SCB 10X – THE STANDARD https://thestandard.co สำนักข่าวออนไลน์ นำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์ ให้ความรู้ ความคิด และแรงบันดาลใจ. Wed, 26 Feb 2020 07:30:56 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.5.5 สิ่งที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking และการสร้างนวัตกรรมจาก ต้อง กวีวุฒิ แห่ง SCB 10X และแปดบรรทัดครึ่ง https://thestandard.co/podcast/thesecretsauce197/ Mon, 24 Feb 2020 11:10:50 +0000 https://thestandard.co/?post_type=podcast&p=334545

เคน นครินทร์ คุยกับ ต้อง-กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร เจ้าของพอด […]

The post สิ่งที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking และการสร้างนวัตกรรมจาก ต้อง กวีวุฒิ แห่ง SCB 10X และแปดบรรทัดครึ่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>

เคน นครินทร์ คุยกับ ต้อง-กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร เจ้าของพอดแคสต์ แปดบรรทัดครึ่ง ถึงความเข้าใจผิดเรื่องการใช้ Design Thinking เพื่อสร้างนวัตกรรม และบทบาทของ Head of Venture Builder แห่ง SCB 10X ในรายการ The Secret Sauce

 


 

SCB 10X โฮลดิ้งดิจิทัลเทคโนโลยี

ไม่นานมานี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ที่ชื่อว่า บริษัท เอสซีบี เท็นเอกซ์ จำกัด (SCB 10X) ด้วยทุนจดทะเบียน 5,000,000 บาท เพื่อเป็นเสมือนโฮลดิ้งคอมพานีที่เข้ามาดูแลบริษัทด้านเทคโนโลยีในเครือทั้งหมด เช่น บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด (Digital Ventures) บริษัท เอสซีบี อบาคัส จำกัด (SCB Abacus) บริษัท มันนิกซ์ จํากัด (MONIX) เป็นต้น แต่เดิม SCB 10X เป็นหน่วยงานใหม่ภายใต้ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่มีจุดประสงค์เพื่อให้พนักงานได้ทดลองสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่หากทำสำเร็จจะก่อเกิดความเปลี่ยนแปลงให้องค์กร ไม่อยู่ภายใต้กรอบความคิดว่าต้องทำสำเร็จหรือต้องทำกำไรให้องค์กรเสมอไป คำว่า Venture Builder หรือ ‘การลงทุนร่วมสร้าง’ เข้าใจง่ายๆ คือการเป็นเสมือน Co-Founder ที่ช่วยให้คนสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้แม้จะอยู่ในสถานะที่ไม่พร้อมรับความเสี่ยง SCB 10X จะช่วยจัดการในเรื่องต่างๆ ที่ซับซ้อนในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้ทำในสิ่งที่ควรทำจริงๆ นั่นคือการโฟกัสลูกค้า หากธุรกิจไปไม่รอดก็สามารถเลิกกิจการได้โดยไม่เสียหายอะไร

 

Co-Founder แบบไหนที่ SCB 10X ต้องการ

SCB 10X ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าต้องการคนแบบไหน เราเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า โปรไฟล์ของซีอีโอแบบไหนที่จะทำสตาร์ทอัพสำเร็จ คำตอบคือคนคนนั้นควรมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนั้นๆ มาก่อน เพราะคนแบบนี้จะมีความเข้าใจในปัญหาของธุรกิจสูงมาก มีแนวทางและแพสชันในการแก้ปัญหาอยู่แล้ว แต่แค่สร้างไม่เป็น ซึ่งอาจเป็นคนที่เคยทำสตาร์ทอัพมาแล้ว แต่ไม่สำเร็จตามที่คิด เพราะคนกลุ่มนี้มีความสามารถในการทำสตาร์ทอัพ รู้ในสิ่งที่คนในองค์กรไม่รู้ แค่เขาอยู่ในไอเดียที่ผิดและไม่สามารถรับความเสี่ยงได้หลายครั้งในชีวิต อีกกลุ่มที่ SCB 10X มองไว้คือ คนที่มีอาชีพเป็นที่ปรึกษา คนกลุ่มนี้จะมีความคิดวิเคราะห์ที่ดี มีวินัย และต้องการทำอะไรที่เป็นของตนเอง อย่างไรก็ตาม การคัดเลือกคนที่จะมาร่วมกับ SCB 10X ต้องอาศัยการพูดคุยถึงไอเดียธุรกิจ และเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นคนคนนั้น ตัวตนของผู้ที่จะเข้ามาร่วมต้องมีความพิเศษอะไรบางอย่างที่บ่งบอกว่าธุรกิจนั้นจะไปรอด ส่วนใหญ่ลักษณะของคนที่กล่าวถึงจะมีอายุประมาณ 40 ปี เป็นวัยทำงานที่มีครอบครัวหรือภาระที่ต้องรับผิดชอบ คนกลุ่มนี้มีไฟที่อยากจะทำอะไรบางอย่าง แต่เขาไม่มีทางเลือกที่จะออกมาทำได้

