×

Social Enterprise โมเดลธุรกิจอีกหนึ่ง ‘ทางเลือก’ ที่จะนำไปสู่ ‘ทางรอดที่ยั่งยืน’ ของสังคมไทยในยุคโควิด-19 [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
03.09.2020
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 Mins. Read
  • SE หรือ Social Enterprise คือโมเดลธุรกิจที่มุ่งแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กับการสามารถสร้างผลกำไร เพื่อให้ธุรกิจนั้นสามารถดำเนินกิจการไปได้อย่างยั่งยืน และสร้างผลลัพธ์ทางสังคมอย่างเป็นรูปธรรม
  • บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) องค์กรที่สนับสนุนกิจการเพื่อสังคมมาตลอด 10 ปี ผ่านโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมที่ชื่อว่า ‘พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม หรือ Banpu Champions for Change’ ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และเน้นความยั่งยืนให้กับผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคม
  • เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมเดินหน้าขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคมภายใต้กระแสโลกที่ผันผวน และเป็นแรงผลักดันสร้างพลังใจให้สังคมไทยไปต่อได้อย่างยั่งยืน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) จึงจัดโครงการ ‘UpImpact by Banpu Champions for Change – เติมพลังขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมในยุค Never Normal’ เพื่อเสริมทักษะในการดำเนินธุรกิจ (Upskilling) และติดอาวุธทางธุรกิจให้ SE และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ให้พร้อมรับความท้าทายรอบด้านในยุค Never Normal โดยมีกูรูและผู้มีประสบการณ์มาถ่ายทอดเป็นบทเรียนย่อยง่าย นำไปใช้ได้ทันที 

ในยุคที่คนรุ่นใหม่หันมาใส่ใจปัญหาของสังคมและสิ่งแวดล้อม และการดำเนินธุรกิจไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องการสร้างกำไรเพียงอย่างเดียว แนวการทำธุรกิจแบบ SE (Social Enterprise) หรือกิจการเพื่อสังคม จึงเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจ และเป็นที่สนใจมากขึ้น เพราะ Business Model ของ SE อยู่ภายใต้เป้าหมายที่ว่า กิจการสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมได้ในหลากหลายมิติ และเฉพาะเจาะจงตามประเด็นปัญหาและโอกาสที่ผู้ประกอบการมองเห็น ขณะที่ต้องสร้างผลกำไรได้มากพอที่จะทำให้กิจการเจริญเติบโตต่อไปได้

 

 

ในต่างประเทศ SE ก็เป็นโมเดลธุรกิจที่มีมานาน และเป็นเทรนด์ที่ผู้ประกอบธุรกิจสนใจ หากย้อนดูจุดเริ่มต้น SE ส่วนใหญ่ก็ล้วนเติบโตมาจากเมล็ดพันธุ์เดียวกันคือ มุ่งหวังสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคม แต่สิ่งที่ได้กลับมาควบคู่กันคือความยั่งยืนและการเติบโตของธุรกิจ และความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจของประเทศ เช่น Rags2Riches (R2R) กิจการเพื่อสังคมที่จับมือกับดีไซเนอร์ชื่อดังของฟิลิปปินส์ นำเศษพรมในชุมชนแออัดผนวกกับฝืมือของคนในชุมชนมาผลิต จนกลายมาเป็นแฟชั่นระดับไฮเอนด์ สามารถช่วยผู้หญิงในชุมชนกว่า 900 คน ให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ขยายสาขาไปแล้วถึง 50 สาขา ในหลายประเทศ หรือ READ International คือ SE ที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดโอกาสในการเรียนของเด็กแอฟริกา ด้วยการทำแพลตฟอร์มเพื่อรับบริจาคหนังสือและจำหน่ายในออนไลน์ จนถึงวันนี้ READ International สามารถสร้างห้องสมุดในแอฟริกาได้แล้วมากถึง 55 แห่ง บริจาคหนังสือและขายไปแล้วถึง 1.3 ล้านเล่ม   

