินค้าฮาลาลยอดเยี่ยม (Best Halal) มีผู้ประกอบการที่ผ่านการพิจารณาและได้เข้ารับรางวัลรวม 4 รางวัล ได้แก่
  1. บริษัท เจริญอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)  
  2. บริษัท ซิมเพิ้ล ฟู้ดส์ จำกัด
  3. บริษัท นพดาซุปเปอร์ฟู้ดส์ จำกัด
  4. บริษัท สุคันธา ไทยสแน็ค จำกัด

 

ผู้ได้รับรางวัล PM’s Export Award ประจำปี 2023 ใน 7 สาขา รวม 40 รางวัล 37 บริษัท

 

นอกจากนี้อีกหนึ่งไฮไลต์ที่น่าสนใจและน่ากล่าวถึงมากก็คือ จากข้อมูลการส่งออกของผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลในปีนี้ มีส่วนในการสร้างรายได้เข้าประเทศในปี 2565 คิดเป็นมูลค่า 14,567.65 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.79 จากปีก่อนหน้า และในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 (เดือนมกราคม-กันยายน) ได้สร้างรายได้ให้แก่ประเทศแล้วประมาณ 12,257.24 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการจ้างงานไม่น้อยกว่า 7,654 ราย เป็นเครื่องการันตีแล้วว่า Prime Minister’s Export Award เป็นรางวัลแห่งความสำเร็จ ความภาคภูมิใจของภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ร่วมแรงร่วมใจสนับสนุนธุรกิจส่งออกของไทยให้เติบโตและเข้มแข็งบนเวทีการค้าโลก

The post 40 สุดยอดผู้ส่งออกที่ได้รับ PM’s Export Award 2023 ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ดันธุรกิจไทยเติบโต เร่งเสริมแกร่งด้วย Soft Power [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชวนปลดล็อก ‘โอกาส’ ตลาดญี่ปุ่น สนุก เข้าใจง่าย ผ่านรายการ ‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/opportunities-in-the-japanese-market/ Fri, 08 Sep 2023 04:00:08 +0000 https://thestandard.co/?p=838477 GO JAPAN WITH DITP

‘ญี่ปุ่น’ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโล […]

The post ชวนปลดล็อก ‘โอกาส’ ตลาดญี่ปุ่น สนุก เข้าใจง่าย ผ่านรายการ ‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
GO JAPAN WITH DITP

‘ญี่ปุ่น’ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกาและจีน ที่แม้จะเผชิญกับสภาวะเศรษฐกิจชะงักงันไประยะหนึ่ง แต่ก็สามารถพลิกเกมกลับมามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกอีกครั้งและเติบโตเร็วกว่าที่คาด 

 

บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นพร้อมกับการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ฝั่งการนำเข้าลดลง ทำให้การส่งออกสุทธิเติบโต

 

 

‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ 

 

เมื่อ ‘ญี่ปุ่น’ ยังคงเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ ‘DITP’ หรือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงผุดแคมเปญใหม่ นำเสนอ ‘โอกาส’ ของตลาดญี่ปุ่นในมุมมองใหม่ พร้อมขับเคลื่อนแผนงานด้าน BCG อย่างเป็นรูปธรรมผ่านรายการ ‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ รายการที่นำเสนอ ‘โอกาส’ ของตลาดญี่ปุ่นให้ง่าย สนุก มีสีสัน ในแบบที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ โดยมีสองพิธีกรเพื่อนซี้สายฮา ‘โอปอล์ ปาณิสรา’ และ ‘ปุ๊กกี้ ปวีณ์นุช’ พาทุกคนไปเจาะลึกโอกาสทางธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ Soft Power ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจบันเทิง, ซีรีส์วาย, วัฒนธรรม, ศิลปะ, อาหาร, แฟชั่นและไลฟ์สไตล์ ไปจนถึงโมเดลธุรกิจ BCG พาล้วงลึกวิธีทำตลาดสินค้าที่มีศักยภาพในตลาดญี่ปุ่น และกลยุทธ์ในการเจาะตลาดญี่ปุ่น เปิดมุมมองใหม่ให้คนที่สนใจส่งออกสินค้าและผู้ประกอบการไทย ประสบความสำเร็จไปกับ DITP 

 

รายการ ‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ มีทั้งหมด 3 EP โดย EP1: GO กิน เพราะญี่ปุ่นเป็นเมืองชอบกิน สองพิธีกรสายฮาพาไปดูอาหารไทยที่ป๊อปที่สุดในหมู่คนญี่ปุ่น แล้วคุณจะได้รู้ว่ายังมีโอกาสในธุรกิจอาหารไทยมิติไหนบ้างที่ต้องรีบคว้า  

 

ส่วน EP2: GO จิกหมอน เพราะญี่ปุ่นเป็นเมืองติดจอ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าซีรีส์วายเมืองไทยคว้าใจคนญี่ปุ่นทั่วบ้านทั่วเมืองจนอาจสร้างโอกาสทางธุรกิจที่คาดไม่ถึง

 

GO JAPAN WITH DITP

 

และ EP3: GO Wow เพราะญี่ปุ่นเป็นเมืองคนเก๋ นี่เป็น EP ที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด เพราะแม่โอป แม่กี้ จะพาไปพูดคุยกับ ฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว พร้อมเจาะลึกตลาดญี่ปุ่นและโมเดลธุรกิจ BCG เพื่อให้เจ้าของแบรนด์ไทยมองเห็นตลาดใหม่ที่ญี่ปุ่น 

 

นอกจากจะมองเห็นโอกาสมิติใหม่ๆ ผู้ประกอบการจะได้เห็นแนวทางการทำธุรกิจจริง โดยมี DITP คอยช่วยเหลือทุกทาง เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายทาง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่อยากให้ธุรกิจโต สามารถเติบโตไปด้วยกันกับ DITP สู่การขยายตลาดสินค้าไทยให้ประสบความสำเร็จที่ญี่ปุ่น 

 

แต่ก่อนจะไปเติบโตกับ DITP ที่ตลาดญี่ปุ่น เราอยากให้คุณเข้าใจก่อนว่า ทำไมโมเดลธุรกิจ BCG จึงเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในยุคที่ทุกคนให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และทำไมญี่ปุ่นจึงเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ 

 

 

ไขคำตอบ ‘โมเดลธุรกิจ BCG โอกาสทองของผู้ประกอบการไทย’ 

 

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘BCG (Bio-Circular-Green Economy)’ โมเดลธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและภาคธุรกิจที่มุ่งเน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและการเติบโตอย่างยั่งยืน เป็นเมกะเทรนด์ที่ผู้บริโภคทั่วโลกให้ความสนใจและมีแนวโน้มการเติบโตสูง มีการคาดการณ์ว่า BCG จะเป็นเครื่องมือทรงพลังที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคต 

 

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันเทรนด์ BCG มุ่งไปที่การทำธุรกิจด้านอุตสาหกรรมและนวัตกรรมเคมีภัณฑ์ตามแนวทาง BCG ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ไม่เพียงเฉพาะตลาดในเมืองไทย ผู้บริโภคในระดับสากลก็มองหาสินค้าที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีนวัตกรรม และรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเช่นกัน 

 

ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจส่งออกหรือผู้ประกอบการรายใหม่ จึงควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับนโยบายหรือมาตรการด้านความยั่งยืนสำหรับการนำเข้าของประเทศคู่ค้า เพื่อไม่ให้เป็นข้อจำกัดในการขยายตลาดบนเวทีการค้าโลก

 

 

เพราะญี่ปุ่นเป็นเมืองคนเก๋ จึงเต็มไปด้วยโอกาสทางธุรกิจ 

 

หนึ่งในประเทศคู่ค้าที่ดูจะเข้าขาและเข้าทางคนไทยก็คือ ‘ญี่ปุ่น’ ที่ผ่านมารัฐบาลของแดนอาทิตย์อุทัยให้ความสำคัญกับเรื่อง Global Warming เป็นอย่างมาก มีการผลักดันนโยบาย Green Growth Strategy ซึ่งเป็นนโยบายด้านอุตสาหกรรมที่มุ่งสร้างวัฏจักรเชิงบวกของการเติบโตทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมร่วมกับธุรกิจชุมชน โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนความพยายามของภาคส่วนต่างๆ ต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เป็นศูนย์ เช่น การพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Green Polymer ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานหมุนเวียน และพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำ  

 

ที่เห็นเป็นรูปธรรมก็คือความเข้มงวดในการกำหนดวิธีแยกขยะให้ถูกต้องก่อนทิ้ง ก่อให้เกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแยกขยะมากกว่า 100,000 แห่ง นำไปสู่แนวทางการดำเนินเศรษฐกิจแบบใช้ซ้ำวิถีใหม่ ‘The New Reuse Economy’ ที่มีวิสัยทัศน์ในการผลักดันให้สินค้าอุปโภคบริโภคต้องทำออกมาขายในรูปแบบใช้ซ้ำหรือเติมซ้ำได้ให้มากที่สุด

 

 

โดย The Reuse Business Journal เผยว่า ในปี 2021 ตลาดสินค้ามือสองของญี่ปุ่นมีมูลค่า 2.6988 ล้านล้านเยน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.7 จากปีก่อนหน้า (ปี 2020) และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 3.5 ล้านล้านเยน ภายในปี 2025 ซึ่งการขยายตัวของตลาดสินค้ามือสองแสดงถึงแนวโน้มในการลดปริมาณขยะและการรักษาสิ่งแวดล้อม 

 

