Wisdom – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Fri, 13 Jul 2018 13:21:51 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 พอลลีน งามพริ้ง กับเรื่องฟุตบอลที่ไม่ได้หายไปตามการข้ามเพศ https://thestandard.co/podcast/randomwisdom10/ Fri, 13 Jul 2018 11:07:56 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=107039

พอลลีน งามพริ้ง หรือในอดีตคือ พินิจ งามพริ้ง ผู้ก่อตั้ง […]

The post พอลลีน งามพริ้ง กับเรื่องฟุตบอลที่ไม่ได้หายไปตามการข้ามเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>

พอลลีน งามพริ้ง หรือในอดีตคือ พินิจ งามพริ้ง ผู้ก่อตั้งกลุ่มเชียร์ไทย ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญให้กระแสฟุตบอลไทยคึกคักขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 

หลังจากเลือกเส้นทางชีวิตใหม่ด้วยการข้ามเพศ เรื่องฟุตบอลยังหลงเหลืออยู่ในชีวิตเธอแค่ไหน เธอยังอินกับฟุตบอลไทยอยู่หรือไม่ และฟุตบอลให้อะไรกับเธอมาจนถึงวันนี้

 


 

ฟุตบอลเข้ามาในชีวิตตั้งแต่เมื่อไร

ตั้งแต่ฟุตบอลโลก ปี 1978 จำได้ว่านักฟุตบอลคนแรกที่เห็นคือ เซปป์ ไมเออร์ ผู้รักษาประตูทีมชาติเยอรมนี ประทับใจในสีสันสวยงามของเสื้อฟุตบอลสีฟ้า เราเองเป็นคนชอบสีฟ้าด้วยโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ตอนนั้นเลยชื่นชอบฟุตบอลและฝึกเล่นมาตั้งแต่อายุ 11 ปี

 

เป็นนักฟุตบอลจริงจังเลยไหม

เริ่มแรกเราเล่นให้ทีมโรงเรียน ตอนอยู่โรงเรียนหอวังก็ได้แชมป์กรมพลศึกษา ม.ปลาย ย้ายไปอยู่โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรีก็เป็นแชมป์โค้กคัพ แต่เราไม่ได้เล่นเลย แต่ตอนอยู่สุรศักดิ์มนตรีก็ได้ไปคัดตัวกับทีมธํารงไทยสโมสร เป็นทีมใหญ่ที่แข่งไทยซอคเกอร์ลีก คล้ายๆ กับไทยลีกในปัจจุบัน พอไปคัดตัวก็ติด ซึ่งเราเด็กที่สุดในทีม แต่หนึ่งฤดูกาลก็ได้เป็นแค่ตัวสำรอง พออายุ 17 ปีก็เลิกเล่นเลย อยู่ๆ อารมณ์หญิงก็โผล่ขึ้นมา อยากทำตัวสำอาง แต่ฟุตบอลก็ยังฝังอยู่ หลังจากนั้นก็ทำมันเป็นงานอดิเรก

 

การทำเชียร์ไทย

หลังจากเข้ามหาวิทยาลัยแล้วจบออกมาทำงานทำการแล้ว เราก็มีประสบการณ์พอสมควร ได้รับการยอมรับในที่ทำงาน เลยแอบเข้ามาเชียร์บอลเป็นเรื่องเป็นราว ตอนนั้นเจลีกกำลังเริ่ม เราไปญี่ปุ่นก็ได้สัมภาษณ์ประธานเจลีก ไปดูกองเชียร์ของทีมอุลตร้า นิปปอน และสโมสรต่างๆ ในเจลีก ไปคุยกับหัวหน้าของเขา เราก็ถามว่าทำไมเชียร์พร้อมกันจังเลย เขาก็อธิบายว่าคนญี่ปุ่นเป็นคนขี้อายเหมือนคนไทย จะให้ตะโกนร้องเพลงโดยที่ไม่มีกลองแบบคนยุโรปคงไม่ได้ ต้องมีจังหวะนำ นำเสร็จก็ต้องมีกรุ๊ปลีดเดอร์ คือมีหลายๆ คนที่คอยเป็นต้นเสียง เราก็เลยคิดว่าน่าจะเอามาปรับให้เป็นของไทยเรา ใช้วิธีการเดียวกัน เพราะว่าพื้นฐานคนคล้ายๆ กัน ก็เริ่มก่อตั้งโดยที่ไม่ได้มีอะไรมากมาย เดินเข้าไปในสนามด้วยตัวเอง ทำเว็บไซต์ชื่อว่า cheerthai.com เพื่อเป็นศูนย์รวม เข้าไปที่สนาม เราก็ดึงคนเข้ามาที่เว็บไซต์แล้วก็ดึงเข้าสนาม วันเสาร์-อาทิตย์ก็เตะฟุตบอลเพื่อให้รู้จักหน้าตากัน เวลามีแข่งฟุตบอลจะได้ไม่เขิน ก็เริ่มทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จากตัวเรา จาก 2 คนเป็น 4 คน พอคนเห็นแล้วเขาชอบ เขาก็เข้ามาร่วม

 

ชีวิตหลังข้ามเพศในวงการฟุตบอล

ภาพที่เราเห็นกับตาก็ดี เวลาที่ไปอยู่ตรงไหนในวงการฟุตบอล ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มกองเชียร์ หรือว่าไปเจอผู้บริหารสมาคมเก่าๆ ก็รู้สึกว่ามีการยอมรับที่ดี เพียงแต่ว่าความเข้าใจอาจจะไม่ได้เข้าใจมาก เพราะว่าฟุตบอลเป็นวงการของผู้ชายที่โคตรจะแมน คือไม่แมน แต่ก็พยายามทำตัวให้แมนเพื่อที่จะเบ่งกล้ามกับคนอื่น นี่คือสิ่งที่พอลลีนสัมผัสในฐานะผู้หญิงข้ามเพศในคราบผู้ชาย แต่พอเราเข้าไปเขาก็ให้เกียรติ เพียงแต่เขาจะเข้าใจแค่ไหน ผู้หญิงข้ามเพศคืออะไร เป็นกะเทยหรือว่าเหมือนกับเกย์ไหม เราก็เข้าไปแบบนิ่มๆ ไม่ได้บู๊เหมือนเมื่อก่อน

 

หลังจากข้ามเพศแล้วความชื่นชอบฟุตบอลลดลงไหม

ไม่ลด แต่เรามองเห็นในบางแง่มุมมากขึ้น เช่น การที่ผู้หญิงเข้าไปดูบอล คือสนามฟุตบอลมันไม่ได้ติดแอร์เหมือนคอนเสิร์ต ถึงแม้จะแข่งตอนเย็นๆ ค่ำๆ แต่ว่าออกมาตัวเหนียวทุกคน เราเข้าไปก็รู้สึกว่าเมื่อก่อนเราทำได้ยังไง เดี๋ยวนี้มีเมกอัพ พอเหงื่อออกก็ไม่ค่อยสบายตัว เราได้สัมผัสฟุตบอลในแง่มุมที่แปลกออกไป เราเข้าใจในมุมมองของผู้หญิง บางทีผู้หญิงตามแฟนเข้าไปดู ความชอบของผู้หญิงจะไม่เหมือนผู้ชาย ผู้หญิงจะชอบแบบชื่นชม แต่ไม่ได้หมายความว่าผู้หญิงทุกคนอยากเป็นแฟนนักฟุตบอล

 

ความชอบฟุตบอลของเรายังอยู่ แต่ถ้าต้องไปแบกกลองอะไรเยอะแยะ เราคงเลือกที่จะสวยๆ ดีกว่า แต่บางทีก็อดไม่ได้ เราเห็นอุปกรณ์วางอยู่ ไม่ได้ขนสักที ฟุตบอลเลิก 4-5 ทุ่มก็ต้องช่วยเขาอยู่ดี พอเราไปขน ทุกคนก็จะมาช่วยกัน ด้วยความเป็นผู้นำในแบบของคุณพินิจ จะลงมือทำเองให้เห็นก่อน แล้วทุกคนก็จะมาช่วยกัน มันอดไม่ได้จริงๆ ทั้งที่เราควรอยู่สวยๆ (หัวเราะ)

พอลลีนกับฟุตบอลไทย

เมื่อก่อนชอบดูมาก แต่พอมาทำเชียร์ไทยมันกลายเป็นภารกิจ เราอยากให้มีกองเชียร์ เวลาถ่ายทอดสดออกมาจะได้มีเสียงคนดู คนจะอยากเข้ามาดู สปอนเซอร์ก็จะได้เข้ามาสนับสนุนฟุตบอล ฟุตบอลไทยจะได้มีเงินและมีการพัฒนาเป็นฟุตบอลอาชีพ และจะไปฟุตบอลโลกหรืออะไรก็แล้วแต่ สำคัญตรงจุดที่ว่าจะต้องมีคนดูก่อน พอเชียร์ไทยเริ่มก่อตั้งมาได้ 3-4 ปีก็ผยองมาก ไปไล่นายกสมาคมคนเก่าออก และหลังจากนั้นเป็นภารกิจที่ต้องทำ

เวลาเข้าสนาม จะบอกว่าเราไม่ใช่จิ๊กโก๋ปากซอยรวมพลมาเชียร์บอล การพูดในสนามฟุตบอลจะต้องมียุทธวิธีที่ไม่ให้มันมากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ไม่กระตุ้นจนคนรู้สึกหวาดกลัว หรือไม่สบายๆ จนกระทั่งไม่มีเสียงเชียร์ เราต้องทำให้มันอยู่ตรงกลาง

อยากเปลี่ยนแปลงอะไรในวงการฟุตบอลบ้างไหม

ตั้งแต่วันแรกของเชียร์ไทยจนมาถึงวันที่ออกไป เป็นประธานอยู่ 14 ปี มันก็เปลี่ยนมาแล้วในกระบวนการที่พินิจ งามพริ้ง เขาทำไว้ เมื่อมองไปมันก็เกินเป้าที่ตัวเองตั้งไว้แล้ว ในชีวิตคนมันคงทำอะไรได้ไม่เยอะหรอก สำคัญคือเราปูพื้นฐานให้คนรุ่นต่อไปมาทำได้มากแค่ไหน สิ่งใดจะสำเร็จ มันจะต้องมีหลายเจเนอเรชัน แล้วอะไรคือความสำเร็จ สมมติไปฟุตบอลโลก คนอาจจะดีใจแล้วก็หอบประตูกลับบ้าน มันเป็นเรื่องของความเป็นชาติของเรา ความพยายามของคนในชาติร่วมกัน ฟุตบอลมันยากตรงที่ว่ามันใช้ความพยายามเยอะ มันไม่ใช่แค่คนคนเดียว นอกจาก 11 คนแล้วยังมีตัวสำรองอีกเป็น 20-30 คน แล้วก็มีโค้ช สตาฟฟ์โค้ช มีแพทย์ประจำทีม มีนักจิตวิทยา มีคนบริหาร มีคนจ่ายเงิน มีคนดู มีคนเอาไปทำการตลาด มันใช้ความพยายามเยอะ ถ้าทำสำเร็จได้ มันคือความสำเร็จของคนทั้งชาติ มันคือการพัฒนาในวงการที่จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น สังคมก็จะดีขึ้น จะไปฟุตบอลโลกมันต้องมีความพร้อมทุกอย่าง ไม่มีคำว่าฟลุก ยกตัวอย่าง ซาอุดีอาระเบียเข้าฟุตบอลโลกไปหลายครั้งก็ยังหอบประตูกลับบ้านทุกครั้ง เพราะฉะนั้นทำใจไว้สำหรับทีมที่ไปแรกๆ ได้เสมอนัดหนึ่งก็ยิ่งใหญ่แล้ว หรือชนะขึ้นมาก็ต้องฉลองแล้ว แต่ประเด็นก็คือถ้าเราแพ้วันนี้แล้วเราพยายามต่อไปมากน้อยแค่ไหน นั่นคือสิ่งที่เราคิดว่าเป็นหัวใจมากกว่าสำหรับการพยายามทำในเรื่องฟุตบอล

 

บอลไทยจะมีโอกาสไปบอลโลกไหม

มี แต่อย่าถามว่าเมื่อไร มันเป็นเรื่องที่คนเอามาเล่นเป็นโจ๊กกันเยอะ เป็นเรื่องที่ขำและก็ไม่ขำ เราได้ยินมาเยอะตั้งแต่เด็กๆ แล้ว บอลไทยไม่ต้องไปดูมันหรอก ยังไงก็แพ้ กระจอก มันมีแต่เส้นสาย แล้วมันจริงไหม จริง แล้วมันถาวรไหม มันไม่ถาวร ถ้าคุณจะเปลี่ยนคุณก็เปลี่ยนได้ หรือคุณทำอะไรบ้างนิดหน่อยหรือเปล่า เข้าสนามไปเชียร์ไหม หรือเปิดทีวีให้กำลังใจเขาบ้างหรือยัง ซื้อเสื้อทีมชาติมาใส่บ้างหรือยัง จะทำอะไรก็แล้วแต่ เราจะชอบวิพากษ์วิจารณ์โดยที่ตัวเองก็อยู่เฉยๆ เป็นผู้ดู เราว่าคนพวกนี้ไม่มีสิทธิ์วิจารณ์ คนที่มีสิทธิ์วิจารณ์คือคนที่เขาทำแล้วก็บอกว่ามันน่าจะเป็นแบบนั้นแบบนี้ อันนี้คือสร้างสรรค์

ฟุตบอลสอนอะไร

ต้องย้อนกลับไปเรื่องข้ามเพศ ตอนเป็นพินิจมันยากมาก เพราะเราเกิดมามีจิตใจเป็นผู้หญิง แต่เราต้องพยายามที่จะเป็นผู้ชาย และฟุตบอลก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามีความมั่นใจในฐานะผู้ชาย เราเตะฟุตบอลได้ เราทำเรื่องนี้ได้ สิ่งที่พอลลีนได้จากฟุตบอลมันถูกใช้ไปกับพินิจแล้ว พินิจได้พิสูจน์ตัวเองในวงการฟุตบอลแล้ว

ฟุตบอลสอนเราในเรื่องความพยายาม การเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จ ไม่ใช่แค่ผู้ที่ชื่นชมความสำเร็จ

กว่าที่ทีมทีมหนึ่งจะได้ชัยชนะ เส้นทางมันมากกว่านั้น มันเคยแพ้มาก่อนทุกทีมแล้วถึงจะชนะ ทุกคนต้องเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนั้นในทีม ถ้าคนใดคนหนึ่งท้อ มันก็ต้องมีอีกคนไปหยิบเขาขึ้นมา ถ้าเรามองตรงนี้มันก็เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตของเราด้วย ทำอย่างไรเราจะไปถึงจุดสุดยอดของวิชาชีพที่เราทำ ทำอย่างไรเราถึงจะเข้ารอบบอลโลกในตัวของเราเองได้

 


 

Credits

 

Intro Voice-over จริยา มุ่งวัฒนา

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค, เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer กษิดิ์เดช ทัยธิษา

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post พอลลีน งามพริ้ง กับเรื่องฟุตบอลที่ไม่ได้หายไปตามการข้ามเพศ appeared first on THE STANDARD.

]]>
โค้ชง้วน-สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ “ลูกกลมๆ ในโลกฟุตบอลกำลังไปในทางที่แน่นอนขึ้น” https://thestandard.co/podcast/randomwisdom09/ Thu, 12 Jul 2018 11:54:20 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=106828

โค้ชง้วน-สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ ตำนานกองกลางทีมชาติไทยในยุ […]

The post โค้ชง้วน-สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ “ลูกกลมๆ ในโลกฟุตบอลกำลังไปในทางที่แน่นอนขึ้น” appeared first on THE STANDARD.

