กฎหมายระหว่างประเทศ – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Thu, 07 Nov 2024 15:02:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 การอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา: ข้อสังเกตในมิติทางรัฐศาสตร์ https://thestandard.co/opinion-oca-thailand-cambodia/ Thu, 07 Nov 2024 14:24:03 +0000 https://thestandard.co/?p=1006006

ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนไม่มีอะไรดีกว่าการเจรจา คือการเจรจ […]

The post การอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา: ข้อสังเกตในมิติทางรัฐศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนไม่มีอะไรดีกว่าการเจรจา คือการเจรจานี้เมื่อได้มาแล้วจะเป็นการได้มาที่ยั่งยืนและมั่นคง เกิดความยินดีทั้งสองฝ่าย

พล.ร.อ. ถนอม เจริญลาภ

ผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่และเส้นเขตแดนทางทะเลของไทย

 

 

 

1. หนึ่งในสาขาที่ยากที่สุดของวิชารัฐศาสตร์คือสาขากฎหมายระหว่างประเทศ และหนึ่งในสาขาที่ยากที่สุดของกฎหมายระหว่างประเทศคือกฎหมายทะเล (เป็นหัวข้อที่ผมไม่อนุญาตให้นิสิตในที่ปรึกษาเขียนวิทยานิพนธ์ เพราะนิสิตรัฐศาสตร์อาจจะไม่มีองค์ความรู้มากพอ และไม่จบในที่สุด)

 

2. ความยากในทางวิชาการทำให้มีคนที่เรียนจบในสาขานี้ไม่มากนัก โดยเฉพาะในระดับปริญญาเอก (ของจริงในวงวิชาการไทยคือน้อยมาก น่าจะเป็นเลขตัวเดียว)

 

3. ต้องตระหนักเสมอว่าถ้าปัญหาเส้นเขตแดนทางบกยุ่งยากและซับซ้อนมากเท่าใด เส้นเขตแดนทางทะเลยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่าหลายเท่า และอาจจะมากกว่าที่คิดด้วย

 

4. เส้นเขตแดนทางบกมีความเป็นรูปธรรมจากสถานะของพื้นที่ภูมิศาสตร์กายภาพ แต่เส้นเขตแดนทะเลเป็นจินตนาการ หรือเส้นเขตแดนทะเลเป็น ‘ค่าสมมติ’ ของเส้นรุ้งและเส้นแวง ซึ่งมีความยุ่งยากในการทำความเข้าใจในเวทีสาธารณะ

 

5. สภาวะเช่นนี้ทำให้เกิดความง่ายในการบิดเบือนประเด็นเพื่อทำให้สังคมเกิดความไขว้เขว และง่ายในการสร้างเรื่องปลอมหรือสร้างความเชื่อแบบที่ไม่เป็นจริง เช่น ถ้าย้ายหลักเขตทางบกที่ 73 ได้จริงแล้ว เราจะเปลี่ยนแปลงเส้นเขตแดนทางทะเลของไทยได้ ซึ่งคำตอบคือ ‘ไม่จริง’

 

6. ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนเป็นเรื่องที่ใช้สร้าง ‘กระแสชาตินิยม’ ได้ดีที่สุด และมักนำไปสู่การปลุกระดมที่ง่ายที่สุด เพราะมีพื้นฐานของประวัติศาสตร์ชาตินิยมและทัศนคติแบบต่อต้านประเทศเพื่อนบ้านรองรับ จึงง่ายในการใช้เพื่อประกอบสร้างวาทกรรมแบบชาตินิยม

 