 

 

มองกลับมาที่ประเทศไทย รายได้ของกิจการเพื่อสังคมเมื่อเทียบกับ GDP ของประเทศไทย อาจจะดูน้อยนิด แต่สิ่งสำคัญไปกว่านั้นคือ กิจการเพื่อสังคมก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นการกระจายรายได้คืนกลับสู่สังคม หรือการเพิ่มจำนวนการจ้างงานในชุมชน ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เศรษฐกิจไทยกำลังประสบภาวะถดถอยจากสถานการณ์โควิด-19 การดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดยิ่งเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น SE จึงเป็นแนวทางการทำธุรกิจที่มีแววจะกลายมาเป็นธุรกิจ ‘ทางเลือก’ เพื่อจะนำไปสู่ ‘ทางรอดที่ยั่งยืน’ ให้กับคนไทยในช่วงเวลาเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคนเริ่มตื่นตัวกันแล้วว่า ในโลกยุคโควิด-19 ที่อะไรๆ ก็กลับไปเป็นเหมือนเดิมไม่ได้ง่ายๆ อีกแล้ว ‘ความยั่งยืน’ คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ

 

แม้ Social Enterprise จะเป็นโมเดลธุรกิจที่ต้องใช้เงิน ใช้เวลา และใช้ความตั้งใจ อย่างต่อเนื่อง แต่ก็มีหลายองค์กรที่เดินหน้าผลักดันความยั่งยืนนี้ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยตลอดมา บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรเอกชนรายแรกๆ ที่เล็งเห็นความสำคัญของกิจการเพื่อสังคม และให้การสนับสนุนต่อเนื่องมาตลอด 10 ปี ผ่านโครงการ Banpu Champions for Change  

 

จากโครงการ ‘Banpu Champions for Change’ สู่โครงการ ‘UpImpact by Banpu Champions for Change’ ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมในยุค Never Normal  

พันธสัญญาในการดำเนินธุรกิจของบ้านปูฯ ที่ว่า ‘พลังบ้านปู สู่พลังงานที่ยั่งยืน’ สมฤดี ชัยมงคล ซีอีโอ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ยิ่งเราอยู่บนโลกแห่งความไม่แน่นอนแบบ Never Normal บ้านปูฯ ยิ่งเชื่อว่า การสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสังคม       ลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม และดำเนินกิจการอย่างเป็นธรรม จะทำให้เศรษฐกิจและสังคมเติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG (Environment – Social – Governance)”

    

 

DNA แห่งความมุ่งมั่นของบ้านปูฯ และความเชื่อที่ว่า ‘พลังความรู้คือพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา’ สะท้อนให้เห็นผ่านการสนับสนุน SE ในฐานะผู้บ่มเพาะ (Incubator) อย่างจริงจัง บ้านปูฯ จึงพร้อมที่จะส่งต่อพลังนี้ไปยังผู้ประกอบการ SE หรือคนรุ่นใหม่ที่สนใจ ผ่านโครงการ UpImpact by Banpu Champions for Change เติมพลังขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมในยุค Never Normal เพื่อเสริมทักษะในการดำเนินธุรกิจ (Upskilling) ให้ผู้ประกอบการ SE พร้อมรับความท้าทายและความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามาอย่างรวดเร็ว เป็นแนวคิดที่เหมาะเจาะลงตัวกับการทำธุรกิจในยุคที่ธุรกิจ SE กำลังทวีบทบาทสำคัญมากขึ้นในแง่ของการเพิ่มมูลค่าของสินค้าพื้นถิ่น การสร้างงานในชุมชน รวมถึงการสร้างผลกระทบเชิงบวกแก่สังคมมวลรวม เน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการ ชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   

 