ยิ่งไปกว่านั้น แบรนด์แฟชั่นแถวหน้าของญี่ปุ่นหันมาจับเทรนด์ Sustainable Fashion ไม่ว่าจะเป็น MUJI ที่ปั้นแบรนด์ลูก ReMUJI ขึ้นมาปลุกกระแสแฟชั่นบนวิถีเพื่อความยั่งยืนไปพร้อมๆ กับสื่อสารเรื่องวิถีชีวิตที่ยั่งยืน (Sustainable Life) หรือ Onitsuka Tiger ที่ส่งต่อวิถีความยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับแบรนด์ไทยอย่าง ‘ดอยตุง’ นำรองเท้ารุ่นดังมาผลิตใหม่ด้วยผ้าทอมือและใช้ด้าย PET รีไซเคิลจากพลาสติก 100% มาเย็บรองเท้า 

 

นอกจากนี้โมเดลธุรกิจ BCG ของไทยยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่น ที่มุ่งบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนให้เหลือศูนย์ภายในปี 2050 ผ่านโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ 

 

หากไม่อยากตกเทรนด์ธุรกิจ BCG และคว้าโอกาสขยายตลาดสินค้าไทยให้ประสบความสำเร็จที่ญี่ปุ่นไปกับ DITP ชวนคุณค้นหาแนวทางผ่านมุมมองใหม่ทางธุรกิจใน EP3: GO Wow เพราะญี่ปุ่นเป็นเมืองคนเก๋

 

 

เชื่อหรือไม่ว่านี่เป็นโอกาสดีที่ผู้ประกอบการไทยจะได้สำรวจเค้กก้อนใหม่ในตลาดสินค้า BCG โดยมี DITP เข้ามา ‘ช่วยทุกทาง’ ตั้งแต่เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ แก้ไขจุดอ่อน เสริมสร้างจุดแข็ง รวมไปถึงการจัดสัมมนาเพื่อพัฒนาความรู้การส่งออกอย่างรอบด้าน ทั้งการสร้างแบรนด์ ขั้นตอนต่างๆ ในการพาแบรนด์ไทยไประดับสากล รวมถึงการจับคู่ทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการไทยกับชาวต่างชาติ ซึ่งล้วนเป็นคู่ค้าที่มีคุณภาพ มีศักยภาพ เป็นการเปิดโอกาสให้ธุรกิจของคุณได้ก้าวไปยังระดับสากล 

 

และถ้าคุณต้องการเฉพาะเจาะจงไปเติบโตที่ประเทศญี่ปุ่น รายการ ‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ จะทำให้คุณมองเห็นทุกมิติของโอกาส ตั้งแต่ภาพกว้างของเทรนด์ธุรกิจและพฤติกรรมของคนญี่ปุ่น ความสำคัญของธุรกิจ BCG และสิ่งที่ DITP จะช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเจาะตลาดญี่ปุ่น และมองเห็นว่าจะขยายตลาดสินค้าไทยให้ประสบความสำเร็จที่ญี่ปุ่นได้อย่างไร 

 

ติดตาม ‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ ได้ที่:

 

 

และใครไม่อยากพลาดโอกาสทางธุรกิจ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.ditp.go.th/ หรือสายด่วน โทร. 1169

 

อ้างอิง:

The post ชวนปลดล็อก ‘โอกาส’ ตลาดญี่ปุ่น สนุก เข้าใจง่าย ผ่านรายการ ‘อยากให้ธุรกิจโต GO นี่จิคะ คนนิจิวะ GO JAPAN WITH DITP’ [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
‘STYLE Bangkok 2023’ งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์แถวหน้าของเอเชียกลับมาแล้ว! โซนไหนน่าสนใจ ควรรู้อะไรก่อนไปเดินงาน [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/style-bangkok-2023-is-back/ Thu, 23 Mar 2023 10:08:11 +0000 https://thestandard.co/?p=767296

ห่างหายจากการจัดงานอย่างเต็มรูปแบบไปถึง 2 ปีเต็ม สำหรับ […]

The post ‘STYLE Bangkok 2023’ งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์แถวหน้าของเอเชียกลับมาแล้ว! โซนไหนน่าสนใจ ควรรู้อะไรก่อนไปเดินงาน [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

ห่างหายจากการจัดงานอย่างเต็มรูปแบบไปถึง 2 ปีเต็ม สำหรับ STYLE Bangkok งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ยิ่งใหญ่ระดับแถวหน้าของเอเชีย ซึ่งการกลับมาของ STYLE Bangkok 2023 ที่กำลังจะเกิดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 22-26 มีนาคม 2566 เป็นการร่วมมือกันระหว่าง กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกันผลักดัน STYLE Bangkok ให้เป็นงานแสดงสินค้านานาชาติชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย

 

 

บนพื้นที่กว่า 22,363 ตารางเมตร ภายในฮอลล์ 1-4  ชั้น G ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มี Exhibitor นานาประเทศเข้าร่วมกว่า 500 บริษัท รวมกว่า 1,000 บูธ ใครที่เคยไปงาน STYLE Bangkok ปีก่อนๆ น่าจะพอจำได้ว่าภายในงานนอกจากจะมีสินค้าไลฟ์สไตล์หลากหลาย ยังมีกิจกรรมอีกมากมายให้ผู้เข้าชมงานได้มีส่วนร่วม ส่วนใครที่ยังไม่เคยไปหรืออยากรู้ก่อนว่างานใหญ่ขนาดนี้มีไฮไลต์อะไรที่ไม่ควรพลาด นี่คือ 5 สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนไปงาน STYLE Bangkok 2023   

 

 

1. จับเมกะเทรนด์โลก ‘Sustainability+’

อย่างที่รู้ตอนนี้อะไรๆ ก็มีเป้าหมายที่ความยั่งยืน และดูจะสอดคล้องไปกับรัฐบาลที่กำหนดนโยบายการขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติ จึงเป็นที่มาของแนวคิด ‘BCG Model’ ส่งเสริมและสร้างความตระหนักในการทำการตลาดแบบยั่งยืน ด้วยแนวทาง Sustainability+ เพื่อตอบโจทย์เมกะเทรนด์โลกให้ไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่นแนวดีไซน์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียน ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการส่งออกสินค้าไลฟ์สไตล์ที่มีคุณภาพของภูมิภาคอาเซียน ถ้าอยากรู้ว่าวงการแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์จะเดินหน้าสู่ความยั่งยืนได้อย่างไร ทุกโซนภายในงานสอดแทรกแนวคิดนี้ไว้ให้คุณได้เรียนรู้

 

 

2. ‘STYLE Solution’ ทางออกสำหรับผู้ที่มองหาสินค้าดีไซน์

ไม่แน่นะคุณอาจเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์หรือสินค้าแฟชั่นก็ได้หลังมาเดินงานนี้ เพราะกว่า 500 บริษัทจากนานาประเทศกว่า 1,000 บูธ อัดแน่นไปด้วยสินค้าหลากหลายสไตล์ ตอบสนองทุกความต้องการของผู้ซื้อและผู้นำเข้า โดยเฉพาะผู้ที่มองหาสินค้าแนวดีไซน์ ไม่ว่าจะเป็น เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน สินค้าแฟชั่น สินค้าตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ในครัว ของเล่น ผลิตภัณฑ์สปา ไปจนถึงสินค้ากลุ่มโรงแรม หรือผู้ที่มองหาวัสดุใหม่ๆ มาเดินดูเอาคอนเนกชัน ดีลธุรกิจ หรือมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจก็ได้หมด 

 

 

ยกตัวอย่างแบรนด์แนวคิดเก๋ๆ อย่าง TOUCHABLE แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ และของแต่งบ้านที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ และยังใช้วัสดุธรรมชาติที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ หรือแบรนด์ Sonite Décor ที่นำเรื่อง Design Technology มาใช้ออกแบบ และยังนำวัสดุเหลือทิ้งจากชุมชนไม่ว่าจะเป็นเปลือกข้าว ใยมะพร้าว เปลือกไข่ มาเปลี่ยนเป็น โต๊ะ เคาน์เตอร์ ชาม แก้ว หรือกระถางต้นไม้ ส่วนสายแฟชั่นต้องมาดูไอเดียของแบรนด์ The ReMaker ดูคอลเล็กชันใหม่จากเสื้อหนังแกะสินค้า Upcycling หรือแบรนด์ moreloop กับกระเป๋าที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 3.44 กิโลกรัม เทียบเท่าระยะทางขับรถ 28.90 กิโลเมตร

 

3. ‘ART ZONE’ พื้นที่ผสานแนวคิดระหว่าง Street Art กับผู้ประกอบการชั้นนำ

ครั้งแรกของการจัดงานสำหรับ ‘ART ZONE’ พื้นที่จัดแสดงผลงานสุดสร้างสรรค์จากศิลปินแนว Street Art ทั้งศิลปินรุ่นใหม่และศิลปินที่มีชื่อเสียง 10 คน ที่จับคู่กับผู้ประกอบการแบรนด์สินค้าไลฟ์สไตล์ 10 แบรนด์ ร่วมกันผลิตโปรดักต์ภายใต้แนวคิด ‘Caring for Sharing’ สื่อถึงการส่งต่อความสุขให้กันและกัน 

 

 

ภายในพื้นที่นิทรรศการพิเศษจะได้พบกับชิ้นงาน 10 ชิ้นงานที่ครอบคลุม 5 กลุ่มสินค้าหลักของงาน อาทิ ผลงานปฏิมากรรมที่ผลิตจากเศษวัสดุเหลือใช้ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่าง โลเล-ทวีศักดิ์ ศรีทองดี นักวาดภาพประกอบชาวไทย กับ จตุพร วงษ์ทอง ผู้ปลุกปั้นแบรนด์ ARTSLONGA  

 

 

เสื่อ PDM ลวดลายจากศิลปิน Bonus TMC ผลงานของ อัครพล มณฑาทอง นักสร้างสรรค์ศิลปะเพื่อชุมชน ที่ร่วมมือกับ บริษัท พีดีเอ็ม แบรนด์ จำกัด ผู้นำด้านการผลิตเสื่อชั้นนำ หรือปฏิมากรรมที่นำวัฒนธรรมดอกไม้ไทยมาแยกออกและปรุงใหม่ในชื่อ ‘มาลัย’ ไอเดียจาก สกุล อินทกุล นักจัดดอกไม้ชื่อดัง ที่ทำงานร่วมกับบริษัท OH!DINARY เป็นต้น 