7. ในการอ้างกรรมสิทธิ์ข้อพิพาทเรื่องดินแดน ทุกประเทศจะ ‘อ้างในลักษณะสูงสุด’ (Maximum Claim) เพื่อนำไปสู่กระบวนการการเจรจาต่อรอง และทำให้เสียน้อยที่สุด ไม่มีประเทศไหน ‘อ้างในลักษณะต่ำสุด’ (Minimum Claim) เช่น ปัญหาแม่น้ำเหืองที่บ้านร่มเกล้าตกลงเส้นเขตแดนอยู่ที่ใด เพราะในพื้นที่มีทั้งแม่น้ำเหืองใหญ่และเหืองเล็ก อันกลายเป็นชนวนทำให้เกิดสงครามบ้านร่มเกล้า (แผนที่ปักปันระวางที่ 5 ของส่วนทางเหนือของแผนที่สยาม-ฝรั่งเศส)

 

8. ต้องยอมรับว่าการอ้าง Maximum Claim เป็นเรื่องปกติในทางการเมืองระหว่างประเทศ และต้องไม่หงุดหงิด เพราะในมุมของเพื่อนบ้าน ฝ่ายเราก็กระทำการในลักษณะเดียวกัน เพราะไม่มีประเทศใดอยากเสียดินแดน

 

9. การเจรจาต่อรองในเรื่องเส้นเขตแดนคือ ‘การประนีประนอมที่ใหญ่ที่สุด’ ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เพราะจะไม่มีลักษณะที่เป็น Zero-Sum Game คือ The Winner Takes All หากเป็น Win-Win Solution คือทำให้ความต้องการของรัฐที่มีชายแดนร่วมกันได้รับการประนีประนอม เพื่อไม่ให้ความต้องการดังกล่าวกลายเป็นปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศ และจบลงด้วยคำตัดสินของศาลโลก

 

10. ปัญหาที่ต้องหลีกเลี่ยงในกรณีเส้นเขตแดนคือการไม่สามารถตกลงในข้อพิพาทที่เกิดขึ้น และคู่กรณีนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เพราะคำตัดสินอาจเป็นแบบ Zero-Sum Game คือจะเกิดสภาวะของการ ‘ได้-เสีย’ เกิดขึ้น และผลที่เกิดจากคำตัดสินอาจกลายเป็นปัญหาสืบเนื่องอีกแบบในอนาคต

 

11. ถ้าปีกขวาจัดไทยยังยืนยันที่จะปลุกระดมดังที่ปรากฏกลุ่มการเมืองบางส่วนในรัฐสภาแล้ว พวกเขาควรกลับไปอ่านคำตัดสินศาลโลก 2505 เพื่อจะมีบทเรียนว่าหากเกิดข้อพิพาทขึ้นจริงแล้ว ศาลโลกจะตรวจหลักฐาน/เอกสารทุกอย่าง จนเหมือนเปิด ‘วิชาประวัติศาสตร์เส้นพรมแดนไทย’ อย่างที่เราไม่เคยรู้ข้อมูลมาก่อน (ใครที่มีโอกาสอ่านเอกสารคำตัดสินศาลโลกคดีพระวิหาร 2505 จะเห็นรายละเอียดของข้อมูลในบริบททางประวัติศาสตร์ที่ถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นในศาลแล้ว เราอาจตกใจว่าสังคมไทยไม่เคยรับรู้ข้อมูลเช่นนี้มาก่อนเลย)

 

12. ถ้าคนที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ในปี 2551 ตระหนักถึงความเสียเปรียบอันเป็นผลจากคำตัดสินเดิมในปี 2505 แล้ว ต้องตระหนักว่าการปลุกระดมในปี 2551 คือการพาประเทศไทยไปติดกับดักเดิม และเปิดช่องให้กัมพูชาเป็นฝ่ายนำคดีกลับเข้าสู่ศาลโลกอีกครั้ง เพื่อให้เกิดการตีความคำตัดสิน 2505 ให้มีความชัดเจน ซึ่งไม่น่าจะเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายไทยแต่อย่างใด

 

13. การปลุกระดมเรื่องเส้นเขตแดนทะเลคือ ‘สะพานมัฆวานรังสรรค์ภาค 2’ เพราะเป็นประเด็นเดิมที่เคยถูกนำมาเคลื่อนไหวแล้วในเรื่องของการยกเลิก MOU 2544/2001