]]>

โค้ชง้วน-สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ ตำนานกองกลางทีมชาติไทยในยุคดรีมทีม ยุคเดียวกับ ซิโก้-เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน และธชตวัน ศรีปาน

 

หลังจากแขวนสตั๊ดแล้วผันตัวเองมาเป็นโค้ช เขาก็แสดงฝีมือจนได้ร่วมงานกับสโมสรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเขาคือผู้อำนวยการสโมสรฟุตบอลบางกอกกล๊าสที่ดูแลภาพใหญ่ทั้งเรื่องโค้ช สัญญานักเตะ และอะคาเดมี

 

หัวใจในการคุมทีมฟุตบอลคืออะไร เขาอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรในวงการฟุตบอล และคำว่า ‘ลูกกลมๆ อะไรก็เกิดขึ้นได้’ ยังเป็นเรื่องจริงอยู่ไหมในมุมมองของโค้ชง้วน


เป็นนักเตะมาก่อนแล้วมาเป็นโค้ช ถือว่าได้เปรียบไหม

จะรู้ว่านักกีฬาต้องเป็นอย่างไร บุคลิกภาพที่ดี ความเป็นอยู่ทั้งในและนอกสนาม แล้วก็การสื่อสารระหว่างการเป็นผู้เล่นกับโค้ช แต่มันก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ อย่างสมัยผมเองจะต้องเรียนหนังสือเป็นหลักก่อน เพราะว่าสมัยก่อนมันไม่มีกีฬาอาชีพ การปฏิบัติตัว เราจะเชื่อฟังโค้ชและสนิทสนมกับเพื่อนร่วมทีมมากกว่าปัจจุบัน เพราะว่าไม่มีเรื่องเงินทองมาเกี่ยวข้อง เราเล่นกีฬาเพื่อความสนุกสนาน แต่นักกีฬาปัจจุบันเป็นนักกีฬาอาชีพมากขึ้น ก็อาจจะมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น มีครอบครัวเร็วขึ้น ความคิดความอ่าน การเรียนรู้อะไรต่างๆ ได้เร็วขึ้น มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มีความมั่นใจสูง มันก็ปกครองยากหน่อย

ฟุตบอลจริงๆ มันเป็นเรื่องของการฝึกซ้อม การทำซ้ำๆ ความเข้าใจในเพื่อนร่วมทีม ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมทีมกับโค้ช ถ้ามันดีแล้ว การฝึกซ้อม การทำงานในทีม การแข่งขัน หรือทำอะไรก็จะสำเร็จได้ง่ายขึ้น

คนเป็นโค้ชต้องฝึกฝนอย่างไร

ถ้าเรื่องฟุตบอลหลักๆ เลยคือการ Coaching มี Pro Licence มีเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาที่ต้องพูดคุย บริหารจัดการคน ดูแลสตาฟฟ์ ดูแลผู้เล่นทั้งเรื่องร่างกายและพละกำลัง ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้เราจะคุยกับคนในทีมไม่รู้เรื่อง อย่างตัวนักกีฬา เราต้องรู้ว่าเขาชอบอะไร ไม่ชอบอะไร ชอบฝึกหนักหรือไม่หนัก ต้องเสริมเติมแต่งตรงไหน ส่วนที่เขาดีแล้ว ทำอย่างไรให้มันดีขึ้น ส่วนที่ไม่ดีก็ต้องปรับปรุง แก้ไขสไตล์การเล่นให้เข้ากับทีมมากที่สุด เราต้องมีปรัชญา มีเป้าหมายในการสร้างทีมว่าเราต้องเล่นระบบแบบไหน ตัวนักกีฬาที่มีเป็นแบบไหน แล้วเราต้องใส่ให้เขาแบบไหน ทั้งหมดเป็นสิ่งที่เราต้องมอง    

 

หัวใจของการเป็นโค้ช

ทำให้การฝึกซ้อมสนุก นักกีฬาเข้าใจง่าย เหมือนครูสอนนักเรียน ถ้าฟังแล้วมันเครียดเกินไปก็ไม่สนุก ต้องมีลูกล่อลูกชนบ้าง อันไหนที่เบื่อแล้วเราก็ไม่ทำ บางทีก็หยุดไปเลย ต้องทำสิ่งใหม่ๆ ให้นักกีฬาชอบ ในช่วงที่เรากำลังฝึกซ้อมอยู่เพื่อให้เขาซึมซับได้เร็ว ตรงนี้คือเป้าหมายหลัก

 

ทีมฟุตบอลไม่มีโค้ชได้ไหม มีแค่กัปตันทีมพอไหม

ถ้าเป็นฟุตบอลระดับ อบจ. อบต. พอได้ แต่ฟุตบอลในระดับหากินต้องมีผู้นำ ทีมฟุตบอลที่มีเป้าหมายที่สูงๆ ต้องมีโค้ช มีทีมงาน อย่างที่เขาเรียกกันว่า Team Behind the Team ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ

 

มันแฟร์จริงไหมที่เวลาบอลแพ้แล้วคนเอาแต่โทษโค้ช

มันเป็นสิทธิ์ของคน อาจจะบ่นว่าโค้ชคนนี้ไม่ดี คนนั้นไม่เก่ง ตราบใดที่คนดูซื้อตั๋วเข้ามาดู ผมไม่แคร์ แต่ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งคือฟุตบอลมันเป็นศาสตร์ มันไม่สามารถทำให้ใครดูแล้วบอกว่าไอ้นี่มันเก่ง มันไม่เก่ง ผมอยากถามว่าให้โค้ชระดับโลกไปคุมทีมต่ำๆ ดู แล้วจะรู้ว่าฟีลลิ่งนี้คือมึงทำได้รึเปล่า ถ้าทำทีมล่างๆ แล้วได้แชมป์ ผมยอมรับ

ทีมเวิร์กคือสิ่งสำคัญที่สุดไหมในการได้ชัยชนะ

ตัวนักกีฬาต้องมีทักษะที่ดีก่อน มีความกระหาย มีความมุ่งมั่น แล้วทีมเวิร์กก็จะตามมา เมื่อไรที่นักกีฬารวมตัวกันได้ เล่นกันด้วยจังหวะเดียวกัน มีหัวจิตหัวใจที่สู้พร้อมกัน เข้าใจในระบบการเล่น มีความสามัคคีในทีม มันจะมีพลังแฝงให้ได้รับชัยชนะ

 

ทีมฟุตบอลที่ชอบ

ผมไม่มีทีมที่โปรดมาก แต่ดูการทำทีมมากกว่า อย่างในพรีเมียร์ลีกก็จะดูอาร์เซนอล ดูสไตล์การทำทีมของอาร์เซน เวนเกอร์ เป็นทีมที่มีแมวมองเก่ง สามารถปั้นเด็กขึ้นมาเล่น ทำให้ทีมประสบความสำเร็จได้โดยใช้งบประมาณไม่มาก ตรงนั้นเป็นสิ่งที่เรามองเป็นหลักและเป็นต้นแบบมาตลอด แล้วก็อาจจะไม่ได้เก่งมากมายนัก แต่ว่าเกือบจะมีแชมป์บอลถ้วยติดมาทุกปี

 

อยากเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงในวงการฟุตบอล

อยากเห็นการทำงานที่เป็นระบบมากกว่านี้ในสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันในสมาคม อยากให้สมาคมเป็นคนกลางจริงๆ ที่จะประสานงานได้กับทุกทีม ไม่มีความขัดแย้ง มีการวางแผนระยะยาวที่ชัดเจน แล้วก็ทำงานอย่างมืออาชีพ ถ้าตรงนี้ทำได้ มันก็จะทำให้ฟุตบอลบ้านเราเจริญและเดินไปตามแนวทางได้อย่างถูกต้อง

 

ทุกวันนี้ฟุตบอลเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ในชีวิต

ก็อยู่มาทั้งชีวิต อาจจะอยู่ในบทบาทนักกีฬามาก่อน เป็นโค้ชมาก่อน ตอนนี้เป็นผู้บริหารก็ต้องมองอีกมุมหนึ่งที่เราจะทำอะไรให้สโมสรมีความเจริญก้าวหน้า มีระบบการทำงานที่ยั่งยืน แล้วก็มีทีมที่มั่นคง เล่นดี สวยงาม

  

คิดว่าอีก 10 ปีข้างหน้าจะยังอยู่กับฟุตบอลอยู่ไหม

คงไม่ไปไหน แต่มันจะเปลี่ยนแปลงไปรูปแบบไหนก็อยู่ที่เทรนด์ของฟุตบอล ตอนนี้มันก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ทุก 4 ปีตามเวิลด์คัพ ก็จะมีอะไรใหม่ๆ เข้ามา จะเห็นเลยว่าทีมในปัจจุบันก็จะมีอะไรใหม่ๆ เข้ามา ทำให้ฟุตบอลมันดูสนุกขึ้น มีความถูกต้องใสสะอาดมากขึ้น

คำว่า ‘ลูกกลมๆ อะไรก็เกิดขึ้นได้’ เริ่มไม่จริงแล้ว มันกลมจริงๆ แต่มันเริ่มแน่นอนขึ้น เพราะว่าสนามดีขึ้น สิ่งอำนวยความสะดวกในสนามก็ดีขึ้น มีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ เข้ามาทำให้ฟุตบอลที่เป็นลูกกลมๆ ไปในทิศทางที่แน่นอนมากขึ้น


 

Credits

 

Intro Voice-over จักรพงษ์ เมษพันธุ์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค, เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post โค้ชง้วน-สุรชัย จตุรภัทรพงศ์ “ลูกกลมๆ ในโลกฟุตบอลกำลังไปในทางที่แน่นอนขึ้น” appeared first on THE STANDARD.

]]>
สารัช อยู่เย็น นักฟุตบอลที่ผ่านมาแล้วทั้งช่วงรุ่ง เหลิง และเริ่มใหม่ https://thestandard.co/podcast/randomwisdom08/ Tue, 10 Jul 2018 17:01:48 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=105880

ตัง-สารัช อยู่เย็น นักฟุตบอลทีมชาติไทย วัย 26 ปี ที่ติด […]

The post สารัช อยู่เย็น นักฟุตบอลที่ผ่านมาแล้วทั้งช่วงรุ่ง เหลิง และเริ่มใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>

ตัง-สารัช อยู่เย็น นักฟุตบอลทีมชาติไทย วัย 26 ปี ที่ติดทีมชาติชุดเยาวชนมาตั้งแต่เด็ก หลายคนอาจจะคุ้นหน้าค่าตาเขาจากบทบาทพระเอกมิวสิกวิดีโอ เชือกวิเศษ ของวงลาบานูน แน่นอน เขาเป็นนักฟุตบอลที่หน้าตาดี แต่ผลงานในสนามก็ดีไม่แพ้กัน เขาเป็นส่วนหนึ่งที่เคยพาทีมชาติทำผลงานได้ดีมาแล้วในหลายรายการ และปัจจุบันยังเป็นกำลังสำคัญให้กับสโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

 

การเป็นนักฟุตบอลอาชีพของสารัชเริ่มตั้งแต่เมื่อไร เส้นทางนี้ต้องพิสูจน์ตัวเองแค่ไหน และเขาผ่านช่วงบาดเจ็บครั้งใหญ่ก่อนกลับคืนสู่สนามได้อย่างไร

 

กดปุ่ม Play ด้านบนเพื่อฟังพอดแคสต์ Random Wisdom ซีรีส์พิเศษ Soccer Wisdom แต่ถ้าถนัดอ่านก็ไล่สายตาเพื่อเสพบทความด้านล่างได้เลย

 


 

 

เริ่มเตะฟุตบอลตั้งแต่ตอนไหน

เริ่มแรกดูจากคุณพ่อก่อน เพราะว่าคุณพ่อเป็นคนที่ชอบเล่นฟุตบอลอยู่แล้ว เราก็ติดตามเขาไปเรื่อยๆ ไปตามสนามที่เขาแข่ง เรารู้สึกว่ามันน่าจะสนุก หลังจากนั้นเราก็เริ่มเล่นมาตั้งแต่ 7 ขวบ

 

เมื่อไรที่รู้สึกว่าจะเล่นฟุตบอลเป็นอาชีพ

เริ่มจากเล่นฟุตบอลโรงเรียนมาก่อน พอช่วง ม.ปลาย เรามาอยู่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี ตอนนั้นฟุตบอลอาชีพกำลังบูมในประเทศไทย ฟุตบอลโรงเรียนจะแข่งขันกันมากเพื่อที่จะเป็นนักฟุตบอลอาชีพ

 

นัดแรกของการเป็นนักฟุตบอลอาชีพและนัดแรกในนามทีมชาติไทย

ผมจำความรู้สึกนั้นได้ ตื่นเต้นมาก เพราะผมเล่นแต่ฟุตบอลโรงเรียน พอมาเล่นฟุตบอลอาชีพ บรรยากาศจะแตกต่างกัน คนดูค่อนข้างเยอะ ส่วนนัดแรกในทีมชาติไทยไม่ตื่นเต้นเท่า เพราะเราปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมหรือคนที่เข้ามาดูได้หมดแล้ว แต่เป็นความกดดันมากกว่า เพราะทุกคนจับจ้องมาที่เรา เราคือตัวแทนของประเทศ เราต้องทำหน้าที่ตรงนี้ให้สมบูรณ์แบบที่สุด

 

แมตช์ในความทรงจำ

นัดชิง ซูซูกิ คัพ ที่เราไปเยือนมาเลเซีย คือเราไม่ได้แชมป์มา 12 ปีแล้ว ก่อนเริ่มทัวร์นาเมนต์ก็มีคนที่ดูถูกและสบประมาทเราค่อนข้างเยอะว่าจะไม่ได้แชมป์อีกครั้งหนึ่ง สุดท้ายสถานการณ์ก็เกือบจะเป็นแบบนั้น แต่พอทุกคนรวมใจกลับมาอีกครั้ง เราก็คว้าแชมป์ในรอบ 12 ปีได้

มีคนวิจารณ์เราเยอะ เราก็ต้องซ้อมให้มากขึ้น ทำงานในแต่ละวันให้หนักขึ้น และสุดท้ายผลงานในสนามจะตอบทุกคำวิจารณ์เอง

 

เสน่ห์ของฟุตบอล

ผมมองว่าเป็นการใช้สมอง พละกำลัง และร่างกายของแต่ละคน สมัยนี้ฟุตบอลเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง เพราะว่าฟุตบอลมีระบบเข้ามาแทรกด้วย สังเกตว่าจะพัฒนาไปเรื่อยๆ จะไม่ตายตัว คือฟุตบอลโลกปีนี้ เราดูอย่างทีมสเปนเล่นบอลเท้าสู่เท้า ก็เริ่มพัฒนามาในแต่ละปี

 

ฝึกซ้อมหนักแค่ไหน

ถ้าเป็นช่วงก่อนเปิดซีซันจะเป็นช่วงที่หนัก จะใส่เรื่องพละกำลังหรือฟิตเนสค่อนข้างเยอะ แต่ถ้าเป็นช่วงระหว่างซีซันจะไม่หนักมาก เพราะมีโปรแกรมแข่งตลอดทั้งปี ทีมงานจะเป็นคนออกแบบให้เราทั้งหมด

 

คิดจะไปเล่นลีกต่างประเทศบ้างไหม

ก่อนหน้านี้เราก็คิด ตอนที่เรายังไม่เจ็บ ช่วงนั้นฟอร์มการเล่นของเราค่อนข้างดี แต่พอเราเจ็บ ทุกวันนี้ก็ยังไม่เหมือนเดิม คงต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปี

 

ตอนนั้นบาดเจ็บหนักแค่ไหน

ขาหักครับ เอ็นรอบข้อเท้าฉีกหมดเลย ทุกวันนี้ยังมีเหล็ก มีน็อตอยู่ที่ขา เป็นช่วงเวลา 3 เดือนที่เราอยู่เฉยๆ มีช่วงหนึ่งที่คิดว่าทำไมเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นกับตัวเรา พอได้เริ่มกายภาพ ได้เริ่มออกกำลังกาย มีคนรอบข้างให้กำลังใจ เพื่อนร่วมทีม ครอบครัว แฟนบอลส่งกำลังใจให้เราตลอด มันก็ทำให้สภาพจิตใจเราดีขึ้น แล้วกลับมา

 

ถ้าไม่ใช่ฟุตบอล มีความชอบอย่างอื่นบ้างไหม

มีฟุตบอลอย่างเดียวเลยครับ เพราะผูกพันกับมันมาตลอด ถ้าไม่เล่นฟุตบอลก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรเหมือนกัน

 

มองย้อนกลับไปในวันแรกที่เล่นฟุตบอลใหม่ๆ กับวันนี้ ตัวตนของคุณเปลี่ยนไปไหม

เปลี่ยนเยอะครับ เพราะสมัยก่อนผมชอบอยู่คนเดียว ไม่ชอบอยู่กับคนเยอะ แต่ทุกอย่างก็อยู่ที่การปรับตัว ซึ่งทุกวันนี้ผมก็ยังไม่ค่อยชิน (หัวเราะ)

 

 

มีช่วงที่เหลิงหรือคิดว่าตัวเองเก่งบ้างไหม

มีครับ เพราะเราติดทีมชาติมาตั้งแต่เด็ก มีช่วงหนึ่งตอนอายุ 17 ปี ที่คิดว่าเราเหลิง คิดว่าตนเองเก่ง ออกนอกกรอบ ออกจากกฎระเบียบทุกอย่างที่โรงเรียนตั้งไว้ มาคิดได้ตอนอายุ 19 ปี เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างเป็นนักฟุตบอลโรงเรียนกับนักฟุตบอลอาชีพ ต้องเลือกระหว่างฟุตบอลกับเรียนมหาวิทยาลัยด้วย เราก็คิดได้ตรงนั้นแล้วกลับมาเต็มที่กับฟุตบอล

 

ฟุตบอลสอนอะไร

ระเบียบวินัยในตนเองและในการใช้ชีวิต การเป็นคนตรงต่อเวลา พอมาเล่นฟุตบอลอาชีพ เราจะสายแม้แต่นาทีเดียวไม่ได้ ไม่อย่างนั้นจะถูกปรับเงินที่ค่อนข้างเยอะ คือทุกอย่างต้องตรงเป๊ะหมดตามกฎระเบียบที่ตั้งไว้ ฟุตบอลสอนเราหลายเรื่องทั้งในและนอกสนาม

 

จะเล่นฟุตบอลไปอีกนานแค่ไน

อยากเล่นไปอีก 6-7 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายด้วย ทุกวันนี้ก็พยายามทำหน้าที่ให้ดีที่สุด หลังจากนั้นก็จะทำงานอยู่ในวงการฟุตบอลต่อไป

เพราะฟุตบอลเป็นสิ่งที่ผมถนัดและรักที่สุดในชีวิต


 

Credits

 

Intro Voice-over เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค, เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer กษิดิ์เดช ทัยธิษา

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post สารัช อยู่เย็น นักฟุตบอลที่ผ่านมาแล้วทั้งช่วงรุ่ง เหลิง และเริ่มใหม่ appeared first on THE STANDARD.