 

วัฒนธรรม SCB 10X เริ่มจากความเชื่อมั่นใน ‘คน’

ก่อนอื่นเราต้องปล่อยให้คนในองค์กรทำอะไรที่อาจล้มเหลวได้ แต่อย่าให้เงินลงทุนเยอะเพื่อลดความเสี่ยงในด้านงบประมาณ การให้คนได้ลองผิดลองถูกโดยใช้เงินไม่มาก มีข้อดีตรงที่ได้ผลลัพธ์เร็ว หากสำเร็จก็ไปต่อ หากไม่สำเร็จก็เปลี่ยนวิธี องค์กรควรกันงบประมาณไว้ส่วนหนึ่งสำหรับการลองผิดลองถูก เป็นงบประมาณสำหรับการเทรนนิ่งพนักงาน เนื่องจากการลองผิดลองถูกเปรียบเสมือนการ On the Job Training (OJT) ที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้ทดลองทำสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยอาจจะสำเร็จหรือไม่ก็ได้ องค์กรส่วนใหญ่มีงบประมาณสำหรับ Classroom Training เยอะมาก ทั้งที่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ชัดเจนเท่ากับการทำ OJT ที่ทำให้พนักงานได้เรียนรู้จากความล้มเหลวโดยตรง สิ่งสำคัญคือองค์กรต้องมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อจริงๆ สำหรับการลองผิดลองถูก สนับสนุนให้พนักงานได้ทำในสิ่งที่ควรทำจริงๆ มากกว่าการใช้เวลาไปกับกิจกรรมบางอย่างที่เกินความจำเป็น เช่น การประชุม หรือการวางแผนระยะยาว เพราะแผนระยะยาวใช้ไม่ได้กับยุคนี้ แผนที่วางไว้ล้มเหลวได้เสมอหากคุณไม่ได้อยู่ใกล้และเข้าใจลูกค้า ดังนั้นแนวคิด Customer Centric จึงสำคัญ เพราะถึงแม้โลกจะเปลี่ยน แต่ถ้าลูกค้าคุณไม่เปลี่ยน อย่างไรธุรกิจก็อยู่รอด

 

ความคาดหวังต่อ SCB 10X และอนาคตของไทยพาณิชย์

ความแตกต่างและความโดดเด่นของ SCB 10X คือการเป็นหน่วยงานที่แยกตัวออกมาอิสระ ทำให้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เราต้องการเปิดบริษัทลูกในลักษณะของ SCB 10X Digital Ventures SCB Abacus ให้ได้อย่างน้อยปีละบริษัท เพราะถึงแม้ว่าธนาคารจะทำหน้าที่หลักในการให้บริการด้านการเงิน แต่โลกที่เปลี่ยนไป กระแสดิสรัปชันที่เข้ามาส่งผลให้เราต้องเริ่มต้นธุรกิจจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ลูกค้าส่วนใหญ่ไม่ได้เริ่มจากความต้องการทางด้านเงิน แต่เป็นธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเรื่องของการทำแพลตฟอร์มหรือบริการบางอย่างที่ตอบโจทย์สำหรับโลกในอนาคต ตัวอย่างเช่น ในอนาคตอาจจะมีแต่คนที่ทำอาชีพฟรีแลนซ์ ดังนั้น เราต้องวิเคราะห์ว่าคนที่เป็นฟรีแลนซ์ต้องการอะไร หนึ่งในนั้นอาจจะเรื่องการเงิน แต่แน่นอนว่าต้องรวมไปถึงเรื่องของสุขภาพ การประกันภัย ซึ่งสำคัญสำหรับคนกลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน 

 