 

14. MOU ทั้งฉบับบก (ค.ศ. 2000/พ.ศ. 2543) และฉบับทะเล (ค.ศ. 2001/พ.ศ. 2544) เป็นการกำหนด ‘กรอบของการเจรจา’ หากมีการยกเลิกไปก็จะต้องกำหนดกรอบแบบเดิม เพราะรัฐไม่สามารถเปิดการเจรจาทางการทูตได้โดยปราศจากกรอบการคุยให้มีความชัดเจน

 

15. MOU 2001 เท่ากับกำหนดว่าหากเกิดปัญหาข้อพิพาทขึ้น กัมพูชายอมรับที่จะดำเนินการในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ

 

16. ในขณะเดียวกัน MOU นี้ก็ค้ำประกันสิทธิทางทะเลของไทย มิได้ลดทอนสิทธิและผลประโยชน์ของไทยแต่อย่างใด (ดังปรากฏในสาระของบันทึกฉบับนี้)

 

17. เส้นเขตแดนทางทะเลไม่ปรากฏชัดเท่ากับเส้นเขตแดนทางบก จึงทำให้เกิดความยุ่งยากในการตีความ และภาษาที่ใช้มีความหมายเฉพาะ เช่น ทะเลอาณาเขตจากฝั่ง 12 ไมล์ของไทยอยู่ตรงจุดไหน

 

18. เส้นเขตแดนทางบกไทยทำกับรัฐตะวันตกในยุคอาณานิคม แต่เส้นเขตแดนทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านทำในยุคหลัง อันเป็นผลจากอนุสัญญากฎหมายทะเล 1958/2501 การประชุมนี้มีผู้แทนไทยเป็นประธานคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

 

19. ผลของกฎหมายทะเลทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ที่เรียกว่า ‘เขตไหล่ทวีป’ และทำให้เกิดปัญหา ‘พื้นที่ทับซ้อน’ ทางทะเล ซึ่งคำเหล่านี้เป็น ‘ภาษาทางเทคนิค’ ที่ต้องการการทำความเข้าใจ เนื่องจากมีเงื่อนไขของกฎหมายทะเลกำกับอยู่

 

20. ปัญหาของเส้นเขตแดนทะเลทับซ้อนดับความต้องการของรัฐในการนำทรัพยากรทางทะเลมาใช้ โดยเฉพาะในกรณีทรัพยากรพลังงาน ทำให้เกิดคำถามในทางปฏิบัติคือจะกำหนดเส้นเขตแดนทะเลก่อน หรือใช้ทรัพยากรก่อน หรือจะทำคู่ขนานเพื่อนำเอาทรัพยากรมาใช้ด้วย

 

21. กลุ่มการเมืองปีกขวาจัดเชื่อว่าต้องทำเส้นเขตแดนก่อน เพราะเอาชุดความคิดแบบชาตินิยมเป็นธงนำ ที่ต้องการกำหนด/ปักปันแบบ Maximum Claim คือต้องการได้พื้นที่แบบ Maximum (ถ้าเราได้ฝ่ายเดียว ผู้นำรัฐเพื่อนบ้านจะตอบคำถามกับประชาชนในบ้านของเขาเองอย่างไร ต้องคิดแก้ปัญหาในมิติของการอยู่ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นปัจจัยคู่ขนานด้วย เพื่อไม่ให้เกิดสภาพ ‘The Winner Takes All’ ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศที่ไม่จบ)

 

22. ทางออกในทางปฏิบัติที่ดีที่สุดคือกำหนดพื้นที่การใช้ทรัพยากรด้วยการจัดทำ ‘พื้นที่พัฒนาร่วม’ (Joint Development Area: JDA) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐ หรืออยู่ภายใต้หลักการของการแสวงประโยชน์ร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทเรื่องทรัพยากรในพื้นที่ทับซ้อน

 