 

4. Showcase จากโครงการพัฒนาเชิงลึกของ DITP

ความพิเศษของ Showcase ครั้งนี้คือจัดออกเป็น 2 นิทรรศการหลัก ได้แก่ STYLE Showcase จัดแสดงตัวอย่างสินค้าจากผู้ประกอบการไทยใน 4 แนวคิด สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้บริโภคได้มองเห็นความเป็นไปได้ในการใช้งานสินค้าจากผู้ประกอบการ  

 

 

  • PRIVATE RETREATS ถ่ายทอดบรรยากาศของการพักผ่อนอย่างมีระดับ ด้วยการตกแต่งสินค้าจากผู้ประกอบการไทย
  • OUTDOOR LIVING สัมผัสประสบการณ์ความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตเอาต์ดอร์ ด้วยสินค้าคุณภาพจากผู้ประกอบการไทยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 
  • GIFT SHOP พื้นที่รวบรวมสินค้าจากผู้ประกอบการไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน 
  • WALK-IN CLOSET ห้องแต่งตัวจากสินค้าของผู้ประกอบการไทย ที่ชอบแต่งตัวในสไตล์ของตัวเอง ทันสมัย แต่ไม่ตามกระแสและมีคุณภาพ ภายใต้แฟชั่นเพื่อความยั่งยืนที่คำนึงถึงการออกแบบ การเลือกใช้วัสดุ และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

 

และ Sustainability+ Showcase จัดแสดงสินค้าและตกแต่งนิทรรศการภายใต้แนวคิด Sustainability นำสินค้าในกลุ่ม BCG ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ เช่น Collaboration, Thai Material to Japan, Dewa & Dewi, DEmark เป็นต้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงการเป็นงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติที่สนับสนุนและตระหนักถึงความยั่งยืน 

 

 

5. อัปเกรดองค์ความรู้พัฒนาศักยภาพสินค้าไลฟ์สไตล์และแฟชั่น

เป็นประจำทุกปีที่ DITP จะจัดเวทีสัมมนาโดยเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลด้านการค้า แนวคิดการพัฒนาธุรกิจ อาทิ JETRO สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ หัวข้อที่น่าสนใจ เช่น ‘BCG เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าส่งออกได้อย่างไร” โดย พ.อ. ดร.อรรถสิทธิ์ หัสถีธรรม ที่ปรึกษาด้านการวางแผนกลยุทธ์ด้าน BCG ภาครัฐ, ‘ทำยังไงให้ Niche แต่ไม่นิด’ โดย ดร.ชวลิต พากเพียรถกลผล ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านการจัดการและการตลาด, ‘สร้าง Story ให้กับสินค้าอย่างไรให้โดนใจคนซื้อต่างชาติ’ และ ‘มัดใจคนซื้อด้วยภาพสินค้า’ โดย เกียรติรัตน์ จินดามณี กรรมการผู้จัดการบริษัท เถ้าแก่ใหม่ เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ทุกกิจกรรมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย 

 

งาน STYLE Bangkok 2023 จัดขึ้นในวันที่ 22-26 มีนาคม 2566 ณ ชั้น G ฮอลล์ 1-4 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยเปิดวันเจรจาธุรกิจวันที่ 22-24 มีนาคม 2566 เวลา 10.00-18.00 น. และเปิดจำหน่ายปลีกสำหรับประชาชนทั่วไปในวันที่ 25-26 มีนาคม 2566 เวลา 10.00-21.00 น. 

 

รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ www.stylebangkokfair.com

The post ‘STYLE Bangkok 2023’ งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์แถวหน้าของเอเชียกลับมาแล้ว! โซนไหนน่าสนใจ ควรรู้อะไรก่อนไปเดินงาน [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
ชวนผู้ประกอบการสมัครประกวด Prime Minister’s Export Award 2023: เปิดมุมมองใหม่ ขับเคลื่อนธุรกิจไทย มุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต [ADVERTORIAL] https://thestandard.co/prime-ministers-export-award-2023/ Wed, 01 Mar 2023 03:00:24 +0000 https://thestandard.co/?p=756132

โครงการดีๆ ที่ทั้งช่วยสร้างสีสัน กระตุ้นให้เกิดความคึกค […]

The post ชวนผู้ประกอบการสมัครประกวด Prime Minister’s Export Award 2023: เปิดมุมมองใหม่ ขับเคลื่อนธุรกิจไทย มุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>

โครงการดีๆ ที่ทั้งช่วยสร้างสีสัน กระตุ้นให้เกิดความคึกคัก สร้างสรรค์ ในแวดวงธุรกิจ และยังมีส่วนช่วยในการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไทย ทั้งยังมีบทบาทในการสนับสนุนผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี อย่าง Prime Minister’s Export Award กำลังจะกลับมาอีกครั้ง และสำหรับในปีนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ วางแผนจะยกระดับความเข้มข้นขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Better Vision Brighter Future: เปิดมุมมองใหม่ ขับเคลื่อนธุรกิจไทย มุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต อย่างเต็มภาคภูมิ’ เพื่อเป็นการขานรับเศรษฐกิจยุคใหม่ ทั้งยังเต็มไปด้วยสิ่งที่น่าสนใจอย่างการเปิดเวทีเสวนา ดึง 4 บริษัทต้นแบบเจ้าของรางวัล PM’s Export Award มาร่วมแชร์ไอเดียจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจ แนะแนวทางพัฒนาธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอีกด้วย สำหรับผู้ที่สนใจอยากรู้เกี่ยวกับรางวัลนี้กันให้มากขึ้น เราขออาสาพาทุกคนไปพบกับความน่าสนใจของ Prime Minister’s Export Award 2023 ในปีล่าสุดนี้กัน 

 

ล่เกียรติยศนับจากอดีตของ Prime Minister’s Export Award

รางวัลที่มีคุณูปการช่วยขับเคลื่อนธุรกิจส่งออกไทยมานานกว่า 3 ทศวรรษ

 

ในปี 2023 รางวัล PM’s Export Award 2023 ได้มีการปรับหลักเกณฑ์ยกระดับ

ให้สอดรับต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก และกระตุ้นทิศทางของภาคธุรกิจการส่งออกไทย 

 

ผลักดันผู้ประกอบการไทยพัฒนาขีดความสามารถ พร้อมแข่งขันสู่เวทีโลก…ชูเป้าการค้าไทยติด Top 5 ของเอเชีย 

ทาง DITP เผยว่า โจทย์หลักของ Prime Minister’s Export Award ในปี 2023 มีวิสัยทัศน์สำคัญในการเดินหน้าผลักดันให้บรรดาผู้ประกอบการไทยพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถพร้อมแข่งขันสู่เวทีโลก รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์ให้ภาคธุรกิจไทยเป็นที่ยอมรับในระดับสากล พร้อมสนับสนุนการเปิดตลาดส่งออกไปยังเวทีโลก โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศตั้งเป้าสร้างความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เป็น 1 ใน 5 ของเอเชียภายในปี 2570 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ‘ตลาดนำการผลิต’ และการเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าของผู้ประกอบการไทยของรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และเพื่อการนี้ ทางกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจึงได้จัดรางวัล Prime Minister’s Export Award หรือ PM’s Export Award 2023 เพื่อสร้างแรงจูงใจ และสร้างกำลังใจในการดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่ว่าจะเป็น Start-up, SMEs, Micro SMEs และอื่นๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจได้รับรู้ว่าภาครัฐให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคธุรกิจในทุกระดับ

 

“อย่างไรก็ดี ในปีนี้ท่ามกลางความท้าทายของเศรษฐกิจการค้าโลก ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวเพื่อตอบสนอง New Economy หรือเศรษฐกิจยุคใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ BCG Economy สู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ โดยรางวัล Prime Minister’s Export Award เป็นอีกหนึ่งการดำเนินงานสำคัญของกรมฯ เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศที่สะท้อนความน่าเชื่อถือของภาคธุรกิจส่งออกไทย ที่มีกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศที่จะตอบสนองกับความท้าทายใหม่ๆ ได้อย่างมีศักยภาพ ทั้งยังสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก อีกทั้งยังจุดประกายแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาธุรกิจของตนเองให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย” ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย

 

Better Vision Brighter Future: เปิดมุมมองใหม่ ขับเคลื่อนธุรกิจไทยมุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต อย่างเต็มภาคภูมิ 

 

“เพื่อเป็นการต้อนรับการก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ปีที่ 31 จุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ก้าวสู่การเป็นผู้ส่งออกที่มีศักยภาพ ในปีนี้รางวัล PM’s Export Award 2023 จึงดำเนินการภายใต้แนวคิด ‘Better Vision Brighter Future: เปิดมุมมองใหม่ ขับเคลื่อนธุรกิจไทยมุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต อย่างเต็มภาคภูมิ’  

 

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานอันยาวนานกว่า 3 ทศวรรษ มีผู้ได้รับรางวัลดังกล่าวมาแล้วรวมจำนวนทั้งสิ้น 784 รางวัล จาก 257 บริษัท และล่าสุดในปีที่ผ่านมา ทางกรมฯ ได้มีการทบทวนหลักเกณฑ์เพื่อยกระดับรางวัลให้สอดรับต่อแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก และแนวทางการพัฒนาภาคการส่งออกไทย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเปลี่ยนจากภาคการผลิตสินค้ามาสู่ภาคบริการมากขึ้น โดยนำแนวคิดเรื่องนวัตกรรมและการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน (Environmental, Social and Governance: ESG) มาเพิ่มเป็นน้ำหนักคะแนนของเกณฑ์การตัดสินแต่ละสาขารางวัล ซึ่งประเด็นเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