]]>
น้าหัง-อัฐชพงษ์ สีมา นักพากย์ฟุตบอลที่อินเนอร์มาเต็ม! https://thestandard.co/podcast/randomwisdom07/ Mon, 09 Jul 2018 17:01:00 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=105479

อัฐชพงษ์ สีมา หรือ น้าหัง นักพากย์ฟุตบอลที่คอบอลบอกเป็น […]

The post น้าหัง-อัฐชพงษ์ สีมา นักพากย์ฟุตบอลที่อินเนอร์มาเต็ม! appeared first on THE STANDARD.

]]>

อัฐชพงษ์ สีมา หรือ น้าหัง นักพากย์ฟุตบอลที่คอบอลบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า พากย์ได้อิน มัน เร้าใจที่สุด การันตีด้วยรางวัลผู้บรรยายกีฬาดีเด่น รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ปี 2559

 

กว่า 20 ปีในวงการ จุดเริ่มต้นเป็นมาอย่างไร การพากย์ในสมัยก่อนยากแค่ไหน เขาฝึกฝนและมีเทคนิคอะไรถึงทำให้พากย์ได้สนุกอยู่เสมอ   

 

กดปุ่ม Play ด้านบนเพื่อฟังพอดแคสต์ Random Wisdom ซีรีส์พิเศษ Soccer Wisdom แต่ถ้าถนัดอ่านก็ไล่สายตาเพื่อเสพบทความด้านล่างได้เลย

 


 


จุดเริ่มต้นของการเป็นนักพากย์

เริ่มจากการแข่งขันฟุตบอลภายใน สมัยเรียนสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาที่จุฬาฯ เริ่มพากย์จากความสนุกตามประสาเด็กทั่วไปที่ชอบพากย์ แล้วตอนนั้นได้รู้จักกับอาจารย์สุวัฒน์ (น้าติง) ซึ่งเป็นนักพากย์อยู่แล้ว เลยบอกอาจารย์ว่าถ้ามีงานพากย์ชวนผมไปด้วยนะครับ แกยังบอกกลับมาเลยว่า อย่างเราจะได้เรื่องเหรอ (หัวเราะ)

 

สมัยนั้นเคเบิลทีวียังเป็น UTV และ IBC เราได้ไปพากย์ของ UTV ก่อนที่จะย้ายมาพากย์ที่ IBC แล้วก็พากย์มาตลอด ตั้งแต่ปี 1996 เป็นต้นมา ช่วงที่ IBC มารวมกับ UTV กลายเป็น UBC เป็นช่วงเวลา 4-5 ปีที่โดนคัดออกเพราะเราก็ยังโนเนม ภายหลังก็มีโอกาสไปพากย์ใหม่ แล้วก็พากย์มาเรื่อยๆ

 

น้าหัง จำแมตช์แรกที่พากย์ได้ไหม

สมัยนั้นคือการพากย์เทป ไม่ใช่บอลสด เราต้องดูเทปก่อนแล้วค่อยลงเสียงใส่ จำได้ว่าแมตช์นั้นคือบอลลีกโปรตุเกส คู่ FC Porto กับ S.L. Benfica หรือไม่ก็ Sporting CP ต้องกรอเทปเพื่อดูหลังเสื้อแล้วจดว่ามีใครบ้าง จนครบ 11 คน ถึงจะพากย์ได้เพราะไม่มีข้อมูลเลย ถ้าพากย์สองคนก็ช่วยกันจด แบ่งจากล่างขึ้นบน และบนลงล่าง ไม่เหมือนสมัยนี้ที่หาข้อมูลได้ตลอดเวลา แต่เราก็รู้สึกสนุกกับมัน

 

 

ศิลปะในการพากย์ ความยาก และการฝึกฝน

ความยากอยู่ที่ต้องออกเสียงให้ถูกต้อง ตัวผมเองมีปัญหาด้านการออกเสียงภาษาอังกฤษอยู่บ้าง หรือการออกเสียงควบกล้ำก็พยามยามทำให้ถูกต้อง นอกจากนี้ ความยากคือ เราจะบอกเหตุการณ์ตรงนั้นให้มันใช่ได้อย่างไร หากผู้รักษาประตูเอามือรับ จะพูดว่าเข้าซอง ปัดออก หรือทุบออก มันไม่เหมือนกัน ถ้าเราทำให้มันถูกต้องได้ มันจะเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง ก็ค่อยๆ เรียนรู้ไป ถ้ามีเวลาว่าง ผมจะนั่งดูเทปเก่าที่เราพากย์แล้วดูว่าจุดไหนที่เราพลาดบ้าง เราจะพยายามปรับปรุง

 

สมัยก่อนทีวียังไม่ชัด เราเห็นนักฟุตบอลบอลจากไกลๆ ต้องหาเทคนิคในการจำ ผมจะจดเช่น คนนั้นใส่รองเท้าสีอะไร ถนัดซ้ายหรือขวา เราต้องจำให้หมด ทุกวันนี้มองชัดแล้วมันง่ายขึ้น แต่เราติดเป็นนิสัยในการจดไปแล้ว

 

เสน่ห์ของการพากย์บอล

การพูดถึงเกมในจอในแบบที่คนดูอยากให้พูด เป็นจุดที่เราต้องทำให้ได้ ในทางกลับกัน ถ้าเราบอกอีกแบบหนึ่งอาจเป็นที่ขัดใจ เราต้องทำให้มีเสน่ห์ตรงนี้ ต้องถอดตัวเองออกมาเป็นผู้ชม จังหวะแบบนี้ควรจะบอกว่าอะไร นี่คือเสน่ห์ที่ทำให้คนดูชอบ

 

 

แบ่งงานกับคู่พากย์อย่างไร

ผมจะแบ่งงานกับน้องปากสองว่า ถ้าบอลกำลังเล่นอยู่ ผมจะพากย์ตามจังหวะเกมไป แต่ถ้าบอลตาย บอลออกข้าง กรรมการเป่า เกิดการฟาวล์ น้องปากสองจะเข้ามาให้ข้อมูลนักเตะ ช่วงที่บอลตายสามารถพูดอะไรก็ได้ แต่หากบอลเป็น ผมต้องกลับมาพากย์เกมตามที่เกิดขึ้นจริง นี่คือสไตล์ของผม ซึ่งมันก็แล้วแต่สไตล์ของแต่ละคน ส่วนจะรู้ได้อย่างไรว่าจังหวะนี้ต้องเร่งเสียงแค่ไหน มันเป็นความรู้สึกที่เราอินกับมัน เราสามารถเข้าใจได้เพราะเป็นนักฟุตบอลมาก่อนด้วย จังหวะแบบนี้ต้องยิง หรือจังหวะแบบนี้ยิงไม่ได้ ซึ่งก็ไม่ได้ถูกเสมอไป บางครั้งก็แป้ก เช่น เมสซีไม่ยิง จะมีจังหวะการยั้ง การล็อกต่างๆ เราก็ต้องเปลี่ยนทางใหม่ การพากย์บาร์เซโลนา ทำให้เรามีสเตปในการมองมากยิ่งขึ้น ตัวผมอยู่กับบอลสเปนมาตลอด เราเข้าใจว่าบอลมันต้องเป็นแบบนี้ถึงจะน่าดู พอเจอบอลแนวอื่นเราก็เข้าใจ จะพรีเมียร์ลีกหรือบอลไทย แม้จะเป็นฟุตบอลเหมือนกัน แต่การพากย์ก็แตกต่างกัน

ถ้าเราพากย์แล้วไม่มัน เราเองยังเบื่อ คนดูก็คงเบื่อแน่ๆ นี่คือหลักของผมตั้งแต่สมัยพากย์ช่วงดึก ถ้าเราง่วง แล้วคนดูจะมานั่งดูเราง่วงทำไม เราจะปลุกตัวเองด้วยการที่เราสนุกไปกับเกม มันจึงติดเป็นนิสัย สำหรับผมเลยไม่มีบอลคู่ไหนที่ไม่สนุก

ผมชอบดูการวางแผนของโค้ช ทีมที่เป็นรองท้ายตาราง แต่ต้องเจอกับทีมใหญ่ เขาจะมาสู้อย่างไร สู้ได้หรือไม่ บางครั้งไม่จำเป็นต้องยิงก็มันได้ เพียงเรารู้จังหวะ และวิธีการพูด ที่สำคัญเราต้องสนุกกับมันและไม่เฟก

 

ฟุตบอลเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ในชีวิต

สมัยเด็ก กีฬาอย่างเดียวที่เล่นคือฟุตบอล ผมเล่นเป็นนักฟุตบอลในทีมโรงเรียน มหาวิทยาลัย แต่ก็ไม่เคยคิดจะเป็นนักพากย์ ทุกวันนี้ก็ไม่ค่อยได้เล่นด้วยสภาพร่างกายและอายุ จึงหันมาเล่นกอล์ฟแทน แต่ในด้านการงาน ฟุตบอลก็คือร้อยเปอร์เซ็นต์ พอผมมีเวลาว่างก็จะหาข้อมูล โชคดีที่เป็นฟรีแลนซ์จึงมีเวลาว่างสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น ช่วงเวลาที่อยู่กับลูก

 

กิจวัตรประจำวัน

สำหรับวันหยุด ถ้าไม่มีงาน ตื่นเช้ามา ผมจะพาลูกไปออกกำลังกาย ไปส่งภรรยา เสร็จแล้วก็ไปเล่นกีฬา หากวันไหนมีงานพากย์ดึก ผมจะนอนช่วงเช้า ตื่นช่วงเที่ยง ส่วนช่วงบ่ายอาจจะไปออกกำลังกาย ตีกอล์ฟ จ๊อกกิ้งในสวนสาธารณะ ปั่นจักรยาน แล้วแต่วันว่าวันนั้นเหมาะกับการออกกำลังกายเเบบไหน อาชีพของผมเป็นอาชีพที่ต้องทำงานดึก ฉะนั้นต้องออกกำลังกายสู้ ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม และรักษาร่างกายสำหรับอนาคต

 

 


 

Credits

 

Intro Voice-over นทธัญ แสงไชย

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค, เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post น้าหัง-อัฐชพงษ์ สีมา นักพากย์ฟุตบอลที่อินเนอร์มาเต็ม! appeared first on THE STANDARD.

]]>
บอ.บู๋ คอลัมนิสต์ที่ชีวิตแสบร้อนที่สุดในวงการฟุตบอล https://thestandard.co/podcast/randomwisdom6/ Sun, 08 Jul 2018 17:01:15 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=104999

ชื่อของ บอ.บู๋ ต่อให้เป็นคนที่ไม่สนใจเรื่องฟุตบอลก็น่าจ […]

The post บอ.บู๋ คอลัมนิสต์ที่ชีวิตแสบร้อนที่สุดในวงการฟุตบอล appeared first on THE STANDARD.

]]>

ชื่อของ บอ.บู๋ ต่อให้เป็นคนที่ไม่สนใจเรื่องฟุตบอลก็น่าจะพอรู้จัก ในบทบาทคอลัมนิสต์และนักจัดรายการก็จะมีทั้งคนชิงชังและชื่นชอบ แม้จะโดนด่าว่าปากจัด หยาบคาย ไร้จรรยาบรรณ แถมโดนสื่อแบนหลายครั้ง แต่เขาก็ยังเป็นตัวจริงที่อยู่ในวงการนี้มาได้กว่า 20 ปี และมีแฟนๆ ติดตามอย่างเหนียวแน่น

 

ความผูกพันกับฟุตบอลเริ่มจากอะไร การเป็นตัวเองในวงการนี้มันยากแค่ไหน เขาเรียนรู้อะไรจากความผิดพลาด และเขาจะอยู่กับเรื่องฟุตบอลไปอีกนานเท่าไร

 

กดปุ่ม Play ด้านบนเพื่อฟังพอดแคสต์ Random Wisdom ซีรีส์พิเศษ Soccer Wisdom แต่ถ้าถนัดอ่านก็ไล่สายตาเพื่อเสพบทความด้านล่างได้เลย

 

 

นิยามตัวเอง

ไม่อยากใช้คำว่าเป็นนักข่าวด้วยซ้ำ เพราะคำว่านักข่าว เราต้องออกภาคสนาม หาแหล่งข่าว ไปพูดคุย ที่ทำอยู่ตอนนี้เหมือนเขียนหนังสือมากกว่า เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ นิตยสาร โลกโซเชียล นอกนั้นก็จะอยู่ในทีวี ก็อาจจะนิยามว่าเป็นคนที่บ้าบอล แล้วพอดีมีโอกาสเขียนหนังสือ มีโอกาสถ่ายทอดความคิดเห็นให้คนอื่นได้รับรู้

 

โตมากับฟุตบอล

ตั้งแต่เด็กๆ เลย เรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน มันเป็นโรงเรียนที่เด็กบ้าบอล ก็เล่นฟุตบอลมา แต่ก็ไม่ได้จริงจังอะไร เตะฟุตบอลก๊อกๆ แก็กๆ จนกระทั่งประมาณ ป.6 มีนิตยสารเล่มหนึ่งเป็นรายสัปดาห์ ชื่อว่า สตาร์ซอคเกอร์ เห็นว่าเป็นนิตยสารฟุตบอล ก็ซื้อมาดูมาอ่าน ประกอบกับมีรุ่นพี่ที่เขาบ้าบอลก่อนเรา เขาก็เอาหนังสือมาให้เราดู มันมีเสื้อทีมนั้นทีมนี้ นี่นักเตะลิเวอร์พูล นักเตะแมนฯ ยู เราก็ตามเขามาตั้งแต่ตอนนั้น เลยเริ่มปลูกฝัง

ความบ้าฟุตบอล ไม่ใช่รักฟุตบอลนะ ต้องบ้าเลย เพราะรักมันกลายเป็นเรื่องที่ไม่พอ ถ้ารัก พนักงานบัญชี นายธนาคาร คนช้อนลูกน้ำอาจจะรักฟุตบอลได้ แต่ถ้าบ้าบอลมันต้องทำอย่างนี้ คือต้องทำงานอยู่กับฟุตบอลมาตั้งแต่แรกยันปัจจุบันเลย ไม่เคยเปลี่ยนงาน

ทุ่งหญ้าแห่งความฝัน

คอลัมน์นี้เกิดจากมีรุ่นพี่อยู่คนหนึ่งที่เขาชอบเบี้ยวงาน พอเราเข้ามาเป็นน้องใหม่ เราก็เป็นคนทะลึ่งตึงตัง เป็นคนบ้าๆ บอๆ เขาก็เห็นว่าไอ้นี่บ้าๆ ดีว่ะ ความคิดมันแปลกแยก เขาก็เลย เฮ้ย มันน่าจะเขียนหนังสือได้ พอเขาให้เขียนแทน เขาบอก มึงตั้งชื่อคอลัมน์ไปเลย เราก็มานั่งนึกว่าจะตั้งชื่อคอลัมน์อะไรดีวะ ตอนนั้นช่อง 7 วันเสาร์ มันมีโปรแกรมเพชรหนังพันล้าน ที่เอาหนังมาฉายทุกวันเสาร์ มันมีหนังเรื่อง Field of Dreams เราก็ เฮ้ย ทุ่งหญ้าแห่งความฝัน เออ เอาตรงนี้แหละวะ ตั้งๆ ไปก่อน นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเขียนคอลัมน์

 

 

ความผิดพลาด

ตอนสมัยที่อายุ 20 กว่าๆ 30 เศษๆ ตอนนั้นเราชนหมด กูไม่สน กูไม่แคร์การแบน เมื่อก่อนโซเชียลมันไม่ได้ขนาดนี้ พอโดนไปก็ต้องระมัดระวังตัวไว้จุดหนึ่ง เสร็จแล้วมันก็จะมีพลาดเพิ่มขึ้น เป็นระดับๆ ขึ้นมา พูดง่ายๆ ว่า บทเรียนมันเรียนไม่รู้จบ

 

โดนวิทยุแบนไป 4 ครั้ง ครั้งแรกโดนเพราะทำรายการ แล้วมีคนโทรศัพท์เข้ามาสดๆ แล้วก็ด่ากับมัน พอมันสดๆ ก็ตัดออกและเซนเซอร์ไม่ได้ โอเค เราก็เลิกรับโทรศัพท์ พอล่าสุดที่โดนแบนจากวิทยุก็คือ เราทะลึ่งไง ตอนนั้นคลื่นวิทยุมันต้องหมุนเปลี่ยนช่อง คือสมมติถ้าถึงเวลาเที่ยงคืนแล้วจะฟังต่อก็ต้องหมุนไปอีกคลื่นหนึ่ง ตอนนั้นมีหนังเรื่อง The Ring เราก็พูดเล่นๆ ถ้าใครได้ยินเสียงผมแล้วไม่เปลี่ยนช่องตาม เดี๋ยวจะมีตีนไปถีบหน้ามึง อะไรอย่างนี้ แม่งแบนกูอีก ก็คิดว่าประเทศนี้แม่งไม่มีอารมณ์ขันเลยเหรอวะ