23. JDA เป็นทิศทางของการแก้ปัญหาข้อพิพาททางทะเลในโลกสมัยใหม่หรือเป็นทิศทางของการยุติข้อพิพาท และการจัดการทรัพยากรทางทะเลของยุคโลกาภิวัตน์ที่น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และไม่นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐเพื่อนบ้าน

 

24. ไทยประสบความสำเร็จในการทำ JDA กับมาเลเซียมาแล้วในปี 2522 และเป็นตัวอย่างของความสำเร็จที่ดีในการแก้ปัญหาข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (ไม่ใช่สิ่งที่ไทยไม่เคยทำในลักษณะเช่นนี้มาก่อน)

 

25. การจัดทำพื้นที่เช่นนี้ไม่กระทบต่ออธิปไตยของเกาะกูด เพราะเกาะนี้มีความชัดเจนที่อยู่ใต้อธิปไตยของสยาม (การแลกดินแดนตามสนธิสัญญา 1907 และการสร้างกระโจมไฟในยุคปัจจุบัน) ไม่ใช่เป็นประเด็นเช่นที่ฝ่ายขวาเอามาปลุกระดม (ดูคำตอบของนายพลลอน นอล ต่อจอมพลประภาส)

 

26. การเจรจาในการดำเนินการนั้นไม่ได้มีแต่ฝ่ายการเมือง แต่มีฝ่ายต่างๆ อีก 4 ชุดอยู่ร่วมด้วย จึงไม่ใช่ฝ่ายการเมืองสามารถตกลงใจเองได้โดยพลการ ทำให้การแอบแลกผลประโยชน์ไม่อาจเกิดขึ้นโดยฝ่ายเทคนิคไม่รับรู้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นที่มีการปลุกระดมอย่างมาก (คณะอนุกรรมการ 1 ชุด คณะทำงาน 2 ชุด และคณะผู้เชี่ยวชาญ 1 ชุด) และในทางปฏิบัติคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ข้าราชการในส่วนต่างๆ จะยอมตามความต้องการของฝ่ายการเมืองทั้งหมด

 

27. การเจรจาไม่ใช่เกิดในปี 2544/2001 แล้วจบลงด้วยความสำเร็จทันที แต่เป็นการดำเนินการที่สืบเนื่องต่อกันมาตั้งแต่ยุคจอมพลถนอม/จอมพลประภาส

 

28. ไทยประกาศเขตทางทะเลครั้งแรกในรูปแบบของการประกาศเขตให้สัมปทานในอ่าวไทยในปี 2511 และไทยประกาศเขตไหล่ทวีปครั้งแรกในปี 2516 (เวียดนามประกาศ 2514 กัมพูชาประกาศ 2515)

 

29. การเจรจาปัญหาทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เกิดครั้งแรกในปี 2513 ที่กรุงพนมเปญ และอีก 25 ปี เจรจาครั้งที่ 2 ในปี 2538 แต่ไม่เกิดความคืบหน้าจริง

 

30. การเจรจาครั้งที่ 3 ในปี 2544 จึงสามารถตกลงกันได้เป็น MOU 2001/2544 โดยใช้เส้นละติจูดที่ 11 เป็นเส้นหลัก

 

31. MOU 2544/2001 เป็นการหาทางยุติข้อพิพาทในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาเจนีวาเรื่องไหล่ทวีป 1958/2501 แต่รัฐทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่สามารถผลักดันให้เกินไปกว่าระดับนั้นได้

 

32. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ต้องตอบคำถามว่าบันทึกช่วยจำนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศหรือไม่ รักษาผลประโยชน์ของประเทศหรือไม่ หรือละเมิดหลักการในกฎหมายระหว่างประเทศหรือไม่

 

33. การปลุกระดมและสร้างความไขว้เขวในเรื่องเส้นเขตแดนจะดำรงอยู่ต่อไป แม้จะยุติปัญหาข้อพิพาทได้แต่ฝ่ายขวาไทยจะยังคงหยิบเรื่องเส้นเขตแดนมาเป็นประเด็นในการเคลื่อนไหวทางการเมืองเสมอ เพราะเส้นเขตแดนคือจิตวิญญาณของลัทธิชาตินิยมและปลุกระดมได้ง่าย ดังเช่นกรณีเส้นเขตแดนที่พระวิหาร