ในงานแถลงข่าวที่เพิ่งผ่านมา มีวิทยากรพิเศษจาก 4 บริษัท ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล PM’s Export Award จากปีก่อนหน้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำธุรกิจ และประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ พร้อมเปิดมุมมองใหม่ของการทำธุรกิจ เพื่อเป้าหมายการขับเคลื่อนธุรกิจไทย มุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต

 

โดยเมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งมีการจัดงานแถลงข่าวการประกวด ซึ่งมีไฮไลต์อยู่ที่การเชิญวิทยากรพิเศษจาก 4 บริษัท ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล PM’s Export Award จากปีที่ผ่านมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การทำธุรกิจ และประโยชน์ของการเข้าร่วมโครงการ พร้อมเปิดมุมมองใหม่ของการทำธุรกิจ เพื่อเป้าหมายการขับเคลื่อนธุรกิจไทย มุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต โดยวิทยากรพิเศษดังกล่าว ประกอบด้วย

  1. โกสินทร์ วิระพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แปลน ครีเอชั่นส์ จำกัด ผู้ผลิตของเล่นไม้สำหรับเด็กจากมุมมองความยั่งยืน รายแรกของโลกที่เปลี่ยนไม้ยางพาราที่หมดอายุการให้น้ำยาง และผงขี้เลื่อยให้กลายเป็นวัสดุใหม่ PlanWood มาใส่ความคิดสร้างสรรค์จนกลายเป็นของเล่นไม้จากยางพาราที่เสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ภายใต้แบรนด์ PlanToys
  1. นิติพันธุ์ ดารกานนท์ กรรมการ บริษัท โซไนต์ อินโนเวทีฟ เซอร์เฟสเซส จำกัด บริษัทผู้คิดค้นนำวัสดุที่เหลือทิ้งจากภาคเกษตร ไม่ว่าจะแกลบข้าว กะลามะพร้าว และผักตบชวา มาทำเป็นสิ่งที่มีคุณค่า Material Development แปรรูปเป็นของใช้ในบ้าน ของตกแต่งบ้านในดีไซน์ที่สวยงาม พร้อมชูคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งานทนทาน มีมาตรฐาน และยั่งยืน
  1. วราภรณ์ มนัสรังษี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เค-เฟรช จำกัด บริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมผลสดเป็นบรรจุภัณฑ์ในตัวเอง เพื่อสร้างความยั่งยืนจากการทำวิจัยนวัตกรรม เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคมะพร้าวน้ำหอมที่มีความสะดวกสบายมากขึ้น ภายใต้ชื่อ ‘Coco Thumb’
  1. อัจฉรา ปู่มี กรรมการผู้จัดการบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ผู้สร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเครื่องทำน้ำร้อน และเครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงาน จากจุดเด่นนำพลังงานที่สูญเปล่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับผู้ใช้ และลดปริมาณการใช้พลังงาน เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกค้าตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน (Sustainability)

 

รางวัล PM’s Export Award 2023 แบ่งออกเป็น 7 ประเภทสาขารางวัลประกอบด้วย

 

  1. รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกยอดเยี่ยม Best Exporter
  2. รางวัลแบรนด์ไทยยอดเยี่ยม Best Thai Brand โดยจำแนกระดับและประเภทแบรนด์ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 

2.1 ระดับ Existing Brand แบรนด์ที่มีมายาวนาน แบ่งเป็น Corporate Brand และ Product Brand

2.2 ระดับ Emerging Brand แบรนด์เกิดใหม่ที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในช่วง 1-4 ปี

  1. รางวัลธุรกิจ BCG ส่งออกยอดเยี่ยม Best BCG Exporter ซึ่งเป็นการปรับจากรางวัลสินค้าส่งเสริมนวัตกรรมยอดเยี่ยม (Best Innovation) เพื่อให้สอดคล้องกับวาระแห่งชาติในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG
  2. รางวัลการออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design) โดยมีการเพิ่มกลุ่มผลงานการออกแบบระบบบริการและแพลตฟอร์มดิจิทัล
  3. รางวัลธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Best Service Enterprise) แบ่งออกเป็น 4 สาขา ประกอบด้วย
  • สาขาโรงพยาบาล/ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง/คลินิกเฉพาะทาง (Health & Wellness) โดยเพิ่มจาก 1 สาขารางวัลเป็น 2 สาขารางวัล
  • สาขาดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ (Digital Content & Software) 
  • สาขาโลจิสติกส์การค้า (ELMA)
  • สาขาธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (Printing and Packaging) เพิ่มเป็น 2 สาขารางวัล
  1. รางวัลสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ยอดเยี่ยม (Best OTOP) ซึ่งปีนี้มีการเพิ่มกลุ่มรางวัลเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

6.1 กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ที่มีการส่งออกด้วยตนเอง (Best OTOP)

6.2 กลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ที่ยังไม่เคยส่งออกด้วยตนเอง แต่มีศักยภาพในการส่งออก (OTOP New Face Exporter)

  1. รางวัลสินค้าฮาลาลยอดเยี่ยม (Best Halal)

 

ยกระดับรางวัลด้วยเกณฑ์ตัดสินอันแสนท้าทาย

ปีนี้กรมฯ ได้พัฒนาและยกระดับรางวัล Prime Minister’s Export Award ให้สอดรับกับเศรษฐกิจยุคใหม่ ใน 5 มิติ ได้แก่ 

  1. เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation & Technology)
  2. การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์ (Design & Creativity)
  3. การสร้างแบรนด์และการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Branding & Value Creation)
  4. การพัฒนาตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG (BCG Model) 
  5. มีเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals (SDGs))

 

ทั้งนี้ ประเด็นที่ท้าทายดังกล่าวได้ถูกนำไปพัฒนาและปรับหลักเกณฑ์การพิจารณาตัดสินรางวัลให้ครอบคลุมทั้ง 7 ประเภทสาขาของรางวัล PM’s Award Export ซึ่งทางกรมฯ เห็นว่าองค์กรธุรกิจยุคใหม่ควรแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และแนวทางการบริหารในด้านต่างๆ เช่น แนวทางหรือแผนงานด้าน BCG และ SDGs การลงทุนสำหรับการผลิตหรือเทคโนโลยีที่มีความยั่งยืน พลังงานสะอาด ด้านการวิจัยและพัฒนา รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม New Technology, New Material, Eco Material นอกจากนี้กรมฯ ยังต้องการส่งเสริมให้ Micro และ SMEs สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในรางวัลนี้มากขึ้น เช่น ธุรกิจ Start-up หรือ Emerging Brand ฯลฯ

 

สำหรับสิทธิประโยชน์ซึ่งผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล PM’s Export Award จะได้รับคือ การสนับสนุนให้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ ของกรมฯ และพันธมิตร รวมทั้งจะได้รับการสนับสนุนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้ส่งออกในรูปแบบการเข้าร่วมสัมมนา การฝึกอบรมเชิงลึก รวมทั้งจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านการประชาสัมพันธ์ อาทิ ได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในฐานะผู้ได้รับรางวัลในสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ PM’s Export Award เป็นเครื่องมือทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการขาย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ผู้ประกอบการที่สนใจรางวัล Prime Minister’s Export Award 2023

สามารถสมัครรับการคัดเลือกได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคมนี้

 

สำหรับรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น ปี 2566 (Prime Minister’s Export Award 2023 หรือ PM’s Export Award 2023) ปีที่ 31 จะจัดให้มีพิธีมอบรางวัลฯ โดยนายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 24 สิงหาคมนี้ ดังนั้นผู้ประกอบการในสาขาต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วมสมัครรับคัดเลือกรางวัล สามารถสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 มีนาคม 2566 ที่ pmaward.ditp.go.th หรือโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2136 5226, 0 2507 8290 (ในวันและเวลาราชการ)

The post ชวนผู้ประกอบการสมัครประกวด Prime Minister’s Export Award 2023: เปิดมุมมองใหม่ ขับเคลื่อนธุรกิจไทย มุ่งสู่เศรษฐกิจแห่งอนาคต [ADVERTORIAL] appeared first on THE STANDARD.

]]>
DITP เผย แคนาดาคุมเข้ม ห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง แนะผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว https://thestandard.co/canada-lays-out-rules-banning-single-use-plastics/ Mon, 27 Jun 2022 03:21:11 +0000 https://thestandard.co/?p=646849 DITP

วันนี้ (27 มิถุนายน) ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดี […]

The post DITP เผย แคนาดาคุมเข้ม ห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง แนะผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
DITP

วันนี้ (27 มิถุนายน) ภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า ตามนโยบายของ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มอบหมายให้ DITP สำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่างๆ ล่าสุดได้รับรายงานจากผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ แคนาดา ถึงโอกาสในการทำตลาดสินค้าไทยในแคนาดา และการส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตามนโยบายเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG Model) เจาะเข้าสู่ตลาดแคนาดา หลังจากที่ปัจจุบันรัฐบาลแคนาดาได้ให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในการจัดการปัญหาขยะในทะเล และลดผลกระทบขยะพลาสติกต่อสิ่งแวดล้อมของโลก

 

ทั้งนี้ DITP ได้รับรายงานจากทูตพาณิชย์เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันแคนาดาได้ออกระเบียบว่าด้วยการห้ามใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวแล้วทิ้ง (Single Use Plastics) มาตั้งแต่ 1 มกราคม 2022 และบังคับให้ร้านค้าต่างๆ เก็บเงินค่าถุงกระดาษใบละ 15 เซนต์ (5 บาท) จากลูกค้าที่ต้องการถุงหิ้ว และเพิ่มเป็นใบละ 25 เซนต์ (7 บาท) ในปี 2023 ทำให้ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกและร้านอาหารในนครแวนดูเวอร์ต้องมองหาทางเลือกบรรจุภัณฑ์อื่นๆ มาไว้บริการลูกค้าตามนโยบายลดขยะพลาสติกจากภาครัฐ