 

ตั้งแต่นั้นมาก็ตั้งปณิธานว่า กูไม่ทำแล้ว เพราะว่าถ้าทำเราก็ต้องเป็นตัวของตัวเอง เราก็เป็นคนอย่างนี้ ถ้าเราทำอีก มันก็ต้องแบนอีก เพราะฉะนั้นตัดปัญหาคือไม่ทำวิทยุดีกว่า ไม่ได้จัดรายการวิทยุมาสิบกว่าปีแล้ว ทีวีก็น้อยลงเรื่อยๆ แต่พอมันเป็นออนไลน์ พูดตรงๆ นะ โคตรดีใจเลยที่โลกนี้มีออนไลน์ จะพูดเหี้ย ไอ้สัตว์ หน้าส้นตีนอะไรก็ได้ คือมีความสุขมากกับการที่ได้มาทำตรงนี้ แม่งเป็นตัวของตัวเอง ไม่มีใครมาเสือก ไม่มีใครมาสนใจ ไม่มีใครมาด่าได้ เพราะเหมือนเรามีช่องเป็นของตัวเอง

 

ถูกมองว่า เป็นคนหยาบคาย ไร้จรรยาบรรณ

ถ้าทำในช่องทางของเรา นั่นคือตัวเรา แต่เวลาไปทำในสื่อหลัก ก็ต้องระมัดระวังคำพูดมากขึ้น พูดในเพจของ บอ.บู๋ ก็อย่างหนึ่ง แต่มาพูดในเพจของสยามสปอร์ต มันก็ต้องเป็นงานเป็นการ ก็อีกอย่างหนึ่ง เราจะรู้ว่าตอนนั้นอยู่ในบทบาทไหน ถ้าเราอยู่ในบทบาทของตัวเอง เราก็เป็นตัวของตัวเอง เราพูดในเพจว่า ไอ้ส้นตีน อะไรอย่างนี้ แต่ก็ไม่ได้เขียนหนังสือแบบนี้นี่ เขียนหนังสือก็เหมือนเดิม คืออยู่ในกรอบ อยู่ในข้อจำกัดที่สังคมเขาตีไว้ว่าอะไรควรไม่ควร ก็ยังยึดถือกฎเกณฑ์ตรงนั้น แต่พอมาเป็นตัวเรา เราก็ใส่เต็มที่ว่านี่เป็นตัวของเรา

บางทีมีคนบอกว่า ไอ้บู๋ มึงถ่อยแล้วเท่เหรอวะ เราก็บอกว่ากูไม่ได้ถ่อยแล้วเท่ ก็ปากกูเป็นอย่างนี้ กูเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่มึงยังเป็นวุ้นอยู่เลย ก็จะด่ามันคืน

จริงๆ เรื่องฟีดแบ็กในโลกออนไลน์ จะไม่ค่อยไปสนใจ ไม่ค่อยไปให้ราคามาก แต่บางวันมันว่างไง บางทีด่ากูแรงเกิน ด่าแบบไม่มีเหตุไม่มีผล เวลาเขาด่า เขาตำหนิ เขาตำหนิเพื่อที่จะให้เอาไปปรับปรุงตัว เหมือนเป็นกระจกสะท้อนการทำงาน แต่คนรุ่นใหม่ คนที่เล่นอินเทอร์เน็ตไม่เข้าใจจุดนี้ มันจะด่าเอามัน เอาสนุก เอาแบบกูเกลียดมึง กูอคติมึง อยู่ดีๆ ก็มาด่า ไอ้สัตว์บู๋ กูเกลียดหน้ามึง อย่างนี้ให้กูเอาไปปรับปรุงยังไง

 

ไอดอล

พี่ย.โย่ง-เอกชัย นพจินดา ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นแรงบันดาลใจให้มาทำงานตรงนี้ ทำให้รู้สึกว่าเอาบอลมาเป็นอาชีพได้ ทำให้ตัวเองมีชื่อเสียงได้ ก็เลยยึดถือเป็นแม่แบบในการทำงาน อีกอย่างพี่โย่งเป็นคนเขียนหนังสือดี เพราะแกอ่านเยอะ ก่อนที่คุณจะเป็นนักเขียนได้ คุณก็ต้องเป็นนักอ่านมาก่อน พี่โย่งเขียนบอกไว้แบบนี้ประจำ สองก็คือ โย่งเป็นคนแม่นยำในเรื่องข้อมูล ซึ่งยุคก่อนต้องใช้ความจำอย่างเดียว ไปเปิดกูเกิล ไปเปิดวิกิพีเดียไม่ได้ เราก็อยู่ในยุคนั้น สมัยที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต การจะจำว่าแมตช์นี้ผลเป็นอย่างไร ต้องใช้เวลาค้นหนังสือเป็นชั่วโมง เพื่อที่จะเขียนแค่คำไม่กี่คำ เพราะฉะนั้นความจำต้องแม่นมาก ส่งผลมาถึงทุกวันนี้ว่าข้อมูลต้องเป๊ะ เราจะเขียนเรื่องอะไร เราต้องรู้ลึก รู้จริง เราถึงจะเขียนเรื่องนั้นได้ อย่าไปเขียนแบบฉาบฉวย เห็นบ้าๆ บอๆ เวลาทำงาน เขียนข้อมูล ต้องเอาให้เป๊ะ เอาให้ลึกกว่าคนอื่น เอาให้มันกินขาด

 

ไอดอลทางการเขียน

นักเขียนที่ชอบที่สุดคือ ’รงค์ วงษ์สวรรค์ เมื่อก่อนก็ตามทุกอย่างเลย จนโดนคนด่าว่าเขียนเหมือนเกินไป เพราะเราอ่านมากแล้วมันอิน เหมือนโดนครอบงำ แต่พอเวลาผ่านไปสัก 5-6 ปี มันก็จะเริ่มปรับกลับมาเป็นตัวเรา คนอื่นๆ ที่ชอบก็อากังฟู, ขุนทอง อสุนี, อารีย์ แท่นคำ และอีกเยอะ สมัยก่อนชอบอ่านหนังสือเพลง เป็นคนชอบเพลงร็อก เพลงเฮฟวี ซึ่งศัพท์ของหนังสือเพลงมันจะเป็นแบบเพลงนี้แม่งทะลุเข้าไปในรูหูอะไรอย่างนี้ เราสามารถปรับมาเป็นภาษาฟุตบอลได้ ซึ่งเราได้อิทธิพลมาจากหนังสือเพลงพวกนี้เยอะ

 

 

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ยังอยู่ตรงนี้ได้กว่า 20 ปี

บอกแล้วว่าไม่ได้รักบอล มันบ้าบอล พอบ้าบอลแล้วมันทำให้เรามีอาชีพ มีเงิน มีรายได้เลี้ยงครอบครัว และก็ได้รับประสบการณ์ พูดตรงๆ มีที่ไหนคนจ้างไปดูบอลนัดชิงยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มีคนจ้างไปดูนัดชิงฟุตบอลโลก ไปดูแล้วยังได้เงินอีก มีคนออกค่าตั๋วเครื่องบินให้ มีคนขับรถพาไป ได้เบี้ยเลี้ยง แถมเอามาต่อยอดได้อีก ทุกอย่างหล่อเลี้ยงของมันอยู่อย่างนี้

 

บอ.บู๋ ในอีก 10 ปีข้างหน้า

ย้อนกลับไปสิบปีที่แล้วยังมองตัวเองตอนอายุ 48 ไม่ออกว่าจะนั่งอยู่ตรงนี้หรือเปล่า แต่สุดท้ายก็ยังอยู่ที่เดิม ตอนนี้มันมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งมันทำให้เราทำงานง่ายขึ้น อย่างพอมีแฟนเพจขึ้นมา มันนอนทำก็ได้ ตื่นมา กดรูปดู นึกจะเขียนอะไรก็ว่ากันไป นั่งอยู่บนรถ นั่งขี้อยู่ กินเหล้าอยู่กับเพื่อน มันก็ทำได้หมดเลย มันก็สบายขึ้น แต่ไม่รู้ว่าอีก 10 ปีข้างหน้าเทคโนโลยีมันจะไปถึงไหน เฟซบุ๊กยังอยู่หรือเปล่า เราก็ยังมองไม่ออก ส่วนเราก็คงยังไม่ได้ทิ้งฟุตบอลไป ยังอยู่ในวงโคจรนี้ แต่บทบาทอาจจะเปลี่ยน อาจจะไม่ได้เขียนข่าว ไม่ได้เขียนคอลัมน์ แต่อาจจะไปเปิดสนามฟุตบอล หรือสร้างทีมทีมหนึ่งขึ้นมา เป็นทีมสมัครเล่น แล้วค่อยๆ เข้าสู่ฟุตบอลอาชีพ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

 


 

Credits

 

Intro Voice-over ภูมิชาย บุญสินสุข

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค, เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post บอ.บู๋ คอลัมนิสต์ที่ชีวิตแสบร้อนที่สุดในวงการฟุตบอล appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาเล็ก สุรพล ในวันที่ต้องเป็นพ่อ โดยไม่มีใครกำกับและเขียนบทให้ https://thestandard.co/podcast/randomwisdom05/ Sun, 15 Apr 2018 17:01:47 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=83237

อาเล็ก-สุรพล พูนพิริยะ หลายคนอาจคุ้นหน้าคุ้นตาผู้ชายคนน […]

The post อาเล็ก สุรพล ในวันที่ต้องเป็นพ่อ โดยไม่มีใครกำกับและเขียนบทให้ appeared first on THE STANDARD.

]]>

อาเล็ก-สุรพล พูนพิริยะ หลายคนอาจคุ้นหน้าคุ้นตาผู้ชายคนนี้ในบทบาทของนักแสดง ทั้งโฆษณา ซีรีส์ และภาพยนตร์ แต่อีกมุมหนึ่ง เขาคือหัวหน้าครอบครัวพูนพิริยะ คือพ่อของบาส นัฐวุฒิ ผู้กำกับชื่อดังและ จูนจูน พัชชา นักแสดงรุ่นใหม่ที่เป็นที่รู้จัก

 

ความสุขในวัย 60 ปีของผู้ชายคนนี้คืออะไร ครอบครัวสำคัญสำหรับเขาแค่ไหน และมีอะไรอีกบ้างที่เขาอยากบอกลูกหลาน

 


ใจเขาใจเราให้มาก

คนที่อายุมากแล้ว ถ้านั่งอยู่แต่ในบ้านเฉยๆ ถือเป็นสิ่งที่อันตรายนะ ทุกวันนี้ผมมีรายได้พอกินพอใช้ แต่ถ้าให้อยู่บ้านอย่างเดียวมันห่อเหี่ยว พอได้ออกไปทำงานมันเหมือนเป็นการเติมไฟให้ตัวเอง

 

วันหนึ่งทุกคนก็ต้องแก่ การปรับตัวเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบันผมอายุ 64 แล้ว แต่ผมก็หันมาเล่นโซเชียลเพื่อศึกษาการใช้ชีวิตของเด็กวัยรุ่น และทำให้การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น มันเป็นอะไรที่ทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง แต่ก็ต้องยอมรับว่าคนแก่บางคนอาจจะช้าไปบ้างด้วยปัญหาสุขภาพ อยากให้เด็กรุ่นใหม่หรือคนที่ต้องทำงานกับเขาเข้าใจธรรมชาติ และเห็นอกเห็นใจกัน

ฝากบอกคนทำงานที่ยังอยู่ในวัยไม่เกิน 30 สภาพร่างกายคุณอาจยังได้เปรียบกว่าคนแก่ แต่คุณต้องคิดเผื่อด้วยว่าวันหนึ่งเราก็ต้องแก่เหมือนกัน และยุคสมัยมันมีวันเปลี่ยน วันนี้คุณอาจจะเก่งมาก แต่วันหนึ่งคุณอาจตามเขาไม่ทันก็ได้ ใจเขาใจเราให้มาก คิดได้แค่นี้ ทุกอย่างก็ง่ายขึ้นแล้ว


ความสุขของหัวหน้าครอบครัวพูนพิริยะ

เวลาผมประสบความสำเร็จ มันจะไม่มีความหมายอะไรเลย ถ้าไม่มีคนในครอบครัวคอยสนับสนุนและอยู่กับเรา

ถามว่าคุณจะไปมีความภูมิใจร่วมกับใคร ถ้าไม่มีครอบครัวที่อบอุ่นและเข้าใจ ในแง่ของการทำงาน ครอบครัวคอยสนับสนุนผม บางครั้งต้องกลับดึก บางครั้งต้องไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ แต่เขาเข้าใจ หรือบางครั้งต้องเล่นบทบาทค่อนข้างล่อแหลม ผมบอกครอบครัวว่า เราเป็นนักแสดง เขาจับใส่ผ้าเหลืองก็ต้องเป็นพระ เขาจับใส่ชุดตำรวจก็ต้องไล่จับผู้ร้าย คือเราต้องทำได้

 

พ่อยังห่วงลูกเสมอ

จำไว้เลยว่าต่อให้คุณอายุ 50 แล้ว ถ้าพ่อแม่ยังอยู่ เขาก็ยังเป็นห่วงเหมือนคุณเป็นเด็กตัวเล็กๆ

สมัยที่ผมยังทำงานบริษัท อายุ 30 กว่าจะ 40 แล้ว แต่แม่ก็ยังเรียกกินข้าวตลอด บางครั้งผมเผลอไปหงุดหงิดใส่ด้วยซ้ำ เพราะไม่เข้าใจความรู้สึกตอนนั้น แต่มาวันนี้ถึงแม้ลูกผมจะโตจนมีหลานให้เล่น แต่ความรู้สึกเป็นห่วงของคนเป็นพ่อก็ยังอยู่เหมือนเดิม การได้มีลูกทำให้ผมเข้าใจว่า ความรักและห่วงใยของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมันเป็นอย่างนี้นี่เอง

 

 

ในวันที่ลูกเติบโต

ผมไม่ได้เหงาถึงขั้นต้องขอร้องให้ลูกมานั่งเป็นเพื่อน แต่สมัยที่ลูกยังเล็ก ผมเคยเห็นลูกอยู่บ้านพร้อมหน้าพร้อมตา ได้ดูแลพวกเขาอย่างใกล้ชิด เมื่อไรที่ลูกขึ้นนอนจนครบทั้ง 4 คน ผมรู้สึกเหมือนทุกอย่างวันนั้นเพอร์เฟกต์ เราสามารถจบวันนี้ได้ดีแล้ว แต่มาวันนี้ ด้วยช่วงวัยและอายุ ลูกผมแยกย้ายไปอยู่ที่อื่น

ถึงผมจะเหงาและเป็นห่วงลูกมากแค่ไหน แต่สิ่งที่เป็นหน้าที่ของเราคือการดูแลตัวเองให้ดี อย่าให้เป็นปัญหาของลูก ผมคิดเสมอว่า ถ้าเราดูแลตัวเองดี ลูกจะมีกังวลเฉพาะเรื่องงาน ซึ่งนั่นมากพอแล้วสำหรับคนในวัยนั้น เราอย่าไปเป็นภาระเพิ่มให้เขา

ถ้าเราดูแลตัวเองดี เวลาที่ลูกต้องการความช่วยเหลือ ผมสามารถซัพพอร์ตเขาได้อย่างเต็มที่ เช่น ลูกสาวต้องไปธุระต่างจังหวัด อยากเอาเจ้าเคน (หลานชาย) มาฝากที่บ้าน ผมยินดีมากเลย ดูแลเป็นไข่ในหิน ไม่มีคลาดสายตา อาบน้ำ กินข้าว พาไปเที่ยว นั่นคือเราได้ช่วยลูกเราแล้ว

 

ผมโชคดีที่ลูกโตจนทำมาหากินเองได้หมด มีรายได้ ไม่ต้องมาขอเรา แต่สำหรับครอบครัวไหนที่อาจจะยังต้องช่วยลูกเรื่องค่าใช้จ่ายอยู่ ผมก็เข้าใจมันเป็นเรื่องของแต่ละครอบครัว ก็สู้ๆ กันไป ในขณะเดียวกัน ครอบครัวไหนมีเงินมากกว่าเรา ผมไม่เคยเอาตัวเองไปเปรียบเทียบ เพราะคิดเสมอว่า เงิน 100 ล้านบาทในกระเป๋าเขาก็ไม่เท่าเงิน 100 บาทในกระเป๋าเรา เพราะทั้ง 100 บาทเป็นของผมทั้งหมด ผมหามา ผมสามารถเอาไปซื้ออะไรก็ได้ แต่ในทางกลับกัน เงิน 100 ล้านบาทของคุณ ผมแตะต้องไม่ได้แม้แต่บาทเดียว ดังนั้นของใครของมัน เรามีศักดิ์ศรีของเรา