 

34. การชี้แจงของรัฐบาลและจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นในการสร้างความเข้าใจแก่สาธารณชนไทยที่อาจจะมีข้อสงสัยต่อบันทึกช่วยจำนี้อย่างมาก เพราะประเด็นนี้เริ่มมีการพูดถึงตั้งแต่ยุคนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน แล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่รัฐบาลไม่ได้รับรู้แต่อย่างใด

 

35. การปล่อยให้เกิดประเด็นที่เป็นคำถามของสังคมค้างคาโดยรัฐบาลไม่เร่งรีบในการแก้ไขนั้น อาจจะทำให้รัฐบาลตกเป็น ‘จำเลย’ ในทางการเมือง และต้องตระหนักว่าการชี้แจงที่ช้าและไม่สอดรับกับสถานการณ์จะยิ่งทำให้รัฐบาลเป็นเป้าโจมตีทางการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ตัวอย่างความล่าช้าและไม่กล้าชี้แจงในการตอบข้อสงสัยของสังคมจากกรณีตากใบ เป็นบทเรียนที่สำคัญของรัฐบาลในเรื่องนี้ไม่แตกต่างกัน!

The post การอ้างกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา: ข้อสังเกตในมิติทางรัฐศาสตร์ appeared first on THE STANDARD.

]]>
แอมเนสตี้ชี้ การไล่รื้อที่-ขับไล่ประชาชนในเขตนครวัดละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ https://thestandard.co/evicting-people-in-angkor-wat-area/ Tue, 14 Nov 2023 11:17:00 +0000 https://thestandard.co/?p=865665

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า การไล่รื้อถิ่นที่อยู […]

The post แอมเนสตี้ชี้ การไล่รื้อที่-ขับไล่ประชาชนในเขตนครวัดละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า การไล่รื้อถิ่นที่อยู่อาศัยที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายพันครอบครัวในเขตนครวัด แหล่งมรดกโลกของ UNESCO ที่ตั้งอยู่ในกัมพูชา เป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พร้อมทั้งได้เผยแพร่งานวิจัยฉบับใหม่ซึ่งชี้ให้เห็นถึงวิธีที่ทางการกัมพูชาบังคับให้ผู้คนย้ายถิ่นฐานโดยอ้างถึงการอนุรักษ์ และเรียกร้องให้ UNESCO ประณามการบังคับขับไล่รื้อดังกล่าวที่ดำเนินการในนามขององค์กรตนต่อสาธารณะ 

 

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ทางการกัมพูชาเริ่มขับไล่ผู้คนที่ตามรายงานมีจำนวนถึง 10,000 ครอบครัว ออกจากพื้นที่ศาสนาสถานที่กว้างใหญ่ในเมืองเสียมราฐ โดยอ้างถึงความจำเป็นในการปกป้องสถานที่อายุประมาณพันปีจากความเสียหายที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานะมรดกโลกของนครวัด 

 

งานวิจัยของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้คนมากกว่า 100 คน การลงพื้นที่ด้วยตนเอง 9 ครั้งในพื้นที่บริเวณนครวัด และพื้นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ 2 แห่ง แสดงให้เห็นว่า ทางการกัมพูชา ‘ล้มเหลว’ ในการแจ้งให้ประชาชนได้รับรู้อย่างเพียงพอ รวมถึงขาดการปรึกษาหารืออย่างจริงใจก่อนที่จะมีการไล่รื้อ นอกจากนี้ยังข่มขู่หลายคนไม่ให้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการไล่รื้อครั้งนี้ และให้ย้ายไปยังพื้นที่ซึ่งยังไม่มีทั้งที่พักอาศัยและน้ำที่เพียงพอ รวมถึงขาดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยและการเข้าถึงการดำรงชีพอื่นๆ 