 

โดยล่าสุดพบว่ากลุ่มบริษัท Georgia Main Food จำกัด เจ้าของห้างค้าปลีกชื่อดัง IGA แคนาดา ได้ตกลงร่วมพาร์ตเนอร์กับบริษัท Reusables.com ผู้ให้บริการระบบแชร์บรรจุภัณฑ์ (Container-Sharing) เช่น กล่องอาหาร แก้วกาแฟ ซึ่งผลิตจากอะลูมิเนียม มีคุณสมบัติแข็งแรง และสามารถใช้งานได้บ่อยครั้ง โดยลูกค้าที่เป็นสมาชิกสามารถขอรับได้จากร้านค้าปลีกหรือร้านอาหารที่ร่วมบริการ เพื่อใส่อาหารนำกลับบ้าน แล้วเอาบรรจุภัณฑ์กลับมาคืนเพื่อให้ทางบริษัทรับไปทำความสะอาดฆ่าเชื้อ แล้วนำกลับมาใช้อีก

 

นอกจากนี้หลังจากที่ทางกลุ่มกิจการ Georgia Main Food ได้นำร่องโครงการแชร์บรรจุภัณฑ์ Reusables.com มาใช้กับแผนกอาหารปรุงสุกเพื่อซื้อนำกลับไปรับประทานของห้างค้าปลีกในเครือ Fresh St. Market พบว่าได้รับผลตอบรับที่ดี จึงได้ต่อยอดโครงการดังกล่าวไปสู่ห้างค้าปลีก IGA เพิ่มเติม ขณะที่บริษัท Reusables.com ได้พัฒนาระบบต่างๆ เพื่อก่อให้เกิดความสะดวกและปลอดภัยสำหรับลูกค้า โดยค่าใช้บริการ Reusables.com เมื่อลูกค้าดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใช้งาน จะสามารถทดลองใช้บริการได้ 30 วันโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และจากนั้นจะชำระค่าบริการเดือนละ 5 ดอลลาร์แคนาดา (ราว 140 บาท) โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการใช้งาน  

 

“จากความร่วมมือของผู้ประกอบการค้าปลีกและผู้ให้บริการด้านบรรจุภัณฑ์ในแคนาดา แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของบรรจุภัณฑ์อาหารในวันนี้ที่ผู้บริโภคต่างมีความต้องการเลือกใช้สินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะเทรนด์การให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมที่นับวันยิ่งจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะร้านค้าปลีกและร้านอาหารที่ทำตลาดในแคนาดา ควรมองถึงโอกาสตรงจุดนี้ และนำรูปแบบการใช้บรรจุภัณฑ์มาปรับใช้ เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งดการใช้พลาสติก หรือผู้ส่งออกที่จะทำการตลาดในแคนาดา ควรให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามนโยบาย BCG Model ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้น” ภูสิตกล่าว

The post DITP เผย แคนาดาคุมเข้ม ห้ามใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง แนะผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว appeared first on THE STANDARD.

]]>
ท๊อป จิรายุส ตอบชัด ดีล SCB-Bitkub ยังไม่เปลี่ยน มองรายใหม่ ‘กัลฟ์ ไบแนนซ์’ ช่วยขยายตลาดโตเร็วขึ้น https://thestandard.co/jirayut-srupsrisopa-answered-scb-bitkub-deal/ Wed, 18 May 2022 11:42:09 +0000 https://thestandard.co/?p=630433 ท๊อป จิรายุส

จากงานแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท บิทคับ แ […]

The post ท๊อป จิรายุส ตอบชัด ดีล SCB-Bitkub ยังไม่เปลี่ยน มองรายใหม่ ‘กัลฟ์ ไบแนนซ์’ ช่วยขยายตลาดโตเร็วขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
ท๊อป จิรายุส

จากงานแถลงข่าวการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (Bitkub) และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้และความสามารถของบุคลากร เพื่อให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกไปสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 

 

ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Bitkub เปิดเผยว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า โลกของเราจะเปลี่ยนไปอย่างมาก ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมเก่าๆ แต่ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เราควรจะพึ่งพาเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น 

 

“ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในอาเซียนมีคนใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 70 ล้านคน และ 9 ใน 10 คน เป็นผู้ที่จับจ่ายใช้สอยผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นเราควรจะมุ่งเป้าไปสู่การเป็นดิจิทัลฮับของอาเซียน” 

 

พร้อมกันนี้ ท๊อป จิรายุส ยังได้เปิดเผยถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับ LUNA หรือ Terra ที่มูลค่าหายไปจำนวนมหาศาล โดยมองว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลจะกระทบไปด้วยทั้งหมด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวงการโดยรวมในระยะสั้น อาจเรียกได้ว่าเป็น Noise และหากดูจากจำนวนคนที่เทรดโดยจับคู่กับ UST ยังมีน้อยมาก และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นรอบวัฏจักรอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงที่เรียกว่า Crypto Winter

 

หากมองระยะยาวจะเห็นว่าบริษัทใหญ่ๆ ยังคงเตรียมพร้อมสำหรับการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับสินทรัพย์ดิจิทัล และในอนาคตตลาดของสินทรัพย์ดิจิทัลจะใหญ่ขึ้นมากๆ โดยจะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

 

“ในระยะสั้นคงจะเป็น Noise ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของคนในระยะสั้น เหมือนกับเหตุการณ์ในอดีต เช่น ช่วงเกิดรถยนต์ใหม่ๆ และชนคนตาย คนก็จะมองรถยนต์เป็น Death Machine หรือช่วงฟองสบู่อินเทอร์เน็ต คนก็สูญเสียความเชื่อมั่นต่ออินเทอร์เน็ต แต่หลังจากเหตุการณ์นั้น คนที่สามารถยืนระยะได้นานพอก็แทบจะประสบความสำเร็จมหาศาลทั้งหมด สุดท้ายความรู้และความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญที่สุด พอทุกคนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะไม่เกิดความกลัว”

 

ทั้งนี้ หากดูผลกระทบต่อมูลค่าตลาดคริปโตโดยรวมอาจไม่ได้มีผลกระทบมากนักเทียบกับก่อนเกิดเหตุการณ์ขึ้น และในมุมกลับกันก็เป็นเหมือนการสร้างการรับรู้ ให้คนเก่งๆ เข้ามาศึกษาและช่วยกันแก้ไขปัญหามากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม การเข้ามาลงทุนในตลาดคริปโต ซึ่งทุกๆ 4 ปีที่ผ่านมาจะเกิดปีทองจากเหตุการณ์ Bitcoin Halving ราคาปรับตัวขึ้นเป็น 1,000% แต่เมื่อขึ้นแรงก็ลงแรง เพราะฉะนั้นคนที่จะเข้ามาลงทุนควรจะใช้เงินเย็น และต้องรับความผันผวนในระดับ 50-70% ให้ไหว สำหรับ Bitcoin Halving ครั้งหน้าคือปี 2567 และต้องเข้าใจว่ามันคือวัฏจักรของตลาดคริปโต

 

“เป็นเรื่องปกติของตลาดการเงิน เมื่อตลาดยังเล็กความผันผวนก็จะสูง เมื่อคนเริ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้นความผันผวนก็จะลดลง ซึ่งเราเห็นได้ชัดเจนว่าความผันผวนของ Bitcoin ลดลงหากดูจากการปรับฐานในแต่ละครั้ง และเริ่มเห็นเงินทุนของนักลงทุนสถาบันไหลเข้ามามากขึ้น กฎหมายก็ชัดเจนมากขึ้น โดยรวมคือทุกคนควรเริ่มต้นจากการมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนเริ่มลงทุน”

 

ส่วนเรื่องของพัฒนาการของตลาดคริปโตในไทย Bitkub ยังคงเชื่อว่าตลาดจะยังขยายตัวขึ้นทุกปีในระยะนี้ และการเข้ามาของคู่แข่งที่มากขึ้น เช่น กัลฟ์ ไบแนนซ์ ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่าง Binance กับ GULF จะยิ่งช่วยกันส่งเสริมให้ตลาดขยายตัวได้มากขึ้น ส่วนความคืบหน้าเกี่ยวกับดีลที่ธนาคารไทยพาณิชย์เข้าซื้อ Bitkub ขณะนี้ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดใดๆ ได้

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

The post ท๊อป จิรายุส ตอบชัด ดีล SCB-Bitkub ยังไม่เปลี่ยน มองรายใหม่ ‘กัลฟ์ ไบแนนซ์’ ช่วยขยายตลาดโตเร็วขึ้น appeared first on THE STANDARD.