 

นี่คือความคิดของผม และผมสอนลูกอย่างนี้ ไม่ต้องไปดูคนอื่นเยอะ ไม่ต้องไปแคร์คนอื่นมาก ไม่ต้องไปอิจฉาเขา และเมื่อเห็นคนที่ลำบากกว่าเรา ก็อย่าไปดูถูกหรือสมเพชเขา แต่ให้เข้าอกเข้าใจ และให้ความเห็นอกเห็นใจเขา

 

 

อยากให้รู้จักมัธยัสถ์  

คนจีนไม่ถามลูกหรอกว่าได้เงินเดือนเท่าไร แต่จะถามว่าแต่ละเดือนเหลือเท่าไร ถ้าคุณได้เงินเดือน 80,000 บาท แต่พอสิ้นเดือนเหลือแค่ 800 บาท แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร เงินเดือน 40,000 แต่เหลือเก็บ 15,000 ดีกว่าไหม

ถ้าประหยัดได้ขอให้ประหยัด ต่อให้วันนี้เราหาได้เยอะก็จริง แต่จำไว้นะ ไม่มีเทพองค์ไหนจะมารับปากเราได้ว่า ปีหน้า อีก 2  ปีข้างหน้า อีก 5 ปีข้างหน้า หรืออีก 10 ปีข้างหน้า คุณยังจะมีรายได้เท่านี้อยู่เรื่อยไป ไม่มีหรอก สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือสิ่งที่ไม่แน่นอน วันนี้หามาได้ เก็บสิ ไม่ใช่ให้เก็บทุกบาททุกสตางค์ แต่เก็บเผื่อเอาไว้ใช้เวลาที่หาไม่ได้ พอทีเถอะกับวรรคทองที่ชอบพูดกันว่า “มีเงินก็ใช้ๆ ไปเถอะ เดี๋ยวตายแล้วจะไม่ได้ใช้” คนเราถ้าไม่มีเงินเก็บไว้เลย เมื่อไรที่เงินขาดมือ และยิ่งขาดตอนอายุมาก อย่าว่าแต่คนอื่นจะรังเกียจเลย บางทีลูกหลานก็รังเกียจเรา

 

ดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี

บางคนหาเงินมาทั้งชีวิต พอถึงเวลาจะได้ใช้กลับมานอนป่วยอยู่บนเตียง และเพิ่งบรรลุสัจธรรมของชีวิต อยากฝากเตือนทุกคนว่า หากอยากพักผ่อนหรือเที่ยวเตร่น่ะก็ได้ แต่ต้องนึกถึงสุขภาพตัวเองตลอดเวลา เข้าใจว่าเวลาปาร์ตี้มันมีความสุข แต่อย่าลืมว่าร่างกายคนเรามีวันทรุดโทรม

 

การดูแลร่างกายเปรียบเหมือนกับการใช้รถ คนสองคนถอยรถสองคันในวันเดียวกัน คนหนึ่งใช้เท่าที่จำเป็นและดูแลรักษาอย่างดี ในขณะที่อีกคนลุยหนักมาก ขับทั้งวันทั้งคืน เข้าป่าเข้าพงขึ้นเขาลงห้วย เวลาห้าปีผ่านไปเอารถสองคันนี้มาจอดเทียบกันจะเห็นว่าสภาพต่างกันอย่างชนิดที่ไม่น่าเชื่อว่าเป็นรถที่อายุการใช้งานนานเท่ากัน ร่างกายและสังขารของคนเราก็เป็นเช่นนั้น

 

อย่ายุ่งกับยาเสพติดและการพนัน

นานๆ ทีเล่นหวยบ้าง วัดดวงขำๆ ก็ไม่เป็นไร ผมไม่ได้สอนว่าทุกคนต้องเป็นคนดีในระดับที่ใส่ชุดเหลืองก็พร้อมเป็นพระได้เลย จริงๆ คำว่า ‘คนดี’ ไม่มีหรอก ไม่มีใครดีจริงหรอก ไม่มีขาวบริสุทธิ์ผุดผ่อง ทุกคนเป็นสีเทาๆ บางคนเลวมากก็เทาเข้มหน่อย แต่ไม่มีใครดีหรือเลวตั้งแต่หัวจรดเท้าหรอก ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา แม้กระทั่งตัวผมเอง มีนอนดึกบ้าง หรือนานๆ กินเบียร์สักกระป๋องก็มี แต่ไม่ใช่ทำทุกวันจนเป็นกิจวัตร

 

ถ้าวันนี้มีใครสักคนที่ได้ฟังสิ่งที่ผมกำลังสื่อสาร และไปลดจำนวนบุหรี่ที่เขาสูบหรือถึงขั้นทำให้เลิกไปเลยได้ มันจะเป็นผลดีกับตัวเขาเองนะ มะเร็งปอดหรือตับแข็งนี่ไม่ได้เป็นกันในวันเดียว แต่มันสะสม จนถึงวันหนึ่งมันอาจจะล้มป๊อกไปเลยก็ได้ น่ากลัวนะ แล้วเงินที่มีนี่คือหามาเพื่ออะไรล่ะ เอาไปให้หมอให้โรงพยาบาลหมด

 

https://www.instagram.com/p/BUZe468ActB/?taken-by=junejuneeee

https://www.instagram.com/p/BXt_9-KgLLS/?taken-by=junejuneeee

https://www.instagram.com/p/Bf5nXp5AZpo/?taken-by=junejuneeee


Credits


Intro Voice-over
พัชชา พูนพิริยะ

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์ 

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post อาเล็ก สุรพล ในวันที่ต้องเป็นพ่อ โดยไม่มีใครกำกับและเขียนบทให้ appeared first on THE STANDARD.

]]>
เชฟป้อม ม.ล.ขวัญทิพย์ “เถียง ไม่เหมือนอธิบาย ดุ ไม่ใช่ด่า” อาหารกับมารยาทเกี่ยวกันอย่างไร https://thestandard.co/podcast/randomwisdom04/ Sat, 14 Apr 2018 17:01:54 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=83246

ไม่ต้องพูดถึงความดุ สิ่งนั้นพวกเรารู้กันดี   นอกนั […]

The post เชฟป้อม ม.ล.ขวัญทิพย์ “เถียง ไม่เหมือนอธิบาย ดุ ไม่ใช่ด่า” อาหารกับมารยาทเกี่ยวกันอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>

ไม่ต้องพูดถึงความดุ สิ่งนั้นพวกเรารู้กันดี

 

นอกนั้นเราอาจได้รู้มาคร่าวๆ ว่า ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล มีชีวิตอยู่ในรั้วในวัง ได้ คลุกคลีกับการทำอาหารมาตั้งแต่เด็กจนเชี่ยวชาญด้านอาหาร จนได้มารับบทบาทเป็นกรรมการรายการ MasterChef Thailand

 

แต่ที่เราไม่รู้คือ ผู้หญิงคนเดียวกันนี้เป็นครูสอนทำอาหาร และหลายครั้งเธอสอนเพื่อเป็นวิชาชีพให้กับเด็กที่ไม่มีโอกาสได้เอาความรู้ไปประกอบอาชีพ และนอกจากนั้นเธอคือแม่เลี้ยงเดี่ยวของลูกชายทั้ง 3 คน ที่เลี้ยงลูกชายเหมือนเพื่อนที่พร้อมจะพูดคุยเปิดใจกันตลอดเวลา

 

ชีวิตในรั้วในวังของเธอเป็นอย่างไร คนรุ่นเก่าสอนการทำอาหารและเรื่องมารยาทกันอย่างไร อาชีพเชฟเหน็ดเหนื่อยขนาดไหน และเธอเตือนอะไรเด็กรุ่นใหม่ให้ใช้ชีวิตอย่างไม่ผิดพลาด

 


หลังจากมาเป็นพิธีกรรายการ MasterChef Thailand ชีวิตคุณเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน

ความเปลี่ยนแปลงคือเมื่อก่อนพี่เป็นคนที่อยู่นิ่งๆ ทำงานด้านอาหารที่ตัวเองรักไป ไม่ค่อยประชาสัมพันธ์ตัวเอง แต่ทุกวันนี้พี่เดินไปไหนไม่ค่อยรอด เพราะจะต้องมีคนจำได้ ส่วนใหญ่เขาจะลังเลว่าเข้ามาทักดีไหม เพราะอาจจะกลัวพี่นิดๆ แต่มาช่วงหลังเขาจะเริ่มเข้าใจในสิ่งที่พี่พยายามทำ ส่วนการทำงานตอนนี้ก็ค่อนข้างยุ่งนิดหนึ่ง เพราะชีวิตประจำวันทำงานแบบสบายๆ ไม่ได้แล้ว ต้องมีการจัดตารางให้ลงตัว

 

พอได้มาทำงานกับเด็กรุ่นใหม่ทั้งทีมงานและผู้เข้าแข่งขัน ต้องปรับตัวมากน้อยแค่ไหน

สำหรับการทำงานกับเด็กๆ พี่ไม่ต้องปรับอะไรมากนะ เพราะตัวพี่เองมีลูกชาย 3 คน 3 รุ่น 33-31-28 ปี ที่เลี้ยงมากับมือ พี่เลยได้คุ้นเคยกับเด็กรุ่นใหม่พอสมควร ส่วนทีมงานรายการนี้น่ารักทุกคน อย่างพอพี่เดินเข้ามา พี่ก็เป็นศาลพระภูมิ มีคนสวัสดีตลอดทาง พี่ยกมือไหว้ใครไม่ได้เลย เหมือนเป็นคนที่แก่สุดในทีม

 

ผู้เข้าแข่งขันบางส่วนเขาจะวัยใกล้กับลูก พี่เลยอ่านความคิดและพอเข้าใจเขาได้ประมาณหนึ่ง อย่างบางครั้งในรายการที่ผู้เข้าแข่งขันเขาอธิบาย พี่รับฟังนะ แต่บางครั้งคุณเถียงข้างๆ คูๆ อย่างนั้นมันไม่ใช่การอธิบาย

 

การอธิบายกับการเถียงต่างกันอย่างไร

บางครั้งเราเตือนด้วยความที่เราผ่านประสบการณ์มาเยอะ อย่างเช่นเราบอกว่า ‘ระวังมันจะพัง ฟังกันบ้าง’ บางคนก็ยังเถียงว่า ‘ก็มันดีขึ้นแล้วนี่คะ’ เราก็ ‘โอเค ถ้าคิดว่ามันจะดีขึ้นแล้วก็ตามสบายนะ’ อย่างการทำขนมพี่จะเตือนว่า ‘ขนมนี้คุณจะไปใส่น้ำแข็งอีกนะ แต่เท่าที่พี่ชิมให้มันยังหวานไม่พอ หรือยังเค็มไม่พอ’ หรือ ‘อาหารมันเค็มไม่พอ คุณจะไปกินกับข้าวมันจะต้องเค็มกว่านี้’ ‘ก็หนูว่าอร่อยแล้ว’ เราเลยบอกว่า ‘ตามสบายค่ะ แต่พอให้เราชิมแล้วจืด อย่ามาว่านะ’

 

แต่ถ้าเขาอธิบายว่า ‘หนูทำอย่างนี้ก่อน เดี๋ยวหนูถึงจะทำตรงนั้น’ อย่างนี้โอเค เพราะคุณมีวิธีการลำดับขั้นของคุณ คือเรากลัวว่าคุณจะลืมตรงนั้น แล้วก้าวข้ามขั้นตอน ซึ่งมันอาจจะเกิดความเสียหายกับอาหารและกับกระบวนการทั้งหมด แต่ถ้าคุณมีเหตุผล ก็โอเค

 

สิ่งที่คุณสอนในรายการหรือตอนเป็นครู เหมือนหรือต่างกับสิ่งที่คุณย่า คุณแม่คุณสอนมาอย่างไรบ้าง

ในรายการ ด้วยความเป็นกรรมการ พี่ก็ไม่สามารถจะไปจับมือหรือบอกว่าต้องทำอย่างนี้อย่างนั้น มันทำไม่ได้ แต่พี่จะเสนอแนะว่า ‘ทำไมทำอย่างนี้ล่ะ’ นี่คือวิธีที่พี่พยายามสอนนะ พยายามติงว่าให้ระวัง

 

ส่วนสิ่งสำคัญที่พี่ได้เรียนรู้มาจากคุณแม่ คุณย่า คือพี่ไม่เคยนอนตื่นสาย เพราะแม่ไม่อนุญาต ถ้า 6 โมงครึ่ง 7 โมงยังไม่เห็น แม่จะต้องขึ้นมาดูว่าเราป่วยหรือเปล่า ถ้าไม่ป่วยทำไมไม่ลงไป การลงไปช่วยงานครัวตั้งแต่เด็กทำให้พี่โดนฝึกโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่ 5 ขวบก็ปอกหอมปอกกระเทียมแล้ว ได้ฝึกจับมีดตั้งแต่ตอนนั้น แม่พี่ก็ใจกล้า บาดเป็นบาด ก็ติดพลาสเตอร์ใส่ยาเอา แล้วพี่เหมือนมีครูสอนการครัวทั้งทีม คุณย่า แม่ครัวคุณย่า คุณแม่ เขาก็จะสอนเราทำโน่นนี่ไปเรื่อยๆ พี่เลยเหมือนอยู่ในโรงเรียนการครัวมาตั้งแต่เด็ก เพราะฉะนั้นพอถึงเวลาที่ต้องมาทำเอง มันเหมือนมีภาพวิ่งในสมอง ตรงนี้เราเคยเห็นมาแล้ว อะไรที่มันผิดเราจะรู้ หรือบางครั้งเราสามารถทำได้ตั้งแต่หนแรกเพราะเราเห็นมาทั้งชีวิต อย่างโรยฝอยไข่เครื่องเคียงข้าวแช่ พี่ปีนเก้าอี้ดูเขาทำมาตั้งแต่เด็กๆ พอทำเองหนแรกพี่ก็โรยได้เลย รู้ว่าน้ำมันต้องร้อนประมาณไหน ประสบการณ์มันสอน

 

เคยได้ยินมาว่าผู้ใหญ่สมัยก่อนมักจะหวงสูตรอาหาร ที่บ้านคุณเป็นแบบนั้นหรือเปล่า

หวงค่ะ แม่ครัวคุณย่าเนี่ยตัวดีเลย พี่จะแกล้งเรียกสูตรของเธอมาตลอดว่าสูตรมิดไนต์ เพราะเธอจะขึ้นนอนประมาณ 2 ทุ่ม แต่พอเช้าปุ๊บมีของวางเสร็จเรียบร้อย แล้วเธอก็ทำหน้าเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่จริงๆ แกแอบลงมาทำตอนเที่ยงคืน ตอนที่ทุกคนหลับหมด แล้วด้วยความที่พี่เป็นเด็กปากไว พี่เลยพูดกับแกไปว่า ‘ก็ทำไปสิ แก่ตายก็เหนื่อยคนเดียว’ แต่ความปากไวของเราหนนั้นได้ประโยชน์ แกเลยบอกว่า ‘งั้นฉันสอนคุณป้อมคนเดียว’ หารู้ไม่ว่าพี่เป็นฆ้องปากแตก บอกทุกคนหมด

 

ทำไมผู้ใหญ่สมัยก่อนเขาถึงหวงสูตร

พี่ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน กลัวคนอื่นทำได้มั้ง ทั้งๆ ที่พี่คิดว่าการหวงสูตรมันทำให้เขาเหนื่อยคนเดียว เขาควรจะหาผู้ช่วย เหมือนพี่ พอพี่รู้ปั๊บ พี่กระจายข่าวซะ คนนั้นทำนี่นิด คนนี้ทำนั่นหน่อย

 

วิธีการสอนของผู้ใหญ่สมัยก่อนเป็นอย่างไรบ้าง

เขาให้เราลงมือทำเอง เริ่มจากปอกหอมปอกกระเทียมอย่างที่บอก ตอนนั้นเราก็รู้สึกว่าจะกินอะไรกันนักกันหนาทั้งหอมทั้งกระเทียมเนี่ย ปอกอยู่นั่นแหละ แล้ววันละไม่รู้กี่กระบุง แต่อย่าลืมว่านั่นคือพื้นฐานที่สามารถทำเครื่องแกงได้ทุกอย่าง หรือผิวมะกรูด เขาก็ให้เราฝาน รู้ไหมนั่นทำให้รู้ว่าฝานลึกไม่ได้ ส่วนที่ขาวๆ มันจะทำให้ขม อย่างนี้เป็นต้น นั่นคือสิ่งที่เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ตอนนั้นเราก็เกิดคำถามแบบเด็กทันทีว่า ‘อ้าวทำไมล่ะ เปลืองนะ ใช้แค่ผิว’ แต่เราไม่รู้หรอกว่าเราได้ความรู้กลับมา แล้วมันทำให้เราจำ เพราะเราสงสัย ลงมือทำ และถามด้วยตัวเอง

 