 

มอนต์เซ เฟอร์เรอร์ รักษาการรองผู้อำนวยการภูมิภาคฝ่ายวิจัย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า ทางการกัมพูชาได้ไล่รื้อขับไล่ครอบครัวที่อาศัยอยู่ในนครวัดมาหลายชั่วอายุคนออกไปอย่างโหดร้าย บังคับให้พวกเขาต้องมีชีวิตอย่างแร้นแค้นในพื้นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไม่มีการเตรียมความพร้อมที่ดีพอ ทางการต้องยุติการบังคับไล่รื้อหรือขับไล่ผู้คนซึ่งเป็นการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศโดยทันที 

 

“หาก UNESCO มุ่งมั่นที่จะทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินการทั้งหมด ก็ควรประณามการบังคับไล่รื้อที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการแหล่งมรดกโลก โดยเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาหยุดการกระทำเหล่านั้น และผลักดันให้มีการสอบสวนสาธารณะที่เป็นอิสระ” 

 

แม้ว่าจะทราบดีถึงการไล่รื้อและสภาพพื้นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ แต่ UNESCO ก็ยังไม่ได้ประณามสิ่งที่เกิดขึ้นบริเวณนครวัดต่อสาธารณะ นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่าไม่ได้ดำเนินการสอบสวนสาธารณะเกี่ยวกับข้อค้นพบของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล 

 

รัฐกัมพูชาอ้าง UNESCO เป็นเหตุผลซ้ำแล้วซ้ำเล่าสำหรับโครงการ ‘ย้ายถิ่นฐาน’ โดยมีอย่างน้อย 15 กรณีที่ครอบครัวบอกกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่า ทางการระบุว่า UNESCO คือสาเหตุที่ทำให้ผู้คนต้องย้ายออกจากนครวัด 

 

ผู้นำชุมชนพยายามยื่นคำร้องต่อสำนักงาน UNESCO ในกรุงพนมเปญ โดยเน้นย้ำถึงความไม่พอใจเกี่ยวกับการไล่รื้อ แต่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยว่า UNESCO ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับปัญหาที่ดิน 

 

สืบเนื่องจากสิ่งที่ค้นพบในรายงานที่ UNESCO แจ้งกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลว่าไม่เคยเรียกร้องให้มี ‘การโยกย้ายถิ่นฐานของประชากร’ เมื่อแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวหาว่ามีการไล่รื้อในนามของ UNESCO ศูนย์มรดกโลกของ UNESCO ได้ตอบกลับมาว่า การกระทำของรัฐภาคีไม่ใช่ความรับผิดชอบของ UNESCO “แม้ว่ารัฐสมาชิกจะอ้างความชอบธรรมในการดำเนินการในนามขององค์กรก็ตาม”  

 

แต่ความจริงที่ว่าการบังคับไล่รื้อในปัจจุบันกำลังดำเนินการโดยอ้างการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกของ UNESCO ดังนั้น UNESCO ควรจะต้องมีการตอบสนองที่ชัดเจนและเข้มแข็ง 

 

มอนต์เซยังระบุอีกว่า “หากไม่มีการตอบสนองอย่างจริงจังจาก UNESCO ความพยายามในการอนุรักษ์อาจกลายเป็นอาวุธของรัฐต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ของตนเองเพิ่มมากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านสิทธิมนุษยชนได้” 

 

แฟ้มภาพ: Tang Chhin Sothy / AFP

อ้างอิง:

The post แอมเนสตี้ชี้ การไล่รื้อที่-ขับไล่ประชาชนในเขตนครวัดละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
นานาชาติวอนอดกลั้น หลังรัสเซียยึดเรือรบยูเครนจนเสี่ยงปะทุเป็นสงคราม https://thestandard.co/russian-seizure-of-ukrainian-naval-ships-off-crimea-sparks-alarm/ https://thestandard.co/russian-seizure-of-ukrainian-naval-ships-off-crimea-sparks-alarm/#respond Mon, 26 Nov 2018 06:33:22 +0000 https://thestandard.co/?p=153804

สถานการณ์บนคาบสมุทรไครเมียตึงเครียดขึ้น หลังรัสเซียใช้ก […]

The post นานาชาติวอนอดกลั้น หลังรัสเซียยึดเรือรบยูเครนจนเสี่ยงปะทุเป็นสงคราม appeared first on THE STANDARD.