ความท้าทายของการทรานส์ฟอร์มในภาวะดิสรัปชัน

ท่ามกลางภาวะดิสรัปชัน องค์กรทั่วโลกประสบปัญหาเหมือนกันทั้งหมด แนวคิดของ SCB 10X มีพื้นฐานจากสตาร์ทอัพที่ช่วงแรกมักจะขาดทุน แต่เขาน่าชื่นชมตรงที่เขามีความเชื่อว่า ถ้ามีคนมาอยู่ด้วยเยอะๆ เขาจะมีพาวเวอร์สูงและประสบความสำเร็จได้ในอนาคต จุดอ่อนคือธนาคารทำแบบสตาร์ทอัพไม่ได้ เพราะมีผู้ถือหุ้นจำนวนมาก ดังนั้น การรับมือของธนาคารในประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมเป็นเรือลำใหญ่ที่บรรทุกของเยอะ จำเป็นต้องปรับตัวมาสร้าง ‘เรือลำเล็ก’ หลายๆ ลำ เรือลำเล็กมีข้อดีตรงที่สามารถเปลี่ยนทิศทางได้เร็วกว่าเรือลำใหญ่ หากสำเร็จก็ได้เจอดินแดนใหม่ แต่หากไม่สำเร็จ แม้จะล่มก็ไม่เสียหายมาก วิธีคิดแบบนี้คล้ายกับการแบ่งกระสุนไว้หลายๆ นัด มองความล้มเหลวเป็นเรื่องปกติ สิ่งสำคัญอยู่ที่การสร้าง Portfolio of Innovation ให้เกิดขึ้นในองค์กร เป็นการบ่งบอกว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่ลงมือทำจะต้องสำเร็จ แต่ให้ดูในภาพรวมว่าเป็นไปในทิศทางไหน ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ง่าย แต่แปลกที่มักไม่เกิดในองค์กรไทย เพราะเป็นเรื่องของทัศนคติขององค์กรนั้นๆ ว่ายอมรับความผิดพลาดได้มากน้อยแค่ไหน

 

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking

คนทั่วไปมักคิดว่า Design Thinking คือกระบวนการ ไม่ว่าจะไปเรียนที่ไหนคนเรามักถามหาวิธีการว่าต้องทำตามขั้นตอนหรือใช้เคล็ดลับอะไรจึงจะสำเร็จ แท้จริงแล้วเราต้องเริ่มต้นจาก ‘ทัศนคติ’ ของตัวเราเองก่อน เพราะในโลกนี้มีเฟรมเวิร์กให้ลองผิดลองถูกเยอะมาก เราต้องลองทำเองจึงจะรู้ว่าต้องทำแบบไหนจึงจะสำเร็จ อย่าไปยึดติดกับกระบวนการ และอย่าถามหาสูตรสำเร็จ เพราะแนวทางการไปสู่ความสำเร็จของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องอาศัยการลงมือทำและค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเท่านั้น นอกจากนี้ความคิดนอกกรอบเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในโลกใบนี้ และทำให้ธุรกิจนั้นๆ มีความแตกต่างในแบบที่ใครก็ไม่อาจลอกเลียนแบบได้ สิ่งสำคัญอยู่ที่วัฒนธรรมองค์กรว่าจะเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีความคิดสร้างสรรค์แบบเด็กมากน้อยแค่ไหน ผู้นำในอนาคตจะวัดกันที่ เวลาลูกน้องอยู่ใกล้คุณเขามีไอเดียและกล้าแสดงความคิดเห็นหรือไม่ เพราะองค์กรมีคนหลายเจเนอเรชันอยู่ร่วมกัน ดังนั้นต่างฝ่ายต่างต้องเข้าใจแนวคิดและแนวทางการทำงานร่วมกันด้วย

 

เรื่องของแนวคิดหรือทัศนคติต้องอาศัยเวลาในการเปลี่ยนแปลง ความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมใหม่ๆ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากขาดการลงมือทำและการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
Show Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Show Co-Producer เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Creative ภัทร จารุอริยานนท์
Episode Editor เดชาณัฏฐ์ ธีรดุริยสฤษฏ์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Show note หนึ่งฤดี ธนสารวิสุทธิ์
Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า

Webmaster ไชยพร ศิริกลการ

Music westonemusic.com

 

The post สิ่งที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Design Thinking และการสร้างนวัตกรรมจาก ต้อง กวีวุฒิ แห่ง SCB 10X และแปดบรรทัดครึ่ง appeared first on THE STANDARD.

]]>