]]>
เกียรติยศผู้ส่งออกไทย…ความภูมิใจระดับโลก ครบรอบ 30 ปี PM’s Export Award รางวัลแห่งแรงบันดาลใจเพื่อความยั่งยืน [Advertorial] https://thestandard.co/pms-export-award/ Wed, 22 Sep 2021 03:30:11 +0000 https://thestandard.co/?p=539020 PM’s Export Award

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้มหา […]

The post เกียรติยศผู้ส่งออกไทย…ความภูมิใจระดับโลก ครบรอบ 30 ปี PM’s Export Award รางวัลแห่งแรงบันดาลใจเพื่อความยั่งยืน [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
PM’s Export Award

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างรายได้มหาศาลให้กับประเทศ แน่นอนว่าหลายๆ คนย่อมจะต้องนึกถึงอุตสาหกรรมการส่งออกเป็นลำดับต้นๆ เป็นแน่ หากรู้กันหรือไม่ว่ามีรางวัลหนึ่งที่มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการ และแวดวงอุตสาหกรรมการส่งออกของประเทศไทยเราเป็นอย่างมาก นั่นคือ ‘Prime Minister’s Export Awardซึ่งเพิ่งครบรอบ 30 ปีในปีนี้เอง รางวัลดังกล่าวมีส่วนช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จมาแล้วมากมาย มีคุณูปการในการพัฒนาแวดวงธุรกิจส่งออก ตลอดจนช่วยสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับสังคมไทยได้อย่างไร THE STANDARD ขออาสาพาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และผู้อ่านทุกคนไปทำความรู้จักกับรางวัลอันทรงเกียรติและทรงคุณค่านี้กัน 

 

3 ทศวรรษแห่งความสำเร็จ 

 

ครบรอบ 30 ปีรางวัล ‘Prime Minister’s Export Award’

รางวัลแห่งแรงบันดาลใจและเกียรติยศของผู้ส่งออกไทย 

ที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ริเริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 

 

รางวัล ‘Prime Minister’s Export Award’ หรือ ‘โครงการรางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น’ จัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) โดยได้เริ่มต้นจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2535 รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลสูงสุดของรัฐบาลที่มอบให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่น เพื่อประกาศเกียรติคุณถึงศักยภาพและความทุ่มเทของผู้ประกอบการไทย ซึ่งผลิตสินค้าคุณภาพและบริการที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล สามารถประกอบธุรกิจจนประสบความสำเร็จในระดับโลก ช่วยขยายมูลค่าการค้าระหว่างประเทศได้อย่างยั่งยืน 

 

 

ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี DITP มีความมุ่งมั่นที่จะ

ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ของไทยมาโดยตลอด

 

ทั้งนี้ DITP มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้ได้รับรางวัล PM’s Export Award อันทรงเกียรตินี้ พร้อมผลักดันให้เข้าถึงผู้ประกอบการในทุกระดับและทุกภาคส่วนของประเทศ โดยตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี มีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ สามารถพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า จนได้รับรางวัล PM’s Export Award อย่างสม่ำเสมอในหลากหลายประเภทรางวัล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความตั้งใจที่จะพัฒนาและรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้กับผู้ส่งออกรายใหม่ๆ ได้ดำเนินรอยตามอีกด้วย นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับรางวัล PM’s Export Award รวมแล้วถึง 672 บริษัท 787 รางวัล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นตัวแทนความภาคภูมิใจของคนไทยในการผลิตสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในตลาดสากล

 

ครอบคลุมทุกสาขารางวัล

 

รางวัล Prime Minister’s Export Award

อยู่เคียงข้างสังคมไทยมาโดยตลอด 

 

สำหรับประโยชน์ที่ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับ นอกจากจะได้รับโล่และเกียรติบัตรสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจจากนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังจะได้รับสิทธิเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาความรู้ หรือร่วมจัดงานแสดงสินค้ากับกรมส่งเสริมการส่งออกทั้งในและต่างประเทศ ได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ PM Award ในการส่งเสริมการขาย และเพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่โดดเด่นในแต่ละด้านให้ครอบคลุมที่สุด รางวัล PM’s Export Award จึงได้แบ่งออกเป็น 7 ประเภทสาขา และบางรางวัลก็ยังมีสาขาแยกย่อยอีก ดังนี้

 

  1. รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกยอดเยี่ยม (Best Exporter)
  2. รางวัลสินค้านวัตกรรมยอดเยี่ยม (Best Innovation) 
  3. รางวัลแบรนด์ไทยยอดเยี่ยม (Best Thai Brand) 
  4. รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบยอดเยี่ยม (Best Design ผ่านรางวัล Design Excellence Award: DEmark)
  5. รางวัลสินค้าธุรกิจบริการยอดเยี่ยม (Best Service Enterprise Award) ซึ่งแบ่งเป็น 4 สาขาย่อย ได้แก่
  • สาขาโรงพยาบาล/ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง/คลินิกเฉพาะทาง (Health & Wellness)
  • สาขาดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ (Digital Content & Software)
  • สาขา Trade Logistics (ผ่านรางวัล Excellent Logistics Management Award: ELMA)
  • สาขาธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ (Printing)
  1. รางวัลสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณท์ยอดเยี่ยม (Best OTOP) 
  2. รางวัลสินค้าฮาลาลยอดเยี่ยม (Best Halal)

 

เติบโต มุ่งมั่น ก้าวหน้าสู่อนาคต

 

โล่และเกียรติบัตรสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจจากนายกรัฐมนตรีในอดีต

PM’s Export Award เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่ช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการ 

เสริมความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมการส่งออกของไทยมากว่า 3 ทศวรรษ

 

ตลอดระยะเวลา 30 ปีอันยาวนาน ถ้าจะพูดไปแล้วก็เปรียบได้กับชีวิตของคนเรา ซึ่งน่าจะเป็นช่วงเวลาของหนุ่มสาวที่กำลังเติบโต มุ่งมั่น พร้อมที่จะก้าวหน้าไปสู่อนาคต เช่นเดียวกับ PM’s Export Award ประจำปี 2021 ซึ่งในปีล่าสุดนี้นอกจากจะจัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Succeed Beyond Success ก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จที่มากกว่า’ เพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก จึงสะท้อนผ่านผู้ประกอบการที่มีการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสอดคล้องตามกระแสโลก อาทิ การดำเนินธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมและการออกแบบ การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนตาม SDGs (Sustainable Development Goals) การดำเนินธุรกิจตามแนวคิด BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งจะถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในเกณฑ์การตัดสิน ทั้งยังได้มีการเพิ่มรางวัลใหม่เข้ามาเสริมอีกด้วย ซึ่งได้แก่ ‘รางวัลผู้ประกอบการนวัตกรรมดาวเด่น’ (Aspiring Innovation) เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถนำนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจ แม้จะยังไม่มีผลประกอบการส่งออก แต่ธุรกิจมีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ และยังเพิ่ม ‘รางวัล Emerging Brand ในสาขารางวัล Best Thai Brand’ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ ที่มีความสามารถในการพัฒนาแบรนด์ต่อยอดไปสู่เวทีการค้าระหว่างประเทศได้อย่างโดดเด่น 

 

รางวัลอันยิ่งใหญ่

ก้าวสำคัญและเรื่องราวของผู้ประกอบการที่หลากหลาย

 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา 3 ทศวรรษ นอกจากรางวัล PM’s Export Award จะเป็นก้าวย่างสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการหลากหลายได้เป็นที่รู้จัก และประสบความสำเร็จอย่างมั่นคงแล้ว หากพิจารณาให้ลึกลงไปกว่านั้น คือเรื่องราวความสำเร็จของผู้ประกอบการในแต่ละปี ที่ได้สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล นับตั้งแต่ พ.ศ. 2535-2564 รางวัลนี้ได้สร้างผู้ประกอบการยอดเยี่ยมใน 7 สาขารวมแล้วกว่า 787 รางวัล จาก 672 บริษัท สร้างผู้ประกอบการแบรนด์ไทยระดับโลก แจ้งเกิดผู้ประกอบการที่สร้างนวัตกรรมผลักดันผู้ประกอบการ SMEs & OTOP คุณภาพระดับส่งออกพร้อมทั้งมอบโอกาสให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ได้ต่อยอดเพิ่มมูลค่าการส่งออก และสร้างรายได้กลับเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากเรานับเฉพาะจำนวนสุดยอดผู้ประกอบการด้านการส่งออก หรือสาขา Best Exporter ตลอด 30 ปี จะพบว่ามีผู้ที่ได้รับรางวัลนี้มากถึง 122 รางวัลเลยทีเดียว และหากลองย้อนดูข้อมูลตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จะพบว่ารางวัล Best Exporter มีสุดยอดผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัลในแต่ละปีเฉลี่ย 5-9 รางวัล ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นได้สร้างมูลค่าส่งออกและรายได้ให้กับประเทศสูงถึงกว่า 6 หมื่นล้านบาท!! 

 

 

นอกจากนี้สุดยอดผู้ประกอบการล่าสุดที่ได้รับรางวัลในปี 2564 จากทุกสาขาทั้ง 42 รางวัล ยังยืนยันถึงการมีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศในปี 2020 ได้ถึง 19,910 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.28 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม และล่าสุดนับจากเดือนมกราคมถึงกรกฎาคมในปีนี้ ก็มีส่วนในการสร้างรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 11,377 ล้านบาท แถมยังทำให้เกิดการจ้างงานในประเทศไม่ต่ำกว่า 14,639 คน

 

ทั้งหมดดังที่กล่าวมาจึงชัดเจนว่า PM’s Export Award ไม่ได้เป็นเพียงแค่การมอบรางวัลธรรมดาเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถทางการแข่งขัน พร้อมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ๆ ได้ดำเนินรอยตามผู้ประกอบการรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ ช่วยกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ธุรกิจส่งออกของประเทศให้ดำเนินไปอย่างยั่งยืน ซึ่งความสำเร็จนี้ตรงกับแนวคิดในปีนี้ที่ว่า ‘Succeed Beyond Success ก้าวสำคัญสู่ความสำเร็จที่มากกว่า’ อย่างแท้จริง

 

ไม่ว่า 30 ปีที่ผ่านมาหรือจะอีก 30 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจและการค้าโลกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร THE STADARD มั่นใจว่ารางวัล PM’s Export Award ก็จะยังคงเป็นรางวัลแห่งความสำเร็จ และเป็นแรงบันดาลใจ อันจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจระดับชาติ ช่วยสร้างขวัญกำลังใจ และสร้างรากฐานอันแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการสามารถร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย รับมือกับพลวัตทางการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

 

ภาพประกอบ: ธิดามาศ เขียวเหลือ

The post เกียรติยศผู้ส่งออกไทย…ความภูมิใจระดับโลก ครบรอบ 30 ปี PM’s Export Award รางวัลแห่งแรงบันดาลใจเพื่อความยั่งยืน [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
โครงการพัฒนานักออกแบบไทย Designers’ Room & Talent Thai เริ่มรับสมัครนักออกแบบประจำปี 2021 แล้ววันนี้ถึง 1 เม.ย. นี้ https://thestandard.co/designers-room-talent-thai/ Mon, 08 Mar 2021 08:47:24 +0000 https://thestandard.co/?p=462582 Designers Room

ปี 2021 ถือเป็นปีที่ 19 แล้วสำหรับโครงการ Designers’ Ro […]

The post โครงการพัฒนานักออกแบบไทย Designers’ Room & Talent Thai เริ่มรับสมัครนักออกแบบประจำปี 2021 แล้ววันนี้ถึง 1 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
Designers Room

ปี 2021 ถือเป็นปีที่ 19 แล้วสำหรับโครงการ Designers’ Room & Talent Thai โครงการที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยสํานักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เพื่อจัดอบรม ส่งเสริม และผลักดันนักออกแบบไทยให้มีศักยภาพผลงานสู่ตลาดโลก ซึ่งในปีนี้กิจกรรมจะถูกจัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ ‘Maximize Diversity Shift Creativity Beyond Borders พลังแห่งความหลากหลาย ยกระดับความคิดสร้างสรรค์ให้เหนือขอบเขต’  

 

ในทุกๆ ปี โครงการจะเปิดรับสมัครนักออกแบบในกลุ่มสินค้าแฟชั่น (Designers’ Room) และกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ เช่น ของแต่งบ้าน หรือของขวัญ (Talent Thai) เพื่อเข้าร่วมโครงการ ความพิเศษคือ ในปีนี้โครงการยังเปิดรับกลุ่มธุรกิจใหม่ที่ให้บริการด้านการออกแบบ หรือ Creative Studio เข้าร่วมโครงการด้วย

 

สำหรับผู้บริโภคอย่างเราๆ เทศกาลของขวัญ งานศิลปะ หรืองานแสดงของแต่งบ้านต่างๆ ถือเป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้รู้จักกับแบรนด์ใหม่ๆ โดยนักออกแบบไทย ซึ่งการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Designers’ Room & Talent Thai สำหรับนักออกแบบถือเป็นโอกาสที่จะได้นำผลงานของแบรนด์ไปจัดแสดง ณ งานแสดงสินค้าทั้งในประเทศอย่าง งาน STYLE และ งาน Bangkok Gems & Jewelry Fair รวมถึงต่างประเทศอย่างงาน MAISON &OBJET แพลตฟอร์ม M.O.M ณ กรุงปารีส ปรเทศฝรั่งเศส หรือ Milan Design Week ประเทศอิตาลี 

 

นอกเหนือจากงานแสดงสินค้าแล้ว ตลอดระยะเวลาของการเข้าร่วมโครงการ นักออกแบบยังจะได้รับการอบรม เวิร์กช็อปต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับการสร้างแบรนด์ของตัวเอง อย่างหลักสูตร ‘ความรู้พื้นฐานของการเป็นนักออกแบบระดับสากล สำหรับผู้ประกอบการ/นักออกแบบรุ่นใหม่’ อบรมโดยแบรนด์ดังอย่าง BOYY BAG, ERB, GRAB, T-RA และ Marshall ตามด้วยการเข้าร่วม ‘ค่ายบ่มเพาะนักออกแบบไทยสู่สากล’ ที่ THE STANDARD POP ได้มีโอกาสเข้าร่วมแชร์ความรู้เรื่องการสร้าง Story Telling ให้กับนักออกแบบร่วมกับพันธมิตรอื่นๆ อย่าง SCG, PASAYA, DEESAWAT, PDM และกลุ่มนักออกแบบรุ่นพี่ (Alumni Team) มาช่วยเป็นเมนเทอร์ในค่ายครั้งนี้อีกด้วย 

 

นอกเหนือจาก 2 หลักสูตรหลัก ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายสำหรับนักออกแบบ ซึ่งสามารถสมัครเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งได้แล้วตั้งแต่วันนี้จนถึง 1 เมษายน 2564 สามารถดูรายละเอียดทั้งหมดเพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊ก Talent Thai & Designers’ Room และเว็บไซต์ ditp-design.com ส่วนดีไซเนอร์ที่น่าสนใจประจำปีนี้จะมีใครบ้าง ติดตามได้ทางเว็บไซต์ thestandard.co/pop  

 

 

ภาพ: Courtesy of the Brand 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post โครงการพัฒนานักออกแบบไทย Designers’ Room & Talent Thai เริ่มรับสมัครนักออกแบบประจำปี 2021 แล้ววันนี้ถึง 1 เม.ย. นี้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมส่งเสริมการค้าฯ วิเคราะห์นโยบาย โจ ไบเดน คาดส่งผลดี เพิ่มโอกาสการค้า-การลงทุนไทยในสหรัฐฯ https://thestandard.co/ditp-analyze-joe-biden-policy/ Thu, 21 Jan 2021 02:41:11 +0000 https://thestandard.co/?p=445568 กรมส่งเสริมการค้า

วันนี้ (21 มกราคม) สมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมกา […]

The post กรมส่งเสริมการค้าฯ วิเคราะห์นโยบาย โจ ไบเดน คาดส่งผลดี เพิ่มโอกาสการค้า-การลงทุนไทยในสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
กรมส่งเสริมการค้า

วันนี้ (21 มกราคม) สมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้ติดตามนโยบายด้านการค้าของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนใหม่ ว่าจะมีผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศของไทย ตามนโยบายจาก จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มอบหมายไว้ พบว่า สหรัฐฯ มีนโยบายลดการพึ่งพาต่างชาติด้วยการสร้างความเข้มแข็งอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ เช่น เวชภัณฑ์ สินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง การย้ายฐานการผลิตคืนสู่สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนนโยบาย Buy America และจะลดความตึงเครียดจากสงครามการค้าด้วยการใช้วิถีทางของกฎหมายทางการค้า แต่ยังไม่เปิดเจรจาการค้าใดๆ รวมทั้งจะยกเลิกนโยบายโดดเดี่ยว หันมาสร้างพันธมิตร ให้ความสำคัญกับการต่อสู้โลกร้อน และผ่อนคลายเรื่องแรงงานต่างชาติ เป็นต้น

 

ส่วนในกรณีของจีน จะไม่ยกเลิกมาตรการต่างๆ ของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ โดยทันที แต่อาจดำเนินการในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และมีแนวโน้มต่อนโยบายในเรื่องการเข้มงวดกับการขายสินค้าเทคโนโลยี และเซมิคอนดักเตอร์ให้แก่จีน รวมถึงการจำกัดการนำเข้าสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูงจากจีน ส่วนสหภาพยุโรป (EU) ไบเดนไม่มีนโยบายทำสงครามการค้า เน้นการฟื้นฟูมิตรภาพ แต่ยังต้องแก้ปัญหาความไม่สมดุลการค้าสินค้าเกษตร ในส่วนที่เกี่ยวกับเม็กซิโกและแคนาดา เห็นว่าสนธิสัญญา USMCA (United States-Mexico-Canada) เป็นข้อตกลงที่ดีกว่า NAFTA (North American Free Trade Agreement) ในด้านสิ่งแวดล้อม ขณะที่เอเชียยังไม่แสดงความเห็นการเข้าร่วม RCEP และ CPTPP แต่นโยบายจะให้ความสำคัญกับเอเชียมากขึ้น รวมถึงมีความตั้งใจที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์และร่วมมือกับ WTO มากขึ้น

 

สมเด็จกล่าวว่า สำหรับผลกระทบต่อไทยพบว่า นโยบายของไบเดนน่าจะส่งผลดี ทำให้ความสัมพันธ์ของสหรัฐฯ กับกลุ่มประเทศเอเชียดีขึ้น สร้างโอกาส เพิ่มความร่วมมือทางการค้าการลงทุนของธุรกิจสหรัฐฯ ในไทย และช่วยเพิ่มโอกาสให้ไทยเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าที่มีมาตรการทางการค้าสูงหรือไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันลดลง โดยใช้สหรัฐฯ เป็นฐานการผลิต และยังจะได้รับผลดีจากการที่สหรัฐฯ ไม่ยกเลิกภาษีนำเข้าจากจีนในทันที ทำให้ไทยยังสามารถใช้ประโยชน์ส่งออกที่ไปทดแทนสินค้าจากจีนได้ 

 

อย่างไรก็ตาม คงจะต้องระวังผลกระทบจากกรณีที่สหรัฐฯ จะพึ่งพาการผลิตในประเทศมากขึ้น ทำให้จะมีการใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs) เพิ่มขึ้น สินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนจะได้รับผลกระทบจากนโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อมและรถยนต์ไฟฟ้า และยังให้ความสำคัญเรื่องการผลิตที่จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งต้องระวังในเรื่องการย้ายฐานการผลิตมาไทยที่จะลดลง หลังจากสงครามการค้าชะลอตัว นอกจากนี้ยังต้องจับตาดูนโยบายด้านการเงินการคลังของสหรัฐฯ ที่จะมีผลต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อค่าเงินบาทในอนาคตได้

 

สมเด็จกล่าวด้วยว่า กรมฯ จะยังเดินหน้าขยายตลาดส่งออกในสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะเป็นตลาดหลักที่สำคัญ โดยปี 2564 ได้ตั้งเป้าขยายตัวที่ 4% โดยสินค้าที่มีศักยภาพคือ อาหารสำเร็จรูป อาหารเสริม สินค้าที่เกี่ยวกับการทำงานที่บ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ ของแต่งบ้าน วัสดุแต่งสวน สินค้าสัตว์เลี้ยง เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ออกกำลังกาย เกม และความบันเทิงภายในบ้าน และสินค้าป้องกันส่วนบุคคล เช่น ผลิตภัณฑ์ PPE เป็นต้น ที่จะมีความต้องการจนกว่าโควิด-19 จะคลี่คลาย สำหรับกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในตลาดสหรัฐฯ จะให้ความสำคัญกับการผลักดันสินค้าและบริการที่มีศักยภาพของไทย โดยสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป เช่น อาหารแปรรูป สินค้าเกษตรอินทรีย์ ข้าว ผลไม้ไทย สมุนไพรไทย เป็นต้น 