อย่างการปั้นลูกกะปิ เครื่องเคียงข้าวแช่ ตอนแรกพี่ก็ขำนะ อันดับแรกเลยแม่ครัวเธอต้องหาถาดกลมมาก่อน แล้วสมมติว่าเธออยากได้กะปิลูกแค่ปลายนิ้วชี้ เธอจะปั้นตัวอย่างวางไว้ตรงจุดศูนย์กลาง จากนั้นก็ให้เราปั้นตามแล้ววางเรียงวนไปรอบๆ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พอขนาดไม่เท่ากันปุ๊บ มันเห็นทันทีเลย เธอก็จะปล่อยให้เราปั้นไป พอสักพักก็เดินมาหยิบเม็ดที่ไม่ได้ขนาดออกทีละเม็ด แล้วให้เราปั้นใหม่

 

ข้อดีของการเรียนรู้แบบลงมือทำเองคืออะไร

เราจะจำได้ เช่น ‘นุ่ม’ ถ้าไม่ได้จับคุณจะรู้ไหมว่านุ่มคือแค่ไหน ‘เนียน’ ถ้าไม่ได้จับคุณจะรู้ไหมว่าเนียนคืออย่างไร ต้องนวดแค่ไหนถึงจะได้อย่างนี้ ‘คลุกพอเข้ากัน’ นั่นคือเข้ากันแค่ไหน คุณต้องจับจนรู้ว่าแป้งอุ่นขนาดนี้ แป้งเย็นขนาดนี้ หรือบางอย่างต้องทำทั้งที่ร้อนๆ

 

ตอนเรียนทำอาหาร การได้ลงมือทำจึงสำคัญ เพราะเราจะได้รู้ว่าถ้าอยากได้แกงข้นคือข้นอย่างไร เป็นแกงเผ็ดต้องข้นแค่นี้ เป็นฉู่ฉี่หรือพะแนงต้องข้นกว่าแค่ไหน ทุกวันนี้ถ้าพี่ยืนสอนอยู่หน้าห้อง คนข้างหลังจะเห็นความข้นของแกงไหม หรือพี่บอกว่าให้นวดจนนุ่ม มันคือนุ่มแค่ไหนละคะ ยืนกอดอกดูอยู่หลังห้องไม่รู้หรอก ฉะนั้นการสอนของพี่คือ ‘ทำ’ และคุณต้องทำกับพี่ด้วย พี่ทำให้ดูก่อน พอคุณทำ พี่ก็จะเดินไล่ดูทีละคนว่าอันไหนใช่ อันไหนไม่ใช่

 

 

งานหลักในทุกวันนี้คือการสอนทำอาหาร

ใช่ค่ะ การสอนของพี่จะแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งทำเพื่ออาชีพ คือสาธิตการทำอาหารหรือการสอนที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์ แต่อีกส่วนหนึ่งพี่จะทำในแง่ของการให้ความรู้เพื่อให้โอกาสคน เช่น พี่ไปสอนที่อุทยานการอาชีพของมูลนิธิชัยพัฒนา จังหวัดนครปฐม บอกเลยว่าพี่ได้แค่ค่าวัตถุดิบนั่นแหละ ไม่ได้มีกำไรใดๆ แต่คนที่มาเรียนกับเราเขาไปต่อยอดเป็นอาชีพได้

 

พี่กับเพื่อนที่เรียนจิตรลดามาด้วยกันจะจับกลุ่มกันไปทำจิตอาสา อย่างโรงเรียนสอนดี (ประชารัฐอนุสรณ์) ที่อยุธยา ซึ่งเป็นโรงเรียนประถม เด็กๆ บางคนอาจไม่ได้เรียนต่อเพราะครอบครัวมีปัญหา พี่ก็ไปสอนให้ทำขนมง่ายๆ เขาจะได้มีอาชีพ ไม่ไปทำเรื่องไม่ดี แล้วก็สอนให้หัดขายขนมกันในโรงเรียนด้วย เด็กๆ ต้องคิดให้เป็นว่าลงทุนไปเท่าไรและจะขายเท่าไร บวกกำไรอย่างไร นอกจากเด็กๆ จะสนุกแล้ว เขายังมีความสุขที่ได้เงิน พวกพี่จะลงเงินก้อนแรกให้ เด็กไปบริหารต่อเอง ต้องทำบัญชีไว้ด้วยนะ

 

การคิดกำไรเป็นทักษะของเชฟหรือเปล่า

เป็นหน้าที่เลยค่ะ ไม่ใช่แค่ยืนผัดอะไรหน้าเตาแล้วจะเรียกตัวเองว่าเชฟ ทุกวันนี้พี่ก็ไม่อยากให้ใครเรียกว่าเชฟหรอก เพราะต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก ในครัวมันเหมือนหนึ่งองค์กรเล็กๆ ที่คุณเป็นหัวหน้า คุณต้องดูแม้กระทั่งคนที่ทำงานให้คุณว่าเขาเหมาะที่จะยืนตรงนั้นไหม วันนี้เขาเป็นอะไร ดูเขาไม่สบายใจ เราก็ต้องดูแล นี่คือหน้าที่อันดับแรก เราต้องเป็นเหมือนฝ่ายบุคคลขององค์กรนั้น

 

ต่อมาคุณต้องเป็นฝ่ายบัญชี คือต้องควบคุมต้นทุนของครัวคุณให้ได้ว่าในหนึ่งจาน คุณใส่อะไรไปในปริมาณเท่าไร ต้นทุนเท่าไร บวกกำไรเท่าไร และขายเท่าไร โดยต้องคำนวณค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าจ้างบุคลากร ทั้งหมดรวมกันบวกเข้าไปในค่าต้นทุนด้วย แล้วธุรกิจหรือครัวของคุณมีกำไรไหม นี่แค่หลักการง่ายๆ เลย นอกจากนั้นแล้วคุณต้องดูแลเรื่องความสะอาดของครัว จะปล่อยให้รกรุงรังไม่ได้ ไม่ได้หมายความว่าคุณต้องลงไปทำเอง แต่คุณต้องให้ลูกน้องดูแลทุกจุดของครัวให้ได้

 

นี่คือความแตกต่างระหว่างเชฟกับแม่ครัว

ใช่ค่ะ แม่ครัวก็ยืนผัดหน้าเตาไป ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเยอะ เพราะฉะนั้นพี่พยายามที่จะสอนเด็กให้เข้าใจว่า ถ้าคุณจะก้าวมาในอาชีพนี้ คุณต้องมีใจรักจริงๆ ต้องมีความ ‘อยาก’ (เน้นเสียง) ที่จะอยู่ตรงนี้จริงๆ เพราะงานมันหนัก และผลตอบแทนไม่ได้สูงมากเหมือนกับธุรกิจอื่นๆ แค่สมน้ำสมเนื้อ แต่ถ้าคุณคิดว่ามาทำอาชีพนี้แล้วจะได้เดือนละล้านบาท ไม่มีทาง คุณไปขายที่ดินเถอะ

 

สิ่งที่คุณเน้นย้ำเสมอในรายการคือความรับผิดชอบต่อคนกิน การรู้จักวัตถุดิบ และมารยาท ทำไมเรื่องเหล่านี้ถึงสำคัญในการทำงานเป็นเชฟ

ถ้าคุณอยู่ในสายอาชีพจริงๆ คุณเลือกไม่ได้หรอกค่ะว่าจะทำแต่วัตถุดิบที่คุณชอบ หรือจะไม่ทำวัตถุดิบที่คุณไม่รู้จัก แต่ถ้าลูกค้าของคุณชอบ คุณก็ต้องเรียนรู้ที่จะทำมันให้เป็นและอร่อย เพราะหน้าที่ของคุณคือการรับผิดชอบกับลูกค้า

 

ส่วนเรื่องของมารยาท พื้นฐานที่สุดคือเราเป็นคนไทยนะ พี่ผ่านครัวต่างประเทศมาแล้ว เชื่อไหมว่าพวกเขาก็เคารพในตำแหน่งและความอาวุโสมาก ไม่ใช่ว่าพี่เจ้ายศเจ้าอย่าง แต่พี่พยายามจะบอกว่า คุณต้องเคารพผู้ที่อยู่ตำแหน่งเหนือกว่าคุณเสมอ ไม่ใช่แค่ประเทศไทย ต่างประเทศเขาก็เป็น ไม่อย่างนั้นแล้วในครัวจะควบคุมกันอย่างไร สั่งงานกันอย่างไร ถ้าคุณไม่เคารพหรือไม่เชื่อฟังเขา แล้วคุณจะทำงานให้เขาได้อย่างไร ถูกไหม

 

แล้วในรายการ มันก็ช่วยไม่ได้ คือพี่เกิดมาเป็นหม่อมหลวง เห็นแค่นั้นเขาก็หาว่าพี่เจ้ายศเจ้าอย่าง มันไม่ใช่เลยค่ะ อย่างน้อยพี่เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่งที่น่าจะมีความรู้มากกว่าคุณ คุณก็ควรจะมีความเคารพ ถ้าพี่เองไปเจอผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความอาวุโสมากกว่า พี่ก็ต้องเคารพเขาเช่นกัน

 

ตัวคุณเองถูกสอนเรื่องมารยาทมาอย่างไรบ้าง

จริงๆ คำว่าวังก็คือบ้านที่มีเจ้าอยู่ ท่านปู่ของพี่เป็นหม่อมเจ้า ถ้าจะเข้าหาพี่ก็ต้องลงคลาน แล้วการไหว้เจ้าจะยกมือไหว้เฉยๆ ไม่ได้ ต้องกราบ ถ้าท่านประทับอยู่บนเก้าอี้เราต้องลงกราบกับพื้นไม่แบมือ ถ้าเราเดินผ่านแล้วเจ้าประทับอยู่บนเก้าอี้ เราจะไหว้เฉยๆ ไม่ได้ พี่ต้องย่อตัวลงไปให้ศีรษะของเราอยู่ประมาณหัวเข่าท่าน ต้องลงไปขนาดนั้น อันนี้คือพื้นฐานง่ายๆ

 

ส่วนการพูดกับขั้นหม่อมเจ้า เราต้องใช้ราชาศัพท์ ต้องลงท้ายว่าเพคะ ซึ่งตอนเด็กพี่ไม่เคยทราบเลยว่าชั่วโมงภาษาไทยที่เรียนราชาศัพท์กันจะเป็นเรื่องยากของคนอื่น เพราะพี่ถูกสอนให้พูดตั้งแต่เด็ก แล้วนึกว่าบ้านอื่นก็พูดอย่างนี้เหมือนกัน (หัวเราะ)

 

คุณมองเรื่องมารยาทของเด็กรุ่นใหม่อย่างไรบ้าง

พี่จะโดนรุมไหม (ยิ้ม) อยากให้เด็กสมัยนี้สำนึกว่าเราเป็นคนไทย มารยาทอย่างไทยเป็นสิ่งสวยงาม เด็กรุ่นใหม่เขามีเวลาอยู่กับผู้ใหญ่ไม่มาก เพราะพ่อแม่ต้องเหนื่อยทำมาหากิน พี่เข้าใจ โลกทุกวันนี้การแข่งขันมันสูง เด็กเลยอยู่ในโลกของโซเชียลมีเดียซึ่งเป็นการอยู่กับคนในวัยเดียวกัน สิ่งเหล่านั้นไม่สามารถสอนมารยาทเขาได้ และภาษาพูดของเด็กที่พี่ไปเห็นในโซเชียลมีเดียนี่คือ โอ้โห กล้าพูดอย่างนี้ออกอากาศกันเลยหรือ น่าตกใจมาก

 

เด็กสมัยนี้ด้วยความที่เขาอยู่กับตัวเองและเพื่อนเยอะ บางครั้งเขาจะไม่ค่อยฟังผู้ใหญ่ นี่คือสิ่งที่พี่ห่วง เพราะการมีมารยาทอย่างไทยเป็นเรื่องน่ารักนะ ใครเห็นก็เอ็นดูนะคะ ขอให้มีเถอะ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน แค่รู้จักยกมือไหว้สวัสดีกับยกมือไหว้ขอบคุณและขอโทษ ขอแค่นี้ก่อนเลย

อย่างในรายการ พี่ดุ แต่พี่ไม่เคยด่านะ คำว่าด่าไม่ใช่อย่างที่พี่เป็น พี่ดุ พี่สอน แต่พี่ไม่ด่า

คุณเลี้ยงลูกชายอย่างไร

พี่เลี้ยงลูกแบบเพื่อน ลูกจะทำอะไรผิดมหันต์แค่ไหน พี่บอกเลยว่าต้องบอกความจริงกับแม่ทุกอย่าง แม่อาจจะเสียใจเมื่อเล่าให้ฟัง แต่ถ้าโกหก แม่จะช่วยแก้ไขไม่ได้

จำไว้นะ แม่คือคนแรกและคนเดียวที่จะช่วยลูก ไม่ว่าลูกจะผิดแค่ไหน ไม่ใช่ช่วยแก้ผิดให้เป็นถูก แต่จะช่วยแก้ปัญหาให้ดีที่สุด

ตอนนี้ทุกคนโตกันหมดแล้ว เราเป็นเหมือนเพื่อนกัน และไม่ว่าคนใดคนหนึ่งมีปัญหา ลูก 3 แม่ 1 จะลงนั่งระดมสมองกันแก้ปัญหา พี่เชื่อในการพูดจาสื่อสารกัน ทุกวันนี้บางทียังบอกลูกว่า ไม่ได้เจอนานแล้ว ไหนมากินข้าวกับแม่แล้วคุยอัปเดตกันหน่อย

 

 

ทุกวันนี้เวลาทำอาหารคุณยังดูตำราบ้างไหม

ดูตำราของตัวเองค่ะ คือเมื่อก่อนเวลาพี่ทำอาหารก็จับเครื่องปรุงโยนไปโยนมาด้วยรสมือของตัวเอง แต่หลังจากที่พี่เขียนหนังสือก็จะมีสัดส่วนแน่นอน เพื่อคนอ่านจะได้ทำตามได้ แต่ที่พี่ดูตำราตัวเองเหตุผลส่วนหนึ่งเพราะพี่ไม่ชอบท่องค่ะ บางครั้งส่วนผสมวัตถุดิบไทยโบราณมันเยอะมาก ใครจะไปจำได้หมด อย่างเช่น ยำใหญ่ ถ้าพี่ไม่เปิดตำราดูเป็นต้องขาดอะไรสักอย่างแน่ๆ

 

การเขียนตำราของตัวเองเกิดจากเวลาแม่หรือคุณย่าสอนตอนเด็กๆ พี่ก็แอบจด เพราะไม่ท่องหนังสือ สารภาพเลยค่ะว่าเป็นเด็กขี้เกียจ แต่จะเรียนทุกอย่างด้วยความเข้าใจ สมองพี่ไม่มีไว้จำเลย พี่จึงต้องจด นั่นคือสิ่งที่เอามาเป็นต้นทุนการเขียนหนังสือ

 

เคยมีแผลจากการทำครัวบ้างไหม

มาดูใกล้ๆ สิ แผลเป็นเต็มเลยค่ะ เอาเป็นว่านิ้วกลางที่ใช้รองหั่น มุมนิ้วพี่แหว่งไปแล้ว ไม่เหลือลายนิ้วมือเลย นอกนั้นก็คือแผลโดนหม้อ กระทะ เต็มไปหมด แผลเยอะจนชินแล้ว จากที่เคยเลือดออกแล้วเจ็บจนอยากร้องไห้ ยิ่งโดนมะนาวหรือโดนน้ำยิ่งเจ็บ หลังๆ เริ่มช่างมันเถอะ เดี๋ยวก็หาย แล้วมันก็หายทุกที

 

แต่ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลที่ขยาดกลัวงานครัว

ไม่เกี่ยวกันเลยค่ะ พี่คงมีใจรักทางนี้ จากตอนเด็กๆ ที่หงุดหงิดเพราะโดนบังคับ พี่เลยอยากบอกพ่อแม่ทุกคนว่าอย่าบังคับลูก การบังคับจะทำให้เขาเกลียดสิ่งนั้น พี่เลยวิ่งหนีไปเรียนรัฐศาสตร์ ไปร้องเพลง หรือทำอะไรทุกอย่างเพื่อออกจากครัว แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้น

 

แล้วอะไรทำให้กลับมา

ช่วงที่แต่งงานแล้วไปอยู่ต่างประเทศ สิ่งที่พี่ได้รับมาตอนเด็กๆ มันผ่านเข้ามาเป็นภาพหมดเลย พี่นึกอยากจะกินอะไรพี่ทำได้หมด เพราะมันคือสิ่งที่เราผ่านมาตั้งแต่เด็ก ทั้งหมดมาจากวิธีการสอนของคุณย่า ของแม่ และผู้ใหญ่ทั้งหลายที่ให้เราลงมือทำด้วยตัวเอง ส่วนจุดที่ทำให้กลับมาคือพี่บ้ายอ (หัวเราะ) พอคนกินเขาบอกว่าอร่อย เสร็จเลยทีนี้ พี่ก็ทำตลอด ยิ่งทำยิ่งสนุก เลยกลับเข้ามาอยู่ตรงนี้ และเพิ่งรู้ว่าพอกลับเข้ามาอยู่ในครัว ความรู้ที่เคยได้เมื่อตอนเด็กมันวิ่งกลับมาหมด ยิ่งตอนเขียนหนังสือ มันยิ่งเป็นการรื้อฟื้นทุกอย่างให้กลับมาจริงๆ

 

ในฐานะครู คุณมีศิษย์เอกหรือศิษย์โปรดไหม แล้วอะไรทำให้เขาได้เป็นศิษย์โปรด

ไม่เชิงเป็นศิษย์โปรด แต่เป็นลูกน้องคนหนึ่งที่ทำงานกับพี่ จบคหกรรม เขารักที่จะเรียนรู้ และการทำงานของพี่ทุกวันมันต้องคิดทำอะไรใหม่อยู่ตลอดเวลา เขาจะเป็นคนที่ตอบรับความคิดพี่ได้ คือถ้าพี่คิดอะไรใหม่ปุ๊บ เขาต้องเข้ามาเทรน เขาคิดละเอียดแม้กระทั่งคอนเซปต์ วิธีการทำงานของแต่ละจานต้องทำอย่างไร หรือเวลาไปสาธิตทำอาหารจานนี้เขาก็เป็นกองหลังให้พี่ได้เลย เขาสู้มาก ไม่ว่าพี่จะไปทำงานตรากตรำอย่างไรก็ไปกับพี่ และเขาพร้อมที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะสนับสนุน

 

เคยเจอศิษย์ที่สอนไม่ได้เลยไหม

บอกก่อนเลยว่าในความเป็นครู พี่จะใจเย็นมาก จะสอนจนกว่านักเรียนจะทำได้ แต่ศิษย์แบบนี้พี่ก็เคยเจอในสายอาชีพ พี่สอนคนตามโรงแรมด้วย บางครั้งคนที่ทำงานในครัวอยู่แล้วเขาจะมีอีโก้และความมั่นใจในตัวเองสูงมาก เขาไม่ฟังพี่เลย เขารู้สึกว่ายายป้านี่จะทำอะไรเป็น หน้าตาอย่างนี้ทำกับข้าวไม่เป็นหรอก บางคนก็เอาเถอะ คิดว่าคุณแน่อยู่แล้วก็ไม่ต้องเทรนกัน แต่ส่วนใหญ่พี่ก็ไม่ทิ้งเขานะ แต่จะลองสู้ดูสักตั้ง ลองปรับทัศนคติ ใช้เวลากับเขา แล้วแสดงให้เห็นว่าคุณเหนื่อยแค่ไหน ฉันก็เหนื่อยแค่นั้น

 

ในฐานะคนเขียนสูตรอาหาร เคยกลับไปดูสูตรของตัวเองแล้วรู้สึกว่ายังไม่ดี และอยากแก้บ้างไหม

บ่อยเลยค่ะ สูตรเดิมมันก็ยังทำได้นะ แต่เนื่องจากโลกเรามีของใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน วัตถุดิบบางอย่างมีเปลี่ยนแปลง และบางครั้งเราก็ไม่ต้องทำด้วยขั้นตอนที่ยากขนาดนั้นอีกต่อไปแล้ว มันมีของที่ทำให้เราสะดวกขึ้น หรือบางครั้งพี่กินแล้วรู้สึกว่ามันจืดไปหน่อยก็ประเคนลงไปให้หนักมือขึ้น

 

ในฐานะครูจะรู้สึกไม่พอใจหรือไม่ถ้านักเรียนเอาสูตรเราไปดัดแปลง

สำหรับพี่ไม่นะ และจะไม่โวยวายด้วย พี่กลับจะดีใจที่มีคนเอาสูตรของเราไปใช้ ซึ่งเมื่อสอนและเขียนหนังสือแล้วก็อยากให้เขาได้ใช้ ถ้าหวงพี่คงไม่เขียนหรอก พี่เขียนเสมอว่าพี่ทำรสกลาง ชอบรสไหนคุณไปปรับเอาเอง แต่ถ้าเป็นหนังสือ อย่าละเมิดลิขสิทธิ์พี่เท่านั้น แต่คุณเอาไปประยุกต์ใช้ได้พี่ก็ยินดี เอาไปทำเป็นอาชีพก็ยินดี

 

ถ้าให้เลือกอาหารสักจานหนึ่งให้ตัวเอง จะเลือกอะไร และรสชาติแบบไหน

พี่รู้ว่าตัวเองเป็นคนหลากบุคลิก ถ้าต้องเลือกให้ตัวเองพี่ขอเลือกน้ำพริกกับผักแบบจัดเต็ม คำว่าจัดเต็มของพี่คือมีทั้งข้าว น้ำพริกใดๆ ก็ได้ ผักที่มีรสชาติต่างกัน ไม่ใช่แค่แตงกวากับถั่วฝักยาว พร้อมเครื่องเคียงอย่างปลาหรือเนื้อเค็มให้พี่ด้วย นั่นคือพี่ต้องการความสมบูรณ์แบบที่ไม่ซับซ้อน ไม่หรูหรา

 

 

คุณเป็นห่วงหรืออยากสอนเด็กรุ่นใหม่เรื่องอะไรบ้าง

พี่อยากบอกเรื่องหนึ่งที่ใช้ได้กับทุกอย่าง พี่ผ่านวัยรุ่น วัยทำงานมา ชีวิตพี่ก็ผ่านอะไรมาเยอะมาก สิ่งที่พี่อยากบอกก็คือ ไม่มีปัญหาไหนที่แก้ไม่ได้ เมื่อคุณมีปัญหาแล้วเสียใจ อยากร้องไห้ คุณทำได้ แต่วันหนึ่งคุณต้องหยุด และลุกขึ้นใช้สติแก้ปัญหา

ทุกอย่างมีทางออก ไม่ต้องคิดว่าอยากตายหรอก เวลามีปัญหามันจะมีจุดหนึ่งที่อยากหนีพ้นปัญหา แต่ไม่มีอะไรทำให้เราตายได้นอกจากตัวเราเอง เพราะฉะนั้น เราต้องไม่ตาย

ต้องก้าวต่อไปให้ได้ด้วยสติ พี่บอกเลยว่าทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยสติ ชีวิตพี่ผ่านปัญหามา ร้องไห้มา แต่ต้องหยุด ต่อให้คนปลอบเป็นร้อยคน มันก็ช่วยไม่ได้ถ้าเราไม่มีสติที่จะคิดเอง

 

อีกข้อ เรื่องการทำงาน พี่ขอให้สู้ จำไว้อย่างเดียวนะ ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ถ้ายังไม่ลองทำ เวลาใครให้เราทำอะไรสักอย่าง ไม่ใช่รีบสวนกลับว่าทำไม่ได้ ไม่ใช่ค่ะ คุณลองทำมันหรือยัง แล้วทำทุกอย่างให้เต็มกำลังความสามารถหรือยัง เชื่อไหมว่าทำได้ทุกคน และถ้าคุณมีทั้งสติและใจสู้ คุณจะผ่านเรื่องทุกอย่างในชีวิตได้

 


Credits


Intro Voice-over
นทธัญ แสงไชย

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post เชฟป้อม ม.ล.ขวัญทิพย์ “เถียง ไม่เหมือนอธิบาย ดุ ไม่ใช่ด่า” อาหารกับมารยาทเกี่ยวกันอย่างไร appeared first on THE STANDARD.

]]>
พี่เป๋า วงนั่งเล่น “แม้ทุกวันจะไม่ใช่วันดีๆ แต่ถ้ามองให้ดี สิ่งดีๆ มีอยู่ทุกวัน” https://thestandard.co/podcast/randomwisdom03/ Fri, 13 Apr 2018 17:01:12 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=83148

เล่าสู่กันฟัง – เบิร์ด ธงไชย, ขอให้เหมือนเดิม  […]

The post พี่เป๋า วงนั่งเล่น “แม้ทุกวันจะไม่ใช่วันดีๆ แต่ถ้ามองให้ดี สิ่งดีๆ มีอยู่ทุกวัน” appeared first on THE STANDARD.

]]>

เล่าสู่กันฟัง – เบิร์ด ธงไชย, ขอให้เหมือนเดิม – บูโดกัน, แค่มี – พลพล, ประเทือง – ไท ธนาวุฒิ, โอ้ใจเอ๋ย – ปั่น ไพบูลย์เกียรติ นี่คือส่วนหนึ่งของเพลงที่แต่งโดย เป๋า-กมลศักดิ์ สุนทานนท์ นักแต่งเพลงที่สร้างผลงานที่มีชื่อเสียงเอาไว้มากมาย

 

แต่ในวันนี้ เป๋า กมลศักดิ์ ในวัย 60 ปี เลือกที่จะถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองคิดผ่านบทเพลง และเล่นดนตรีกับเพื่อนที่เข้าใจในชื่อ วงนั่งเล่น วงดนตรีที่พูดถึงเรื่องชีวิตอย่างเข้าใจ และถ่ายทอดออกมาอย่างรื่นรมย์

 

เรื่องราวที่ผ่านมาในชีวิตของเขาบอกความจริงอะไร และดนตรีให้อะไรกับเขาในวันนี้บ้าง

 


ความสำคัญของเสียงเพลง

ดนตรีหรือเพลงคือศิลปะ ศิลปะกับชีวิตเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ มันส่งเสริมกันในทุกสถานการณ์ ดูได้จากชีวิตประจำวันของคนเรา การแต่งตัวเป็นศิลปะ การพูดจาเป็นศิลปะ หรือแม้กระทั่งการขับรถก็ยังเป็นศิลปะ เสียงเพลงอยู่กับเราได้ในทุกสถานการณ์ มีความสุข มีความรัก อกหัก ตื่นเต้น กลัว ลองคิดถึงเพลงประกอบที่แทรกอยู่ในทุกฉากของหนัง เพียงแต่เราอาจไม่รู้สึกตัวว่ามันมีอยู่ก็เท่านั้นเอง

 

ความสุขในการทำวงนั่งเล่น

พี่เริ่มเข้าใจว่าคนเล่นดนตรีไม่จำเป็นต้องเก่งก็ได้ เพียงแต่ให้เราเข้าใจและเป็นธรรมชาติที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ เพราะสำหรับพี่ ดนตรีมันคือการเลียนเสียงธรรมชาติที่มีจังหวะ เหมือนนักแสดงที่เรารู้สึกว่าเขาเล่นดี นั่นเพราะเขามีความเป็นธรรมชาติ

 

มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ฝูง พี่เชื่อว่าสุดท้ายแล้วนกมันก็อยู่กับนก ปลามันก็อยู่กับปลา มันรู้สึกสบายใจ เช่นเดียวกันกับคน ถ้าเราได้อยู่กับคนที่เป็นฝูงเดียวกัน อย่างคนที่เข้ามาดูวงนั่งเล่นเป็นคนที่ชอบวงเราและชอบเรื่องราวที่เพลงกำลังสื่อสาร ถ้าเราได้อยู่กับพวกเขา ได้ร้องเพลง หัวเราะ พูดคุย ถ่ายรูป มันก็เป็นความสุข

 

 

ชีวิตเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ ถ้าเราทำความเข้าใจกับมัน

ทุกอย่างในชีวิตเราสามารถลิขิตเองได้ ถ้าเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกนี้มันก็ตั้งอยู่ เกิดขึ้น และดับไป ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์หรือความสุข และทั้งสองสิ่งนี้เราเป็นคนเลือกเองได้ว่าจะมองมันในแง่บวกหรือแง่ลบ


จิตใจของมนุษย์คล้ายกับคลื่นวิทยุ มีทั้งคลื่นรับและคลื่นส่ง ถ้าเราตั้งรับไว้แต่เรื่องดี มันก็จะมีแต่เรื่องดีๆ เข้ามา แต่ถ้าเราตั้งเครื่องรับไว้แต่เรื่องร้าย มันก็จะมีแต่เรื่องร้ายๆ เข้ามา ดังนั้นถ้าเราเลือกแล้วว่าจะรับสิ่งไหน อย่างอื่นที่เข้ามาก็จะอยู่ได้ไม่นานแล้วมันก็จะออกไป สมมติเรามองต้นไม้ต้นหนึ่งแบบคนมองโลกในแง่บวก เราคงรู้สึกว่ามันดีที่ให้ร่มเงาและออกซิเจน แต่ถ้าเราคิดในแง่ลบ เราอาจมองว่ามันเกะกะ ใบก็ร่วง ต้องมานั่งเสียเวลากวาด เห็นไหม มันอยู่ที่วิธีคิด ชีวิตมันเป็นเช่นนั้น เรื่องพวกนี้คนที่เข้าใจเร็วจะยิ่งได้เปรียบ

 

เพลงของวงนั่งเล่นกำลังบอกอะไรคนฟัง

เพลง สายลม พี่อยากบอกว่าสุขกับทุกข์มันมาแล้วก็ไป วันที่มีความทุกข์หรือมีความสุขมันก็เป็นแค่วันวันหนึ่ง แต่วันที่สำคัญคือวันที่เราเข้าใจมันต่างหาก

 

เพลง Dream ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร อายุเท่าไร ก็อยากให้มีฝันต่อไป เพราะตอนเด็กๆ พี่เคยเข้าใจว่าความฝันมีได้แค่ฝันเดียว คือฝันว่าอยากเป็นอะไร เช่น ฝันอยากเป็นทหาร ถ้าได้เป็นทหารแล้วทุกอย่างก็จบ แต่มาวันนี้พี่เพิ่งรู้ว่าไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าไร คุณก็มีความฝันต่อไปได้เรื่อยๆ

 

เพลง Something Good ทุกๆ วันอาจจะไม่ใช่วันดีๆ แต่ถ้ามองดีๆ มันจะมีสิ่งดีๆ อยู่ในทุกๆ วัน

 

 

ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นเรื่องสมมติ

ทุกวันนี้ที่มนุษย์ยังทะเลาะกัน ประเทศโน้นรบกับประเทศนี้ มันเป็นเพราะยังคงยึดติดกับความคิดที่ว่าตัวเราของเรา ทุกอย่างล้วนเป็นเรื่องสมมติ เพลง Imagine ของจอห์น เลนนอน บอกให้ทุกคนลองจินตนาการว่า ถ้าไม่มีประเทศ ไม่มีศาสนา โลกก็จะเป็นหนึ่งเดียว ทุกคนจะเป็นมนุษย์โลกเท่าเทียมกัน ลองคิดดูว่าถ้าวันหนึ่งชาวโลกต้องรบกับมนุษย์ต่างดาว พี่ว่าทุกคนอาจรวมใจกันได้นะ


เป้าหมายในอนาคต

ถ้าเป็นไปได้ ในฐานะของลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า พี่อยากอุทิศเวลาส่วนที่เหลือมุ่งเข้าหาธรรมะเพื่อเตรียมตัวตายให้ที่ดีที่สุด เพราะกลัวว่าถ้าถึงวันหนึ่งที่ต้องตายจะมัวมานั่งเสียดายที่ตัวเองยังดีไม่พอ

 

สุดท้ายแล้วอยากบอกว่าพี่เป็นแบบนี้มาตั้งแต่เกิด ไม่ได้เพิ่งมาดัดจริต มันสนใจมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่วันนั้นเรายังไม่ได้เข้าใจเท่าวันนี้ เพราะยังไม่มีประสบการณ์ ยังไม่ได้ตระหนัก ยังไม่เจอเรื่องราวในชีวิต และในวันนั้นถึงเราจะรู้ แต่เราก็แพ้

เคยมีหลายครั้งมานั่งเสียดายสิ่งที่ทำลงไปในอดีต เพราะคิดว่าถ้าเราทำวันนั้นให้ดีกว่านั้น วันนี้เราอาจดีกว่านี้ไปแล้วก็ได้


Credits


Intro Voice-over
พิภู พุ่มแก้วกล้า

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post พี่เป๋า วงนั่งเล่น “แม้ทุกวันจะไม่ใช่วันดีๆ แต่ถ้ามองให้ดี สิ่งดีๆ มีอยู่ทุกวัน” appeared first on THE STANDARD.