]]>

สถานการณ์บนคาบสมุทรไครเมียตึงเครียดขึ้น หลังรัสเซียใช้กำลังยึดเรือ 3 ลำของกองทัพเรือยูเครน หลังแล่นผ่านช่องแคบใกล้ดินแดนไครเมีย ขณะที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้เรียกประชุมฉุกเฉินในวันนี้เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์

 

กองทัพเรือยูเครนระบุว่า เรือรบขนาดเล็กของยูเครน 2 ลำ และเรือพ่วงอีก 1 ลำ ได้แล่นผ่านช่องแคบเคิร์ช ซึ่งเป็นทางผ่านสู่ทะเลอะซอฟที่รัสเซียและยูเครนใช้สำหรับเดินเรือ จากนั้นเรือของกองกำลังรักษาชายแดนของรัสเซียได้เข้าปะทะกับเรือโยงของยูเครน และเปิดฉากยิงเข้าใส่เพื่อหยุดเรือทั้งหมด

 

เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทหารยูเครนบาดเจ็บ 6 นาย โดยที่ 2 คนในนั้นบาดเจ็บสาหัส ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศของยูเครนระบุว่าเป็นการกระทำที่ก้าวร้าว และฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ  

 

ขณะที่รัสเซียชี้แจงว่า สาเหตุที่ต้องใช้อาวุธก็เพราะยูเครนอ้างสิทธิ์ในการผ่านเข้าน่านน้ำของรัสเซียอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้นจึงต้องหยุดเรือทั้ง 3 ลำ พร้อมส่งกำลังเข้าตรวจค้นอย่างละเอียด

 

ล่าสุด เปโตร โปโรเชนโก ประธานาธิบดียูเครนได้ขอให้รัฐสภาพิจารณาโหวตบังคับใช้กฎอัยการศึกในยูเครนเป็นเวลา 60 วันตามคำเสนอแนะของคณะรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้กองทัพสามารถเคลื่อนกำลังพลเพื่อรักษาความมั่นคงในประเทศได้

 

ด้านสหภาพยุโรป (EU) ออกแถลงการณ์ว่า เราหวังว่ารัสเซียจะคืนเสรีภาพในการเดินเรือในช่องแคบเคิร์ช พร้อมเรียกร้องให้ทั้งรัสเซียและยูเครนอดกลั้นเพื่อไม่ให้สถานการณ์บานปลายจนกลายเป็นการเผชิญหน้า

 

เช่นเดียวกับองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ที่ขอให้ทุกฝ่ายอดทน พร้อมเรียกร้องให้รัสเซียเปิดช่องทางเดินเรือ เพื่อให้ยูเครนเข้าถึงท่าเรือของพวกเขาในทะเลอะซอฟตามกฎหมายระหว่างประเทศ

 

ขณะที่ นิกกี ฮาเลย์ ทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติเปิดเผยว่า คณะมนตรีความมั่นคงจะประชุมฉุกเฉินในวันนี้ เพื่อยุติข้อพิพาทตามคำร้องขอของรัสเซียและยูเครน

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

The post นานาชาติวอนอดกลั้น หลังรัสเซียยึดเรือรบยูเครนจนเสี่ยงปะทุเป็นสงคราม appeared first on THE STANDARD.

]]>
https://thestandard.co/russian-seizure-of-ukrainian-naval-ships-off-crimea-sparks-alarm/feed/ 0