 

โดยจะเน้นการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายและโปรโมตผ่านโซเชียลมีเดีย ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์และสตาร์ทอัพ จะได้เข้าร่วมกิจกรรมงานแสดงสินค้าในรูปแบบออนไลน์ และสำหรับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน

 

มีการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในสหรัฐฯ รวมถึงจัด Virtual Trade Show ในกลุ่มสินค้าอาหาร อุปกรณ์เครื่องใช้ทางการแพทย์ (PPE) เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเจรจาธุรกิจให้กับผู้ประกอบการไทย นอกจากนี้จะได้เน้นการจัดเจรจาธุรกิจออนไลน์ในกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพและเป็นที่ต้องการของตลาดสหรัฐฯ อีกด้วย

 

ที่สำคัญจะได้เร่งพัฒนาและส่งเสริมการค้าปลีกสมัยใหม่ผ่านช่องทางการค้าออนไลน์ระหว่างประเทศผ่านการจัดตั้งห้างสรรพสินค้าออนไลน์ TOPTHAI Store บนแพลตฟอร์ม Amazon, การประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์สินค้าไทย เจาะกลุ่มผู้บริโภค Millennials and Gen Z ผ่าน Social Influencers ต่างๆ เป็นต้น, โฆษณาประชาสัมพันธ์ตรา Thai Select ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมร้านอาหารที่เป็นสมาชิก Thai Select ในโซเชียลมีเดียต่างๆ, ประชุมหารือกับผู้นำเข้ารายสำคัญ เพื่อติดตามสถานการณ์ และนำเสนอสินค้าไทยรายการใหม่ๆ รวมถึงประชาสัมพันธ์ชักชวนให้เข้าร่วมงานแสดงสินค้า กิจกรรมในไทยในปี 2564 และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการค้า-การลงทุนในสหรัฐฯ ผ่านเว็บไซต์ ThaiTradeUSA.com 

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

The post กรมส่งเสริมการค้าฯ วิเคราะห์นโยบาย โจ ไบเดน คาดส่งผลดี เพิ่มโอกาสการค้า-การลงทุนไทยในสหรัฐฯ appeared first on THE STANDARD.

]]>
สินค้าไทยเฉิดฉายบนเวทีการค้าโลก ด้วยเครื่องหมายการันตีคุณภาพ T Mark [Advertorial] https://thestandard.co/t-mark/ Fri, 15 Nov 2019 08:50:40 +0000 https://thestandard.co/?p=300735 T Mark​

  ‘คนไทยทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก’ เป็นคำกล่าวที่หลา […]

The post สินค้าไทยเฉิดฉายบนเวทีการค้าโลก ด้วยเครื่องหมายการันตีคุณภาพ T Mark [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>
T Mark​

T Mark​

 

‘คนไทยทำอะไรไม่แพ้ชาติใดในโลก’ เป็นคำกล่าวที่หลายคนคุ้นชินและพูดกันติดปาก ซึ่งก็เป็นจริงอย่างว่า โดยเฉพาะสินค้าและบริการของไทยหลายรายการได้รับการยอมรับจากทั่วโลกทั้งคุณภาพและความสามารถ เพื่อพัฒนาสินค้าและคุณภาพ รวมทั้งเป็นการการันตีชื่อเสียงของสินค้าและบริการไทยให้ก้าวไกลและเป็นที่รู้จักของลูกค้ามากขึ้นไปอีก 

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์จึงได้ปรับตราสัญลักษณ์ ‘T Mark’ ที่จะพาสินค้าและบริการของไทยให้ไปไกลระดับโลกอย่างเข้มแข็ง และเต็มเปี่ยมด้วยความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการและผู้บริโภค

 

T Mark​

 

อะไรคือ T Mark​

 

​T Mark (Thailand Trust Mark) คือตราสัญลักษณ์ที่ดำเนินการโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้บูรณาการร่วมกับกระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมอบให้กับสินค้าและบริการที่มีแหล่งกำเนิดในประเทศไทยที่มีคุณภาพมาตรฐานที่ไว้วางใจ ใช้แรงงานที่เป็นธรรม มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโครงการ Thailand Trust Mark เริ่มต้นในปี 2555 จนถึงปัจจุบันมีสมาชิกจำนวนกว่า 800 ราย ซึ่งครอบคลุมสินค้าและบริการมากมาย ตั้งแต่อุตสาหกรรมอาหารและเกษตร อุตสาหกรรมหนัก ไลฟ์สไตล์ แฟชั่น รวมไปถึงบริการด้านสุขภาพ การศึกษา และธุรกิจรักษาพยาบาล อันเป็นจุดขายสำคัญที่ทำให้สินค้าและบริการของไทยได้รับความสนใจจากทั้งโลก

​สินค้าและบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์นี้มีตั้งแต่น้ำหวานสุดคลาสสิกในตำนานอย่าง เฮลซ์บลูบอย หรือเตาแก๊สที่ขึ้นชื่อด้านคุณภาพอย่าง ลัคกี้เฟลม ไปจนถึง ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าที่เราคุ้นหน้าคุ้นตาในไทยกันดีอยู่แล้ว และขึ้นชื่อด้านคุณภาพมานาน รวมถึงบริการอย่างสปา ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม มหาวิทยาลัย และโรงเรียน ก็ใช้ตราสัญลักษณ์นี้ในการรับรองคุณภาพและบริการ

 

T Mark​

 

T Mark อยู่ที่ไหน ใครรู้จักบ้าง

 

​เราสามารถพบตราสัญลักษณ์ T Mark ได้บนฉลากและบรรจุภัณฑ์จากสินค้าที่ได้รับการรับรอง ส่วนด้านการบริการจะมีป้ายสัญลักษณ์ T Mark อยู่ ณ สถานที่บริการที่ได้รับรองนั้นๆ โดยสินค้าที่ได้รับตราสัญลักษณ์นี้จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย เช่น การประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านทางสื่อต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งโอกาสใหม่ๆ ในการหาตลาดอีกด้วย

 

​สำหรับกิจกรรมในปีที่ผ่านมาที่ทาง T Mark จัดขึ้นและได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการคือกิจกรรม T Mark Clinic ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2562 เป็นกิจกรรมให้คำปรึกษาเชิงลึกสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจขอรับตราสัญลักษณ์ T Mark โดยหน่วยงานพันธมิตรและผู้เชี่ยวชาญของโครงการจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน กรมโรงงานอุตสาหกรรม มาร่วมให้คำแนะนำผู้ประกอบการและตอบข้อสงสัยในทุกปัญหาเกี่ยวกับการใช้ตราสัญลักษณ์ T Mark แบบครบวงจร เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจที่จะพัฒนาธุรกิจและบริษัทของตัวเองให้ทัดเทียมระดับโลก โดยมีตราสัญลักษณ์ T Mark เป็นเสมือนความภาคภูมิใจในคุณภาพสินค้าของไทย

 

​ผลตอบรับของกิจกรรม T Mark Clinic จากผู้เข้ารับการอบรมที่ยืนยันว่ากิจกรรมนี้ทำให้เข้าใจและได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสัญลักษณ์นี้ และจะนำไปพัฒนาสินค้าและบริการต่อไป


​นอกจากกิจกรรมนี้แล้ว T Mark ยังมีกิจกรรมช่วยประชาสัมพันธ์สินค้าต่างๆ อีกมากมายในจังหวัดใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ หรือการนำเหล่าอินฟลูเอนเซอร์ซึ่งเป็นที่รู้จักของชาวจีน เช่น Jiaojiao, Lu Cheng, Gao Hang, Panne, Savina-lu, Zhao Bin, Guo Mengyao, Miss Belle and Mademoiselle Rachel และ Mr. cat’blog มารีวิวสินค้า พร้อมเยี่ยมชมโรงงานที่ได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark เพื่อแสดงศักยภาพของผู้ผลิตไทยที่มีมาตรฐานระดับสากล และเชิญชวนชาวจีนที่ใช้สื่อโซเชียลให้มั่นใจในคุณภาพของสินค้าที่มีตราสัญลักษณ์ T Mark ซึ่งเป็นการส่งเสริมตลาดการค้าระหว่างสองประเทศ

 

T Mark​

 

ทำอย่างไรจะได้ T Mark 

 

​กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มุ่งมั่นและสนับสนุนให้มีการจำหน่ายสินค้าที่ได้รับตราสัญลักษณ์ T Mark ในอีเวนต์ต่างๆ ตลอดปี รวมถึงพยายามที่จะให้มีการจำหน่ายสินค้าเหล่านี้แก่ประเทศคู่ค้าของไทยมากที่สุด เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์และส่งเสริมความคุ้นชินต่อนักท่องเที่ยวว่าตราสัญลักษณ์ T Mark คือการรับรองมาตรฐานของสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคพบเห็นสินค้าที่มีการติดตราสัญลักษณ์นี้สามารถมั่นใจได้ว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพที่ประเทศไทยคัดสรรมา 


​หลายคนคงสนใจแล้วว่าจะได้ตราสัญลักษณ์ของ T Mark มาติดบนสินค้าและบริการของตนเองได้อย่างไร ไม่ยาก เพียงแค่คุณเป็นผู้ประกอบการที่มีสินค้าผลิตในประเทศไทย และเข้าไปที่เว็บไซต์ www.thailandtrustmark.com เพื่อเข้าไปอ่านหลักเกณฑ์และสมัครสมาชิกเพื่อขอรับตรา T Mark ผ่านระบบเว็บไซต์ สินค้าของคุณและบริการจะก้าวไกลในตลาดโลกได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่งเช่นกัน

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

The post สินค้าไทยเฉิดฉายบนเวทีการค้าโลก ด้วยเครื่องหมายการันตีคุณภาพ T Mark [Advertorial] appeared first on THE STANDARD.

]]>