]]>
ป้าแบ็กแพ็ก ผู้ไม่กลัวที่จะเที่ยวทั่วโลกตัวคนเดียว https://thestandard.co/podcast/randomwisdom02/ Thu, 12 Apr 2018 17:01:32 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=83122

ป้าแป๋ว-กาญจนา พันธุเตชะ อดีตข้าราชการที่ใช้ชีวิตธรรมดา […]

The post ป้าแบ็กแพ็ก ผู้ไม่กลัวที่จะเที่ยวทั่วโลกตัวคนเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>

ป้าแป๋ว-กาญจนา พันธุเตชะ อดีตข้าราชการที่ใช้ชีวิตธรรมดาและเรียบง่ายจนมาถึงวันที่ต้องเกษียณ ซึ่งในขณะที่คนส่วนใหญ่ในวัยนี้เลือกใช้ชีวิตเงียบๆ กับครอบครัว เลี้ยงหลาน หรือออกไปอยู่ต่างจังหวัด ป้าแป๋วกลับทำสิ่งตรงข้าม เธอเลือกที่จะสะพายเป้ขึ้นบ่า ออกเดินทางไปต่างประเทศ นอนโฮสเทลร่วมกับคนแปลกหน้า และผจญภัยด้วยตัวคนเดียว

 

มันเหมือนรถที่ขับมาเร็ว ช่วงทำงานเราเร่งความเร็วของตัวเองตลอด จนวันสุดท้ายที่เกษียณ ถ้าให้เราหยุดอยู่บ้านเฉยๆ ในทันที มันคงทำตัวลำบากเหมือนกัน

จุดเริ่มต้นของการเดินทาง

ป้าแป๋วมีความคิดอยากไปเที่ยวยุโรปอยู่แล้ว ค่าใช้จ่ายช่วงหน้าหนาวมันถูกกว่าซีซันอื่นๆ เลยลองไปชวนเพื่อน แต่เพื่อนเราบางคนก็เคยไปมาแล้ว บางคนก็อยากไปที่อื่นมากกว่า ป้าแป๋วเลยกลับมาคิดว่าถ้ามัวแต่ต้องรอคนอื่นคงไม่ได้ไปไหนกันพอดี ถ้าอย่างนั้นไปคนเดียวเลยแล้วกัน

 

คนไทยมีนิสัยขี้กลัวนะ ไม่ค่อยกล้าเท่าไร แต่สำหรับเราจะลดความกลัวด้วยการเตรียมข้อมูลให้ดี คนในวัยนี้ไม่ควรปฏิเสธอินเทอร์เน็ต เราสามารถเสิร์ชหาอะไรได้มากมายในนั้น ป้าแป๋วว่ายิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร ยิ่งมีความมั่นใจในการเดินทางมากขึ้นเท่านั้น เพราะทุกที่ก็เป็นครั้งแรกของเราเสมอ

 

แรงบันดาลใจของผู้หญิงในวัย 60 ปี

คนที่เกษียณแล้วเอาแต่กินๆ นอนๆ อยู่กับบ้านเฉยๆ มันไม่เป็นผลดีต่อร่างกายและสมองเลย มันจะรู้สึกเหี่ยวเฉาและจำเจ สบายเกินไปคงไม่ดีกับผู้สูงอายุหรอกนะ

สำหรับตัวป้าแป๋วเองจะหาอะไรทำตลอดเวลา หลังทำงานบ้านเสร็จ ป้าแป๋วจะมาทำกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องเที่ยวของตัวเอง ตั้งแต่วางแผนว่าจะไปที่ไหน จองตั๋วเครื่องบิน จองที่พัก ดูว่าจะต้องขอวีซ่าไหม แต่ละเดือนของป้าแป๋วก็จะผ่านไปเร็วมาก และเวลาเดินทาง ป้าแป๋วมักจะรู้สึกว่าสมองได้ทำงาน ร่างกายก็ได้ออกกำลัง เพราะไปเที่ยวแต่ละครั้งต้องเดินเยอะมากจริงๆ เอาแค่ในสนามบินจะเดินไปเกตนี่ก็ตั้งไกลแล้ว (หัวเราะ)

 

 

เริ่มเก็บเงินด้วยเหตุผลที่ไม่น่าเชื่อ!

สมัยก่อนเป็นยุคที่ผู้ชายนิยมมีเมียน้อย เราเองต้องคิดเผื่อสำหรับตัวเองไว้ด้วยว่าอาจมีความเสี่ยง อาจมีบุคคลที่ 3 เข้ามาอยู่ในบ้าน เพื่อความไม่ประมาท ป้าแป๋วเลยแบ่งเงินเก็บไว้ทุกเดือน สำรองให้ครอบครัวและการเจ็บป่วย ดีกว่าถึงเวลาที่ต้องใช้จริงๆ แล้วเราไม่มีจนต้องไปดึงเงินอนาคตมาใช้

 

ป้าแป๋วก็เก็บเรื่อยมาจนถึงวันที่เกษียณ และคิดว่าชีวิตมันมาถึงปลายทางแล้วล่ะ คงไม่มีเหตุจำเป็นอะไรให้ต้องใช้เงินก้อนนี้อีก เลยเอาเงินส่วนนี้มาใช้ในการเดินทาง จะไปขอเงินคนอื่นมาท่องเที่ยวก็คงไม่ใช่นะ ใช้เงินตัวเองดีกว่า

 

อยากบอกอะไรกับเด็กรุ่นใหม่

อยากให้เด็กรุ่นใหม่คิดถึงเรื่องการออมเงินไว้บ้าง อาจจะ 15-20% ของเงินเดือน ฝากไว้แบบไม่ต้องถอนเลย เพราะถ้าถึงวันที่จำเป็นต้องใช้ เงินก้อนนี้จะทำให้เรารู้สึกมั่นคงในชีวิต


อีกเรื่องคืออยากให้ลองใช้เวลานั่งทบทวนตัวเอง ตั้งเป้าดูว่าตอนอายุ 60 ปี คุณอยากเป็นคนแบบไหน อยากมีสุขภาพดีไหม คำว่า ‘สุขภาพดี’ สำหรับป้าแป๋วคือไม่ต้องกินยาประจำโรคไปตลอดชีวิต มันไม่ใช่เรื่องสนุกเลย ดังนั้นการจะไม่เป็นโรคต้องทำยังไง ต้องกินอยู่ให้ดี อย่าตามใจปากจนเกินไป ขยันออกกำลังกายสม่ำเสมอ พอคิดได้แล้วก็ลงมือทำให้ได้

 

 

นิยามคำว่าป้าแบ็กแพ็ก

ป้าแป๋วแค่อยากท่องเที่ยวอย่างอิสระและประหยัด ได้ไปเจอประสบการณ์ใหม่ๆ พบผู้คนใหม่ๆ เจออะไรที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และที่สำคัญคือได้ใช้เวลาหลังเกษียณที่มีความสุข ไม่เหนื่อย ไม่เบื่อ ถ้าสุขภาพยังโอเคอยู่ ป้าแป๋วก็อยากเที่ยวไปเรื่อยๆ จนกว่าจะไม่มีแรง

 


Credits


Intro Voice-over
ดิษยุตม์ ธนบุญชัย

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic.com

The post ป้าแบ็กแพ็ก ผู้ไม่กลัวที่จะเที่ยวทั่วโลกตัวคนเดียว appeared first on THE STANDARD.

]]>
อาหนิง นิรุตติ์ เชื่อว่า สิ่งที่น่าสะสมที่สุดคือ ความดี https://thestandard.co/podcast/randomwisdom01/ Wed, 11 Apr 2018 17:01:08 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=83100

นิรุตติ์ ศิริจรรยา หรือ อาหนิง นักแสดงที่คนทั้งในและนอก […]

The post อาหนิง นิรุตติ์ เชื่อว่า สิ่งที่น่าสะสมที่สุดคือ ความดี appeared first on THE STANDARD.

]]>

นิรุตติ์ ศิริจรรยา หรือ อาหนิง นักแสดงที่คนทั้งในและนอกวงการบันเทิงต่างยอมรับ ผู้ชายที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมากว่า 70 ปี มองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร ค้นพบอะไรในการใช้ชีวิตสงบเงียบ และมีอะไรที่เขาอยากถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจชีวิต

 


 นักแสดงคือสินค้าและลูกจ้าง

“ผมต้องเชื่อฟังผู้กำกับ เพราะผู้กำกับคือคนที่ใหญ่ที่สุดในกองถ่าย อาทำอย่างนี้ไม่ได้ อาต้องทำอย่างนั้น ฉากนี้อาต้องร้องไห้ ผมจะไปบอกผมไม่ทำ แค่นี้ดีแล้ว มันไม่ใช่ นักแสดงเป็นสินค้า ผู้กำกับคือผู้พัฒนาสินค้า เขากำลังพัฒนาตัวผม แล้วเอาออกไปขายจนเป็นที่นิยมของผู้บริโภค”


“เรามีงานต้องรับผิดชอบ ที่ผมบอกว่าไม่ได้ดูละครที่ตัวเองเล่น เพราะว่าบางครั้งวันที่ละครเราออก เราทำงาน และเวลาทำงานของนักแสดงเขาเริ่มกันตั้งแต่ตี 5 กว่าจะกลับถึงบ้านก็เที่ยงคืนแล้ว คุณจะบอก ผู้กำกับครับ ผมขอเบรกไปดูละครที่ผมเล่นก่อนได้ไหม หรือขอนั่งดูย้อนหลังก่อนได้ไหม มันก็ไม่ได้ เราต้องทำงาน เราเป็นลูกจ้าง ขอให้คิดอยู่ตลอดเวลาว่า เราคือลูกจ้าง ไม่ว่าคุณจะเป็นพระเอก 50 ตุ๊กตาทอง คุณก็ยังเป็นลูกจ้าง ถ้าเขาไม่จ้างคุณก็ไม่มีวันได้ตุ๊กตาทอง คิดอันนี้ไว้ให้หนัก อย่าไปหลงตัวว่าฉันเก่ง ฉันแน่ ฉันเป็นผู้นำของนักแสดงเหล่านี้ ถ้าไม่มีเรา เขาหาคนอื่นได้นะ เพราะเราก็คือสินค้าชนิดหนึ่ง มันไม่ใช่โทรศัพท์ออกมารุ่นใหม่ ตกน้ำได้ ไม่พัง แต่ถ้าเราตกน้ำเราจมนะ ฉะนั้นคนที่เขาพยายาม ไม่ยอมตกน้ำ เขาก็จะอยู่แทนคุณ”

อย่าไปหลงตัวเองที่คนอื่นเรียกเราว่า ซูเปอร์สตาร์ เราไม่ได้อยู่ในอวกาศ เราไม่ใช่ดาว เรายังเดินอยู่บนพื้นดิน เราแค่ลูกจ้างเขา ไม่มีใครจ้างเรา เราก็ดับวูบไปเท่านั้นเอง

 

การทำงานคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต

“ถ้าคุณรำคาญกับอาชีพ อย่าอยู่ ผมเข้ามาแสดงเรื่องแรก โดยที่ยังไม่รู้ว่าจะมีเรื่องที่สองหรือไม่ แต่ผมรักงานนี้ และผมไม่รำคาญที่จะต้องทำอะไรซ้ำๆ ผมคิดว่าการทำงานเป็นการเรียนไม่รู้จบ ผมมีโอกาส และมีโชคที่ได้ค้นพบตัวเองว่าเราชอบอาชีพแบบนี้ ผมก็เลยลาออกจากสายการบิน เพื่อเข้าสู่อาชีพการแสดง ผมไม่ได้จบมหาวิทยาลัย หรือโรงเรียนการแสดง แต่ผมยังเรียนรู้อยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวันนี้ ผมก็ยังเรียนไม่จบ”

 

ต้องเข้าใจตัวเอง และต้องเข้าใจคนอื่น

“ถ้าผมไม่รู้ในสิ่งที่ผมทำ ผมจะกลัวมาก ถ้าไม่รู้ แล้วสักแต่พูดไป มันจะได้อะไร เราต้องรู้และเข้าใจในสิ่งที่เราพูด และคิดว่ามันดีมีประโยชน์ ถ้าเราไม่รู้ไม่เข้าใจก็จะทำไปผิดๆ เหมือนมอเตอร์ไซค์ที่เขาใส่ไซเลนเซอร์เก็บเสียงมา เราก็ไปถอดมันออก แล้วก็ไปขี่อย่างเมามันในอารมณ์ มีความสุขอยู่คนเดียว คุณก็จะทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ เพราะเราทำงานเป็นกลุ่ม ทั้งครอบครัว ทั้งบริษัท ทั้งประเทศ หรือกับเพื่อนเราก็ต้องเข้าใจว่าแต่ละคนว่ามีนิสัยไม่เหมือนกัน กินก็ไม่เหมือนกัน นอนก็ไม่เหมือนกัน อยู่ก็ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเราต้องเข้าใจเพื่อนเราทุกคน หรือคนในครอบครัวเราเองนิสัยก็ยังไม่เหมือนกัน และถ้าหากว่าคุณยังไม่เข้าใจคนในครอบครัว คุณจะมาเข้าใจผมหรือคนอื่นได้อย่างไร”

 

 

อย่าตัดสินใครง่ายๆ

“นักแสดงไม่ใช่คนวิเศษ ไม่มีใครวิเศษหรอก พวกเขาก็เหมือนคุณนั่นแหละ หรือบางคนอาจเลวกว่าคุณก็ได้ ผมไม่ได้มาด่าพวกเดียวกันเอง แต่ผมหมายถึง ความเป็นปุถุชน ทุกคนเท่ากันหมด นักแสดงไม่ได้วิเศษกว่าเรา เพียงแต่เรารู้จักเขาเท่านั้น คุณเห็นเขาเลวมากในการแสดง ตัวจริงเขาอาจจะดีมากก็ได้ อย่าด่วนตัดสินใครง่ายๆ ถ้าเรายังไม่รู้จักตัวตนของเขาเลย”

 

ชีวิตควรมีระบบจัดการและวางแผน

“คุณต้องมีระบบจัดการหรือวางแผนชีวิตตั้งแต่คุณตื่น วันนี้กลับบ้าน พรุ่งนี้คุณจะทำอะไร ไม่ใช่จัดการว่า ไม่มีอะไรทำ ตื่นมา 6 โมงเช้า มาดูพระอาทิตย์ขึ้น แล้วกลับไปนอนต่อ มันไม่ใช่ เดี๋ยวพรุ่งนี้มันก็ขึ้นอีก พรุ่งนี้ผมไปทำงานเช้า ผมก็ตื่นเช้าได้ ผมก็ดูมันได้ ผมก็รับอากาศสดชื่นได้ มันอยู่ที่ระบบการจัดการและการวางแผน มันต้องควบคู่กันไปอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่เด็กจนบรรลุนิติภาวะ ผมก็ยังดำเนินแผนของผมอยู่อย่างนี้ ถ้าคุณไม่มีระบบจัดการในชีวิต คุณจะจัดการใครได้ คนงานผมก็มี สุนัขผมก็เลี้ยง อาหารการกินเนี่ย คุณจะกินของหวานก่อนไหมล่ะ หรือจะเอาของหวานไปกินพร้อมกับข้าว มันก็ล้มละลาย”

 

 

ทำตั้งแต่พอมี และค่อยๆ ทำ

“เริ่มต้นทำตั้งแต่เราพอมี ไม่ใช่รอให้มีก่อนแล้วค่อยไปทำ มันไม่มีวันสำเร็จ เพราะต่อให้มีแล้ว รวยแล้ว มันก็จะมีอะไรมาดึงคุณไป มีปีศาจรออยู่อีกมากมาย แค่มีโอกาส หรือพอมีบ้าง ทำสักครึ่งหนึ่งที่มี เหลืออีกครึ่งหนึ่งเก็บไว้ ค่อยๆ ทำ เช่นเดียวกับการแสดง เช่นเดียวกับความดี เช่นเดียวกับการเรียนรู้ คุณก็เริ่มเรียนรู้ตั้งแต่น้อยๆ จนกระทั่งจบมหาวิทยาลัย ทำปริญญาโท ด็อกเตอร์ มันก็เริ่มต้นมาจากน้อยๆ แล้วค่อยๆ ทำทั้งนั้น อาชีพการงานเราก็เช่นกัน ไม่มีใครมาถึงก็แสดง แล้วมีชื่อเสียง แล้วมีสตางค์มากมายเลยทันที ไม่มีหรอก ทุกคนต้องผ่านความสาหัสของชีวิตมากมาย ทั้งหัวเราะทั้งร้องไห้นั่นแหละ”

 

สะสมทำไม ในเมื่อสุดท้ายเราก็จากไป

“จะสะสมไว้ทำไม เรามาอาศัยในโลกนี้ชั่วคราวเท่านั้น ใช้ชีวิตให้มีความสุขที่สุด ทำความดีให้มากที่สุด วันหนึ่งเราก็จากโลกนี้ไป จะอะไรกันนักหนา เพราะที่สุดแล้วคุณก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง แต่ว่ามันมีกิเลสไงมนุษย์ อยากได้อยากมีไปเพื่ออะไร เพื่ออวดเท่านั้นเอง อวดว่าฉันมีมากกว่าใคร อวดว่าคนอื่นไม่มีแต่ฉันมี แล้วมันทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้”

ผมเกิดมาบนโลกใบนี้ผมมีความสุขแล้ว ไม่ต้องสะสมอะไร เพราะวันหนึ่งผมก็ไม่ได้เป็นเจ้าของที่นี่ ต่อไปใครจะมาอยู่ที่นี่ก็ไม่รู้ แค่ทำวันนี้ให้ดีที่สุด อยู่ให้มีความสุขที่สุด ไม่เบียดเบียนใครที่สุด แล้ววันหนึ่งก็จากที่นี่ไป เท่านั้นเอง


Credits


Intro Voice-over
มนต์ชัย วงศ์กิตติไกรวัล

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producers อธิษฐาน กาญจนะพงศ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Photographer ศศิพิมพ์ อนันตกรณีวัฒน์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Music Westonemusic

The post อาหนิง นิรุตติ์ เชื่อว่า สิ่งที่น่าสะสมที่สุดคือ ความดี appeared first on THE STANDARD.

]]>