จากประสบการณ์บทเรียนกว่า 10 ปี ในการขับเคลื่อนกิจการเพื่อสังคมผ่านโครงการ Banpu Champions for Change ของบ้านปูฯ และ ChangeFusion องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรภายใต้มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ต่างมุ่งมั่นเสริมสร้างระบบนิเวศของกิจการเพื่อสังคมในไทยให้สมบูรณ์ ครั้งนี้นานาความรู้ เคล็ดลับ และประสบการณ์ จะถูกจับมาถ่ายทอดเพื่อสร้างทักษะใหม่ที่ผู้ประกอบการ SE ในยุค New Normal จำเป็นต้องมี บุคคลทั่วไปที่สนใจแนวทางการทำธุรกิจ SE ก็สามารถเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ (Webinar) ในโครงการ UpImpact by Banpu Champions for Change ได้เช่นกัน   

 

 

มีอะไรน่าสนใจในบทเรียนพร้อมเสิร์ฟและย่อยง่าย สำหรับผู้ประกอบการ SE และบุคคลทั่วไปที่สนใจ

Session 1

  • SE จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทยในยุค Never Normal ได้อย่างไร
  • ไขข้อข้องใจทุกประการ อาทิ เทรนด์ SE ในโลกยุค Never Normal เป็นเช่นไร
  • มีอะไรอีกบ้างที่จะช่วยให้ธุรกิจ SE สร้างกำไรและความยั่งยืนไปพร้อมกัน
  • คิดแบบไหนที่จะทำให้ธุรกิจรอดในโลกที่มีความท้าทายใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

หาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจในหัวข้อ ‘จุดประกายการทำธุรกิจเพื่อทางรอดที่ยั่งยืน’ ร่วมเสวนาโดย  

 

  • ม.ล.ดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ดร.เอกก์ ภทรธนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการตลาด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ที่มีชื่อเสียง, ผู้แต่งหนังสือ อัจฉริยะการตลาด และเจ้าของเพจ ‘อัจฉริยะการตลาด’
  • คุณธิษณา ธิติศักดิ์สกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Noburo FinTech Startup ที่ให้บริการสินเชื่อแก่พนักงานบริษัท 

 

Session 2

  • จะลงมือทำธุรกิจ SE ให้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร? 
  • อุปสรรคหน้าตาเป็นแบบไหน 
  • ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเขาทำอะไรกัน 

 

ค้นหาคำตอบได้ในหัวข้อ ‘เปลี่ยนเพื่อสู้ ปรับเพื่อรอด ต่อยอด SE’ จากประสบการณ์ตรงของผู้ประกอบการธุรกิจ SE ที่จะมาแชร์ทุกเรื่องพร้อม How to ที่ปรับใช้ได้จริง โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องฝ่าวิกฤตโควิด-19 ร่วมเสวนาโดย

 

  • คุณสมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้ง Local Alike ธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน 
  • คุณอมรพล หุวะนันทน์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Moreloop สตาร์ทอัพรับซื้อผ้าสต๊อกด้วยแพลตฟอร์มที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
  • คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ ผู้ร่วมก่อตั้ง Locall เดลิเวอรีช่วยร้านชุมชนประตูผีที่เข้าไม่ถึงแอปฯ ให้มีรายได้ 

 

มาร่วมเติมพลังขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมในยุค Never Normal ด้วยกันในโครงการ UpImpact by Banpu Champions for Change ในวันที่ 10 กันยายน 2563 เวลา 14.00-16.00 น. ณ Glowfish Sathorn อาคารสาธรธานี 2 เชื่อมต่อรถไฟฟ้า BTS สถานีช่องนนทรี ทางออกที่ 2

 

ลงทะเบียนร่วมงานได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/UpImpact-by-Banpu-Champions-for-Change  

 

ย้ำอีกครั้ง งานนี้เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมได้ (*จำกัดให้บุคคลทั่วไปเข้าร่วมงานในสถานที่ได้เพียง 50 คน ผ่านการลงทะเบียนแบบ First Come First Serve) หรือเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ (Webinar) ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทาง Facebook: Banpu Champions for Change หรือทาง Zoom Meeting 

 

สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/banpuchampions/

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising